Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๑) ทันทีที่รู้ทันจิตที่เคลื่อนไป จิตจะตั้งมั่นโดยอัตโนมัติ

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๑) ทันทีที่รู้ทันจิตที่เคลื่อนไป จิตจะตั้งมั่นโดยอัตโนมัติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะงั้นเรามาฝึกนะ พุทโธไป หายใจไป ดูท้องพองยุบไปตามถนัด แล้วคอยรู้ทันจิต จิตหนีไปคิดรู้ทัน จิตลงมาเพ่งอยู่ที่อารมณ์อันนั้นนะ มาอยู่กับพุทโธ มาอยู่กับลมหายใจ มาอยู่กับท้อง จิตเคลื่อนไปอยู่(กับ)สิ่งเหล่านี้ รู้ทัน

การที่เราคอยรู้ทันจิต ที่เคลื่อนไปเคลื่อนมาเนืองๆเนี่ย ทันทีที่รู้ทัน จิตจะตั้งมั่นโดยอัตโนมัติ เพราะจิตที่เคลื่อนเนี่ยนะ คือจิตที่มีโมหะ จิตที่เคลื่อนเป็นจิตที่มีโมหะ โมหะชนิดที่เรียกว่า “อุทธัจจะ” ความฟุ้งซ่าน จิตมันฟุ้งไปในความคิดบ้าง ฟุ้งไปที่ลมหายใจบ้าง ฟุ้งไปที่ท้องบ้าง ฟุ้งไปที่เท้าบ้าง

ถ้าเมื่อไหร่เรามีสติ รู้ทันนะ ว่าจิตมันเคลื่อนไปนะ จิตจะไม่เคลื่อน จิตจะตั้งมั่นขึ้นโดยอัตโนมัติ โดยที่เราไม่ได้บังคับ ถ้าเราบังคับ จิตจะตึงเครียด ถ้าจิตตึงเครียด จิตเป็นอกุศล ไม่ใช่จิตที่ดีเลย เพราะงั้นอย่าไปข่ม อย่าไปกด อย่าไปบังคับ อย่าไปกดขี่ข่มเหงจิตใจ แล้วให้คอยรู้ทันเท่านั้น ว่าจิตมันเคลื่อนไป เคลื่อนไปคิด รู้ทัน เคลื่อนไปเพ่ง รู้ทัน ให้รู้ทันเฉยๆ

ทันทีที่รู้ทันนะ เราจะเริ่มเก็บคะแนนของความรู้สึกตัวไว้แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าจิตไหลไปคิด เคลื่อนไปคิด เรารู้ว่าจิตเคลื่อนไปคิด จิตจะตั้งมั่นขึ้นโดยอัตโนมัติเลย แต่ถ้าเคลื่อนไปเพ่งนะ เวลาไปดูเนี่ย บางทีถลำตามไปอีก เลยไม่ขึ้นมาเลยก็มี แต่ถ้ารู้ว่าจิตเคลื่อนไปอยู่ที่ท้อง จิตจะขึ้นมาได้นะ ขึ้นมาเอง แต่ส่วนใหญ่พอไปดูซ้ำนะ มันก็ซ้ำลงไปอีก ไปอยู่ที่ท้องหนักขึ้น ไปอยู่ที่ลมหนักขึ้น

เพราะงั้นบางทีบอก ดูแล้วทำไมก็ไม่หายเพ่ง ก็(เพราะว่า)ดูแบบเพ่งๆ ยิ่งดูยิ่งเพ่ง แต่เวลาเผลอไปคิดเนี่ย ทันทีที่รู้ ว่าจิตเผลอไปคิด จิตจะดีดตัวผางขึ้นมา เป็นผู้รู้ทันทีเลย ทันทีที่จิตเป็นผู้รู้แล้ว มันจะรู้สึกกายได้ มันจะรู้สึกใจได้ มันจะกลับมาอยู่กับตัวเอง เรียกว่า จิตใจกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๑ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๐) จิตตสิกขา คือต้องรู้เท่าทันจิต

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๐) จิตตสิกขาคือต้องรู้เท่าทันจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : มีสมาธินั้นมี ๒ ชนิด เราต้องเรียนให้ชัดเจนนะ ส่วนมากนะ คนที่ทำสมาธินะ รุ่นก่อนนี้นะ เกือบทั้งหมดเลย ทำสมาธิออกนอก ไปพุทโธ จิตไปอยู่ที่พุทโธ ไปรู้ลมหายใจ จิตไปอยู่ที่ลมหายใจ ไปดูท้องพองยุบ จิตไปอยู่ที่ท้อง ไปเดินจงกลม จิตไปอยู่ที่เท้า ไม่เคยรู้ทันจิตตนเองเลย การที่ไม่รู้ทันจิตตนเองนี่ เรียกว่า ข้ามบทเรียนสำคัญของพระพุทธเจ้าไปบทนึง ชื่อ “จิตตสิกขา” เราต้องรู้เท่าทันจิตของเรา

เพราะงั้นต่อไปนี้ เราทำกรรมฐานอย่างหนึ่งขึ้นมา เคยพุทโธก็ใช้พุทโธได้นะ เคยหายใจ ก็ใช้ลมหายใจได้ เคยดูท้องพองยุบ ก็ใช้ท้องพองยุบได้ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนหรอก ถ้าทำแล้วมันสบายใจนะ เพียงแต่กลับนิดนึง แทนที่จะส่งจิตไปอยู่กับพุทโธ แทนที่จะส่งจิตไปอยู่ที่ลมหายใจ แทนที่จะส่งจิตไปอยู่ที่ท้อง แทนที่จะส่งจิตไปอยู่ที่มือ ที่เท้า “ให้คอยรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป” พุทโธๆจิตเคลื่อนไปที่อื่น เช่น เคลื่อนไปคิด รู้ทัน หายใจไป จิตเคลื่อนไปคิด รู้ทัน จิตเคลื่อนไปอยู่ที่ลมหายใจ รู้ทัน ดูท้องพองยุบไป จิตเคลื่อนไปคิด รู้ทัน จิตเคลื่อนไปอยู่ที่ท้อง รู้ทัน

จิตมันจะเคลื่อนไปใน ๒ ลักษณะเท่านั้นเอง คือเคลื่อนหลงไปในโลกของความคิด กับเคลื่อนไปเพ่งอารมณ์นิ่งๆ ถ้าจิตเคลื่อนไปเพ่งอารมณ์นิ่งๆ นั่นคือ การทำสมถะกรรมฐาน จะได้ความสงบเฉยๆ จะไม่มีปัญญา ถ้าจิตเคลื่อนไปอยู่ในโลกของความคิด อันนั้นหลงไปเลย สมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่ได้ ใช้ไม่ได้เลย เวลาที่จิตหลงไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๒๒ ถึง นาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมาธิชนิดลืมเนื้อลืมตัวไม่ใช่ทาง พ้นทุกข์ไม่ได้จริง

mp 3 (for download) :  สมาธิชนิดลืมเนื้อลืมตัวไม่ใช่ทาง พ้นทุกข์ไม่ได้จริง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สมัยพุทธกาลนะ เจ้าชายสิทธัตถะออกจากวังมา สิ่งแรกที่ท่านไปทำ ก็ไปเรียนกับฤาษี ทำสมาธิให้จิตนิ่งๆว่างๆนี้แหล่ะ แล้วท่านก็พบว่ามันไม่ใช่ทาง ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์จริง วันนี้สงบ อีกวันก็ฟุ้งซ่านอีกแล้วนะ วันนี้ไม่มีกิเลส อีกวันนึงก็กิเลสมาอีกแล้ว ท่านก็พบว่ามันไม่ใช่ทาง ท่านก็ไปทรมานร่างกาย แล้วก็พบว่าไม่ใช่ทางอีก

สุดท้ายท่านก็พบทางสายกลางนะ เป็นสมาธิธรรมชาติที่ท่านมีมาตั้งแต่เด็ก เมื่อตอนท่านอายุ ๓ ขวบ มีพิธีแรกนาขวัญ พี่เลี้ยงเอาท่านไปไว้ใต้ต้นหว้า แล้วพี่เลี้ยงก็ไปดูพระเจ้าสุทโธทนะไถนา ขณะนั้นท่านอยู่คนเดียว ไม่มีใครกวนท่าน ท่านก็ลุกขึ้นนั่งสมาธิ หายใจไปด้วยความรู้สึกตัว หายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว ไม่ได้หายใจแล้วให้จิตไปอยู่ที่ลมหายใจ ไม่ได้หายใจแล้วก็จิตเคลิ้มๆ ลืมเนื้อลืมตัว หายใจแล้วรู้สึกตัว จิตท่านตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมานะ ได้ปฐมฌานขึ้นมา

เนี่ยท่านระลึกถึงสมาธิชนิดนี้ขึ้นมาได้ ตอนท้ายๆของการปฏิบัติของท่าน ท่านก็มานั่งหายใจนะ หายใจด้วยความรู้สึกตัว หายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว เห็นร่างกายมันหายใจ ใจเป็นคนดู ร่างกายมันหายใจ ใจเป็นคนดู ใจค่อยสงบนะ แล้วก็ไม่ลืมเนื้อลืมตัว รู้สึกตัวอยู่ตลอดเลย สมาธิชนิดที่รู้สึกตัวเนี่ย กระทั่งบางทีภาวนาไปจนร่างกายหายนะ โลกธาตุดับนะ พายุกำลังตึงตังๆเนี่ย จิตเข้าสมาธิ รู้สึกตัวอยู่เนี่ย โลกดับไปเลย ไม่มีเลยพายุฟ้าผ่าอะไรเนี่ย ไม่มีรู้สึกเลยนะ แต่ความรู้สึกตัวไม่หายไป ยังรู้สึกตัวอยู่ตลอดสายของการปฏิบัติเลย ต้องมีสมาธิอย่างนี้ ถึงจะใช้ได้

ถ้าสมาธิที่ทำไป แล้วก็ลืมกายลืมใจ เคลิ้มๆ ลืมเนื้อลืมตัว มันจะไปเจริญปัญญาได้ไง เพราะเจริญปัญญา คือการเรียนรู้ความจริงของกายของใจ

งั้นพวกเราต้องมาฝึกนะ ให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวนะ ถ้าพูดถึงคำว่าสมาธินะ ที่จะใช้สมาธิที่ดีๆ พูดภาษาไทยง่ายๆ ก็คือฝึกให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ลืมเนื้อลืมตัว จะยืนเดินนั่งนอน ก็รู้สึกตัว จะหายใจออก จะหายใจเข้า ก็รู้สึกตัว มีความสุข ก็รู้สึกตัว มีความทุกข์ ก็รู้สึกตัว ใจมันโลภ ใจมันโกธรธ ใจมันหลง ก็รู้สึกอยู่ เห็นใจมันโกรธนะ เราเป็นคนดูเอง จิตใจเป็นคนรู้ ว่าความโกรธมันเกิดขึ้น จิตใจเป็นคนรู้ ว่าความโลภมันเกิดขึ้น ความหลงมันเกิดขึ้น ความฟุ้งซ่านความหดหู่ มันเกิดขึ้น ใจเราเป็นแค่คนดูเอง ใจเราเป็นคนดู เห็นความสุขเกิดขึั้น เห็นความทุกข์เกิดขึ้น เห็นความสุขหายไป (เห็น)ความทุกข์หายไป

ฝึกอย่างนี้เรื่อยๆ คอยรู้สึกตัว แล้วก็ดูความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ของกายของใจเรื่อยไป นี่แหล่ะวิธีที่เราจะเรียนรู้ ความจริงของกายของใจได้นะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย
เมื่อ วันพุธที่ ๒๘ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๕

CD: แสดงธรรมที่ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย
File: 551128
ระหว่างนาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๕๙ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๕๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กรรมฐานที่เป็นวิหารธรรม

mp 3 (for download) : กรรมฐานที่เป็นวิหารธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เราต้องรู้กายรู้ใจอย่างเป็นวิหารธรรม วิหารธรรมแปลว่าบ้าน บ้านไม่ใช่คุก แต่นักปฏิบัติเกือบร้อยละร้อยนะ เอาอารมณ์กรรมฐานมาเป็นคุกขังใจ

เช่นเราจะอยู่กับลมหายใจ เราจะบังคับตัวเอง ให้รู้แต่ลมหายใจ ห้ามรู้อย่างอื่น ถ้ารู้อย่างอื่นถือว่าไม่ดี มันไม่ดีจริงนะในแง่ของสมถกรรมฐาน แต่ในแง่ของวิปัสสนากรรมฐานน่ะ เราไม่ได้เอาจิตไปติดคุก ทันทีที่พวกเราคิดถึงการปฏิบัติแล้วเราบังคับตัวเอง พอบังคับเมื่อไหร่เนี่ย จิตใจจะหนักๆแน่นๆแข็งๆขึ้นมาเลย ทื่อๆนะ แข็งขึ้นมา หาความสุขความสงบที่แท้จริงไม่ได้ มีแต่ความอึดอัดนะ จงใจปฏิบัติเมื่อไหร่อึดอัดเมื่อนั้นเลย จงใจไปรู้ลมหายใจก็อึดอัด จงใจไปรู้ท้องพองยุบก็อึดอัด ยกเท้าย่างเท้าแล้วจงใจไปรู้อยู่ที่เท้าก็อึดอัดอีก ทำอะไรๆมันก็อึดอัดไปหมดเลย

เพราะอะไร เพราะจิตมันไปติดคุก คนติดคุกมันมีความอึดอัดนะ แต่หลวงพ่อไม่เคยติดนะ อันนี้เดาๆเอา นะ ไม่เหมือนอยู่บ้าน อยู่บ้านสบาย มีธุระออกจากบ้านเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องรู้กายรู้ใจเหมือนมันเป็นบ้าน หมายถึงว่ามันเป็นที่อาศัยระลึกของสติเท่านั้น เวลาไม่รู้จะรู้อะไรนะ ก็กลับมาอยู่บ้าน คนไหนใช้ลมหายใจเป็นบ้าน พอจิตใจไม่ต้องไปรู้กายเวทนาจิตธรรมอันอื่น เราก็กลับมารู้ลมหายใจ รู้เล่นๆ ไม่ใช่บังคับจิตให้อยู่กับลมหายใจ ถ้าบังคับจิตให้อยู่กับลมหายใจเป็นสมถะ

ถ้าจะอยู่อย่างอยู่เป็นบ้านเราก็หายใจไป หายใจออกก่อนนะ หายใจออก หายใจเข้า หายใจออกไป ใจเราอยู่ที่ลมหายใจเราก็รู้ หายใจไป หายใจไป ใจเราหนีไปที่อื่นเราก็รู้ เห็นมั้ย หายใจไป เราเห็นร่างกายนี้หายใจอยู่นะ เกิดสติเกิดปัญญาขึ้นมา เห็นร่างกายหายใจ ร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่ตัวเราหรอก จิตใจก็เหมือนกัน จิตใจที่ไปรู้ร่างกายที่หายใจเนี่ย แป๊บเดียวมันก็หนีไปคิดเรื่องอื่น หรือมันถลำลงไปเพ่งลมหายใจ หรือมันสุข หรือมันทุกข์ หรือมันดี หรือมันร้ายขึ้นมา

การที่เราเห็นอย่างนี้มากเข้าๆ มันก็จะเกิดปัญญา เห็นเลย จิตใจก็ไม่ใช่ตัวเราอีกละ เราบังคับมันไม่ได้ เดี๋ยวก็วิ่งไป เดี๋ยวก็วิ่งมา เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย เนี่ยถ้าเรารู้อย่างนี้ รู้อย่างเป็นวิหารธรรมนะ มันจะรู้ทั้งกายรู้ทั้งใจ ไม่ใช่รู้อันเดียว ถ้าบังคับจิตให้แน่วอยู่ในอารมณ์อันเดียวเป็นเรื่องของสมถกรรมฐาน

เพราะฉะนั้นอย่างหลายคนดูท้องพองยุบ ดูท้องพองยุบแล้วเพ่งให้จิตแนบอยู่ที่ท้องเลย ห้ามหนีไปที่อื่น เอาท้องมาเป็นคุกขังจิตน่ะ จนจิตมันไม่ไปไหน มันเซื่องๆอยู่ที่ท้องเนี่ยนะ ได้ความสงบ เกิดปีติ ขนลุกขนพอง เกิดตัวลอยตัวเบาตัวโคลง ตัวใหญ่ตัวหนัก บางคนตัวหนักก็มีนะ บางคนก็ขนลุกซู่ซ่าๆ อันนี้เป็นเรื่องของสมถกรรมฐาน

แต่ถ้าเรารู้ท้องพองยุบอย่างให้เป็นวิปัสสนา หัดเจริญสติปัฏฐานจริงๆ เราจะเห็นร่างกายมันพองร่างกายมันยุบนะ รูปมันพองรูปมันยุบ ใจอยู่ต่างหาก ใจเป็นแค่คนดู เหมือนเราดูตัวเอง เห็นร่างกายมันขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว เหมือนกันหมดนะ จะใช้อารมณ์กรรมฐานอะไร ยกตัวอย่างใช้ อิริยาบถ ๔ เนี่ย เราก็เห็นร่างกายมันยืน ร่างกายมันเดิน ร่างกายมันนอน ถ้าทำสัมปชัญญะบรรพะ ร่างกายมันคู้ร่างกายมันเหยียด มันเหลียวซ้ายแลขวา เราก็รู้สึกเอา รู้สึกแล้วเราก็เห็นเลย ไอ้ตัวที่เคลื่อนไหวเหลียวซ้ายแลขวาน่ะ ไม่ใช่ตัวเราหรอก รูปมันเคลื่อนไหว ใจเป็นคนดู ตัวใจเองก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้นเราจะเห็นทั้งรูป เห็นทั้งนามนะ ถ้าเห็นถูกต้อง ไม่ใช่เห็นอันใดอันหนึ่ง ไม่ใช่บังคับเอาอันใดอันหนึ่ง เนี่ยเรียกว่าอยู่เป็นวิหารธรรม บางทีสติก็ไปรู้กาย บางทีสติก็ไปรู้ใจ เราเลือกไม่ได้ ไม่ได้จงใจ มันจะสบาย รู้กายก็สบายใจนะ รู้จิตใจก็สบายใจอีก รู้ไปเรื่อยๆ สบาย เหมือนเราอยู่บ้าน ออกจากบ้านไปเที่ยวเมื่อไหร่ก็ได้ มีธุระจะไปเมื่อไหร่ก็ได้ เหนื่อยแล้วกลับมาอยู่้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ศาลาลุงชิน (ศาลากาญจนาภิเษก)
ครั้งที่ ๑๐
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕o


CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๑๐
File: 500318
ระหว่างนาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๒ ถึง นาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๑๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีการอยู่กับวิหารธรรม

mp 3 (for download) : วิธีการอยู่กับวิหารธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : เมื่อเดือนที่แล้วมาส่งการบ้านน่ะค่ะ หลวงพ่อบอกว่าตั้งใจดูมันมากเกินไปน่ะค่ะ (หลวงพ่อปราโมทย์ : อื้อ) พอหลังจากนั้นมันเหมือนลงไปบ่อยน่ะค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : คือ การปฏิบัติที่ผิดมีสองอันนะ ความสุดโต่งสองด้าน ด้าหนึ่งหลงไปเผลอไป ด้านหนึ่งเพ่งไว้ประคองไว้บังคับไว้

ทีนี้ถ้าเราประคองไว้เรื่อยไปนะ เราก็ไม่ทำชั่ว แต่ไม่เกิดปัญญา แล้วเราปล่อย จิตหนีไป ปล่อยไปนะ ไปทำชั่วได้ แต่ถ้าเรามีสติรู้ทันความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของจิต เราจะได้ปัญญา

เพราะฉะนั้นการที่เราจะปล่อยให้จิตทำงานจนเกิดปัญญานี้ มีความเสี่ยงเหมือนกัน แต่ว่าถ้าจิตของหนูพอปล่อยปุ๊บเนี่ย แต่เดิมเราประคองมากเลย ถ้าเราปล่อยเมื่อไหร่มันจะฟุ้ง ฟุ้งแหลกลาญเลย

มันมีวิธี คล้ายๆว่า จะจับนะแต่แกล้งปล่อย คืออย่ามาจับมันเต็มที่ จับนิดๆ แตะๆเอาไว้ เช่น พุทโธๆไป หาเครื่องอยู่ให้จิต แต่ไม่ใช่พุทโธให้จิตนิ่ง พุทโธๆไป จิตหนีไปแล้ว รู้ทัน อ่ะ มาพุทโธใหม่ ที่หนีไปแล้วไม่ว่ากัน พุทโธๆ หนีไปอีก รู้ทัน หาเครื่องอยู่ให้จิตอยู่นะ แล้วก็ไม่บังคับว่าจิตจะต้องอยู่กับอารมณ์อันนั้น

บางคนรู้ลมหายใจ หายใจสบายๆไป จิตหนีไปคิดรู้ทัน จิตไปอยู่ที่ลมหายใจรู้ทัน นะ จิตเป็นยังไงรู้ทันไปเรื่อย อย่างนี้จะไม่หลงยาว ถ้าจิตไม่มีเครื่องอยู่น่ะ จิตจะหลงยาว

เพราะฉะนั้นมันจะมีการปฏิบัติที่ผิดอยู่ ๒ อันนะ ที่ถูกอยู่อันหนึ่ง ที่ผิดเนี่ย ปล่อยจิตให้หลงไปเลย นานๆเลยเนี่ย ผิดแน่นอน ที่ผิดอันที่สองเนี่ย ไปเพ่งจิตไว้ บังคับจิตไว้ จนมันเคลื่อนไหวไม่ได้ เครียดๆหนักๆนะ อันนี้ก็ผิดนะ

ที่ถูกก็คือ มีเครื่องอยู่ของจิตไว้อันหนึ่ง ไม่ได้ถึงขนาดจับไว้ไม่ให้กระดุกกระดิก แต่มีเครื่องอยู่พอให้จิตได้อาศัย พุทโธไป หายใจไป พุทโธไป อะไรก็ได้ แล้วก็คอยรู้ทันจิต ไม่ใช่บังคับจิตให้นิ่ง แต่พุทโธไปหายใจไปเพื่อคอยรู้ทันจิต พุทโธๆจิตหนีไปคิด รู้ทัน พุทโธๆจิตมีความสุข รู้ทัน จิตมีความทุกข์ รู้ทัน พุทโธแล้วรู้ทันจิตไป จะไม่หลงนาน ถ้าเราไม่มีเครื่องอยู่จะหลงนาน…


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
Track: ๘
File: 550429B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๓๓ ถึง นาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๕๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลักการใช้วิหารธรรม

mp 3 (for download) : หลักการใช้วิหารธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : แต่ละคนไม่เหมือนกันหรอก แล้วคนเดียวกันนะ แต่ละวันแต่ละเวลา ดูไม่เหมือนกันอีก แต่ว่ามันจะต้องมีวิหารธรรมมีฐานอันเดียว อย่ามีบ้านหลายบ้าน แต่บางช่วง สมมุติเราใช้จิตเป็นวิหารธรรม ดูจิตเรื่อยๆ แต่ดูไม่ไหวก็รู้จักเปลี่ยนมาดูกายบ้าง รู้จักมาทำความสงบบ้าง หรือดูกายอย่างเดียว ไม่ได้ไปจ้องอยู่ที่กาย เห็นร่างกายพองร่างกายยุบ จิตไหลไปอยู่ในกาย ไม่รู้ทันว่าจิตไหล ก็ใช้ไม่ได้ ก็ต้องรู้ทันว่าจิตไม่ตั้งมั่นแล้ว

เพราะฉะนั้นการภาวนานะ ถึงแม้จะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นวิหารธรรม วิหารธรรมแปลว่าบ้าน มีบ้านให้จิตอยู่ก็จริง แต่จิตออกนอกบ้านได้ บ้านไม่ใช่คุก บ้านนั้นถ้ามีธุระก็ออกไปเมื่อไหร่ก็ได้ แต่คุกห้ามออก นักปฏิบัติส่วนใหญ่นะ เปลี่ยนวิหารธรรมให้กลายเป็นคุกขังจิตแทบทั้งนั้นเลย เกือบร้อยละร้อยเลย ไปที่ไหนๆก็เห็นแต่แบบนั้นแหละ ไม่ใช่วิหารธรรมแต่เป็นคุก

ยกตัวอย่าง อยู่กับพุทโธก็บังคับจิต ห้ามหนีไปจากพุทโธ อยู่กับลมหายใจก็บังคับจิต ห้ามหนีไปจากลมหายใจ อยู่กับท้องพองยุบก็บังคับจิตต้องอยู่ที่ท้อง ห้ามหนีไปจากท้อง มีแต่บังคับจิต ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ใช่บ้านแต่เป็นคุก

แต่ถ้าเราพุทโธๆเนี่ย มีอารมณ์มากระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จิตมันแส่ส่ายออกไป จิตมันเกิดสุขเกิดทุกข์ เกิดกุศลอกุศลรู้ทันมัน มันจะเห็นแต่ความเปลี่ยนแปลงของจิต เห็นเลยว่าจิตเป็นของบังคับไม่ได้นะ เห็นไตรลักษณ์ของจิต หรือรู้ลมหายใจอยู่นะ ให้จิตตั้งมั่นเป็นคนดู เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่ตัวเรา นี่ก็เป็นการเดินปัญญาด้วยการดูกายละ

ถ้าจิตแส่ส่ายหนีออกไป รู้ทันว่าจิตแส่ส่ายออกไป จิตจะตั้งมั่นได้สมาธิขึ้นมา หรือเดี๋ยวก็ส่ายเดี๋ยวก็ตั้ง เดี๋ยวก็ส่ายเดี๋ยวก็ตั้ง เริ่มสังเกตเห็น จิตจะส่ายไปจิตจะตั้งมั่น จิตจะส่ายไปจิตจะตั้งมั่น บังคับไม่ได้จิตไม่ใช่เรา นี่เริ่มเดินปัญญาอีกละ

เพราะฉะนั้นเวลาภาวนานะ มันจะพลิกไปพลิกมา พลิกไปพลิกมา ระหว่างสมถะกับวิปัสสนานะ อย่างนี้ใช้ได้

แต่ถ้าไปจ่ออยู่ในอารมณ์อันเดียว เป็นสมถะไม่เดินปัญญา เป็นคุกขังจิต จิตต้องอยู่ที่ลมหายใจเท่านั้น ห้ามไปอยู่ที่อื่น อย่างนั้นไม่ใช่ อย่างนั้นเป็นสมถะ ดีมั้ย ดีเหมือนกัน ถ้าทำวิปัสสนาไม่ได้

ถ้าทำวิปัสสนา ดูจิตได้ให้ดูจิต ดูจิตไม่ได้ให้ดูกาย ดูจิตไม่ได้ดูกายไม่ได้ ให้ทำสมถะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
Track: ๑๙
File: 550601.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๑ ถึง นาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๔๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๑๒) เมื่อแยกธาตุแยกขันธ์ได้ จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ไม่มีคน

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๑๒) เมื่อแยกธาตุแยกขันธ์ได้ จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ไม่มีคน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : นี้เราฝึกมาสองเรื่องแล้วนะ (หากต้องการอ่านย้อนหลัง กรุณาอ่านเรื่องในหมวด ทางวิปัสสนา) เรื่องแรก ทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง แล้วรู้ทันจิต พุทโธไปจิตหนีไปคิด-รู้ทัน หายใจจิตหนีไปคิด-รู้ทัน จิตไหลไปเพ่งลมหายใจ-รู้ทัน ฝึกรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป จิตก็ตั้งมั่นเป็นคนดู

พอจิตตั้งมั่นเป็นคนดูแล้วค่อยๆดูไป ร่างกายนี้เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ร่างกายที่นั่งอยู่ ร่างกายที่เดิน ร่างกายที่นอน เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ดูร่างกายกับจิตเป็นคนละอันกัน จะเป็นคนละอันอย่างอัตโนมัติ ต่อไปก็ดูไป ความปวดความเมื่อย อะไรเกิดขึ้นในร่างกายนะ ก็เป็นคนละส่วนกับร่างกาย เป็นคนละส่วนกับจิต ความกังวลใจที่เกิดขึ้น ก็เป็นคนละอันกับร่างกาย คนละอันกับความปวดเมื่อยเป็นคนละอันกับจิต นี้เราหัดแยกออกเป็นส่วนๆอย่างนี้แหละ

พอเราแยกออกเป็นส่วนๆแล้ว เราจะเห็นความจริงขึ้นมาแล้ว ร่างกายนี้เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า เป็นแค่วัตถุ เป็นก้อนธาตุ ร่างกายนี้มีธาตุไหลเข้าร่างกายนี้มีธาตุไหลออกตลอดเวลา เช่นเรากินอาหารแล้วเราก็ขับถ่าย เราหายใจเข้าแล้วเราก็หายใจออก เพราะฉะนั้นร่างกายนี้มีธาตุหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา ร่างกายเป็นเพียงแค่วัตถุเท่านั้นเอง เป็นสมบัติของโลกที่เรายืมโลกมาใช้ เรายืมวัตถุของโลกมาใช้ ถึงจุดหนึ่งเราก็ต้องคืนวัตถุชิ้นนี้ให้โลกไป เราครอบครองตลอดไปไม่ได้

เพราะฉะนั้นเราค่อยๆมาดูความจริงของร่างกาย ร่างกายไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นแค่วัตถุอันหนึ่งเท่านั้นเอง มีธาตุไหลเข้ามีธาตุไหลออก เนี่ยเราเริ่มล้างความเห็นผิดว่ามีตัวเราได้แล้ว ตัวเรานี้ประกอบไปด้วยกลุ่มก้อนของขันธ์ทั้งหลายที่มารวมตัวกันเข้า แต่พอเราแยกออกมาเป็นส่วนๆเราจะเริ่มเห็นความจริงว่ามันไม่ใช่เราหรอก ร่างกายเป็นวัตถุไม่ใช่ตัวเรา ความเจ็บปวดทั้งหลายความปวดเมื่อยทั้งหลาย กระทั่งความสุขทั้งหลาย เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราว

มันจะเห็นชัดๆเลยว่า ความสุขก็ไม่ใช่ตัวเรา ความสุขไม่ใช่ร่างกาย ความสุขไม่ใช่จิต เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ความสุขเป็นแค่สภาวธรรมอย่างหนึ่ง มิใช่คน ใครเห็นว่าคนคือความสุขบ้าง มีมั้ย คนคือความสุขไม่มี ไม่มีใครเห็นอย่างนั้นนะ เห็นอย่างนั้นก็เพี้ยนเลย

เพราะฉะนั้นถ้าเราแยกออกมาได้ เห็นตัวความสุขเห็นตัวความทุกข์ แล้วจะพบว่า ไม่มีคนนะ แต่ว่าคนเป็นสุขได้มั้ย อย่างพวกเราเป็นคน เรามีความสุขได้ ใช่มั้ย แต่พอแยกปั๊บออกไปนะ ความสุขไม่ใช่คน ร่างกายไม่ใช่คน จิตใจก็ไม่ใช่คนนะจิตใจก็ไม่ใช่คน ความปรุงดีปรุงชั่วความโกรธก็ไม่ใช่คน เราจะเห็นแยกออกไป ความกังวลใจก็ไม่ใช่คน พวกนี้เรียกว่าสังขารขันธ์ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นสังขารขันธ์ เป็นความปรุงของจิต ดูไปเรื่อย ความโกรธไม่ใช่คน ใครเห็นความโกรธเป็นคนได้ ต้องเพี้ยนนะ ความโกรธไม่ใช่คน ความโลภ ความรัก ไม่ใช่คนนะ ความใจลอย ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ ไม่ใช่คน

เราหัดรู้หัดดูไปเรื่อยอย่างนี้ ในที่สุดจะเห็นว่า ทุกส่วนที่เราแยกออกมาเป็นส่วนๆแล้วเนี่ย มันสอนให้เราเห็นความจริงว่า ไม่มีคนหรอก ไม่มีตัวเราหรอก

550409.25m04-28m24

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๒๕ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๙) ฝึกสมาธิชนิดมีจิตตั้งมั่นเพื่อให้ถึงขั้นเจริญปัญญา

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๙) ฝึกสมาธิชนิดมีจิตตั้งมั่นเพื่อให้ถึงขั้นเจริญปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทีนี้พวกเราที่ฝึกกันน่ะ ฝึกมั่วๆ ไปฝึกก็จะเอาแต่พุทโธๆจิตสงบไป หรือหายใจไปแล้วจิตสงบไป ดูท้องไปไปจิตสงบไป จิตสงบไปอยู่นิ่งๆเฉยๆอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตชนิดนี้ไม่เดินปัญญาหรอก จิตชนิดนี้จะไปนอนพักผ่อนอยู่เฉยๆ แล้วสดชื่นมีเรี่ยวมีแรงออกมา บางคนติดอยู่ในความสงบนาน ติดอยู่เป็นปีนะ พอหลุดออกจากความสงบแล้วร้ายกว่าเก่าอีกนะ ติดมันติดในความสงบพอออกมากระทบโลกข้างนอกมันทนไม่ได้มันคุ้มคลั่ง เพราะฉะนั้นพวกเข้าวัดบางคน พวกเราสังเกตคนที่เข้าวัดบางคนนะ ถ้าเขาติดสมาธินะอารมณ์เขาจะร้ายกว่าคนปกติอีก

แต่ถ้าฝึกสมาธิชนิดจิตตั้งมั่นจะไม่เป็น จะไม่คุ้มคลั่งอย่างนั้นหรอก เพราะฉะนั้นเรามาฝึกสมาธิให้ได้สมาธิชนิดที่จิตตั้งมั่น พุทโธไปจิตหนีไปคิดรู้ทัน ใครหายใจก็หายใจไปจิตหนีไปคิดรู้ทัน จิตไหลไปอยู่กับลมหายใจรู้ทัน จิตมันเคลื่อนไป จิตเคลื่อนไปคิดก็รู้ทันเคลื่อนไปเพ่งลมหายใจก็รู้ทัน ดูท้องพองยุบอยู่จิตเคลื่อนไปคิดก็รู้ทันเคลื่อนไปอยู่ที่ท้องก็รู้ทัน การที่รู้ว่าจิตเคลื่อนไปนั้น จิตจะตั้งขึ้นเอง จิตจะไม่เคลื่อน จิตที่ไม่เคลื่อนจะตั้งมั่นเด่นดวงอยู่อย่างนั้น เราต้องฝึกตัวนี้ให้ได้ก่อน พอเรามีจิตที่ตั้งมั่นขึ้นมาแล้ว คราวนี้ถึงขั้นของการเดินปัญญาที่แท้จริง

550409.20m04-21m28

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๒๐ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๒๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนรู้ดูขันธ์กับ อ.สุรวัฒน์ : หัดตามรู้ลมหายใจ (อานาปานสติ) แล้วอึดอัด

หัดตามรู้ลมหายใจ (อานาปานสติ) แล้วอึดอัด

ถาม : จดจ่อกับลมหายใจแล้วรู้สึกอึดอัด

ตอบ : เป็นเพราะใช้กำลังพยายามเอาจิตไปปักแช่ที่ลมหายใจ
เพื่อไม่ให้คลาดจากลมหายใจ ก็เลยเกิดอาการอึดอัดครับ

ถาม : พอจิตตามความคิดไปจะใช้เวลานานมากค่ะกว่าจะกลับมา พอกลับมาแล้วก็หลงต่อเป็นแบบนี้ถือว่าเป็นปกติใช่มั้ยคะ

ตอบ : เป็นปกติของคนที่หัดใหม่ๆ ครับ
ให้หัดต่อไปสบายๆ จะหลงตามความคิดไปนานหน่อยก็ไม่เป็นไร
พอรู้ว่าหลงไปก็ให้กลับมารู้สึกตัวไปสบายๆ
หัดมากขึ้น ชำนาญมากขึ้นก็จะหลงตามความคิดสั้นลงเอง
แต่อย่าพยายามทำเพื่อไม่ให้หลงตามความคิดจนกลายเป็นเพ่งลมหายใจแบบข้อแรกนะครับ

ถาม : มีคนบอกมาว่าถ้าตามลมหายใจแล้วเพ่ง ให้ดูความรู้สึกกว้างๆแทน แต่พอดูแล้วตรงหน้าผากจะเกร็งค่ะ จะแก้ยังไงดีคะ

ตอบ : ถ้ายังพยายามทำจิตให้นิ่งให้สงบตามที่อยากให้เป็น
ไม่ว่าจะเปลี่ยนไปดูอะไรก็จะเพ่งทั้งนั้นแหละครับ
ดังนั้นอย่าตั้งใจว่าทำแล้วต้องนิ่งต้องสงบต้องไม่หลงตามความคิด
แต่ให้ตั้งใจว่า จะไม่ฝืนบังคับจิต จะรู้ไปตามที่เป็น
ส่วนจิตจะเป็นอย่างไรก็ได้ หลงไปก็ได้ นิ่งก็ได้ ฟุ้งก็ได้
หลงก็รู้ นิ่งก็รู้ ฟุ้งก็รู้ไปตามที่จะเป็น
เพราะฉะนั้นให้เอาสิ่งที่ชอบดูมาใช้เป็นเครื่องอยู่
เช่นถ้าชอบดูลมหายใจ ก็ให้หัดดูไปสบายๆ จิตจะหลงไปคิดก็ไม่เป็นไร
รู้ว่าหลงคิดไปเมื่อใด ก็กลับมาเริ่มดูลมหายใจเอาใหม่ครับ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๗) สมาธิมีสองชนิด ฝึกเพื่อวัตถุประสงค์คนละอย่างกัน

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๗) สมาธิมีสองชนิด ฝึกเพื่อวัตถุประสงค์คนละอย่างกัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา (๖) จุดเริ่มต้นของการฝึกเจริญปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตรงนี้แหละที่เป็นข้อแตกต่างอย่างยิ่งนะ ระหว่างการทำสมาธิแบบเอาความสงบเป็นที่ตั้ง กับทำสมาธิชนิดที่จะทำให้จิตถอยยออกมาเป็นผู้รู้ผู้ดูเพื่อจะเดินปัญญา สมาธิมันมี ๒ ชนิด

สมาธิชนิดแรก สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตของเราปกติฟุ้งซ่าน หนีไปโน้นหนีไปนี้อยู่ตลอดเวลา เรามาอยู่กับพุทโธไม่ให้จิตหนี มาอยู่กับพุทโธไม่ให้จิตหนีไปไหนเลย จิตสงบอยู่กับพุทโธ ได้สมถกรรมฐาน ได้ความสงบ เรารู้ลมหายใจไม่ให้จิตหนีไปไหนเลย อยู่กับลมหายใจอย่างเดียว เราได้ความสงบได้สมถกรรมฐาน

แต่จะฝึกให้จิตตั้งมั่น ไม่ลืมตัวเอง ต้องฝึกอีกแบบหนึ่ง ทำสมาธิอีกชนิดหนึ่ง สมาธิมี ๒ ชนิด สมาธิที่จิตสงบ อยู่ในอารมณ์อันเดียว มีชื่อทางวิชาการ ชื่อว่าอารัมณูปนิชฌาน อารัมณะคืออารมณ์นั่นเอง จิตนี้แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นอยู่กับพุทโธอย่างเดียวไม่หนีไปไหน ไม่นึกไม่คิดอะไร อยู่กับพุทโธ หายใจก็สงบอยู่กับลมหายใจอย่างเดียว ไม่คิดไม่นึกไม่หนีไปไหน อย่างนี้ได้ความสงบเฉยๆ

มีสมาธิอีกชนิดหนึ่ง ชื่อลักขณูปนิชฌาน สมาธิชนิดนี้จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นคนดู จิตไม่หลงไปในโลกของความคิด ไม่หลงเผลอไป ไม่ไหลไป แต่ตั้งมั่นขึ้นมา วิธีฝึกก็ใช้พุทโธ ใช้ลมหายใจ เหมือนที่ใช้ฝึกทำความสงบนั่นแหละ แต่ปรับวิธีนิดหนึ่ง ถ้าจะทำความสงบเราก็พุทโธให้จิตอยู่กับพุทโธ หายใจให้จิตอยู่กับลมหายใจ ดูท้องพองยุบให้จิตไปอยู่ที่ท้อง เนี่ยจิตได้ความสงบ แต่ถ้าจะฝึกจิตให้ตั้งมั่นนะ หัดพุทโธไปแล้วจิตหนีไปคิด รู้ทัน หายใจไปจิตหนีไปคิด รู้ทัน ไม่ได้บังคับจิตว่าห้ามไปไหน ไม่ได้บังคับจิตว่าต้องอยู่ที่เดียวนิ่งๆ

550409.15m29-17m24

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๑๕ วินาทีที่ ๒๙ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๘) สรุปอานาปานสติ สำหรับฆราวาสคนเมือง (จบ)

mp3 for download : อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๘) สรุปอานาปานสติ สำหรับฆราวาสคนเมือง (จบ)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๘) สรุปอานาปานสติ สำหรับฆราวาสคนเมือง (จบ)

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๘) สรุปอานาปานสติ สำหรับฆราวาสคนเมือง (จบ)

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลวงพ่อไม่เห็นกรรมฐานใดอัศจรรย์เหมือนอานาปานสติ ลึกล้ำ จนถึงขนาดยอมรับเต็มปากเต็มคำ เต็มหัวใจเลย มันเป็นกรรมฐานของพระมหาบุรุษ ไม่ใช่กรรมฐานของคนทั่วๆไปจะเล่นได้ชำนิชำนาญหรอก

ทีนี้ พวกเราเล่นไม่ได้ทั้งหมด เราก็เลือกเอาส่วนที่เล่นได้ หายใจแล้วรู้สึกตัวไป หายใจไปแล้วจิตหนีไปคิด คอยรู้ทัน ทำตรงนี้ให้ได้ หายใจไป จิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน จิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน จิตจะเป็นผู้รู้ขึ้นมา พอจิตเป็นผู้รู้แล้วจะดูกายดูใจก็ดูไปเลย ไม่ต้องไปเข้าฌานก็ได้ เอาแค่ว่าหายใจไป เห็นกายมันหายใจ ไม่ใช่ตัวเราหายใจ หายใจไปจิตใจมีความสุขความทุกข์ เห็นมันสุขมันทุกข์ของมันได้เอง หายใจไปแล้วก็เกิดกุศลบ้าง เกิดอกุศลบ้าง เช่น เกิดฟุ้งซ่าน หายใจแล้วมีฟุ้งซ่านมีไหม ส่วนใหญ่นั่นแหละหายใจแล้วฟุ้งซ่าน ใช่ไหม ก็ดูไป จิตมันฟุ้งซ่าน เราเป็นแค่คนดู ดูไปๆมันก็เลิกฟุ้งของมันไปเอง ฟุ้งซ่านมันก็ไม่เที่ยง เห็นแต่ของไม่เที่ยง มีความสงบเกิดขึ้น หายใจสบายๆ มันสงบขึ้นมา มันก็อยู่ชั่วคราว เดี๋ยวมันก็หายไปอีก นี้เราฝึกแค่นี้ก็พอแล้ว

หายใจไป จิตหนีไปแล้วรู้ทัน มันจะได้จิตผู้รู้ขึ้นมา ถัดจากนั้นเห็นร่างกายหายใจ ไม่ใช่ตัวเรา อันนี้เดินปัญญาด้วยการดูกาย ถ้าจะเดินปัญญาด้วยการดูจิตก็หายใจไป มีความสุขก็รู้ มีความทุกข์ก็รู้ เฉยๆก็รู้ หายใจไปแล้วจิตเป็นกุศลก็รู้ จิตเป็นอกุศลก็รู้ บางทีเห็น ทุกอย่างชั่วคราวไปหมด

ฝึกไปอย่างนี้ เรียกว่า ปัญญานำสมาธิ มันนำสมาธิอย่างไร ความจริงมันมีสมาธิอยู่แล้ว แต่มันมีในขั้นขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะ

เมื่อเดินปัญญาแก่รอบเต็มที่แล้ว จิตจะรวมเข้าอัปปนาเอง ในนาทีที่จะตัดสินความรู้บรรลุ อริยมรรค อริยผล อริยมรรค อริยผล ไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา อริยมรรค อริยผล เกิดในฌานจิตเท่านั้น เกิดในรูปฌานก็ได้ เกิดในอรูปฌานก็ได้ แต่จะไม่เกิดในวิถีจิตปกติของมนุษย์นี้

ทีนี้ ถ้าเราเข้าฌานไม่เป็น ไม่ต้องตกใจ เจริญปัญญาให้มาก มีแค่ขณิกสมาธินะ ทุกวันพยายามไหว้พระสวดมนต์ไว้ ทำในรูปแบบ จิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน ฝึกให้มันมีขณิกสมาธิ แล้วมาเดินปัญญา รู้กาย รู้ใจ ในชีวิตประจำวัน ถึงเวลาก็ทำความสงบ ไหว้พระ สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม รู้ทันจิตที่หนีไป หมดเวลาก็มารู้กาย รู้ใจ ในชีวิตประจำวันต่อไป ถึงวันที่ สติ สมาธิ ปัญญา แก่รอบพอ จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง แล้วเกิด อริยมรรค อริยผล ขึ้น อันนี้เรียกว่า ใช้ปัญญานำสมาธิ

ลึกซึ้งมาก เรื่องอานาปานสติ แต่ว่าเราฝึกง่ายๆอย่างที่หลวงพ่อบอก ไม่ต้องคิดมาก ไม่ต้องสนใจถึงขนาด ทำอย่างไรจะเกิดฌานจิต ทำอย่างไรจะไปเดินวิปัสสนาในอุปจาระ เห็นมันไหวๆขึ้นมา แต่ส่วนมากพวกเราก็ทำได้อันนี้ คนจำนวนมากก็ทำได้ นั่งสมาธิแล้วก็เห็น ใจสงบไปเห็นมันปรุงขึ้นมา เกิดดับไป บางทีไม่รู้ว่าอะไรเกิดอะไรดับ ไม่มีชื่อ ถ้ายังมีชื่ออยู่จิตยังฟุ้งซ่านมาก บางทีเห็นแค่สิ่งบางสิ่งเกิด แล้วสิ่งนั้นดับไป อย่างนี้ก็ใช้ได้ ถ้าถึงขนาดเห็นองค์ฌานเกิดดับอย่างนี้มีน้อยเต็มที ประเภทหนึ่งในแสน หายาก ส่วนถ้าฝึกในชีวิตประจำวัน เดินปัญญาอยู่นี้ ง่าย พอทำได้สำหรับฆราวาส ที่วันๆเต็มไปด้วยความวุ่นวายนะ หายใจไป อย่าหยุดหายใจ หายใจไว้ก่อน เอ้า ต่อไปส่งการบ้าน

541106B.17m57-22m17

ขอขอบคุณพี่ maibok @wimutti.net สำหรับเนื้อหาของ clip ช่วงนี้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
วันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ หลังฉันเช้า

CD: 42
File: 541106B.mp3
นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๕๗ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๑๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๗) สรุปอานาปานสติ กรรมฐานสำหรับมหาบุรุษ

mp3 for dowload : อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๗) สรุปอานาปานสติ กรรมฐานสำหรับมหาบุรุษ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๗) สรุปอานาปานสติ กรรมฐานสำหรับมหาบุรุษ

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๗) สรุปอานาปานสติ กรรมฐานสำหรับมหาบุรุษ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทำอานาปานสตินะ คลุมสติปัฏฐาน ๔ ได้ด้วย ไม่มีกรรมฐานอะไรเหมือนเลยนะ ตั้งแต่โหลยโท่ย ไม่มีสติเลย หรือทำจนเครียดสติแตกไปเลยนะ ก็เป็นไปได้ ทำอานาปานสติแล้วก็พลิกไปทางกสิณ เล่นอภิญญาก็ได้ ทำแล้วเข้าฌานเพื่อพักผ่อน ออกจากฌานมา มาเดินปัญญา ดูกายก็ได้ ดูจิตก็ได้ ทำแล้วเข้าอัปปนาสมาธิ เข้าฌาน เจริญปัญญาอยู่ในฌานเลยก็ได้ ทำแล้วเข้าฌานไม่ได้ เห็นร่างกายหายใจ-ใจเป็นคนดูอยู่ เห็นร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา นี่เดินปัญญานะ ใช้ปัญญานำสมาธิก็ได้ ไปดูจิตดูใจ หายใจไป จิตเป็นอย่างนั้นจิตเป็นอย่างนี้รู้ทัน นี่เดินปัญญาดูจิต เดินปัญญาดูกาย เดินปัญญาดูจิต แจกแจงให้ครบก็คือ การทำสติปัฏฐาน ๔ ครบทั้งหมดเลย

เห็นกายมันหายใจ ใจเป็นคนดูอยู่ เห็นกายไม่ใช่เรา เป็นกายานุปัสสนา

หายใจไปมีความสุข หายใจไปความสุขหายไป หายใจไปแล้วมีความทุกข์ หายใจแล้วความทุกข์หายไป หายใจแล้วมีอุเบกขา แล้วอุเบกขาหายไป อันนี้เป็นเวทนานุปัสสนา

หายใจแล้วฟุ้งซ่าน รู้ว่าฟุ้งซ่าน หายใจแล้วสงบ รู้ว่าสงบ หายใจไปแล้วจิตรวม เป็นมหัคคตะ หายใจแล้วจิตไม่รวม อย่างนี้เป็นจิตตานุปัสสนา

หายใจแล้วเห็นขันธ์กระจายตัวออกไป แต่ละขันธ์ทำงานของขันธ์ เป็นขันธบรรพ ในธัมมานุปัสสนา

หายใจไปแล้วโพชฌงค์เกิดขึ้น มีสติรู้ลมหายใจ มีความเพียรที่จะรู้ลมหายใจ มีฉันทะ หายใจแล้วสบายใจ วิริยะมันก็เกิด มีความเพียร ตามรู้ตามเห็นในตัวที่หายใจอยู่ ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เรียกว่า ธัมมวิจยะ มีปีติขึ้นมา อันนี้ไม่ใช่ปีติในฌาน เป็นปีติเพราะมีปัญญา มีปีติแล้ว สติรู้ทันปีติ หายใจไปมีปีติ รู้ทัน ปีติดับ สงบเข้ามาเป็น ปัสสัทธิ แล้วเป็นสมาธิ จิตตั้งมั่น จิตเป็นอุเบกขา เห็นจิตมันเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงไป เป็นลำดับ ตามหลักของโพชฌงค์ อันนี้ก็อยู่ในธัมมานุปัสสนา

หายใจไปแล้วมีนิวรณ์ขึ้นมา รู้เท่าทันนิวรณ์นั้น นิวรณ์เกิดแล้วดับไป เป็นนิวรณบรรพ อยู่ในธัมมานุปัสสนา

หายใจแล้วเห็นอริยสัจ ก็อยู่ในธัมมานุปัสสนา

หายใจแล้วมีความสุข มีความสุขแล้วตัณหาเกิด อยากได้ อยากมี อยากเป็น หายใจแล้วมีความทุกข์ ตัณหาก็เกิดอยากให้มันหายไป อยากให้ความทุกข์หายไป มีตัณหาขึ้นมาจิตใจก็มีความทุกข์ขึ้นมา เห็นปฏิจจสมุทปบาท (อยู่ในธัมมานุปัสสนา – ผู้ถอด)

ฉะนั้น หลวงพ่อไม่เห็นกรรมฐานใดอัศจรรย์เหมือนอานาปานสติ ลึกล้ำจนถึงขนาดยอมรับเต็มปากเต็มคำ เต็มหัวใจเลย มันเป็นกรรมฐานของพระมหาบุรุษ ไม่ใช่กรรมฐานของคนทั่วๆไปจะเล่นได้ชำนิชำนาญ

541106B.14m43-18m17

ขอขอบคุณพี่ maibok @wimutti.net สำหรับเนื้อหาของ clip ช่วงนี้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
วันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ หลังฉันเช้า

CD: 42
File: 541106B.mp3
นาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๔๓ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๑๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๕) สรุปอานาปานสติสำหรับผู้เดินปัญญาควบสมาธิ

mp3 for download : อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๕) สรุปอานาปานสติสำหรับผู้เดินปัญญาควบสมาธิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๕) สรุปอานาปานสติสำหรับผู้เดินปัญญาควบสมาธิ

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๕) สรุปอานาปานสติสำหรับผู้เดินปัญญาควบสมาธิ

ถ้าชำนาญในฌานแล้วก็ชำนาญในการดูจิต ก็ไปเดินปัญญาในฌานตอนเข้าฌาน อันนี้ปัญญากับสมาธิควบกัน คือไปเห็นองค์ฌานเกิดดับ พวกนั้นมีหนึ่งในแสน หายากยุคนี้ที่จะเดินปัญญากับสมาธิควบกัน เดินปัญญากับสมาธิควบกันแล้วบรรลุพระอรหันต์ไม่ได้เรียกว่า อุภโตภาควิมุตตินะ บางคนก็นึกว่าเดินปัญญากับสมาธิควบกันแล้วเป็นพระอรหันต์ชนิดอุภโตภาควิมุตติ ไม่ใช่

อุภโตภาควิมุตติต้องเข้าอัปปนาสมาธิถึงขั้นอรูปฌาน ไม่มีรูป ดับรูปด้วยอรูป ดับนามด้วยวิปัสสนา ฉะนั้น ถ้าบรรลุพระอรหันต์ บรรลุธรรมในอรูปฌาน ถึงจะได้เรียกว่า “อุภโตภาควิมุตติ”

541106B.10m12-11m16

ขอขอบคุณพี่ maibok @wimutti.net สำหรับเนื้อหาของ clip ช่วงนี้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
วันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ หลังฉันเช้า

CD: 42
File: 541106B.mp3
นาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๑๒ ถึง นาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๑๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๔) สรุปอานาปานสติสำหรับผู้เดินสมาธินำปัญญา

mp3 for download: อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๔) สรุปอานาปานสติสำหรับผู้เดินสมาธินำปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๔) สรุปอานาปานสติสำหรับผู้เดินสมาธินำปัญญา

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๔) สรุปอานาปานสติสำหรับผู้เดินสมาธินำปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์ : เมื่อเช้าหลวงพ่อพูดเรื่องอานาปานสติให้ฟัง ไม่มีที่ไหนหรอก อย่างนี้ ในตำราก็ไม่ได้เขียนไว้มากมายอย่างนั้น ไม่ได้แจกแจงพิสดาร อานาปานสติ เรามีสติอยู่ทุกลมหายใจ อย่างนี้ดี มีสติไปอยู่ที่ลมหายใจ ลมหายใจจะค่อยๆสั้น ทีแรกลมยาว หายใจแล้วก็สั้นขึ้นๆ กลายเป็นความสว่าง อย่างนี้ก็ยังดี ได้สมถะ ถ้าหายใจแล้วเคลิ้ม ขาดสติไป อันนี้ไม่ดี สติอ่อนไป หายใจแล้วแน่นแข็งป๊อกขึ้นมาเลย เครียดๆ แข็งๆ นี่ สติแรงไป ไม่ดี จงใจมากไป

ถ้าพอดีๆ ลมหายใจสบายๆ ลมจะค่อยสั้นๆ สว่าง พอสว่างแล้ว จะเล่นกสิณก็ได้ เล่นกสิณแสงสว่าง อยากรู้อยากเห็นอะไรก็รู้ได้อยู่ ได้ทิพยจักษุ ได้กสิณแสงสว่าง หรือกสิณลม กสิณลมก็ได้ เห็นลมหายใจมันไหลเข้าไหลออก เป็นกสิณดินก็เห็นร่างกายที่หายใจ ไม่ได้ดูตัวลมตรงๆ แต่ลมหายใจมันก็อิงอยู่กับร่างกาย ก็ใช้ได้

ทำได้หลายอย่าง พลิกแพลงได้เยอะแยะ ถ้าไม่เล่นกสิณก็ไม่เป็นไร ไม่ให้จิตเข้าไปจับลมนะ แล้วสงบเข้ามา เข้าอุปจารสมาธิ พอได้อุปจารสมาธิแล้ว เดินปัญญาในอุปจารสมาธิก็ได้ เลยเข้าอัปปนาสมาธิ ไปพักอยู่ในอัปปนาสมาธิ เป็นที่พักของจิตก็ได้ ทำสมถะแล้วออกจากอัปปนาสมาธิ มาแยกธาตุแยกขันธ์ มาเดินปัญญา อันนี้เป็นสมาธินำปัญญา

08m12-10m12

ขอขอบคุณพี่ maibok @wimutti.net สำหรับเนื้อหาของ clip ช่วงนี้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
วันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ หลังฉันเช้า

CD: 42
File: 541106B.mp3
นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๑๒ ถึง นาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๑๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

V-Clip : เคล็ดลับในการทำสมาธิ

เคล็ดลับในการทำสมาธิ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๒) ดูจิตด้วยอานาปานสติ

mp3 for download : อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๒) ดูจิตด้วยอานาปานสติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๒) ดูจิตด้วยอานาปานสติ

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๒) ดูจิตด้วยอานาปานสติ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทีนี้ทำอานาปานสติแล้วดูจิตก็ได้ เห็นมั้ยกรรมฐานนี้กว้าง เห็นมั้ย ทำสมาธิได้ทุกแบบเลยนะ จนถึงเข้าอรูปนะ แต่ตรงอรูปเนี่ยทิ้งเรื่องลมไปแล้ว แล้วเข้าไปดูจิตต่อ เข้าอรูปไป จะทำโดยใช้ปัญญานำสมาธิก็ได้ ใช้สมาธินำปัญญาก็ได้ ใช้สมาธิและปัญญาควบกันก็ได้ เนี่ยอานาปานสติทำได้หมดเลย ตรงที่ใช้ปัญญานำสมาธินี้เอง เห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู เนี่ยเราใช้ปัญญานำสมาธิไปเลย ไม่ได้เข้าฌานนะ ถ้าใช้สมาธินำปัญญาก็คือ เข้าฌานไปก่อนนะ ออกจากฌานแล้วมาพิจารณาธาตุขันธ์ แล้วได้ตัวผู้รู้ออกมา จากฌานที่ ๒ ออกมาข้างนอกเนี่ยนะ ดู ดูธาตุดูขันธ์ทำงาน ดูได้เป็นวันๆเลย อันนี้ใช้สมาธินำปัญญา ตัวผู้รู้จะเด่นดวง อดทน ทนได้นาน

พวกใช้ปัญญานำสมาธิ ตัวผู้รู้จะอยู่แว้บๆ เพราะสมาธิที่ใช้ มันก็มีสมาธิเหมือนกัน สมาธิที่ใช้เดินปัญญามันแค่ขณิกสมาธิ ไม่ถึงอุปจาระ ไม่ถึงอัปนา นะ ได้แค่ ขณิกะ ให้รู้ตัวเป็นขณะๆ จิตหนีไปแล้วรู้ทัน ก็ได้สมาธิขึ้นมา ได้มานิดเดียว แต่พอหลายๆนิดเข้านะ นิดบ่อยๆเข้า มันก็รู้ได้เหมือนกัน ก็เห็นร่างกายเป็นของถูกรู้ถูกดู จิตเป็นคนดู ตรงที่จิตเป็นคนดู ตรงนี้ล่ะ ได้ขณิกสมาธิแล้ว ตรงนี้เป็นปัญญานำสมาธิ เดินปัญญาไปก่อนแล้วสมาธิที่ถึงอัปนาฯจะเกิดทีหลัง แต่ตอนที่เดินปัญญานี้มีขณิกสมาธิอยู่

แล้วถ้าจะเดินปัญญาด้วยการดูจิตล่ะ ทำไง? หายใจไป หายใจไปแล้วจิตมีความสุข รู้ ว่าจิตมีความสุข หายใจไปแล้วจิตเครียดๆขึ้นมา รู้ ว่าจิตเครียดๆ เนี่ย ดูความเปลี่ยนแปลงของจิต หายใจไปแล้วจิตฟุ้งซ่าน รู้ทัน ว่าจิตฟุ้งซ่าน หายใจไปแล้วจิตสงบ รู้ทัน ว่าจิตสงบ นี่หายใจแล้วดูจิต หายใจแล้วจิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ รู้ทัน ว่าจิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ หายใจแล้วจิตตั้งมั่น สักว่ารู้ว่าเห็น ไม่ไหลเข้าไปในลมหายใจ อันนี้ก็เรียกว่า “ดูจิต”

เพราะฉะนั้นนะ หายใจนะ ดูกายก็ได้ เจริญปัญญาด้วยการดูกาย เห็นกายมันหายใจ หายใจไม่ใช่แค่เห็นว่าร่างกายมันหายใจนะ บางทีโยงไปถึงท้องพองยุบ จิตเป็นคนดู เพราะฉะนั้นถ้าทำท้องพองยุบแล้วจิตเป็นคนดู ก็ใช้ได้เหมือนกัน เราจะเห็นว่า ร่างกายที่พองที่ยุบ ไม่ใช่เรา

ถ้าหายใจไปแล้ว จิตมีความสุขก็รู้ จิตมีความทุกข์ก็รู้ อันนี้ถือว่าดูจิตล่ะ หายใจไปแล้วจิตฟุ้งซ่านก็รู้ จิตสงบก็รู้ อันนี้ก็เรียกว่าดูจิตล่ะ หายใจไปแล้วจิตตั้งมั่นอยู่ก็รู้ จิตไหลเข้าไปอยู่ที่ลมหายใจก็รู้ อันนี้ก็เรียกว่าดูจิตล่ืะ มันจะเห็นว่าจิตทุกชนิดไม่เที่ยง จิตสุขก็ไม่เที่ยง จิตทุกข์ก็ไม่เที่ยง จิตกุศลก็ไม่เที่ยง จิตอกุศลก็ไม่เที่ยง เห็นจิตไม่เที่ยงตลอดเวลาเลย เนี่ยแหละ เดินปัญญาแล้วนะ ดูจิตจะเห็นอนิจจังง่ายนะ จะเห็นแต่ของไม่เที่ยง เปลี่ยนตลอดเวลา เปลี่ยนเร็วมากเลย

541106A.19m51-23m22

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
วันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ก่อนฉันเช้า

CD: 42
File: 541106A.mp3
นาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๕๑ ถึง นาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๒๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๐) ถ้าทำสมาธิไม่เป็น ให้เจริญปัญญาไปเลย

mp3 for download : อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๐) ถ้าทำสมาธิไม่เป็น ให้เจริญปัญญาไปเลย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๐) ถ้าทำสมาธิไม่เป็น ให้เจริญปัญญาไปเลย

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๐) ถ้าทำสมาธิไม่เป็น ให้เจริญปัญญาไปเลย

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าทำไม่ได้อีกจะทำยังไง ทำอานาปานสติแล้วเจริญปัญญาไปเลยนะ ไม่ได้เข้าสมาธิหรอก แค่เห็นร่างกายมันหายใจอยู่ พวกนี้อุปจาระก็ไม่เข้า อัปนาคือเข้าฌานก็ไม่เข้า แค่เราเห็นร่างกายหายใจอยู่ ใจเป็นคนดู เนี่ยอานาปานสติอย่างนี้ก็ยังดี อานาปานสติตรงนี้เนี่ย ที่เรียกว่า มีสติอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก ไม่ใช่มีสติอยู่กับลมหายใจ ถ้ามีสติอยู่กับลมหายใจนะ ลมหายใจจะเปลี่ยนเป็นแสงสว่างแล้วจะเข้าฌานไป

เรามีสติอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก เห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู ตรงที่ใจเป็นคนดูขึ้นมาเนี่ย อันนี้ถ้าเข้าฌานไม่ได้ ต้องฝึกให้เกิด วิธีฝึกให้ใจเป็นคนดูเนี่ย หัดพุทโธไป หัดหายใจไปก็ได้นะ ใช้ลมหายใจไปก็ได้ หายใจแล้วค่อยสังเกตว่าร่างกายที่หายใจอยู่เป็นสิ่งถูกรู้ถูกดู ใช้พุทโธก็ได้ พุทโธไป พุทโธไปแล้วก็เห็นนะ ว่าพุทโธเป็นสิ่งที่ถูกรู้ถูกดู ดูท้องพองยุบก็ได้ แล้วเห็นว่าท้องพองยุบถูกรู้ถูกดู อย่างนี้ก็ได้ ใจมันจะเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา

อีกอย่างหนึ่ง ถ้าแยกอย่างนี้ไม่ออกนะ ให้คอยรู้ทันเวลาจิตหนีไปคิด พุทโธแล้วจิตหนีไปคิด รู้ทัน จิตก็ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา หายใจไป จิตหนีไปคิด รู้ทัน จิตก็ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา ท้องพองยุบ จิตหนีไปคิด รู้ทัน จิตก็ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา แต่ต้องไม่ไปเพ่งใส่ลมหายใจ ไม่ไปเพ่งใส่ท้องนะ ปล่อยให้มันรู้ลมหายใจ รู้ท้องพองยุบอะไรไป จิตมันเคลื่อนไป เรารู้ทันจิตที่เคลื่อนเนี่ย จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู บางคนก็ใช้วิธีนี้แยกได้ บางคนก็สังเกตดู ไอ้นี่ก็ถูกรู้ ไอ้นี่ก็ถูกรู้ ลมหายใจก็ถูกรู้ ร่างกายที่หายใจอยู่เป็นของถูกรู้ เห็นอย่างนี้ก็แยกได้ มีหลายอย่างเห็นมั้ย กรรมฐานน่ะมันหลากหลายมากนะ เพราะฉะนั้นเวลาภาวนา ถ้าไม่เรียนดีๆ จะมั่วซั่วเอา

541106A.16m08-18m20

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
วันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ก่อนฉันเช้า

CD: 42
File: 541106A.mp3
นาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๘ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๒๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เราฝึกกรรมฐานเพื่อสังเกตจิต

Mp3 for download:เราฝึกกรรมฐานเพื่อสังเกตจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เราฝึกกรรมฐานเพื่อสังเกตจิต

เราฝึกกรรมฐานเพื่อสังเกตจิต

หลวงพ่อปราโมทย์ : คนในโลกนี้ลืมตัวทั้งวัน ใจลอย ใจล่องลอยหนีไปโน้นหนีไปนี้เรื่อย หนีไปคิดน่ะส่วนใหญ่ หนีไปดูลดลงมาหน่อย หนีไปฟังน้อยลงไปอีกนะ หนีไปลิ้มรสหนีไปอะไรงี้น้อย หนีน้อยลง แต่หนีไปคิดนี่หนีทั้งวัน พวกเรารู้สึกมั้ยเราคิดทั้งวัน พวกเก่าๆเนี่ยไม่ต้องมาพยักหน้าเอาพวกเข้าคอร์สน่ะ รู้สึกมั้ยใจเราแอบคิดทั้งวัน รู้สึกมั้ย สังเกตมั้ยขณะที่เราไปคิดเนี่ย เราลืมตัวเราเองนึกออกมั้ย เวลาเราคิดเรารู้เรื่องที่คิดใช่มั้ย รู้เรื่องคิด คิดโน่นคิดนี่ไปเรื่อยนะ ขณะนั้นเราลืมตัวเราเอง นี่เรียกว่าเราลืมตัวเองขาดสติแล้วนะ

ขาดสติที่จะรู้กายขาดสติที่รู้ใจ สติที่รู้กายสติที่รู้ใจเรียกว่า”สติปัฏฐาน” ถ้าเดินสติปัฏฐานได้โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าว่าไม่ใช่หลวงพ่อว่า เพราะงั้นถ้ายังมีผู้เจริญสติปัฏฐานอยู่โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ สติปัฏฐานเป็นสติที่รู้กายสติที่รู้ใจของตัวเองด้วยไม่ใช่รู้กายรู้ใจคนอื่นนะ ไปเจาะฝาห้องน้ำแล้วดูเค้าบอกรู้กายรู้ใจอะไรงี้ ไม่ได้ งั้นดูตัวเองไม่ดูคนอื่น งั้นต้องเป็นสติที่รู้สึกตัว รู้สึกอยู่ในกาย รู้สีกอยู่ในใจ ใจของเราหนีทั้งวัน หนีไปคิดเรื่องโน้นหนีไปคิดเรื่องนี้ เมื่อไรหนีไปคิดนะก็ลืมตัวเอง

งั้นต่อไปนี้เราฝึกนะ เราฝึก ทำกรรมฐานอันใดอันหนึ่งขึ้นมา ฝึกพุทโธก็ได้ ฝึกรู้ลมหายใจก็ได้ ฝึกดูท้องพองยุบก็ได้ ใครเคยฝึกอะไรฝึกอันนั้นแหล่ะ แต่ฝึกแล้วคอยสังเกตจิตไว้ เช่นพุทโธๆๆไปจิตไหลไปคิด รู้ทัน หายใจออกหายใจเข้าจิตไหลไปคิด รู้ทัน หายใจออกหายใจเข้าจิตไหลไปเพ่งลมหายใจ รู้ทัน หายใจแล้วรู้ทันจิตไป คนไหนถนัดดูท้องพองยุบก็ดูท้องพองยุบไป เห็นร่างกายมันพองร่างกายมันยุบ ดูไปเรื่อย ใจเป็นคนดู ดูไปๆจิตแอบไปคิด รู้ทันว่าจิตหนีไปคิด นี่ รู้ทันจิตไว้ จิตไหลไปอยู่ที่ท้องไปเพ่งอยู่ที่ท้อง รู้ทันว่าจิตไหลไปอยู่ที่ท้องแล้ว

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันพฤหัสบดีที่
๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
File: 530422
ระหว่างนาทีที่  ๑วินาทีที่ ๓๕ ถึง นาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๓๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมาธิที่รู้เห็นสิ่งภายนอกไม่เป็นไปเพื่อเกิดปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

Mp3 for download: สมาธิที่รู้เห็นสิ่งภายนอกไม่เป็นไปเพื่อเกิดปัญญา

สมาธิที่รู้เห็นสิ่งภายนอกไม่เป็นไปเพื่อเกิดปัญญา

สมาธิที่รู้เห็นสิ่งภายนอกไม่เป็นไปเพื่อเกิดปัญญา

ลพ.ปราโมทย์ : สมาธิที่รู้เห็นอะไรข้างนอกนี่ ไม่เป็นไปเพื่อให้เกิดปัญญา สมาธิที่ฝึกไปแล้วจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมเนื้อลืมตัว อันนี้แหละสมาธิที่ทำให้เกิดปัญญาได้

เพราะฉะนั้นต่อไปเราฝึกสมาธินะ เราอย่าฝึกให้เคลิ้ม เราฝึกให้รู้สึกตัวไว้ พุทโธๆ พุทโธไปนะ พุทโธสบาย ไม่พุทโธเพื่อบังคับให้จิตสงบ พุทโธๆ พุทโธไป หรือหายใจเข้า หายใจออกนะ หายใจไปอย่างสบาย ฝึกให้รู้สึกตัว เห็นร่างกายมันหายใจไป เห็นใจมันท่องพุทโธไป เรียกว่าทำสมถะไปนะ ทำกรรมฐานขึ้นสักอันหนึ่ง จะดูลมหายใจก็ได้ จะพุทโธก็ได้ จะดูท้องพองยุบก็ได้ จะเดินจงกรมก็ได้ นะ ทำอะไรก็ได้นะ แต่ทำไปเพื่อจะให้รู้สึกตัว ไม่ทำให้เคลิ้ม เช่น หายใจไป รู้สึกตัว ใจลอยไปแล้ว รู้ทัน หายใจไป รู้สึกตัว เอาใจไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจ รู้ทันนะ เราฝึกเพื่อให้ได้ความรู้สึกตัวขึ้นมาก่อน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันพฤหัสบดีที่
๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
File: 530422
ระหว่างนาทีที่  ๑วินาทีที่ ๓๒ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๓๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

เราปฎิบัติเพื่ออะไร?mp 3 (for download) : เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่นี่หลวงพ่อจะเน้นสอนเรื่องการปฏิบัติให้ หลักของการปฏิบัติเราก็ต้องรู้ ว่าเราจะปฏิบัติอะไร ปฏิบัติเพื่ออะไร ปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติแล้วได้ผลเป็นยังไง ต้องตอบได้ชัดเจน เราจะปฏิบัติอะไร มีสองอย่างที่จะต้องปฏิบัติคือ “สมถะ” กับ “วิปัสสนา” ปฏิบัติเพื่ออะไร สมถะ ปฏิบัติเพื่อให้จิตใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะเดินวิปัสสนา ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อจะได้เห็นนู่นเห็นนี่มีตาทิพย์มีหูทิพย์ บางคนอยากได้เจโตอยากได้ทิพจักษุ  หลวงพ่อเคยเจอนะ มีไอ้หนุ่มคนนึง มันภาวนาอยากได้ทิพจักษุ ถามว่าอยากได้ทำไม มันจะได้มองทะลุผ้าของคนอื่น มันเห็นธรรมะเป็นเรื่องอะไร จะทะลุฝาห้องของเค้าอะไรอย่างนี้ ได้เรื่องเลย มีจริงๆนะ สมถะนะ เราทำไปเพื่อให้ใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะทำวิปัสสนา

วิปัสสนาทำไปเพื่ออะไร เพื่อให้เกิดปัญญา รู้ความจริงของกายของใจนี้ ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ ดังนั้นทำเราทำวิปัสสนาเพื่อให้รู้ความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจ รู้แล้วได้อะไร รู้ถึงที่สุดแล้วมันจะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ

พระอรหันต์ไม่ใช่คนประหลาดนะ อย่าไปวาดภาพพระอรหันต์ประหลาดเกินเหตุทำอะไรก็ไม่ได้ กระดุกกระดิกก็ไม่ได้ วันๆต้องนั่งเซื่องๆเหมือนนกกระยางรอให้ปลามาใกล้ๆจะได้ฉกเอาเชื่องๆห้ามกระดุกกระดิก พระอรหันต์จริงๆก็คือท่านผู้ภาวนาจนมีปัญญา เห็นทุกข์เห็นโทษของขันธ์นะ ขันธ์ห้าเป็นทุกข์เห็นอย่างนี้ แล้วท่านปล่อยวางความยึดถือขันธ์ได้ จิตท่านแยกออกจากขันธ์ พรากออกจากขันธ์ ไม่ยึดถือขันธ์ ท่านเป็นอิสระจากขันธ์ ตัวขันธ์เป็นตัวทุกข์ เพราะฉะนั้นพระอรหันต์เลยพ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่นี่พ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่ตายแล้วเค้าเรียกดับทุกข์คือขันธ์มันดับ ไม่ใช่ไปเกิดอีกนะ หลายคนวาดภาพเป็นพระอรหันต์ไปเกิดอีกไปอยู่ในโลกนิพพาน อันนั้นไม่ใช่ศาสนาพุทธหรอก พระอรหันต์ นิพพานแล้วเหมือนไฟที่ดับไปแล้ว ไฟที่ดับแล้วอยู่ที่ใหน ใครจะรู้ เพราะฉะนั้นเราภาวนานะ ภาวนาทำสมถะเพื่อให้มีแรง ทำวิปัสสนา ทำวิปัสสนาเพื่อให้เห็นความจริงของกายของใจ ถ้าเราเห็นความจริงของกายของใจได้มันจะหมดความยึดถือ ปล่อยวางได้ พอปล่อยวางได้ก็พ้นทุกข์ได้ เพราะตัวกายตัวใจตัวขันธ์นี้แหล่ะตัวทุกข์

นี่ต้องเรียนสิ่งเหล่านี้ แล้วทำยังไง เราจะทำอะไร ทำสมถะและวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร บอกแล้ว ทำอย่างไร สมถะนี่ไม่ใช่ทำเพื่อให้เคลิ้ม วิธีทำสมถะไม่ใช่น้อมใจให้เคลิ้มให้ซึมให้นิ่ง แต่ฝึกความรู้สึกตัวขึ้นมา หายใจออกรู้สึก หายใจเข้ารู้สึก เคยได้ยินคำว่า”อานาปานสติ”มั้ย มีสตินะไม่ใช่ฝึกให้ไม่มีสติ ไม่ใช่ฝึก(เสียงกรน)คร้อกบรรลุแล้ว ฝึกให้มีสติหายใจเข้า ฝึกให้มีสติหายใจออก มีสติไปเรื่อยเลย หรือบางทีพิจารณากาย”กายคตาสติ” มีสติไล่ไปในกาย ดูอาการสามสิบสอง ดูอวัยวะต่างๆในร่างกาย มีสติ เห็นมั้ย ไม่ได้บอกให้ขาดสติเลยนะ ไม่ได้ดูเอาแก้วแหวนเงินทอง เอาวิมานสวรรค์อะไรทั้งสิ้นเลย แต่ฝึกให้มันมีสติ รู้ลมหายใจก็ให้มันมีสติ พิจารณากายก็พิจารณาด้วยความมีสติ เรียกว่ากายคตาสติ ทำอะไรๆก็มีสติ คิดถึงพระพุทธเจ้าก็คิดถึงด้วยความมีสติ หัดพุทโธ ๆ แล้วรู้สึกตัวไป นึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตของเราจะทำยังไงพุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราไม่ได้ภาวนาให้เคลิ้มๆ ภาวนาให้รู้สึกตัว ฉะนั้นเราอย่าทิ้งสติ ครูบาอาจารย์เคยสอนบอก “สติจำเป็นในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ”

ฉะนั้นทำสมถะก็ต้องมีสตินะ แต่มีสติอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข อารมณ์อันเดียว ทำไมต้องอารมณ์อันเดียว อารมณ์หลายอันแล้วก็รู้ตัวยาก ปกติจิตมันจะหนีตลอดเวลา วิ่งไปวิ่งมาตลอดเวลา พอเรามาทำสมถะนะ เรามีอารมณ์อันเดียว มาเป็นเหยื่อ เหยื่อล่อจิต อย่างถ้าจะตกปลานะ มีคนโยนเบ็ดพร้อมกันร้อยอัน ปลางงเลยจะกินอันใหนดีใช่มั้ย ว่างมาทางนี้ เอ๊ะ ไม่เอาตัวเล็กไป ว่ายทางนี้ ก็ใหญ่ไปเกินพอดี เกินคำ ไม่เอา วกไปวกมา ไม่ได้กิน ถ้ามีเหยื่ออันเดียวปลาฝูงนึงยิ่งดี มีเหยื่ออันเดียวล่อ จิตของเราปกติร่อนเร่ไปเรื่อยๆ วิ่งไปทางตา วิ่งไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนะ ร่อนเร่ไปเรื่อย เที่ยวแสวงหาอารมณ์ไปเรื่อย เหมือนปลาวิ่งหาเหยื่อไปเรื่อย ว่ายไปเรื่อยๆ เราหาอารมณ์อันนึงที่ชอบใจของปลาตัวนี้มาล่อมัน ไปเอาพุทโธก็ได้ คนไหนพุทโธแล้วสบายใจเอาพุทโธ คนไหนหายใจเข้าหายใจออกแล้วสบายใจเอาลมหายใจ คนไหนดูท้องพองยุบแล้วมีความสุขก็ดูท้องพองยุบไป คนไหนเดินจงกลมแล้วมีความสุขก็เดินไป ไม่ใช่เดินทรมาน เดินไปเครียดไป เดินไปเครียดไป สมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนะ หาอารมณ์ที่สบายๆ อยู่แล้วมีความสุข

อย่างหลวงพ่อนะ ฝึกอานาปานสติมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่เจ็ดขวบ พวกเราส่วนใหญ่ในห้องนี้ยังไม่เกิด หายใจแล้วมีความสุข พอจิตใจมีความสุข จิตจะสงบ จิตมันหิวอารมณ์นะ พอมันได้กินของชอบนะ มันเลยไม่ไปเที่ยวที่อื่น เอาอารมณ์มาล่อ อยู่กับพุทโธ อยู่กับลมหายใจแล้วมีความสุข จิตก็ไม่หนีไปไหน จิตเคล้าเคลียอยู่ แต่ระวังอย่างเดียว อย่าให้ขาดสติ อย่างเราหายใจไป ถ้าใจเคลิ้มก็รู้ทันว่าเคลิ้ม หายใจไปใจฟุ้งซ่านหนีไปคิดเรื่องอื่น รู้ว่าใจฟุ้งซ่านไป ใจก็มีความสุข เคล้าเคลีย สงบอยู่กับลมหายใจ จนกระทั่งลมหายใจมันสว่างขึ้นมา หายใจไปเรื่อยๆ เวลาจะเข้าฌาน ไม่ใช่รู้ลมหายใจหรอกจะบอกให้ พวกเรามั่วๆนะ หายใจแล้วเข้าฌานรู้ลมหายใจแล้วเข้าฌาน ไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอก

ลมหายใจเบื้องต้นเรียกว่า บริกรรมนิมิต รู้ลมไปเรื่อย สบาย จิตใจมีความสุข มันจะสว่างขึ้นมา ความสว่างมันเกิดขึ้นนะ ใจมันสงบลงมา ในทางร่างกายเวลาจิตสงบลงมา เลือดจะมาเลี้ยงสมองส่วนหน้านี้ เลือดจะมาเลิ้ยงตรงนี้เยอะ มันจะให้ความรู้สึกที่สว่างขึ้นมา จิตมันก็สว่างนะ กายมันก็สว่างขึ้นมา ผ่องใส ความสว่างเกิดขึ้นแล้วเนี่ย เอาความสว่างนี้มาเป็นนิมิตแทนลมหายใจได้ ต่อไปความสว่างมันเข้มข้นขึ้นนะ เป็นดวงขึ้นมา ให้เล็กก็ได้ ให้ใหญ่ก็ได้ จิตใจก็มีความสุข สนุก มีความสุขอิ่มเอิบเบิกบาน มีปีติขึ้นมา เข้าฌาน ไม่ใช่หายใจรู้ลมแล้ว (เสียงกรน คร้อก) บอกว่าหายใจจนลมระงับ ถามว่าลมระงับยังไง ลืมไปเลย หลับไปแล้ว บอกว่าไม่มีลมหายใจแล้ว ไม่ใช่นะ

เพราะฉะนั้นหลักของการทำสมถะนะ ก็อย่าทิ้งสติ มีสติไปเรื่อย เวลาจิตรวมก็รวมด้วยความมีสติ ไม่รวมแบบขาตสติ วูบๆวาบๆหรอก รู้เนื้อรู้ตัวตลอดสายของการปฏิบัติเลย รวมลงไปลึกเลย จนร่างกายหายไปเลย ลมหายใจก็หาย ร่างกายก็หาย โลกทั้งโลกก็หายไปหมดเหลือจิตอันเดียว ก็ยังไม่ขาดสตินะ จิตดวงเดียวอย่างนั้น เด่นอยู่อย่างนั้น ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ทำไมต้องมีจิตขึ้นมา โดดเด่นขึ้นมา เพื่อเราจะได้เอาไว้ต่อวิปัสสนา

ฉะนั้นบางคนทำไม่ถึงฌานก็ไม่เป็นไรนะ แค่หัดพุทโธ พุทโธๆ ไป ค่อยๆดูไป พุทโธเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า เห็นมั้ย ใจนั้นค่อยตั้งมั่นขึ้นมา อย่างนี้ใช้ได้ หายใจไปเรื่อยๆ หายใจเข้าหายใจออก อะไรก็ว่าไปเถอะ หายใจไปแล้วเห็นร่างกายมันหายใจ จิตเป็นคนดู อย่างนี้นะถึงจะทำสมถะ เพื่อจะต่อวิปัสสนา คือหายใจไปแล้วมีจิตเป็นคนรู้คนดูขึ้นมา ดูท้องพองยุบไปนะ เห็นร่างกายมันพองเห็นร่างกายมันยุบ จิตเป็นคนดู

เพราะฉะนั้นบทเรียนเรื่องการทำสมาธิเนี่ย ในทางศาสนาพุทธท่านถึงใช้คำว่า “จิตตสิกขา” ทำสมาธิจนกระทั่งเราเห็นจิตของเรา จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ยแหล่ะ พร้อมที่จะไปเดินวิปัสสนาต่อแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าคนไหนจะทำสมถะนะ ก็อย่าให้ขาดสติ หายใจไปเห็นร่างกายหายใจ จิตเป็นคนดู หายใจไปจิตแอบไปคิด รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน ก็มีจิตอีกคนนึงเป็นคนดู เฝ้ารู้ไปจนกระทั่งจิตเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา อย่างนี้เรียกว่าเราทำสมถะเป็น เวลาบางช่วงบางครั้งบางคราวจิตก็เข้าพักสงบ รู้เนื้อรู้ตัวอยู่นะ สงบ ไม่แส่ส่ายไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สงบไม่คิดไม่นึกอะไร ใจว่างสบายสว่าง อันนี้ทำสมถะเต็มที่

ต่อไปก็หัด นั่งสมาธิไปแล้วเห็นจิตเคลื่อนไหวรู้ไปเรื่อยจนจิตตั้งขึ้นมา ตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา อย่างนี้ดี จะเอาไว้ต่อวิปัสสนา นี้พอเราหัดภาวนาไปนะ พุทโธๆ เราเห็นเลย พุทโธเป็นของถูกรู้ จิตเป็นผู้รู้พุทโธ หายใจออกหายใจเข้านะ หายใจไป จนกระทั่งเห็นเลยร่างกายมันหายใจ จิตเป็นผู้รู้ว่าร่างกายหายใจ มีจิตที่เป็นผู้รู้ขึ้นมา จะเดินจงกลมยกเท้าย่างเท้าเห็นร่างกายมันเดินไป จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู ต่อไปพอผู้รู้ผู้ดูมันหายแว้บไป คือมันขาดสติเมื่อไรมันหายเมื่อนั้น สติมันระลึกได้เองเพราะมันเคยรู้จักผู้รู้ผู้ดูเนืองๆ ฉะนั้นเราจะฝึกจนกระทั่งสามารถรู้สึกตัวอยู่ในชีวิตประจำวันได้เนืองๆ เมื่อไรเป็นผู้หลงนะ ก็ขาดผู้รู้ เมื่อไรเป็นผู้รู้ก็ไม่เป็นผู้หลง บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็หลงเป็นผู้คิด บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็เป็นผู้เพ่ง

พอเรามาอยู่ในชีวิตประจำวัน เราเห็นตัวผู้รู้เค้าเกิดดับไปเรื่อยๆ เนี่ย เฝ้ารู้เฝ้าดูอย่างนี้เรื่อยๆ พอใจมันเป็นคนรู้คนดูขึ้นมาได้ มันจะเห็นร่างกายไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นวัตถุ ร่างกายเป็นก้อนธาตุ ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวไป จะเห็นเวทมาทั้งหลายไม่ใช่ตัวเรา ความสุขความทุกข์ทั้งหลาย ความไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหลาย ผ่านมาผ่านไป เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ จนใจของเรามันตั้งมั่น รู้เนื้อรู้ตัวเรื่อยๆ แต่ไม่ได้ตั้งเอาไว้จนแข็งๆรู้ตัวตลอดเวลา อย่างนั้นใช้ไม่ได้ ต้องรู้บ้างเผลอบ้างนะ ถึงจะเห็นว่าตัวรู้เองก็เกิดๆดับๆ

สมัยก่อน หลวงพ่อไปเรียนกับครูบาอาจารย์ เมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อนโน้น เข้าวัดไหนครูบาอาจารย์พูดแต่คำว่า”ผู้รู้” ท่านยังสอนด้วยซ้ำไปว่า ศาสนาพุทธ “พุทธ”แปลว่าอะไร พุทธ (อ่าน พุท-ธะ) แปลว่า”รู้” พุทธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ใจของเราชอบเป็นผู้คิด ใจของเราชอบเป็นผู้หลง เราฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ทำยังไงใจจะเป็นผู้รู้  ถ้ารู้ทันสภาวะที่กำลังปรากฎนะ ใจจะเป็นผู้รู้ขึ้นมา เช่นเผลอไปรู้ว่าเผลอ ใจก็จะเป็นผู้รู้ขึ้นแว้บนึง เป็นผู้รู้ตรงขณะไหน ขณะที่รู้ว่าเผลอ ถัดจากนั้นอาจจะเป็นผู้เพ่ง ใจโกรธขึ้นมานะ รู้ว่าโกรธ ขณะที่โกรธนะ ขณะนึง ขณะที่รู้ว่าโกรธนี่แหล่ะ ใจเป็นผู้รู้ขึ้นมาแล้ว ถัดจากนั้นอยากให้หายโกรธนี่ ใจมีอกุศลแล้ว มีความอยากเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นเราดูใจเราไปเรื่อยนะ ไม่ใช่ผู้รู้ต้องเที่ยงถวร ผู้รู้ไม่เที่ยงหรอก ผู้รู้เองก็เกิดดับ

ครูบาอาจารย์องค์นึงสอนดีมากเลยคือ หลวงปู่หล้า ภูจ้อก้อ บอกเลยว่า ผู้ใดเห็นว่าผู้รู้เที่ยงนะ เป็นมิจฉาทิฐิ จิตผู้รู้ก็ไม่เที่ยงแต่ว่าต้องมีอยู่อาศัยไว้ใช้ปฏิบัติเอา ของเราสังเกตสิ เดี๋ยวใจก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง เมื่อไหร่รู้สภาวะตรงความเป็นจริง ใจก็เป็นผู้รู้ขึ้นมาแว้บนึง เอาแค่แว้บเดียวพอนะ ไม่ต้องตั้งอยู่เป็นชั่วโมงๆ คนที่ตั้งเป็นชั่วโมงๆได้ต้องพวกที่เค้าทรงฌาน ผ่านฌานมาเต็มที่แล้ว เต็มภูมิอย่างน้อยได้ฌานที่สองแล้ว ได้ฌานที่สองใจจะเด่น ออกจากฌานมา ยังเด่นอยู่เป็นวันๆเลย อาศัยสมาธิอย่างนี้ตามรู้ดูกายดูใจได้นาน พวกเราไม่ได้ทรงฌานเนี่ยสมาธิจะอยู่แว้บเดียวๆเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” แต่อาศัย ขณิกสมาธิ เนี่ยแหล่ะทำมรรคผลนิพพานให้เกิดได้ เพราะสมาธิที่ใช้ทำวิปัสสนาจริงๆก็คือ ขณิกสมาธิ นี่แหล่ะดีที่สุดเลย รองลงมาก็คือตัว อุปจาร (คำเต็ม อุปจารสมาธิ) เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ ให้ใจมันตื่นขึ้นมา

วิธีง่ายที่สุดเลย ทำฌานไม่ได้ ทำยังไงใจจะตื่น ใจตื่นก็ตรงข้ามกับใจที่ไม่ตื่น ใจที่ไม่ตื่นคือใจหลับ ใจหลับได้ใจก็ฝันได้ ความฝันของใจก็คือความคิด ถ้าเมื่อไหร่รู้ว่าฝันนะเมื่อนั้นจะตื่น เวลาที่ใจไหลไปคิด ถ้าเมื่อไหร่พวกเรารู้ว่าจิตแอบไปคิดนะ เราจะตื่นขึ้นชั่วขณะนึง รู้ทันว่าจิตไหลไปคิด ขณะที่รู้นั่นน่ะตื่น ไม่เฉพาะหลงไปคิดนะ โกรธขึ้นมาขณะที่รู้ว่าโกรธ ขณะนั้นก็ตื่นเหมือนกัน แต่ตัวนี้ดูยากกว่า ใจของเราหลงคิดทั้งวัน มันดูง่ายกว่า อย่างจะดูจิตที่โกรธนะ แล้วก็ตัวรู้ว่าโกรธ วันนี้ยังไม่โกรธใครเลยเนี่ย จะภาวนายังไง แต่มีมั้ยวันใหนชั่วโมงไหนที่ไม่คิดมีมั้ย ไม่มีเลย จิตที่คิดคือจิตฟุ้งซ่าน เป็นจิตมีโมหะเค้าเรียกว่า “อุทธัจจะ” โมหะชนิด อุทธัจจะ จิตมันฟุ้งซ่าน เป็นจิตที่เกิดบ่อยที่สุดเลยจิตฟุ้งซ่านเนี่ย

เราเอาตัวที่เกิดบ่อยเนี่ยแหล่ะมาหัดทำกรรมฐาน เราจะได้ทำกรรมฐานบ่อยๆ เพราะฉะนั้นจิตไหลไปคิดแล้ว อ้อ หลงไปแล้ว มีคำว่า “แล้ว” นะ ทำไมต้องมี แล้ว ด้วย หมายถึงว่า หลงไปก่อน ไม่ได้ห้ามหลง หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง หลายคนภาวนาผิดนะ ไปจ้องรอดู ไหน เมื่อไหร่จะหลง เมื่อไหร่จะหลง จ้องใหญ่ ขณะที่รอดูนั่นหลงเรียบร้อยแล้วนะ ไม่มีวันรู้เลยว่าหลงเป็นยังไงเพราะหลงไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นให้มันหลงไปก่อนให้มันเผลอไปคิดก่อน แล้วก็ค่อยรู้ว่าเผลอไป หลงไป ให้มันโกรธไปก่อน ให้มันโลภไปก่อน แล้วก็รู้ว่ามันโกรธ​รู้ว่ามันโลภ นี่หัดรู้อย่างนี้บ่อยๆรู้ไปแล้วจะได้อะไร เห็นมั้ย คำสอนในศาสนาพุทธละเอียดนะ จะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำอย่างไรบอกแล้วนะ อย่างถ้าจะดูจิตดูใจเนี่ย ตามดูไป ให้สภาวะเกิดแล้วก็ตามรู้ไป หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง โกรธไปก่อนแล้วรู้ว่าโกรธ ตามดูไปเรื่อยๆ เราจะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำแล้วได้ผลอะไร ถ้าเราตามดูไปเรื่อย เราจะเห็นเลย เดี๋ยวจิตก็หลงเดี๋ยวจิตก็รู้  เดี๋ยวหลงเดี๋ยวรู้ นานๆจะมีอย่างอื่นแทรก เดี๋ยวโลภขึ้นมาเราก็รู้ หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ อ้าว เดี๋ยวโกรธขึ้นมา อีกแล้ว นานๆจะมีโลภแทรก นานๆจะมีโกรธแทรกที แต่หลงนี่มันยืนพื้นเลย มันเป็นกิเลสยืนพื้นเลย

ดังนั้นเราคอยรู้ทันเรื่อยๆ ไม่ใช่รู้เพื่อจะไม่ให้หลง แต่รู้เพื่ออะไร รู้เพื่อจะรู้ว่าเมื่อกี้จิตเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้จิตเป็นอีกอย่างหนึ่ง เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตโลภตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ ไม่ใช่ฝึกเพื่อจะไม่ให้โลภ ไม่ให้โกรธ ไม่ให้หลง จะฝึกเพื่อให้เห็นว่า เมื่อกี้เป็นอย่างนึง เดี๋ยวนี้เป็นอย่างนึง นี่คือการเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของสภาวะธรรมนั่นเอง เห็นมั้ยเมื่อกี้จิตหลง ตอนนี้จิตหลงดับไปแล้ว เกิดจิตที่รู้ขึ้นมา เห็นมั้ยเมื่อกี้เป็นจิตโกรธ ตอนนี้เกิดเป็นจิตที่รู้ จิตโกรธดับไปแล้ว จิตที่รู้อยู่ไม่นาน เกิดจิตหลงขึ้นมาแทนอีกแล้ว เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ ฝึกไปเรื่อยๆ

ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกปฏิเสธ สิ่งที่ไม่ดีแต่ฝึกจนเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาให้จิตรู้นี้ เป็นของชั่วคราวทั้งสิ้น จิตโลภก็โลภชั่วคราว จิตโกรธก็โกรธชั่วคราว จิตหลงก็หลงชั่วคราว ทำไมหลงชั่วคราวเพราะมีตัวรู้มาคั่น มีจิตรู้มาคั่น เราก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลยมันก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลย มันก็จะมีแต่จิตหลง หลงทั้งวัน หลงทั้งคืน เราจะรู้สึกว่าหลงแล้วเที่ยง จะไม่เห็นหรอกว่ามันเป็นไตรลักษณ์ แต่เรามีรู้ขึ้นมานะ เพื่อจะเห็นหลงมันขาดเป็นท่อนๆ หลงไปหนึ่งนาทีแล้วรู้สึกตัวแว้บ เราเห็นเลยชีวิตที่หลงนะมันจบไปแล้ว มันเกิดชีวิตใหม่ที่รู้สึกตัว เสร็จแล้วหลงไปอีกห้านาที ก็รู้สึกอีกทีนึง หลงไปอีกชั่วโมงรู้สึกอีกที ต่อไปฝึกไปเรื่อยๆนะ หลงสามวินาทีรู้สึก หลงสองวินาทีรู้สึก ยิ่งฝึกเก่งนะยิ่งหลงบ่อย หลงแว้บรู้สึก ฝึกไปเรื่อย ไม่ใช่ฝึกไม่ให้หลง ไม่ได้ฝึกห้ามหลง ไม่ได้ฝึกที่จะให้รู้ตลอดเวลา แต่ฝึกเพื่อให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วล้วนแต่ดับทั้งสิ้น

ปัญญาแก่รอบต่อไปอีก ก็จะเห็นอีกว่า จิตจะรู้หรือจิตจะหลงนะ ห้ามมันไม่ได้ บังคับมันไม่ได้ นี่คือการเห็นอนัตตา เราสั่งมันไม่ได้ มันไม่ใช่เราหรอก จิตจะหลง มันก็หลงของมันเอง จิตจะโลภ ก็โลภของมันเอง จิตจะโกรธ ก็โกรธของมันเอง จิตจะเป็นยังไงมันก็เป็นของมันอย่างนั้นแหล่ะ จิตจะรู้ขึ้นมา ก็รู้ได้เอง จงใจรู้ก็ไม่ใช่อีกแล้ว แต่เราก็ต้องฝึกจนกระทั่งมันได้รู้ขึ้นมานะ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนี่ฝึกให้มันมีรู้ก่อน

บางคนได้ยินหลวงพ่อพูด หลวงพ่อเล่าให้ฟังนะว่า ตอนหลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดุลย์ครั้งสุดท้าย สามสิบหกวันก่อนท่านมรณะภาพ หลวงปู่ดุลย์สอนหลวงพ่อ พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ ออกจากหลวงปู่ดุลย์นะ อีกวันไปหาหลวงพ่อพุธ หลวงพ่อพุธก็บอกท่านไปหาหลวงปู่ดุลย์มา หลวงปู่ดุลย์สอนอย่างเดียวกันนี้ บอก เจ้าคุณการปฏิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ สอนอย่างนี้ พอได้ยินอย่างนี้นะเลยพยายามทำลายผู้รู้ทั้งๆที่ผู้รู้ยังไม่มีเลย มีแต่ผู้หลงแต่หาทางทำลายผู้รู้ สติแตกสิ

ตอนนี้อย่าเพิ่งทำลายผู้รู้นะ ไม่ใช่เวลาทำลายผู้รู้ เอาไว้ให้ได้พระอนาคาก่อนแล้วค่อยพูดเรื่องทำลายผู้รู้ ตอนนี้เรายังไม่ได้ เราก็ยังไม่ทำลาย เราต้องมีผู้รู้ไว้ก่อน สังเกตมั้ยเดี๋ยวจิตก็รู้ เดี๋ยวจิตก็หลง เดี๋ยวจิตก็โลภ คอยรู้สึกไปเรื่อย รู้ัมันจะมีทีละแว้บ มีรู้อย่างนี้บ่อยๆ มีรู้ขึ้นมาเพื่อตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นช่วงๆ ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตตรงนี้รู้ เห็นมั้ยหลงต้องใหญ่หน่อย รู้ต้องนิดเดียว เป็นธรรมชาติอย่างนั้น ไม่ใช่ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตเดี๋ยวนี้รู้ ปัจจุบันไม่โตขนาดนี้ คำว่าปัจจุบันน่ะเล็กนิดเดียว ชิวิตที่รู้ลงมาคือชีวิตที่อยู่กับปัจจุบันได้ ขณะแว้บเดียวต่อหน้าเท่านั้น เล็กๆ ไม่มีรู้ยาวเท่านี้ (หลวงพ่อวาดมือ) รู้เที่ยงสิรู้อย่างนี้ รู้เที่ยงก็มิจฉาทิฐิ จริงๆรู้เกิดวับก็ดับ วับก็ดับ ดังนั้นเราฝึกนะจนกระทั่งเรารู้สึกขึ้นมา

วิธีที่จะให้รู้ขึ้นมาก็คือ คอยไปหัดรู้ทันเวลาใจหลงไปคิด อันนี้เป็นการบ้านที่ง่ายๆเลย เพราะจิตที่หลงคิดคือจิตที่เกิดบ่อยที่สุด จิตโลภจิตโกรธอะไรนี่มีน้อยนะ จิตหลงเนี่ยมีทั้งวันเลย เพราะในขณะที่โลภ ในขณะที่โกรธเนี่ยต้องมีหลงประกอบอยู่ด้วย ถ้าไม่หลงจะไม่มีโลภ ถ้าไม่หลงจะไม่โกรธ เพราะฉะนั้นจิตหลงเนี่ยเป็นตัวสาหัสสากันเลย ถ้าเราเรียนเรื่องจิตหลงได้ เราจะภาวนาได้ทั้งวัน

กรรมฐานนะ เราควรจะเลือกกรรมฐานซึ่งมันเกิดบ่อยๆ เราจะได้ดูบ่อยๆ อย่างใจเราหลงเนี่ยหลงทั้งวัน แล้วก็รู้ ใจหลงไปแล้วรู้  มันจะเห็นสลับกันเร็ว เคยมีนะ ตอนอยู่เมืองกาญฯ มีหนุ่มคนนึงมาถามหลวงพ่อ ผมใช้สิ่งอื่นนอกจากในสติปัฏฐานได้มั้ย ที่จะมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน ถามว่าจะใช้อะไร ถ้าฟ้าร้องแล้วผมจะรู้สึกตัว ปีนึงมันร้องกี่ครั้งนะ นานมาก บางวันก็ไม่ร้องตั้งหลายเดือน แสดงว่าตลอดมาเนี่ยเอ็งไม่มีสติเลยใช่มั้ย เอ็งจะมีสติตอนหน้าฝนอย่างเดียว อย่างงี้ใช้ไม่ได้

พวกเราไปดูสิอารมณ์ในสติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะ เป็นอารมณ์ที่เกิดตลอดเวลา หายใจออก หายใจเข้านี่ หายใจทั้งวันมั้ย ถ้าหายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวทั้งวัน ยืน เดิน นั่ง นอน มีทั้งวันใช่มั้ย ไม่ยืนก็เดิน ไม่เดินก็นั่ง ไม่นั่งก็นอน อะไรนี้ เวียนไปนี้ ถ้า ยืน เดิน นั่ง นอนรู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวได้เกือบทั้งวันแล้ว ยกเว้นอิริยาบถประหลาดๆ เช่น กระโดดอะไรนี้นะ หรือไปว่ายน้ำ เป็นอิริยาบถ แปลกๆไป ท่านก็สอนล็อกไว้อีกอันนึงเรื่องสัมปชัญญะ เคลื่อนไหวแล้วรู้สึก ก็เคลื่อนไหวแล้วก็หยุดนิ่ง หยุดนิ่งแล้วก็เคลื่อนไหว ถ้าหยุดนิ่งก็รู้สึก เคลื่อนไหวก็รู้สึก ก็รู้สึกตัวได้ทั้งวันแล้ว อารมณ์ที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะเกิดทั้งวัน อารมณ์เวทนาล่ะ มีทั้งวันมั้ย สุข ทุกข์ เฉยๆก็หมุนอยู่อย่างนี้ทั้งวันใช่มั้ย ถ้าสุขก็รู้ตัว ทุกข์ก็รู้ตัว เฉยๆก็รู้ตัว ก็คือรู้ตัวได้ทั้งวัน ดูจิตดูใจล่ะ จิตหลงไปแล้วรู้ เกิดได้ทั้งวัน หลงทั้งวัน ยกเว้นบางคนนั้นขี้โลภ เจออะไรมันก็อยากตลอดเวลาเลย ความอยากเกิดถี่ยิบเลยทั้งวัน พวกนี้ก็เอาความอยากเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่เดี๋ยวมันอยากแว้บอยากดู รู้ทัน อยากฟังรู้ทัน อยากคิดรู้ทัน พวกโลภมากนะ ดูอยากเป็นวิหารธรรม มีจิตที่อยากกับจิตที่ไม่อยาก คู่เดียวก็พอแล้ว เกิดทั้งวันแล้ว คนไหนขี้โมโหนะ อะไรนิดนึงก็โมโห อะไรนิดนึงก็ขัดใจ ก็เอาจิตที่มีโมโหนี่แหล่ะมาเป็นวิหารธรรม จิตโกรธขึ้นมาก็รู้ ขณะที่รู้ว่าโกรธนั้นคือจิตที่รู้ จิตนั้นมันโกรธ เดี๋ยวก็โกรธอีก เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ เห็นมั้ยมันจะเกิดทั้งวัน

เพราะฉะนั้นอารมณ์กรรมฐานที่เราใช้นั้นต้องเป็นอารมณ์ที่เกิดทั้งวัน เราจะได้มีสติได้ทั้งวัน หายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว เผลอไปรู้สึกตัว รู้ รู้ทันว่าเผลอ ก็รู้สึกตัว ก็เป็นจิตที่รู้ขึ้นมา ก็รู้ว่ามีจิตที่รู้อยู่ ทุกอย่างเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอด เวลา เราทำไปเพื่อให้เห็นว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับ ไม่ใช่ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบเช่น เราเห็นว่าร่างกายที่หายใจออก เกิดขึ้นมาแล้วดับไป กลายเป็นร่างกายที่หายใจเข้า ร่างกายที่หายใจเข้าเกิดแล้วก็ดับ กลายเป็นร่างกายที่หายใจออก ร่างกายที่ยืน ที่เดิน ที่นั่ง ที่นอนนี่ ก็คือร่างกายที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ หรือความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆนะ ก็แสดงความหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ความหลงไปกับความรู้สึก หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ ก็แสดงความเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ ภาวนาเพื่อให้เห็นสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบอะไรหรอกนั่นตื้นไป แต่ภาวนาเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ มันมีแต่ความไม่เที่ยง ในกายในใจนี้ มีแต่ความทนอยู่ไม่ได้ในสภาวะ อันใดอันหนึ่ง อยู่ไม่ได้ตลอดหรอก ไม่นานก็ต้องเสื่อมไป

มีแต่เรื่องบังคับไม่ได้นะ สั่งไม่ได้ ร่างกายก็ไม่ใช่เรานะ เป็นแค่วัตถุอันนึง จิตใจก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง สั่งมันไม่ได้ นี่ภาวนาอย่างนี้ สุดท้ายจะได้อะไรขึ้นมา จะเห็นเลยว่า ทั้งกาย ทั้งใจ ทั้งขันธ์ห้านี้เป็นทุกข์เป็นโทษทั้งหมดเลยนะ ไม่ใช่ของดีของวิเศษหรอก อย่างร่างกายนะ ประคบประหงมมันอย่างดีเลย ให้มันมีความสุข ไม่นานเลยมันก็ทุกข์อีกแล้ว นี่อย่างนี้ดูไปเรื่อย มันเอื่อมระอา มันไม่ยึดกายแล้ว จิตใจก็เหมือนกันนะ อุตสาห์ทำความสงบเข้ามา ไม่นานก็ฟุ้งอีกแล้ว ทำดียังไงเดี๋ยวก็แย่ขึ้นมาอีกแล้ว มีแต่ของไม่เที่ยงนะ เห็นแล้วอิดหนาระอาใจ ในที่สุดไม่ยึดจิตใจด้วย

สุดท้ายไม่ยึดทั้งกายไม่ยึดทั้งใจ ก็ไม่ยึดสิ่งใดในโลกนะ จิตก็หลุดพ้นจากความยึดถือ เรียกว่าวิมุตตินะ จิตหลุดพ้น หลุดแล้วจะได้อะไร ได้เห็นนิพพาน แต่ไม่เป็นเจ้าของนิพพานนะ นิพพานไม่เป็นของใคร นิพพานเป็นธรรมดาของโลกอยู่อย่างนั้น เป็นธรรมะประจำโลกอยู่อย่างนั้น แต่ว่าผู้ใดไปเห็นนิพพานผู้นั้นมีความสุขนะ จิตที่ไปรู้นิพพานนั้นมีบรมสุขที่สุดเลย มันพ้นความดิ้นรน พ้นความปรุงแต่ง พ้นความหิวโหย พวกเราค่อยๆฝึกนะ

วันนี้เทศน์มาตั้งแต่เช้าเนี่ยเรื่องอะไรบ้าง หวังว่าการปฏิบัติต้องรู้นะว่าเราจะทำอะไร ก็มีสมถะกับวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร ทำสมถะนะก็เพื่อให้มีกำลังไปทำวิปัสสนา หรือว่าบางครั้งก็ใช้พักผ่อนนิดๆหน่อยๆ พอมีเรี่ยวมีแรงสดชื่นแล้วก็ไปทำวิปัสสนา ทำอย่างไรนะ สมถะ เนี่ย ให้จิตไปอยู่ในอารมณ์ที่สบายแล้วจิตจะสงบ วิปัสสนานะให้ตามรู้ความเปลี่ยนแปลงของกายของใจไป ใจเป็นแค่คนรู้คนดูไปเรื่อย โลภขึ้นมาแล้วรู้ โกรธขึ้นมาแล้วรู้ ดูไปเรื่อย รู้แล้วได้อะไร ทำแล้วได้อะไร ถ้าทำสมถะก็ได้ตัวรู้ขึ้นมา ทำวิปัสสนาก็ได้ปัญญาเห็นความจริงของกายของใจ ได้เห็นความจริงแล้วก็หมดความยึดถือ ปล่อยวาง เข้าถึงบรมสุขที่แท้จริง


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๑๓
File: 520809A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 212