Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

การเริ่มศึกษาธรรมะ ต้องเริ่มด้วยการวางความเชื่อเดิมๆลงชั่วคราวก่อน แล้วจะพบการเปลี่ยนแปลงด้วยความรวดเร็ว

mp3 for download : การเริ่มศึกษาธรรมะ ต้องเริ่มด้วยการวางความเชื่อเดิมๆลงชั่วคราวก่อน แล้วจะพบการเปลี่ยนแปลงด้วยความรวดเร็ว

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เนี่ย ถ้าเราอยากเข้าใจธรรมะของพระพุทธเจ้านะ งานแรกที่พวกเราควรทำก็คือ วางความเชื่อเดิมๆลงชั่วคราวก่อน อย่าคิดว่ากูแน่กูหนึ่งกูรู้อะไรอย่างนี้ ถ้ากูรู้จริงกูไม่ทุกข์หรอกนะ ที่ยังทุกข์อยู่ได้เพราะไม่รู้จริง เพราะฉะนั้นถ้าเราตั้งหลักอย่างนี้นะว่า เราเป็นผู้อ่อนเป็นผู้ต้องศึกษาอยู่ เป็นผู้ไม่รู้จริงทั่วถึงในคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าเราวางใจของเราไว้แบบนี้นะ เราจะเรียนรู้สิ่งใหม่ได้ง่ายขึ้น ถ้ากูรู้หมดแล้ว กูแน่กูหนึ่ง กูนั่งสมาธิมาตั้งหลายสิบปี ตั้งแต่ก่อนหลวงพ่อปราโมทย์เกิดอีก อะไรอย่างนี้นะ แต่กูก็ยังทุกข์อยู่เหมือนเดิม ก็เรียนอะไรไม่ได้

เพราะฉะนั้นพวกเราเวลาเรียนธรรมะนะ วางความเชื่อเก่าๆลงไป ตัดความคิดเห็นออกไปก่อน ลองมาฟังดูแล้วก็มาลองทดสอบดูว่าคำสอนทั้งหลายที่หลวงพ่อบอกให้นะ จะสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเราในเวลาอันสั้นหรือไม่ อันสั้นด้วยนะ มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นด้วย ไม่ใช่ว่าปฏิบัติมาตั้ง ๒๐ – ๓๐ ปี ก็เหมือนเดิม ถ้าเหมือนเดิมจะไปปฏิบัติทำไม ไม่ต้องปฏิบัติก็ได้นะ ถ้าปฏิบัติแล้วทำถูกต้องนะ จะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ เคยทุกข์มากก็ทุกข์น้อยลงนะ เคยทุกข์นานก็ทุกข์สั้นลง เคยเห็นแก่ตัวก็ไม่เห็นแก่ตัว จิตใจโอบอ้อมอารีย์ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ขึ้น เคยเครียดตลอดนะ ต้องปรึกษาจิตแพทย์เรื่อยๆก็ไม่ต้องปรึกษา บางทีจิตแพทย์ก็ต้องมาปรึกษาเราเหมือนกัน จิตแพทย์ก็เครียดนะ เราต้องเปลี่ยนตัวเองได้ เปลี่ยนถึงจุดที่ว่าคนในบ้านก็รู้สึกได้ คนแวดล้อมเรารู้สึกได้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
File: 560209A
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๑๗ ถึงนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๑๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทำยังไงจะรู้ทันว่าจิตไปคิดได้เร็ว

mp3 for download : ทำยังไงจะรู้ทันว่าจิตไปคิดได้เร็ว

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: วิธีที่จะฝึกให้จิตเป็นผู้รู้นะ ต้องรู้ทันว่าจิตไปคิด ทำยังไงจะรู้ทันว่าจิตไปคิดได้เร็ว ต้องมีเครื่องอยู่ไว้สักอันนึงให้จิตอยู่ก่อน ถ้าจิตทิ้งเครื่องอยู่นั่นไปเมื่อไหร่นะ มันจะรู้ได้เร็วว่าหลงไปคิดแล้ว

ยกตัวอย่าง เราอยู่กับพุทโธ พุทโธ…พุทโธ…พุทโธไปเรื่อยนะ ไม่ได้บังคับจิตให้อยู่กับพุทโธ แต่มีพุทโธเป็นแบ็คกราวนด์ พุทโธแล้วคอยรู้ทันจิต พุทโธ…พุทโธ… อ้าว จิตหนีไปคิดแล้ว คอยรู้ทัน อย่างนี้ใช้ได้ พุทโธ…พุทโธ แล้วจิตไปนิ่งเงียบอยู่แล้ว สงบนิ่งอยู่แล้วไปเพ่งจิตอยู่ ก็รู้ทัน

หรือมารู้ลมหายใจก็ได้ ใครชอบหายใจก็รู้ลมหายใจ หายใจออก หายใจเข้า หายใจสบายๆ หายใจแล้วไม่บังคับจิต หายใจสบาย หายใจนะ…หายใจ…เสร็จแล้วจิตไปเพ่งลมหายใจก็รู้ จิตหนีไปคิดก็รู้ พอจิตหนีไปคิดก็รู้ปุ๊บนะ จิตจะตื่นขึ้นมาพอดีเลย

หรือขยับมืออย่างหลวงพ่อเทียนก็ได้ หลวงพ่อเทียนท่านขยับมือสองข้างรวมกัน 14 จังหวะ ขยับไปแล้วรู้สึก รู้สึกตัว…ขยับ…รู้สึก…ขยับไปแล้วคอยรู้สึกไป ขยับไปๆ จิตแอบไปคิด รู้ทันว่าจิตแอบไปคิดละ ขยับไปแล้วจิตไปเพ่งใส่มือ รู้ทัน ตรงที่รู้ทันว่าจิตหนีไปคิดเนี่ย จิตจะตื่นขึ้นมา

ดูท้องพองยุบก็ได้ ดูท้องพองยุบไป จิตไปเพ่งที่ท้องก็รู้ทัน จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน ตรงที่จิตหนีไปคิดแล้วรู้ทันนั่นแหละ จิตจะตื่นขึ้นมา จิตจะหลุดออกจากโลกของความคิด

งั้นเราคอยฝึกนะ หากรรมฐานอันนึงขึ้นมาก่อน อยู่ๆ จะให้จิตเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานนี่ยาก ยากนะ อินทรีย์เรายังไม่แก่กล้าพอ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๕
File: 530530A
ระหว่างนาทีที่ ๑๙วินาทีที่ ๑๘ ถึงนาทีที่ ๒๑วินาทีที่ ๒๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปัญญากับฟุ้งซ่าน คาบเส้นกันนิดเดียว

mp 3 (for download) : ปัญญากับฟุ้งซ่าน คาบเส้นกันนิดเดียว

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ให้รู้ทันตอนที่จิตไหลไปนะ จิตไหลไปคิดนึกปรุงแต่งเนี่ย ถ้าเรารู้ทันจิตที่ไหลไปคิดนึกปรุงแต่ง จิตจะตั้งมั่นขึ้นมา พอจิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมาได้ คราวนี้เราถึงจะเจริญปัญญาได้ ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นจะเจริญปัญญาไม่ได้ นี่เป็นสูตรเลยนะ เพราะว่าสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นจะไม่สามารถเจริญปัญญาได้ แต่เราอย่าไปแปลสมาธิว่าสงบ บางคนบอกว่า ต้องจิตสงบถึงจะเจริญปัญญาได้ จิตสงบจิตจะไม่เจริญปัญญา จิตจะพักผ่อนเฉยๆ ต้องจิตฟุ้งซ่าน จิตทำงานไป แต่จิตตั้งมั่น แล้วปล่อยให้มันเกิดการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ให้มันทำงานไป

ใครเคยรู้จักหลวงพ่อพุธ ฐานิโยบ้าง มีมั้ย ใครเคยเจอ ใครเคยได้ยินชื่อ อ่อ ได้ยินชื่อเยอะอยู่ ก็ยังดี หลวงพ่อพุธเคยสอนหลวงพ่อนะ บอกว่า ความฟุ้งซ่านกับการเจริญปัญญานั้นคาบเส้นกันนิดเดียว ความฟุ้งซ่านก็คือจิตมันคิดนึกปรุงแต่งไป โดยที่เราไม่มีสติไม่มีสมาธิ ไม่มีความตั้งมั่น จิตมันหลงตามความปรุงแต่งไป อันนี้เรียกว่าความฟุ้งซ่าน ส่วนการเจริญปัญญา จิตก็ทำงานไปตามปกติเหมือนที่จิตฟุ้งซ่านนั่นแหละ แต่เรามีสติ รู้ทันความปรุงแต่งของจิต มีจิตที่ตั้งมั่นเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดูอยู่ มีสติ กับมีสมาธิอยู่ ปัญญาก็เกิด

เพราะฉะนั้นการที่จะมีปัญญาขึ้นมานั้น ไม่ใช่ไปทำจิตให้นิ่ง ทำจิตให้นิ่งจะไม่มีปัญญา จิตมันจะขี้เกียจ จิตจะพักผ่อนอยู่เฉยๆ


CD: บ้านเนินแสนสุข จ.ชลบุรี วันพุธที่ ๘ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕
File: 550808
ระหว่างนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๒๒ ถึง นาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๑๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยคิดนั่นแหละจึงรู้

mp 3 (for download) : คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยคิดนั่นแหละจึงรู้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : วิธีที่ใจจะเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เนี่ย หนีไม่พ้นการดูจิตหรอก

ถึงจะหัดพุทโธๆนะ ก็ต้องรู้ทันจิต ถึงจะรู้ลมหายใจก็ต้องรู้ทันจิต ถึงจะดูท้องพองยุบก็ต้องรู้ทันจิต ถ้าไปรู้พุทโธ ถ้าไปรู้ลมหายใจ ถ้าไปรู้ท้อง ก็ได้สมถะ ได้จิตที่ไปแนบอยู่ในอารมณ์อันเดียว เพราะฉะนั้นการดูจิตเนี่ย จะชอบหรือไม่ชอบ ก็ต้องดูจิต ไม่งั้นเราจะไม่ได้จิตที่เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ขึ้นมา

วิธีที่เราจะได้ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน นะ เราก็ทำกรรมฐานเหมือนเดิม แต่เรารู้ทันจิต แต่เดิมเราพุทโธให้จิตสงบอยู่กับพุทโธ หายใจให้จิตสงบอยู่กับลมหายใจ ดูท้องพองยุบให้จิตไปอยู่ที่ท้อง สงบอยู่ที่ท้อง เดินจงกรมให้จิตสงบอยู่ที่เท้า เมื่อก่อนเราทำสมาธิกันแบบนี้

เดี๋ยวนี้เอาใหม่ เราพุทโธๆ จิตหนีไปคิด เรารู้ทัน จิตไปเพ่งจนกระทั่งจิตนั้นนิ่งๆอยู่ เรารู้ทัน หายใจอยู่ จิตหนีไปคิด เรารู้ทัน จิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ เรารู้ทัน เนี่ยรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป เคลื่อนไปคิดกับเคลื่อนไปเพ่ง

การเคลื่อนไปของจิตนั้น เคลื่อนได้สองแบบเท่านั้นแหละ เคลื่อนไปคิดกับเคลื่อนไปเพ่งนะ เป็นหลักๆเลย ส่วนเคลื่อนไปดู เคลื่อนไปฟัง เคลื่อนไปดมกลิ่น เคลื่อนไปลิ้มรส อะไรเนี่ย มีน้อย ส่วนใหญ่ก็เคลื่อนไปคิด แต่พอคิดถึงการปฏิบัติเมื่อไหร่ก็เคลื่อนไปเพ่ง ให้เราคอยรู้ทันจิตที่เคลื่อนไปเคลื่อนมานี่แหละ แล้วอย่าไปบังคับมัน อย่าไปห้ามมันนะ ทันทีที่เรารู้ว่าจิตเคลื่อน จิตจะตั้งมั่นอัตโนมัติขึ้นมา

เนี่ยครูบาอาจารย์หลายองค์เลย ท่านสอนลงมาตรงจุดนี้ แต่ท่านไม่ได้พูดด้วยสำนวนที่หลวงพ่อพูด ท่านพูดด้วยสำนวนของท่าน แต่ละองค์ๆ บางทีเราคนละยุคคนละสมัย เราฟังยาก

ยกตัวอย่างหลวงปู่ดูลย์บอก “คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ หยุดคิดถึงรู้ แต่ก็อาศัยคิด” เนี่ย ฟังแล้วเหมือนปริศนาธรรมนะ ความจริงแล้วท่านพูดตรงๆเลย ขณะที่คิดไม่รู้ ขณะที่รู้ไม่ได้คิด แต่ต้องปล่อยให้จิตคิด ไม่ใช่ห้ามจิตไม่ให้คิด

พอจิตคิดไปแล้วจิตก็เคลื่อน พอจิตเคลื่อนเราก็รู้ทัน จิตก็ตั้งมั่น ตรงที่จิตตั้งมั่น จิตหลุดออกจากโลกของความคิด เป็นจิตที่รู้ขึ้นมา เพราะฉะนั้นจิตรู้เนี่ยหลุดออกมาจากโลกของความคิดแล้ว ในความเป็นจริงแล้ว พระอรหันต์ก็คิด แต่ว่าจิตของท่านไม่เคลื่อน จิตไม่เคลื่อน แต่พวกเราถ้าคิดนะจิตจะไหลเลยนะ เราไม่ห้ามนะ

หลวงปู่ดูลย์บอกว่า “คิดเท่าไหร่ไม่รู้ หยุดคิดถึงรู้ แต่ต้องอาศัยคิด” ก็ให้มันคิดไป แต่คิดแล้วจิตเคลื่อนไปนะ จิตเกิดอะไรขึ้นแล้วคอยรู้ทัน ก็จะเห็นเลย พอรู้ทันว่าจิตเคลื่อน จิตตั้งมั่น

หรือหลวงพ่อเทียนสอนให้ขยับมือ ท่านบอกเขย่าธาตุรู้ ปลุกความรู้สึกตัวขึ้นมา ท่านสอนว่า “เมื่อไหร่รู้ว่าจิตคิด เมื่อนั้นจะได้ต้นทางของการปฏิบัติ” ต้นทางของการปฏิบัติก็คือจิตที่ตั้งมั่นนั่นเองนะ

เพราะฉะนั้นเราก็ต้องมาฝึกนะ ครูบาอาจารย์แต่ละองค์ๆ พูดด้วยสำนวนที่แตกต่างกัน ถ้าครูบาอาจารย์รุ่นก่อนจะบอกว่า มีผู้รู้ สมัย ๓๐ ปีก่อน หลวงพ่อเข้าไปหาครูบาอาจารย์ ท่านจะพูดว่า ต้องมีจิตผู้รู้ มีจิตผู้รู้ พูดเหมือนๆกันหมดทุกวัดเลย ไปหาองค์ไหนก็บอกให้มีจิตผู้รู้

เราก็ฝึกให้จิตเป็นผู้รู้ จิตเป็นผู้รู้จิตจะหลุดออกจากโลกแห่งความคิด วิธีให้ได้จิตผู้รู้ก็คือ รู้ทันจิตที่ไหลไป ไหลไปคิดรู้ทัน ไหลไปเพ่งรู้ทัน เราก็จะได้จิตที่เป็นผู้รู้ขึ้นมา ตรงนี้แหละเป็นต้นทางของการที่จะเจริญปัญญา จะชอบดูจิตหรือไม่ชอบดูจิต ก็ต้องทำตรงนี้

เพราะฉะนั้นพวกเราทุกคน ก็ต้องให้จิตตั้งมั่น ให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตหลุดออกจากโลกของความคิด แต่ไม่ได้ห้ามความคิด คิดได้ คิดแล้วรู้ทันว่าจิตเคลื่อนไป จิตก็ตั้งมั่น เวลาลงมือปฏิบัตินะ รู้ลมหายใจ จิตเคลื่อนไปที่ลมหายใจ ให้รู้ทันว่าจิตเคลื่อนไปที่ลมหายใจ จิตก็จะตั้งมั่น ให้รู้ทันจิตที่เคลื่อนนะ จิตจะตั้งมั่น นี่แหละคือการเรียนเรื่องจิต แล้วจิตจะเกิดสมาธิขึ้นมา


CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๕๑
File: 550715.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๕๐ ถึง นาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๓๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

เราปฎิบัติเพื่ออะไร?mp 3 (for download) : เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่นี่หลวงพ่อจะเน้นสอนเรื่องการปฏิบัติให้ หลักของการปฏิบัติเราก็ต้องรู้ ว่าเราจะปฏิบัติอะไร ปฏิบัติเพื่ออะไร ปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติแล้วได้ผลเป็นยังไง ต้องตอบได้ชัดเจน เราจะปฏิบัติอะไร มีสองอย่างที่จะต้องปฏิบัติคือ “สมถะ” กับ “วิปัสสนา” ปฏิบัติเพื่ออะไร สมถะ ปฏิบัติเพื่อให้จิตใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะเดินวิปัสสนา ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อจะได้เห็นนู่นเห็นนี่มีตาทิพย์มีหูทิพย์ บางคนอยากได้เจโตอยากได้ทิพจักษุ  หลวงพ่อเคยเจอนะ มีไอ้หนุ่มคนนึง มันภาวนาอยากได้ทิพจักษุ ถามว่าอยากได้ทำไม มันจะได้มองทะลุผ้าของคนอื่น มันเห็นธรรมะเป็นเรื่องอะไร จะทะลุฝาห้องของเค้าอะไรอย่างนี้ ได้เรื่องเลย มีจริงๆนะ สมถะนะ เราทำไปเพื่อให้ใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะทำวิปัสสนา

วิปัสสนาทำไปเพื่ออะไร เพื่อให้เกิดปัญญา รู้ความจริงของกายของใจนี้ ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ ดังนั้นทำเราทำวิปัสสนาเพื่อให้รู้ความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจ รู้แล้วได้อะไร รู้ถึงที่สุดแล้วมันจะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ

พระอรหันต์ไม่ใช่คนประหลาดนะ อย่าไปวาดภาพพระอรหันต์ประหลาดเกินเหตุทำอะไรก็ไม่ได้ กระดุกกระดิกก็ไม่ได้ วันๆต้องนั่งเซื่องๆเหมือนนกกระยางรอให้ปลามาใกล้ๆจะได้ฉกเอาเชื่องๆห้ามกระดุกกระดิก พระอรหันต์จริงๆก็คือท่านผู้ภาวนาจนมีปัญญา เห็นทุกข์เห็นโทษของขันธ์นะ ขันธ์ห้าเป็นทุกข์เห็นอย่างนี้ แล้วท่านปล่อยวางความยึดถือขันธ์ได้ จิตท่านแยกออกจากขันธ์ พรากออกจากขันธ์ ไม่ยึดถือขันธ์ ท่านเป็นอิสระจากขันธ์ ตัวขันธ์เป็นตัวทุกข์ เพราะฉะนั้นพระอรหันต์เลยพ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่นี่พ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่ตายแล้วเค้าเรียกดับทุกข์คือขันธ์มันดับ ไม่ใช่ไปเกิดอีกนะ หลายคนวาดภาพเป็นพระอรหันต์ไปเกิดอีกไปอยู่ในโลกนิพพาน อันนั้นไม่ใช่ศาสนาพุทธหรอก พระอรหันต์ นิพพานแล้วเหมือนไฟที่ดับไปแล้ว ไฟที่ดับแล้วอยู่ที่ใหน ใครจะรู้ เพราะฉะนั้นเราภาวนานะ ภาวนาทำสมถะเพื่อให้มีแรง ทำวิปัสสนา ทำวิปัสสนาเพื่อให้เห็นความจริงของกายของใจ ถ้าเราเห็นความจริงของกายของใจได้มันจะหมดความยึดถือ ปล่อยวางได้ พอปล่อยวางได้ก็พ้นทุกข์ได้ เพราะตัวกายตัวใจตัวขันธ์นี้แหล่ะตัวทุกข์

นี่ต้องเรียนสิ่งเหล่านี้ แล้วทำยังไง เราจะทำอะไร ทำสมถะและวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร บอกแล้ว ทำอย่างไร สมถะนี่ไม่ใช่ทำเพื่อให้เคลิ้ม วิธีทำสมถะไม่ใช่น้อมใจให้เคลิ้มให้ซึมให้นิ่ง แต่ฝึกความรู้สึกตัวขึ้นมา หายใจออกรู้สึก หายใจเข้ารู้สึก เคยได้ยินคำว่า”อานาปานสติ”มั้ย มีสตินะไม่ใช่ฝึกให้ไม่มีสติ ไม่ใช่ฝึก(เสียงกรน)คร้อกบรรลุแล้ว ฝึกให้มีสติหายใจเข้า ฝึกให้มีสติหายใจออก มีสติไปเรื่อยเลย หรือบางทีพิจารณากาย”กายคตาสติ” มีสติไล่ไปในกาย ดูอาการสามสิบสอง ดูอวัยวะต่างๆในร่างกาย มีสติ เห็นมั้ย ไม่ได้บอกให้ขาดสติเลยนะ ไม่ได้ดูเอาแก้วแหวนเงินทอง เอาวิมานสวรรค์อะไรทั้งสิ้นเลย แต่ฝึกให้มันมีสติ รู้ลมหายใจก็ให้มันมีสติ พิจารณากายก็พิจารณาด้วยความมีสติ เรียกว่ากายคตาสติ ทำอะไรๆก็มีสติ คิดถึงพระพุทธเจ้าก็คิดถึงด้วยความมีสติ หัดพุทโธ ๆ แล้วรู้สึกตัวไป นึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตของเราจะทำยังไงพุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราไม่ได้ภาวนาให้เคลิ้มๆ ภาวนาให้รู้สึกตัว ฉะนั้นเราอย่าทิ้งสติ ครูบาอาจารย์เคยสอนบอก “สติจำเป็นในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ”

ฉะนั้นทำสมถะก็ต้องมีสตินะ แต่มีสติอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข อารมณ์อันเดียว ทำไมต้องอารมณ์อันเดียว อารมณ์หลายอันแล้วก็รู้ตัวยาก ปกติจิตมันจะหนีตลอดเวลา วิ่งไปวิ่งมาตลอดเวลา พอเรามาทำสมถะนะ เรามีอารมณ์อันเดียว มาเป็นเหยื่อ เหยื่อล่อจิต อย่างถ้าจะตกปลานะ มีคนโยนเบ็ดพร้อมกันร้อยอัน ปลางงเลยจะกินอันใหนดีใช่มั้ย ว่างมาทางนี้ เอ๊ะ ไม่เอาตัวเล็กไป ว่ายทางนี้ ก็ใหญ่ไปเกินพอดี เกินคำ ไม่เอา วกไปวกมา ไม่ได้กิน ถ้ามีเหยื่ออันเดียวปลาฝูงนึงยิ่งดี มีเหยื่ออันเดียวล่อ จิตของเราปกติร่อนเร่ไปเรื่อยๆ วิ่งไปทางตา วิ่งไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนะ ร่อนเร่ไปเรื่อย เที่ยวแสวงหาอารมณ์ไปเรื่อย เหมือนปลาวิ่งหาเหยื่อไปเรื่อย ว่ายไปเรื่อยๆ เราหาอารมณ์อันนึงที่ชอบใจของปลาตัวนี้มาล่อมัน ไปเอาพุทโธก็ได้ คนไหนพุทโธแล้วสบายใจเอาพุทโธ คนไหนหายใจเข้าหายใจออกแล้วสบายใจเอาลมหายใจ คนไหนดูท้องพองยุบแล้วมีความสุขก็ดูท้องพองยุบไป คนไหนเดินจงกลมแล้วมีความสุขก็เดินไป ไม่ใช่เดินทรมาน เดินไปเครียดไป เดินไปเครียดไป สมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนะ หาอารมณ์ที่สบายๆ อยู่แล้วมีความสุข

อย่างหลวงพ่อนะ ฝึกอานาปานสติมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่เจ็ดขวบ พวกเราส่วนใหญ่ในห้องนี้ยังไม่เกิด หายใจแล้วมีความสุข พอจิตใจมีความสุข จิตจะสงบ จิตมันหิวอารมณ์นะ พอมันได้กินของชอบนะ มันเลยไม่ไปเที่ยวที่อื่น เอาอารมณ์มาล่อ อยู่กับพุทโธ อยู่กับลมหายใจแล้วมีความสุข จิตก็ไม่หนีไปไหน จิตเคล้าเคลียอยู่ แต่ระวังอย่างเดียว อย่าให้ขาดสติ อย่างเราหายใจไป ถ้าใจเคลิ้มก็รู้ทันว่าเคลิ้ม หายใจไปใจฟุ้งซ่านหนีไปคิดเรื่องอื่น รู้ว่าใจฟุ้งซ่านไป ใจก็มีความสุข เคล้าเคลีย สงบอยู่กับลมหายใจ จนกระทั่งลมหายใจมันสว่างขึ้นมา หายใจไปเรื่อยๆ เวลาจะเข้าฌาน ไม่ใช่รู้ลมหายใจหรอกจะบอกให้ พวกเรามั่วๆนะ หายใจแล้วเข้าฌานรู้ลมหายใจแล้วเข้าฌาน ไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอก

ลมหายใจเบื้องต้นเรียกว่า บริกรรมนิมิต รู้ลมไปเรื่อย สบาย จิตใจมีความสุข มันจะสว่างขึ้นมา ความสว่างมันเกิดขึ้นนะ ใจมันสงบลงมา ในทางร่างกายเวลาจิตสงบลงมา เลือดจะมาเลี้ยงสมองส่วนหน้านี้ เลือดจะมาเลิ้ยงตรงนี้เยอะ มันจะให้ความรู้สึกที่สว่างขึ้นมา จิตมันก็สว่างนะ กายมันก็สว่างขึ้นมา ผ่องใส ความสว่างเกิดขึ้นแล้วเนี่ย เอาความสว่างนี้มาเป็นนิมิตแทนลมหายใจได้ ต่อไปความสว่างมันเข้มข้นขึ้นนะ เป็นดวงขึ้นมา ให้เล็กก็ได้ ให้ใหญ่ก็ได้ จิตใจก็มีความสุข สนุก มีความสุขอิ่มเอิบเบิกบาน มีปีติขึ้นมา เข้าฌาน ไม่ใช่หายใจรู้ลมแล้ว (เสียงกรน คร้อก) บอกว่าหายใจจนลมระงับ ถามว่าลมระงับยังไง ลืมไปเลย หลับไปแล้ว บอกว่าไม่มีลมหายใจแล้ว ไม่ใช่นะ

เพราะฉะนั้นหลักของการทำสมถะนะ ก็อย่าทิ้งสติ มีสติไปเรื่อย เวลาจิตรวมก็รวมด้วยความมีสติ ไม่รวมแบบขาตสติ วูบๆวาบๆหรอก รู้เนื้อรู้ตัวตลอดสายของการปฏิบัติเลย รวมลงไปลึกเลย จนร่างกายหายไปเลย ลมหายใจก็หาย ร่างกายก็หาย โลกทั้งโลกก็หายไปหมดเหลือจิตอันเดียว ก็ยังไม่ขาดสตินะ จิตดวงเดียวอย่างนั้น เด่นอยู่อย่างนั้น ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ทำไมต้องมีจิตขึ้นมา โดดเด่นขึ้นมา เพื่อเราจะได้เอาไว้ต่อวิปัสสนา

ฉะนั้นบางคนทำไม่ถึงฌานก็ไม่เป็นไรนะ แค่หัดพุทโธ พุทโธๆ ไป ค่อยๆดูไป พุทโธเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า เห็นมั้ย ใจนั้นค่อยตั้งมั่นขึ้นมา อย่างนี้ใช้ได้ หายใจไปเรื่อยๆ หายใจเข้าหายใจออก อะไรก็ว่าไปเถอะ หายใจไปแล้วเห็นร่างกายมันหายใจ จิตเป็นคนดู อย่างนี้นะถึงจะทำสมถะ เพื่อจะต่อวิปัสสนา คือหายใจไปแล้วมีจิตเป็นคนรู้คนดูขึ้นมา ดูท้องพองยุบไปนะ เห็นร่างกายมันพองเห็นร่างกายมันยุบ จิตเป็นคนดู

เพราะฉะนั้นบทเรียนเรื่องการทำสมาธิเนี่ย ในทางศาสนาพุทธท่านถึงใช้คำว่า “จิตตสิกขา” ทำสมาธิจนกระทั่งเราเห็นจิตของเรา จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ยแหล่ะ พร้อมที่จะไปเดินวิปัสสนาต่อแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าคนไหนจะทำสมถะนะ ก็อย่าให้ขาดสติ หายใจไปเห็นร่างกายหายใจ จิตเป็นคนดู หายใจไปจิตแอบไปคิด รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน ก็มีจิตอีกคนนึงเป็นคนดู เฝ้ารู้ไปจนกระทั่งจิตเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา อย่างนี้เรียกว่าเราทำสมถะเป็น เวลาบางช่วงบางครั้งบางคราวจิตก็เข้าพักสงบ รู้เนื้อรู้ตัวอยู่นะ สงบ ไม่แส่ส่ายไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สงบไม่คิดไม่นึกอะไร ใจว่างสบายสว่าง อันนี้ทำสมถะเต็มที่

ต่อไปก็หัด นั่งสมาธิไปแล้วเห็นจิตเคลื่อนไหวรู้ไปเรื่อยจนจิตตั้งขึ้นมา ตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา อย่างนี้ดี จะเอาไว้ต่อวิปัสสนา นี้พอเราหัดภาวนาไปนะ พุทโธๆ เราเห็นเลย พุทโธเป็นของถูกรู้ จิตเป็นผู้รู้พุทโธ หายใจออกหายใจเข้านะ หายใจไป จนกระทั่งเห็นเลยร่างกายมันหายใจ จิตเป็นผู้รู้ว่าร่างกายหายใจ มีจิตที่เป็นผู้รู้ขึ้นมา จะเดินจงกลมยกเท้าย่างเท้าเห็นร่างกายมันเดินไป จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู ต่อไปพอผู้รู้ผู้ดูมันหายแว้บไป คือมันขาดสติเมื่อไรมันหายเมื่อนั้น สติมันระลึกได้เองเพราะมันเคยรู้จักผู้รู้ผู้ดูเนืองๆ ฉะนั้นเราจะฝึกจนกระทั่งสามารถรู้สึกตัวอยู่ในชีวิตประจำวันได้เนืองๆ เมื่อไรเป็นผู้หลงนะ ก็ขาดผู้รู้ เมื่อไรเป็นผู้รู้ก็ไม่เป็นผู้หลง บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็หลงเป็นผู้คิด บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็เป็นผู้เพ่ง

พอเรามาอยู่ในชีวิตประจำวัน เราเห็นตัวผู้รู้เค้าเกิดดับไปเรื่อยๆ เนี่ย เฝ้ารู้เฝ้าดูอย่างนี้เรื่อยๆ พอใจมันเป็นคนรู้คนดูขึ้นมาได้ มันจะเห็นร่างกายไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นวัตถุ ร่างกายเป็นก้อนธาตุ ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวไป จะเห็นเวทมาทั้งหลายไม่ใช่ตัวเรา ความสุขความทุกข์ทั้งหลาย ความไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหลาย ผ่านมาผ่านไป เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ จนใจของเรามันตั้งมั่น รู้เนื้อรู้ตัวเรื่อยๆ แต่ไม่ได้ตั้งเอาไว้จนแข็งๆรู้ตัวตลอดเวลา อย่างนั้นใช้ไม่ได้ ต้องรู้บ้างเผลอบ้างนะ ถึงจะเห็นว่าตัวรู้เองก็เกิดๆดับๆ

สมัยก่อน หลวงพ่อไปเรียนกับครูบาอาจารย์ เมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อนโน้น เข้าวัดไหนครูบาอาจารย์พูดแต่คำว่า”ผู้รู้” ท่านยังสอนด้วยซ้ำไปว่า ศาสนาพุทธ “พุทธ”แปลว่าอะไร พุทธ (อ่าน พุท-ธะ) แปลว่า”รู้” พุทธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ใจของเราชอบเป็นผู้คิด ใจของเราชอบเป็นผู้หลง เราฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ทำยังไงใจจะเป็นผู้รู้  ถ้ารู้ทันสภาวะที่กำลังปรากฎนะ ใจจะเป็นผู้รู้ขึ้นมา เช่นเผลอไปรู้ว่าเผลอ ใจก็จะเป็นผู้รู้ขึ้นแว้บนึง เป็นผู้รู้ตรงขณะไหน ขณะที่รู้ว่าเผลอ ถัดจากนั้นอาจจะเป็นผู้เพ่ง ใจโกรธขึ้นมานะ รู้ว่าโกรธ ขณะที่โกรธนะ ขณะนึง ขณะที่รู้ว่าโกรธนี่แหล่ะ ใจเป็นผู้รู้ขึ้นมาแล้ว ถัดจากนั้นอยากให้หายโกรธนี่ ใจมีอกุศลแล้ว มีความอยากเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นเราดูใจเราไปเรื่อยนะ ไม่ใช่ผู้รู้ต้องเที่ยงถวร ผู้รู้ไม่เที่ยงหรอก ผู้รู้เองก็เกิดดับ

ครูบาอาจารย์องค์นึงสอนดีมากเลยคือ หลวงปู่หล้า ภูจ้อก้อ บอกเลยว่า ผู้ใดเห็นว่าผู้รู้เที่ยงนะ เป็นมิจฉาทิฐิ จิตผู้รู้ก็ไม่เที่ยงแต่ว่าต้องมีอยู่อาศัยไว้ใช้ปฏิบัติเอา ของเราสังเกตสิ เดี๋ยวใจก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง เมื่อไหร่รู้สภาวะตรงความเป็นจริง ใจก็เป็นผู้รู้ขึ้นมาแว้บนึง เอาแค่แว้บเดียวพอนะ ไม่ต้องตั้งอยู่เป็นชั่วโมงๆ คนที่ตั้งเป็นชั่วโมงๆได้ต้องพวกที่เค้าทรงฌาน ผ่านฌานมาเต็มที่แล้ว เต็มภูมิอย่างน้อยได้ฌานที่สองแล้ว ได้ฌานที่สองใจจะเด่น ออกจากฌานมา ยังเด่นอยู่เป็นวันๆเลย อาศัยสมาธิอย่างนี้ตามรู้ดูกายดูใจได้นาน พวกเราไม่ได้ทรงฌานเนี่ยสมาธิจะอยู่แว้บเดียวๆเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” แต่อาศัย ขณิกสมาธิ เนี่ยแหล่ะทำมรรคผลนิพพานให้เกิดได้ เพราะสมาธิที่ใช้ทำวิปัสสนาจริงๆก็คือ ขณิกสมาธิ นี่แหล่ะดีที่สุดเลย รองลงมาก็คือตัว อุปจาร (คำเต็ม อุปจารสมาธิ) เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ ให้ใจมันตื่นขึ้นมา

วิธีง่ายที่สุดเลย ทำฌานไม่ได้ ทำยังไงใจจะตื่น ใจตื่นก็ตรงข้ามกับใจที่ไม่ตื่น ใจที่ไม่ตื่นคือใจหลับ ใจหลับได้ใจก็ฝันได้ ความฝันของใจก็คือความคิด ถ้าเมื่อไหร่รู้ว่าฝันนะเมื่อนั้นจะตื่น เวลาที่ใจไหลไปคิด ถ้าเมื่อไหร่พวกเรารู้ว่าจิตแอบไปคิดนะ เราจะตื่นขึ้นชั่วขณะนึง รู้ทันว่าจิตไหลไปคิด ขณะที่รู้นั่นน่ะตื่น ไม่เฉพาะหลงไปคิดนะ โกรธขึ้นมาขณะที่รู้ว่าโกรธ ขณะนั้นก็ตื่นเหมือนกัน แต่ตัวนี้ดูยากกว่า ใจของเราหลงคิดทั้งวัน มันดูง่ายกว่า อย่างจะดูจิตที่โกรธนะ แล้วก็ตัวรู้ว่าโกรธ วันนี้ยังไม่โกรธใครเลยเนี่ย จะภาวนายังไง แต่มีมั้ยวันใหนชั่วโมงไหนที่ไม่คิดมีมั้ย ไม่มีเลย จิตที่คิดคือจิตฟุ้งซ่าน เป็นจิตมีโมหะเค้าเรียกว่า “อุทธัจจะ” โมหะชนิด อุทธัจจะ จิตมันฟุ้งซ่าน เป็นจิตที่เกิดบ่อยที่สุดเลยจิตฟุ้งซ่านเนี่ย

เราเอาตัวที่เกิดบ่อยเนี่ยแหล่ะมาหัดทำกรรมฐาน เราจะได้ทำกรรมฐานบ่อยๆ เพราะฉะนั้นจิตไหลไปคิดแล้ว อ้อ หลงไปแล้ว มีคำว่า “แล้ว” นะ ทำไมต้องมี แล้ว ด้วย หมายถึงว่า หลงไปก่อน ไม่ได้ห้ามหลง หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง หลายคนภาวนาผิดนะ ไปจ้องรอดู ไหน เมื่อไหร่จะหลง เมื่อไหร่จะหลง จ้องใหญ่ ขณะที่รอดูนั่นหลงเรียบร้อยแล้วนะ ไม่มีวันรู้เลยว่าหลงเป็นยังไงเพราะหลงไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นให้มันหลงไปก่อนให้มันเผลอไปคิดก่อน แล้วก็ค่อยรู้ว่าเผลอไป หลงไป ให้มันโกรธไปก่อน ให้มันโลภไปก่อน แล้วก็รู้ว่ามันโกรธ​รู้ว่ามันโลภ นี่หัดรู้อย่างนี้บ่อยๆรู้ไปแล้วจะได้อะไร เห็นมั้ย คำสอนในศาสนาพุทธละเอียดนะ จะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำอย่างไรบอกแล้วนะ อย่างถ้าจะดูจิตดูใจเนี่ย ตามดูไป ให้สภาวะเกิดแล้วก็ตามรู้ไป หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง โกรธไปก่อนแล้วรู้ว่าโกรธ ตามดูไปเรื่อยๆ เราจะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำแล้วได้ผลอะไร ถ้าเราตามดูไปเรื่อย เราจะเห็นเลย เดี๋ยวจิตก็หลงเดี๋ยวจิตก็รู้  เดี๋ยวหลงเดี๋ยวรู้ นานๆจะมีอย่างอื่นแทรก เดี๋ยวโลภขึ้นมาเราก็รู้ หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ อ้าว เดี๋ยวโกรธขึ้นมา อีกแล้ว นานๆจะมีโลภแทรก นานๆจะมีโกรธแทรกที แต่หลงนี่มันยืนพื้นเลย มันเป็นกิเลสยืนพื้นเลย

ดังนั้นเราคอยรู้ทันเรื่อยๆ ไม่ใช่รู้เพื่อจะไม่ให้หลง แต่รู้เพื่ออะไร รู้เพื่อจะรู้ว่าเมื่อกี้จิตเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้จิตเป็นอีกอย่างหนึ่ง เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตโลภตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ ไม่ใช่ฝึกเพื่อจะไม่ให้โลภ ไม่ให้โกรธ ไม่ให้หลง จะฝึกเพื่อให้เห็นว่า เมื่อกี้เป็นอย่างนึง เดี๋ยวนี้เป็นอย่างนึง นี่คือการเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของสภาวะธรรมนั่นเอง เห็นมั้ยเมื่อกี้จิตหลง ตอนนี้จิตหลงดับไปแล้ว เกิดจิตที่รู้ขึ้นมา เห็นมั้ยเมื่อกี้เป็นจิตโกรธ ตอนนี้เกิดเป็นจิตที่รู้ จิตโกรธดับไปแล้ว จิตที่รู้อยู่ไม่นาน เกิดจิตหลงขึ้นมาแทนอีกแล้ว เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ ฝึกไปเรื่อยๆ

ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกปฏิเสธ สิ่งที่ไม่ดีแต่ฝึกจนเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาให้จิตรู้นี้ เป็นของชั่วคราวทั้งสิ้น จิตโลภก็โลภชั่วคราว จิตโกรธก็โกรธชั่วคราว จิตหลงก็หลงชั่วคราว ทำไมหลงชั่วคราวเพราะมีตัวรู้มาคั่น มีจิตรู้มาคั่น เราก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลยมันก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลย มันก็จะมีแต่จิตหลง หลงทั้งวัน หลงทั้งคืน เราจะรู้สึกว่าหลงแล้วเที่ยง จะไม่เห็นหรอกว่ามันเป็นไตรลักษณ์ แต่เรามีรู้ขึ้นมานะ เพื่อจะเห็นหลงมันขาดเป็นท่อนๆ หลงไปหนึ่งนาทีแล้วรู้สึกตัวแว้บ เราเห็นเลยชีวิตที่หลงนะมันจบไปแล้ว มันเกิดชีวิตใหม่ที่รู้สึกตัว เสร็จแล้วหลงไปอีกห้านาที ก็รู้สึกอีกทีนึง หลงไปอีกชั่วโมงรู้สึกอีกที ต่อไปฝึกไปเรื่อยๆนะ หลงสามวินาทีรู้สึก หลงสองวินาทีรู้สึก ยิ่งฝึกเก่งนะยิ่งหลงบ่อย หลงแว้บรู้สึก ฝึกไปเรื่อย ไม่ใช่ฝึกไม่ให้หลง ไม่ได้ฝึกห้ามหลง ไม่ได้ฝึกที่จะให้รู้ตลอดเวลา แต่ฝึกเพื่อให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วล้วนแต่ดับทั้งสิ้น

ปัญญาแก่รอบต่อไปอีก ก็จะเห็นอีกว่า จิตจะรู้หรือจิตจะหลงนะ ห้ามมันไม่ได้ บังคับมันไม่ได้ นี่คือการเห็นอนัตตา เราสั่งมันไม่ได้ มันไม่ใช่เราหรอก จิตจะหลง มันก็หลงของมันเอง จิตจะโลภ ก็โลภของมันเอง จิตจะโกรธ ก็โกรธของมันเอง จิตจะเป็นยังไงมันก็เป็นของมันอย่างนั้นแหล่ะ จิตจะรู้ขึ้นมา ก็รู้ได้เอง จงใจรู้ก็ไม่ใช่อีกแล้ว แต่เราก็ต้องฝึกจนกระทั่งมันได้รู้ขึ้นมานะ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนี่ฝึกให้มันมีรู้ก่อน

บางคนได้ยินหลวงพ่อพูด หลวงพ่อเล่าให้ฟังนะว่า ตอนหลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดุลย์ครั้งสุดท้าย สามสิบหกวันก่อนท่านมรณะภาพ หลวงปู่ดุลย์สอนหลวงพ่อ พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ ออกจากหลวงปู่ดุลย์นะ อีกวันไปหาหลวงพ่อพุธ หลวงพ่อพุธก็บอกท่านไปหาหลวงปู่ดุลย์มา หลวงปู่ดุลย์สอนอย่างเดียวกันนี้ บอก เจ้าคุณการปฏิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ สอนอย่างนี้ พอได้ยินอย่างนี้นะเลยพยายามทำลายผู้รู้ทั้งๆที่ผู้รู้ยังไม่มีเลย มีแต่ผู้หลงแต่หาทางทำลายผู้รู้ สติแตกสิ

ตอนนี้อย่าเพิ่งทำลายผู้รู้นะ ไม่ใช่เวลาทำลายผู้รู้ เอาไว้ให้ได้พระอนาคาก่อนแล้วค่อยพูดเรื่องทำลายผู้รู้ ตอนนี้เรายังไม่ได้ เราก็ยังไม่ทำลาย เราต้องมีผู้รู้ไว้ก่อน สังเกตมั้ยเดี๋ยวจิตก็รู้ เดี๋ยวจิตก็หลง เดี๋ยวจิตก็โลภ คอยรู้สึกไปเรื่อย รู้ัมันจะมีทีละแว้บ มีรู้อย่างนี้บ่อยๆ มีรู้ขึ้นมาเพื่อตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นช่วงๆ ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตตรงนี้รู้ เห็นมั้ยหลงต้องใหญ่หน่อย รู้ต้องนิดเดียว เป็นธรรมชาติอย่างนั้น ไม่ใช่ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตเดี๋ยวนี้รู้ ปัจจุบันไม่โตขนาดนี้ คำว่าปัจจุบันน่ะเล็กนิดเดียว ชิวิตที่รู้ลงมาคือชีวิตที่อยู่กับปัจจุบันได้ ขณะแว้บเดียวต่อหน้าเท่านั้น เล็กๆ ไม่มีรู้ยาวเท่านี้ (หลวงพ่อวาดมือ) รู้เที่ยงสิรู้อย่างนี้ รู้เที่ยงก็มิจฉาทิฐิ จริงๆรู้เกิดวับก็ดับ วับก็ดับ ดังนั้นเราฝึกนะจนกระทั่งเรารู้สึกขึ้นมา

วิธีที่จะให้รู้ขึ้นมาก็คือ คอยไปหัดรู้ทันเวลาใจหลงไปคิด อันนี้เป็นการบ้านที่ง่ายๆเลย เพราะจิตที่หลงคิดคือจิตที่เกิดบ่อยที่สุด จิตโลภจิตโกรธอะไรนี่มีน้อยนะ จิตหลงเนี่ยมีทั้งวันเลย เพราะในขณะที่โลภ ในขณะที่โกรธเนี่ยต้องมีหลงประกอบอยู่ด้วย ถ้าไม่หลงจะไม่มีโลภ ถ้าไม่หลงจะไม่โกรธ เพราะฉะนั้นจิตหลงเนี่ยเป็นตัวสาหัสสากันเลย ถ้าเราเรียนเรื่องจิตหลงได้ เราจะภาวนาได้ทั้งวัน

กรรมฐานนะ เราควรจะเลือกกรรมฐานซึ่งมันเกิดบ่อยๆ เราจะได้ดูบ่อยๆ อย่างใจเราหลงเนี่ยหลงทั้งวัน แล้วก็รู้ ใจหลงไปแล้วรู้  มันจะเห็นสลับกันเร็ว เคยมีนะ ตอนอยู่เมืองกาญฯ มีหนุ่มคนนึงมาถามหลวงพ่อ ผมใช้สิ่งอื่นนอกจากในสติปัฏฐานได้มั้ย ที่จะมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน ถามว่าจะใช้อะไร ถ้าฟ้าร้องแล้วผมจะรู้สึกตัว ปีนึงมันร้องกี่ครั้งนะ นานมาก บางวันก็ไม่ร้องตั้งหลายเดือน แสดงว่าตลอดมาเนี่ยเอ็งไม่มีสติเลยใช่มั้ย เอ็งจะมีสติตอนหน้าฝนอย่างเดียว อย่างงี้ใช้ไม่ได้

พวกเราไปดูสิอารมณ์ในสติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะ เป็นอารมณ์ที่เกิดตลอดเวลา หายใจออก หายใจเข้านี่ หายใจทั้งวันมั้ย ถ้าหายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวทั้งวัน ยืน เดิน นั่ง นอน มีทั้งวันใช่มั้ย ไม่ยืนก็เดิน ไม่เดินก็นั่ง ไม่นั่งก็นอน อะไรนี้ เวียนไปนี้ ถ้า ยืน เดิน นั่ง นอนรู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวได้เกือบทั้งวันแล้ว ยกเว้นอิริยาบถประหลาดๆ เช่น กระโดดอะไรนี้นะ หรือไปว่ายน้ำ เป็นอิริยาบถ แปลกๆไป ท่านก็สอนล็อกไว้อีกอันนึงเรื่องสัมปชัญญะ เคลื่อนไหวแล้วรู้สึก ก็เคลื่อนไหวแล้วก็หยุดนิ่ง หยุดนิ่งแล้วก็เคลื่อนไหว ถ้าหยุดนิ่งก็รู้สึก เคลื่อนไหวก็รู้สึก ก็รู้สึกตัวได้ทั้งวันแล้ว อารมณ์ที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะเกิดทั้งวัน อารมณ์เวทนาล่ะ มีทั้งวันมั้ย สุข ทุกข์ เฉยๆก็หมุนอยู่อย่างนี้ทั้งวันใช่มั้ย ถ้าสุขก็รู้ตัว ทุกข์ก็รู้ตัว เฉยๆก็รู้ตัว ก็คือรู้ตัวได้ทั้งวัน ดูจิตดูใจล่ะ จิตหลงไปแล้วรู้ เกิดได้ทั้งวัน หลงทั้งวัน ยกเว้นบางคนนั้นขี้โลภ เจออะไรมันก็อยากตลอดเวลาเลย ความอยากเกิดถี่ยิบเลยทั้งวัน พวกนี้ก็เอาความอยากเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่เดี๋ยวมันอยากแว้บอยากดู รู้ทัน อยากฟังรู้ทัน อยากคิดรู้ทัน พวกโลภมากนะ ดูอยากเป็นวิหารธรรม มีจิตที่อยากกับจิตที่ไม่อยาก คู่เดียวก็พอแล้ว เกิดทั้งวันแล้ว คนไหนขี้โมโหนะ อะไรนิดนึงก็โมโห อะไรนิดนึงก็ขัดใจ ก็เอาจิตที่มีโมโหนี่แหล่ะมาเป็นวิหารธรรม จิตโกรธขึ้นมาก็รู้ ขณะที่รู้ว่าโกรธนั้นคือจิตที่รู้ จิตนั้นมันโกรธ เดี๋ยวก็โกรธอีก เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ เห็นมั้ยมันจะเกิดทั้งวัน

เพราะฉะนั้นอารมณ์กรรมฐานที่เราใช้นั้นต้องเป็นอารมณ์ที่เกิดทั้งวัน เราจะได้มีสติได้ทั้งวัน หายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว เผลอไปรู้สึกตัว รู้ รู้ทันว่าเผลอ ก็รู้สึกตัว ก็เป็นจิตที่รู้ขึ้นมา ก็รู้ว่ามีจิตที่รู้อยู่ ทุกอย่างเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอด เวลา เราทำไปเพื่อให้เห็นว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับ ไม่ใช่ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบเช่น เราเห็นว่าร่างกายที่หายใจออก เกิดขึ้นมาแล้วดับไป กลายเป็นร่างกายที่หายใจเข้า ร่างกายที่หายใจเข้าเกิดแล้วก็ดับ กลายเป็นร่างกายที่หายใจออก ร่างกายที่ยืน ที่เดิน ที่นั่ง ที่นอนนี่ ก็คือร่างกายที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ หรือความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆนะ ก็แสดงความหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ความหลงไปกับความรู้สึก หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ ก็แสดงความเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ ภาวนาเพื่อให้เห็นสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบอะไรหรอกนั่นตื้นไป แต่ภาวนาเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ มันมีแต่ความไม่เที่ยง ในกายในใจนี้ มีแต่ความทนอยู่ไม่ได้ในสภาวะ อันใดอันหนึ่ง อยู่ไม่ได้ตลอดหรอก ไม่นานก็ต้องเสื่อมไป

มีแต่เรื่องบังคับไม่ได้นะ สั่งไม่ได้ ร่างกายก็ไม่ใช่เรานะ เป็นแค่วัตถุอันนึง จิตใจก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง สั่งมันไม่ได้ นี่ภาวนาอย่างนี้ สุดท้ายจะได้อะไรขึ้นมา จะเห็นเลยว่า ทั้งกาย ทั้งใจ ทั้งขันธ์ห้านี้เป็นทุกข์เป็นโทษทั้งหมดเลยนะ ไม่ใช่ของดีของวิเศษหรอก อย่างร่างกายนะ ประคบประหงมมันอย่างดีเลย ให้มันมีความสุข ไม่นานเลยมันก็ทุกข์อีกแล้ว นี่อย่างนี้ดูไปเรื่อย มันเอื่อมระอา มันไม่ยึดกายแล้ว จิตใจก็เหมือนกันนะ อุตสาห์ทำความสงบเข้ามา ไม่นานก็ฟุ้งอีกแล้ว ทำดียังไงเดี๋ยวก็แย่ขึ้นมาอีกแล้ว มีแต่ของไม่เที่ยงนะ เห็นแล้วอิดหนาระอาใจ ในที่สุดไม่ยึดจิตใจด้วย

สุดท้ายไม่ยึดทั้งกายไม่ยึดทั้งใจ ก็ไม่ยึดสิ่งใดในโลกนะ จิตก็หลุดพ้นจากความยึดถือ เรียกว่าวิมุตตินะ จิตหลุดพ้น หลุดแล้วจะได้อะไร ได้เห็นนิพพาน แต่ไม่เป็นเจ้าของนิพพานนะ นิพพานไม่เป็นของใคร นิพพานเป็นธรรมดาของโลกอยู่อย่างนั้น เป็นธรรมะประจำโลกอยู่อย่างนั้น แต่ว่าผู้ใดไปเห็นนิพพานผู้นั้นมีความสุขนะ จิตที่ไปรู้นิพพานนั้นมีบรมสุขที่สุดเลย มันพ้นความดิ้นรน พ้นความปรุงแต่ง พ้นความหิวโหย พวกเราค่อยๆฝึกนะ

วันนี้เทศน์มาตั้งแต่เช้าเนี่ยเรื่องอะไรบ้าง หวังว่าการปฏิบัติต้องรู้นะว่าเราจะทำอะไร ก็มีสมถะกับวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร ทำสมถะนะก็เพื่อให้มีกำลังไปทำวิปัสสนา หรือว่าบางครั้งก็ใช้พักผ่อนนิดๆหน่อยๆ พอมีเรี่ยวมีแรงสดชื่นแล้วก็ไปทำวิปัสสนา ทำอย่างไรนะ สมถะ เนี่ย ให้จิตไปอยู่ในอารมณ์ที่สบายแล้วจิตจะสงบ วิปัสสนานะให้ตามรู้ความเปลี่ยนแปลงของกายของใจไป ใจเป็นแค่คนรู้คนดูไปเรื่อย โลภขึ้นมาแล้วรู้ โกรธขึ้นมาแล้วรู้ ดูไปเรื่อย รู้แล้วได้อะไร ทำแล้วได้อะไร ถ้าทำสมถะก็ได้ตัวรู้ขึ้นมา ทำวิปัสสนาก็ได้ปัญญาเห็นความจริงของกายของใจ ได้เห็นความจริงแล้วก็หมดความยึดถือ ปล่อยวาง เข้าถึงบรมสุขที่แท้จริง


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๑๓
File: 520809A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่ทราบอารมณ์ปัจจุบัน ควรทำอย่างไร

mp3 (for download) : ไม่ทราบอารมณ์ปัจจุบัน ควรทำอย่างไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ไม่ทราบอารมณ์ปัจจุบัน ควรทำอย่างไร

ไม่ทราบอารมณ์ปัจจุบัน ควรทำอย่างไร

โยม : เวลาที่เราไม่ทราบว่าจิตอยู่ที่ใหน กำลังหลงอารมณ์อะไรอยู่ เราควรทำอย่างไรดีคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ก็หัดรู้ทันนะ หัดรู้ทันความรู้สึกของตัวเองไป เราทุกคนสามารถรู้ความรู้สึกของตัวเองได้ ความรู้สึกทุกชนิดเรารู้จักอยู่แล้ว แต่เราละเลยที่จะรู้

มีใครไม่รู้จักว่าโกรธเป็นไงบ้าง มีมั้ย ใครไม่รู้จัก ไม่เคยโกรธ ใครไม่เคยโลภ ใครไม่เคยหลง ใครเคยกลัวบ้าง มีมั้ย ใครเคยกลัว (โยมเริ่มยกมือ) มีคนเดียวเคยกลัว อ้อ มีสองคน สามคน มีใครเคยอิจฉาบ้างมีมั้ย เคยทุกคนแหล่ะ ความรู้สึกทุกชนิดนะเรารู้จักอยู่แล้ว แต่เราละเลยที่จะรู้ว่าตอนนี้ใจของเรารู้สึกอะไร ใจไม่ได้หลงไปใหนนักหนาหรอก เรานั่นแหล่ะไม่ยอมดูเอง ถ้าขยันดู เราก็จะรู้เลยว่าตอนนี้ความรู้สึกของเราเป็นยังไง ความสุขรู้จักมั้ย ความทุกข์ก็รู้จักใช่มั้ย ดีใจ เสียใจ กลัว กังวล รู้จักทุกอย่าง เซ็งรู้จักมั้ย เซ็งกับโกรธเหมือนกันมั้ย ไม่เหมือน เห็นมั้ย แยกเป็น ตอนนี้ความรู้สึกเป็นยังไง

รู้ลงไป รู้ทันความรู้สึกที่กำลังเกิดอยู่ สดๆร้อนๆในใจ ตัวเองนะ ฝึกอย่างนี้แหล่ะ แล้วถึงจะเข้าใจว่าจิตมันเป็นยังไง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ โรงพยาบาลตำรวจ
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่ โรงพยาบาลตำรวจ
File: 540330
ระหว่างนาทีที่  ๓๖ วินาทีที่ ๕๘ ถึง นาทีที่ ๓๘ วินาทีที่ ๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติทางโลก สติทางธรรม

mp3 (for download) : สติทางโลก สติทางธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สติทางโลก สติทางธรรม

สติทางโลก สติทางธรรม

โยม : ผมได้มีโอกาสได้สอนแฟนครับ เรื่องมีสติครับ แต่ว่าผมยังสอนเค้าไม่เข้าใจครับ ว่าสติแบบทางธรรม กับสติแบบทางโลกว่าเป็นยังไง ขอโอกาสหลวงพ่อครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : คือสตินะ สติแปลว่าความระลึก ความระลึกได้ เป็นตัวที่คอยรู้ทันว่ามีอะไรเกิดขึ้นในกายในใจของเรา อันนี้เป็นสติในการปฏิบัติธรรม สติอย่างโลกๆนะ คือเมื่อไรที่จิตเป็นกุศลนะ เมื่อนั้นมีสติอยู่แล้ว แต่เป็นสติโลกๆ แต่ถ้าเมื่อไรจิตเป็นอกุศล เมื่อนั้นไม่มีสติ เราสนใจ ถ้าสอนเพื่อนนะ สอนให้มาทำสติปัฏฐานไว้ สติรู้กาย สติรู้ใจสอนตัวนี้บ่อยๆ แล้วสติโลกๆ ก็จะดีขึ้นเองแหละ เราเอาสติชั้นยอดก่อน เดี๋ยวสติชั้นรองมันก็ได้เองแหละ ส่วนที่คนในโลกพูดเรื่องคำว่าสติ มันยืมคำว่าสติของพระพุทธเจ้าไปใช้ คนในโลกไม่มีสติ ขาดสติเป็นส่วนใหญ่ อย่างเมาเหล้า เมาเหล้าขับรถให้มีสติอะไรแบบนี้ ไม่มีหรอก เค้าแค่บอกว่า อะไรนะ อย่าใจลอย อย่าลืมตัว จริงๆ คนเราใจลอยตลอดเวลาไม่เห็นหรอก ในโลกนะหาคนมีสตินะหายากจริงๆ จิตหนีไปคิดหรือยัง

โยม : หนีไปคิดแล้วครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เอ่อขาดสติแหละ ให้รู้แบบนี้บ่อยๆ นะ ถ้าไปสอนเพื่อนนะ เวลาเพื่อนหนีไปคิดนะ ถ้าเค้ารู้ตรงนี้ได้ เค้าก็จะมีสติขึ้นมา จิตหนีไปคิดแล้วรู้บ่อยๆ จะมีทั้งสติ มีทั้งสมาธิเลย ไปสอนกรรมฐานนะ สอนเบื้องต้นเลยนะ ง่ายที่สุดเลย บอกให้รักษาศีล 5 ไว้ก่อน ถัดจากนั้นนะถ้าจิตหนีไปคิดแล้วคอยรู้ไว้ ตัวนี้จะได้ทั้งสติ จะได้ทั้งสมาธิเลย ถ้าเมื่อไรเค้ารู้ทัน ว่าจิตหนีไปคิดนะ ตรงที่รู้ทันนั้นมีสติ ทันทีที่รู้ทันนะ จิตก็จะตั้งมั่น มีสมาธิขึ้นมา พอจิตเค้าตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูได้แล้ว ถ้ดจากนั้นก็สอนให้เค้าเดินวิปัสสนาต่อ ให้เค้ารู้กายรู้ใจไป ดูกายดูใจมันทำงาน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔ หลังฉันเช้า
CD: ๔๑
File: 540730B
ระหว่างนาทีที่ ๔๒ วินาทีที่ ๑๓ ถึงนาทีที่ ๔๔ วินาทีที่ ๔๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อย่าไปดักดู ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยตามรู้

mp3 for download : อย่าไปดักดู ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยตามรู้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อย่าไปดักดู ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยตามรู้

อย่าไปดักดู ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยตามรู้

หลวงพ่อปราโมทย์ : เวลาที่เราจะดูจิตดูใจ เราอย่าไปดักจ้องไว้ก่อน บางคนไปจ้องรอดูว่าเมื่อไหร่จิตจะมีปฎิกริยาอะไรขึ้นมา ถ้าเราไปจ้องไว้ จิตจะนิ่งๆ ทื่อๆ ไม่มีอะไรให้ดูเลย

เพราะฉะนั้นการดูจิตที่ดี ปล่อยให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยตามรู้เอา มันโกรธขึ้นมา อ้อ มันโกรธขึ้นมาแล้ว มีคำว่าแล้วด้วย มันโกรธขึ้นมาแล้วเรารู้ทัน จิตมันโกรธขึ้นมา มันอยากแล้ว มันเห็นสาวมันอยากจีบเค้าเนี่ย รู้ว่ามันอยากแล้ว นี่ความอยากเกิดขึ้นก่อนแล้วรู้ว่าอยาก ความโกรธเกิดขึ้นก่อนแล้วรู้ว่าโกรธ ใจลอยไปก่อนแล้วรู้ว่าใจลอย ฟุ้งซ่านไปก่อนแล้วรู้ว่าฟุ้งซ่าน หดหู่ไปก่อนแล้วรู้ว่าหดหู่ ให้ความรู้สึกมันเกิดขึ้นก่อน อย่าไปดักดู ถ้าเราดักดูละก็จะไม่มีอะไรให้ดู ทุกอย่างมันจะนิ่งไปหมด

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สนามบินสุวรรณภูมิ
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๓


CD: แสดงธรรมนอกสถานที่สนามบินสุวรรณภูมิ
File: 530111
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๓๙ ถึงนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๒๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตใจมีหน้าที่ปรุงแต่ง เรามีหน้าที่เพียงดูเขาปรุง

จิตใจมีหน้าที่ปรุงแต่ง เรามีหน้าที่เพียงดูเขาปรุง

จิตใจมีหน้าที่ปรุงแต่ง เรามีหน้าที่เพียงดูเขาปรุง

mp3 for download : จิตมีหน้าที่ปรุงแต่ง เราไม่ห้าม เพียงแค่ดูเขาปรุง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : กราบนมัสการหลวงพ่อครับ มาครั้งแรกครับผม

หลวงพ่อปราโมทย์ : กล้าหาญนะ กล้าหาญมากเลย มาครั้งแรกมานั่งหน้า

โยม : ก็รู้สึกว่ายังมี รู้สึกเพ่งๆอยู่น่ะครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถูกต้อง

โยม : ทีนี้..ก็ไม่ทราบว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อไปครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ให้รู้ไปนะ เพ่งอยู่รู้ว่าเพ่ง จิตใจเป็นสุขเป็นทุกข์ เป็นกุศล-อกุศลคอยรู้ จิตใจทำงานอะไรคอยรู้ไปเรื่อยๆ การทำงานของจิตก็คือการสร้างภพ หรือความปรุงแต่ง หรือที่เรียกว่าสังขารนั่นเอง เขาปรุงไปเรื่อยๆเขาก็ทุกข์ขึ้นมาแหละ ให้เราเรียนรู้ไป อย่าไปเกลียดเขา เขาต้องปรุงนะ หน้าที่ของเขา เขาต้องปรุง ให้เราคอยรู้คอยเห็นไปอย่างที่เขาเป็นเรื่อยๆ ถึงวันหนึ่งใจมันปิ๊งขึ้นมาว่าทั้งหมดนี้ไม่มีเราเลย มีกระบวนการปรุงแต่ง มีกระบวนการทำงานของจิต แต่ไม่มีเรา ขันธุ์ ๕ ก็ทำงานของมันไป มีปรากฏการณ์ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย แต่ทั้งหมดไม่มีตัวเรา ดูอย่างนี้เรื่อยๆ เดี๋ยวมันเห็นเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๑ ก่อนฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510414A
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๔๒ ถึงนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๔๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เลือกอารมณ์การปฎิบัติในรูปแบบอย่างไรจึงจะเหมาะสม

mp3 (for download): เลือกอารมณ์การปฎิบัติอย่างไรจึงจะเหมาะสม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เลือกอารมณ์การปฎิบัติในรูปแบบอย่างไรจึงจะเหมาะสม

เลือกอารมณ์การปฎิบัติในรูปแบบอย่างไรจึงจะเหมาะสม

โยม : มีคนถามอยู่บ่อยๆว่า ในการปฏิบัติธรรม เวลาทำในรูปแบบนี่น่ะครับ รูปแบบมันมีเยอะแยะไปหมดเลย นั่งสมาธิ บางคนก็พุทโธ บางคนก็ดูลมหายใจ ดูท้องพองยุบ อะไรกันอย่างนี้ครับ หรือกระทั่งบทสวดมนต์ก็มีเยอะแยะ เราจะเลือกอย่างไรครับ อันไหนเหมาะกับตัวเราหรือไม่เหมาะอย่างไรครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : รูปแบบของการปฏิบัตินั้นต้องดูก่อน ปฏิบัติมี ๒ ส่วนนะ ส่วนของสมถกรรมฐานนี่น่ะ ฝึกให้จิตสงบ แต่ส่วนของวิปัสสนากรรมฐานนี่น่ะ ฝึกให้เกิดปัญญา เราก็ดูเลือกอารมณ์เอา ถ้ายกตัวอย่างบางคนขี้โมโหนะ กรรมฐานที่เหมาะกับเราก็คือ จะให้จิตสงบก็เจริญเมตตานะ บางคนขี้โลภ โลภมาก ไม่รู้จะทำอย่างไร อาจจะเจริญมรณสติก็ได้ ก็ใช้ได้ บางคนก็งก อยากตลอดเวลานะ หรือรักสวยรักงามมากนะ วันๆหนึ่งเสริมสวยลูกเดียวเลย เคยเห็นนกหงษ์หยกมั้ย สมัยก่อนเขาเลี้ยงกันเยอะนะ ต้องมีกระจกให้มันด้วยนะ มันจะเสริมสวย อย่างนี้อาจจะพิจารณาอสุภะนะ อย่างนี้ค่อยดูเอา คนไหนฟุ้งซ่านมากอาจทำอานาปานสติ อันนี้เป็นการเลือกสมถะนะ จิตสงบ

อีกอย่างหนึ่งก็ดู นิสัยของเราเป็นแบบไหน เป็นพวกรักสุขรักสบายรักสวยรักงามนะ หรือเป็นพวกคิดมาก ถ้าเรารักสุขรักสบายรักสวยรักงามนี่นะ ถ้าเราจะเจริญปัญญานะ เรามาดูกาย ร่างกายนี้ไม่สุขไม่สบายไม่สวยไม่งาม ถ้าเราเป็นพวกคิดมาก จิตใจว่อกแว่กๆตลอดเวลา คอยรู้ทันจิตไป

เพราะฉะนั้นเราก็เลือกเอานะ ใครถนัดอะไรก็เอาอันนั้นแหละ ไม่มีดีไม่มีเลวแตกต่างกันหรอกนะ ใครถนัดพุทโธก็พุทโธไป พุทโธแล้วได้อะไร ถ้าพุทโธแล้วจิตสงบอยู่กับพุทโธก็ได้สมถะ ถ้าพุทโธแล้วจิตหนีไปคิดรู้ทันก็จะได้จิตที่ตั้งมั่น

ก็จะดูลมหายใจก็ได้ ดูลมหายใจไป ถ้าจิตไปรวมเข้ากับลมหายใจนิ่งก็ได้ความสงบได้สมถะ หายใจไปแล้วจิตหนีไปคิดรู้ทัน จิตไปเพ่งลมหายใจรู้ทัน จะได้จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ขึ้นมา แล้วดูร่างกายหายใจต่อไปอีกก็ได้ เจริญปัญญาไปเลย เห็นเลยร่างกายที่หายใจอยู่นี้เป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา นี่เดินวิปัสสนาเลยนะ อย่างนี้ก็ได้ อย่างอานาปานสตินี่น่ะทำได้ทั้งสมถะและวิปัสสนาเลยนะ

ก็ดูเอาแต่ละคนไม่ดีไม่เลวแตกต่างกัน ชอบทะเลาะกันนะ แต่ละสำนักๆนะ แล้วก็ชอบเถียงกันว่าแบบไหนดีกว่าแบบไหน ไม่มีแบบอมตะถาวรสำหรับทุกๆคน ไม่มีหรอก ทางใครทางมัน ใครถนัดอะไรเอาอันนั้นแหละ แต่ถนัดนอนไม่เอานะ ยกเว้นสักอย่างเถอะ คนนอนบรรลุมรรคผลนิพพานมีมั้ย มี แต่ตามสถิติมีน้อยนะ เว้นไว้สักอิริยาบถหนึ่งก็แล้วกัน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แสดงธรรมเมื่อ วันพุธที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมเทศนานอกสถานที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
File: 540810A
ระหว่างนาทีที่ ๕๐ วินาทีที่ ๐๐ ถึง นาทีที่ ๕๓ วินาทีที่ ๐๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เพ่งจิตไว้ เจริญปัญญาไม่ได้

mp3 for download : เพ่งจิตไว้ เจริญปัญญาไม่ได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เพ่งจิตไว้ เจริญปัญญาไม่ได้

เพ่งจิตไว้ เจริญปัญญาไม่ได้

หลวงพ่อปราโมทย์ : จะทำวิปัสสนากรรมฐาน จะรู้กายรู้ใจตรงความเป็นจริงได้ ต้องไม่ลำเอียง จิตที่ไม่ลำเอียงก็คือจิตที่เป็นผู้รู้นั่นแหละ ไม่ใช่ผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่ง ไม่ใช่ผู้วิพากษ์วิจารณ์ ไม่ใช่ผู้ตัดสิน ทำตัวเป็นแค่ผู้รู้เท่านั้นเอง นะ เรามาฝึกให้ได้จิตตัวนี้นะ

วิธีที่จะทำให้ได้จิตผู้รู้ ก็คือรู้ทันจิตที่หลงไปคิดนี่แหละ จิตเผลอ ตอนแรกพอรู้ทันว่าหลงไปคิดก็จะกลับมาเพ่ง เพ่งไปก่อนไม่เป็นไร เราก็รู้ว่าเพ่งเอา ต่อไปหลงไปคิดใหม่รู้ใหม่ หลงไปคิดใหม่รู้ใหม่ อย่าเพ่งตลอดกาล ถ้าเพ่งตลอดกาลเดี๋ยวมันไม่ยอมเผลอ ให้มันเผลอไว้ เผลอแล้วรู้ว่าเผลอดีที่สุดเลย ดีกว่าไปเพ่งไว้ไม่ยอมเผลอเลย ไปไหนไม่รอดนะ อยู่แค่นั้นแหละ กี่ปีกี่ชาติก็อยู่อย่างนั้นแหละ

มีอยู่คราวหนึ่งนะ หลวงพ่อไปเจอ มีลูกศิษย์คนหนึ่งไปซุ่มภาวนาอยู่ในที่แห่งหนึ่ง เรียนกับหลวงพ่ออยู่พักหนึ่งนะ แล้วก็ไปซุ่มอยู่เป็นปีๆเลยนะ หายไปนาน เราไปเจอเข้า จะบอกว่าบังเอิญก็ไม่มีคำว่าบังเอิญในศาสนาพุทธนะ เรียกว่ากรรมจัดสรรไปเจอกันเข้า กรรมของมันหรือของเราก็ไม่รู้ เห็นแล้วทนไม่ได้นะ มันไปเดินจงกรมนะ เราก็บอก.. เรียกชื่อเขานะ เฮ้ย..ดอกเตอร์ นึกออกมั้ย ไอ้ที่ทำอยู่ตอนนี้นะ เมื่อหลายปีก่อนก็ทำแบบนี้ อีกหลายปีข้างหน้าก็จะเป็นอย่างนี้อีกแหละ ก็เลยได้สตินะ หันมาเจริญสติแทน งั้นก็เพ่งไว้นิ่งๆ นิ่งมาหลายปีแล้วนะ ไม่มีพัฒนาการก็ยังพอใจที่จะนิ่งอยู่อย่างนั้นน่ะ

นี่นะ เพ่งอยู่ไม่เจริญหรอก ได้แต่ความสุข ความสงบ ความสบาย ได้แต่ความดี เป็นคนดีมั้ย ดี ไม่ไปเกะกะระรานใครหรอก แต่มันไม่เจริญหรอก เจริญปัญญาไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าเราไปเพ่งไว้ จิตนิ่งทื่อๆ นิ่ง สงบ แล้วสบาย ไม่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปนาม ถ้าไม่เห็นไตรลักษณ์ของรูปนาม ไม่เรียกว่าวิปัสสนากรรมฐาน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔ ก่อนฉันเช้า

CD: ๓๙
File: 540226A
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๑๔ ถึง นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๓๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ศึกษาหลายตำราแล้วสับสน

mp3 (for download): ศึกษาหลายตำราแล้วสับสน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ศึกษาหลายตำราแล้วสับสน

ศึกษาหลายตำราแล้วสับสน

โยม : ขออนุญาตกราบเรียนหลวงพ่อนะคะ คือว่า แบบตัวเองไปศึกษามาหลายตำราค่ะ แล้วก็ บางทีก็รู้สึกว่า เอ๊…อันนี้ไม่เข้ากับเรา ก็เปลี่ยนไปเรื่อยนะคะ ตอนหลังก็มานั่ง นั่งพุทโธ ก็มีความรู้สึก ทำไมเรา เราไม่ได้สมาธิเสียที แล้วก็ มันก็จะฟุ้งไปเรื่อยน่ะคะ หรือบางทีก็เผลอหลับไปน่ะค่ะ อยากจะขอคำแนะนำ..

หลวงพ่อปราโมทย์ : คือเราจะทำอะไร เราต้องรู้ว่าเราจะทำเพื่ออะไร เราต้องรู้วัตถุประสงค์เสียก่อนนะ อย่างของคุณต้องการจะทำสมาธิเพื่ออะไร เพื่อให้สงบหรือเพื่อให้มีปัญญา จะเอาอะไร อันนี้

โยม : คือ จะให้มีเพื่อปัญญาค่ะ..

หลวงพ่อปราโมทย์ : จะให้มีเพื่อปัญญานะ แต่ก่อนจะมีปัญญาก็ต้องสงบก่อนเหมือนกัน ถ้าใจฟุ้งมากๆมันก็ไม่มีปัญญา การปฏิบัติธรรมเนี่ยต้องเข้าใจก่อน อย่างที่หลวงพ่อบอกเมื่อสักครู่นี้นะ สมาธินี้นะเกิดจากความสุข ของคุณใจมันเที่ยวแสวงหาไปเรื่อย มันอยากลอง อยากลอง ลองไปหน่อยหนึ่ง ลองแล้วเมื่อไหร่จะสงบ ก็ดิ้นต่อไปอีก เปลี่ยนวิธี เอ๊ะ ทำอย่างนี้เมื่อไหร่จะสงบ ก็เลยไม่สงบเสียที

ลองเปลี่ยนใหม่นะ ลองทำเล่นๆ แต่ทำสม่ำเสมอ จะทำอะไรก็เอาสักอันหนึ่ง จะพุทโธก็พุทโธไป จะหายใจก็หายใจ จะดูท้องพองยุบก็ดูไป เอาอะไรก็เอาสักอันหนึ่ง แต่ไม่ใช่ทำแล้วบังคับใจ ทำเล่นๆ ทำไปอย่างมีความสุขนะ มันจะสงบเข้ามา พอมันสงบแล้วมาฝึกสมาธิอีกชนิดหนึ่ง สมาธิมี ๒ ชนิด สมาธิชนิดที่ ๑ สงบ สมาธิชนิดที่ ๒ ตั้งมั่น ไม่เหมือนกัน

สงบนี่นะ จิตอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตเป็นหนึ่ง อารมณ์เป็นหนึ่ง อยู่ด้วยกัน นิ่งอยู่ บางทีก็ไหลเข้าไปรวมเป็นอันเดียวกัน บางทีก็แยกออกมา อย่างนี้เป็นสมถะ

สมาธิชนิดที่สอง จิตตั้งมั่นเป็นคนดู อารมณ์ไม่ได้เป็นหนึ่งนะ จิตเป็นหนึ่งเป็นคนดูอยู่อย่างนี้ แต่อารมณ์นี่นะ ร้อยอารมณ์ พันอารมณ์ หมื่นอารมณ์ แสนอารมณ์ก็ได้ เห็นอารมณ์เคลื่อนไหวเกิดดับตลอด ทั้งรูปธรรมทั้งนามธรรม จิตเป็นแค่คนดูอยู่เฉยๆ เหมือนเรานั่งดูฟุตบอลอยู่บนอัฒจันทร์ เห็นนักฟุตบอลวิ่งไปวิ่งมา นี่น่ะจิตถอนตัวมาเป็นคนดู นี่เป็นสมาธิอีกชนิดหนึ่ง สมาธิชนิดนี้แหละที่จะใช้ให้เกิดปัญญา สมาธิสงบเอาไว้พักผ่อน สมาธิที่จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เป็นผู้รู้ผู้ดู อันนี้แหละถึงจะทำให้เกิดปัญญา

สมาธิมี ๒ ชนิดนะ ต้องเรียนให้ได้ทั้ง ๒ ชนิด เวลามีจำกัดนะ ไปฟังซีดีหลวงพ่อให้เยอะๆ แล้วจับสมาธิ ๒ ชนิดนี้ให้ออก แล้วแต่ละชนิดนะหลวงพ่อบอกไว้หมดเลย ฝึกอย่างไร อยากจะฝึกให้สงบนี่นะ น้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข อยู่อย่างต่อเนื่องเลย เพราะฉะนั้นย้ายสำนักไปเรื่อยๆนี่นะ ทิ้งคำว่าต่อเนื่อง แล้วก็ไม่ว่าจะจับอารมณ์อะไรขึ้นมานี่ อยากให้มันสงบ จิตไม่สงบหรอก (เพราะ)จิตไม่มีความสุข ไปเค้นมัน เห็นมั้ย

ดังนั้น ถ้าจับหลักที่หลวงพ่อสอนนะ อะไรก็สงบไปหมดล่ะ ง่ายไปหมดเลย

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
File: 540216
ระหว่างนาทีที่  ๔๓ วินาทีที่ ๒๕ ถึง นาทีที่ ๔๖ วินาทีที่ ๒๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เริ่มต้นภาวนาอย่างไร ?

mp3 (for download): เริ่มต้นภาวนาอย่างไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เริ่มต้นภาวนาอย่างไร ?

เริ่มต้นภาวนาอย่างไร ?

โยม : กราบนมัสการหลวงพ่อเจ้าค่ะ คือลูกก็สนใจธรรมะมาตั้งแต่เด็กๆ แต่ว่าด้านการปฏิบัตินี่เพิ่งจะเริ่มขั้นอนุบาลน่ะเจ้าค่ะ แล้วก็อยากจะขอคำแนะนำจากหลวงพ่อค่ะว่า จะเริ่มต้นวิธีไหนที่จะเหมาะสมกับจริตของเรา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถือศีล ๕ ไว้ก่อนนะ ตั้งใจไว้ก่อน แล้วก็มีสติ พัฒนาสติขึ้นมา สติเป็นเครื่องมือของการปฏิบัติ ไม่ว่าจะปฏิบัติวิธีไหน ก็ต้องมีสติทั้งนั้นแหละ แล้วก็คอยรู้ทัน อะไรเกิดขึ้นแก่ใจคอยรู้ทันเรื่อยๆ หรือร่างกายเคลื่อนไหวคอยรู้ทันมันนะ ร่างกายยิ้ม ร่างกายหัวเราะ อะไรอย่างนี้ คอยรู้ทันไปเรื่อยๆ สติจะเกิดเร็วขึ้นๆ ต่อมาก็ฝึกสมาธิ จิตแอบไปคิดรู้ทัน จิตแอบไปคิดรู้ทัน จะได้สมาธิขึ้นมา

จำไหวมั้ย อันแรกนะ ถือศีล ๕ ไว้ก่อน จงใจถือไว้ก่อน แล้วมีสติคอยรู้ทันใจของเรา เอาง่ายๆเลยนะ เอาย่อๆเลย ความรู้สึกอะไรเกิดขึ้นรู้ทัน แล้วก็ ร่างกายเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวคอยรู้สึก คอยรู้สึกอย่างนี้เรื่อยๆ แล้วจิตหนีไปคิดคอยรู้สึก ยังงง เอาใหม่

อันแรกเลย ถือศีล ๕ ไว้ก่อนนะ อันที่สองคอยรู้ทันจิตของตัวเองไว้ จิตใจเคลื่อนไหวก็คอยรู้สึก แล้วก็รู้ทันร่างกายด้วย ร่างกายเคลื่อนไหวก็คอยรู้สึก ดูกายก็ได้ ดูจิตก็ได้ ไม่ต้องดูจิตอย่างเดียวหรอก แล้วก็จิตแอบไปคิดคอยรู้สึก รู้จักจิตแอบไปคิดมั้ย รู้สึกมั้ยคิดทั้งวัน รู้จักจิตคิดเนี่ย ไปดูตรงนี้เลย ดูบ่อยๆ จิตจะหนีไปคิดทั้งวันนะ คอยรู้บ่อยๆไว้ ถ้าเห็นตรงนี้ได้บ่อยๆนะ จิตจะตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ตื่นขึ้นมานะ หลุดออกจากโลกของความคิดได้

พอจิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน หลุดออกจากโลกของความคิดแล้วนี่นะ จิตพร้อมที่จะเดินปัญญา เวลาร่างกายเคลื่อนไหวจิตเป็นผู้รู้อยู่ จะเห็นเลยว่าร่างกายไม่ใช่ตัวเรา เห็นเองเลย เวลาที่จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้อยู่นะ จิตใจเคลื่อนไหว เช่นความสุขความทุกข์ กุศล-อกุศลเกิดนะ สติระลึกรู้ปั๊บ จิตตั้งมั่นเป็นผู้ดูอยู่นี่ จะเห็นเลย สุขทุกข์ กุศล-อกุศล ไม่ใช่ตัวเรา

เพราะฉะนั้นเราภาวนา เราต้องรู้นะ เป้าหมายของการภาวนาของพวกเรานี่น่ะ เพื่อล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน นี่นะขั้นแรกนะเราต้องตั้งเป้ามาตรงนี้ก่อน ทุกๆคนนะ ตั้งเป้ามาว่าเราจะฝึกกรรมฐานนี่น่ะเพื่อล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน เพราะคนใดล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตนได้คือพระโสดาบัน เอาตรงนี้ก่อน ยังไม่ต้องถึงขนาดว่าจะข้ามภพข้ามชาติอย่างไร เอาโสดาให้ได้ก่อน อย่าเพิ่งไปชกมวยข้ามรุ่น

เพราะฉะนั้นตั้งหลักตรงนี้ พอเรารู้ว่าเราจะต้องดูจนกระทั่งเห็นว่าไม่มีตัวไม่มีตน ความจริงไม่มีตัวไม่มีตนอยู่แล้ว ความเป็นตัวเป็นตนเกิดจากการคิดขึ้นมาเอง เพราะฉะนั้นเราพยายามฝึกรู้สึกตัว รู้สึกตัว จิตหลุดออกจากโลกของความคิด เวลาเห็นกายจะเห็นเลย กายไม่ใช่ตัวตน เห็นจิตก็จะเห็นว่าจิตไม่ใช่ตัวตน ความเป็นตัวตนเกิดจากความคิดทั้งสิ้นเลย เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ฝึกเอาง่ายที่สุดเลยนะ ถ้าจิตหนีไปคิดน่ะ คอยรู้ทันไว้ ไปฝึกตัวนี้ให้เยอะเลยนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
File: 540216
ระหว่างนาทีที่  ๔๙ วินาทีที่ ๑๙ ถึง นาทีที่ ๕๒ วินาทีที่ ๒๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การตามดูจิต

mp 3 (for download) : การตามดูจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

การตามดูจิต

การตามดูจิต

โยม : อยากเรียนถามอาจารย์ว่า การดูจิตน่ะครับ ไม่ทราบว่า สิ่งที่เราตามไปดูมันคือจิตที่แว้บไปแว้บมาใช่มั้ยครับ แล้วสิ่งที่ดูนี้คืออะไร

หลวงพ่อปราโมทย์ : สิ่งที่ดูนั้นคือจิตนั่นเอง เราใช้จิตดูจิต จิตดวงใหม่ไปดูจิตดวงก่อนที่เพิ่งดับไปสดๆร้อนๆ เช่น จิตตะกี้นี้เผลอไป เกิดจิตดวงใหม่ไปรู้ว่าจิตตะกี้นี้เผลอไป เป็นจิตคนละดวงกัน ท่านถึงใช้คำว่า “จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง” จิตนั่นแหละเป็นคนเห็นจิต แต่ว่าเป็นจิตคนละดวง ไม่ใช่จิตดวงเดิม ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ทั้งวันทั้งคืน


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ หลังฉันเช้า


CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๖
ระหว่างนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๔๖ ถึง นาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๒๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรารู้ว่ากายใจเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง แต่ทำไมเรายังยึดติดอยู่?

mp3 (for download): เรารู้ว่ากายใจเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง แต่ทำไมเรายังยึดติดอยู่?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เรารู้ว่ากายใจเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง แต่ทำไมเรายังยึดติดอยู่?

เรารู้ว่ากายใจเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง แต่ทำไมเรายังยึดติดอยู่?

โยม: ขอถามคำถามอาจารย์ ทั้งๆที่เราก็รู้อยู่แล้วนะ ว่า สังขารนี้ไม่เที่ยง นะ ตัวสังขารเป็นทุกข์อยู่นะครับ นะ แต่บางครั้งบางคราวเนี่ย ทำไมเรายังยึดติดกับมันอยู่

หลวงพ่อปราโมทย์: เพราะเราไม่เห็นจริงนะ เราเห็น กับจิตเห็น คนละอันกัน เราเห็นด้วยเหตุด้วยผล แต่จิตเราไม่ยอมเชื่อ จิตเราจะมี bias มากเลย รัก รักตัวเองอย่างรุนแรง เพราะฉะนั้นระหว่างเราเชื่อกับจิตเชื่อ ไม่เหมือนกัน ทุกวันนี้ที่เราภาวนากันแทบเป็นแทบตาย คอยรู้กาย คอยรู้ใจ ให้เห็นว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เพื่อให้จิตมันยอมรับความจริง มันจะต้องเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ถึงวันหนึ่งมันถึงจะยอมจำนนกับข้อเท็จจริง จิตนั้นมันดื้อ เราไม่ค่อยดื้อนะ เราเจอความทุกข์ เราก็รู้สึกความทุกข์ไม่ดีแล้ว เราอยากนิพพาน แต่จิตไม่อยากนะ จิตอยากอยู่กับโลก เพราะจิตกับเรามันคนละตัวกัน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๙

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๗
ลำดับที่  ๒
File: 491222
ระหว่างนาทีที่  ๐๕ วินาทีที่ ๐๖ ถึง นาทีที่ ๐๖ วินาทีที่ ๐๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ใครถนัดกรรมฐานอะไรก็เอาอันนั้นแหละ ไม่ผิดหรอก

mp3 (for download): ใครถนัดกรรมฐานอะไรก็เอาอันนั้นแหละ ไม่ผิดหรอก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ใครถนัดกรรมฐานอะไรก็เอาอันนั้นแหละ

ใครถนัดกรรมฐานอะไรก็เอาอันนั้นแหละ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ในการเรียนจะเลือกเรียนอะไร ใครถนัดอะไรก็เอาอันนััน ไม่ผิดหรอก แต่เดิมถ้าเราภาวนาเรายังไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง เราก็จะเชื่อมั่นเฉพาะเส้นทางที่เราเดิน เส้นทางอื่นๆ เราปฏิเสธไว้ก่อน อย่างนี้ทำให้แต่ละสำนักแต่ละคนจะใจแคบ ต้องวิธีของฉันเท่านั้นที่จะบรรลุ ต้องวิธีนี้เท่านั้นที่จะบรรลุ

เหมือนเราขึ้นภูเขานะ เราก็เลือกเส้นนี้แหละดีที่สุด เราก็ใต่ขึ้นเขากระดึบๆๆ ไป พอถึงยอดเขาจริงๆ โอ้โห มันขึ้นได้รอบตัวเลย ขึ้นได้ทั้ง 4 ทิศเลย กรรมฐานจริงๆนะมีเยอะมาก ก็อยู่ในสติปฐาน 4 นั่นแหละ คือ 4 ทิศเลย ขึ้นได้ทั้ง 4 ทิศนะ ทิศใดทิศหนึ่งก็ขึ้นมาถึงยอดเขาได้ พอขึ้นมาบนยอดเขาได้แล้ว คราวนี้รู้แล้วว่ามันมาได้ทุกทิศทุกทาง ไม่ปฏิเสธกันหรอก

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๔
ลำดับที่  ๓
File: 510222
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๒๑ ถึง นาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๑๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไตรสิกขา

ไตรสิกขา

ไตรสิกขา

mp 3 (for download) : ไตรสิกขา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เมื่อเดือนก่อนไปกราบท่านอาจารย์มหาบัว ท่านไม่สบายนะวันที่ไปน่ะ เป็นวันฉัตรมงคลหรือเปล่า ใช่ไหม เป็นวันฉัตรมงคล ตอนเช้าท่านออกมารับโยมนะ ฉันไปนิดหน่อยหรือไง ท่านเป็นลมล่ะ พระต้องเอาท่านกลับกุฏิล่ะ ไปนวด ให้ออกซิเย่นน่ะ นวด ท่านค่อยยังชั่วขึ้นมา บ่าย ๓ โมงกว่า

เข้าไปกราบท่าน ๓ โมงครึ่ง  ทีแรกท่านก็เนือย ๆ เหนื่อย ๆ นะ สังขารเป็นอย่างงั้นนะ สักพักน่ะ ก็ดู ๆ ไปในความชราของท่าน ในความเจ็บไข้ของท่านนะ ท่านมีความสุขจังเลย มีความสุขที่พวกเราไม่มีนะ ไอ้คนแข็งแรงก็ไม่มีความสุขอย่างนี้นะ คนหนุ่มคนสาวเขาก็ไม่มีความสุขอย่างนี้ เราดูแล้วเราเห็นตัวอย่างที่ดีนะ ดูครูบาอาจารย์มาแต่ละองค์ ๆ ท่านมีความสุข ยิ่งอยู่ไปยิ่งมีความสุขนะ พัฒนาไปเรื่อย งั้นเรามาเดินตามแนวของท่านนะ ท่านเดินยังไง ท่านเดินอยู่ในหลักของไตรสิกขานั่นเอง ศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ได้เดินนอกแนวทางนี้ไปได้หรอก ทุกองค์ ๆ ก็เดินอยู่ในแนวทางอันนี้

มีศีลนะ มีความสุข เคยได้ยินไหม เวลาทำบุญพระชอบสวด สีเลน สุคตึ ยนฺติ มีศีลแล้วจะมีความสุข มีสุคติ ไม่ใช่ทุคติ ตอนนี้ในบ้านในเมืองเรา ทุคติ รู้สึกไหม เป็นโซนทุคติแล้วนะ เพราะไม่มีศีล งั้นพวกเราพัฒนาใจของเรานะ ตั้งใจเอาไว้ ทุกวันเลย ตื่นนอนขึ้นมานะ ตั้งใจไว้ วันนี้เราจะไม่ทำผิดศีลห้า ตั้งใจอย่างนี้ทุกวันนะ ส่วนกลางวันศีลจะด่างพรอย กระท่อนกระแท่นก็ช่างมันนะ แต่ตื่นนอนต้องตั้งใจไว้ก่อน ย้ำกับตัวเองเอาไว้ว่าเราจะไม่ผิดศีล และพยายามรักษาให้เต็มที่ ก่อนจะนอนก็ตั้งใจอีก นอนไปวันนี้เราก็จะไม่ทำผิดศีล บางคนสงสัยทำไมจะนอนแล้วยังต้องรักษาศีล เกิดนอนแล้วไม่ได้ฟื้นขึ้นมา เป็นโรคไหลตายน่ะ อย่างน้อยก็ยังตั้งใจว่าจะรักษาศีลอยู่

รักษาศีลเนี่ย คือ เราตั้งใจไว้ว่าเราจะไม่เบียดเบียนคนอื่นนะ ด้วยกาย ด้วยวาจาเนี่ย เราจะไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่ว่ากิเลสจะเกิดขึ้นในกายใจเรารุนแรงแค่ไหน เราจะไม่เบียดเบียนผู้อื่นนะ ตั้งใจไว้อย่างนั้น วิธีที่จะรักษาศีลให้ง่ายนะ ให้มีสติ ถ้ากิเลสเกิดขึ้นที่จิตใจของเรานะ เรามีสติรู้ทันไว้ กิเลศจะครอบงำจิตไม่ได้ ถ้ากิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก คนทำผิดศีลได้เพราะกิเลสครอบงำจิต เพราะงั้นพวกเราฝึกนะ คอยรู้ทันจิตของตัวเองไว้ กิเลสโผล่ขึ้นมาคอยรู้ไว้ เราจะถือศีลง่าย ถ้าเราไม่มีสติซะอย่างเดียวนะ โอกาสจะถือศีลจะยากมาก ศีลจะด่างพร้อยอย่างรวดเร็วเลย

ศีลข้อไหนด่างพร้อยง่ายที่สุด นึกออกไหม ข้ออะไร อืม รู้ทั้งรู้นะ แต่ก็ด่างนะ เพราะฉะนั้นเราต้องมีสตินะ คอยรู้ทันจิตใจเรา กิเลสอะไรเกิดเราคอยรู้นะ ราคะอะไรเกิดเราคอยรู้นะ เพราะรู้ทัน ราคะจะไม่ครอบงำจิต เราก็ไม่ไปขโมยใคร ไม่เป็นชู้ใคร ไม่ไปโกหกหลอกหลวงเอาสมบัติของใครน่ะ โทสะเกิดขึ้นเรามีสติรู้ทันนะ เราก็ไม่ฆ่าใคร ไม่ตีใคร ไม่ด่าใครนะ เราคอยมีสติรู้ทันไปเรื่อย รักษาศีลง่าย

รักษาศีลเนี่ย ศีลทำให้กายวาจาเรียบร้อย แต่เวลารักษา รักษาที่ใจ ถ้ารักษาใจได้นะ กายวาจาเรียบร้อยไปเองแหล่ะ ถ้ากายวาจาไม่เรียบร้อย ก็เพราะใจมันไม่เรียบร้อย เรามีสตินะ รักษาใจของเรา อันนี้หลวงพ่อยังใช้คำว่ารักษาใจอยู่นะ รักษาจิตใจ ยังไม่ใช่ขึ้นวิปัสสนา ถ้าถึงขั้นวิปัสสนา ไม่ใช่ขั้นรักษาแล้ว เป็นขั้นเรียนรู้ความจริง ในขั้นถือศีลนะ มีสติรักษาใจตัวเองไว้

ถัดจากนั้นเรามาฝึกสมาธิ อย่าไปกลัวคำว่าสมาธิ สมาธิเป็นเรื่องธรรมดานะ สมาธิมี ๒ จำพวก สมาธิชนิดที่หนึ่งนะ เป็นสมาธิเพื่อการพักผ่อนนะ ทำสมาธิเพื่อพักผ่อน เช่น เรา พุท โธ พุท โธนะ จิตใจเราสบายอยู่กับพุท โธ สงบ ได้พักผ่อน หายใจออก หายใจเข้า จิตใจสงบ อยู่กับลมหายใจ ได้พักผ่อน ดูท้องพองยุบนะ จิตใจสงบอยู่กับท้อง ได้พักผ่อน ไปเดินจงกรมนะ จิตใจสงบอยู่กับร่างกาย จะอยู่กับเท้า หรืออยู่กับร่างกายทั้งร่างกายก็ได้ แบบนี้ก็ได้พักผ่อน คือจิตได้ไปอยู่สงบ อยู่กับอารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่อง สบายอยู่ในอารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่อง จิตสงบได้พักผ่อน

จิตปกตินั่น ร่อนเร่อยู่ตลอดเวลานะ หยิบฉวยอารมณ์โน้น หยิบฉวยอารมณ์นี่ตลอดเวลานะ สังเกตดู ใจของเราเดี๋ยวก็อยากดู เดี๋ยวก็อยากฟัง เดี๋ยวก็อยากได้กลิ่น เดี๋ยวก็อยากได้รส เดี๋ยวก็อยากสัมผัสโน่นสัมผัสนี่ เดี๋ยวก็อยากทางใจ อยากชิม อยากนึก อยากปรุง อยากแต่ง อยากสงบ อยากได้มรรคผลนิพพานนะอยากดี ไม่อยากชั่ว อยากสุขไม่อยากทุกข์ มีความอยากเกิดขึ้นตลอดเลย

จิตมันหิวอารมณ์ มันก็ดิ้นหาอารมณ์ไปเรื่อย ไม่สงบ เราก็เลือกดู ว่าถ้าเราอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุขนะ เราก็อยู่กับอารมณ์ชนิดนั้นนะ พอจิตได้ยินอารมณ์ ได้เสวยอารมณ์ที่มีความสุขแล้ว จิตก็ไม่ร่อนเร่ไปที่อื่น

หลักของการทำสมถะนะ ทำสมาธิให้เป็นสมถกรรมฐานเพื่อพักผ่อนเนี่ย เราเลือกดูว่าเราอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุข ต้องเป็นอารมณ์ที่เป็นกุศลนะ อย่างหลวงพ่อตั้งแต่เด็กนะ อยู่กับลมหายใจนะ แล้วมีความสุข ดังนั้นเวลาต้องการการพักผ่อน หลวงพ่อก็มารู้ลมหายใจ จิตไม่หนีไปที่อื่น จิตอยู่กับลมหายใจ อยู่ในอารมณ์อันเดียว ไม่ร่อนเร่ ไปตะครุบอารมณ์โน่นทีอารมณ์นี่ที จิตใจสงบมีความสุขขึ้นมา ได้พักผ่อน อันนี้เป็นสมาธิแบบหนึ่งนะ

สมาธิแบบที่สองเป็นสมาธิของการเตรียมความพร้อมทางจิตใจ เพื่อจะไปทำการเจริญปัญญา หรือทำวิปัสสนา สมาธิอันที่หนึ่งทำไปเพื่อพักผ่อน ให้มีความสุข มีความสงบ สมาธิอันที่สองเป็นการเตรียมจิตให้พร้อมกับการเจริญปัญญานะ จิตที่จะเจริญปัญญาได้ต้องเป็นจิตที่ตั้งมั่นนะ ไม่ใช่สงบแล้วก็เพลินอยู่กับความสุขความสงบ จิตที่ใช้เดินปัญญาได้เป็นจิตที่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้สึกตัว เป็นจิตที่รู้สึกตัว จิตชนิดนี้จะไม่ไหลตามอารมณ์ แต่ว่าอารมณ์มันจะไหลผ่านมา จิตเป็นแค่คนดู จิตไม่ไหลตามอารมณ์ ไม่เหมือนอารมณ์ชนิดแรกนะ อารมณ์ชนิดแรกน่ะ จิตไปแนบอยู่กับตัวอารมณ์ รู้ลมหายใจ จิตไปอยู่กับลมหายใจ รู้ท้องจิตไปอยู่ที่ท้อง รู้มือจิตอยู่ที่มือ แล้วไม่หนีไปที่อื่น สงบอยู่อย่างนั้น

สมาธิอย่างที่สองที่จะใช้เดินปัญญาเนี่ยนะ จิตตั้งมั่นเป็นแค่คนดู เห็นอารมณ์ทั้งหลายผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป จิตตั้งมั่นเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู ไม่ไหลตามอารมณ์ไป คล้ายๆ เราอยู่บนฝั่งริมแม่น้ำ ริมคลอง เรายืนอยู่บนฝั่งเห็นสิ่งต่าง ๆ ลอยน้ำมา ท่อนไม้ลอยน้ำมาบ้างนะ หมาเน่าลอยมาบ้าง ดอกไม้ลอยมาบ้างนะ เห็นเรือผ่านมาบ้าง เห็นคนว่ายน้ำผ่านมาบ้าง เราอยู่บนบก เราไม่โดดลงในน้ำ เราเห็นทุกอย่างไหลผ่านหน้าเราไปเฉยๆ

สมาธิชนิดนี้นะ จิตจะตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดู เห็นปรากฎการณ์ทั้งหลาย ไหลผ่านหน้าไป เช่น เห็นความสุขไหลผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความทุกข์ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความสงบผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความฟุ้งซ่านผ่านมาแล้วก็ผ่านไปนะ เห็นความโลภ ความโกรธ ความหลงผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความดีใจ ความเสียใจ ความกลัว ความเกลียด ความพยาบาทนะ เห็นทุกสิ่งทุกอย่างนั่นแหล่ะ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป จิตเป็นคนดู ดูอยู่ห่าง ๆ นะ

เราต้องค่อย ๆ ฝึกนะ ให้มีจิตชนิดนี้ จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ย เป็นจิตที่หลุดออกจากโลกของความคิด เป็นจิตที่หลุดออกจากโลกของความคิดนะ จิตที่ไหลไปแช่ไปนิ่งอยู่ในอารมณ์ มักจะเพลินไปในโลกของความคิด ยิ่งคิดถึงพุทโธ คิดถึงลมหายใจ คิดถึงท้องพองยุบนะ แล้วก็เพลินไป ส่วนจิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนะ มันจะหลุดออกจากโลกของความคิดได้

วิธีที่จะฝึกไม่ยากเท่าไรนะ ฝึกสังเกตจิตที่ไหลไปคิด จิตที่หลงไปคิด วิธีฝึกนะ เบื้องต้นทำกรรมฐานสักอันหนึ่งก่อน กรรมฐานอันที่เคยทำนั่นแหล่ะ เคยพุทโธ ก็พุทโธ เคยรู้ลมหายใจก็ลมหายใจ เคยดูท้องพองยุบก็ดูท้องพองยุบไปนะ เคยทำกรรมฐานอะไรก็ทำไป แต่ไม่ได้ทำเพื่อให้จิตเข้าไปแนบ เข้าไปนิ่ง อยู่กับตัวกรรมฐาน ปรับ ปรับการทำนิดหนึ่งนะ ปรับการทำนิดหนึ่ง เช่น เราอยู่กับพุทโธ พุทโธไป แล้วรู้อะไร รู้ทันจิต รู้ทันจิตเลยนะ พุทโธ พุทโธไป จิตสงบอยู่ รู้ว่าสงบอยู่ พุทโธ พุทโธ พุทโธ จิตหนีไปคิด รู้ว่าจิตหนีไปคิด หรือบางคนอยู่กับลมหายใจนะ แต่เดิมรู้ว่าลมหายใจ จิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ ที่นี่เป็นแบบแรก สงบ ถ้าสมาธิแบบที่สองนะ เห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดูอยู่ หายใจไปด้วยความรู้สึกตัวนะ หายใจไปด้วยความรู้สึกตัว จิตไม่ไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ แล้วต่อมาจิตหนีไปคิด จิตไหลไปคิดปึ้บ มีสติรู้ทันว่าจิตไหลไปคิด เมื่อไรรู้ทันว่าจิตหนีไปคิดนะ เมื่อนั่นจิตจะตื่นขึ้นมา

ที่หลวงพ่อบอกว่า ตื่น  ๆ บางคนไปโม้นะ บอกว่าตัวเองได้พระโสดา เพราะหลวงพ่อบอกว่าตื่นแล้ว ตื่นนี่แค่เบื้องต้นมีสมาธิเท่านั้นเอง เบื้องต้นเพื่อเจริญปัญญาต่อไป หลวงพ่อเทียนจึงบอกว่า ถ้ารู้ว่าจิต คิดจะได้ต้นทาง ต้นทางของการปฏิบัตินะ ไม่ใช่ได้โสดา เพราะงั้นเรารู้สึกตัวขึ้นมานะ จิตไหลไปคิดเรารู้ พุทโธ พุทโธ จิตหนีไปคิดเรารู้ หายใจไปหายใจออกหายใจเข้า จิตหนีไปคิดเรารู้ ดูท้องพองยุบไป จิตหนีไปคิด เราคอยรู้ เพราะงั้นจิตไหลไปอยู่ที่ท้องก็คอยรู้นะ จิตไปเพ่งก็รู้ จิตคอยคิดจิตก็รู้

สรุปแล้วก็คือ ทำกรรมฐานขึ้นสักอันหนึ่ง แล้วจิตไปเพ่งก็รู้ จิตเผลอไปก็รู้ เมื่อก่อนหลวงพ่อพูดเรื่อยๆ เผลอกับเพ่ง จำได้ไหม ถ้าไม่เผลอ ไม่เพ่งจิตก็ตื่นขึ้นมา เป็นผู้รู้ผู้ตื่น จิตมีสมาธินั่นเอง เพราะงั้นเราทำกรรมฐานขึ้นสักอันหนึ่ง แล้วจิตไปเพ่งอารมณ์ ไปเพ่งลมหายใจเข้าออกก็รู้ ไปดูท้องพองยุบแล้วจิตไปอยู่ที่ท้องก็รู้ เดินจงกรมแล้วจิตไปอยู่ที่เท้าก็รู้ รู้ทันนะ พอรู้ทันแล้วจิตมันจะถอนตัวขึ้นมาเป็นผู้รู้ได้ทันได้เอง

หรือจิตหลงไปคิด หายใจอยู่ พุทโธอยู่ ดูท้องพองยุบอยู่ จิตหลงไปคิดแล้ว รู้ทัน พอรู้ทันแล้วจิตจะถอนตัวขึ้นมา เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนะ จิตตัวนี้จะโปร่ง โล่ง เบา อ่อนโยน นุ่มนวล คล่องแคล่ว ว่องไว ไม่หนัก ไม่แน่น ไม่ซึม ไม่ทื่อนะ จิตชนิดนี้แหล่ะ พร้อมที่จะเจริญปัญญาแล้ว

เพราะฉะนั้นสมาธินั่นก็มี ๒ ส่วน สมาธิที่ทำไปเพื่อความสุข ความสงบ อันหนึ่ง สมาธิเพื่อเตรียมจิตให้พร้อมกับการเดินปัญญาเป็นอีกอย่างหนึ่งนะ พอจิตพร้อมกันการเดินปัญญา รู้ตัวแล้วเนี่ย ไม่หยุดอยู่แค่นั้น ต้องมาเดินปัญญานะ

การมาเดินปัญญานั่นเบื้องต้น ต้องหัดแยกธาตุ แยกขันฑ์ให้ได้ อย่างน้อยต้องแยกเรื่องรูปธรรม นามธรรมออกจากกันให้ได้นะ พอใจเราตั้งมั่นให้เป็นผู้รู้ผู้ดูแล้ว เราคอยรู้สึกลงไป เห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายพองยุบ ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายเคลื่อนไหว ร่างกายหยุดนิ่ง จิตใจเป็นคนดูนะ ทำตัวเป็นคนดูนะ ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง ใจเป็นคนดู หัดอย่างนี่บ่อย ๆ นะ นั่งสมาธิไปก็ได้ นั่งไปแล้วก็เห็นร่างกายหายใจ สังเกตไหม ใจเราอยู่ต่างหาก ใจเราตั้งมั่นอยู่ เป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ ร่างกายมันหายใจ ร่างกายไม่ใช่จิตใจ

นี่หัดอย่างนี้นะ หัดแยกขันธ์ พอเราแยกได้ เราจะเห็นว่าร่างกายกับจิตใจเป็นคนละอย่างกัน ร่างกายกับจิตใจอยู่ห่าง ๆ นะ ไม่ได้อยู่เป็นเนื้อเดียวกันอย่างแต่เดิม ตลอดชีวิตที่รู้สึกมาแล้ว ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่งนะ นั่งต่อไปด้วยความอดทนนะ นั่งต่อไปสักพักใหญ่  ๆ มันเมื่อย เราจะเห็นเลยความปวดความเมื่อยมันแทรกเข้ามา เนี่ยแทรกเข้ามาในร่างกาย ร่างกายตั้งมั่นอยู่ก่อน ตั้งอยู่ก่อน ความเมื่อยมาทีหลัง เพราะฉะนั้นความเมื่อยไม่ใช่ร่างกายหรอก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา จิตก็เป็นคนดูอยู่อย่างเดิมนะ เราก็จะเห็นได้ว่าร่างกายก็เป็นส่วนหนึ่งนะ นี่คือรูปขันธ์นะ ความปวดความเมื่อยเรียกว่า เวทนาขันธ์ จิตเป็นวิญญาณขันธ์

แยกได้ ๓ ขันธ์นะ พอมันปวดมันเมื่อยมาก ๆ นะ จิตใจมันทุรนทุราย ชักทุรนทุรายแล้ว โอ๊ย นั่งนาน ๆ เดี๋ยวเป็นอัมพาตนะ อย่างโน่นอย่างนี่ ชักกังวลล่ะ ความกังวลไม่ได้เกิดที่ร่างกาย รู้สึกไหม ความกังวลเกิดที่ใจ แต่เดิมใจไม่ได้กังวล แต่ตอนนี้ใจมันกังวล ความกังวลเป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาในใจ เพราะฉะนั้นความกังวลไม่ใช่ใจหรอก มันเป็นขันธ์อีกขันธ์หนึ่ง เรียกว่า สังฆารขันธ์ นะ หัดอย่างนี่นะ หัดซ้อมไปเรื่อย ต่อไปเราจะแยกขันธ์ได้หมดเลย รูปก็ส่วนรูปนะ ร่างกายมันก็ยืน เดิน นั่ง นอน หายใจไป กินอาหารไป ขับถ่ายไป ทำงานของมันไป เวทนาเป็นความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ที่เกิดในร่างกายบ้าง ความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ รู้สึกเฉย ๆ ที่เกิดในจิตใจบ้าง สังขารนั่นเป็นความปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงไม่ดี ปรุงไม่ชั่วที่เกิดขึ้นทางใจ ไม่เกิดทางกายนะ จิตก็เป็นผู้รู้ ผู้ดูอยู่

นี่ฝึกอย่างนี่เรื่อย ๆ ขันธ์แต่ละขันธ์นั่นจะแยกตัวออกไป พอขันธ์แยกตัวออกไป เรียกว่า พวกเรามีปัญญาขั้นต้นล่ะ ถัดจากนั้น ขันธ์แต่ละขันธ์จะแสดงไตรลักษณ์ ร่างกายแสดงความไม่เที่ยง แสดงความทุกข์ แสดงการบังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวเรา เวทนา สังญา สังขาร วิญญาณไรเนี่ย ก็ล้วนแต่แสดงไตรลักษณ์ อนิจจัง อนัตตา เสมอกันหมดเลยนะ

แต่ถ้าจิตเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด จิตเองก็ไม่เที่ยงนะ เดี๋ยวก็เป็นผู้สุข เดี๋ยวก็เป็นทุกข์ เดี๋ยวก็เป็นผู้ดี เดี๋ยวก็เป็นผู้ร้าย จิตก็มีความไม่เที่ยง เนี่ยเราเรียนรู้ลงในขันธ์ห้า นะ ในสิ่งที่เรียกว่าตัวเรา ในขันธ์ห้า เนี่ย เรียนรู้ลงไป เห็นแต่ความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ในตัวเรา เนี่ยแหล่ะคือการเดินวิปัสสนากรรมฐาน ดูลงไปในความเป็นจริงของกายของใจนะ ไม่ใช่แค่คิดเอา ต้องดูของกายจริง ๆ ของใจจริง ๆ ดูของจริง

เมื่อเดินปัญญาแก่รอบแล้วเนี่ย ต่อไปวิมุตติจะเกิดขึ้น จิตมันรู้ความจริงแล้วเนี่ยว่า ขันธ์ห้า มันเป็นตัวทุกข์นะ จิตจะวางขันธ์ จิตปล่อยวางขันธ์นะ จิตจะไปรู้พระนิพพานนะ ถ้าจิตไม่ได้หลงไปในโลกของความคิด คือ ไม่ได้หลงไปในบัญญัติ ไม่ได้หลงไปเพ่งกายเพ่งใจ หลงอยู่ในรูปธรรมนามธรรม จิตก็ไปรู้นิพพานนะ จิตไปรู้นิพพาน ไม่ได้ไปรู้บัญญัติ ไม่ได้ไปรู้รูปนาม ก็ต้องไปรู้นิพพาน จิตต้องรู้อารมณ์นะ นี่เราฝึกนะ วันหนึ่งเรานิพพาน นิพพานยังไม่ต้องตาย นิพพานยังมีชีวิตอยู่ ยิ่งอยู่ยิ่งแก่นะ ยิ่งมีความสุขมากขึ้นๆ นะ สดชื่น นึกถึงทีไรสดชื่น จิตใจคึกคักห้าวหาญเหมือนอย่างที่ครูบาอาจารย์ท่านเป็นนะ


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
Track: ๑๓
File: 530516A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๒๘ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ดูจิตได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา ศีล สมาธิ ปัญญา เกิดพร้อม

mp3 (for download) : ดูจิตได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา ศีล สมาธิ ปัญญา เกิดพร้อม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ดูจิตเป็นหลักไว้ แต่ร่างกายเคลื่อนไหวให้รู้สึกนะ

โยม: หลวงพ่อหนูขอการบ้านน่ะค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: นี่ไง ให้ไปดูไง

โยม: แค่นี้เองเหรอคะ

หลวงพ่อปราโมทย์: ถ้าใจแอบไปคิดก็รู้ทันๆ แค่นี้ก็เป็นพระอรหันต์ได้ จะเอาแค่ไหน (หัวเราะ)

โยม: ค่ะ แค่นี้ก็แค่นี้ค่ะ  (หัวเราะ)

หลวงพ่อปราโมทย์: หนูรู้หรือเปล่า ดูจิตเฉยๆ นี่แหละนะ สมถะก็ได้นะ วิปัสสนาก็ได้ ศีลก็มี สมาธิก็มี อย่างดูจิตแล้วมีศีลได้อย่างไร ดูจิตแล้วพอเราเห็นกิเลสเกิดขึ้นมา กิเลสมันเกิดปั๊บ เรารู้ทันมันกิเลสจะครอบงำจิตไม่ได้ เราจะไม่ผิดศีล พอใจมันฟุ้งซ่านขึ้นมา เรามีสติรู้ทัน ความฟุ้งซ่านจะดับไป ใจจะมีสมาธิขึ้นมา เสร็จแล้วเราก็จะเห็นนะ จิตใจมันขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว มันปรุงมันแต่งทั้งวันเลย เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายหมุนเวียนเปลี่ยนไป นี่มันไม่เที่ยงตลอดเลย แล้วมันบังคับไม่ได้ นี่เห็นไตรลักษณ์นะ นี่คือวิปัสสนานะ เพราะฉะนั้น การที่เราคอยรู้ทันจิตตัวเองนี่นะ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่เกิดพร้อมเลย

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๒
Track ๑๗
File: 521127B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๓๖ ถึงนาทีที่ ๓๓ วินาทีที่ ๔๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

บทเรียนที่พระพุทธเจ้าสอน มี ๓ บท ชื่อ ไตรสิกขา

mp 3 (for download) : บทเรียนที่พระพุทธเจ้าสอน มี ๓ บท ชื่อ ไตรสิกขา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
Track: ๑๙
File: 510628.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๕๓ ถึง นาทีที่ ๓๐ วินาทีที่ ๒๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เบื้องต้นหากสติ สมาธิ ปัญญายังไม่อัตโนมัติ ต้องอดทน ต้องฝึกซ้อม

mp3 : (for download) : สติ สมาธิ ปัญญายังไม่อัตโนมัติ ต้องอดทน ต้องฝึกซ้อม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ต้องสู้นะ ต้องสู้ ต้องอดทนน่ะ อยู่ๆมันจะได้ง่ายๆ ไม่ได้หรอก จริงๆที่หลวงพ่อบอกว่าการปฏิบัติมันง่ายๆ ครูบาอาจารย์ท่านก็บอกนะ หลายองค์เวลาไปอยู่ด้วยท่านก็ปรารภขึ้นมา โอ้..การภาวนาง่ายนะ ปราโมทย์ ง่ายนะ เสร็จแล้วจะเงียบๆไปพักหนึ่งแล้วจะพูดต่อ แต่มันก็ยากเหมือนกันน่ะ

มันง่ายนะ ถ้าเราตื่นขึ้นมาแล้ว ใจเราตื่นแล้วเราดูกายทำงานดูใจทำงาน เราไม่ต้องทำอะไร  เราทำตัวเป็นคนดู มันไม่ยากเพราะเราไม่ต้องทำอะไรดูอย่างที่มันเป็น แต่ว่ามันยากมากเลยกว่าที่เราจะตื่นขึ้นมา ในโลกนะมันมีแต่คนหลงคนหลับ ยากเหลือเกินที่คนๆหนึ่งจะตื่นขึ้นมาได้ แต่ไม่ยากนะที่คนที่ตื่นขึ้นมาแล้ว คอยรู้กายรู้ใจเนืองๆ จะบรรลุมรรคผลนิพพานในชีวิตนี้ เพราะฉะนั้นที่ครูบาอาจารย์บางองค์ว่ายากๆ ยากเพราะว่ามันไม่ตื่น บางองค์ท่านก็ว่ามันง่ายนะ ง่ายเพราะอะไร เพราะไม่ได้ทำอะไรเลย

พอสติ สมาธิ ปัญญา มันอัตโนมัติขึ้นมานะ สติมันก็รู้กายรู้ใจเองนะ สมาธิก็ตั้งมั่นโดยไม่ต้องรักษา ปัญญาก็หยั่งรู้ความจริงของกายของใจ ทำงานของมันเอง ไม่เห็นมีอะไรยากเลย แต่ก่อนที่สติจะอัตโนมัติ ก่อนที่สมาธิจะอัตโนมัติ ก่อนที่ปัญญาจะอัตโนมัติ ตรงนี้ยากสุดๆเลย ตรงที่ใจเราตื่นขึ้นมาเนี่ยเราได้สมาธินะ แล้วก็มีสติรู้กายรู้ใจเขาทำงานไปเรื่อยในที่สุดปัญญามันจะเกิด

แรกๆสติก็ไม่อัตโนมัติหรอก ต้องฝึกต้องซ้อม วิธีฝึกวิธีซ้อมก็หัดดูสภาวะเรื่อยไปนะ ความโลภเกิดขึ้นก็รู้ ความโกรธเกิดขึ้นก็รู้ ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ ความดีใจเสียใจ ความสุขความทุกข์อะไรเกิดขึ้นในจิตใจก็คอยรู้ไป ความสุขความทุกข์เกิดขึ้นในร่างกายก็คอยรู้นะ ร่างกายหายใจออกร่างกายหายใจเข้า ร่างกายยืนเดินนั่งนอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด นะ ทั้งกายทั้งใจทำงานนะ คอยมีสติตามดูมันเรื่อยๆไป

ดูมากๆนะ ต่อไปจิตจะจำสภาวะได้แม่น พอจิตจำสภาวะได้แม่น สติจะเกิดเอง ไม่ได้เจตนาให้เกิด อย่างเราหัดเบื้องต้นนะ เราต้องจงใจไว้ก่อนนะ ค่อยๆสังเกตไป จิตใจเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ แรกๆก็ดู วันนี้กับเมื่อวานไม่เหมือนกัน แต่ละวันจิตใจไม่เคยเหมือนกันเลย หัดดูอย่างนี้ พอดูแต่ละวันไม่เหมือนกันได้ก็ดูให้ละเอียดขึ้น ในวันเดียวกันเนี่ย เช้า สาย บ่าย เย็น ก็ไม่เหมือนกัน ดูอย่างนี้นะ ในที่สุดต่อไปก็จะเห็นว่า ในแต่ละขณะ แต่ละขณะ ก็ไม่เหมือนกัน ดูมันจะละเอียดขึ้น ละเอียดขึ้น

ดูไปเรื่อยๆเราจะเห็นเลย มีแต่ความเปลี่ยนแปลง เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ถ้าดูจนชำนิชำนาญนะ ต่อไปไม่เจตนาจะดู พอมีอะไรเกิดขึ้นในกายเกิดขึ้นในใจ สติระลึกได้เอง เนี่ยต้องฝึกจนสติระลึกเองนะ

อย่างหลวงพ่อไปหัดจากหลวงปู่ดูลย์มา ท่านสอนให้ดูจิต มาหัดดูเรื่อย มันสุขก็รู้ มันทุกข์ก็รู้ มันโลภ มันโกรธ มันหลงนะ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นก็รู้ มันดับไปก็รู้ เนี่ยหัดรู้ไปเรื่อย ต่อมาไม่ได้เจตนาจะรู้นะ มันรู้เอง วันที่มันรู้เองนะวันนั้นพายุใหญ่มา ๒๓ กันยายน ๒๕๒๕ มีพายุเข้ามา กางร่มออกจากที่ทำงาน พายุมันตีร่มเนี่ยพับขึ้นไป ในที่สุดเราเลยต้องเก็บร่มนะ เดี๋ยวร่มเราหักอีกอันหนึ่งแย่เลย เก็บร่มไปแล้วเดินตากฝนไป เข้าไปที่วัด วัดโสมฯนี่แหละ ใกล้ๆที่ทำงาน เข้าไปในกุฏิเก่าของท่านเจ้าคุณ สมเด็จพระวันรัตน์ พระวันรัตน์(ทับ) เจ้าอาวาสองค์แรกเลยเป็นกุฏิกรรมฐานของท่าน อยู่ข้างโบสถ์ เดี๋ยวนี้ท่านรื้อไปแล้ว ไปนั่งกอดเข่าอยู่นั่น นั่งกอดเข่า แล้วใจมันกังวลขึ้นมาว่าเปียกฝนเนี่ยนะคงจะเป็นหวัด ทีนี้เราเคยหัดรู้สภาวะจนชินนะ พอใจกังวลปุ๊บนี่นะ สติมันระลึกโดยไม่เจตนาจะระลึก มันรู้ของมันเอง ใจมันระลึกได้เอง

หรืออย่างสมาธิเราก็ต้องฝึก สติเนี่ยเราหัดดูสภาวะไปเรื่อย โลภ โกรธ หลง ฟุ้งซ่าน หดหู่ หัดรู้ไปเรื่อย ถึงจุดหนึ่งพอสภาวะเกิดแล้วสติรู้เองโดยไม่ต้องเจตนาจะรู้ แต่ก่อนจะรู้ได้เองก็ต้องซ้อมนะ ต้องฝึก ไม่ใช่อยู่ก็เอาละ หลวงพ่อปราโมทย์บอกไม่ต้องทำอะไรงั้นก็นอนมันทั้งวัน ไม่ได้กินหรอกนะ ต้องฝึก หัดดูสภาวะไปจนสติเกิด

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
File: 530423.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๒๐ ถึงนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๕๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 212