Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

ไม่พักไม่เพียร

mp3 (for download) : ไม่พักไม่เพียร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ผู้เผลอลืมกายลืมใจ ที่ไปของเราก็คือ ทุคติ ผู้เพ่งบังคับกายบังคับใจไว้ ที่ไปของเราในอนาคตคือสุคติ แต่ไม่ไปนิพพาน เพราะฉะนั้นการที่เราบังคับกายบังคับใจเรื่อยไป ไม่ตกนรกหรอก ดี แต่มันหยุดอยู่แค่ดีเท่านั้นเอง ไม่สามารถไปถึงนิพพานได้ เพราะฉะนั้นเราอย่าไปสุดโต่งสองฝั่ง ถ้าเราไปสุดโต่งสองฝั่ง ไม่ไปนิพพาน

ครั้งหนึ่งมีเทวดาไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร โอฆะแปลว่าห้วงน้ำ ก็คือกิเลสทั้งหลายนั้นเอง พระพุทธเจ้าบอกว่า เราข้ามโอฆะได้เพราะเราไม่พักและเราไม่เพียร เทวดาฟังแล้วงง ไม่พักอยู่เนี่ยฟังแล้วเข้าใจ แต่ไม่เพียรฟังแล้วไม่เข้าใจ ก็ถามท่านอีกว่า ไม่พักไม่เพียรเป็นอย่างไร ท่านบอกว่า ถ้าพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราไม่พักเราไม่เพียร เราพ้นจากโอฆะข้ามห้วงน้ำได้ด้วยวิธีนี้

ทำไมจมลงไม่ดี จมลงไปทุคติ ฟูขึ้นลอยขึ้น ไปสู่สุคติ ไม่ได้ไปนิพพาน คำว่าไม่พักก็คือไม่ปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลส ไม่หลงไปตามกามสุขัลลิกานุโยค เผลอไปนั่นแหละ คำว่าไม่เพียรของท่านก็คือ ไม่ได้ไปเพ่งกายเพ่งใจ เป็นอัตตกิลมถานุโยค เพราะฉะนั้นเราต้องเดินทางสายกลางให้เป็น


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๒o เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

File: 550120
CD : สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๒ ถึงนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เผลอ เพ่ง

mp3 (for download) : เผลอ เพ่ง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : วิธีการปฏิบัตินะ มันก็มีเป็นขั้นๆไปเหมือนกัน ขั้นแรกเลยก็ต้องหัดรู้สึกตัวให้เป็น คนรู้สึกตัวไม่เป็นนะ มันเดินปัญญาไม่ได้ รู้สึกตัวไม่เป็นก็หลงไป ถ้าไม่หลงไปก็นั่งเพ่งไว้ทั้งวัน คนส่วนใหญ่ที่เขาภาวนากัน เขาเอาแต่นั่งเพ่งกัน ไปที่ไหนก็เจอแต่นักเพ่ง เพ่งแล้วกายก็นิ่งใจก็นิ่ง ก็ได้แค่นั้นแหละ กี่ปีมันก็อยู่แค่นั้นแหละ เพ่งมาวันนี้สงบนะอีกหน่อยก็ฟุ้ง ฟุ้งแล้วก็ไปทำความสงบใหม่ ไปเพ่งอีกก็สงบ กลับไปกลับมาไม่มีอะไรขึ้นมา ก็ได้แค่นั้น

จะต้องกลับมารู้สึกตัวให้เป็น ไม่ใช่เผลอไป ไม่ใช่เพ่งเอาไว้ เผลอไปเนี่ยหย่อนไป เพ่งเอาไว้นี่ตึงเกินไป เผลอเนี่ยตามใจกิเลส กิเลสลากไปทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจโดยเฉพาะลากทางใจคือลากไปคิด ลืมตัวเอง ใช้ไม่ได้ เพ่งเอาไว้นะ เพ่งออกข้างนอกก็ได้ เพ่งพระ เพ่งเทียน เพ่งลูกแก้ว เพ่งใบไม้ เพ่งน้ำ เพ่งออกนอกก็ได้ เพ่งร่างกายก็ได้ เช่น เพ่งลมหายใจ เพ่งท้องพองยุบ หรืออิริยาบถ ๔ ยืนอยู่ก็เพ่งอยู่ทั้งตัว นั่งอยู่ก็เพ่งทั้งตัว นอนอยู่ก็เพ่งทั้งตัว เดินก็เพ่งตัวแข็งๆ ใจแข็งๆตัวแข็งๆ หรือเพ่งทางใจก็ได้ น้อมจิตให้นิ่ง รักษาจิตให้นิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียวเลย ไม่ให้จิตคิดนึกปรุงแต่ง บังคับจิตให้นิ่ง สงบ อันนั้นก็คือเพ่ง ถ้าเผลอไปคือไม่สามารถรู้กายรู้ใจได้ ถ้าเพ่งไว้เนี่ย กายก็นิ่งใจก็นิ่ง ไม่แสดงไตรลักษณ์


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๒o เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

File: 550120
CD : สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๐ ถึงนาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เตรียมพร้อมจิตเพื่อเจริญวิปัสสนา

mp3 for download : เตรียมพร้อมจิตเพื่อเจริญวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : วันสุดท้ายแล้วของพวกเข้าคอร์ส รู้เรื่องบ้างมั้ย คนไหนติดสมาธินะ เราก็รู้ทันใจที่ติดสมาธิ ใจที่ติดสมาธินี้เป็นใจที่เราเข้าไปแทรกแซง เราเข้าไปควบคุม ยกตัวอย่างเรากลัวมันหลง เราพยายามไปเฝ้าเอาไว้ เรากลัวจะรู้ไม่ชัด เราก็ไปคอยจ้องคอยดูไม่ให้คลาดสายตา เราก็จะเกิดการเพ่งขึ้นมา บางคนก็มีทฤษฎีที่ผิดๆคิดว่าต้องเพ่งไว้ก่อน ถ้าไม่สงบแล้วเดินปัญญาไม่ได้

ที่คิดอย่างนั้น เพราะแยกไม่ออกว่าสมาธิมี ๒ ชนิด คือ สมาธิชนิดสงบกับสมาธิชนิดที่จิตตั้งมั่น ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นการที่เราจะภาวนา เบื้องต้นน้อมใจให้ซึมให้นิ่งๆ แล้วคิดว่านี่คือความสงบเป็นสมาธิ จะได้เดินปัญญา สมาธิที่น้อมเข้าไปนิ่งไปซึมไปทื่ออยู่ ไม่ได้เอาไว้ใช้เดินปัญญาหรอก เอาไว้พักผ่อนเล่น สมาธิที่ใช้เดินปัญญานั้น จิตจะตั้งมั่น จิตจะถอนตัวออกจากโลกของความคิด มาเป็นผู้รู้ผู้ดู

สมัยก่อนหลวงพ่อไปเรียนกับครูบาอาจารย์ ท่านชอบพูดคำว่า “จิตผู้รู้” หลังๆเราลืมคำว่า “จิตผู้รู้” ไป เรามีแต่จิตผู้เพ่ง ถ้าไม่เป็นจิตผู้เพ่งก็เป็นจิตผู้คิด จิตผู้เพ่งนั้นมันสุดโต่งไปข้างบังคับตนเอง จิตผู้คิดก็สุดโต่งไปข้างฟุ้งซ่าน หลงไปอยู่ในโลกของความคิด จิตผู้รู้นั้นไม่ใช่จิตผู้คิดไม่ใช่จิตผู้เพ่ง เป็นจิตที่หลุดไปในโลกของความคิด และก็เห็นปรากฏการณ์ทั้งหลายเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง

เราจะไม่เพ่งไปที่ปรากฏการณ์ทั้งหลายที่จิตไปรู้เข้า แล้วเราก็ไม่เพ่งใส่ตัวผู้รู้ด้วย ถ้าเพ่งใส่ตัวผู้รู้ก็เป็นผู้เพ่งนะ ไปเพ่งใส่ปรากฏการณ์ รูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย รู้ลมหายใจก็ไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจ นี่ก็เป็นจิตผู้เพ่ง ไม่ใช่จิตผู้รู้

จิตผู้หลง จิตผู้หลงจิตผู้คิด มันถูกกิเลสยั่วก็เลยฟุ้งซ่านออกไป ไม่มีกระทั่งความสงบ ส่วนจิตผู้เพ่งมีความสงบนะแต่ไม่ตั้งมั่น เราจะต้องมาฝึกเป็นจิตผู้รู้ จิตผู้รู้เนี่ยไม่ฟุ้งซ่าน ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้เพ่งเอาไว้ มันทรงตัวสบายของมัน เป็นผู้รู้ผู้ดูสบายๆ

วิธีที่เราจะพัฒนาจิตผู้รู้ขึ้นมาก็คือหัดรู้ คอยรู้ทัน หาอารมณ์กรรมฐานขึ้นมาสักอันหนึ่ง จะพุทโธก็ได้ จะรู้ลมหายใจก็ได้ แต่ไม่ใช่พุทโธเพื่อจะน้อมจิตให้นิ่ง ไม่ใช่หายใจเพื่อน้อมจิตให้นิ่ง เราพุทโธเพื่อจะรู้ทันจิต เราหายใจเพื่อจะรู้ทันจิต คนไหนไม่ถนัดพุทโธไม่ถนัดรู้ลมหายใจ จะดูท้องพองยุบหรือทำกรรมฐานอะไรก็ได้ ไม่เลือกกรรมฐานหรอก

ไม่ว่าจะทำกรรมฐานอะไร จะดูท้องพองยุบหรือขยับมือทำจังหวะหรือพุทโธหรือลมหายใจหรือรู้อิริยาบถ ๔ รู้เวทนา บางคนก็เริ่มด้วยการรู้จิตไปเลย สำหรับบางคนดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปเรื่อยๆ อะไรก็ได้นะ แต่ว่าไม่ว่าจะรู้อะไรก็รู้ทันจิต พุทโธแล้วจิตหนีไปคิดก็รู้ทัน พุทโธจิตหนีไปคิดแล้วก็รู้ทัน ฝึกอย่างนี้เรื่อย พุทโธแล้วไปเพ่งจิตให้นิ่งๆอยู่ก็รู้ทัน

ตรงที่พุทโธแล้วหนีไปคิดเนี่ย สุดโต่งไปข้างหลงข้างคิดข้างฟุ้งซ่าน พุทโธแล้วไปเพ่งจิตให้นิ่ง สุดโต่งไปข้างบังคับตนเองนะ เป็นความสุดโต่งสองฝั่ง ให้คอยรู้ทัน ถ้าเรารู้ทันเราก็จะไม่สุดโต่งไปสองข้าง ก็จะเข้าทางสายกลาง หรือลมหายใจก็ได้ รู้ลมหายใจแล้วก็รู้ทันจิต หายใจไปจิตหนีไปคิดแล้วก็รู้ หายใจแล้วจิตหนีไปคิดแล้วรู้ หรือหายใจไปแล้วจิตไหลไปเพ่งอยู่ที่ลมไหลไปรวมอยู่ที่ลมหายใจไหลไปลงอยู่ที่ท้อง รู้ทันว่าจิตมันเคลื่อนไป ใช้กรรมฐานอะไรก็ได้แล้วก็รู้ทันจิต บทเรียนอันนี้ชือว่า “จิตตสิกขา”

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๑
ไฟล์ 540710
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๐ ถึง นาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๒๐) อย่าพยายามไปดึงจิตออกจากอารมณ์

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๒๐) อย่าพยายามไปดึงจิตออกจากอารมณ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : อย่าพยายามไปดึงจิตออกจากอารมณ์นะ ให้เค้าแยกของเค้าเอง อย่าไปดึงออกมา ถ้าดึงออกมานะ จิตจะแข็งทื่อเลย จิตจะไม่พอใจนะ มีความขุ่นเคืองลึกๆอยู่ เพราะถูกบังคับ เหมือนติดคุกอยู่เฉยๆ ก็ตั้งอยู่อย่างนี้ เนี่ย พอร่างกายจะเคลื่อนไหว เคลื่อนแล้ว (หลวงพ่อทำให้ดู) พยักหน้าแล้ว (หลวงพ่อทำให้ดู) เนี่ยอย่างนี้มันเกินไป

ให้รู้สบายๆ ยิ้มรู้สึกไหม ยิ้ม รู้สึกไปตัวอะไรยิ้ม เหมือนเห็นคนอื่นยิ้มเลยนะ คอยรู้สึกอย่างนี้นะ สุดท้ายมันจะเห็นเลย ร่างกายไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ความสุขความทุกข์ก็ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า กุศลอกุศลทั้งหลาย ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า  จิตก็ไม่ใช่ตัวเรา เพราะสั่งไม่ได้ สั่งให้สุขก็ไม่ได้ ห้ามทุกข์ก็ไม่ได้ สั่งให้ดีก็ไม่ได้ ห้ามชั่วก็ไม่ได้ แล้วจิตทำงานได้เอง วิ่งไปดูได้เอง วิ่งไปฟังได้เอง วิ่งไปคิดได้เอง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๗ วินาทีที่ ๔๖ถึง นาทีที่ ๓๘ วินาทีที่ ๔๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เส้นทางของนักปฏิบัติ

mp 3 (for download) : เส้นทางของนักปฏิบัติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : คนที่หลงไม่เคยภาวนาเลยนะ เวลาเรียนกรรมฐาน จะเรียนง่ายกว่าพวกที่ติดเพ่ง

พวกที่ไม่เคยเรียนกรรมฐานเลยนะ จิตหลงอย่างเดียว พอรู้ทันว่าจิตหลงนะ จิตก็จะตั้งขึ้นมาแล้ว แต่พอตั้งซักพักนะ ชำนิชำนาญขึ้นมา ก็จะกลายเป็นจิตเพ่งอีก ก็อยากรักษาไม่ให้มันหลงอีก ก็รักษาไว้กลายเป็นจิตเพ่งไป กลายเป็นนักปฏิบัติไป

คนทั่วๆไปไม่ใช่นักปฏิบัติเนี่ย จิตมีแบบเดียวคือหลงๆๆนะ พอได้ยินได้ฟังธรรมะบ้างนะ ก็หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ นี่ดีมากๆแล้ว พอปฏิบัติชำนิชำนาญนะ หลงแล้วรู้แล้วก็เพ่ง หลงแล้วรู้แล้วก็เพ่ง แต่ถ้าไม่ได้ฟังธรรมมาก่อน พอเริ่มลงมือปฏิบัตินะ ก็เพ่งๆๆ เลิกเพ่งก็หลง มีแต่เพ่งกับหลง หลงกับเพ่ง นี่พวกที่ภาวนาผิด

นี่ถ้าเราภาวนาถูกนะ มันจะเริ่มเป็นลำดับไป อย่างหัดใหม่ๆเนี่ย เผลอแล้วรู้ เผลอแล้วรู้ นี่พอดี แต่มันจะอยู่ได้ไม่นาน ไม่นานก็จะเกิดการเพ่ง มันกลัวจะเผลอ กลัวจะไม่รู้ อยากรู้ตลอดเวลา อยากจะไม่เผลอตลอดเวลา นี่ความอยากแทรกเข้ามาแล้ว จิตก็เลยมี ๓ แบบ เผลอไปแล้วรู้สึกแล้วก็เพ่ง นี้พอชำนิชำนาญขึ้นนะ ต่อไปไม่เพ่ง เหลือเผลอแล้วรู้ เผลอแล้วรู้ กลับไปเหมือนมือใหม่หัดปฏิบัติ

งั้นมือใหม่หัดปฏิบัติเนี่ย เป็นสภาวะที่ดีๆนะ แล้วมันจะต้องไปวนใน loop ของการเพ่งอยู่อีกช่วงนึงนะ แล้วแก้ออกมาได้ มันจะเหลือเผลอแล้วรู้ เผลอแล้วรู้ และเมื่อฝึกไปเต็มรอบแล้วนะเต็มที่ ก็เหลืออันเดียวอีก เหลืออันเดียว แต่อันเดียวคนละแบบกับพวกไม่ปฏิบัติ

พวกไม่ปฏิบัติเลยนี่ มีสภาวะอันเดียวนะ คือเผลอๆๆ หลงๆๆไปเรื่อย แต่ว่าเมื่อปฏิบัติเต็มภูมิแล้ว เหลืออันเดียวคือรู้ๆๆนะ ไม่หลงหรอก จิตมันไม่ไหลไปไหนเลย ตั้งมั่นเด่นดวงอยู่

งั้นสภาวะ ๓ แบบนี่นะ อยู่ในเส้นทางเดินของนักปฏิบัติ คนที่ไม่เคยปฏิบัติเลย มันจะเผลอๆๆไป หลงๆๆไป คนที่ปฏิบัติผิด ก็จะเพ่งๆๆ พอหมดแรงเพ่งก็หลงไปเลย เผลอไปเลย ถ้าปฏิบัติถูกหน่อยนะ ก็จะเผลอแล้วรู้ เผลอแล้วรู้ พอชำนาญขึ้น เผลอ-รู้-แล้วก็มาเพ่ง พอชำนาญมากขึ้นนะ ก็เหลือแต่เผลอกับรู้ เลิกเพ่ง พอถึงขีดสุดจริงๆนะ เหลือแต่รู้นะ ไม่เพ่ง ไม่เผลอ ให้ค่อยๆฝึกนะ จิตจะค่อยพัฒนาขึ้นเป็นลำดับๆไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๗
Track: ๑๑
File: 550929.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๑๒ ถึง นาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่ได้ฝึกห้ามคิด ไม่ได้ฝึกข่มจิต แต่ฝึกให้รู้ตามความเป็นจริง

mp3 for download: ไม่ได้ฝึกห้ามคิด ไม่ได้ฝึกข่มจิต แต่ฝึกให้รู้ตามความเป็นจริง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เราไม่ได้นั่งสมาธิให้ไม่คิดหรอก นั่งสมาธิแล้วคอยรู้ทันจิตที่มันฟุ้งไป จิตแอบไปคิดแล้วรู้ จิตแอบไปคิดแล้วรู้

ไม่ได้ฝึกห้ามมันนะ จิตเป็นอนัตตา ห้ามไม่ได้จริงหรอก ไปข่มไว้มันมีแต่ยิ่งเครียดนะ เพราะฉะนั้นเราไม่ข่มมัน เหมือนอย่างความกลัวเกิดขึ้น ความกลัวก็เป็นอนัตตา จิตที่กลัวก็เป็นอนัตตา ให้เรารู้เฉยๆนะ ไปข่มมันยิ่งกลัวหนักเข้าไปอีก ยิ่งเครียดหนักเข้าไปอีก

ของคุณที่เครียดง่าย เพราะชอบ่ข่มจิตมากไป คอยรู้นะไม่ใช่ให้ไปข่มนะ ไปฝึกตัวนี้ให้ดีเลย แล้วจะมีความสุขกว่านี้อีกเยอะเลย ไปฟังซีดีนะ จะรู้ว่า ให้รู้ ไม่ใช่ให้ไปข่มมัน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๔ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๗

File: 531204B
ระหว่างนาทีที่ ๔๒ วินาทีที่ ๔๔
ถึงนาทีที่ ๔๓ วินาทีที่ ๒๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้ารู้ถูกต้อง จิตจะไม่มีน้ำหนัก

mp 3 (for download) : ถ้ารู้ถูกต้อง จิตจะไม่มีน้ำหนัก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : นมัสการค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : จิตขณะนี้เป็นอย่างไร (โยม : ตอนนี้หลงค่ะ) นอกจากหลงแล้วมีอะไรอีก (โยม : รู้สึกไม่ตั้งมั่นมั้ยคะ) เออ.. แล้วทำอะไรอยู่ ที่ไม่ตั้งมั่นแล้วทำยังไง (โยม : ก็พยายามปฏิบัติในรูปแบบมากขึ้น) ไม่ใช่ ในขณะนี้ ขณะนี้รู้สึกมั้ยว่าทำอะไรอยู่ กดเอาไว้ดูออกมั้ย (โยม : ไม่ออกค่ะ)

รู้สึกมั้ยใจเราอึดอัด ใจเราแน่นๆ ดูออกมั้ย (โยม : นิดหน่อยค่ะ) น่ะ นิดหน่อยก็แสดงว่ากดนิดหน่อย หนักมากก็แสดงว่ากดมาก ภาวนาจริงๆนะจะไม่ดัดแปลงใจ ใจเราเป็นอย่างไร รู้ ว่าเป็นอย่างนั้น ถ้าเรารู้โดยไม่ดัดแปลงนะ ใจจะไม่มีน้ำหนัก ถ้าเกิดความหนักใจขึ้นมา แสดงว่าแอบไปยึดไปถือ ของคุณนี่แหละที่.. หลงนะ เมื่อกี๊นี้หลงลงไปเพ่ง ถลำลงไป รู้สึกมั้ย จิตไหลลงไป ให้รู้ทันนะ รู้ทันมันจะขึ้นมาเอง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๒
File: 520704B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๒๒ ถึง นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๑๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีดูว่าเพ่งหรือไม่?

mp 3 (for download) : วิธีดูว่าเพ่งหรือไม่?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : ตอนนี้มีปัญหาก็คือว่า บางทีนั่งๆอยู่ สติก็ไปรู้ว่าร่างกายมันกำลังหายใจอยู่ (หลวงพ่อปราโมทย์ : เออ..นั่นล่ะดี) แต่ว่าสงสัยว่า หนูเพ่งรูปหรือเปล่าคะหลวงพ่อ?

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่เพ่งหรอก (โยม : ไม่เพ่งนะคะ) วิธีดูนะว่าเพ่งหรือเปล่าเนี่ย ดูที่ใจ ถ้าใจหนักๆแน่นๆขึ้นมาก็เพ่ง (โยม : ค่ะ) ถ้าใจโล่งโปร่งเบา รู้ตื่นเบิกบาน ก็ไม่ได้เพ่ง (โยม : ค่ะ)


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๘
File: 520710.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๗ วินาทีที่ ๒๕ ถึง นาทีที่ ๓๗ วินาทีที่ ๔๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๒๗) ถ้าฝึกด้วยการบริกรรมพุทโธ ให้บริกรรมพุทโธแล้วรู้ทันจิต

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๒๗) ถ้าฝึกด้วยการบริกรรมพุทโธ ให้บริกรรมพุทโธแล้วรู้ทันจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา

โยม : กราบนมัสการค่ะหลวงพ่อ หนูไม่ได้ส่งการบ้านมา ๘ เดือนแล้วค่ะ มันก็เจริญแล้วเสื่อมสลับกันไปค่ะ แต่ว่า ๒-๓ เดือนนี้ กิเลสตัวลังเลสงสัยน่ะค่ะ มันเยอะน่ะค่ะ โดยเฉพาะลังเลสงสัยเกี่ยวกับคำบริกรรมพุทโธของหนูว่า เออ..มันถูกมั้ย (หลวงพ่อปราโมทย์ : หือ? สงสัยยังไง) ว่ามันใช่ทางมั้ย? เพ่งแล้วนะ อะไรอย่างนี้

หลวงพ่อปราโมทย์ : อ้อ.. สังเกตที่จิตเราสิ พุทโธนี่นะ พุทโธแล้วคอยรู้ทันจิตของเราไป ไม่ใช่พุทโธไปบังคับจิตให้นิ่ง พุทโธ พุทโธ พุทโธ จิตฟุ้งซ่าน รู้ทัน พุทโธ พุทโธ จิตสงบ รู้ทัน นะ ฝึกอย่างนี้ พุทโธแล้วรู้ทันจิต อย่าไปพุทโธแล้วบังคับจิตนะ

โยม : หนูบังคับหรือคะ?

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าบังคับมันจะแน่น หนูวัดได้ด้วยตัวเอง

โยม : คือ หลังๆมันก็ไม่แน่นน่ะค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : มันฟุ้งหรือเปล่า?

โยม : ค่ะ ค่ะ คือหลวงพ่อคะ คือว่าหนูน่ะ สมมุติว่าหลวงพ่อแนะนำให้น้องคนนี้ไปดูกายใช่มั้ยคะ แต่หนูมีความรู้สึกว่า หนูน่ะมาดูกายไม่เป็น

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่จำเป็น ทางใครทางมัน

โยม : ค่ะ ก็คือทำความสงบ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทำความสงบนะ แล้วก็รู้ทันจิตไป (โยม : ค่ะ) เช่น พุทโธ พุทโธ ไป จิตสงบรู้ว่าสงบ พุทโธไป จิตฟุ้งซ่าน รู้ว่าฟุ้งซ่าน ให้จิตมีบ้านอยู่ อยู่กับพุทโธก็ได้ แต่พุทโธแล้วไม่ได้พุทโธบังคับจิต แต่พุทโธรู้ทันจิต

550409.56m56-58m25

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๕๖ วินาทีที่ ๕๖ ถึง นาทีที่ ๕๘ วินาทีที่ ๒๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ดูจิตแล้วเครียด

Mp3 for download :ดูจิตแล้วเครียด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

จ้องจิตเอาไว้ จิตจะนิ่ง

โยม : มีความรู้สึกว่าเวลาที่รู้ ตามรู้จิต ดูกิเลสเนี่ย มันไม่เบิกบาน มันเครียด มันเหมือนกับว่ามันยังตามไปอยู่กับกิเลสอันนั้นๆ ตามไปอยู่กับความโมโหอันนั้นๆอยู่

หลวงพ่อปราโมทย์: เวลารู้นะ ให้สภาวะเกิดก่อนแล้วค่อยรู้ อย่าไปจงใจที่จะรู้ตลอดเวลา ถ้าเราพยายามจะรู้มากๆ มันจะกลายเป็นการเพ่งๆไว้ ใจจะเครียดๆ ไม่มีความสุขหรอก เผลอไปก่อนแล้วรู้ว่าเผลอ โลภไปก่อนแล้วรู้ว่าโลภ โกรธไปก่อนแล้วรู้โกรธ ฝึกอย่างนี้นะ ฝึกไป

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ
วันศุกร์ ที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
File: 520731B
ระหว่างนาทีที่  ๓๑ วินาทีที่ ๑๔ ถึง นาทีที่ ๓๑วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : หัดตามรู้ลมหายใจ (อานาปานสติ) แล้วอึดอัด

หัดตามรู้ลมหายใจ (อานาปานสติ) แล้วอึดอัด

ถาม : จดจ่อกับลมหายใจแล้วรู้สึกอึดอัด

ตอบ : เป็นเพราะใช้กำลังพยายามเอาจิตไปปักแช่ที่ลมหายใจ
เพื่อไม่ให้คลาดจากลมหายใจ ก็เลยเกิดอาการอึดอัดครับ

ถาม : พอจิตตามความคิดไปจะใช้เวลานานมากค่ะกว่าจะกลับมา พอกลับมาแล้วก็หลงต่อเป็นแบบนี้ถือว่าเป็นปกติใช่มั้ยคะ

ตอบ : เป็นปกติของคนที่หัดใหม่ๆ ครับ
ให้หัดต่อไปสบายๆ จะหลงตามความคิดไปนานหน่อยก็ไม่เป็นไร
พอรู้ว่าหลงไปก็ให้กลับมารู้สึกตัวไปสบายๆ
หัดมากขึ้น ชำนาญมากขึ้นก็จะหลงตามความคิดสั้นลงเอง
แต่อย่าพยายามทำเพื่อไม่ให้หลงตามความคิดจนกลายเป็นเพ่งลมหายใจแบบข้อแรกนะครับ

ถาม : มีคนบอกมาว่าถ้าตามลมหายใจแล้วเพ่ง ให้ดูความรู้สึกกว้างๆแทน แต่พอดูแล้วตรงหน้าผากจะเกร็งค่ะ จะแก้ยังไงดีคะ

ตอบ : ถ้ายังพยายามทำจิตให้นิ่งให้สงบตามที่อยากให้เป็น
ไม่ว่าจะเปลี่ยนไปดูอะไรก็จะเพ่งทั้งนั้นแหละครับ
ดังนั้นอย่าตั้งใจว่าทำแล้วต้องนิ่งต้องสงบต้องไม่หลงตามความคิด
แต่ให้ตั้งใจว่า จะไม่ฝืนบังคับจิต จะรู้ไปตามที่เป็น
ส่วนจิตจะเป็นอย่างไรก็ได้ หลงไปก็ได้ นิ่งก็ได้ ฟุ้งก็ได้
หลงก็รู้ นิ่งก็รู้ ฟุ้งก็รู้ไปตามที่จะเป็น
เพราะฉะนั้นให้เอาสิ่งที่ชอบดูมาใช้เป็นเครื่องอยู่
เช่นถ้าชอบดูลมหายใจ ก็ให้หัดดูไปสบายๆ จิตจะหลงไปคิดก็ไม่เป็นไร
รู้ว่าหลงคิดไปเมื่อใด ก็กลับมาเริ่มดูลมหายใจเอาใหม่ครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

V-Clip : จุดแยกระหว่างความรู้สึกตัว(สติตัวจริง)กับการเพ่ง (เทคนิคสำคัญในการทำจิตตานุปัสสนา)

จุดแยกระหว่างความรู้สึกตัว(สติตัวจริง)กับการเพ่ง (เทคนิคสำคัญในการทำจิตตานุปัสสนา)

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางบรรลุธรรม (๔) ความผิดพลาดแรกที่ทุกคนต้องผ่าน เพื่อสร้างรากฐานของวิปัสสนา

mp3 for download : ทางบรรลุธรรม (๔) ความผิดพลาดแรกที่ทุกคนต้องผ่าน เพื่อสร้างรากฐานของวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางบรรลุธรรม (๔) ความผิดพลาดแรกที่ทุกคนต้องผ่าน เพื่อสร้างรากฐานของวิปัสสนา

ทางบรรลุธรรม (๔) ความผิดพลาดแรกที่ทุกคนต้องผ่าน เพื่อสร้างรากฐานของวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : แต่ถ้าเรามีตัวรู้แล้วเห็นขันธ์ทำงานได้นะ ถ้าสติปัญญายังไม่พออีก ไม่รู้หลักของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จะเข้าไปแทรกแซงขันธ์แทรกแซงจิตนะ เช่น เห็นว่าจิตไหลเข้าไปเกาะกับอารมณ์ได้ ทำอย่างไรจิตจะแยกจากอารมณ์ ทำอย่างไรจะดึงจิตตั้งมั่นเด่นดวงอยู่ได้ทั้งวันทั้งคืน คิดแต่ว่าคำว่าจะทำยังไง

พวกเราเวลาคิดถึงการปฏิบัติ ในใจลึกมีมั้ยคำว่าจะทำยังไง มันคิดตลอดนะ คิดทุกคนแหละ จะทำยังไงๆ ห้ามมันไม่ได้หรอก มันจะคิดน่ะ เพราะมันอยากทำ มันคิดว่าทำแล้วถึงจะได้ ยังปลอบใจตัวเองอีกนะ ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น พยายามจะทำอยู่อย่างนั้น พยายามจนสุดสติสุดปัญญานะ ถึงตรงนั้นล่ะถึงจะได้ของจริง

แต่อาศัยที่เคยพยายามปฏิบัตินะ มันเป็นการพัฒนาสติให้เร็วขึ้น พัฒนาสมาธิให้ตั้งมั่นมากขึ้น ปัญญาก็มีสะสมไปนะ เห็นรูปธรรมนามธรรมเขาทำงานได้เอง

ตรงที่เราจงใจปฎิบัติ จงใจอยากทำนั่นแหละ มันค่อยๆฝึกฝน สติ สมาธิ ปัญญา ให้เข้มแข็งมากขึ้นๆนะ ถึงจุดหนึ่ง สติ สมาธิ ปัญญา แก่กล้าขึ้นมา จนเป็นอัตโนมัติละ ร่างกายพลิกนะ พลิกตัวเนีย รู้สึกเองเลย ไม่ต้องเจตนารู้สึก ความสุขความทุกข์ กุศล-อกุศล อะไรเกิดขึ้นที่จิตนะ รู้เองเลยโดยไม่เจตนาจะรู้ มันสารพัดจะเกิด มันจะรู้ได้เอง นี่สติเป็นอัตโนมัติขึ้นมาแล้ว ไม่ได้จงใจ

แต่ก่อนที่จะอัตโนมัติก็ต้องจงใจมาก่อน เพราะฉะนั้นการที่เราคิดอยู่นะ ทำอย่างไรจะดี ทำอย่างไรจะดี แล้วพยายามทำนะ มันได้พัฒนา สติ สมาธิ ปัญญา ขึ้นมา ทำไปเรื่อยๆ

540805.06m37-08m22


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
วันศุกร์ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ ก่อนฉันเช้า

CD: 41
File (ประเทศไทย): 540805.mp3
File (สหรัฐอเมริกาและยุโรป): 540805.mp3

นาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๓๗ ถึง นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๒๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติคือความระลึกได้โดยไม่ได้จงใจระลึก

mp3 for download: สติคือความระลึกได้โดยไม่ได้จงใจระลึก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สติคือความระลึกได้โดยไม่ได้จงใจระลึก

สติคือความระลึกได้โดยไม่ได้จงใจระลึก

หลวงพ่อปราโมทย์ : สติ แปลว่า “ความระลึกได้” พวกเรารุ่นหลังๆเริ่มคลาดเคลื่อน เราไปแปลสติว่า “กำหนด” กำหนดลมหายใจเรียกว่ามีสติ กำหนดมือ กำหนดเท้า กำหนดท้อง นะ กำหนดจิตให้สงบ เรียกว่า มีสติ แค่นั้นไม่พอนะ

สติคือความระลึกได้ หมายถึงว่า สภาวะใดๆเกิดขึ้นที่กาย สติระลึกได้โดยไม่ได้จงใจระลึก อะไรเกิดขึ้นที่ใจ สติระลึกได้โดยไม่ได้จงใจระลึก ถ้าจงใจระลึกนะ เจือปนด้วยความอยาก เจือปนด้วยโลภะ ไม่ใช่สติตัวจริงหรอก

ทำอย่างไรสติที่แท้จริงจึงจะเกิด ในพระอภิธรรมสอนบอกว่า ถิรสัญญา ถอถุง สระอิ รอเรือ ถิรสัญญา การที่จิตจำสภาวะได้แม่น เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ ทำไมจิตถึงได้จำสภาวะได้แม่น สภาวะคืออะไร สภาวะคือรูปธรรมนามธรรม รูปธรรม เช่น ร่างกายที่หายใจเข้า ร่างกายที่หายใจออก ร่างกายที่ยืนเดินนั่งนอน เป็นสภาวะที่เป็นรูปธรรม สภาวะที่เป็นนามธรรม เช่น ความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ รู้สึกเฉยๆ ความโลภ ความไม่โลภ ความโกรธ ความไม่โกรธ ความหลง ความไม่หลง ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ ความดีใจเสียใจ นี่เป็นสภาวะที่เป็นนามธรรม จิตจะเกิดสติได้ ถ้าจิตจำสภาวะได้แม่น

เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเรา ไม่ต้องทำอะไรมากๆ อย่าไปคิดนะว่าจะบังคับสติให้เกิดได้ สติเป็นอนัตตา ไม่มีใครสั่งให้เกิดได้ แต่ถ้าสติมีเหตุ คือ จิตจำสภาวะได้แม่น สติจะเกิดขึ้นโดยไม่ได้จงใจให้เกิด

หน้าที่ของเราตอนนี้ไม่มีอะไรมาก ของเราตอนนี้ หัดรู้สภาวะที่กำลังเกิดขึ้นในกายในใจบ่อยๆ หายใจออกก็คอยรู้สึกตัว อย่าใจลอย อย่าไปเพ่งอยู่ที่ร่างกาย แค่รู้สึก หายใจเข้าก็รู้สึกตัวนะ ไม่ใจลอย แล้วก็ไม่เพ่งอยู่ที่ร่างกาย ยืน เดิน นั่ง นอน ก็คอยรู้สึกตัว แต่ก็ไม่เพ่งร่างกาย จิตใจเป็นสุข จิตใจเป็นทุกข์ จิตใจเฉยๆ ก็แค่รู้ ไม่เพ่งจิตใจนะ แล้วก็ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ถ้าลืมตัวไปก็ลืมกายลืมใจ ถ้าไม่ลืมตัวก็รู้กายรู้ใจในขณะเดียวกันอย่าไปเพ่ง ถ้าเพ่งแล้วมันนิ่ง แค่รู้ แค่ระลึก แค่ระลึก นะ

เพราะฉะนั้น อะไรเกิดขึ้นในใจคอยรู้ไปเล่นๆ รู้เล่นๆ ถึงจุดหนึ่งสติแท้ๆจะเกิดขึ้น เช่น นั่งฟังหลวงพ่อพูด รู้สึกมั้ย ขณะที่ฟังหลวงพ่อพูด ฟังแล้วก็คิด ฟังแล้วก็คิด สลับกัน ดูออกมั้ย ไม่ใช่ฟังอย่างเดียว ไม่มีใครหรอกที่ฟังอย่างเดียว ที่เราบอกว่าตั้งใจฟัง ตั้งใจฟัง จริงเราฟังสลับกับคิดตลอด แต่เราไม่เคยเห็นต่างหากล่ะ

ต่อไปนี้เราค่อยสังเกต ฟังหลวงพ่อพูด สังเกตมั้ย ฟังไป คิดไป ฟังไป คิดไป เนี่ยเราหัดดูไปนะ จิตไปฟังเราก็รู้ทัน จิตกำลังไปคิดเราก็รู้ทัน หัดรู้อย่างนี้บ่อยๆ ต่อไปพอจิตไหลไปคิดปั๊บ สติจะเกิดเอง มันจะระลึกขึ้นได้เลยว่า อ้อ.. หลงไปคิดแล้ว มีคำว่าแล้วนะ อ้อ.. หลงไปคิดแล้ว มันโกรธขึ้นมา สติระลึกได้ จะรู้เลย อ้อ.. หลงไปโกรธแล้ว มีคำว่าแล้ว หมายถึงว่า กิเลสทั้งหลายเกิดขึ้นก่อน แล้วเราก็่ค่อยรู้ว่ามันเกิด อย่าไปดักดูนะ

เมื่อตะกี้นี้มีโยมผู้หญิงคนหนึ่งมาถามหลวงพ่อว่า เขาภาวนาแล้วมันผิดตรงไน ผิดตรงที่ไปดักดู ไปรอดู จะไปดูจิตนะ ก็ไปรอดู เมื่อไหร่จะมีอะไรเกิดขึ้น อย่างนี้กลายเป็นการเพ่งจิต ไม่มีอะไรให้ดูหรอก ต้องรอให้สภาวะมันเกิดก่อน เช่น มันมีปีติขึ้นมารู้ว่ามีปีติ มีความสุขขึ้นมารู้ว่ามีความสุข มันเฉยๆรู้ว่าเฉยๆ มันโลภ มันโกรธ มันหลัง ค่อยรู้เอา สภาวะเกิดแล้วค่อยรู้ สภาวะเกิดแล้วค่อยรู้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ อาคาร ซี.พี. ทาวเวอร์
เมื่อวันศุกร์ ที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒

File: cp tower 520724
ระหว่างนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๐๘ ถึง นาทีที่ ๑๔วินาทีที่ ๕๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เมื่อใจต่อต้านการทำในรูปแบบ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

Mp3 for download: เมื่อใจต่อต้านการทำในรูปแบบ

เมื่อใจต่อต้านการทำในรูปแบบ

เมื่อใจต่อต้านการทำในรูปแบบ

โยม : โยมรู้สึกว่าสรุปว่าตัวเองในช่วงที่ผ่านมามีแต่อกุศลมากมาย (หลวงพ่อปราโมทย์ : ดีสิ) มีตัณหา อยากสารพัดจนว่ามันเกิดโทสะรุนแรง แล้วก็ลังเลสงสัยมาก แล้วก็วิตกกังวล (หลวงพ่อปราโมทย์ : อื้ม เก่งนี่เห็นกิเลสตั้งเยอะแน่ะ) แล้ว เอ่อ มันมีตัวยืนที่ดูมานานแล้วก็ไม่ทราบว่าเพราะที่เรียนหลวงพ่อเมื่อกี๊น่ะมันทำให้เกิดอาการจิตที่ต่อต้านไม่ยอมให้ทำตามรูปแบบ

หลวงพ่อปราโมทย์ : นั่นแหล่ะ ไปดูจิตมันมีโทสะนะ ภาวนาแล้วมันมีโทสะแทรกเข้ามา เราคอยรู้ทันเอา รูปแบบจำเป็นนะจำเป็น แต่ว่าอย่าไปคิดว่ารูปแบบทำแล้วจะลำบาก ทำลำบากใจจะไม่เอา แล้วไงล่ะ  

โยม : แทบจะว่าที่ผ่านมานี่ทำตามรูปแบบแทบไม่ได้เลย มันจะต่อต้านตลอดเวลาเหมือนว่ามันขัดขืนน่ะค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เราดูใจที่ต่อต้านนะ เท้าก็เดินไป ใจดูใจที่ต่อต้านไป เดินเล่นๆไป (โยม : อันนี้ไม่ใช่เพ่งใช่มั้ยคะ)ไม่ได้เพ่งหรอกนะ ถ้าเพ่งไว้ไม่เห็นกิเลสเยอะอย่างงั้นหรอก เพ่งแล้วเรารู้สึกว่าเราเป็นคนดี นี่กิเลสเยอะแยะเลย รู้สึกมั้ย (โยม : ค่ะ) นี่เราเห็นกิเลสแล้วเนี่ยใจเราไม่เป็นกลาง ปัญหามันอยู่ตรงนี้ ใจมันมีโทสะแทรกไม่ชอบเลย อยากจะดีๆอยากจะสุขๆขึ้นมานะ ไม่ชอบกิเลส ถ้ากิเลสเกิดแล้วก็ให้รู้ว่ากิเลสเกิด กิเลสเกิดแล้วไม่ชอบให้รู้ว่าไม่ชอบนะ มันไม่ยอมเดินจงกลมจิตใจไม่ยอมเดิน เราก็รู้ว่ามันไม่เดิน ขาเราก็เดินไปเรื่อยๆ เดินเล่นๆ ไม่ได้เดินหวังว่าจะดีจะสุขจะสงบอะไร เดินเล่นๆแกล้งมันบ้าง

โยม : คือจริงๆแล้วมันอยากทำตามรูปแบบมากแล้วติดที่จะทำรักที่จะทำ แต่ว่าพอเริ่มจะลงมือปั๊บมันก็เข้ามาทันที

หลวงพ่อปราโมทย์ : แต่เดิมเราเพ่งไว้มากไง พอมันหลุดออกมาเราขยาดมันเรากลัวมัน ไม่กล้า กลัวมันจะกลับไปติดเพ่งอีกอะไรงี้ ใจมันจะไม่เอา ตอนนี้ทำได้นะถึงช่วงนี้แล้ว ทำสมถะได้แล้วเพราะเรารู้แล้วว่าเพ่งเป็นยังไง คนที่ทำสมถะไม่ได้คือพวกที่ไม่รู้ว่าเพ่งเป็นยังไง ไปลงมือทำสมถะแล้วก็เพ่งลูกเดียว พวกนี้ใช้ไม่ได้ ตอนนี้เรารู้ว่าการเพ่งคืออะไร งั้นเราก็รู้ไป เห็นร่างกายมันเดินไป เห็นร่างกายมันหายใจไป ดูมันเล่นๆไป อย่าไปคาดหวังว่าจะสุขจะสงบจะดี ดูเล่นๆน่ะ ถือว่าเราทำเล่นก็แล้วกัน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันศุกร์ ที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
File: 520710
ระหว่างนาทีที่  ๑๖ วินาทีที่ ๕๑ ถึง นาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๒๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ชาวพุทธที่ดีต้องพึ่งตนเองได้

mp3 (for download) : ชาวพุทธที่ดีต้องพึ่งตนเองได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ชาวพุทธที่ดีต้องพึ่งตนเองได้

ชาวพุทธที่ดีต้องพึ่งตนเองได้

โยม : ตอนนี้สภาวะจิตหนูเป็นยังไงบ้างคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตอนนี้เหรอบ อกหลวงพ่อได้มั้ยเป็นยังไง ทื่อๆรู้สึกมั้ย ทื่อๆไปข่มไว้ ตื่นเต้น ตื่นเต้นแล้วก็กดเอาไว้นะ แล้วก็ฟุ้งซ่านหน่อยๆรู้สึกมั้ย ใจวิ่งยุกยิกยุกยิกดูออกเปล่า เนี่ยหลงไปอีกแล้วเห็นมั้ย สงสัยทราบมั้ย เอ้อ อ๋อแล้ว หัดรู้สภาวะ

ทำไมหลวงพ่อพาให้ดูอย่างนี้ หลวงพ่อพาให้ดูสภาวะนะ ถ้าเมื่อใดดูสภาวะได้แล้ว เราปฏิบัติได้ด้วยตนเองเมื่อนั้นเลย งั้นสิ่งที่หลวงพ่อสอนเนี่ย หลวงพ่อจะไม่ใช่ว่าขยักความรู้อะไรไว้นะ หลวงพ่อสอนเพื่อให้พวกเราเนี่ยพึ่งตัวเองได้ ชาวพุทธที่ดีต้องพึ่งตัวเองได้นะ เรียนธรรมะไปเนี่ยวันนึงต้องพึ่งตัวเองให้ได้ ไม่ใช่ว่าจะต้องพึ่งหลวงพ่อตลอดไป ต้องมาคอยถามหลวงพ่อว่าจะทำอย่างโง้นทำอย่างงี้ ถ้าเราเห็นสภาวะไปเรื่อยๆ แล้วสภาวะน่ะสอนเองสภาวะจะแสดงไตรลักษณ์ อย่างเมื่อกี้ดูออกมั้ย จิตเดี๋ยวก็หนีไป เดี๋ยวก็รู้สึก เดี๋ยวก็หนีไป เดี๋ยวก็รู้สึก เนี่ยหัดรู้สึกอย่างนี้แหล่ะ ไม่ได้ฝึกเพื่อจะรู้สึกตัวตลอดเวลา แต่ฝึกเพื่อให้เห็นความจริงว่า เดี๋ยวจิตก็เผลอ เดี๋ยวจิตก็รู้ เดี๋ยวจิตก็เผลอ เดี๋ยวจิตก็รู้ บางคนเดี๋ยวจิตก็เผลอ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็เพ่ง มีหลายแบบ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๒๓
File:
510817.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๔๑ ถึง นาทีที่ ๓๓ วินาทีที่ ๕๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ต้องหัดแยกให้ออก จิตแบบไหนกุศล แบบไหนอกุศล

mp3 (for download) : ต้องหัดแยกให้ออก จิตแบบไหนกุศล แบบไหนอกุศล

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ต้องหัดแยกให้ออก จิตแบบไหนกุศล แบบไหนอกุศล

ต้องหัดแยกให้ออก จิตแบบไหนกุศล แบบไหนอกุศล

หลวงพ่อปราโมทย์ : ส่วนใหญ่เวลาหัดทำสมาธิ นึกออกมั้ยสมัยก่อนที่พวกเราหัดปฏิบัติ ทันทีที่ลงมือปฏิบัติจิตแน่นๆเลย รู้สึกมั้ย พอลงมือปฏิบัติ (หลวงพ่อทำท่าเกร็ง) เนี่ยเอาเลยนะอกุศลชัดๆเลยคิดว่าจะเจริญวิปัสสนาเหรอ จิตเป็นอกุศลชัดๆเลยนะ

เพราะฉะนั้นเราต้องเรียนเรื่องจิตให้ชำนาญนะ แยกให้ออกว่าจิตชนิดไหนเป็นกุศล ชนิดไหนเป็นอกุศล ไม่งั้นนะพอคิดถึงการปฏิบัติทีไรนะ อกุศลเกิดทุกทีเลย เกิดตัวไหน ตัวไหนเกิดก่อน โลภะเกิดก่อน ก็เก่งเหมือนกัน จริงๆโมหะเกิดก่อน โง่ก่อน พอโง่นะก็อยากรู้อยากเห็นอยากเป็นอยากได้ อยากรู้ให้ชัด อยากรู้ตลอดเวลา โลภะเกิดเห็นมั้ย ไปนั่งจ้องไว้

จ้องแล้วมันไม่ค่อยยอมอย่างที่เป็น อย่างที่อยาก โทสะก็เกิดเนี่ย ทันทีที่จ้องรู้สึกมั้ย ทันทีที่จ้องลงไปแน่นขึ้นมาแล้ว รู้สึกมั้ย จิตที่แน่นๆเป็นอกุศลจิตนะ เพราะนั้นทันทีที่ลงมือปฏิบัตินะ กำหนดปุ๊บแน่นปั๊บเนี่ย นั่ันแหล่ะอกุศลเกิดแล้ว ภาวนาผิดแล้ว แทนที่จะภาวนาแล้วเกิดกุศลนะ กลายเป็นภาวนาได้อกุศล งั้นต้องระมัดระวังนะ ต้องเรียนให้ออกว่าอันไหนเป็นกุศล อันไหนเป็นอกุศล

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔

CD: ๔๑
File: 540911
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๔๖ ถึงนาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๑๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

เราปฎิบัติเพื่ออะไร?mp 3 (for download) : เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่นี่หลวงพ่อจะเน้นสอนเรื่องการปฏิบัติให้ หลักของการปฏิบัติเราก็ต้องรู้ ว่าเราจะปฏิบัติอะไร ปฏิบัติเพื่ออะไร ปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติแล้วได้ผลเป็นยังไง ต้องตอบได้ชัดเจน เราจะปฏิบัติอะไร มีสองอย่างที่จะต้องปฏิบัติคือ “สมถะ” กับ “วิปัสสนา” ปฏิบัติเพื่ออะไร สมถะ ปฏิบัติเพื่อให้จิตใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะเดินวิปัสสนา ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อจะได้เห็นนู่นเห็นนี่มีตาทิพย์มีหูทิพย์ บางคนอยากได้เจโตอยากได้ทิพจักษุ  หลวงพ่อเคยเจอนะ มีไอ้หนุ่มคนนึง มันภาวนาอยากได้ทิพจักษุ ถามว่าอยากได้ทำไม มันจะได้มองทะลุผ้าของคนอื่น มันเห็นธรรมะเป็นเรื่องอะไร จะทะลุฝาห้องของเค้าอะไรอย่างนี้ ได้เรื่องเลย มีจริงๆนะ สมถะนะ เราทำไปเพื่อให้ใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะทำวิปัสสนา

วิปัสสนาทำไปเพื่ออะไร เพื่อให้เกิดปัญญา รู้ความจริงของกายของใจนี้ ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ ดังนั้นทำเราทำวิปัสสนาเพื่อให้รู้ความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจ รู้แล้วได้อะไร รู้ถึงที่สุดแล้วมันจะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ

พระอรหันต์ไม่ใช่คนประหลาดนะ อย่าไปวาดภาพพระอรหันต์ประหลาดเกินเหตุทำอะไรก็ไม่ได้ กระดุกกระดิกก็ไม่ได้ วันๆต้องนั่งเซื่องๆเหมือนนกกระยางรอให้ปลามาใกล้ๆจะได้ฉกเอาเชื่องๆห้ามกระดุกกระดิก พระอรหันต์จริงๆก็คือท่านผู้ภาวนาจนมีปัญญา เห็นทุกข์เห็นโทษของขันธ์นะ ขันธ์ห้าเป็นทุกข์เห็นอย่างนี้ แล้วท่านปล่อยวางความยึดถือขันธ์ได้ จิตท่านแยกออกจากขันธ์ พรากออกจากขันธ์ ไม่ยึดถือขันธ์ ท่านเป็นอิสระจากขันธ์ ตัวขันธ์เป็นตัวทุกข์ เพราะฉะนั้นพระอรหันต์เลยพ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่นี่พ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่ตายแล้วเค้าเรียกดับทุกข์คือขันธ์มันดับ ไม่ใช่ไปเกิดอีกนะ หลายคนวาดภาพเป็นพระอรหันต์ไปเกิดอีกไปอยู่ในโลกนิพพาน อันนั้นไม่ใช่ศาสนาพุทธหรอก พระอรหันต์ นิพพานแล้วเหมือนไฟที่ดับไปแล้ว ไฟที่ดับแล้วอยู่ที่ใหน ใครจะรู้ เพราะฉะนั้นเราภาวนานะ ภาวนาทำสมถะเพื่อให้มีแรง ทำวิปัสสนา ทำวิปัสสนาเพื่อให้เห็นความจริงของกายของใจ ถ้าเราเห็นความจริงของกายของใจได้มันจะหมดความยึดถือ ปล่อยวางได้ พอปล่อยวางได้ก็พ้นทุกข์ได้ เพราะตัวกายตัวใจตัวขันธ์นี้แหล่ะตัวทุกข์

นี่ต้องเรียนสิ่งเหล่านี้ แล้วทำยังไง เราจะทำอะไร ทำสมถะและวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร บอกแล้ว ทำอย่างไร สมถะนี่ไม่ใช่ทำเพื่อให้เคลิ้ม วิธีทำสมถะไม่ใช่น้อมใจให้เคลิ้มให้ซึมให้นิ่ง แต่ฝึกความรู้สึกตัวขึ้นมา หายใจออกรู้สึก หายใจเข้ารู้สึก เคยได้ยินคำว่า”อานาปานสติ”มั้ย มีสตินะไม่ใช่ฝึกให้ไม่มีสติ ไม่ใช่ฝึก(เสียงกรน)คร้อกบรรลุแล้ว ฝึกให้มีสติหายใจเข้า ฝึกให้มีสติหายใจออก มีสติไปเรื่อยเลย หรือบางทีพิจารณากาย”กายคตาสติ” มีสติไล่ไปในกาย ดูอาการสามสิบสอง ดูอวัยวะต่างๆในร่างกาย มีสติ เห็นมั้ย ไม่ได้บอกให้ขาดสติเลยนะ ไม่ได้ดูเอาแก้วแหวนเงินทอง เอาวิมานสวรรค์อะไรทั้งสิ้นเลย แต่ฝึกให้มันมีสติ รู้ลมหายใจก็ให้มันมีสติ พิจารณากายก็พิจารณาด้วยความมีสติ เรียกว่ากายคตาสติ ทำอะไรๆก็มีสติ คิดถึงพระพุทธเจ้าก็คิดถึงด้วยความมีสติ หัดพุทโธ ๆ แล้วรู้สึกตัวไป นึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตของเราจะทำยังไงพุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราไม่ได้ภาวนาให้เคลิ้มๆ ภาวนาให้รู้สึกตัว ฉะนั้นเราอย่าทิ้งสติ ครูบาอาจารย์เคยสอนบอก “สติจำเป็นในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ”

ฉะนั้นทำสมถะก็ต้องมีสตินะ แต่มีสติอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข อารมณ์อันเดียว ทำไมต้องอารมณ์อันเดียว อารมณ์หลายอันแล้วก็รู้ตัวยาก ปกติจิตมันจะหนีตลอดเวลา วิ่งไปวิ่งมาตลอดเวลา พอเรามาทำสมถะนะ เรามีอารมณ์อันเดียว มาเป็นเหยื่อ เหยื่อล่อจิต อย่างถ้าจะตกปลานะ มีคนโยนเบ็ดพร้อมกันร้อยอัน ปลางงเลยจะกินอันใหนดีใช่มั้ย ว่างมาทางนี้ เอ๊ะ ไม่เอาตัวเล็กไป ว่ายทางนี้ ก็ใหญ่ไปเกินพอดี เกินคำ ไม่เอา วกไปวกมา ไม่ได้กิน ถ้ามีเหยื่ออันเดียวปลาฝูงนึงยิ่งดี มีเหยื่ออันเดียวล่อ จิตของเราปกติร่อนเร่ไปเรื่อยๆ วิ่งไปทางตา วิ่งไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนะ ร่อนเร่ไปเรื่อย เที่ยวแสวงหาอารมณ์ไปเรื่อย เหมือนปลาวิ่งหาเหยื่อไปเรื่อย ว่ายไปเรื่อยๆ เราหาอารมณ์อันนึงที่ชอบใจของปลาตัวนี้มาล่อมัน ไปเอาพุทโธก็ได้ คนไหนพุทโธแล้วสบายใจเอาพุทโธ คนไหนหายใจเข้าหายใจออกแล้วสบายใจเอาลมหายใจ คนไหนดูท้องพองยุบแล้วมีความสุขก็ดูท้องพองยุบไป คนไหนเดินจงกลมแล้วมีความสุขก็เดินไป ไม่ใช่เดินทรมาน เดินไปเครียดไป เดินไปเครียดไป สมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนะ หาอารมณ์ที่สบายๆ อยู่แล้วมีความสุข

อย่างหลวงพ่อนะ ฝึกอานาปานสติมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่เจ็ดขวบ พวกเราส่วนใหญ่ในห้องนี้ยังไม่เกิด หายใจแล้วมีความสุข พอจิตใจมีความสุข จิตจะสงบ จิตมันหิวอารมณ์นะ พอมันได้กินของชอบนะ มันเลยไม่ไปเที่ยวที่อื่น เอาอารมณ์มาล่อ อยู่กับพุทโธ อยู่กับลมหายใจแล้วมีความสุข จิตก็ไม่หนีไปไหน จิตเคล้าเคลียอยู่ แต่ระวังอย่างเดียว อย่าให้ขาดสติ อย่างเราหายใจไป ถ้าใจเคลิ้มก็รู้ทันว่าเคลิ้ม หายใจไปใจฟุ้งซ่านหนีไปคิดเรื่องอื่น รู้ว่าใจฟุ้งซ่านไป ใจก็มีความสุข เคล้าเคลีย สงบอยู่กับลมหายใจ จนกระทั่งลมหายใจมันสว่างขึ้นมา หายใจไปเรื่อยๆ เวลาจะเข้าฌาน ไม่ใช่รู้ลมหายใจหรอกจะบอกให้ พวกเรามั่วๆนะ หายใจแล้วเข้าฌานรู้ลมหายใจแล้วเข้าฌาน ไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอก

ลมหายใจเบื้องต้นเรียกว่า บริกรรมนิมิต รู้ลมไปเรื่อย สบาย จิตใจมีความสุข มันจะสว่างขึ้นมา ความสว่างมันเกิดขึ้นนะ ใจมันสงบลงมา ในทางร่างกายเวลาจิตสงบลงมา เลือดจะมาเลี้ยงสมองส่วนหน้านี้ เลือดจะมาเลิ้ยงตรงนี้เยอะ มันจะให้ความรู้สึกที่สว่างขึ้นมา จิตมันก็สว่างนะ กายมันก็สว่างขึ้นมา ผ่องใส ความสว่างเกิดขึ้นแล้วเนี่ย เอาความสว่างนี้มาเป็นนิมิตแทนลมหายใจได้ ต่อไปความสว่างมันเข้มข้นขึ้นนะ เป็นดวงขึ้นมา ให้เล็กก็ได้ ให้ใหญ่ก็ได้ จิตใจก็มีความสุข สนุก มีความสุขอิ่มเอิบเบิกบาน มีปีติขึ้นมา เข้าฌาน ไม่ใช่หายใจรู้ลมแล้ว (เสียงกรน คร้อก) บอกว่าหายใจจนลมระงับ ถามว่าลมระงับยังไง ลืมไปเลย หลับไปแล้ว บอกว่าไม่มีลมหายใจแล้ว ไม่ใช่นะ

เพราะฉะนั้นหลักของการทำสมถะนะ ก็อย่าทิ้งสติ มีสติไปเรื่อย เวลาจิตรวมก็รวมด้วยความมีสติ ไม่รวมแบบขาตสติ วูบๆวาบๆหรอก รู้เนื้อรู้ตัวตลอดสายของการปฏิบัติเลย รวมลงไปลึกเลย จนร่างกายหายไปเลย ลมหายใจก็หาย ร่างกายก็หาย โลกทั้งโลกก็หายไปหมดเหลือจิตอันเดียว ก็ยังไม่ขาดสตินะ จิตดวงเดียวอย่างนั้น เด่นอยู่อย่างนั้น ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ทำไมต้องมีจิตขึ้นมา โดดเด่นขึ้นมา เพื่อเราจะได้เอาไว้ต่อวิปัสสนา

ฉะนั้นบางคนทำไม่ถึงฌานก็ไม่เป็นไรนะ แค่หัดพุทโธ พุทโธๆ ไป ค่อยๆดูไป พุทโธเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า เห็นมั้ย ใจนั้นค่อยตั้งมั่นขึ้นมา อย่างนี้ใช้ได้ หายใจไปเรื่อยๆ หายใจเข้าหายใจออก อะไรก็ว่าไปเถอะ หายใจไปแล้วเห็นร่างกายมันหายใจ จิตเป็นคนดู อย่างนี้นะถึงจะทำสมถะ เพื่อจะต่อวิปัสสนา คือหายใจไปแล้วมีจิตเป็นคนรู้คนดูขึ้นมา ดูท้องพองยุบไปนะ เห็นร่างกายมันพองเห็นร่างกายมันยุบ จิตเป็นคนดู

เพราะฉะนั้นบทเรียนเรื่องการทำสมาธิเนี่ย ในทางศาสนาพุทธท่านถึงใช้คำว่า “จิตตสิกขา” ทำสมาธิจนกระทั่งเราเห็นจิตของเรา จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ยแหล่ะ พร้อมที่จะไปเดินวิปัสสนาต่อแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าคนไหนจะทำสมถะนะ ก็อย่าให้ขาดสติ หายใจไปเห็นร่างกายหายใจ จิตเป็นคนดู หายใจไปจิตแอบไปคิด รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน ก็มีจิตอีกคนนึงเป็นคนดู เฝ้ารู้ไปจนกระทั่งจิตเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา อย่างนี้เรียกว่าเราทำสมถะเป็น เวลาบางช่วงบางครั้งบางคราวจิตก็เข้าพักสงบ รู้เนื้อรู้ตัวอยู่นะ สงบ ไม่แส่ส่ายไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สงบไม่คิดไม่นึกอะไร ใจว่างสบายสว่าง อันนี้ทำสมถะเต็มที่

ต่อไปก็หัด นั่งสมาธิไปแล้วเห็นจิตเคลื่อนไหวรู้ไปเรื่อยจนจิตตั้งขึ้นมา ตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา อย่างนี้ดี จะเอาไว้ต่อวิปัสสนา นี้พอเราหัดภาวนาไปนะ พุทโธๆ เราเห็นเลย พุทโธเป็นของถูกรู้ จิตเป็นผู้รู้พุทโธ หายใจออกหายใจเข้านะ หายใจไป จนกระทั่งเห็นเลยร่างกายมันหายใจ จิตเป็นผู้รู้ว่าร่างกายหายใจ มีจิตที่เป็นผู้รู้ขึ้นมา จะเดินจงกลมยกเท้าย่างเท้าเห็นร่างกายมันเดินไป จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู ต่อไปพอผู้รู้ผู้ดูมันหายแว้บไป คือมันขาดสติเมื่อไรมันหายเมื่อนั้น สติมันระลึกได้เองเพราะมันเคยรู้จักผู้รู้ผู้ดูเนืองๆ ฉะนั้นเราจะฝึกจนกระทั่งสามารถรู้สึกตัวอยู่ในชีวิตประจำวันได้เนืองๆ เมื่อไรเป็นผู้หลงนะ ก็ขาดผู้รู้ เมื่อไรเป็นผู้รู้ก็ไม่เป็นผู้หลง บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็หลงเป็นผู้คิด บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็เป็นผู้เพ่ง

พอเรามาอยู่ในชีวิตประจำวัน เราเห็นตัวผู้รู้เค้าเกิดดับไปเรื่อยๆ เนี่ย เฝ้ารู้เฝ้าดูอย่างนี้เรื่อยๆ พอใจมันเป็นคนรู้คนดูขึ้นมาได้ มันจะเห็นร่างกายไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นวัตถุ ร่างกายเป็นก้อนธาตุ ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวไป จะเห็นเวทมาทั้งหลายไม่ใช่ตัวเรา ความสุขความทุกข์ทั้งหลาย ความไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหลาย ผ่านมาผ่านไป เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ จนใจของเรามันตั้งมั่น รู้เนื้อรู้ตัวเรื่อยๆ แต่ไม่ได้ตั้งเอาไว้จนแข็งๆรู้ตัวตลอดเวลา อย่างนั้นใช้ไม่ได้ ต้องรู้บ้างเผลอบ้างนะ ถึงจะเห็นว่าตัวรู้เองก็เกิดๆดับๆ

สมัยก่อน หลวงพ่อไปเรียนกับครูบาอาจารย์ เมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อนโน้น เข้าวัดไหนครูบาอาจารย์พูดแต่คำว่า”ผู้รู้” ท่านยังสอนด้วยซ้ำไปว่า ศาสนาพุทธ “พุทธ”แปลว่าอะไร พุทธ (อ่าน พุท-ธะ) แปลว่า”รู้” พุทธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ใจของเราชอบเป็นผู้คิด ใจของเราชอบเป็นผู้หลง เราฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ทำยังไงใจจะเป็นผู้รู้  ถ้ารู้ทันสภาวะที่กำลังปรากฎนะ ใจจะเป็นผู้รู้ขึ้นมา เช่นเผลอไปรู้ว่าเผลอ ใจก็จะเป็นผู้รู้ขึ้นแว้บนึง เป็นผู้รู้ตรงขณะไหน ขณะที่รู้ว่าเผลอ ถัดจากนั้นอาจจะเป็นผู้เพ่ง ใจโกรธขึ้นมานะ รู้ว่าโกรธ ขณะที่โกรธนะ ขณะนึง ขณะที่รู้ว่าโกรธนี่แหล่ะ ใจเป็นผู้รู้ขึ้นมาแล้ว ถัดจากนั้นอยากให้หายโกรธนี่ ใจมีอกุศลแล้ว มีความอยากเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นเราดูใจเราไปเรื่อยนะ ไม่ใช่ผู้รู้ต้องเที่ยงถวร ผู้รู้ไม่เที่ยงหรอก ผู้รู้เองก็เกิดดับ

ครูบาอาจารย์องค์นึงสอนดีมากเลยคือ หลวงปู่หล้า ภูจ้อก้อ บอกเลยว่า ผู้ใดเห็นว่าผู้รู้เที่ยงนะ เป็นมิจฉาทิฐิ จิตผู้รู้ก็ไม่เที่ยงแต่ว่าต้องมีอยู่อาศัยไว้ใช้ปฏิบัติเอา ของเราสังเกตสิ เดี๋ยวใจก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง เมื่อไหร่รู้สภาวะตรงความเป็นจริง ใจก็เป็นผู้รู้ขึ้นมาแว้บนึง เอาแค่แว้บเดียวพอนะ ไม่ต้องตั้งอยู่เป็นชั่วโมงๆ คนที่ตั้งเป็นชั่วโมงๆได้ต้องพวกที่เค้าทรงฌาน ผ่านฌานมาเต็มที่แล้ว เต็มภูมิอย่างน้อยได้ฌานที่สองแล้ว ได้ฌานที่สองใจจะเด่น ออกจากฌานมา ยังเด่นอยู่เป็นวันๆเลย อาศัยสมาธิอย่างนี้ตามรู้ดูกายดูใจได้นาน พวกเราไม่ได้ทรงฌานเนี่ยสมาธิจะอยู่แว้บเดียวๆเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” แต่อาศัย ขณิกสมาธิ เนี่ยแหล่ะทำมรรคผลนิพพานให้เกิดได้ เพราะสมาธิที่ใช้ทำวิปัสสนาจริงๆก็คือ ขณิกสมาธิ นี่แหล่ะดีที่สุดเลย รองลงมาก็คือตัว อุปจาร (คำเต็ม อุปจารสมาธิ) เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ ให้ใจมันตื่นขึ้นมา

วิธีง่ายที่สุดเลย ทำฌานไม่ได้ ทำยังไงใจจะตื่น ใจตื่นก็ตรงข้ามกับใจที่ไม่ตื่น ใจที่ไม่ตื่นคือใจหลับ ใจหลับได้ใจก็ฝันได้ ความฝันของใจก็คือความคิด ถ้าเมื่อไหร่รู้ว่าฝันนะเมื่อนั้นจะตื่น เวลาที่ใจไหลไปคิด ถ้าเมื่อไหร่พวกเรารู้ว่าจิตแอบไปคิดนะ เราจะตื่นขึ้นชั่วขณะนึง รู้ทันว่าจิตไหลไปคิด ขณะที่รู้นั่นน่ะตื่น ไม่เฉพาะหลงไปคิดนะ โกรธขึ้นมาขณะที่รู้ว่าโกรธ ขณะนั้นก็ตื่นเหมือนกัน แต่ตัวนี้ดูยากกว่า ใจของเราหลงคิดทั้งวัน มันดูง่ายกว่า อย่างจะดูจิตที่โกรธนะ แล้วก็ตัวรู้ว่าโกรธ วันนี้ยังไม่โกรธใครเลยเนี่ย จะภาวนายังไง แต่มีมั้ยวันใหนชั่วโมงไหนที่ไม่คิดมีมั้ย ไม่มีเลย จิตที่คิดคือจิตฟุ้งซ่าน เป็นจิตมีโมหะเค้าเรียกว่า “อุทธัจจะ” โมหะชนิด อุทธัจจะ จิตมันฟุ้งซ่าน เป็นจิตที่เกิดบ่อยที่สุดเลยจิตฟุ้งซ่านเนี่ย

เราเอาตัวที่เกิดบ่อยเนี่ยแหล่ะมาหัดทำกรรมฐาน เราจะได้ทำกรรมฐานบ่อยๆ เพราะฉะนั้นจิตไหลไปคิดแล้ว อ้อ หลงไปแล้ว มีคำว่า “แล้ว” นะ ทำไมต้องมี แล้ว ด้วย หมายถึงว่า หลงไปก่อน ไม่ได้ห้ามหลง หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง หลายคนภาวนาผิดนะ ไปจ้องรอดู ไหน เมื่อไหร่จะหลง เมื่อไหร่จะหลง จ้องใหญ่ ขณะที่รอดูนั่นหลงเรียบร้อยแล้วนะ ไม่มีวันรู้เลยว่าหลงเป็นยังไงเพราะหลงไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นให้มันหลงไปก่อนให้มันเผลอไปคิดก่อน แล้วก็ค่อยรู้ว่าเผลอไป หลงไป ให้มันโกรธไปก่อน ให้มันโลภไปก่อน แล้วก็รู้ว่ามันโกรธ​รู้ว่ามันโลภ นี่หัดรู้อย่างนี้บ่อยๆรู้ไปแล้วจะได้อะไร เห็นมั้ย คำสอนในศาสนาพุทธละเอียดนะ จะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำอย่างไรบอกแล้วนะ อย่างถ้าจะดูจิตดูใจเนี่ย ตามดูไป ให้สภาวะเกิดแล้วก็ตามรู้ไป หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง โกรธไปก่อนแล้วรู้ว่าโกรธ ตามดูไปเรื่อยๆ เราจะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำแล้วได้ผลอะไร ถ้าเราตามดูไปเรื่อย เราจะเห็นเลย เดี๋ยวจิตก็หลงเดี๋ยวจิตก็รู้  เดี๋ยวหลงเดี๋ยวรู้ นานๆจะมีอย่างอื่นแทรก เดี๋ยวโลภขึ้นมาเราก็รู้ หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ อ้าว เดี๋ยวโกรธขึ้นมา อีกแล้ว นานๆจะมีโลภแทรก นานๆจะมีโกรธแทรกที แต่หลงนี่มันยืนพื้นเลย มันเป็นกิเลสยืนพื้นเลย

ดังนั้นเราคอยรู้ทันเรื่อยๆ ไม่ใช่รู้เพื่อจะไม่ให้หลง แต่รู้เพื่ออะไร รู้เพื่อจะรู้ว่าเมื่อกี้จิตเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้จิตเป็นอีกอย่างหนึ่ง เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตโลภตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ ไม่ใช่ฝึกเพื่อจะไม่ให้โลภ ไม่ให้โกรธ ไม่ให้หลง จะฝึกเพื่อให้เห็นว่า เมื่อกี้เป็นอย่างนึง เดี๋ยวนี้เป็นอย่างนึง นี่คือการเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของสภาวะธรรมนั่นเอง เห็นมั้ยเมื่อกี้จิตหลง ตอนนี้จิตหลงดับไปแล้ว เกิดจิตที่รู้ขึ้นมา เห็นมั้ยเมื่อกี้เป็นจิตโกรธ ตอนนี้เกิดเป็นจิตที่รู้ จิตโกรธดับไปแล้ว จิตที่รู้อยู่ไม่นาน เกิดจิตหลงขึ้นมาแทนอีกแล้ว เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ ฝึกไปเรื่อยๆ

ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกปฏิเสธ สิ่งที่ไม่ดีแต่ฝึกจนเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาให้จิตรู้นี้ เป็นของชั่วคราวทั้งสิ้น จิตโลภก็โลภชั่วคราว จิตโกรธก็โกรธชั่วคราว จิตหลงก็หลงชั่วคราว ทำไมหลงชั่วคราวเพราะมีตัวรู้มาคั่น มีจิตรู้มาคั่น เราก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลยมันก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลย มันก็จะมีแต่จิตหลง หลงทั้งวัน หลงทั้งคืน เราจะรู้สึกว่าหลงแล้วเที่ยง จะไม่เห็นหรอกว่ามันเป็นไตรลักษณ์ แต่เรามีรู้ขึ้นมานะ เพื่อจะเห็นหลงมันขาดเป็นท่อนๆ หลงไปหนึ่งนาทีแล้วรู้สึกตัวแว้บ เราเห็นเลยชีวิตที่หลงนะมันจบไปแล้ว มันเกิดชีวิตใหม่ที่รู้สึกตัว เสร็จแล้วหลงไปอีกห้านาที ก็รู้สึกอีกทีนึง หลงไปอีกชั่วโมงรู้สึกอีกที ต่อไปฝึกไปเรื่อยๆนะ หลงสามวินาทีรู้สึก หลงสองวินาทีรู้สึก ยิ่งฝึกเก่งนะยิ่งหลงบ่อย หลงแว้บรู้สึก ฝึกไปเรื่อย ไม่ใช่ฝึกไม่ให้หลง ไม่ได้ฝึกห้ามหลง ไม่ได้ฝึกที่จะให้รู้ตลอดเวลา แต่ฝึกเพื่อให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วล้วนแต่ดับทั้งสิ้น

ปัญญาแก่รอบต่อไปอีก ก็จะเห็นอีกว่า จิตจะรู้หรือจิตจะหลงนะ ห้ามมันไม่ได้ บังคับมันไม่ได้ นี่คือการเห็นอนัตตา เราสั่งมันไม่ได้ มันไม่ใช่เราหรอก จิตจะหลง มันก็หลงของมันเอง จิตจะโลภ ก็โลภของมันเอง จิตจะโกรธ ก็โกรธของมันเอง จิตจะเป็นยังไงมันก็เป็นของมันอย่างนั้นแหล่ะ จิตจะรู้ขึ้นมา ก็รู้ได้เอง จงใจรู้ก็ไม่ใช่อีกแล้ว แต่เราก็ต้องฝึกจนกระทั่งมันได้รู้ขึ้นมานะ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนี่ฝึกให้มันมีรู้ก่อน

บางคนได้ยินหลวงพ่อพูด หลวงพ่อเล่าให้ฟังนะว่า ตอนหลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดุลย์ครั้งสุดท้าย สามสิบหกวันก่อนท่านมรณะภาพ หลวงปู่ดุลย์สอนหลวงพ่อ พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ ออกจากหลวงปู่ดุลย์นะ อีกวันไปหาหลวงพ่อพุธ หลวงพ่อพุธก็บอกท่านไปหาหลวงปู่ดุลย์มา หลวงปู่ดุลย์สอนอย่างเดียวกันนี้ บอก เจ้าคุณการปฏิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ สอนอย่างนี้ พอได้ยินอย่างนี้นะเลยพยายามทำลายผู้รู้ทั้งๆที่ผู้รู้ยังไม่มีเลย มีแต่ผู้หลงแต่หาทางทำลายผู้รู้ สติแตกสิ

ตอนนี้อย่าเพิ่งทำลายผู้รู้นะ ไม่ใช่เวลาทำลายผู้รู้ เอาไว้ให้ได้พระอนาคาก่อนแล้วค่อยพูดเรื่องทำลายผู้รู้ ตอนนี้เรายังไม่ได้ เราก็ยังไม่ทำลาย เราต้องมีผู้รู้ไว้ก่อน สังเกตมั้ยเดี๋ยวจิตก็รู้ เดี๋ยวจิตก็หลง เดี๋ยวจิตก็โลภ คอยรู้สึกไปเรื่อย รู้ัมันจะมีทีละแว้บ มีรู้อย่างนี้บ่อยๆ มีรู้ขึ้นมาเพื่อตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นช่วงๆ ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตตรงนี้รู้ เห็นมั้ยหลงต้องใหญ่หน่อย รู้ต้องนิดเดียว เป็นธรรมชาติอย่างนั้น ไม่ใช่ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตเดี๋ยวนี้รู้ ปัจจุบันไม่โตขนาดนี้ คำว่าปัจจุบันน่ะเล็กนิดเดียว ชิวิตที่รู้ลงมาคือชีวิตที่อยู่กับปัจจุบันได้ ขณะแว้บเดียวต่อหน้าเท่านั้น เล็กๆ ไม่มีรู้ยาวเท่านี้ (หลวงพ่อวาดมือ) รู้เที่ยงสิรู้อย่างนี้ รู้เที่ยงก็มิจฉาทิฐิ จริงๆรู้เกิดวับก็ดับ วับก็ดับ ดังนั้นเราฝึกนะจนกระทั่งเรารู้สึกขึ้นมา

วิธีที่จะให้รู้ขึ้นมาก็คือ คอยไปหัดรู้ทันเวลาใจหลงไปคิด อันนี้เป็นการบ้านที่ง่ายๆเลย เพราะจิตที่หลงคิดคือจิตที่เกิดบ่อยที่สุด จิตโลภจิตโกรธอะไรนี่มีน้อยนะ จิตหลงเนี่ยมีทั้งวันเลย เพราะในขณะที่โลภ ในขณะที่โกรธเนี่ยต้องมีหลงประกอบอยู่ด้วย ถ้าไม่หลงจะไม่มีโลภ ถ้าไม่หลงจะไม่โกรธ เพราะฉะนั้นจิตหลงเนี่ยเป็นตัวสาหัสสากันเลย ถ้าเราเรียนเรื่องจิตหลงได้ เราจะภาวนาได้ทั้งวัน

กรรมฐานนะ เราควรจะเลือกกรรมฐานซึ่งมันเกิดบ่อยๆ เราจะได้ดูบ่อยๆ อย่างใจเราหลงเนี่ยหลงทั้งวัน แล้วก็รู้ ใจหลงไปแล้วรู้  มันจะเห็นสลับกันเร็ว เคยมีนะ ตอนอยู่เมืองกาญฯ มีหนุ่มคนนึงมาถามหลวงพ่อ ผมใช้สิ่งอื่นนอกจากในสติปัฏฐานได้มั้ย ที่จะมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน ถามว่าจะใช้อะไร ถ้าฟ้าร้องแล้วผมจะรู้สึกตัว ปีนึงมันร้องกี่ครั้งนะ นานมาก บางวันก็ไม่ร้องตั้งหลายเดือน แสดงว่าตลอดมาเนี่ยเอ็งไม่มีสติเลยใช่มั้ย เอ็งจะมีสติตอนหน้าฝนอย่างเดียว อย่างงี้ใช้ไม่ได้

พวกเราไปดูสิอารมณ์ในสติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะ เป็นอารมณ์ที่เกิดตลอดเวลา หายใจออก หายใจเข้านี่ หายใจทั้งวันมั้ย ถ้าหายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวทั้งวัน ยืน เดิน นั่ง นอน มีทั้งวันใช่มั้ย ไม่ยืนก็เดิน ไม่เดินก็นั่ง ไม่นั่งก็นอน อะไรนี้ เวียนไปนี้ ถ้า ยืน เดิน นั่ง นอนรู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวได้เกือบทั้งวันแล้ว ยกเว้นอิริยาบถประหลาดๆ เช่น กระโดดอะไรนี้นะ หรือไปว่ายน้ำ เป็นอิริยาบถ แปลกๆไป ท่านก็สอนล็อกไว้อีกอันนึงเรื่องสัมปชัญญะ เคลื่อนไหวแล้วรู้สึก ก็เคลื่อนไหวแล้วก็หยุดนิ่ง หยุดนิ่งแล้วก็เคลื่อนไหว ถ้าหยุดนิ่งก็รู้สึก เคลื่อนไหวก็รู้สึก ก็รู้สึกตัวได้ทั้งวันแล้ว อารมณ์ที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะเกิดทั้งวัน อารมณ์เวทนาล่ะ มีทั้งวันมั้ย สุข ทุกข์ เฉยๆก็หมุนอยู่อย่างนี้ทั้งวันใช่มั้ย ถ้าสุขก็รู้ตัว ทุกข์ก็รู้ตัว เฉยๆก็รู้ตัว ก็คือรู้ตัวได้ทั้งวัน ดูจิตดูใจล่ะ จิตหลงไปแล้วรู้ เกิดได้ทั้งวัน หลงทั้งวัน ยกเว้นบางคนนั้นขี้โลภ เจออะไรมันก็อยากตลอดเวลาเลย ความอยากเกิดถี่ยิบเลยทั้งวัน พวกนี้ก็เอาความอยากเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่เดี๋ยวมันอยากแว้บอยากดู รู้ทัน อยากฟังรู้ทัน อยากคิดรู้ทัน พวกโลภมากนะ ดูอยากเป็นวิหารธรรม มีจิตที่อยากกับจิตที่ไม่อยาก คู่เดียวก็พอแล้ว เกิดทั้งวันแล้ว คนไหนขี้โมโหนะ อะไรนิดนึงก็โมโห อะไรนิดนึงก็ขัดใจ ก็เอาจิตที่มีโมโหนี่แหล่ะมาเป็นวิหารธรรม จิตโกรธขึ้นมาก็รู้ ขณะที่รู้ว่าโกรธนั้นคือจิตที่รู้ จิตนั้นมันโกรธ เดี๋ยวก็โกรธอีก เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ เห็นมั้ยมันจะเกิดทั้งวัน

เพราะฉะนั้นอารมณ์กรรมฐานที่เราใช้นั้นต้องเป็นอารมณ์ที่เกิดทั้งวัน เราจะได้มีสติได้ทั้งวัน หายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว เผลอไปรู้สึกตัว รู้ รู้ทันว่าเผลอ ก็รู้สึกตัว ก็เป็นจิตที่รู้ขึ้นมา ก็รู้ว่ามีจิตที่รู้อยู่ ทุกอย่างเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอด เวลา เราทำไปเพื่อให้เห็นว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับ ไม่ใช่ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบเช่น เราเห็นว่าร่างกายที่หายใจออก เกิดขึ้นมาแล้วดับไป กลายเป็นร่างกายที่หายใจเข้า ร่างกายที่หายใจเข้าเกิดแล้วก็ดับ กลายเป็นร่างกายที่หายใจออก ร่างกายที่ยืน ที่เดิน ที่นั่ง ที่นอนนี่ ก็คือร่างกายที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ หรือความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆนะ ก็แสดงความหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ความหลงไปกับความรู้สึก หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ ก็แสดงความเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ ภาวนาเพื่อให้เห็นสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบอะไรหรอกนั่นตื้นไป แต่ภาวนาเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ มันมีแต่ความไม่เที่ยง ในกายในใจนี้ มีแต่ความทนอยู่ไม่ได้ในสภาวะ อันใดอันหนึ่ง อยู่ไม่ได้ตลอดหรอก ไม่นานก็ต้องเสื่อมไป

มีแต่เรื่องบังคับไม่ได้นะ สั่งไม่ได้ ร่างกายก็ไม่ใช่เรานะ เป็นแค่วัตถุอันนึง จิตใจก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง สั่งมันไม่ได้ นี่ภาวนาอย่างนี้ สุดท้ายจะได้อะไรขึ้นมา จะเห็นเลยว่า ทั้งกาย ทั้งใจ ทั้งขันธ์ห้านี้เป็นทุกข์เป็นโทษทั้งหมดเลยนะ ไม่ใช่ของดีของวิเศษหรอก อย่างร่างกายนะ ประคบประหงมมันอย่างดีเลย ให้มันมีความสุข ไม่นานเลยมันก็ทุกข์อีกแล้ว นี่อย่างนี้ดูไปเรื่อย มันเอื่อมระอา มันไม่ยึดกายแล้ว จิตใจก็เหมือนกันนะ อุตสาห์ทำความสงบเข้ามา ไม่นานก็ฟุ้งอีกแล้ว ทำดียังไงเดี๋ยวก็แย่ขึ้นมาอีกแล้ว มีแต่ของไม่เที่ยงนะ เห็นแล้วอิดหนาระอาใจ ในที่สุดไม่ยึดจิตใจด้วย

สุดท้ายไม่ยึดทั้งกายไม่ยึดทั้งใจ ก็ไม่ยึดสิ่งใดในโลกนะ จิตก็หลุดพ้นจากความยึดถือ เรียกว่าวิมุตตินะ จิตหลุดพ้น หลุดแล้วจะได้อะไร ได้เห็นนิพพาน แต่ไม่เป็นเจ้าของนิพพานนะ นิพพานไม่เป็นของใคร นิพพานเป็นธรรมดาของโลกอยู่อย่างนั้น เป็นธรรมะประจำโลกอยู่อย่างนั้น แต่ว่าผู้ใดไปเห็นนิพพานผู้นั้นมีความสุขนะ จิตที่ไปรู้นิพพานนั้นมีบรมสุขที่สุดเลย มันพ้นความดิ้นรน พ้นความปรุงแต่ง พ้นความหิวโหย พวกเราค่อยๆฝึกนะ

วันนี้เทศน์มาตั้งแต่เช้าเนี่ยเรื่องอะไรบ้าง หวังว่าการปฏิบัติต้องรู้นะว่าเราจะทำอะไร ก็มีสมถะกับวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร ทำสมถะนะก็เพื่อให้มีกำลังไปทำวิปัสสนา หรือว่าบางครั้งก็ใช้พักผ่อนนิดๆหน่อยๆ พอมีเรี่ยวมีแรงสดชื่นแล้วก็ไปทำวิปัสสนา ทำอย่างไรนะ สมถะ เนี่ย ให้จิตไปอยู่ในอารมณ์ที่สบายแล้วจิตจะสงบ วิปัสสนานะให้ตามรู้ความเปลี่ยนแปลงของกายของใจไป ใจเป็นแค่คนรู้คนดูไปเรื่อย โลภขึ้นมาแล้วรู้ โกรธขึ้นมาแล้วรู้ ดูไปเรื่อย รู้แล้วได้อะไร ทำแล้วได้อะไร ถ้าทำสมถะก็ได้ตัวรู้ขึ้นมา ทำวิปัสสนาก็ได้ปัญญาเห็นความจริงของกายของใจ ได้เห็นความจริงแล้วก็หมดความยึดถือ ปล่อยวาง เข้าถึงบรมสุขที่แท้จริง


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๑๓
File: 520809A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อย่าไปดักดู ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยตามรู้

mp3 for download : อย่าไปดักดู ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยตามรู้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อย่าไปดักดู ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยตามรู้

อย่าไปดักดู ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยตามรู้

หลวงพ่อปราโมทย์ : เวลาที่เราจะดูจิตดูใจ เราอย่าไปดักจ้องไว้ก่อน บางคนไปจ้องรอดูว่าเมื่อไหร่จิตจะมีปฎิกริยาอะไรขึ้นมา ถ้าเราไปจ้องไว้ จิตจะนิ่งๆ ทื่อๆ ไม่มีอะไรให้ดูเลย

เพราะฉะนั้นการดูจิตที่ดี ปล่อยให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยตามรู้เอา มันโกรธขึ้นมา อ้อ มันโกรธขึ้นมาแล้ว มีคำว่าแล้วด้วย มันโกรธขึ้นมาแล้วเรารู้ทัน จิตมันโกรธขึ้นมา มันอยากแล้ว มันเห็นสาวมันอยากจีบเค้าเนี่ย รู้ว่ามันอยากแล้ว นี่ความอยากเกิดขึ้นก่อนแล้วรู้ว่าอยาก ความโกรธเกิดขึ้นก่อนแล้วรู้ว่าโกรธ ใจลอยไปก่อนแล้วรู้ว่าใจลอย ฟุ้งซ่านไปก่อนแล้วรู้ว่าฟุ้งซ่าน หดหู่ไปก่อนแล้วรู้ว่าหดหู่ ให้ความรู้สึกมันเกิดขึ้นก่อน อย่าไปดักดู ถ้าเราดักดูละก็จะไม่มีอะไรให้ดู ทุกอย่างมันจะนิ่งไปหมด

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สนามบินสุวรรณภูมิ
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๓


CD: แสดงธรรมนอกสถานที่สนามบินสุวรรณภูมิ
File: 530111
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๓๙ ถึงนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๒๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตใจมีหน้าที่ปรุงแต่ง เรามีหน้าที่เพียงดูเขาปรุง

จิตใจมีหน้าที่ปรุงแต่ง เรามีหน้าที่เพียงดูเขาปรุง

จิตใจมีหน้าที่ปรุงแต่ง เรามีหน้าที่เพียงดูเขาปรุง

mp3 for download : จิตมีหน้าที่ปรุงแต่ง เราไม่ห้าม เพียงแค่ดูเขาปรุง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : กราบนมัสการหลวงพ่อครับ มาครั้งแรกครับผม

หลวงพ่อปราโมทย์ : กล้าหาญนะ กล้าหาญมากเลย มาครั้งแรกมานั่งหน้า

โยม : ก็รู้สึกว่ายังมี รู้สึกเพ่งๆอยู่น่ะครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถูกต้อง

โยม : ทีนี้..ก็ไม่ทราบว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อไปครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ให้รู้ไปนะ เพ่งอยู่รู้ว่าเพ่ง จิตใจเป็นสุขเป็นทุกข์ เป็นกุศล-อกุศลคอยรู้ จิตใจทำงานอะไรคอยรู้ไปเรื่อยๆ การทำงานของจิตก็คือการสร้างภพ หรือความปรุงแต่ง หรือที่เรียกว่าสังขารนั่นเอง เขาปรุงไปเรื่อยๆเขาก็ทุกข์ขึ้นมาแหละ ให้เราเรียนรู้ไป อย่าไปเกลียดเขา เขาต้องปรุงนะ หน้าที่ของเขา เขาต้องปรุง ให้เราคอยรู้คอยเห็นไปอย่างที่เขาเป็นเรื่อยๆ ถึงวันหนึ่งใจมันปิ๊งขึ้นมาว่าทั้งหมดนี้ไม่มีเราเลย มีกระบวนการปรุงแต่ง มีกระบวนการทำงานของจิต แต่ไม่มีเรา ขันธุ์ ๕ ก็ทำงานของมันไป มีปรากฏการณ์ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย แต่ทั้งหมดไม่มีตัวเรา ดูอย่างนี้เรื่อยๆ เดี๋ยวมันเห็นเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๑ ก่อนฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510414A
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๔๒ ถึงนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๔๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 41234