Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

ทาน ศีล สมาธิ วิปัสสนา นิพพาน

mp3 for download : ทาน ศีล สมาธิ วิปัสสนา นิพพาน

หลวงพ่อปราโมทย์ : ขออนุญาตท่านอาจารย์ครับ หลวงพ่อจะมาเยี่ยมครูบาอาจารย์เฉยๆนะ มาเยี่ยมหลวงพ่อ.. กับหลวงพ่อคำเขียน ๒ องค์ ไม่ได้มาเทศน์หรอก เทศน์ไม่ได้ ผิดธรรมเนียม ครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่กว่าอยู่ต้องนิมนต์ท่านเทศน์หรอก แต่นี่ท่านอนุญาตนะ ครูบาอาจารย์อนุญาตให้เราเทศน์ เราก็เทศน์ได้ แต่เทศน์แล้วต้องทำนะ จะให้หลวงพ่อเทศน์เปล่าๆ บาปนะ คือเราให้พระเหนื่อยฟรีๆแล้วขี้เกียจ

อย่าขี้เกียจนะ ความทุกข์มันบีบคั้นเราอยู่ทั้งวันทั้งคืน คนมีปัญญาถึงจะมองเห็น คนไม่มีปัญญาก็จะเห็นแต่มีความสุขนะ หลงระเริงไปเรื่อยๆ วนไปวันหนึ่งๆนะ เดี๋ยวก็เดือนเดี๋ยวก็ปี ไม่นานก็ตาย สุดท้ายก็ไม่ได้อะไรติดเนื้อติดตัวไป น่าเสียดายที่สุดเลย

พวกเรามีบุญนะ พวกเราอุตส่าห์มาวัด มาหาครูบาอาจารย์ มาอะไรนี่ ได้รักษาศีล ได้ฟังธรรม ก็ต้องมาปฏิบัติ ธรรมะที่เราจะปฏิบัตินะ ก็มีทานมีศีลมีภาวนานะ ทำทานก็ไม่ใช่ว่าต้องเสียเงินเสียทองนะ ยกตัวอย่างเราโกรธคน คนเขาด่าเรา เราอภัยให้เขาอะไรอย่างนี้ ก็เป็นทานอย่างหนึ่ง คนเขาไม่มีความรู้ แล้วเราให้ความรู้เขา ก็เป็นทานอย่างหนึ่ง ทานก็มีหลายอย่าง ไม่ต้องเสียเงินเสียทองอะไร ให้ความรู้เขาให้ความเข้าใจนะ ได้บุญแรง

ต้องรักษาศีล ของเรามาอยู่วัด อุตส่าห์แต่งขาว เรามีสตินะ แต่งชุดขาวๆ ขาดสติเดี๋ยวก็เลอะแล้ว เพราะฉะนั้นท่านให้แต่งขาวๆไว้ก็ดี จะกระดุกกระดิก จะขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวนะ รู้สึก คอยรู้สึกไว้เรื่อยๆนะ เวลาโมโหใครขึ้นมา รู้ทันที่ใจเรา

มาอยู่วัดมาหาความสุขความสงบ หาความดีให้ตัวเอง ฝึกจิตฝึกใจของเราทุกวันๆนะ ภาวนาไปพุทโธๆไปก็ยังดี หายใจไปรู้สึกตัวไป มีสติ คอยรู้ทันใจตัวเองไว้เสมอๆ ถ้าเรามีสติรู้ทันใจของเราได้บ่อยๆนะ กิเลสอะไรเกิดขึ้นในใจเราคอยรู้ทัน ถ้าเรารู้ทันกิเลสที่เกิดขึ้นในใจของเราได้นะ กิเลสจะครอบงำใจเราไม่ได้ ถ้ากิเลสมันครอบงำจิตใจของเราไม่ได้นะ เราจะไม่ผิดศีลหรอก คนมันทำผิดศีลนะเพราะมันถูกกิเลสหลอกเอาไป

ยกตัวอย่างมันไปฆ่าเขามันไปตีเขานะ เพราะโทสะมันครอบงำใจ คอยหลอกลวงเขาอะไรอย่างนี้ หรือไปเป็นชู้กับเขาอะไรอย่างนี้ ก็เพราะโลภะครอบงำใจ เพราะฉะนั้นมันมาจากกิเลสทั้งนั้นเลยนะ ทำให้เราทำผิดศีลผิดธรรมเพราะฉะนั้นเรารักษาศีลให้มั่นคงแข็งแรงนะ ทุกคนต้องมีศีล ถ้าเราไม่มีศีลนะ เราเสียความเป็นมนุษย์แล้ว เราจะไปอบาย

ทีนี้เรามีศีลเท่านั้นไม่พอนะ เราต้องมีฝึกใจของเราให้สงบบ้าง ใจของเราร่อนเร่หนีเที่ยวทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยอยู่กับเนื้อกับตัวเลย เรามาฝึกให้จิตใจอยู่กับตัวเอง การฝึกให้ใจอยู่กับตัวเองนี้แหละที่เรียกว่าฝึกให้มีความสงบมีความตั้งมั่นมีสมาธิขึ้นมา เราก็เอาสตินี้แหละมารู้ทันใจ เป็นวิธีที่ง่ายๆนะ ถ้าใจเราแอบไปคิดเรารู้ทัน ใจเราแอบไปคิดเรารู้ทัน รู้อย่างนี้บ่อยๆนะ พอใจเราไหลไปแว้บมันจะรู้สึกขึ้นมา ใจมันจะตื่น มันจะตั้งมั่น จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ได้สมาธิเบื้องต้น สมาธิที่เรามีสติรู้ทีละแว้บๆ เขาเรียกว่าขณิกสมาธินะ สมาธิชั่วขณะเท่านั้นแหละ ได้สมาธิชั่วขณะก็ดีกว่าไม่มีเลย

คนไหนมีบุญมีวาสนานะ ภาวนาทุกวัน รู้ลมหายใจเข้าหายใจออกนะ พุทโธไป ภาวนาไป จิตใจไม่หนีไปที่อื่น จิตสงบอยู่กับลมหายใจ นั่นแหละจะได้สมาธิที่ละเอียดที่ปราณีตขึ้นไป ได้อุปจารสมาธิ ได้อัปนาสมาธิ จิตใจจะตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน ใจจะเป็นผู้รู้นะ ใจไม่ใช่ผู้หลงคิด ใจที่ไม่มีสมาธิจะเป็นใจผู้หลงคิด ใจที่มีสมาธิมีความตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัวจะเป็นจิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานนะ มันจะมีความสุขอยู่ในตัวเอง

เพราะฉะนั้นเราฝึกจิตฝึกใจของเรานะให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ฝึกไปเรื่อย จะอยู่กับพุทโธก็อยู่นะ จะอยู่ในลมหายใจก็อยู่ ถ้าทำได้ก็ดีจะได้ความสุขความสงบที่ปราณีต ถ้าทำไม่ได้ก็อย่าเสียใจ ให้อาศัยสติคอยรู้ทันจิตเป็นขณะๆไปก็ได้สมาธิเหมือนกัน แต่เป็นสมาธิแค่ขณิกสมาธิชั่วขณะ ดีกว่าไม่มีเลย ก็เหมือนกับคนยากคนจนนะ มีเงินร้อยบาท สองร้อยบาท สิบบาท ก็ยังดีกว่าไม่มีเลย ไม่มีเงินล้านเงินแสนอย่างคืนอื่นก็ไม่เป็นไร เราไม่ได้มีฌานมากมายอย่างคนอื่นก็ไม่ต้องเสียใจ ได้ความสงบที่เป็นขณะๆอย่างนี้ก็พอที่จะไปมรรคผลนิพพานได้นะ

ทีนี้พอจิตใจเราอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ไม่ใจลอยล่องลอยหนีไปเรื่อยแล้วเนี่ย ให้มาคอยเจริญปัญญาต่อ เห็นมั้ยมามีศีลมีสมาธิแล้วมามีปัญญา มีศีลเพราะมีสติรู้ทันกิเลสนะ กิเลสครอบงำจิตไม่ได้ จิตก็มีศีลขึ้นมา มีสติที่รู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่านไป จิตก็สงบขึ้นมาได้สมาธิ ถัดจากนั้นพอจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้วต้องเดินปัญญา ถ้าเราไม่ได้เจริญปัญญาเราจะไม่ได้คุณค่าของศาสนาพุทธหรอก เพราะการรักษาศีล การทำสมาธิเนี่ย ถึงไม่มีพระพุทธเจ้านะ นักปราชญ์ทั้งหลายเขาก็สอนกันได้

ต้องมาเจริญปัญญาให้ได้ มาทำวิปัสสนานะ ถึงจะเป็นชาวพุทธแท้ๆได้รับประโยชน์จากพระศาสนาอย่างแท้จริง การเจริญปัญญาคือการเรียนรู้ตัวเอง สิ่งที่เรียกว่าตัวเราเองก็คือกายกับใจนะ เพราะฉะนั้นเราคอยมีสติรู้อยู่ที่กายมีสติรู้อยู่ที่ใจ รู้ไปอย่างสบายๆ รู้ด้วยจิตใจที่ตั้งมั่นจิตใจที่เป็นกลาง จิตใจที่มีสมาธิหนุนหลัง เพราะฉะนั้นจิตใจของเราต้องตั้งมั่นนะ สงบ ตั้งมั่น แล้วมาคอยรู้กายมาคอยรู้ใจ

เห็นกายทำงานเห็นใจทำงานไปเรื่อย ควรจะเห็นเหมือนเห็นคนอื่นนะ ร่างกายยืนเดินนั่งนอน เหมือนจะรู้สึกเหมือนกับว่าคนอื่นยืนเดินนั่งนอน ไม่ใช่ตัวเราแล้ว เห็นร่างกายหายใจออกร่างกายหายใจเข้า เนี่ยร่างกายมันหายใจไม่ใช่เราหายใจ จะไม่มีความรู้สึกว่าเป็นตัวเราจะเห็นเป็นเพียงวัตถุเท่านั้น เป็นก้อนธาตุนะ มีธาตุไหลเข้ามีธาตุไหลออก หายใจเข้าหายใจออก ก็แค่วัตถุเท่านั้นเอง ไม่ใช่คนไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา

มาดูจิตดูใจนะ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย เฝ้ารู้ไปเรื่อย พวกเราเป็น.. ส่วนใหญ่คนรุ่นนี้เป็นพวกคิดมาก จิตคิดทั้งวันนะ คิดไปแล้วเดียวก็สุข คิดไปแล้วเดี๋ยวก็ทุกข์ มีมั้ยคิดแล้วทุกข์ บางทีเขาด่าเรามาสิบปีแล้วนะมาคิดใหม่ทุกข์ใหม่ เออ.. เป็นมั้ย โกรธใหม่ก็ได้ เรื่องตั้งนานแล้วนะ คิดซ้ำก็เป็นอีกนะ เนี่ยใจของเราชอบหลง หลงๆไปนะ ให้เราคอยมีสติรู้ทันนะ รู้ทันใจ ใจหลงไปคิดเรื่องนี้-รู้ทัน คิดแล้วเกิดความสุขก็รู้ทันว่ามีความสุขแล้ว ความทุกข์เกิดขึ้นในใจเราก็รู้ทันนะ กุศล-อกุศล โลภโกรธหลงอะไรเกิดขึ้นในใจ คอยรู้ทัน รู้เฉยๆ

ในขั้นของการเดินปัญญา ไม่เหมือนในขั้นของการทำสมาธิ ขั้นการทำสมาธินี่นะ จิตไม่ดีทำให้ดี จิตไม่สุขทำให้สุข จิตไม่สงบทำให้สงบ แต่ในขั้นปัญญาเนี่ย จิตไม่ดีรู้ว่าไม่ดี จิตไม่สุขรู้ว่าไม่สุข จิตไม่สงบรู้ว่าไม่สงบ รู้ลูกเดียวเลย รู้อย่างที่มันเป็นนะ เราจะเห็นเลยความสุขที่เกิดขึ้นในใจเราก็อยู่ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราวนะ โลภโกรธหลงอะไรๆก็ชั่วคราว นี่หัดดูลงไปนะ ทุกอย่างในชีวิตนี้เป็นของชั่วคราว นี่ล่ะคือการการเดินปัญญานะ ดูลงไป ค้นคว้าพิจารณาลงไปนะ

ถ้าจิตมันไม่ยอมดูของมันเองก็ต้องช่วยมันคิดช่วยมันพิจารณาก่อนในเบื้องต้น ยกตัวอย่างพิจารณาร่างกายนะ เป็นปฏิกูล เป็นอสุภะ เป็นธาตุเป็นขันธ์ นี่คือช่วยมันคิดก่อน แต่ถ้าจิตมันมีปัญญามีกำลังพอนะ มันจะเห็นเอง ร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา จิตใจที่สุขจิตใจที่ทุกข์นั้น ความสุขความทุกข์ นั้นก็ไม่ใช่เรา จิตเป็นธรรมชาติรู้ จิตรู้ว่ามีความสุข จิตรู้ว่ามีความทุกข์ ตัวที่รู้นี้ก็ไม่ใช่เรา ตัวเราไม่มี ฝึกไปเรื่อยๆนะแล้วเราจะเห็นความจริงว่าตัวเราไม่มีหรอก

ภาวนาจนล้างความเห็นผิดว่ามีตัวเรา มีตัวตน ถ้าตัวเราไม่มีแล้วใครจะทุกข์ล่ะ ก็ขันธ์ ๕ มันทุกข์นะ ไม่ใช่เราทุกข์อีกต่อไปแล้ว เนี่ยเฝ้ารู้เฝ้าดูต่อไปนะ สติปัญญาแก่รอบขึ้นไปเรื่อย มันจะเห็นเลยว่าขันธ์ ๕ มีแต่ทุกข์ล้วนๆ อย่างพวกเราตอนนี้ปัญญาเราไม่พอ ศีลสมาธิปัญญาต้องฝึกให้แก่รอบนะ วันหนึ่งถึงจะพอ ถ้าพอจริงจะเห็นเลย กายนี้ทุกข์ล้วนๆ จิตนี้ทุกข์ล้วนๆ

พวกเราไม่เห็นหรอก พวกเราเห็นว่าร่างกายนี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง ใช่ม้้ย เห็นมั้ยว่าจิตนี้เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง เห็นอย่างนี้ใช่มั้ย นี่เราไม่รู้จริงหรอก พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ท่านไม่ได้บอกว่าทุกข์บ้างสุขบ้างนะ เพราะฉะนั้นเรายังไม่ได้เห็นอย่างที่พระพุทธเจ้าสอนหรอก เพราะฉะนั้นเรายังไม่ได้พ้นทุกข์หรอกนะ เพราะฉะนั้นต้องรู้ลงไปในกายรู้ลงไปในใจบ่อยๆ อย่าใจลอยนะ รู้สึกอยู่ในกายรู้สึกอยู่ในใจบ่อยๆนะ วันหนึ่งเราจะเห็นได้ว่ากายนี้ทุกข์ล้วนๆเลย

ยกตัวอย่างนั่งอยู่ก็ทุกข์นะ เดินอยู่ก็ทุกข์ นอนอยู่ก็ทุกข์ หิวก็ทุกข์ อิ่มก็ทุกข์ ง่วงก็ทุกข์นะ เจ็บป่วยขึ้นมาก็ทุกข์ นั่งอยู่เฉยๆก็คัน มีมั้ยนั่งแล้วไม่คัน คันก็ทุกข์นะ ทีนี้พวกเราพอทุกข์นะ เราก็เปลี่ยนอิริยาบถปับเลย เรายังไม่ทันจะรู้สึกเลยว่าทุกข์ ยกตัวอย่างคันขึ้นมารีบเกาเลย ยังไม่ทันรู้ตัวเลยว่าคันนะ เกาไปก่อนแล้ว เราก็ไม่เห็นทุกข์ มันเมื่อยขึ้นมาเราก็ขยับซ้ายขยับขวานะ เรายังไม่ทันรู้สึกเลยว่าเมื่อยนะ ยังไม่ทันรู้เลยว่ากายนี้เป็นทุกข์ ขยับหนีความทุกข์ไปเสียก่อนแล้ว เพราะฉะนั้นก่อนที่จะขยับตัวนะ รู้สึกตัวเสียก่อน ก็จะเห็นว่ามีแต่ทุกข์ล้วนๆเลยนะ

จิตใจนี้ก็เหมือนกันนะ คอยรู้ทันบ่อยๆจะเห็นว่ามีแต่ทุกข์ล้วนๆเลย ถ้าเห็นว่ามีแต่ทุกข์ล้วนๆเมื่อไหร่ก็ข้ามโลกได้แล้วนะ ถ้ายังเห็นว่าทุกข์บ้างสุขบ้างก็ไปไหนไม่รอดหรอก

ก็ฝึกเอานะ ขั้นแรกเลย รักษาศีล อุตส่าห์แต่งขาวๆน่ะ อย่าปากร้ายนะ ปากร้ายนี้มันมาจากใจร้ายก่อน ใช่ม้้ย แล้วมันลดลงมา เพราะฉะนั้นเรามีศีลไว้ก่อนนะ ต่อไปเราก็มาฝึกใจให้สงบ กายสงบวาจาสงบแล้วด้วยศีล ฝึกให้ใจสงบด้วยสมาธิ แล้วก็ขั้นสุดท้ายฝึกให้จิตเกิดปัญญาด้วยวิปัสสนา กิเลสมี ๓ ขั้นนะ กิเลสอย่างหยาบเนี่ยคือ โลภ โกรธ หลง ของหยาบที่สุด สู้ด้วยศีลนะ กิเลสอย่างกลางชื่อนิวรณ์ สู้ด้วยสมาธิ ใจอยู่กับเนื้อกับตัว ใจไม่ฟุ้งไป จิตมีสมาธิ นิวรณ์ครอบงำไม่ได้ กิเลสที่ละเอียดที่สุดนะ คือความเห็นผิด คืออวิชา ความเห็นผิด คือมิจฉาทิฎฐิ เราสู้ด้วยความเห็นถูก รู้ลงในกายรู้ลงในใจดูว่าจริงๆมันเป็นอย่างไร จริงๆมีแต่ทุกข์นะ ดูไป เอ้า..เท่านี้เนาะ เทศน์แค่นี้ก็ถึงนิพพานแล้วล่ะ เหลือแต่ทำเอา ก่อนจะถึงนิพพาน ศีล ๕ ก่อนเน่อ เดี๋ยวหลวงพ่อต้องไปแล้วล่ะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่เกาะสีชัง จ.ชลบุรี
เมื่อวันจันทร์ที่ ๘ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓

File: 530308
Whole track

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เจ้าชายสิทธัตถะ ฝึกสมาธิชนิดที่เกื้อกูลให้เกิดปัญญามาจนชำนาญก่อนแล้ว

mp3 for download : เจ้าชายสิทธัตถะ ฝึกสมาธิชนิดที่เกื้อกูลให้เกิดปัญญามาจนชำนาญก่อนแล้ว

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :ทางสายกลางเนี่ย ไม่ใช่ท่านพบในวันเดียว (หมายความว่า ท่านเคยเดินทางสายกลางนี้มาก่อนแล้ว ก่อนมาเกิดในชาตินี้ – ผู้ถอด) หลักฐานที่สำคัญก็คือ ตอนที่ท่านอายุ ๓ ขวบเนี่ย ท่านนั่งสมาธิอยู่ที่ใต้ต้นหว้า นั่งเอง ไม่มีอาจารย์สอน แล้วตอนนั้นเป็นเด็ก ไม่มีมารยา ลุกขึ้นนั่งสมาธิก็นั่งไปด้วยความเคยชินของจิตที่ได้รับการฝึกฝนอบรมมาดีแล้ว

หายใจออก หายใจเข้า ด้วยความรู้สึกตัว จุดสำคัญอยู่ที่ความรู้สึกตัว ไม่ใช่หายใจเอาเคลิ้ม เอาสุข เอาสงบ แต่หายใจไปด้วยความรู้สึกตัว ท่านได้เอามาสอนสาวกในชั้นหลังนะ ที่ท่านได้บรรลุพระอรหันต์แล้วท่านก็เอามาสอน บอกว่า ภิกษุทั้งหลายให้เธอคู้บัลลังก์ คู้บัลลังก์ก็คือนั่งขัดสมาธิ ทำไมต้องนั่งขัดสมาธิ เพราะว่าไม่มีเก้าอี้จะนั่ง คนหรือนั่งบวชอะไรต่ออะไร สมัยนั้น เขาก็นั่งกับพื้น นั่งกับพื้น ท่านั่งที่นั่งได้ทนก็คือนั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบก็นั่งได้ไม่ทน

ท่านบอกว่า ภิกษุทั้งหลายให้เธอนั่งคู้บัลลังก์ คือนั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เห็นมั้ย มีสติ (คำว่า “เฉพาะหน้า” หมายถึง “ปัจจุบัน” – ผู้ถอด) หายใจออกยาว รู้ว่าหายใจออกยาว หายใจเข้ายาว รู้ว่าหายใจเข้ายาว หายใจออกสั้น รู้ว่าหายใจออกสั้น หายใจเข้าสั้น รู้ว่าหายใจเข้าสั้น ลมหายใจระงับ รู้ว่าลมหายใจระงับ จิตตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา ไม่ขาดสติ มีสติตลอด

เนี่ยสมาธิชนิดนี้แหละ คือสมาธิชนิดที่จะเอาไปเดินปัญญาต่อ ส่วนสมาธิที่มุ่งไปหาความสุข ความสงบ ความสบาย หรือมุ่งไปหาความดีต่างๆ เป็นสมาธิสาธารณะ ฤๅษีชีไพรเขาก็ทำมาก่อน แต่ไม่ทำให้เกิดปัญญา พวกเราต้องแยกให้ออกนะ สมาธิมี ๒ อย่าง สมาธิที่เป็นไปเพื่อความพักผ่อน เพื่อความสงบ ความสบาย เพื่อความสุข เป็นแบบหนึ่ง สมาธิที่มีจิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน มีสติอยู่ ไม่เผลอ ไม่ลืมเนื้อลืมตัว เป็นอีกแบบหนึ่ง เพราะฉะนั้นสมาธิมี ๒ ชนิด

พวกเรามักจะได้ยินได้ฟังเสมอนะว่า ต้องมีสมาธิจึงจะเกิดปัญญา อันนั้นน่ะพูดถูก แต่ไม่ถูกเต็มที่ ต้องมีสมาธิที่ถูกต้องถึงจะเกิดปัญญาได้ ถ้ามีสมาธิที่สงบ สบาย เพลิดเพลิน นิ่งๆไป ไม่เกิดปัญญาหรอก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๘ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๖
File: 560208
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๙
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๕๘ ถึงนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๓๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่พักไม่เพียร

mp3 (for download) : ไม่พักไม่เพียร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ผู้เผลอลืมกายลืมใจ ที่ไปของเราก็คือ ทุคติ ผู้เพ่งบังคับกายบังคับใจไว้ ที่ไปของเราในอนาคตคือสุคติ แต่ไม่ไปนิพพาน เพราะฉะนั้นการที่เราบังคับกายบังคับใจเรื่อยไป ไม่ตกนรกหรอก ดี แต่มันหยุดอยู่แค่ดีเท่านั้นเอง ไม่สามารถไปถึงนิพพานได้ เพราะฉะนั้นเราอย่าไปสุดโต่งสองฝั่ง ถ้าเราไปสุดโต่งสองฝั่ง ไม่ไปนิพพาน

ครั้งหนึ่งมีเทวดาไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร โอฆะแปลว่าห้วงน้ำ ก็คือกิเลสทั้งหลายนั้นเอง พระพุทธเจ้าบอกว่า เราข้ามโอฆะได้เพราะเราไม่พักและเราไม่เพียร เทวดาฟังแล้วงง ไม่พักอยู่เนี่ยฟังแล้วเข้าใจ แต่ไม่เพียรฟังแล้วไม่เข้าใจ ก็ถามท่านอีกว่า ไม่พักไม่เพียรเป็นอย่างไร ท่านบอกว่า ถ้าพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราไม่พักเราไม่เพียร เราพ้นจากโอฆะข้ามห้วงน้ำได้ด้วยวิธีนี้

ทำไมจมลงไม่ดี จมลงไปทุคติ ฟูขึ้นลอยขึ้น ไปสู่สุคติ ไม่ได้ไปนิพพาน คำว่าไม่พักก็คือไม่ปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลส ไม่หลงไปตามกามสุขัลลิกานุโยค เผลอไปนั่นแหละ คำว่าไม่เพียรของท่านก็คือ ไม่ได้ไปเพ่งกายเพ่งใจ เป็นอัตตกิลมถานุโยค เพราะฉะนั้นเราต้องเดินทางสายกลางให้เป็น


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๒o เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

File: 550120
CD : สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๒ ถึงนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

นิพพานอะไร มีเข้ามีออก

mp3 for download : นิพพานอะไร มีเข้ามีออก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมย์ : บางคนก็น้อมจิตไปสู่ความว่างความนิ่ง แต่จิตนิ่งจิตว่าง เป็นจิตพระอรหันต์ พระอรหันต์อย่างนั้นไม่ใช่ของจริง มีเข้าๆออกๆ วันนี้นิ่งได้ สงบได้ อยู่กับความว่างได้ แต่อีกวันก็ถอยออกมาข้างนอกอีก พระอรหันต์ผลุบเข้าผลุบออกไม่ใช่ของจริง

หลวงพ่อก็เคยทำ ฝึกไปจนกระทั่งเหลือแต่รู้อันเดียวเลย เหลือแต่ธาตุรู้อันเดียวเลย ตอนฝึกทีแรกเรามีผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ มีจิตกับอารมณ์ มีสองอันใช่มั้ย ตัวนี้ไหวยุกยิกอยู่ที่หน้าอกนี่ ตัวนี้เป็นคนดูอยู่ เลยสงสัยว่าจะดูตัวไหน ดูตัวนี้?

พระพุทธเจ้าบอกให้รู้ทุกข์ ตัวนี้ล่ะทุกข์ ตัวรู้ไม่เห็นจะทุกข์เลย ตัวรู้ไม่เห็นจะทุกข์เลย หลวงปู่ดูลย์บอกให้ดูจิต เอ๊..จิตมันเป็นคนรู้ น่าจะดูตัวนี้ สองตัว มีทั้งสองตัวนี้ จะดูตัวไหน สงสัยนะ ก็พยายามสังเกต

ไปดูที่ตัวไหวๆ ไปดูเป็นเดือนไม่ขาด ไม่มีที่สิ้นสุดเลย วัฏฏะหมุนอยู่อย่างนั้น ไม่ใช่ ไปเพ่งใส่ตัวรู้นะ จะเกิดตัวรู้ซ้อนตัวรู้ไปเรื่อยๆ ดูอยู่เป็นปีก็ไม่ใช่อีก หรือว่ารู้ตรงกลาง นี่..มัชฌิมา ไม่เอาตัวรู้ ไม่เอาตัวถูกรู้ มัชฌิมา เวลากำหนดจิตลงไป นั่งดู จิตเคลื่อนไป สติเนี่ยเคลื่อนไป เข้าไปที่ไหวๆกลางหน้าอก เข้าไปดู พอเคลื่อนไปพอจะแตะอารมณ์ที่กลางหน้าอกนะ ถอนขึ้นเลย ทวนเข้าหาตัวรู้ พอเข้ามาใกล้ตัวรู้นะ ไม่จับเอาตัวรู้นะ ทวนออกอีก ทวนเข้าทวนออก มันวูบลงไปตรงกลางเลย ระหว่างตัวรู้กับตัวถูกรู้ นี่ล่ะมั้งทางสายกลาง

นี่เป็นเรื่องของสมาธิทั้งนั้นเลยนะ ทางสายกลางจริงๆเป็นเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา ทางสายกลางไม่ใช่เรื่องของสมาธิ ความโง่ ความไม่รู้ ความไม่มีครูบาอาจารย์ การห่างครูบาอาจารย์นะ ใช้ลองเอา ลองอย่างนี้ไม่ใช่ ลองอย่างนี้ไม่ใช่ ลอง choice ที่สาม ไม่จับทั้งผู้รู้ ไม่จับทั้งสิ่งที่ถูกรู้เลยนะ จิตรวมลงไปนะ ว่างไปหมดเลย ไม่มีอะไรเหลือเลย ไม่มีความคิดความนึกความปรุงความแต่ง มันไม่มีอะไรเลย เหลือแต่ธรรมชาติรู้อันเดียวล้วนๆเลย ดูเข้าออก-เข้าออกอยู่อย่างนี้นะ เสร็จแล้วสงสัย หื้อ..มันใช่หรือเปล่าหนอ?

ไปเจอหลวงปู่เทสก์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี – ผู้ถอด) หลวงปู่เทสก์ท่านก็บอกว่า สมาธิอย่างนี้.. ท่านพูดชัดเลยนะ สมาธิ สมาธิอย่างนี้ตอนนี้ไม่มีคนเล่นนะ ไปเล่นให้ชำนาญไว้ ไปหัดเล่นให้ชำนาญ พอได้ยินว่าสมาธิก็รีบกราบเรียนท่านเลย หลวงปู่ มันเป็นสมาธิ ผมกลัวติด ท่านบอกว่าอย่ากลัวติด ไปซ้อมให้ชำนาญ ถ้าติดอาตมาจะแก้ให้ นี่..ท่านพูดอย่างห้าวหาญเลย เพราะท่านเก่งเรื่องสมาธิไม่มีตัวจับเลย ทำไมหลวงปู่เทสก์เก่งเรื่องสมาธิ ท่านติดสมาธิอยู่ตั้งสิบกว่าปี ตัวท่านน่ะ เพราะฉะนั้นท่านชำนิชำนาญมาก ท่านบอกให้เราเล่น หลวงพ่อก็เล่นอยู่อย่างนั้น ครูบาอาจารย์บอกให้เล่นก็ลองเล่นไปเรื่อย

วันหนึ่งไปเชียงใหม่ เจอหลวงปู่บุญจันทร์ (หลวงปู่บุญจันทร์ จนฺทวโร วัดถ้ำผาผึ้ง youtube – ผู้ถอด)เข้า ไม่ได้เจอท่านหรอก ไปวัดสันติธรรม ท่านมาพักอยู่ที่นั่นพอดี ท่านให้ลูกศิษย์ของท่านที่ตามท่านมา มาดักอยู่หน้าวัด มาเรียกเราไปหาท่าน เราไม่รู้จักท่านนะ อยู่ๆก็ให้พระมาดักเรียกตัวไปเลย พอไปถึงท่านก็ถามว่าภาวนาอย่างไร พอบอกท่านว่าเนี่ย รวมลงไปตรงกลางเนี่ยนะ อู๊ย..ท่านตวาดเอา เฮ้ย! นิพพานอะไรมีเข้ามีออก ไง!จะภาวนายังไง เรานึกว่าท่านฟังเราไม่รู้เรื่อง สำเนียงมันไม่เหมือนกันนะ เราก็ฟังท่านไม่ค่อยออกนะ ท่านก็ฟังเรา อื้อ.. คงไม่ออกมั้ง เล่าซ้ำอีกที ครั้งที่สองท่านตวาดดังกว่าเก่าอีก เฮ้ย!! นิพพานอะไรมีเข้ามีออก ใจมันทิ้งเลย ไม่เอา เส้นทางนี้ไม่ใช่เส้นทางที่จะนำไปสู่มรรคผลนิพพานหรอก มันเป็นกลางจริงนะ เป็นมัชฌิมาจริงนะ แต่เป็นมัชฌิมาของสมาธิอันเดียวไม่ใช่ศีลสมาธิปัญญา ทางสายกลางนั้นเป็นทางของศีลสมาธิปัญญา ไม่ใช่แค่สมาธิ เราถูกท่านดุนะ

ตั้งแต่วันนั้นมาใจไม่เอาตรงนี้เลย ใจไม่ยอมเข้าไปที่ตรงนี้ รู้สึกว่าถ้าอยู่ตรงนี้เสียเวลา หลวงปู่เทสก์ท่านอยากให้ฝึกให้เล่นให้ชำนาญเท่านั้นเอง ท่านก็ได้บอกอยู่แล้วว่านี่คือสมาธิ ไม่ใช่ทางพ้นหรอก ที่นี้เรากลัวช้า ใจมันไม่เอาแล้ว พอหลุดจากตรงนี้นะ ท่านหัวเราะเลย เสียดัง ฮ่า ฮ่า ฮ่า หัวเราะสะใจ ฮ่ะ ฮ่ะ ฮ่ะ ฮ่า เสียงดังอย่างนี้ ท่านหัวเราะเราก็หัวเราะตามท่านไปด้วย ฮ่าๆ บ้าง นะ ท่านหยุดกึกเลยนะ พอเราหัวเราะท่านหยุดปุ๊บเลย ใจท่านนิ่งว่าง ท่านหยุดเราก็หยุด ใจเราก็เฉยเลย ท่านบอกว่า เออ! ใช้ได้ นี่ท่านลองนะ ท่านลองเราว่า จิตเราไวขนาดไหน ท่านหัวเราะเราก็หัวเราะ ท่านหยุดเราก็หยุดด้วย ท่านบอกใช้ได้ ไป ไปทำต่อเอา

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๓
File 550106
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๒๐ ถึงนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๒๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ข้ามโอฆะได้ด้วยการไม่พักไม่เพียร

mp 3 (for download) : ข้ามโอฆะได้ด้วยการไม่พักไม่เพียร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ครั้งหนึ่งมีเทวดา ไปทูลถามพระพุทธเจ้า เทวดานี้ท่านนึกว่าตัวเองเป็นพระอรหันต์ ก็ไปทูลถามพระพุทธเจ้า คล้ายๆจะไปแลกเปลี่ยนความรู้กัน มาที่วัดนะ กลางคืน ยังราตรีให้สว่างไสวไปหมดเลย ด้วยรัศมีของเทวดา พระที่มีหูทิพย์ตาทิพย์ก็จะเห็น ถ้าไม่มีก็ไม่เห็น สว่างไสวด้วยรัศมีของเทวดานี้

เทวดาไปถึงก็ยืนพนมมือนะ แล้วทูลถามพระพุทธเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะ โอฆะแปลว่าห้วงน้ำ ห้วงกิเลสนั่นเองแหละ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร คล้ายๆชวนแลกเปลี่ยนทัศนะกันนะ เดี๋ยวท่านตอบแล้วเราจะตอบบ้าง ว่าชั้นข้ามมาด้วยวิธีนี้นะ ท่านข้ามมาได้ด้วยวิธีไหน กะจะมาชวนคุยธรรมะนะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร

พระพุทธเจ้าท่านก็ตอบ ดูกรท่านนิรทุกข์ นิรทุกข์แปลว่าผู้ไม่มีความทุกข์ อันนี้เป็นคำยกย่องนะ จริงๆเทวดานี้ยังทุกข์แต่ยังไม่เห็นหรอก ดูก่อนท่านนิรทุกข์ เราข้ามโอฆะได้นะ เพราะเราไม่พักและเราไม่เพียร เทวดาเจอหมัดเด็ดเข้า ไม่พักไม่เพียร หา..ข้ามโอฆะได้ด้วยการไม่พักและไม่เพียรเหรอ ไม่พักเนี่ยพอเข้าใจใช่มั้ย ขยันปฏิบัติไป ไม่เพียรด้วยเหรอ เออ..

เทวดาผู้(คิดว่าตนเอง – ผู้ถอด)เป็นพระอรหันต์งงแล้ว เอ๊ะ พระพุทธเจ้าข้ามโอฆะด้วยการไม่พักและไม่เพียร เป็นไปได้อย่างไร มีแต่บอกให้เพียรเยอะๆไปเลย ใช่มั้ย เนี่ยท่านแกล้งน็อคนะ น็อค ทำให้งง เทวดาก็หมดความถือตัวนะ ทูลถามท่าน เป็นอย่างไรพระเจ้าข้า ไม่พักไม่เพียร ให้ช่วยขยายความหน่อย ไม่เข้าใจ ยอมรับแล้วนะว่าไม่เข้าใจ

พระพุทธเจ้าท่านขยายความ ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเราเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราไม่พักเราไม่เพียร เราข้ามโอฆะได้ด้วยวิธีนี้ เทวดาได้พระโสดาบันเลย ได้มั้ย พวกเราฟังเหมือนเทวดา ใครได้ยกมือสิ เห็นมั้ย บารมีสู้เขาไม่ได้นะ เทวดาแจ้งแล้วเทวดาก็ไป แต่พอพระพุทธเจ้ามาเล่าให้พระอานนท์ฟังใช่มั้ย มนุษย์ทั้งหลายที่ฟังตามหลังเนี่ย ไม่แจ้ง อรรถกถาก็เลยต้องมาขยายความให้อีกนะ พระพุทธเจ้าขยายความให้เทวดามา ๑ ชั้นแล้ว ทีแรกท่านบอกว่าท่านไม่พักไม่เพียร พอขยายความท่านบอกว่า ถ้าพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราไม่พักไม่เพียร เราข้ามโอฆะได้ด้วยวิธีนี้ อรรถกถาต้องมาแปลต่ออีกทีเพื่อให้คนรุ่นเรารู้เรื่อง

คำว่าพักอยู่เนี่ย ก็คือการปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลส คือกามสุขัลลิกานุโยคนั่นเอง การที่เราวิ่งพล่านไปทางตา วิ่งพล่านไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย วิ่งคิดนึกปรุงแต่งฟุ้งซ่านไป นั่นแหละคือการหลงโลก เราติดต่อโลกภายนอกผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นเอง เรียกว่าอายตนะที่เชื่อมต่อสัมผัสโลกข้างนอก ถ้าจิตวิ่งพล่านออกไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันนี้เรียกว่าหย่อนเกินไป แล้วทำไมท่านบอกว่า ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเราปล่อยจิตใจของเรานะ ร่อนเร่ไปเรื่อย ตามกิเลสไปเรื่อย จะจมลง นึกออกหรือยังว่าจะจมลงอย่างไร จะลงอบาย(ภูมิ)นะ ใจจะลงอบาย ลงที่ต่ำไปเรื่อย

คำว่าเพียรอยู่เนี่ย ก็คือการฝึกหัดตัวเอง บังคับควบคุมตัวเอง คือ อัตตกิลมถานุโยค ยกตัวอย่างเวลาที่พวกเราคิดถึงการเดินจงกรม เราก็เริ่มบังคับกาย เริ่มบังคับใจ เวลาเราคิดถึงเรื่องการนั่งสมาธิ เราก็บังคับกาย บังคับใจ มีแต่บังคับจนมันนิ่งๆแข็งๆทื่อๆ ไม่แสดงไตรลักษณ์ แล้วท่านก็บอกว่า ถ้าเราเพียรอยู่คือบังคับตัวเองอยู่เนี่ย เราจะลอยขึ้น ลอยขึ้นไปอย่างไร ก็ไปสุคติใช่มั้ย สุคติมีตั้งแต่เป็นมนุษย์นะ เป็นเทวดา เป็นพรหม ลอยขึ้น

ถ้าพักอยู่ คือปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลสจะจมลง สู่อบาย อบายภูมิทั้ง ๔ นะ ตั้งแต่สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน อสุรกาย เปรต ขึ้นมาใกล้มนุษย์แล้ว ถ้าเพียรอยู่ พยายามควบคุมตัวเองบังคับตัวเอง ไม่ให้ตามใจกิเลส ก็จะได้เป็นมนุษย์ ได้เป็นเทวดา ได้เป็นพรหม ไม่นิพพาน ทั้งสองฝั่ง เห็นมั้ยว่าไม่มีช่องของพระนิพพาน ช่องของพระนิพพานนั้น ไม่พักและไม่เพียร ไม่พักคือไม่หลงไปไม่เผลอไป ไม่เพียรคือไม่ควบคุมกดข่มบังคับตัวเอง

ช่องตรงกลางก็คือ การรู้รูปนามตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ไม่ใช่เรื่องคิดเอาเอง และไม่ใช่เรื่องบังคับกายบังคับใจให้นิ่งนะ เพราะฉะนั้นทางสายกลางอยู่ตรงที่เราไม่พักไม่เพียร ไม่หย่อนไม่ตึงนั่นเอง ให้รู้รูปนามตามความเป็นจริง ที่หลวงพ่อย่อลงมาบอกว่า “ให้มีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง”

ถ้าเราไม่รู้กายรู้ใจเราก็ย่อหย่อนไป ลืมกายลืมใจเมื่อไหร่ นึกเลยนะ ถ้าเมื่อไหร่เผลอ ขาดสติ ลืมกายลืมใจ ต้องรู้นะ ขณะนั้นย่อหย่อนแล้ว โอกาสที่จะไปอบายภูมิเริ่มเกิดขึ้นแล้ว

ถ้าขณะไหนลงมือปฏิบัติแล้วก็แน่นไปหมดเลย ควบคุมตัวเองแน่นไปหมดเลย ขณะนั้นตึงเกินไป ไปสุคติได้แต่ไปนิพพานไม่ได้ เพราะอะไร เพราะไม่เห็นไตรลักษณ์ กายก็จะนิ่ง ใจก็จะนิ่ง เมื่อไม่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปของนาม เรียกว่าไม่เห็นความจริง เมื่อไม่เห็นความจริงย่อมไม่เบื่อหน่ายไม่คลายความยึดถือ ไม่หลุดพ้นนะ

เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเรา เดินจิตเข้าสู่ทางสายกลางให้ได้


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
Track: ๙
File: 550722
ระหว่างนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๕๗ ถึง นาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้าจิตหนักๆแสดงว่าผิด

mp 3 (for download) : ถ้าจิตหนักๆแสดงว่าผิด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : มาอยู่วัดที่เมืองกาญจน์นะ เดินจงกรมใหญ่เลย เดินหามรุ่งหามค่ำเลยนะ เดินขนาดว่า ถ้าขาเราเป็นเหล็ก ขาเราจะสึกไปเยอะเลย ตัวต้องเตี้ยกว่านี้อีก เดิน เดิน เดิน เดิน เดินไป หมดเรี่ยวหมดแรงก็ลงมานั่น หอบแฮ่กๆนะ มีแรงก็เดินใหม่ ยิ่งเดินจิตยิ่งแย่ลงๆ แย่กว่าตอนไม่บวชเสียอีก เดินอยู่เดือนครึ่งนะ เดือนอยู่เดือนครึ่งนะ เข้าพรรษามาครึ่งพรรษา วันหนึ่งบ่ายๆหมดเรี่ยวหมดแรงเลย บ่ายสอง มาเดินจงกรมอยู่ที่ระเบียง ต้นไม้ไม่มี ตอนนั้นอยู่ในท้องนา ปลูกต้นไม้ไว้นะ ต้นยังแค่ขาแค่เอวเป็นอย่างมาก ก็ต้องเดินจงกรมที่ระเบียง

เดินจนเหนื่อยนะ แล้วก็มองไป มองออกไปนอกวัด มันมีภูเขาอยู่ ๓ ลูก เรียงกัน ใครไปสวนโพธิ์จำได้มั้ย ภูเขา ๓ ลูกนี้สวย มันเรียงกัน ลูกมันเท่าๆกันเลยนะ ความจริงมันไม่เท่าหรอก แต่ว่ามันเหลื่อมไปเหลื่อมมา เมื่อดูด้วยสายตาจากที่สวนโพธิ์มันเท่ากันเป๊ะเลย สามลูก แล้วเว้นช่องไฟสวยงาม ดูไปที่ภูเขาสามลูกนี้ ภูเขาสามลูกนี้ไม่มีน้ำหนักเลย แต่ใจเรามีน้ำหนัก นี่ มันเฉลียวใจขึ้นมา แทนที่เราภาวนาแล้วใจจะยิ่งเบานะ ไม่ยึดไม่ถืออะไร โลกธาตุเนี่ยในความเป็นจริงโลกธาตุว่างเปล่า แต่ใจเรามีน้ำหนัก ใจเราต่างหากยึดถือ ใจมันก็นึกขึ้นมาได้ หลวงปู่ดูลย์เคยสอนประโยคหนึ่ง บอกว่า วันใดที่เห็นจิตกับสภาพแวดล้อมอยู่ เป็นสิ่งเดียวรวด วันนั้นเธอจะเข้าใจที่สุดแห่งทุกข์เลย

นี่จิตของเรากับธรรมชาติที่แวดล้อมอยู่ ไม่ใช่สิ่งเดียวรวด จิตเราหนัก ธรรมชาติไม่มีน้ำหนัก จิตเราหนักเราต้องทำผิดแล้วล่ะ โอ้..เราไม่ถนัดเดินนะ มีเก้าอี้พลาสติกอยู่ตัวหนึ่ง ตัวร้อยกว่าบาท นี่ แบบนี้ ไปลากออกมาเลยจากในห้องนะ มาวางที่ระเบียง ไม่เดินล่ะวะ มีวะด้วยนะ เรามันนักเลง นั่งดูภูเขา นั่งดูโน้นดูนี้ไปนะ ใจที่จงใจปฏิบัติค่อยคลายออกๆ คลาย ดูอยู่ไม่นานนะ ใจก็คลายออก คลายออกมาก็ทำสมาธิบ้าง เดินจงกรมบ้าง เจริญสติในชีวิตประจำวันบ้าง ฝึกอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ นานๆก็ลืมสมถะอีกละ ก็ต้องกลับมาทำใหม่ วนเวียนๆไปนะ ภาวนาอยู่สองพรรษาได้ ใจก็เปลี่ยนแปลง สบาย มีความสุข


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อ วันศุกร์ที่ ๓๑ กรกฏาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๙
File: 520731A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๑ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๔๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การปฏิบัติเหมือนชาวนาปลูกข้าว ถึงเวลาข้าวก็ออกรวงเอง

mp 3 (for download) : การปฏิบัติเหมือนชาวนาปลูกข้าว ถึงเวลาข้าวก็ออกรวงเอง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : งั้นรู้สึกตัวไปเรื่อยๆ รู้สึกแล้วก็รู้กาย รู้สึกแล้วก็รู้จิตใจ รู้สึกไปเรื่อยๆ มันจะสะสมแต้มไปเรื่อยๆ ถึงวันหนึ่งมันอิ่ม มันเต็ม มันพอนะ มันจะตัดสินความรู้ของมันเอง เราไม่ต้องทำอะไร เราไม่ต้องดิ้นรน เราไม่ต้องพยายามที่จะบรรลุมรรคผลนิพพาน จิตเขาจะบรรลุของเขาเอง

แต่เดิมหลวงพ่อก็พูดอย่างนี้นะ ว่าไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จิตมันเป็นเอง มันจะบรรลุเอง เราพูดแบบเซ่อๆไป พูดมาจากประสบการณ์ภาวนา ไม่เห็นมีใครจะสั่งจิตได้สักคนหนึ่ง ตอนหลังครูบาอ๊าไปเจอในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าสอนเหมือนกัน

ท่านสอนบอกว่า ผู้ปฏิบัติน่ะที่ต้องการมรรคผลนิพพานเนี่ยนะ ไม่มีใครทำมรรคผลนิพพานให้เกิดได้หรอก แต่ว่ามีหน้าที่เจริญศีลสิกขา เจริญจิตตสิกขา เจริญปัญญาสิกขา เรื่อยๆไป เมื่ออินทรีย์แก่กล้าเพียงพอแล้วนะ มรรคผลนิพพาน จะเกิดขึ้นเอง จิตจะบรรลุมรรคผลนิพพานเอง

งั้นพวกเราเจริญไปนะ รักษาศีลไว้ มีสติขึ้นมาก็มีศีล มีสติขึ้นมาก็มีสัมมาสมาธิ จิตตั้งมั่นขึ้นมา มีสติก็มีปัญญาเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นรู้สึกตัวนะ มีสติรู้กายรู้ใจเรื่อยๆไป ถึงวันหนึ่งจะเกิดมรรคผลเอง

ท่านเปรียบเทียบเหมือนชาวนา ชาวนาไม่สามารถสั่งต้นข้าวให้ออกรวงข้าว ไม่สามารถทำให้รวงข้าวมีเมล็ดเต็มได้ ชาวนาสั่งต้นข้าวไม่ได้ แต่ชาวนาทำเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยให้ต้นข้าวออกรวงได้ ชาวนาไปไถนา ไปหว่านข้าว เอาน้ำเข้านา น้ำมากไปเอา(น้ำ)ออกจากนา คอยดูแลรักษาต้นข้าว ต้นข้าวก็ออกรวงเอง

พวกเรามีสติ มีสัมมาสมาธิ มีปัญญานะ อบรมดูแลจิตของเรา วันหนึ่งจิตออกมรรคออกผลเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันจันทร์ที่ ๑๙ พฤษภายน พ.ศ.๒๕๕๑ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
Track: ๑๓
File: 510519
ระหว่างนาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๑๘ ถึง นาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๑๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางสายกลางของจิต

mp 3 (for download) : ทางสายกลางของจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สมาธิที่จิตตั้งมั่นเด่นดวงอยู่ที่จิตนั้นแหละ เป็นสมาธิที่สำคัญ แต่เราต้องไม่บังคับมัน ไม่บังคับให้มันตั้งอยู่ที่จิตนะ เอาแค่ว่ารู้ทันว่ามันไหล แล้วมันจะกลับมาพอดีๆ ถ้าเราจงใจให้มันไปตั้งอยู่ที่จิต มันจะตึงเครียดเกินไป

พระโพธิสัตว์ได้ยินพระอินทร์ดีดพิณ ๓ สายนะ ในตำราว่าอย่างนั้น สายที่ ๑ ตึงเกินไป สายพิณก็ขาด สายที่ ๒ นั้นหย่อนไป หย่อนเกินไป ไม่ไพเราะ สายที่ ๓ นี่พอดี ดีดแล้วไพเราะ มันก็คือการดำเนินของจิตนั่นแหละ

จิตที่หย่อนเกินไป ก็คือจิตที่ไหลไปหาอารมณ์ ไปเพลินอยู่กับอารมณ์ ยกตัวอย่างกระทั่งเรานั่งสมาธินะ แล้วจิตเคลิ้มเพลินกับอารมณ์ อันนั้นย่อหย่อนเกินไป ตามใจกิเลสแล้ว เวลาจิตไหลไปเพลินอยู่กับอารมณ์อันเดียวนะ มันมีความสุข มีความเพลินดเพลิน มีความพอใจ มีราคะเกิดขึ้น ถ้าเราไม่เห็นอะไรจะติดอยู่กับสมาธิอย่างนั้นน่ะ เมื่อไรที่สมาธิเสื่อมนะจะอารมณ์ร้ายกว่าคนปกติ เพราะว่ามันสงบมันสบายมานาน พอมันเคลื่อนออกมากระทบโลกข้างนอก มันทนไม่ไหวเลย มันร้อนแทบจะระเบิดเลย นี่อย่างนี้เรียกว่าหย่อนไปนะ มันไหลออกนอกไป เพลิดเพลินไป ตามใจกิเลสไป

ส่วนสายพิณที่ว่าตึงเกินไป ก็คือบังคับกายบังคับใจตัวเอง ยกตัวอย่างพวกเราจะนั่งสมาธิเนี่ย ส่วนมากชอบนั่งบังคับตัวเอง บังคับไม่ให้จิตคิด ไม่ให้จิตนึก ไม่ให้จิตปรุง ไม่ให้จิตแต่ง ไม่ให้จิตเคลื่อน จะรักษาจิตให้นิ่งให้ว่างอยู่ตลอดเวลา อันนั้นตึงเกินไปนะ

เราต้องพอดีๆเอาแค่ว่าจิตเคลื่อนแล้วรู้ทัน จิตเคลื่อนแล้วรู้ทัน มันจะเกิดสมาธิที่พอดีๆ สมาธิที่พอดีเนี่ยนะ สภาวะของจิตเนี่ยมันจะตั้งมั่น รู้เนื้อรู้ตัว จิตจะเบา จิตจะอ่อนโยน นุ่มนวล จิตจะคล่องแคล่วว่องไวในการเจริญปัญญา ไม่หนัก ไม่แน่น ไม่แข็ง ไม่ซึม ไม่ทื่อ จิตจะรู้สภาวธรรมทั้งหลาย ทั้งรูปธรรมนามธรรมอย่างที่มันเป็นโดยไม่เข้าไปแทรกแซง นั่นแหละคือสภาวะที่มันเป็นทางสายกลางจริงๆของจิต

คำว่าทางสายกลาง ทางสายกลาง ไม่ใช่ทางข้างนอกที่ร่างกายดำเนินไป แต่มันคือทางที่จิตดำเนินไป
จิตต้องไม่หย่อนเกินไป ถ้าจิตหย่อนเกินไป จิตก็ไหลตามกิเลส หลงไปหาอารมณ์ทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจ จิตต้องไม่ตึงเกินไป ถ้าจิตตึงเกินไปก็บังคับกายบังคับใจ เช่นบังคับจะต้องนั่งไม่กระดุกกระดิกเลยนะ บังคับมากๆอะไรอย่างนี้นะ หวังว่าไม่กระดุกกระดิกได้แล้วจะดี ไม่กินได้แล้วจะดี ไม่นอนได้แล้วจะดี อันนี้บังคับกายมากไป บังคับจิตมากไปก็จะบังคับไม่ให้จิตคิด ไม่ให้จิตนึก ไม่ให้จิตปรุง ไม่ให้จิตแต่ง ไม่ให้จิตเคลื่อน ถ้าคิดจะห้ามไม่ให้จิตเคลื่อนไปเลย ตึงเกินไป เพราะฉะนั้นเราไม่ห้ามนะ จิตจะเคลื่อนก็ได้ แต่เคลื่อนแล้วเรามีสติรู้ทัน

ห็นมั้ยว่าถ้าเราไม่รู้ทันก็หย่อนไป ถ้าเราบังคับไม่ให้เคลื่อนก็ตึงไป แต่ถ้ามันเคลื่อนแล้วเรามีสติรู้ทัน ตรงนี้แหละกลางๆ พอดีๆ จิตจะตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมานะ รู้เนื้อรู้ตัว เมื่อจิตตั้งมั่นเด่นดวงรู้เนื้อรู้ตัวได้แล้วเนี่ย มันจะตั้งอยู่กับจิต จิตเคลื่อนนิดเดียวก็เห็น จิตเคลื่อนนิดเดียวก็เห็น สภาวะมันจะคล้ายๆอย่างนี้นะ สมมุตินิ้วนี้ นิ้วชี้อันนี้ เหมือนเป็นจิตนะ เนี่ยจิตมันจ่อนะ พอมันเคลื่อนนะ เคลื่อนนิดเดียว สติมันเห็น มันเหมือนตั้งบนปลายเข็มนิดเดียว จิตขยับตัวกริ๊กเดียวนะ หลุดออกจากความรู้สึกตัว หลุดออกจากฐานนะ จะเห็นละ มันจะกลับมาตั้งของมันเอง แต่ถ้าบังคับนะ ไม่ให้ไปไหนเลย จับไว้ให้แน่นนะ ตึงเกินไป ถ้าหนีไปแล้วไม่รู้ หย่อนเกินไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน)
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๕๓
File: 550916
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๕ ถึง นาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๕๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางบรรลุธรรม (๗) เมือ ศีล สติ สมาธิ ปัญญา แก่รอบ จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ

mp3 for download : ทางบรรลุธรรม (๗) เมือ ศีล สติ สมาธิ ปัญญา แก่รอบ จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางบรรลุธรรม (๗) เมือ ศีล สติ สมาธิ ปัญญา แก่รอบ จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ

ทางบรรลุธรรม (๗) เมือ ศีล สติ สมาธิ ปัญญา แก่รอบ จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทีนี้ถ้าจิต สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญ บารมี แก่รอบแล้ว จิตหยุดความปรุงแต่งแล้ว มันจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานจะเกิดเอง

โดยธรรมชาติของจิตนี้ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้ มีอยู่ ๓ ภพ เท่านั้น ๑ กามวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือ หาอารมณ์เพลิดเพลินไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย นึกออกมั้ย อันนี้แหละเรียกว่า กามภพ เรียกให้เต็มยศนะ เรียกว่า กามวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอยู่อย่างนี้

ถ้าหลุดออกจากกามภพแล้วนะ ก็จะเข้าไปรูปภพ หรือรูปภูมิ ก็คือ ไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่น รู้ลมหายใจแล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไรเลย จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ

ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้าอรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลย เพราะฉะนั้นบางคนที่เขาสอนให้ภาวนาเพื่อให้ไปอยู่กับความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง

ทีนี้ถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลย จิตแส่ส่ายออกทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย มีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย จิตก็หลุดออกกามภูมิ เข้ารูปภูมิ หรืออรปภูมิ เข้าเองเลยนะ

เพราะฉะนั้นอย่างพวกเรา หัดเจริญสติไปเรื่อย พอ ศีล สมาธิ ปัญญา สติ สมาธิ ปัญญา แก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงใหล รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทั้งหลาย มาดึงดูจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ชั่วขณะ จิตจะตั้งมั่น รู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้ง เด่นดวง จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ

เพราะฉะนั้น ถึงเราจะเจริญสติ เจริญปัญญา โดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้าย ที่จะเกิดอริยมรรค อริยผล ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรค จนถึงอรหัตตมรรค จิตจะเข้าฌานของเขาเองนะ จิตจะเข้าฌานของเขาเอง

ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิอริยมรรคเนี่ย ไม่ต้องถอยออกมาอยู่กับโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่ในกามภูมิก่อน จิตก็ไปตัดอยู่ข้างในได้เลยนะ นี่เป็นอีกพวกหนึ่ง

แต่รวมความก็คือ อริยมรรค ไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกาม อย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดในรูปภูมิ หรืออรูปภูมินะ จะเกิดกันตรงนั้น จะล้างกันตรงนั้น

เพราะฉะนั้นจิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ

540805.12m44-15m52

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
วันศุกร์ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ ก่อนฉันเช้า

CD: 41
File (ประเทศไทย): 540805.mp3
File (สหรัฐอเมริกาและยุโรป): 540805.mp3

นาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๔๔ ถึง นาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๕๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สิ่งที่ผิดมี ๒ อันเท่านั้น คือ เผลอ กับ เพ่ง

mp 3 (for download) : สิ่งที่ผิดมี ๒ อันเท่านั้น คือ เผลอ กับ เพ่ง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สิ่งที่ผิดมี ๒ อันเท่านั้น คือ เผลอ กับ เพ่ง

สิ่งที่ผิดมี ๒ อันเท่านั้น คือ เผลอ กับ เพ่ง

หลวงพ่อปราโมทย์ : สิ่งที่ผิดมี ๒ อันเท่านั้นแต่ว่าครองโลกเลย เผลอกับเพ่ง ใจจะเผลอๆๆลืมตัวเองไปด้วย อีกอย่างนึงก็นั่งเพ่งเอาไว้ นิ่ง เผลอก็ไม่ได้รู้สึกตัว เพ่งก็ไม่ได้รู้สึกตัว เผลอหย่อนเกินไป เพ่งตึงเกินไป เผลอเป็นกามสุขัลลิกานุโยค เพ่งเป็นอัตตกิลมถานุโยค ความสุดโต่ง ๒ ฝั่ง ตรงกลางที่ไม่เผลอไม่เพ่งก็คือรู้

พยายามรู้ตัวรู้สึกตัวเรื่อยๆ พุทโธไปก็ได้ใจหนีไปคิดรู้ทัน หายใจไปใจหนีไปคิดรู้ทัน ดูท้องพองยุบใจหนีไปคิดรู้ทันอันนี้มันเผลอไป พุทโธแล้วก็ไปบังคับจิตให้นิ่งให้รู้ทันอันนี้เพ่งไป หายใจแล้วจิตไปเกาะนิ่งอยู่กับลมหายใจไปเกาะอยู่ที่ท้องอันนี้ก็ตึงเกินไป ให้รู้ทัน เดินจงกรมจิตไหลไปอยู่ที่เท้าอันนี้ก็ตึงเกินไป เดินจงกรมนะเพ่งกายทั้งกายเห็นร่างกายเดินนะแต่ดูแบบเคร่งเครียดเนี่ยรู้สึกทั้งตัวรู้สึกทั้งตัว อันนี้ก็ตึงเกินไป ไปเพ่งไว้ที่เท้าอันเดียวก็ตึงเกินไป เพ่งร่างกายทั้งร่างกายก็ตึงเกินไป ใจมันตึงเครียด เดินจงกรมจิตหนีไปคิดอันนี้หย่อนเกินไป ให้คอยรู้ทัน จิตหย่อนเกินไปให้รู้ทัน จิตตึงเกินไปให้รู้ทัน แล้วตรงไหนที่พอดี ตรงที่รู้ทันไงง่ายนิดเดียวเห็นมั้ย ไม่ได้บอกว่าห้ามตึงห้ามหย่อนนะ บอกตึงไปก็รู้ทันหย่อนไปก็รู้ทัน แล้วตรงไหนพอดี ตรงที่รู้ทันนั่นแหล่ะพอดี


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๒
Track: ๒
File: 540917B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑ วินาทีที่ ๔๕ ถึง นาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๔๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปฎิบัติอย่างไรจึงเรียกว่า ทางสายกลาง

mp3 (for download): ปฎิบัติอย่างไรจึงเรียกว่า ทางสายกลาง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


ปฎิบัติอย่างไรจึงเรียกว่า ทางสายกลาง

ปฎิบัติอย่างไรจึงเรียกว่า ทางสายกลาง

โยม : คำว่ามัชฌิมาปฏิปทานี่นะฟังมาหลายแห่งเหลือเกิน หลวงพ่อว่ามันคืออะไรคะ ไม่ตึงไม่หย่อนเกินไป แล้วถ้าปฏิบัติไปๆ เกิดขี้เกียจขึ้นมาแล้วก็มาบอกว่า เฮ้ยวันนี้มันตึงเกินไป หรือว่าอะไรทำนองนี้นะคะหลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ก็ต้องไม่เข้าข้างตัวเอง ครั้งหนึ่งมีเทวดาองค์หนึ่งไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เทวดาองค์นี้น่ะแกคิดว่าแกเป็นพระโสดาบันแล้ว เวลาลงมาเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วรัศมีของเทวดานี้สว่างไปหมดเลย คนมีบุญไปแล้วสว่าง ไปถึงก็ไปทูลถามพระพุทธเจ้า บอกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร โอฆะคือห้วงน้ำห้วงกิเลส คือพูดง่ายๆ พระองค์เป็นพระอรหันต์ได้อย่างไร

พระพุทธเจ้าท่านก็พูดเพราะนะ ท่านบอกว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ท่านผู้ไม่มีความทุกข์ เพราะกำลังหลงอยู่ในความสุขนั่นแหละ ท่านเลยพูดเอาใจเสียหน่อย ถ้าท่านบอกว่าสัตว์โลกผู้มีความทุกข์เทวดาคงไม่ฟังต่อละ อารมณ์ไม่ดี ท่านบอก “ดูก่อนท่านนิรทุกข์ ตถาคตข้ามโอฆะได้เพราะไม่พักอยู่และไม่เพียรอยู่ นี่เทวดาที่คิดว่าตัวเองเป็นพระอรหันต์นะ คิดว่าตัวเองก็แน่เหมือนกัน ฟังแล้วสะอึกเลย

พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ท่านข้ามกิเลสได้โดยไม่พักและไม่เพียร ถ้าไม่พักนี่น่ะก็พอรู้เรื่องใช่มั้ย แต่ไม่เพียรนี่แปลก เทวดาก็เลยบอกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ช่วยขยายความหน่อย ท่านก็สอนต่อ บอกว่า “ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าเมื่อใดเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเมื่อไรเราเพียรเราจะฟูขึ้น” เราจะลอยขึ้น เทวดาก็ได้ธรรมะนะ ได้โสดาบัน เราได้หรือยัง ฟังเหมือนกันนะ ยังไม่ได้ ตรงนี้นะเทวดาเข้าใจ พวกเรายังไม่เข้าใจ ก็มีคำอธิบาย คำอธิบายธรรมะอธิบายพระไตรปิฎกเรียกว่าอรรถกถา

คำว่าพักอยู่นี่ก็คือ การปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลส อันนี้มีอีกอันหนึ่ง มีอีกชื่อหนึ่งว่า “กามสุขัลลิกานุโยค” การปล่อยตัวให้ชุ่มด้วยกาม สิ่งที่เรียกว่ากามก็คือความเพลิดเพลินไปในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัสทั้งหลาย ฉะนั้นเมื่อไหร่เราหลงโลกเมื่อนั้นเราหย่อนไป เราหย่อนไป เราพักแล้ว เราไม่มีความเพียรเลย ใช้ไม่ได้ ข้ามฝั่งไม่ได้ ถ้าตรงที่ว่ามีความเพียรแล้วฟูขึ้น คำว่ามีความเพียรท่านอธิบายว่า หมายถึง “อัตตกิลมถานุโยค” การคอยควบคุมบังคับตัวเองตลอดเวลา

ดังนั้นถ้าปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลสก็สุดโต่งไปข้างกามสุขัลลิกานุโยค ถ้าบังคับกายบังคับใจ ทำกายทำใจให้ลำบาก ก็สุดโต่งมาข้างทำความเพียรแบบทรมาณตัวเอง อัตตกิลมถานุโยค ทางสายกลางไม่ได้เป็นอย่างนั้น ทางสายกลางก็คือทางของศีล ของสมาธิ ของปัญญา นั้นเอง คนมีศีล ถ้าถือศีลไม่เป็นนะก็จะสุดโต่งมาข้างบังคับตัวเอง ถ้าถือศีลแล้วไม่ฉลาดพอก็ถือศีลตามใจกิเลส มีสมาธิก็เหมือนกัน มีสมาธิก็ชอบบังคับจิตตัวเองให้นิ่ง นี่สุดโต่งไปข้างบังคับ อีกพวกนึงทำสมาธิแล้วก็มีความสุข เคลิบเคลิ้มไป นี่หลงตามกิเลส หรือเจริญปัญญา คอยคิดค้นคว้าพิจารณามาก จิตฟุ้งซ่านตามกิเลสไป ไปบังคับจิตให้นิ่งๆ ไม่ให้คิดพิจารณาเลย ข่มไว้เฉยๆ ก็ทรมานตัวเองไปอีก

ทางสายกลางอยู่ตรงไหน ทางสายกลางอยู่ตรงที่มีศีลก็ไม่สุดโต่งไปสองข้าง มีสมาธิก็ไม่สุดโต่ง มีปัญญาก็ไม่สุดโต่งสองข้าง พูดอธิบายยากนะ แต่ลงมือปฎิบัติไม่ยาก คอยรู้ทันใจตัวเองไว้ให้ได้ก็แล้วกัน ถ้ารู้ทันใจตัวเองไม่ได้นะ ไม่บังคับตัวเองก็ตามใจกิเลส ถ้ารู้ทันใจตัวเองได้นะก็ไม่เข้าไปติดสองฝั่งนี้ เช่นนั่งสมาธิอยู่ พอนั่งสมาธิอยู่พอเมื่อยหลังนะก็บอกตัวเองเลย อย่านั่งต่อไปเลยนอนดีกว่า ถ้านั่งต่อไปเป็นอัตตกิลมถานุโยค ทรมานตัวเอง นี่ถูกกิเลสหลอกแล้ว หรือเตลิดเปิดเปิงนะวันๆ นึง มีนะบางคนบอกว่าใช้ชีวิตให้เต็มอิ่มมีความสุขนะ แล้ววันนึงมันก็เบื่อไปเอง เสพสุขให้มากๆ เลยแล้ววันนึงก็เบื่อ นี่ไม่รู้จักธรรมะหรอก กิเลสนั้นเสพเท่าไหร่มันก็ไม่เบื่อ เบื่ออันนี้มันจะไปเอาอันอื่น ยากนะ ถ้าไม่รู้ทันใจตัวเอง

ถ้าเรารู้ทันใจตัวเองได้เราถึงจะเข้าทางสายกลางได้ รู้ว่าขณะนี้สุดโต่งไปแล้วในข้างตามใจกิเลส รู้ว่าขณะนี้สุดโต่งไปแล้วในข้างบังคับตัวเอง ต้องรู้ลงที่ใจให้ได้

โยม : คะ งั้นพอจะเข้าใจด้วยระดับปัญญานิดๆ ว่ามันต้องอยู่ที่การพิจารณาในลักษณะการปฎิบัติ คงไม่ใช่จะมาแปลว่ามัชชิมาหมายถึงกลาง คงไม่ใช่อย่างนั้นนะเจ้าคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่ใช่นะ ต้องดูสภาวะที่แท้จริง ถ้าเมื่อไหร่จิตยังโหยหาอาลัยอาวรณ์ในรูป ในเสียง ในรส ในกลิ่น ในสัมผัส เนี่ยนะ กามสุขัลลิกานุโยค ถ้าเมื่อไหร่บังคับกายบังคับใจ เมื่อนั้นอัตตกิลมถานุโยค

คนทั่วไปซึ่งไม่เคยภาวนาเนี่ยจะสุดโต่งไปในกามสุขัลลิกานุโยค พวกที่ไม่เคยภาวนานะ จะเตลิดไปด้านนี้เลย พวกนี้จะจมลง คือจมลงสู่อบาย ส่วนนักปฎิบัติเนี่ยชอบบังคับกายบังคับใจ คิดถึงการเดินจงกรมก็ต้องรีบตั้งท่าเดิน ถามว่าตอนท่าเดินจงกรมเนี่ย เดินธรรมชาติไหม ไม่นะ บังคับตัวเองนะ บังคับกาย บังคับกายต้องเริ่มต้นจาก..เข้าที่ก่อนนะ ถัดจากนั้นบังคับใจ..บังคับได้ที่ค่อยเดิน เนี่ยบังคับเรียบร้อยแล้วทั้งกายทั้งใจ เวลาที่เราจะนั่งสมาธิ เริ่มต้นบังคับกายก่อน ต้องงี้ เสร็จแล้วก็บังคับใจต่อ ดัดแปลงใจ สุดท้ายก็คือไม่บังคับกายก็บังคับใจ ถ้าทำได้ที่ก็บังคับทั้งกายทั้งใจ

แต่การปฎิบัติแบบไม่บังคับกายบังคับใจทำอย่างไร รู้สึกลงไป นั่งอยู่รู้ว่านั่งอยู่ หายใจอยู่รู้ว่าหายใจอยู่ ตามที่พระพุทธเจ้าสอนนะพอดี พระพุทธเจ้าสอน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเดินอยู่ให้รู้ว่าเดินอยู่ ไม่ใช่ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวลาเดินต้องทำท่าอย่างนี้ ไม่เคยพูดเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านสอน ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตมีราคะให้รู้ว่ามีราคะ เห็นไหม ง่ายๆ มีราคะรู้ว่ามีราคะ นี่แหละทางสายกลาง ท่านไม่เคยสอนนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้ามมีราคะ ห้ามได้ไหม ห้ามไม่ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีราคะไปเรื่อยๆ เดี๋ยวมันก็เบื่อไปเอง ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้

เพราะงั้นเมื่อไหร่รู้ได้นะ “รู้นั้นแหละกลาง เกินจากรู้ไม่กลางหรอก”

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ โรงพยาบาลตำรวจ
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่ โรงพยาบาลตำรวจ
File: 540330
ระหว่างนาทีที่  ๔๓ วินาทีที่ ๑๐ ถึง นาทีที่ ๕๐ วินาทีที่ ๓๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตที่มีสัมมาทิฏฐิมีแนวโน้มไปสู่นิพพาน เว้นแต่จะไปติดขัดอยู่กลางทาง เปรียบเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ

เปรียบเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ

เปรียบเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ

mp 3 (for download) : จิตที่มีสัมมาทิฏฐิมีแนวโน้มไปสู่นิพพาน เว้นแต่จะไปติดขัดอยู่กลางทาง เปรียบเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: พระพุทธเจ้าท่านเคยเทียบ บอกว่าจิตของเราเนี่ย ที่แสวงหาความหลุดพ้นเนี่ยนะ เหมือนท่อนไม้ลอยอยู่ในแม่น้ำคงคา ท่านไม่ยกว่าเป็นแม่น้ำเจ้าพระยานะ ท่านยกแม่น้ำคงคา บอกว่า ท่านชี้ให้พระดูท่อนไม้ลอยน้ำ ท่านบอกว่าไม้ท่อนนี้นะ ถ้ามันลอยไปเรื่อยๆ มันไม่ไปติดฝั่งซ้าย ไม่ไปติดฝั่งขวา ไม่ไปเกยตื้น ไม่ไปติดเกาะอะไรอย่างนี้นะ ไม่ไปถูกมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกอมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวน ไม่เน่าใน ไม่ผุพังเสียเอง ถึงวันหนึ่งมันจะไปสู่ทะเล

จิตซึ่งมีสัมมาทิฎฐิ สิ่งที่พวกเราเรียนจากหลวงพ่อคือตัวสัมมาทิฎฐินั่นเอง จิตซึ่งมีสัมมาทิฎฐิรู้ทิศทางว่าเราจะทำอะไรเพื่ออะไรจะทำอย่างไร ระหว่างทำไม่หลงไม่เผลอ จิตมันมีสัมมาทิฎฐิอยู่อย่างนี้ ระดับเบื้องต้นซึ่งเรียกว่า “สัมปชัญญะ” รู้ทิศทาง รู้แนวทาง จิตที่มีสัมมาทิฎฐินั้นนะ มีแนวโน้ม น้อมโน้ม โน้มเอียง ลาดลุ่ม ไปสู่นิพพาน เหมือนท่อนไม้นี้ไหลตามน้ำไปเรื่อยๆ ถ้าไม่ไปติดฝั่งซ้ายฝั่งขวา เกยตื้น ไม่ถูกมนุษย์ อมนุษย์ จับไว้ ไม่เน่าใน ไม่ถูกน้ำวนดูดไปนะ ไม้ท่อนนี้ต้องไปถึงทะเล

จิตซึ่งมีสัมมาทิฎฐิ จิตของเรานี้ไม่ต้องไปทำอะไรมัน อย่าไปเกยอยู่ที่ไหนก็แล้วกัน มันจะไหลไปสู่นิพพานเอง จะไหลไปสู่มรรคผลนิพพานเอง เพราะฉะนั้นไม่ใช่ต้องทำอะไร แต่อย่ามัวไปเกยตื้นอยู่ที่ไหนซะล่ะ

คำว่าติดฝั่งซ้าย ติดฝั่งขวา ก็คือไปหลงในสิ่งที่เป็นคู่ๆ เช่นอายตนะภายในภายนอกนี่คู่หนึ่ง ตัวอย่างนะ ไปติดในความสุข หรือไปติดในความทุกข์ ติดในความทุกข์ก็คือเกลียดทุกข์ รักสุขเกลียดทุกข์อะไรอย่างนี้ ใจก็ยังดิ้นอีก เนี่ยติดในสิ่งที่เป็นคู่ๆ ติดความดี ความเลว เจออะไรเลวๆแล้วทนไม่ได้ ทุรนทุราย อยากจะให้โลกนี้ดี สวยงามอย่างเดียว อะไรอย่างนี้ จิตก็วุ่นวายติดในสิ่งที่เป็นคู่ๆ

ไปเกยตื้น ก็คือไปติดในผลประโยชน์ทั้งหลาย ถ้าเป็นพระก็เรียกว่าไปติดลาภสักการะ ติดครอบครัวโน้น ตระกูลนี้ อะไรอย่างนี้ ไปถูกมนุษย์จับไว้ อย่างพวกเรา คุณสุเมธ ถูกมนุษย์จับไว้ ถูกมนุษย์เป็นร้อยๆเลยนะ คุณสุเมธก็ห่วง มาหรือยัง มาหรือยัง กลัวเขาไม่ดี นี่เรียกว่าถูกมนุษย์จับไว้ ถูกอมนุษย์จับไว้ เช่น อยากดัง อยากมีชื่อเสียง อยากเด่น นี่ถูกอมนุษย์จับไว้ หรือติดใน อยากขึ้นสวรรค์นะ ไปเป็นเทวดาเป็นพรหมอะไรอย่างนี้ นี่เรียกว่าถูกอมนุษย์จับไว้

ไปหลงลาภสักการะ นี่ก็ไปเกยตื้นไว้ ถูกอมนุษย์จับก็หลงชื่อเสียง เป็นอาจารย์กรรมฐานดัง หลงอย่างนี้เสร็จเลยนะ ไปนิพพานไม่ได้ ถูกน้ำวนก็คือหลงอยู่ในกาม วันๆคิดแต่จะหาความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือความเพลิดเพลินทางใจ นี่เรียกว่ากามทั้งหมดเลย ตา หู จมูก ลิ้น กาย เรียกว่ากามคุณ ทางใจเรียกว่ากามธรรม เช่นเราคิดเพลิดเพลินไปในกาม นี่คิดเอาเอง ก็เป็นกามเหมือนกัน บางคนก็ชอบคิดใช่มั้ย ฝันๆ แหมมีความสุข คิดไปในอดีต แก่หน่อยก็คิดไปในอดีตใช่มั้ย เด็กๆก็ฝันไปในอนาคต อะไรอย่างนี้ นี่ก็หลงๆไปนะ

พวกเน่าในคือพวกทุศีล พวกไม่มีศีล ๕ ศีล ๕ จำเป็น อย่าดูถูกเด็ดขาดนะ ศีล ๕ จำเป็นที่สุดเลย ขาดศีล ๕ อย่าพูดเรื่องมรรคผลนิพพานเลย ศีล ๕ จำเป็นมาก แต่ถ้าทำผิดศีลไปแล้วอย่ากังวล ตั้งใจระวังรักษาเอาใหม่ อย่าให้การทำบาปอกุศลที่ทำไปแล้ว มากดถ่วง ทำให้เราพัฒนาตัวเองต่อไปไม่ได้ เพราะเรา สมมุติว่าเราทำผิดศีลอะไรมาอย่างนี้ ยังไงก็ไม่มากเท่าที่พระองคุลีมาลเคยทำใช่มั้ย เราฆ่าคนไม่ได้พันคนหรอก ทำไมท่านไปได้ ใช่มั้ย เพราะฉะนั้นถ้าเราผิดศีลแล้วเรา ก็อย่าทำอีก นะ อย่าให้กังวลใจ

ถ้าหากจิตใจเราไม่ได้ติดในสิ่งเหล่านี้ ที่กล่าวมานี้นะ ๗ ประการ ไปนับเอาเองก็แล้วกัน เจ็ดประการนี้ถ้าเราไม่ติดนะ แล้วเรามีสัมมาทิฎฐิ เรารู้แล้วว่าการปฏิบัตินี่เราต้องรู้กายรู้ใจตัวเอง ด้วยจิตที่เป็นกลาง รู้ลงปัจจุบัน รู้แล้วไม่ไปแทรกแซง รู้จนเห็นความจริงของเขา ว่าเขาไม่เที่ยง เขาเป็นทุกข์ เขาเป็นอนัตตา รู้จนไม่ยึดถืออะไร นี่ถ้าเรารู้ มีสัมมาทิฎฐิอย่างนี้นะ แล้วเราไม่ไปติด ๗ ข้อนั้นนะ ยังไงก็นิพพาน

นี่ไม่ใช่หลวงพ่อพูดเองนะ พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ เราก็สำรวจตัวเองนะ เราไปติดอะไรบ้าง ติดฝั่งซ้าย ติดฝั่งขวามั้ย ไปเกยตื้นมั้ย ไปเกยตื้นยกตัวอย่าง บางคนภาวนา พวกที่ติดสมถะนั้นแหละ พวกเกยตื้น วันๆก็ไปสร้างภพที่ละเอียด ปราณีต ว่างๆ ทำให้ดูก็ได้… เนี่ย แล้วก็ไปอยู่ในความว่าง เหมือนอยู่คนละโลกกัน นะ เห็นมั้ย เสียงยังเปลี่ยนเลย…

อย่างนี้เกยตื้น กี่ปีกี่ชาติก็อยู่ตรงนี้แหละ นะ ใ้ช้ไม่ได้ ไปดูเอานะ แล้วสำรวจตัวเอง ที่พวกเราได้จากหลวงพ่อกับได้จากพรรคพวกรุ่นพี่ ต้องเรียกว่ารุ่นพี่นะ เขาเป็นซือเฮีย ซือเจ๊ ใช่มั้ย ถึงเราอายุ ๕๙ แล้ว เด็กๆพวกนี้ก็ยังเป็นซือเฮีย ซือเจ๊

เนี่ย อาศัยการได้ฟังธรรมนะ เรารู้ว่าเราจะทำอะไร ทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไรแล้ว แล้วก็รู้ไปเรื่อย ปฏิบัติไปเรื่อย นะ อย่าไปเกยตื้น อย่าไปติดอะไรอยู่ที่ไหนซะ สำรวจตัวเองเป็นระยะๆ การสำรวจตัวเองว่าไปติดไปข้องอะไรใน ๗ ประการนั้นไว้ ก็เรียกว่าโยนิโสมนสิการ สำรวจตัวเองไปเรื่อย เรื่อย เรื่อย ในที่สุดใจนี้ก็จะไหลไปถึงมหาสมุทร ใจนี้แหละจะบรรลุพระนิพพานโดยตัวของเขาเอง ไม่ใช่เราไปเสือกไสไม้นี้ไปสู่มหาสมุทรนะ มันไหลไปเอง

จิตนี้เหมือนกัน ถ้ามีสัมมาทิำฎฐิแล้วไหลไปสู่นิพพานเอง สิ่งที่เราทำขึ้นมาไม่ใช่ช่วยใ้ห้มันไปเร็วขึ้น สิ่งที่เราทำก็คือ ๗ อย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้นเลิกซะ แล้วก็รู้กายอย่างที่เขาเป็น รู้กายอย่างที่เขาเป็น ไปเรื่อยๆ


สวนสันติธรรม
CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๘
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๔๙ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เดินจงกรมอย่างไรจึงจะถูกต้อง?

mp 3 (for download) : เดินจงกรมอย่างไรจึงจะถูกต้อง?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: การปฏิบัตินี่ถ้าเราแยกส่วนการปฏิบัติออกจากการดำเนินชีวิตปกติของเรา อย่ามาพูดเรื่องมรรค ผล นิพพานเลย ชาตินี้ไม่ได้ ถ้ายังรู้สึกนะ เวลานี้เป็นเวลาปฏิบัติ เวลานี้ไม่ใช่เวลาปฏิบัติ ถ้ารู้สึกอย่างนี้อย่าพูดเรื่องมรรค ผล นิพพาน เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าเราสามารถหลอมรวมการปฏิบัติเข้าในชีวิตจริงของเราได้ ก็ไม่ต้องพูดเรื่องมรรค ผล นิพพานนะ อย่างไรก็ต้องได้ เพราะฉะนั้นต้องหลอมรวมการปฏิบัติเข้าในชีวิตจริงของเราให้ได้

เมื่อสักเดือนสองเดือนนะ มีคนไปเรียนกับหลวงพ่อที่ศรีราชา ศาลาหลวงพ่อใหญ่กว่านี้ตั้งเกือบเท่า วันนั้นคนเต็ม ยาว มีเด็กหนุ่มคนหนึ่งมาถามหลวงพ่อว่า ผมอยากเดินจงกรม จะเดินอย่างไร อยากเดินจงกรม หลวงพ่อบอกว่า กล้าออกมาเดินโชว์ไหม เดินตรงนี้ กล้าไหม เด็กคนนี้กล้า ค่อยๆ แหวกคนออกมานะ แหวกเดินออกมา หลวงพ่อบอกว่าหยุดก่อน ใช้ไม่ได้แล้ว ทำไม ขาดสติ ที่ขาดสติก็ตอนที่แหวกคนออกมา จะมาเข้าทางจงกรม คิดว่าเวลานี้ยังไม่ใช่เวลาปฏิบัติ คิดว่าตอนนี้ไม่ต้องปฏิบัติ เดี๋ยวเอาไว้เข้าทางจงกรมก่อนค่อยปฏิบัติ นี่เข้าใจผิดแล้ว แท้จริงแล้วทุกก้าวที่เดินถ้ามีความรู้สึกตัว เรียกว่าเดินจงกรมทั้งหมดเลย เดินอยู่ที่ไหนก็ตาม ถ้ารู้สึกตัวขึ้นมานะ ก็เรียกว่าเดินจงกรมทั้งหมด ถ้าเดินกลับไปกลับมาแล้วขาดสติ ก็เรียกเดินเรื่อยเปื่อย ถ้าเดินแล้วก็เพ่งเอาเพ่งเอา บังคับกาย บังคับใจ ก็เรียกเดินทรมาน ทรมานกายทรมานใจ ถ้าเดินแบบมีสติก็เรียกว่าเดินจงกรม

หลวงพ่อก็ให้เดินต่อ คราวนี้เขาก็ไม่เดินใจลอยแล้ว เขาเดินค่อยๆ รู้สึกตัวมานะ กำลังพอดีเลย พอเริ่มเข้าทางจงกรมปุ๊บ เริ่มวางฟอร์มแบบนักปฏิบัติ วางฟอร์ม ทำขรึม บอกนี่ผิดไปอีกข้างหนึ่งแล้ว สิ่งที่ผิดหลวงพ่อพูดบ่อยๆ สุดโต่งมีสองอัน อันหนึ่งเผลอไป ตอนเดินออกมาทีแรก เผลอไป เรื่อยเปื่อย พอเริ่มลงมือปฏิบัติ บังคับกาย บังคับใจ สุดโต่ง

พอเราบังคับกายบังคับใจนะ กายก็นิ่งผิดความเป็นจริง จิตก็นิ่งผิดความเป็นจริง เราต้องการดูให้เห็นความจริงต่างหาก ไปทำจนมันผิดความจริง แล้วจะเอาความจริงที่ไหนไปดู เพราะฉะนั้น เราต้องรู้ตามที่เขาเป็นจริงๆ นะ อย่าไปดัดแปลอารมณ์กรรมฐาน อารมณ์กรรมฐานไม่ได้เอาไว้ฝึกดัดแปลง แต่เอาไว้ดูเพื่อให้เห็นความจริง ว่ากายนี้ใจนี้ไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวเรา พอรู้ความจริงแล้วมันจะปล่อยวาง แต่ถ้าไปบังคับไปทำขรึม ทื่อๆ ไว้นะ ยิ่งแก่ยิ่งเก่งนะ ยิ่งแก่ยิ่งเพ่งเก่ง ใครด่าก็เฉย ใครชมก็เฉยนะ ฝึกจนกระทั่งมีรู้สึกเหมือนตนเองเป็นต้นไม้และก้อนหิน ไร้ความรู้สึก ฝึกอย่างนั้นน่าสงสาร เหนื่อย บางคนเพ่งมากๆๆ เพ่งไปกันจนพิกลพิการนะ ต้องหอบหิ้วกันมาให้เราแก้ให้ มันก็แก้ยากนะ

เพราะฉะนั้นอย่ารีบร้อน อย่าใจร้อนรีบปฏิบัติมากนัก ฟังให้รู้เรื่องหน่อย แล้วค่อยลงมือทำ เรียนก่อนว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร

ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๓
File:
490716.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๒๓ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่พักและไม่เพียร คืออะไร?

mp 3 (for download) : ไม่พักและไม่เพียร คืออะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

พักนี้นะก็คือ ขี้เกียจขี้คร้าน ปล่อยตัวปล่อยใจตามโลกไป ความเพียรนี้มันเกิดจากความโลภก่อน อยากได้ อยากรู้ อยากเห็น อยากเป็น อยากได้ อยากได้มรรคผลนิพพาน เสร็จแล้วก็เกิดความดิ้นรนในใจเรา พยายามที่จะทำอะไรสักอย่างหนึ่งที่เหนือกว่ามนุษย์ธรรมดานะ ดิ้นรน ส่วนมากก็จะดิ้นรนบังคับตัวเองเท่านั้นแหล่ะ ดิ้นรนบังคับกาย บังคับใจ จะให้มันเรียบร้อย เพราะฉะนั้นตรงที่พักอยู่กับเพียรอยู่นี้ เป็นความสุดโต่ง ๒ ด้านนะ อันนี้มันมาจากพระสูตรอันหนึ่ง มีเทวดาองค์หนึ่ง รู้สึกจะพระไตรปิฎกเล่ม ๑๖ มั้ง ไม่รู้นะ จำไม่ได้ถนัดแล้ว นานแล้วนะ มีเทวดาไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วก็ไปถามพระพุทธเจ้า บอกข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร ข้ามห้วงกิเลสได้อย่างไร พระพุทธเจ้าบอก ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ อันนี้แกล้งชมนะ ให้กำลังใจ ความจริงเทวดามันก็ทุกข์นั่นแหล่ะนะ แต่ว่าเทวดาองค์นี้ท่านสำคัญตนว่าเป็นพระอริยะ ก็เลยมาถามพระพุทธเจ้าว่า พระองค์ข้ามได้อย่างไร ในใจก็ว่า ฉันข้ามมาแบบนี้ พระพุทธเจ้าบอก ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ เราข้ามโอฆะได้โดยไม่พักอยู่ และไม่เพียรอยู่ เทวดาฟังแล้วงงเลย ไม่พักอยู่เทวดาเข้าใจ พัก หมายถึง ขี้เกียจขี้คร้านไม่ภาวนา แต่พระพุทธเจ้าบอก ท่านข้ามโอฆะได้โดยไม่เพียรด้วย เทวดางงนะ ก็เลยถามพระพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่พักไม่เพียรเป็นอย่างไร ให้พระองค์ช่วยขยายความ พระพุทธเจ้าก็ขยายความบอก ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าเราพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเราเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราข้ามโอฆะได้ โดยไม่พัก และไม่เพียร นี้เทวดาฟังเท่านี้ได้พระโสดาบัน มีใครได้หรือยัง ฟังเหมือนเทวดาแล้วนะ ได้มั้งไหม ยังไม่ได้ ไม่ได้ต้องขยายอีกนะ เผื่อจะได้

คำว่า พักอยู่ นี้หมายถึง การที่ปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลส หมายถึงอะไร หมายถึง กามสุขัลลิกานุโยค เพลิดเพลินไปในอารมณ์ทางโลกๆ เพลินไปในการดู ในการฟัง ในการดมกลิ่นลิ้มรส ในการสัมผัสต่างๆนะ เพลินอยู่กับโลก นี่เรียกว่า พักอยู่ แล้วจมลงใช่ไหม ท่านบอกว่า ถ้าพักอยู่แล้วจะจมลง ก็คือ ถ้าเราหลงตามโลก ตามกิเลสไป จิตใจเราจะตกต่ำลงไปเรื่อยๆ ในที่สุดก็ลงถึงอบายจนได้ แล้วก็เพียร แปลว่าอะไร เพียร หมายถึง การบังคับตัวเองนะ ผู้ปฏิบัติเกือบร้อยละร้อยนะ นี่พูดแบบสุภาพนะ ผู้ปฏิบัติเกือบร้อยละร้อย ทันทีที่คิดถึงการปฏิบัตินี้ ถ้าไม่บังคับกาย ก็บังคับใจ ยกตัวอย่าง สมมุติเราจะนั่งสมาธิ เราจะต้องเริ่มด้วยการบังคับกายก่อน ต้องนั่งให้มันเท่ๆ เสร็จถัดจากนั้นบังคับใจ เนี้ยนั่งอย่างนี้ไปเรื่อยๆนะ ท่านบอกทำแล้วจะลอยขึ้น ลอยไปไหน ลอยไปพรหมโลก เพราะฉะนั้นทำไปๆ ก็ไปสร้างภพสร้างชาติขึ้นอีก

ทางสายกลางนั้น ไม่พักอยู่ คือ ไม่หลงตามกิเลสไป ไม่เพียร คือ ไม่เอาแต่นั่งเพ่งตัวเอง อย่างบางคนดูท้อง พอง ยุบ ก็ไปเพ่งท้อง เดินจงกรมก็ไปเพ่งเท้า ไปรู้ลมหายใจก็ไปเพ่งลมหายใจ นั่นเรียกว่า เพียรอยู่ เพียรอยู่แล้วสิ่งที่ได้ ได้อะไร ได้ความดี ถ้าพักอยู่ได้ความชั่ว ทั้งดีและชั่วก็นำไปสู่ภพภูมิใหม่ ภพความชั่วก็นำไปสู่อบายภูมิ ภูมิที่ตกต่ำ ความดีก็นำไปสู่ สุขคติภูมิ ไม่ได้นำไปสู่นิพพาน แต่เราทำชั่วไม่ได้นะ ถ้าทำชั่วเราจะไปอบายภูมิ หน้าที่ของเราเดินในทางสายกลาง ทางสายกลาง ก็คือ การมีสติรู้กายตามที่มันเป็น มีสติรู้จิตใจ ตามที่จิตใจเขาเป็น ดูเข้าไปเรื่อยๆ

สวนสันติธรรม
CD: 27
File: 511018B.mp3
Time: 29.57 – 34.04

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ตราบใดที่ยังเห็นว่าจิตนี้เป็นเรา ก็ต้องดิ้นรนไปเรื่อย ๆ

mp3 (for download) : ตราบใดที่ยังเห็นว่าจิตนี้เป็นเรา ก็ต้องดิ้นรนไปเรื่อย ๆ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

CD สวนสันติธรรม 10

481002A

21.04 – 24.48

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางที่ผิดสองทางคือ ลืมกายลืมใจตัวเอง และ บังคับกายบังคับใจตัวเอง

mp3 (for download) : ทางที่ผิดสองทาง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


หลวงพ่อปราโมทย์ : สิ่งที่ผิดมีสองอัน อันหนึ่งเรียกว่า ‘กามสุขัลลิกานุโยค’ อะไรคือกาม ก็คืออารมณ์ที่มายั่วให้ใจเราหลงนั่นเองเรียกว่ากาม เช่น รูปที่สวยนี่เป็นกามมาล่อให้ใจเราหลง เสียงมาล่อให้ใจเราหลง นี่เรียกกาม กระทั่งความคิดของเราเองยังเป็นกามได้เลย คนก็คิดๆ แล้วก็เพลิดเพลินไป สิ่งเหล่านี้มายั่วให้เราหลง ถ้าเมื่อไรเราหลงในกาม คือหลงในอารมณ์ที่มายั่ว เราจะลืมกายลืมใจตัวเอง รู้สึกไหม เวลาอย่างตอนนี้ตั้งใจฟังหลวงพ่อ รู้สึกไหม เราลืม เรานั่งก็ไม่รู้ละ ใจเราเป็นอย่างไรเราก็ไม่รู้ งั้นเมื่อไรเราหลงนี่ เราจะลืมกายลืมใจตัวเอง

อันที่สองที่ผิดนะ เรียกว่า ‘อัตตกิลมถานุโยค’ การบังคับตนเอง การกดข่มตัวเอง การทำตัวเองให้ลำบาก นักปฏิบัติเกือบร้อยละร้อยคือนักบังคับตัวเอง คุณนึกออกไหม อย่างเราหายใจมาแต่เกิดไม่เหนื่อยนะ พอเราไปฝึกกำหนดลมหายใจมักจะเหนื่อย หรือเราบังคับตัวเอง รู้สึกไหม ตัวเราแข็งๆ ร่างกายเราก็แข็งๆ ใจเราก็แข็งๆ บางที ตอนที่เราไม่ได้คิดถึงการปฏิบัติ ร่างกายเราก็สบายๆ จิตใจเราก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมดา แต่พอเราคิดถึงการปฏิบัติเราเริ่มตรึงความรู้สึกของตนเองให้มันนิ่ง การตรึงให้มันนิ่งนี่ มันจะทำให้เราไม่เห็นไตรลักษณ์

อย่างใจของเรา เราไปเพ่งให้นิ่งนะ มันก็เที่ยงอยู่อย่างนั้นเอง ไม่มีไตรลักษณ์ให้ดู แต่ถ้าเราหายใจเข้า หายใจออกไปนะ หายใจไป เราเห็นร่างกายนี้หายใจไป บางทีก็เห็นจิตหนีไป เราก็รู้ทันจิต หายใจไปแล้วมีความสุข เราก็รู้ หายใจไปแล้วอึดอัดเป็นทุกข์ เราก็รู้ หัดคอยรู้คอยดูไป หายใจไปเดี๋ยวก็รู้กาย เดี๋ยวก็รู้เวทนา เดี๋ยวก็รู้จิต หมุนเวียนไปได้ ไม่ได้บังคับ แต่ถ้าเราไปบังคับให้นิ่งจะไม่มีไตรลักษณ์ให้ดู เช่น เราไปกำหนดลมหายใจนะ ไม่ยอมดูโลกข้างนอก ไม่ยอมคิดอะไรเลย รู้แต่ลมหายใจอันเดียว ใจเราจะนิ่งๆ ยิ่งฝึกไปจนแก่นะ ยิ่งนิ่งเก่ง เราจะรู้สึกว่าจิตนี้เป็นของบังคับได้ แทนที่จะเห็นว่าจิตเป็นอนัตตานะ กลับไปเห็นว่าจิตเป็นอัตตา เพราะฉะนั้น พอเราฝึกฌานมาก พวกที่เล่นฌานมากๆ บางทีเลยเห็นว่าจิตนี้เป็นอัตตา พอร่างกายนี้ตาม จิตนี้ก็ออกจากร่างนี้ไปรวมกับบรมอัตตา ปรมาตมัน รวมเข้ากับพรหม เพราะคิดว่ามันเที่ยง มันถาวร

แต่การเจริญสติอย่างศาสนาพุทธนี่เรียนให้เห็นความจริงว่าไม่เที่ยง เห็นเลยใจเราเปลี่ยนทั้งวัน เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย เรียนเพื่อให้เห็นตรงนี้นะ เพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ ไม่ใช่เรียนให้นิ่งหรอก

CD สวนสันติธรรม 10

480926B

27.58 – 31.02

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่