Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

ความทุกข์ไม่ใช่สิ่งที่ต้องไปละ หมดเหตุก็ดับเอง

Mp3 for download:  ความทุกข์ไม่ใช่สิ่งที่ต้องไปละ หมดเหตุก็ดับเอง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : คือ รู้ตรงนี้ว่าพอไปคิดเนี่ยนะ เกิดความทุกข์ เห็นความทุกข์ในใจเราเนี่ยนะ มากขึ้นบ้าง เบาลงบ้าง มากขึ้นบ้าง เบาลงบ้าง

ในขณะที่เรามาเฝ้ารู้ใจของเราที่เป็นทุกข์เนี่ย เราไม่ได้คิดละ ความทุกข์นั้นจะค่อยๆสลายตัวไป แต่สลายเพราะอะไร เพราะว่าเราไม่ได้คิด ทำไมเราไม่ได้คิดตอนนั้น เพราะเรามาเฝ้ารู้อยู่ แล้วเราจะเห็นเลย ความทุกข์เองไม่ใช่สิ่งที่ต้องไปละมันหรอก พอมันหมดเหตุมันก็ดับ ไม่ใช่มันดับเพราะเราไปละมันเข้า

ถ้าเราไม่ละเอียดลออ เราจะไปคิดว่าเราไปดับทุกข์ได้ พอเราดูปุ๊บ ความทุกข์ก็ดับไป พอเราโกรธขึ้นมา เราเห็นความโกรธ ความโกรธก็ดับไป มันเกิดความสำคัญผิด ความจริงเป็นเพราะว่าเราไม่ได้ไปทำเหตุของมัน มันหมดเหตุแล้วมันดับ

อย่างเราโกรธใครสักคนนะ เราคิดถึงเขาบ่อยๆ นะ ยิ่งโกรธใหญ่ ใช่มั้ย เรามารู้อยู่ที่ความโกรธของเรานี้ เห็นความโกรธตั้งอยู่ในจิตใจ จิตใจเร่าร้อนเป็นเพราะความโกรธ ไม่ได้ไปคิดเรื่องที่ทำให้โกรธ เดี๋ยวความโกรธมันก็หายไป เราก็จะได้ความเห็นที่ถูกต้องว่าความโกรธก็ไม่เที่ยงหรอก เกิดจากเหตุ คือ การไปคิดเรื่องที่ไม่ชอบใจ พอหมดเหตุมันก็ดับ

แต่ความโกรธเกิดขึ้นเนี่ย ถ้าความโกรธครอบงำใจเราได้ ใจเราจะเป็นทุกข์ ก็เห็นต่อไปอีกชั้นนึง อ้อ จิตใจที่เป็นตัวของตัวเอง เป็นอิสระนี้ ไม่ทุกข์หรอก เบิกบาน มีความสุข แต่พอถูกอารมณ์ ถูกกิเลสครอบงำ ก็จะเป็นทุกข์ นี่มันจะเห็นตรงนี้

งั้นเรามีสติอยู่ เราค่อยเห็นข้อเท็จจริง มันคือการเห็นข้อเท็จจริงทั้งนั้นเลย

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันที่ ๗ เดือนกรกฏาคม พ.ศ.๒๕๔๕ ก่อนฉันเช้า
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑
File: 450707A
ระหว่างนาทีที่ ๓๗ วินาทีที่ ๐๑ ถึง นาทีที่ ๓๘  วินาทีที่ ๔๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๒๔) สำหรับผู้ครองเรือน

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๒๔) สำหรับผู้ครองเรือน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา

โยม : กราบนมัสการหลวงพ่อค่ะ คือได้ปฏิบัติตามแนวของหลวงพ่อแล้ว ก็รู้สึกว่าทุกข์สั้นลงนะคะ แต่ทีนี้ก็คือว่า ปัญหาก็คือว่า ถ้าเกิดกรณีที่เราเกี่ยวพันกับคนอื่นเนี่ย เราจะมีความรู้สึกตัว แล้วก็คล้ายๆกับรู้สึกว่ามีอะไรขึ้นมา แต่พอที่ที่มีปัญหาคือว่า เวลาเราเกี่ยวข้องกับคนใกล้ตัว เช่นลูกเนี่ย ความรู้สึกนี้มันจะเกิดไม่ทันน่ะค่ะ แล้วก็มันก็เกิด เราคุมไม่ได้แล้วทำให้ทะเลาะกัน เราควรจะฝึกอย่างไรหรือทำอย่างไรดีคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เราเคยชินน่ะ เราเคยชินกับลูกกับอะไรอย่างนี้ กับบางคนนะ กระทบแล้วอารมณ์มันเคลื่อนไหวรวดเร็วรุนแรงเป็นคนๆไป มันคุ้นเคยที่จะเป็นอย่างนั้น ห้ามมันยังไม่ได้หรอก บอกลูกว่าเห็นใจแม่ก่อนเถิดนะ เดี๋ยวแม่จะค่อยๆพัฒนา

โยม : แล้วควรจะมีการบ้านอย่างไรคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ :
สังเกตที่ใจเรา ทำไมเราโมโหลูก หรืออะไร จะไปเคี่ยวเข็ญลูกนะ เรามีความอยากเกิดขึ้น เรามีความยึดถือในความคิดเห็นของเรา ว่าอย่างนี้ควร อย่างนี้ไม่ควร ถ้าลูกไม่เห็นด้วยเราก็โมโห

ที่จริงก็คือ เรามีมาตรฐานของเราอย่างนี้แหละ เขาไม่ตรงกับมาตรฐานของเรา เราก็ไม่พอใจ เรามาจากความยึดถือในความคิดความเห็นของเราเองนั่นแหละ ถ้าเราเห็นตรงนี้นะ จะคลายออก จะเหลือเหตุผล ลูกเขาก็มีเหตุผลของเขา เราก็มีเหตุผลของเรา เอามาแชร์ข้อมูลกัน อะไรเหมาะ ไม่ใช่เราขีดเส้นเลยนะ ทำอย่างนี้ไม่ได้ ทำอย่างนี้ถูก ทำอย่างนี้ผิด เราใช้มาตรฐานของเราวัดละ หลายบ้านนะ จะเป็นอย่างนั้นน่ะ

หรือคนที่อยู่ด้วยกัน สามีภรรยา หรือผู้ร่วมงาน หรืออะไรอย่างนี้ ถ้าข้างใดข้างหนึ่งยึดถือความคิดเห็นของตนเองรุนแรง มันจะกระทบกระทั่งกันมาก ถ้ารู้ทันจิตใจว่ากำลังยืดถือความเห็นอยู่นะ ความยึดถือตัวนี้คลายออก จะคุยกันสบายๆ คุยกันด้วยเหตุผล ถ้าเราฝึกด้วยการรู้ทันว่าเรากำลังยึดในความเห็นของเราแล้ว รู้ตัวนี้เลย แล้วลูกจะสบาย เราก็จะสบาย

550409.49m49-51m58

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๔๔ วินาทีที่ ๘ ถึง นาทีที่ ๔๙ วินาทีที่ ๔๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : รู้ว่าโกรธแล้ว ไม่หายโกรธ เราควรจะข่มบังคับจิตใจหรือไม่?

รู้ว่าโกรธแล้ว ไม่หายโกรธ เราควรจะข่มบังคับจิตใจหรือไม่?

ถ้าจะเอาเรื่องความโกรธมาเป็นกรณีศึกษาก็จะเห็นได้ว่า ตอนที่จิตจะมีความโกรธ เราก็เลือกไม่ได้ว่าควรโกรธหรือไม่ พอมีการกระทบอารมณ์แล้วไม่พอใจ ความโกรธก็จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ พอโกรธแล้วเราก็เลือกไม่ได้หรอกครับว่าจะข่มบังคับดีไหม ถ้ายังเลือกได้ก็แสดงว่ายังภาวนาไม่ชำนาญ (อันนี้พูดเฉพาะกรณีของนักภาวนานะครับ) หากเป็นนักดูจิตที่ชำนาญ ก็จะไม่ทำการข่มบังคับหรือไม่เอาแต่ดูจิตจนแก้ไขสถานการณ์ไม่ได้หรอกครับ เพราะทันทีที่เกิดความโกรธ จิตที่ฝึกมาจนจำความโกรธได้ก็จะตื่นรู้ขึ้นเอง แล้วก็จะสามารถจัดการแก้ไขสถานการณ์ไปด้วยความมีสติ สัมปชัญญะ และถ้าความโกรธนั้นรุนแรงมาก ตัวสติสัมปชัญญะนั่นแหละที่จะเป็นตัวจัดการว่า เฮ้ย..เผ่นเถอะอยู่ไม่ได้แล้ว การจัดการต่างๆ ของจิต ถ้าจะมองว่าเป็นไปด้วยอำนาจของศีล สมาธิ ปัญญา ก็ได้ครับ แต่ถ้าไม่ใช่นักภาวนาละก็ การจัดการทุกอย่างเป็นไปตาม ยถากรรม

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

เราปฎิบัติเพื่ออะไร?mp 3 (for download) : เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่นี่หลวงพ่อจะเน้นสอนเรื่องการปฏิบัติให้ หลักของการปฏิบัติเราก็ต้องรู้ ว่าเราจะปฏิบัติอะไร ปฏิบัติเพื่ออะไร ปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติแล้วได้ผลเป็นยังไง ต้องตอบได้ชัดเจน เราจะปฏิบัติอะไร มีสองอย่างที่จะต้องปฏิบัติคือ “สมถะ” กับ “วิปัสสนา” ปฏิบัติเพื่ออะไร สมถะ ปฏิบัติเพื่อให้จิตใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะเดินวิปัสสนา ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อจะได้เห็นนู่นเห็นนี่มีตาทิพย์มีหูทิพย์ บางคนอยากได้เจโตอยากได้ทิพจักษุ  หลวงพ่อเคยเจอนะ มีไอ้หนุ่มคนนึง มันภาวนาอยากได้ทิพจักษุ ถามว่าอยากได้ทำไม มันจะได้มองทะลุผ้าของคนอื่น มันเห็นธรรมะเป็นเรื่องอะไร จะทะลุฝาห้องของเค้าอะไรอย่างนี้ ได้เรื่องเลย มีจริงๆนะ สมถะนะ เราทำไปเพื่อให้ใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะทำวิปัสสนา

วิปัสสนาทำไปเพื่ออะไร เพื่อให้เกิดปัญญา รู้ความจริงของกายของใจนี้ ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ ดังนั้นทำเราทำวิปัสสนาเพื่อให้รู้ความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจ รู้แล้วได้อะไร รู้ถึงที่สุดแล้วมันจะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ

พระอรหันต์ไม่ใช่คนประหลาดนะ อย่าไปวาดภาพพระอรหันต์ประหลาดเกินเหตุทำอะไรก็ไม่ได้ กระดุกกระดิกก็ไม่ได้ วันๆต้องนั่งเซื่องๆเหมือนนกกระยางรอให้ปลามาใกล้ๆจะได้ฉกเอาเชื่องๆห้ามกระดุกกระดิก พระอรหันต์จริงๆก็คือท่านผู้ภาวนาจนมีปัญญา เห็นทุกข์เห็นโทษของขันธ์นะ ขันธ์ห้าเป็นทุกข์เห็นอย่างนี้ แล้วท่านปล่อยวางความยึดถือขันธ์ได้ จิตท่านแยกออกจากขันธ์ พรากออกจากขันธ์ ไม่ยึดถือขันธ์ ท่านเป็นอิสระจากขันธ์ ตัวขันธ์เป็นตัวทุกข์ เพราะฉะนั้นพระอรหันต์เลยพ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่นี่พ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่ตายแล้วเค้าเรียกดับทุกข์คือขันธ์มันดับ ไม่ใช่ไปเกิดอีกนะ หลายคนวาดภาพเป็นพระอรหันต์ไปเกิดอีกไปอยู่ในโลกนิพพาน อันนั้นไม่ใช่ศาสนาพุทธหรอก พระอรหันต์ นิพพานแล้วเหมือนไฟที่ดับไปแล้ว ไฟที่ดับแล้วอยู่ที่ใหน ใครจะรู้ เพราะฉะนั้นเราภาวนานะ ภาวนาทำสมถะเพื่อให้มีแรง ทำวิปัสสนา ทำวิปัสสนาเพื่อให้เห็นความจริงของกายของใจ ถ้าเราเห็นความจริงของกายของใจได้มันจะหมดความยึดถือ ปล่อยวางได้ พอปล่อยวางได้ก็พ้นทุกข์ได้ เพราะตัวกายตัวใจตัวขันธ์นี้แหล่ะตัวทุกข์

นี่ต้องเรียนสิ่งเหล่านี้ แล้วทำยังไง เราจะทำอะไร ทำสมถะและวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร บอกแล้ว ทำอย่างไร สมถะนี่ไม่ใช่ทำเพื่อให้เคลิ้ม วิธีทำสมถะไม่ใช่น้อมใจให้เคลิ้มให้ซึมให้นิ่ง แต่ฝึกความรู้สึกตัวขึ้นมา หายใจออกรู้สึก หายใจเข้ารู้สึก เคยได้ยินคำว่า”อานาปานสติ”มั้ย มีสตินะไม่ใช่ฝึกให้ไม่มีสติ ไม่ใช่ฝึก(เสียงกรน)คร้อกบรรลุแล้ว ฝึกให้มีสติหายใจเข้า ฝึกให้มีสติหายใจออก มีสติไปเรื่อยเลย หรือบางทีพิจารณากาย”กายคตาสติ” มีสติไล่ไปในกาย ดูอาการสามสิบสอง ดูอวัยวะต่างๆในร่างกาย มีสติ เห็นมั้ย ไม่ได้บอกให้ขาดสติเลยนะ ไม่ได้ดูเอาแก้วแหวนเงินทอง เอาวิมานสวรรค์อะไรทั้งสิ้นเลย แต่ฝึกให้มันมีสติ รู้ลมหายใจก็ให้มันมีสติ พิจารณากายก็พิจารณาด้วยความมีสติ เรียกว่ากายคตาสติ ทำอะไรๆก็มีสติ คิดถึงพระพุทธเจ้าก็คิดถึงด้วยความมีสติ หัดพุทโธ ๆ แล้วรู้สึกตัวไป นึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตของเราจะทำยังไงพุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราไม่ได้ภาวนาให้เคลิ้มๆ ภาวนาให้รู้สึกตัว ฉะนั้นเราอย่าทิ้งสติ ครูบาอาจารย์เคยสอนบอก “สติจำเป็นในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ”

ฉะนั้นทำสมถะก็ต้องมีสตินะ แต่มีสติอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข อารมณ์อันเดียว ทำไมต้องอารมณ์อันเดียว อารมณ์หลายอันแล้วก็รู้ตัวยาก ปกติจิตมันจะหนีตลอดเวลา วิ่งไปวิ่งมาตลอดเวลา พอเรามาทำสมถะนะ เรามีอารมณ์อันเดียว มาเป็นเหยื่อ เหยื่อล่อจิต อย่างถ้าจะตกปลานะ มีคนโยนเบ็ดพร้อมกันร้อยอัน ปลางงเลยจะกินอันใหนดีใช่มั้ย ว่างมาทางนี้ เอ๊ะ ไม่เอาตัวเล็กไป ว่ายทางนี้ ก็ใหญ่ไปเกินพอดี เกินคำ ไม่เอา วกไปวกมา ไม่ได้กิน ถ้ามีเหยื่ออันเดียวปลาฝูงนึงยิ่งดี มีเหยื่ออันเดียวล่อ จิตของเราปกติร่อนเร่ไปเรื่อยๆ วิ่งไปทางตา วิ่งไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนะ ร่อนเร่ไปเรื่อย เที่ยวแสวงหาอารมณ์ไปเรื่อย เหมือนปลาวิ่งหาเหยื่อไปเรื่อย ว่ายไปเรื่อยๆ เราหาอารมณ์อันนึงที่ชอบใจของปลาตัวนี้มาล่อมัน ไปเอาพุทโธก็ได้ คนไหนพุทโธแล้วสบายใจเอาพุทโธ คนไหนหายใจเข้าหายใจออกแล้วสบายใจเอาลมหายใจ คนไหนดูท้องพองยุบแล้วมีความสุขก็ดูท้องพองยุบไป คนไหนเดินจงกลมแล้วมีความสุขก็เดินไป ไม่ใช่เดินทรมาน เดินไปเครียดไป เดินไปเครียดไป สมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนะ หาอารมณ์ที่สบายๆ อยู่แล้วมีความสุข

อย่างหลวงพ่อนะ ฝึกอานาปานสติมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่เจ็ดขวบ พวกเราส่วนใหญ่ในห้องนี้ยังไม่เกิด หายใจแล้วมีความสุข พอจิตใจมีความสุข จิตจะสงบ จิตมันหิวอารมณ์นะ พอมันได้กินของชอบนะ มันเลยไม่ไปเที่ยวที่อื่น เอาอารมณ์มาล่อ อยู่กับพุทโธ อยู่กับลมหายใจแล้วมีความสุข จิตก็ไม่หนีไปไหน จิตเคล้าเคลียอยู่ แต่ระวังอย่างเดียว อย่าให้ขาดสติ อย่างเราหายใจไป ถ้าใจเคลิ้มก็รู้ทันว่าเคลิ้ม หายใจไปใจฟุ้งซ่านหนีไปคิดเรื่องอื่น รู้ว่าใจฟุ้งซ่านไป ใจก็มีความสุข เคล้าเคลีย สงบอยู่กับลมหายใจ จนกระทั่งลมหายใจมันสว่างขึ้นมา หายใจไปเรื่อยๆ เวลาจะเข้าฌาน ไม่ใช่รู้ลมหายใจหรอกจะบอกให้ พวกเรามั่วๆนะ หายใจแล้วเข้าฌานรู้ลมหายใจแล้วเข้าฌาน ไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอก

ลมหายใจเบื้องต้นเรียกว่า บริกรรมนิมิต รู้ลมไปเรื่อย สบาย จิตใจมีความสุข มันจะสว่างขึ้นมา ความสว่างมันเกิดขึ้นนะ ใจมันสงบลงมา ในทางร่างกายเวลาจิตสงบลงมา เลือดจะมาเลี้ยงสมองส่วนหน้านี้ เลือดจะมาเลิ้ยงตรงนี้เยอะ มันจะให้ความรู้สึกที่สว่างขึ้นมา จิตมันก็สว่างนะ กายมันก็สว่างขึ้นมา ผ่องใส ความสว่างเกิดขึ้นแล้วเนี่ย เอาความสว่างนี้มาเป็นนิมิตแทนลมหายใจได้ ต่อไปความสว่างมันเข้มข้นขึ้นนะ เป็นดวงขึ้นมา ให้เล็กก็ได้ ให้ใหญ่ก็ได้ จิตใจก็มีความสุข สนุก มีความสุขอิ่มเอิบเบิกบาน มีปีติขึ้นมา เข้าฌาน ไม่ใช่หายใจรู้ลมแล้ว (เสียงกรน คร้อก) บอกว่าหายใจจนลมระงับ ถามว่าลมระงับยังไง ลืมไปเลย หลับไปแล้ว บอกว่าไม่มีลมหายใจแล้ว ไม่ใช่นะ

เพราะฉะนั้นหลักของการทำสมถะนะ ก็อย่าทิ้งสติ มีสติไปเรื่อย เวลาจิตรวมก็รวมด้วยความมีสติ ไม่รวมแบบขาตสติ วูบๆวาบๆหรอก รู้เนื้อรู้ตัวตลอดสายของการปฏิบัติเลย รวมลงไปลึกเลย จนร่างกายหายไปเลย ลมหายใจก็หาย ร่างกายก็หาย โลกทั้งโลกก็หายไปหมดเหลือจิตอันเดียว ก็ยังไม่ขาดสตินะ จิตดวงเดียวอย่างนั้น เด่นอยู่อย่างนั้น ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ทำไมต้องมีจิตขึ้นมา โดดเด่นขึ้นมา เพื่อเราจะได้เอาไว้ต่อวิปัสสนา

ฉะนั้นบางคนทำไม่ถึงฌานก็ไม่เป็นไรนะ แค่หัดพุทโธ พุทโธๆ ไป ค่อยๆดูไป พุทโธเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า เห็นมั้ย ใจนั้นค่อยตั้งมั่นขึ้นมา อย่างนี้ใช้ได้ หายใจไปเรื่อยๆ หายใจเข้าหายใจออก อะไรก็ว่าไปเถอะ หายใจไปแล้วเห็นร่างกายมันหายใจ จิตเป็นคนดู อย่างนี้นะถึงจะทำสมถะ เพื่อจะต่อวิปัสสนา คือหายใจไปแล้วมีจิตเป็นคนรู้คนดูขึ้นมา ดูท้องพองยุบไปนะ เห็นร่างกายมันพองเห็นร่างกายมันยุบ จิตเป็นคนดู

เพราะฉะนั้นบทเรียนเรื่องการทำสมาธิเนี่ย ในทางศาสนาพุทธท่านถึงใช้คำว่า “จิตตสิกขา” ทำสมาธิจนกระทั่งเราเห็นจิตของเรา จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ยแหล่ะ พร้อมที่จะไปเดินวิปัสสนาต่อแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าคนไหนจะทำสมถะนะ ก็อย่าให้ขาดสติ หายใจไปเห็นร่างกายหายใจ จิตเป็นคนดู หายใจไปจิตแอบไปคิด รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน ก็มีจิตอีกคนนึงเป็นคนดู เฝ้ารู้ไปจนกระทั่งจิตเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา อย่างนี้เรียกว่าเราทำสมถะเป็น เวลาบางช่วงบางครั้งบางคราวจิตก็เข้าพักสงบ รู้เนื้อรู้ตัวอยู่นะ สงบ ไม่แส่ส่ายไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สงบไม่คิดไม่นึกอะไร ใจว่างสบายสว่าง อันนี้ทำสมถะเต็มที่

ต่อไปก็หัด นั่งสมาธิไปแล้วเห็นจิตเคลื่อนไหวรู้ไปเรื่อยจนจิตตั้งขึ้นมา ตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา อย่างนี้ดี จะเอาไว้ต่อวิปัสสนา นี้พอเราหัดภาวนาไปนะ พุทโธๆ เราเห็นเลย พุทโธเป็นของถูกรู้ จิตเป็นผู้รู้พุทโธ หายใจออกหายใจเข้านะ หายใจไป จนกระทั่งเห็นเลยร่างกายมันหายใจ จิตเป็นผู้รู้ว่าร่างกายหายใจ มีจิตที่เป็นผู้รู้ขึ้นมา จะเดินจงกลมยกเท้าย่างเท้าเห็นร่างกายมันเดินไป จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู ต่อไปพอผู้รู้ผู้ดูมันหายแว้บไป คือมันขาดสติเมื่อไรมันหายเมื่อนั้น สติมันระลึกได้เองเพราะมันเคยรู้จักผู้รู้ผู้ดูเนืองๆ ฉะนั้นเราจะฝึกจนกระทั่งสามารถรู้สึกตัวอยู่ในชีวิตประจำวันได้เนืองๆ เมื่อไรเป็นผู้หลงนะ ก็ขาดผู้รู้ เมื่อไรเป็นผู้รู้ก็ไม่เป็นผู้หลง บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็หลงเป็นผู้คิด บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็เป็นผู้เพ่ง

พอเรามาอยู่ในชีวิตประจำวัน เราเห็นตัวผู้รู้เค้าเกิดดับไปเรื่อยๆ เนี่ย เฝ้ารู้เฝ้าดูอย่างนี้เรื่อยๆ พอใจมันเป็นคนรู้คนดูขึ้นมาได้ มันจะเห็นร่างกายไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นวัตถุ ร่างกายเป็นก้อนธาตุ ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวไป จะเห็นเวทมาทั้งหลายไม่ใช่ตัวเรา ความสุขความทุกข์ทั้งหลาย ความไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหลาย ผ่านมาผ่านไป เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ จนใจของเรามันตั้งมั่น รู้เนื้อรู้ตัวเรื่อยๆ แต่ไม่ได้ตั้งเอาไว้จนแข็งๆรู้ตัวตลอดเวลา อย่างนั้นใช้ไม่ได้ ต้องรู้บ้างเผลอบ้างนะ ถึงจะเห็นว่าตัวรู้เองก็เกิดๆดับๆ

สมัยก่อน หลวงพ่อไปเรียนกับครูบาอาจารย์ เมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อนโน้น เข้าวัดไหนครูบาอาจารย์พูดแต่คำว่า”ผู้รู้” ท่านยังสอนด้วยซ้ำไปว่า ศาสนาพุทธ “พุทธ”แปลว่าอะไร พุทธ (อ่าน พุท-ธะ) แปลว่า”รู้” พุทธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ใจของเราชอบเป็นผู้คิด ใจของเราชอบเป็นผู้หลง เราฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ทำยังไงใจจะเป็นผู้รู้  ถ้ารู้ทันสภาวะที่กำลังปรากฎนะ ใจจะเป็นผู้รู้ขึ้นมา เช่นเผลอไปรู้ว่าเผลอ ใจก็จะเป็นผู้รู้ขึ้นแว้บนึง เป็นผู้รู้ตรงขณะไหน ขณะที่รู้ว่าเผลอ ถัดจากนั้นอาจจะเป็นผู้เพ่ง ใจโกรธขึ้นมานะ รู้ว่าโกรธ ขณะที่โกรธนะ ขณะนึง ขณะที่รู้ว่าโกรธนี่แหล่ะ ใจเป็นผู้รู้ขึ้นมาแล้ว ถัดจากนั้นอยากให้หายโกรธนี่ ใจมีอกุศลแล้ว มีความอยากเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นเราดูใจเราไปเรื่อยนะ ไม่ใช่ผู้รู้ต้องเที่ยงถวร ผู้รู้ไม่เที่ยงหรอก ผู้รู้เองก็เกิดดับ

ครูบาอาจารย์องค์นึงสอนดีมากเลยคือ หลวงปู่หล้า ภูจ้อก้อ บอกเลยว่า ผู้ใดเห็นว่าผู้รู้เที่ยงนะ เป็นมิจฉาทิฐิ จิตผู้รู้ก็ไม่เที่ยงแต่ว่าต้องมีอยู่อาศัยไว้ใช้ปฏิบัติเอา ของเราสังเกตสิ เดี๋ยวใจก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง เมื่อไหร่รู้สภาวะตรงความเป็นจริง ใจก็เป็นผู้รู้ขึ้นมาแว้บนึง เอาแค่แว้บเดียวพอนะ ไม่ต้องตั้งอยู่เป็นชั่วโมงๆ คนที่ตั้งเป็นชั่วโมงๆได้ต้องพวกที่เค้าทรงฌาน ผ่านฌานมาเต็มที่แล้ว เต็มภูมิอย่างน้อยได้ฌานที่สองแล้ว ได้ฌานที่สองใจจะเด่น ออกจากฌานมา ยังเด่นอยู่เป็นวันๆเลย อาศัยสมาธิอย่างนี้ตามรู้ดูกายดูใจได้นาน พวกเราไม่ได้ทรงฌานเนี่ยสมาธิจะอยู่แว้บเดียวๆเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” แต่อาศัย ขณิกสมาธิ เนี่ยแหล่ะทำมรรคผลนิพพานให้เกิดได้ เพราะสมาธิที่ใช้ทำวิปัสสนาจริงๆก็คือ ขณิกสมาธิ นี่แหล่ะดีที่สุดเลย รองลงมาก็คือตัว อุปจาร (คำเต็ม อุปจารสมาธิ) เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ ให้ใจมันตื่นขึ้นมา

วิธีง่ายที่สุดเลย ทำฌานไม่ได้ ทำยังไงใจจะตื่น ใจตื่นก็ตรงข้ามกับใจที่ไม่ตื่น ใจที่ไม่ตื่นคือใจหลับ ใจหลับได้ใจก็ฝันได้ ความฝันของใจก็คือความคิด ถ้าเมื่อไหร่รู้ว่าฝันนะเมื่อนั้นจะตื่น เวลาที่ใจไหลไปคิด ถ้าเมื่อไหร่พวกเรารู้ว่าจิตแอบไปคิดนะ เราจะตื่นขึ้นชั่วขณะนึง รู้ทันว่าจิตไหลไปคิด ขณะที่รู้นั่นน่ะตื่น ไม่เฉพาะหลงไปคิดนะ โกรธขึ้นมาขณะที่รู้ว่าโกรธ ขณะนั้นก็ตื่นเหมือนกัน แต่ตัวนี้ดูยากกว่า ใจของเราหลงคิดทั้งวัน มันดูง่ายกว่า อย่างจะดูจิตที่โกรธนะ แล้วก็ตัวรู้ว่าโกรธ วันนี้ยังไม่โกรธใครเลยเนี่ย จะภาวนายังไง แต่มีมั้ยวันใหนชั่วโมงไหนที่ไม่คิดมีมั้ย ไม่มีเลย จิตที่คิดคือจิตฟุ้งซ่าน เป็นจิตมีโมหะเค้าเรียกว่า “อุทธัจจะ” โมหะชนิด อุทธัจจะ จิตมันฟุ้งซ่าน เป็นจิตที่เกิดบ่อยที่สุดเลยจิตฟุ้งซ่านเนี่ย

เราเอาตัวที่เกิดบ่อยเนี่ยแหล่ะมาหัดทำกรรมฐาน เราจะได้ทำกรรมฐานบ่อยๆ เพราะฉะนั้นจิตไหลไปคิดแล้ว อ้อ หลงไปแล้ว มีคำว่า “แล้ว” นะ ทำไมต้องมี แล้ว ด้วย หมายถึงว่า หลงไปก่อน ไม่ได้ห้ามหลง หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง หลายคนภาวนาผิดนะ ไปจ้องรอดู ไหน เมื่อไหร่จะหลง เมื่อไหร่จะหลง จ้องใหญ่ ขณะที่รอดูนั่นหลงเรียบร้อยแล้วนะ ไม่มีวันรู้เลยว่าหลงเป็นยังไงเพราะหลงไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นให้มันหลงไปก่อนให้มันเผลอไปคิดก่อน แล้วก็ค่อยรู้ว่าเผลอไป หลงไป ให้มันโกรธไปก่อน ให้มันโลภไปก่อน แล้วก็รู้ว่ามันโกรธ​รู้ว่ามันโลภ นี่หัดรู้อย่างนี้บ่อยๆรู้ไปแล้วจะได้อะไร เห็นมั้ย คำสอนในศาสนาพุทธละเอียดนะ จะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำอย่างไรบอกแล้วนะ อย่างถ้าจะดูจิตดูใจเนี่ย ตามดูไป ให้สภาวะเกิดแล้วก็ตามรู้ไป หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง โกรธไปก่อนแล้วรู้ว่าโกรธ ตามดูไปเรื่อยๆ เราจะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำแล้วได้ผลอะไร ถ้าเราตามดูไปเรื่อย เราจะเห็นเลย เดี๋ยวจิตก็หลงเดี๋ยวจิตก็รู้  เดี๋ยวหลงเดี๋ยวรู้ นานๆจะมีอย่างอื่นแทรก เดี๋ยวโลภขึ้นมาเราก็รู้ หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ อ้าว เดี๋ยวโกรธขึ้นมา อีกแล้ว นานๆจะมีโลภแทรก นานๆจะมีโกรธแทรกที แต่หลงนี่มันยืนพื้นเลย มันเป็นกิเลสยืนพื้นเลย

ดังนั้นเราคอยรู้ทันเรื่อยๆ ไม่ใช่รู้เพื่อจะไม่ให้หลง แต่รู้เพื่ออะไร รู้เพื่อจะรู้ว่าเมื่อกี้จิตเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้จิตเป็นอีกอย่างหนึ่ง เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตโลภตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ ไม่ใช่ฝึกเพื่อจะไม่ให้โลภ ไม่ให้โกรธ ไม่ให้หลง จะฝึกเพื่อให้เห็นว่า เมื่อกี้เป็นอย่างนึง เดี๋ยวนี้เป็นอย่างนึง นี่คือการเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของสภาวะธรรมนั่นเอง เห็นมั้ยเมื่อกี้จิตหลง ตอนนี้จิตหลงดับไปแล้ว เกิดจิตที่รู้ขึ้นมา เห็นมั้ยเมื่อกี้เป็นจิตโกรธ ตอนนี้เกิดเป็นจิตที่รู้ จิตโกรธดับไปแล้ว จิตที่รู้อยู่ไม่นาน เกิดจิตหลงขึ้นมาแทนอีกแล้ว เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ ฝึกไปเรื่อยๆ

ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกปฏิเสธ สิ่งที่ไม่ดีแต่ฝึกจนเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาให้จิตรู้นี้ เป็นของชั่วคราวทั้งสิ้น จิตโลภก็โลภชั่วคราว จิตโกรธก็โกรธชั่วคราว จิตหลงก็หลงชั่วคราว ทำไมหลงชั่วคราวเพราะมีตัวรู้มาคั่น มีจิตรู้มาคั่น เราก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลยมันก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลย มันก็จะมีแต่จิตหลง หลงทั้งวัน หลงทั้งคืน เราจะรู้สึกว่าหลงแล้วเที่ยง จะไม่เห็นหรอกว่ามันเป็นไตรลักษณ์ แต่เรามีรู้ขึ้นมานะ เพื่อจะเห็นหลงมันขาดเป็นท่อนๆ หลงไปหนึ่งนาทีแล้วรู้สึกตัวแว้บ เราเห็นเลยชีวิตที่หลงนะมันจบไปแล้ว มันเกิดชีวิตใหม่ที่รู้สึกตัว เสร็จแล้วหลงไปอีกห้านาที ก็รู้สึกอีกทีนึง หลงไปอีกชั่วโมงรู้สึกอีกที ต่อไปฝึกไปเรื่อยๆนะ หลงสามวินาทีรู้สึก หลงสองวินาทีรู้สึก ยิ่งฝึกเก่งนะยิ่งหลงบ่อย หลงแว้บรู้สึก ฝึกไปเรื่อย ไม่ใช่ฝึกไม่ให้หลง ไม่ได้ฝึกห้ามหลง ไม่ได้ฝึกที่จะให้รู้ตลอดเวลา แต่ฝึกเพื่อให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วล้วนแต่ดับทั้งสิ้น

ปัญญาแก่รอบต่อไปอีก ก็จะเห็นอีกว่า จิตจะรู้หรือจิตจะหลงนะ ห้ามมันไม่ได้ บังคับมันไม่ได้ นี่คือการเห็นอนัตตา เราสั่งมันไม่ได้ มันไม่ใช่เราหรอก จิตจะหลง มันก็หลงของมันเอง จิตจะโลภ ก็โลภของมันเอง จิตจะโกรธ ก็โกรธของมันเอง จิตจะเป็นยังไงมันก็เป็นของมันอย่างนั้นแหล่ะ จิตจะรู้ขึ้นมา ก็รู้ได้เอง จงใจรู้ก็ไม่ใช่อีกแล้ว แต่เราก็ต้องฝึกจนกระทั่งมันได้รู้ขึ้นมานะ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนี่ฝึกให้มันมีรู้ก่อน

บางคนได้ยินหลวงพ่อพูด หลวงพ่อเล่าให้ฟังนะว่า ตอนหลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดุลย์ครั้งสุดท้าย สามสิบหกวันก่อนท่านมรณะภาพ หลวงปู่ดุลย์สอนหลวงพ่อ พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ ออกจากหลวงปู่ดุลย์นะ อีกวันไปหาหลวงพ่อพุธ หลวงพ่อพุธก็บอกท่านไปหาหลวงปู่ดุลย์มา หลวงปู่ดุลย์สอนอย่างเดียวกันนี้ บอก เจ้าคุณการปฏิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ สอนอย่างนี้ พอได้ยินอย่างนี้นะเลยพยายามทำลายผู้รู้ทั้งๆที่ผู้รู้ยังไม่มีเลย มีแต่ผู้หลงแต่หาทางทำลายผู้รู้ สติแตกสิ

ตอนนี้อย่าเพิ่งทำลายผู้รู้นะ ไม่ใช่เวลาทำลายผู้รู้ เอาไว้ให้ได้พระอนาคาก่อนแล้วค่อยพูดเรื่องทำลายผู้รู้ ตอนนี้เรายังไม่ได้ เราก็ยังไม่ทำลาย เราต้องมีผู้รู้ไว้ก่อน สังเกตมั้ยเดี๋ยวจิตก็รู้ เดี๋ยวจิตก็หลง เดี๋ยวจิตก็โลภ คอยรู้สึกไปเรื่อย รู้ัมันจะมีทีละแว้บ มีรู้อย่างนี้บ่อยๆ มีรู้ขึ้นมาเพื่อตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นช่วงๆ ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตตรงนี้รู้ เห็นมั้ยหลงต้องใหญ่หน่อย รู้ต้องนิดเดียว เป็นธรรมชาติอย่างนั้น ไม่ใช่ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตเดี๋ยวนี้รู้ ปัจจุบันไม่โตขนาดนี้ คำว่าปัจจุบันน่ะเล็กนิดเดียว ชิวิตที่รู้ลงมาคือชีวิตที่อยู่กับปัจจุบันได้ ขณะแว้บเดียวต่อหน้าเท่านั้น เล็กๆ ไม่มีรู้ยาวเท่านี้ (หลวงพ่อวาดมือ) รู้เที่ยงสิรู้อย่างนี้ รู้เที่ยงก็มิจฉาทิฐิ จริงๆรู้เกิดวับก็ดับ วับก็ดับ ดังนั้นเราฝึกนะจนกระทั่งเรารู้สึกขึ้นมา

วิธีที่จะให้รู้ขึ้นมาก็คือ คอยไปหัดรู้ทันเวลาใจหลงไปคิด อันนี้เป็นการบ้านที่ง่ายๆเลย เพราะจิตที่หลงคิดคือจิตที่เกิดบ่อยที่สุด จิตโลภจิตโกรธอะไรนี่มีน้อยนะ จิตหลงเนี่ยมีทั้งวันเลย เพราะในขณะที่โลภ ในขณะที่โกรธเนี่ยต้องมีหลงประกอบอยู่ด้วย ถ้าไม่หลงจะไม่มีโลภ ถ้าไม่หลงจะไม่โกรธ เพราะฉะนั้นจิตหลงเนี่ยเป็นตัวสาหัสสากันเลย ถ้าเราเรียนเรื่องจิตหลงได้ เราจะภาวนาได้ทั้งวัน

กรรมฐานนะ เราควรจะเลือกกรรมฐานซึ่งมันเกิดบ่อยๆ เราจะได้ดูบ่อยๆ อย่างใจเราหลงเนี่ยหลงทั้งวัน แล้วก็รู้ ใจหลงไปแล้วรู้  มันจะเห็นสลับกันเร็ว เคยมีนะ ตอนอยู่เมืองกาญฯ มีหนุ่มคนนึงมาถามหลวงพ่อ ผมใช้สิ่งอื่นนอกจากในสติปัฏฐานได้มั้ย ที่จะมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน ถามว่าจะใช้อะไร ถ้าฟ้าร้องแล้วผมจะรู้สึกตัว ปีนึงมันร้องกี่ครั้งนะ นานมาก บางวันก็ไม่ร้องตั้งหลายเดือน แสดงว่าตลอดมาเนี่ยเอ็งไม่มีสติเลยใช่มั้ย เอ็งจะมีสติตอนหน้าฝนอย่างเดียว อย่างงี้ใช้ไม่ได้

พวกเราไปดูสิอารมณ์ในสติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะ เป็นอารมณ์ที่เกิดตลอดเวลา หายใจออก หายใจเข้านี่ หายใจทั้งวันมั้ย ถ้าหายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวทั้งวัน ยืน เดิน นั่ง นอน มีทั้งวันใช่มั้ย ไม่ยืนก็เดิน ไม่เดินก็นั่ง ไม่นั่งก็นอน อะไรนี้ เวียนไปนี้ ถ้า ยืน เดิน นั่ง นอนรู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวได้เกือบทั้งวันแล้ว ยกเว้นอิริยาบถประหลาดๆ เช่น กระโดดอะไรนี้นะ หรือไปว่ายน้ำ เป็นอิริยาบถ แปลกๆไป ท่านก็สอนล็อกไว้อีกอันนึงเรื่องสัมปชัญญะ เคลื่อนไหวแล้วรู้สึก ก็เคลื่อนไหวแล้วก็หยุดนิ่ง หยุดนิ่งแล้วก็เคลื่อนไหว ถ้าหยุดนิ่งก็รู้สึก เคลื่อนไหวก็รู้สึก ก็รู้สึกตัวได้ทั้งวันแล้ว อารมณ์ที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะเกิดทั้งวัน อารมณ์เวทนาล่ะ มีทั้งวันมั้ย สุข ทุกข์ เฉยๆก็หมุนอยู่อย่างนี้ทั้งวันใช่มั้ย ถ้าสุขก็รู้ตัว ทุกข์ก็รู้ตัว เฉยๆก็รู้ตัว ก็คือรู้ตัวได้ทั้งวัน ดูจิตดูใจล่ะ จิตหลงไปแล้วรู้ เกิดได้ทั้งวัน หลงทั้งวัน ยกเว้นบางคนนั้นขี้โลภ เจออะไรมันก็อยากตลอดเวลาเลย ความอยากเกิดถี่ยิบเลยทั้งวัน พวกนี้ก็เอาความอยากเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่เดี๋ยวมันอยากแว้บอยากดู รู้ทัน อยากฟังรู้ทัน อยากคิดรู้ทัน พวกโลภมากนะ ดูอยากเป็นวิหารธรรม มีจิตที่อยากกับจิตที่ไม่อยาก คู่เดียวก็พอแล้ว เกิดทั้งวันแล้ว คนไหนขี้โมโหนะ อะไรนิดนึงก็โมโห อะไรนิดนึงก็ขัดใจ ก็เอาจิตที่มีโมโหนี่แหล่ะมาเป็นวิหารธรรม จิตโกรธขึ้นมาก็รู้ ขณะที่รู้ว่าโกรธนั้นคือจิตที่รู้ จิตนั้นมันโกรธ เดี๋ยวก็โกรธอีก เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ เห็นมั้ยมันจะเกิดทั้งวัน

เพราะฉะนั้นอารมณ์กรรมฐานที่เราใช้นั้นต้องเป็นอารมณ์ที่เกิดทั้งวัน เราจะได้มีสติได้ทั้งวัน หายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว เผลอไปรู้สึกตัว รู้ รู้ทันว่าเผลอ ก็รู้สึกตัว ก็เป็นจิตที่รู้ขึ้นมา ก็รู้ว่ามีจิตที่รู้อยู่ ทุกอย่างเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอด เวลา เราทำไปเพื่อให้เห็นว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับ ไม่ใช่ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบเช่น เราเห็นว่าร่างกายที่หายใจออก เกิดขึ้นมาแล้วดับไป กลายเป็นร่างกายที่หายใจเข้า ร่างกายที่หายใจเข้าเกิดแล้วก็ดับ กลายเป็นร่างกายที่หายใจออก ร่างกายที่ยืน ที่เดิน ที่นั่ง ที่นอนนี่ ก็คือร่างกายที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ หรือความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆนะ ก็แสดงความหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ความหลงไปกับความรู้สึก หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ ก็แสดงความเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ ภาวนาเพื่อให้เห็นสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบอะไรหรอกนั่นตื้นไป แต่ภาวนาเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ มันมีแต่ความไม่เที่ยง ในกายในใจนี้ มีแต่ความทนอยู่ไม่ได้ในสภาวะ อันใดอันหนึ่ง อยู่ไม่ได้ตลอดหรอก ไม่นานก็ต้องเสื่อมไป

มีแต่เรื่องบังคับไม่ได้นะ สั่งไม่ได้ ร่างกายก็ไม่ใช่เรานะ เป็นแค่วัตถุอันนึง จิตใจก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง สั่งมันไม่ได้ นี่ภาวนาอย่างนี้ สุดท้ายจะได้อะไรขึ้นมา จะเห็นเลยว่า ทั้งกาย ทั้งใจ ทั้งขันธ์ห้านี้เป็นทุกข์เป็นโทษทั้งหมดเลยนะ ไม่ใช่ของดีของวิเศษหรอก อย่างร่างกายนะ ประคบประหงมมันอย่างดีเลย ให้มันมีความสุข ไม่นานเลยมันก็ทุกข์อีกแล้ว นี่อย่างนี้ดูไปเรื่อย มันเอื่อมระอา มันไม่ยึดกายแล้ว จิตใจก็เหมือนกันนะ อุตสาห์ทำความสงบเข้ามา ไม่นานก็ฟุ้งอีกแล้ว ทำดียังไงเดี๋ยวก็แย่ขึ้นมาอีกแล้ว มีแต่ของไม่เที่ยงนะ เห็นแล้วอิดหนาระอาใจ ในที่สุดไม่ยึดจิตใจด้วย

สุดท้ายไม่ยึดทั้งกายไม่ยึดทั้งใจ ก็ไม่ยึดสิ่งใดในโลกนะ จิตก็หลุดพ้นจากความยึดถือ เรียกว่าวิมุตตินะ จิตหลุดพ้น หลุดแล้วจะได้อะไร ได้เห็นนิพพาน แต่ไม่เป็นเจ้าของนิพพานนะ นิพพานไม่เป็นของใคร นิพพานเป็นธรรมดาของโลกอยู่อย่างนั้น เป็นธรรมะประจำโลกอยู่อย่างนั้น แต่ว่าผู้ใดไปเห็นนิพพานผู้นั้นมีความสุขนะ จิตที่ไปรู้นิพพานนั้นมีบรมสุขที่สุดเลย มันพ้นความดิ้นรน พ้นความปรุงแต่ง พ้นความหิวโหย พวกเราค่อยๆฝึกนะ

วันนี้เทศน์มาตั้งแต่เช้าเนี่ยเรื่องอะไรบ้าง หวังว่าการปฏิบัติต้องรู้นะว่าเราจะทำอะไร ก็มีสมถะกับวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร ทำสมถะนะก็เพื่อให้มีกำลังไปทำวิปัสสนา หรือว่าบางครั้งก็ใช้พักผ่อนนิดๆหน่อยๆ พอมีเรี่ยวมีแรงสดชื่นแล้วก็ไปทำวิปัสสนา ทำอย่างไรนะ สมถะ เนี่ย ให้จิตไปอยู่ในอารมณ์ที่สบายแล้วจิตจะสงบ วิปัสสนานะให้ตามรู้ความเปลี่ยนแปลงของกายของใจไป ใจเป็นแค่คนรู้คนดูไปเรื่อย โลภขึ้นมาแล้วรู้ โกรธขึ้นมาแล้วรู้ ดูไปเรื่อย รู้แล้วได้อะไร ทำแล้วได้อะไร ถ้าทำสมถะก็ได้ตัวรู้ขึ้นมา ทำวิปัสสนาก็ได้ปัญญาเห็นความจริงของกายของใจ ได้เห็นความจริงแล้วก็หมดความยึดถือ ปล่อยวาง เข้าถึงบรมสุขที่แท้จริง


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๑๓
File: 520809A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ศัตรูที่แท้จริง

Mp3 for download: ศัตรูที่แท้จริง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ศัตรูที่แท้จริง

ศัตรูที่แท้จริง

หลวงพ่อปราโมทย์ : ศัตรูของเรามีนะ แต่ไม่ใช่คนอื่นหรอก ศัตรูที่ทำให้เราทุกข์ก็คือกิเลสในใจเราเอง มีกิเลสขึ้นเมื่อไหร่ ใจก็ทุกข์แหละ งั้นศัตรูอยู่ตรงนี้เอง อย่าไปเห็นคนอื่นเป็นศัตรูเลย

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๕
File: 530522
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๓๕ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รู้ว่าโกรธแล้ว ทำไมยังไม่หายโกรธ

mp3 (for download): รู้ว่าโกรธแล้ว ทำไมยังไม่หายโกรธ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

รู้ว่าโกรธแล้ว ทำไมยังไม่หายโกรธ

รู้ว่าโกรธแล้ว ทำไมยังไม่หายโกรธ

โยม : ถ้าเรารู้ สมมุติว่าเรารู้ว่าเราฟุ้งซ่านอยู่ เราโกรธอยู่ เราหงุดหงิดอยู่ เรารู้แล้วทำไมมันไม่หายไปสักทีล่ะคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : โอ้.. ถ้าอยากให้หาย ไม่หายหรอกนะ ความอยากเป็นต้นเหตุให้เกิดความทุกข์นะ ยิ่งอยากมากยิ่งทุกข์มาก ก็เอาอย่างที่หลวงพ่อสอนตะกี้นี้นะ ความโกรธเกิดขึ้นเราก็ดูไป ความโกรธเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า เราเป็นคนดูเฉยๆนะ ไม่ไปต่อต้านมัน ไม่ไปคล้อยตามมัน ต่อต้านมันก็คืออยากให้มันหายไป นี่สุดโต่งไปในข้างบังคับตัวเอง จะยิ่งเครียดหนักเลย ยกตัวอย่างโมโหขึ้นมาแล้วอยากหายโมโห มันไม่ยอมหายเลย โมโหตัวเองอีกที่มันโมโหไม่หาย เออ..นะ เลยยิ่งโมโหซ้อนโมโหไป อันนี้สุดโต่งไปในข้างทรมานตัวเองมากไป อีกพวกหนึ่งสุดโต่งตามใจกิเลส โมโหแล้วไปตีกับเขาเลย ลืมตัว ถูกกิเลสครอบเอา

เราเอาทางสายกลางนะ จิตมันโกรธก็เห็นเลย ความโกรธมันแยกขึ้นมา จิตเป็นคนดูนะ ความโกรธอยู่ต่างหาก ถ้าเห็นได้อย่างนี้นะ ความโกรธมันมาไม่ถึงจิตหรอก ศีล สมาธิ ปัญญา มันเกิดนะ ค่อยๆฝึกเอา ไม่ยากนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แสดงธรรมเมื่อ วันพุธที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมเทศนานอกสถานที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
File: 540810A
ระหว่างนาทีที่ ๔๘ วินาทีที่ ๕๒ ถึง นาทีที่ ๔๙ วินาทีที่ ๕๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปฎิบัติธรรมต้องฉลาดนะ สู้ไม่ได้ก็ต้องถอย

mp3 (for download): ปฎิบัติธรรมต้องฉลาดนะ สู้ไม่ได้ก็ต้องถอย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ปฎิบัติธรรมต้องฉลาดนะ สู้ไม่ได้ก็ต้องถอย

ปฎิบัติธรรมต้องฉลาดนะ สู้ไม่ได้ก็ต้องถอย

โยม : กราบนมัสการหลวงพ่อค่ะ ก็มีตามรู้ว่า จิตคิดอย่างไร ทีนี้ถ้าหากว่าเราก็รู้แล้ว ก็รู้ว่าอะไรเป็นปฏิฆะให้เราเกิดเช่นโทสะ เราก็รู้ว่าโทสะ เราควรหลีกเลี่ยงปฏิฆะนั้นมั้ย เพื่อไม่ให้จิตต้องเกิดโทสะอยู่เนืองๆ

หลวงพ่อปราโมทย์ : คืออยู่ที่ว่าเราจะฝึกอะไร ถ้าเราฝึกสมถะนะ เลี่ยงได้ก็เลี่ยง จิตจะได้มีความสุข เพราะสิ่งที่เราต้องการคือความสุขความสงบ แต่ถ้าเราจะเจริญปัญญานะไม่จำเป็นต้องเลี่ยง ตากระทบรูปแล้วปฏิฆะเกิด มีสติรู้ทัน ก็จะเห็นเลย แต่เดิมปฏิฆะไม่มี ตอนนี้ปฏิฆะมีขึ้นมา นี่นะมันไม่เที่ยงแล้ว ปฏิฆะมีขึ้นมาแล้ว แล้วมีสติรู้ทัน ปฏิฆะหายไป นี่ก็ไม่เที่ยงละ ดูอย่างนี้ก็ใช้ได้ แล้วแต่ว่าเราต้องการอะไร

แต่ถ้าดู จะเจริญวิปัสสนารวดไปเลยนะ หมดแรงแล้ว ไม่ไหวแล้ว เดี๋ยวจะระเบิดอยู่แล้ว เดินหนีเลย ยังได้เลย หลบเลี่ยงเสียก่อน

โยม : ก็เป็นวิธีหนึ่งได้ ถ้ารู้ว่าอ่อนล้า

หลวงพ่อปราโมทย์ : ใช่ ถ้าสู้ไม่ได้ก็ถอยสิ ใช่มั้ย เราต้องฉลาดนะ ปฏิบัติธรรม สู้ไม่ไหวก็หนี ครูบาอาจารย์ท่านก็ถอยนะ ยกตัวอย่างบางทีสมัยหนุ่มๆท่านไปธุดงค์ ไปเจอสาวเข้านะ ใจมันชอบนะ ทำไงได้ใจมันชอบน่ะ ห้ามไม่ได้ ท่านดูอย่างไรก็ไม่หายนะ ท่านหนีเลย คว้ากลดคว้าบาตรหนีไปเลย มีอยู่องค์นะ หนีไปแล้วไปเจอสาวที่หมู่บ้านที่หนีไปอีก ไอ้คนเดิมแหละ เวรกรรมอะไรไม่รู้ เลยหนีไปรอดน่ะองค์นั้น

เพราะฉะนั้นอย่างบางคนนะเราเข้าใกล้แล้วเราหงุดหงิดมากเลย เจริญสติไม่ได้ สติจะแตกอย่างเดียวนะ เลี่ยงได้ก็เลี่ยงไปก่อน ไม่ใช่วิปัสสนาแต่ว่าเอาตัวรอดไว้ก่อน ถ้าเป็นวิปัสสนาแท้นะ รู้อย่างที่เขาเป็นไปเรื่อย เพื่อให้เห็นเลย ปฏิฆะก็ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา จิตจะมีปฏิฆะก็ห้ามไม่ได้ ดูอย่างนั้น

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
File: 540216
ระหว่างนาทีที่  ๕๕ วินาทีที่ ๓๒ ถึง นาทีที่ ๕๗ วินาทีที่ ๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตปรุงแต่งไม่มีปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่เราไปปรุงแต่งต่อ

mp 3 (for download) : จิตปรุงแต่งไม่มีปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่เราไปปรุงแต่งต่อ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

จิตปรุงแต่งไม่มีปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่เราไปปรุงแต่งต่อ

จิตปรุงแต่งไม่มีปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่เราไปปรุงแต่งต่อ

โยม: ช่วงนี้ก็หลงเยอะ แล้วก็นานด้วย แล้วก็จิต จิตแกว่งง่าย ไม่ค่อยมีสมาธิ บวกขี้เกียจ แล้วพอจะรู้ตัวขึ้นมา เหมือนจะรู้นิดนึง ก็จะพยามข่มไว้นิดๆ

หลวงพ่อปราโมทย์: ดีนะ ดีที่รู้ว่า มันทำยังไง ดีที่รู้ว่าไปทำอะไรมัน สังเกตมั้ย มี ๒ อันนะ อันหนึ่งจิตมันทำงานไปนะ มันปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ ไป อันนี้อันหนึ่ง อีกอันคือเราเข้าไปทำมัน เช่น เราเข้าไปข่มมันไว้ เราคล้อยตามมันไป

ตรงที่จิตปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ ไม่มีปัญหานะ ยังไม่ใช่ปัญหา ปัญหาอยู่ตรงที่พอเราไปรู้มันแล้ว ใจเราไปทำงานเข้า ไปปรุงต่อเข้าไปอีก ปัญหาไปอยู่ตรงนั้นเอง

อย่างความโกรธเกิดขึ้นนะ จิตมันจะโกรธ ห้ามมันไม่ได้ เพราะฉะนั้นไม่มีหน้าที่ไปห้าม พอความโกรธเกิดขึ้นแล้วอยากให้หาย พออยากให้หายเนี่ย หาทางแก้ไขความโกรธ ตัวนี้เป็นปัญหาล่ะ นี่คือความปรุงแต่ง ปรุงแต่งใหม่ เป็นกรรมใหม่

ตรงที่จิตมันโกรธขึ้นมา มันโกรธไปตามความเคยชินเดิมๆ ของมัน มันเคยโกรธ มันก็โกรธ พอมันโกรธขึ้นมา ใจเราไม่ชอบมัน หาทางแก้ ตรงที่ใจหาทางแก้หาทางทำนี่ล่ะ เป็นกรรมใหม่ ตรงนี้ต้องรู้ทันนะ ถ้ารู้ไม่ทันความทุกข์จะเกิด ใจจะแน่นขึ้นมา

เพราะฉะนั้น ถ้าสภาวะใดๆ เกิดขึ้นเนี่ยไม่ใช่ปัญหา ภาวะใดๆ เกิดขึ้นนะ เราสักว่ารู้สักว่าเห็นได้นี่ใช้ได้เลย ถ้าสภาวะใดๆ เกิดขึ้นเราไม่เข้าใจ เราพยามเข้าไปแทรกแซงแก้ไข อันนี้ใช้ไม่ได้ ที่ใช้ไม่ได้ ไม่ใด้ใช้ไม่ได้ตรงที่มีสภาวะเกิดขึ้นนะ ใช้ไม่ได้ตรงที่เข้าไปแทรกแซง ไปคล้อยตามบ้าง ไปต่อต้านบ้าง

สภาวะใดๆ เกิดขึ้นนะ ปล่อยให้เขาเกิดขึ้น ขันธ์ ๕ เนี่ยเป็น ‘สังขตธรรม’ เป็นธรรมะฝ่ายปรุงแต่งนะ เพราะฉะนั้น ขันธ์ ๕ ต้องปรุงแต่งไปเรื่อยๆ เราไม่ได้ไปห้ามมัน อย่างจิตมีหน้าที่คิดนะ ก็คิดทั้งวันทั้งคืน ไม่ต้องไปห้ามมัน แต่พอคิดแล้วเกิดสุขเกิดทุกข์เกิดดีเกิดชั่ว เราก็ไม่ต้องไปห้ามมัน เพราะว่ามันต้องเกิด มันมีเหตุ มันไปคิดอย่างนี้เข้า มันไปกระทบอารมณ์อย่างนี้เข้า มันมีนิสัยเคยขี้โมโห มันก็เลยโมโหขึ้นมา อันนี้ห้ามไม่ได้

พอมันโกรธขึ้นมาแล้วเราไม่ชอบความโกรธ ตรงนี้ปัญหาอยู่ตรงนี้ล่ะ ตรงที่เราพอใจ เราไม่พอใจ ต่อสภาวะนั้น พอเราพอใจเราก็หาทางรักษา เราไม่พอใจเราก็หาทางผลักหาทางทำลายแก้ไขมันออกไป ตรงที่เราทำงานขึ้นมานี้แหละ เรียกว่าเราสร้างกรรมใหม่ เราสร้างภพอันใหม่ขึ้นมา จิตจะมีความทุกข์เกิดขึ้นทันทีเลย

เพราะฉะนั้น ถ้าเราเห็นสภาวธรรม เห็นรูปเห็นนาม เห็นกายเห็นใจ เขาปรุงของเขาไปเรื่อยนะ เราไม่ปรุงอะไรเราไม่ทุกข์นะ ขันธ์ต่างหากล่ะมันเป็นตัวทุกข์ มันก็ทุกข์ มันก็ทำงาน ดิ้นรนของมันตามหน้าที่ของมัน เพราะเป็นธรรมะฝ่ายปรุงแต่ง เป็นสังขตธรรม เราห้ามมันไม่ได้ มันก็ปรุงของมันไปเรื่อยๆ เราไม่เกี่ยวข้องนี้เราไม่ทุกข์นะ

แต่พอเรายินดียินร้ายกับมันขึ้นมา มันปรุงอย่างนี้เราชอบ มันปรุงอย่างนี้เราไม่ชอบ ไปยินดียินร้ายขึ้นมาเนี่ย ใจก็ดิ้นรน ใจก็มีความทุกข์ ให้คอยรู้เรื่อยๆ ง่ายๆ

จิตจะมีความสุขก็ได้ จิตจะมีความทุกข์ก็ได้ จิตจะเป็นกุศลก็ได้ อกุศลก็ได้ ไม่ต้องไปยุ่งกับมัน เมื่อไหร่เข้าไปยุ่งเมื่อนั้นก็จะมีความทุกข์อันใหม่เกิดขึ้น จิตใจมีความทุกข์ขึ้นมา ตัวนี้คือตัวที่เราต้องรู้ทัน ถ้ารู้ไม่ทันเราจะปรุงทุกข์ซ้ำซ้อนขึ้นมา ขันธ์ ๕ ก็เป็นทุกข์โดยตัวของมันเองอยู่แล้ว มันต้องดิ้นรนไปเรื่อยๆ ปรุงแต่งไปเรื่อยๆ เพราะมันเป็นตัวทุกข์น่ะ ต้องดิ้นรนปรุงแต่งไปเรื่อยๆ แต่เราไม่พอใจขึ้นมา เราพอใจขึ้นมา ใจเราปรุงแต่งซ้อนขึ้นมาอีกที คราวนี้เราจะทุกข์แล้ว

ขันธ์ ๕ ของพระอรหันต์ก็ปรุงแต่งนะ ไม่ใช่ขันธ์ ๕ ของพระอรหันต์ไม่ปรุงแต่ง ขันธ์ ๕ ของพระอรหันต์ปรุงแต่ง แต่จิตของพระอรหันต์นั้นไม่มีอะไรปรุงแต่งได้เลย ด้วยเหตุขันธ์มันทำงานไปโดยจิตไม่กระเพื่อมหวั่นไหว ไม่มีอะไรปรุงแต่งจิต ไม่ทำงานต่อ ที่เรียกบอกว่า หมด หมดกิจแล้ว จบกิจแล้ว คือใจไม่ต้องทำงานแล้ว เห็นแต่ขันธ์มันทำงาน ใจไม่ต้องทำอะไร ขันธ์ก็ทำงานไปตามหน้าที่ของขันธ์ จนวันหนึ่งก็สิ้นขันธ์ ตรงที่ใจมันพรากออกจากขันธ์ จิตมันพรากออกจากขันธ์ ขันธ์ไม่กระเทือนเข้าถึงจิต เรียกว่า ‘สอุปาทิเสสนิพพาน’ จิตถึงสอุปาทิเสสนิพพาน ตรงที่สิ้นขันธ์ไปแล้ว อันนี้เรียก ‘อนุปาทิเสสนิพพาน’

ค่อยๆ ฝึกนะ เราไม่ได้ฝึกเพื่อให้ขันธ์ผิดปกตินะ บางคนพยายามฝึกให้ขันธ์ผิดปกติ เช่น ไม่ให้คิดนะ ไม่ให้คิด ไม่ให้โลภ ไม่ให้โกรธ ไม่ให้หลง เนี่ยฝึกให้ขันธ์ผิดปกติ ให้มันคิดไป ให้มันโลภ ให้มันโกรธ ให้มันหลงไป แล้วตามรู้มันไป ตามรู้แล้วอย่าไปหลงยินดีกับมัน อย่าไปหลงยินร้ายกับมัน


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๙
Track: ๖
File: 500106.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๒๕ ถึง นาทีที่ ๓๓ วินาทีที่ ๒๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิปัสสนาต้องเห็นรูปนามเป็นไตรลักษณ์

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี

mp3 for download: วิปัสสนาต้องเห็นรูปนามเป็นไตรลักษณ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: พระพุทธเจ้าสอนให้รู้กาย พระพุทธเจ้าสอนให้รู้ใจ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนกำหนดนะ พระพุทธเจ้าสอนให้รู้ “ทุกขัง อริยสัจจัง ปริญญาญัง” ทุกข์เป็นสิ่งควรรู้รอบ ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรรู้รอบ รู้รอบ คือ รู้ด้วยสติ รู้ด้วยปัญญา

รู้ด้วยสติ คือ รู้ถึงตัวสภาวะของมัน รู้ด้วยปัญญาก็จะเห็นลักษณะของมัน รู้ด้วยสติก็คือ เห็นสภาวะ เช่น ความโกรธเกิดขึ้น เห็นความโกรธโผล่ขึ้นมา รู้ด้วยปัญญาก็คือ เห็นว่าความโกรธนั้นไม่เที่ยง ความโกรธนั้นเป็นทุกข์ ความโกรธมิใช่ตัวเรา บังคับไม่ได้ ห้ามไม่ได้ รู้ด้วยปัญญาก็คือเห็นไตรลักษณ์นั่นแหละ ถ้ารู้ด้วยสติก็เห็นรูปนาม รู้ด้วยปัญญาเห็นไตรลักษณ์ วิปัสสนาต้องเห็นรูปนามเป็นไตรลักษณ์ เพราะฉะนั้นต้องรู้ด้วยสติและปัญญา

รู้ด้วยสติอย่างเดียวไม่ได้ บางคนไปเดินจงกรมนะ เอาจิตไปจ่อไว้ที่เท้า เท้าเคลื่อนไหวอย่างไรรู้หมดเลย อันนั้นไม่มีปัญญา ถ้ารู้ด้วยปัญญาจะเห็นเลย ตัวที่เดินอยู่ไม่ใช่ตัวเรา ตัวที่โกรธ ความโกรธนั้น ไม่ใช่ตัวเรา สภาวธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ว่าสภาวธรรมใดๆ จะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม ล้วนแต่ไม่ใช่ตัวเรา นี่อย่างนี้ถึงจะเรียกว่ามีปัญญา บุคคลถึงความบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ถึงความบริสุทธิ์เป็นอย่างไร ถึงพระอรหันต์นั่นเอง

บุคคลถึงความบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญานะ ปัญญาเกิดจากอะไร ปัญญาเกิดจากมีสติ รู้สภาวะของรูปธรรมนามธรรมที่กำลังปรากฎ แต่ปัญญามีสติรู้อย่างเดียวไม่พอ ต้องมีเงื่อนไขที่สำคัญ ที่ให้เกิดปัญญา คือมีสัมมาสมาธิ

ในพระอภิธรรมถึงสอนว่า สัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา สัมมาสมาธิมิใช่มิจฉาสมาธิ สมาธิที่พวกเราฝึกอยู่เกือบทั้งหมดคือมิจฉาสมาธิ สมาธิเพ่ง สมาธิจ้อง สมาธิบังคับ สมาธิกำหนด สมาธิเครียดๆแข็งๆ สมาธิเคลิ้มๆ สมาธิลืมเนื้อลืมตัว สิ่งเหล่านี้เป็นมิจฉาสมาธิทั้งสิ้น

หรือสมาธิเข้าไปนอนแช่ รู้ลมหายใจก็ไปนอนอยู่กับลม แช่จิตลงไปแช่กับลม รู้ท้องพองยุบจิตไปแช่อยู่ที่ท้อง รู้เท้า ยกเท้า ย่างเท้า จิตไปแช่อยู่ที่เท้า ขยับมือ จิตไปไหลไปอยู่ในมือ อย่างนี้เป็นมิจฉาสมาธิ

ถ้าสัมมาสมาธิ ใจจะตั้งมั่น สักว่ารู้ สักว่าเห็นอยู่ ใจมันตั้งมั่นเป็นแค่คนดู สติระลึกไป แต่ใจเป็นคนรู้เฉยๆ ใจไม่เข้าไปปรุงแต่งต่อ สติระลึกรู้ ใจไม่ปรุงแต่งต่อนะ ใจเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่อย่างนั้นเอง

พอใจมันไม่ปรุงแต่งต่อ มันจะเห็นความจริง ของสภาวธรรมทั้งปวง ทั้งรูปธรรมนามธรรมที่เกิดขึ้น สภาวะทั้งหลายทั้งปวงไม่มีตัวเราในสภาวะเหล่านั้น ร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา จิตใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา จะเห็นซ้ำ ซ้ำ ซ้ำ อย่างนี้นะ เห็นไป วันหนึ่งก็จะแจ้งขึ้นมา


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๓
Track: ๑๑
File: 510202.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๓๒ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภพ มี ๒ อย่าง

mp 3 (for download) : ภพ มี ๒ อย่าง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ภพมี ๒ อย่างนะ อย่างหนึ่งเรียก ‘อุปปัตติภพ’ คือ ภพโดยการเกิด อย่างพวกเรานี้มีอุปปัตติภพเป็นมนุษย์ และมี ‘กรรมภพ’ คือการทำงานของใจ ที่ทำอยู่เป็นขณะๆ พวกเรามีกรรมภพ วันหนึ่งมีกรรมภพนับไม่ถ้วน เดี๋ยวก็เป็นภพที่ดี เดี๋ยวก็เป็นภพที่เลว

บางขณะกิเลสครอบงำใจ อย่างโทสะครอบงำใจ ในขณะนั้นเราอยู่ในภพของสัตว์นรก ร่างกายเราเป็นมนุษย์ แต่กายเราเป็นสัตว์นรกในขณะนั้น ขณะใดความโลภครอบงำใจนะ  ร่างกายเราเป็นมนุษย์แต่ใจเราเป็นเปรต มีภพย่อยๆ ที่เป็นเปรต อันนี้เป็นภพย่อยๆ ภพที่เกิดจากจิตมันทำงานขึ้นมา

หรือในขณะใดจิตเรามีศีลมีธรรมขึ้นมา เราอยู่ในภพของมนุษย์ ขณะจิตเรามีหิริโอตตัปปะ ละอายที่จะทำบาป เกรงกลัวผลของการทำบาป เราเป็นเทวดา ขณะใดจิตใจเราสงบ มีความสงบนะ สุขสงบว่าง อุเบกขา แล้วก็สงบบ้าง จิตใจเราเป็นพรหม

เพราะฉะนั้นเราจะมีภพเวียนอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา ภพใหญ่ๆ นี่ได้มาโดยการเกิด เกิดมาชาติหนึ่ง อุปปัตติภพเป็นมนุษย์ ก็มีภพย่อยๆ มากมายนับไม่ถ้วนในแต่ละวัน


ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๓๗
File: 530815.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๕ ถึง นาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๒๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ขณะแรกที่ออกจากสมาธิ เป็นนาทีทองของคนทำสมาธิ

mp 3 (for download) : ขณะแรกที่ออกจากสมาธิ เป็นนาทีทองของคนทำสมาธิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: บางคนชอบทำสมาธิก็ทำสมาธิไปไม่ห้าม แต่พอออกจากสมาธินี่ให้มีสติรู้ทันจิตตั้งแต่ขณะแรกที่ออกจากสมาธิ ตัวนี้สำคัญที่สุดนะ  ขณะแรกที่ออกจากสมาธิเป็นนาทีทองของคนทำสมาธิ ในขณะที่อยู่ในสมาธินั้นเป็นที่พักผ่อน ไม่เกิดสติปัญญาอะไร แต่ขณะที่จิตถอยออกจากสมาธิให้มีสติรู้ทันความเปลี่ยนแปลงของจิตเลย จิตตะกี้มีปิติ ออกมาแล้วไม่มี จิตตะกี้มีสุข ออกมาแล้วไม่มี จิตตะกี้สงบเฉยๆ พอออกมาแล้วฟุ้งซ่าน

เพราะฉะนั้น นาทีทองอยู่ตรงที่ถอยออกจากสมาธินะ สำหรับคนที่ทำสมาธิ แต่ถ้าออกจากสมาธิแล้วก็ยังทำหน้าอย่างนี้ทั้งวันนะ นี่ หลวงพ่อทำให้ดูนะ แล้วคิดว่าปฏิบัติอยู่ทั้งวัน นี่หลงผิดอยู่ทั้งวันนะ โมหะครอบอยู่ทั้งวันแล้วไปคิดว่าวิปัสสนาจริงๆ เราจะเจริญสติต้องทำซึมไว้ ทำยากนะ ลืมไปนานแล้ว (โยมหัวเราะ) นี่ เชิญด่าเลยนะ ไม่โกรธหรอก ด่าสามวันก็ไม่โกรธนะ มันไม่ใช่ไม่มีกิเลสนะ มันคือกรรมฐานที่เอาหินทับหญ้าไว้เฉยๆ กรรมฐานโง่นะ เพราะฉะนั้น ถ้าออกจากสมาธิแล้วอย่าให้ค้างอยู่ ออกแล้วออกเลย ดูความเปลี่ยนแปลงของจิตของใจไปเรื่อยๆ

สวนสันติธรรม
CD: ธรรมเทศนา ๔ วัน ในสวนสันติธรรม
File: 501017B.mp3
Time: 46.26 – 47.56

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทำไมปฏิบัติแล้วความโกรธไม่ลดลง?

mp3 (for download) : anger not stable

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : การสังเกตอารมณ์ที่รู้ทัน เช่น เวลาที่เราดีใจ เสียใจ หรือโกรธ คือ หลังจากปฏิบัติแล้วไม่ได้ลดน้อยลง เพียงแต่รู้ทันว่าตอนนี้กำลังโกรธ ตอนนี้กำลังอารมณ์ไม่ดี

หลวงพ่อปราโมทย์ : เราไม่ได้ฝึกให้ลดน้อย แต่เราฝึกให้เห็นความจริงว่าทุกสิ่งเกิดแล้วดับ เห็นตรงนี้มั้ย โกรธแล้วก็ดับ โลภเกิดแล้วก็ดับ ดีใจเสียใจเกิดแล้วก็ดับเราเรียนเพื่อสิ่งนี้ต่างหาก หลวงพ่อบอกแล้วว่าเราไม่ได้เรียนเอาดี

โยม : มันดับเร็วขึ้นกว่าเดิม

หลวงพ่อปราโมทย์ : ใช่ นั่นแหละดีแล้ว นั่นมีพัฒนาการแล้ว แต่เดิมเคยโกรธทีนึงหลายชั่วโมง เดี๋ยวนี้พอความโกรธผุดแว้บก็ขาดสะบั้นไปแล้ว ภพชาติของเราสั้นลง แทนที่จะเป็นภพขี้โมโหหลายชั่วโมงนะ ก็เป็นภพขี้โมโหหนึ่งแว้บ อะไรงี้ สังสารวัฏเราก็หดสั้นลงๆ

เพราะฉะนั้นเรียนนี่ไม่ใช่เรียนเพื่อไม่ให้โกรธ ความโกรธก็เป็นอนัตตาเหมือนกัน ถ้าเหตุของความโกรธยังมีมันจะต้องโกรธอีก เหตุของความโกรธคืออะไร อันแรกเลยคือมีอนุสัยขี้โมโห พูดภาษาไทยคือมีสันดานขี้โมโห มันคุ้นเคยที่จะโมโห มันจะโมโหบ่อย มีสันดานขี้โมโหอย่างเดียวก็ยังไม่โกรธ ต้องมีอันอื่นอีก ต้องได้กระทบอารมณ์ที่ไม่พอใจถึงจะโกรธ ถ้ากระทบอารมณ์ที่ไม่พอใจอย่างเดียว แต่ไม่มีอนุสัยขี้โมโห มันก็ไม่โกรธนะ เพราะงั้นความโกรธ เกิดจากเหตุตั้งหลายอย่างมาประชุมกัน แล้วก็ปรุงเป็นความโกรธขึ้นมา ถ้าเหตุของมันยังอยู่ มันยังโกรธอีก ถ้าวันนึงเราภาวนาจนอนุนัยขี้โมโหนี้หายไป มันจะไม่โกรธละ เพราะฉะนั้น เราไม่ได้เรียนเพื่อจะไปบังคับเพื่อแทรกแซงสังสารวัฏนะ ไม่ใช่ไปแทรกแซงสภาวะนะ แต่เรียนว่าทุกสิ่งเกิดจากเหตุ ถ้าเหตุดับ สิ่งนั้นก็ดับ

CD สวนสันติธรรมแผ่นที่ 12

ไฟล์ 080749B

26min49-28min43

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คนขี้โมโหดูจิต

MP3 (for download) :คนขี้โมโหดูจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: ขี้โมโห คือมีอะไรนิดอะไรหน่อยก็ขัดเคืองใจเก่งมาก หนูก็เลยอยากถามหลวงพ่อว่า หนูควรจะทำอย่างไร ซึ่งการดูจิตหนูก็ดูมาตั้งนานแล้วค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: ให้ดูไปสินะ กิเลสหลักของเราคือ โทสะ ดูจิตมาตั้งนานเรายังโมโหเลย

โยม: ใช่ค่ะ คือเวลาอ่านหนังสือหลวงพ่อบอกว่า พอเราดูจิตปั๊บ มันจะดับ บางทีมันไม่ดับน่ะค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: มันดับแต่มันดับเป็นขณะๆ นะ เหตุของมันยังอยู่มันก็ปรุงความโกรธขึ้นมาอีก เราไม่ได้ดูจนมันดับถาวรนะ มันจะดับในขณะที่เรารู้ทันเท่านั้น เดี๋ยวมันก็ขึ้นมาอีก ขึ้นมาอีก เดี๋ยวเราก็รู้อีก ทั้งวันเราจะเห็นจิตมีสองชนิดเท่านั้นเอง คือจิตที่มีโทสะกับจิตที่ไม่มีโทสะ ดูอย่างนี้นะ จิตที่มีโทสะจะเกิดก็ห้ามมันไม่ได้ จิตไม่มีโทสะนะ รักษาไว้ก็ไม่ได้ ประเดี๋ยวโทสะก็มาอีก เพราะฉะนั้น คุณไปดูจิตหนึ่งคู่นะ จิตที่มีโทสะกับจิตที่ไม่มีโทสะ มันจะเกิดสลับกันทั้งวันเลย ดูอย่างนี้ ไม่ใช่ดูเพื่อให้หายนะ ไม่ใช่ว่าดูเพื่อให้ไม่มีโทสะ ดูไปจนวันหนึ่งปัญญามันเกิด มันเห็นเลยจิตที่มีโทสะกับจิตที่ไม่มีโทสะนี้เท่าเทียมกัน เพราะเกิดแล้วดับเหมือนๆกัน ไปดูอย่างนี้นะ ใจจะเป็นกลาง จิตมีโทสะเกิดขึ้น ใจก็เป็นกลาง โทสะหายไปใจก็ยังเป็นกลาง

โยม: ค่ะ คือถ้ายิ่งแรงๆ มันก็จะรู้สึกมันก็ยังคงเดิมไม่ดับอะไรอย่างนี้ค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: นั่นแหละ ใจมันไม่ชอบ มันยังไม่มีสติแท้ ในขณะที่โทสะเกิดขึ้น เราไปดูมันนะ ถ้าเรารู้เฉยๆ นี่มันดับเอง แต่ถ้าเราไปดูแล้วเราเกลียดมัน ความเกลียดโทสะนั่นแหละเป็นโทสะอีกตัวหนึ่ง เหมือนกับไฟกำลังไหม้นะเราอุตส่าห์เอาไฟไปเติมอีก เอาเชื้อไปใส่เพิ่ม ให้เรารู้ลงไปว่าใจเราไม่ชอบโทสะ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่