Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

รูปบางอย่างเกิดจากจิตสั่ง รูปบางอย่างไม่ได้เกิดจากจิตสั่ง

mp3 for download : รูปบางอย่างเกิดจากจิตสั่ง รูปบางอย่างไม่ได้เกิดจากจิตสั่ง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ภาพจากวัดพระธาตุโกฏิแก้ว
เอื้อเฟื้อภาพโดย คุณ มโน มยา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตอนนี้พวกเรานั่งอยู่ รู้สึกมั้ย กำลังนั่งอยู่ รู้สึกมั้ย ยากมั้ย รู้สึกเห็นร่างกายนั่ง ไม่ยาก แต่ชอบลืม ใช่มั้ย ชอบไม่รู้สึก ชอบไปคิดเรื่องอื่น ร่างกายนั่งอยู่ ไม่รู้สึก ร่างกายพยักหน้า รู้สึกมั้ย ถ้ารู้สึกจะเห็นเลย ไอ้นี่ไม่ใช่เราแล้ว เป็นอะไรตัวหนึ่ง กระดุ๊กกระดิ๊กๆไป ตามที่จิตสั่ง บางทีก็สั่งได้ บางทีก็สั่งไม่ได้นะ

รูปบางอย่างเกิดจากจิตสั่ง เรียกว่า จิตตชรูป ยกตัวอย่างรูปเคลื่อนไหว จิตเป็นคนสั่ง รูปบางอย่างเคลื่อนไหว แต่จิตไม่ได้สั่ง ยกตัวอย่างเช่นเวลาชักกระแด็กๆนะ จิตไม่ได้สั่งให้ชักเลยนะ มันชักของมันเอง

รูปเกิดได้หลายอย่าง เกิดจากกรรมก็ได้ เกิดจากสิ่งแวดล้อมก็ได้ เกิดจากอาหารก็ได้ เกิดจากจิตก็ได้

หายใจออกหายใจเข้า รู้สึกมั้ย รู้สึกไปอย่างสบายๆนะ ไม่ใช่รู้สึกแบบแปลกพิศดาร รู้สึกแบบเคร่งเครียด ไร้สาระ รู้สึกสบายๆ เกาแล้วรู้สึกมั้ย เกา เกายุกยิกๆ ผู้หญิงสาวๆสวยๆแต่งตัวดีๆนะ บางทีแคะขี้ฟันเฉยเลย นั่งฟังเทศน์ก็แคะไปเรื่อย ไม่รู้หรอก ร่างกายเคลื่อนไหวก็ไม่รู้สึก เคยเห็นคนโทรศัพท์มั้ย เดินโทรฯไป ทำท่าทางแปลกๆไปด้วย เคยเห็นมั้ย ทำท่าแปลกๆ มีร่างกายแต่เขาไม่รู้สึก

พวกเราคอยรู้สึก มีร่างกายแล้วก็คอยรู้สึกไป ร่างกายนั่งอยู่-รู้สึก ร่างกายหยุดนิ่ง-รู้สึก ร่างกายเคลื่อนไหว-รู้สึก ร่างกายหายใจออก-รู้สึก ร่างกายหายใจเข้า-รู้สึก ร่างกายยืนเดินนั่งนอน-รู้สึก รู้สึกสบายๆ แค่รู้สึก รู้สึกไปเรื่อยๆนะ ใจเราเป็นคนดูสบายๆ มันก็จะเริ่มเห็น ร่างกายไม่ใช่ตัวเราหรอก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๗ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๖ ก่อนฉันเช้า
FILE : 560907A
CD : สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๕๑
ระหว่างนาที่ที่ ๑๒ วินาทีที่ ๒๐ ถึง นาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๑๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทำยังไงจะรู้ทันว่าจิตไปคิดได้เร็ว

mp3 for download : ทำยังไงจะรู้ทันว่าจิตไปคิดได้เร็ว

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: วิธีที่จะฝึกให้จิตเป็นผู้รู้นะ ต้องรู้ทันว่าจิตไปคิด ทำยังไงจะรู้ทันว่าจิตไปคิดได้เร็ว ต้องมีเครื่องอยู่ไว้สักอันนึงให้จิตอยู่ก่อน ถ้าจิตทิ้งเครื่องอยู่นั่นไปเมื่อไหร่นะ มันจะรู้ได้เร็วว่าหลงไปคิดแล้ว

ยกตัวอย่าง เราอยู่กับพุทโธ พุทโธ…พุทโธ…พุทโธไปเรื่อยนะ ไม่ได้บังคับจิตให้อยู่กับพุทโธ แต่มีพุทโธเป็นแบ็คกราวนด์ พุทโธแล้วคอยรู้ทันจิต พุทโธ…พุทโธ… อ้าว จิตหนีไปคิดแล้ว คอยรู้ทัน อย่างนี้ใช้ได้ พุทโธ…พุทโธ แล้วจิตไปนิ่งเงียบอยู่แล้ว สงบนิ่งอยู่แล้วไปเพ่งจิตอยู่ ก็รู้ทัน

หรือมารู้ลมหายใจก็ได้ ใครชอบหายใจก็รู้ลมหายใจ หายใจออก หายใจเข้า หายใจสบายๆ หายใจแล้วไม่บังคับจิต หายใจสบาย หายใจนะ…หายใจ…เสร็จแล้วจิตไปเพ่งลมหายใจก็รู้ จิตหนีไปคิดก็รู้ พอจิตหนีไปคิดก็รู้ปุ๊บนะ จิตจะตื่นขึ้นมาพอดีเลย

หรือขยับมืออย่างหลวงพ่อเทียนก็ได้ หลวงพ่อเทียนท่านขยับมือสองข้างรวมกัน 14 จังหวะ ขยับไปแล้วรู้สึก รู้สึกตัว…ขยับ…รู้สึก…ขยับไปแล้วคอยรู้สึกไป ขยับไปๆ จิตแอบไปคิด รู้ทันว่าจิตแอบไปคิดละ ขยับไปแล้วจิตไปเพ่งใส่มือ รู้ทัน ตรงที่รู้ทันว่าจิตหนีไปคิดเนี่ย จิตจะตื่นขึ้นมา

ดูท้องพองยุบก็ได้ ดูท้องพองยุบไป จิตไปเพ่งที่ท้องก็รู้ทัน จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน ตรงที่จิตหนีไปคิดแล้วรู้ทันนั่นแหละ จิตจะตื่นขึ้นมา จิตจะหลุดออกจากโลกของความคิด

งั้นเราคอยฝึกนะ หากรรมฐานอันนึงขึ้นมาก่อน อยู่ๆ จะให้จิตเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานนี่ยาก ยากนะ อินทรีย์เรายังไม่แก่กล้าพอ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๕
File: 530530A
ระหว่างนาทีที่ ๑๙วินาทีที่ ๑๘ ถึงนาทีที่ ๒๑วินาทีที่ ๒๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กรรมฐานใช้เป็นแบ็คกราวน์เพื่อรู้กายใจ

mp3 for download: กรรมฐานใช้เป็นแบ็คกราวน์เพื่อรู้กายใจ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เวลาเราทำกรรมฐานใดๆก็ตามนะทุกคนนะ หากรรมฐานอันนึงเข้ามาทำ อะไรก็ได้ที่คุ้นเคย ที่ทำแล้วสบายใจ แต่ทำแบบเป็นแบ็คกราวน์ แบ็คกราวน์นะ งานหลักจริงๆ ให้รู้จิตตัวเอง หรือรู้กายตัวเองไป แล้วแต่ถนัด รู้กายก็ได้ รู้จิตก็ได้ แต่อาจเอาพุทโธ หรือเอาลมหายใจ เอาท้องพองยุบอะไรอย่างนี้รู้เป็นแบ็คกราวน์ไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน)
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๘ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๑
CD: ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน) ครั้งที่ ๒๐
File: 510518
ระหว่างนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๑๐ ถึง นาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การเจริญสติปัฏฐาน ทำให้ละมิจฉาทิฎฐิ ทำให้เกิดสัมมาทิฎฐิ

mp 3 (for download) : การเจริญสติปัฏฐาน ทำให้ละมิจฉาทิฎฐิ ทำให้เกิดสัมมาทิฎฐิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : พวกที่ไม่เห็นปฏิจจสมุปบาทเนี่ย จะมีมิจฉาทิฎฐิชนิดหนึ่ง ชื่อ “อัตตทิฎฐิ” อัตตทิฏฐิก็คือ ตัวเรามีอยู่จริงๆ ตัวเรามีจริงๆ พวกเราทั้งหลายที่ไม่ใช่พระโสดาบันนะ ยังมีอัตตทิฎฐิอยู่ เห็นว่าตัวเรามีจริงๆ

เรารู้สึกมั้ย ในนี้ ในกายในใจเนี้ย ในเนื้ยมีเราอยู่คนหนึ่ง เราคนนี้กับเราตอนเด็กๆ ก็ยังเราคนเดิม เราคนนี้กับเราเย็นนี้ หรือเย็นพรุ่งนี้ อีกปีหน้า ก็ยังเป็นเราคนเดิม เรารู้สึกมีเราอยู่ตัวหนึ่ง

แต่ถ้าเราเห็นปฏิจจสมุปบาทนะ เราเห็นกระบวนการทำงานของจิตใจที่เขาปรุงแต่งสืบเนื่องกันไปทั้งรูปธรรมนามธรรมที่เขาปรุงต่อกันไป เราจะรู้ว่าตัวตนถาวรไม่มีหรอก ความรู้สึกเป็นตัวเป็นตนนั้นเกิดจากหลงไปก่อน แล้วก็ไปปรุงแต่งขึ้นมา ตัวตนจริงๆไม่มี

ตอนนี้คนที่ภาวนากับหลวงพ่อแล้วเห็นว่า ตัวตนจริงๆไม่มี มีเป็นพันแล้วนะ พวกนี้คือพวก Candidate ที่จะได้ธรรมะ แต่ไม่บอกนะว่าชั่วโมงของการ Candidate นานแค่ไหน ไม่ใช่ว่า เอาละว้า ชั้นเห็นแล้วว่าความเป็นตัวตนเกิดแล้วดับไปเป็นคราวๆ เอาละสบายแล้ว หลวงพ่อบอกว่า Candidate แล้ว ชาตินี้นอนเล่นๆไปก่อน ชาติหน้าก็ลืม

เพราะฉะนั้นเราต้องภาวนา เห็นมั้ย เรารู้สึกกายรู้สึกใจ มีสติรู้กายรู้ใจ เราเห็นเลย ตัวตนจริงๆไม่มีหรอก มีแต่กระบวนการทำงานปรุงแต่งความเป็นตัวตนขึ้นมาเป็นคราวๆ

ทีนี้การที่เราเจริญสติปัฏฐาน หรือมีสติรู้กายรู้ใจ มันจึงละมิจฉาทิฎฐิทั้งหมดไป แล้วก็ทำให้เกิดสัมมาทิฎฐิทั้งหมด


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๗
File: 511019.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๒๔ ถึง นาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๑๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลักการใช้วิหารธรรม

mp 3 (for download) : หลักการใช้วิหารธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : แต่ละคนไม่เหมือนกันหรอก แล้วคนเดียวกันนะ แต่ละวันแต่ละเวลา ดูไม่เหมือนกันอีก แต่ว่ามันจะต้องมีวิหารธรรมมีฐานอันเดียว อย่ามีบ้านหลายบ้าน แต่บางช่วง สมมุติเราใช้จิตเป็นวิหารธรรม ดูจิตเรื่อยๆ แต่ดูไม่ไหวก็รู้จักเปลี่ยนมาดูกายบ้าง รู้จักมาทำความสงบบ้าง หรือดูกายอย่างเดียว ไม่ได้ไปจ้องอยู่ที่กาย เห็นร่างกายพองร่างกายยุบ จิตไหลไปอยู่ในกาย ไม่รู้ทันว่าจิตไหล ก็ใช้ไม่ได้ ก็ต้องรู้ทันว่าจิตไม่ตั้งมั่นแล้ว

เพราะฉะนั้นการภาวนานะ ถึงแม้จะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นวิหารธรรม วิหารธรรมแปลว่าบ้าน มีบ้านให้จิตอยู่ก็จริง แต่จิตออกนอกบ้านได้ บ้านไม่ใช่คุก บ้านนั้นถ้ามีธุระก็ออกไปเมื่อไหร่ก็ได้ แต่คุกห้ามออก นักปฏิบัติส่วนใหญ่นะ เปลี่ยนวิหารธรรมให้กลายเป็นคุกขังจิตแทบทั้งนั้นเลย เกือบร้อยละร้อยเลย ไปที่ไหนๆก็เห็นแต่แบบนั้นแหละ ไม่ใช่วิหารธรรมแต่เป็นคุก

ยกตัวอย่าง อยู่กับพุทโธก็บังคับจิต ห้ามหนีไปจากพุทโธ อยู่กับลมหายใจก็บังคับจิต ห้ามหนีไปจากลมหายใจ อยู่กับท้องพองยุบก็บังคับจิตต้องอยู่ที่ท้อง ห้ามหนีไปจากท้อง มีแต่บังคับจิต ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ใช่บ้านแต่เป็นคุก

แต่ถ้าเราพุทโธๆเนี่ย มีอารมณ์มากระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จิตมันแส่ส่ายออกไป จิตมันเกิดสุขเกิดทุกข์ เกิดกุศลอกุศลรู้ทันมัน มันจะเห็นแต่ความเปลี่ยนแปลงของจิต เห็นเลยว่าจิตเป็นของบังคับไม่ได้นะ เห็นไตรลักษณ์ของจิต หรือรู้ลมหายใจอยู่นะ ให้จิตตั้งมั่นเป็นคนดู เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่ตัวเรา นี่ก็เป็นการเดินปัญญาด้วยการดูกายละ

ถ้าจิตแส่ส่ายหนีออกไป รู้ทันว่าจิตแส่ส่ายออกไป จิตจะตั้งมั่นได้สมาธิขึ้นมา หรือเดี๋ยวก็ส่ายเดี๋ยวก็ตั้ง เดี๋ยวก็ส่ายเดี๋ยวก็ตั้ง เริ่มสังเกตเห็น จิตจะส่ายไปจิตจะตั้งมั่น จิตจะส่ายไปจิตจะตั้งมั่น บังคับไม่ได้จิตไม่ใช่เรา นี่เริ่มเดินปัญญาอีกละ

เพราะฉะนั้นเวลาภาวนานะ มันจะพลิกไปพลิกมา พลิกไปพลิกมา ระหว่างสมถะกับวิปัสสนานะ อย่างนี้ใช้ได้

แต่ถ้าไปจ่ออยู่ในอารมณ์อันเดียว เป็นสมถะไม่เดินปัญญา เป็นคุกขังจิต จิตต้องอยู่ที่ลมหายใจเท่านั้น ห้ามไปอยู่ที่อื่น อย่างนั้นไม่ใช่ อย่างนั้นเป็นสมถะ ดีมั้ย ดีเหมือนกัน ถ้าทำวิปัสสนาไม่ได้

ถ้าทำวิปัสสนา ดูจิตได้ให้ดูจิต ดูจิตไม่ได้ให้ดูกาย ดูจิตไม่ได้ดูกายไม่ได้ ให้ทำสมถะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
Track: ๑๙
File: 550601.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๑ ถึง นาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๔๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การทำตามรูปแบบ ทำได้ ๓ อย่าง

mp 3 (for download) : การทำตามรูปแบบ ทำได้ ๓ อย่าง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : การที่เราปฏิบัติในรูปแบบนั้น ยังทำได้ ๓ อย่าง

  • อันที่ ๑ ถ้าจิตฟุ้งซ่านมาก ทำความสงบ ให้จิตอยู่ในอารมณ์อันเดียว
  • อันที่ ๒ เมื่อจิตอยู่ในอารมณ์อันเดียวแล้ว รู้ทันจิตที่เคลื่อนไป ไหลไปคิด เราจะได้สมาธิชนิดที่ ๒ คือจิตตั้งมั่น
  • เมื่อจิตตั้งมั่นแล้วเวลาที่เราทำในรูปแบบเนี่ย หัดรู้สภาวะไป

สภาวะของร่างกาย สภาวะของเวทนาคือความสุขทุกข์ สภาวะของสังขารคือความปรุงดีปรุงชั่ว เช่นความโลภความโกรธความหลง ความวิตกกังวลต่างๆนะ ให้รู้ทัน แล้วก็รู้สภาวะของจิต จิตเดี๋ยวก็วิ่งไปดู เดี๋ยวก็วิ่งไปฟัง วิ่งไปคิด

แต่ตอนที่ทำในรูปแบบเนี่ย มันจะปิดทวารไปบางส่วน ถ้าเรานั่งสมาธิอยู่นะ มันก็ไม่วิ่งทางตา ไม่วิ่งทางหู เหลือแต่ทางใจ ก็เห็นจิตไหลไปทางใจ เคลื่อนไปเคลื่อนมา ก็รู้ทันอาการของจิต เป็นการหัดรู้สภาวะ การทำในรูปแบบนี้แหล่ะ ฝึกไว้ให้ชำนาญนะ ต่อไปเราจะขึ้นสู่การเจริญปัญญา เจริญปัญญาได้

เมื่อมีจิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู มีสติรู้เท่าทันสภาวะที่เกิดขึ้น การที่หัดรู้สภาวะนั่นแหล่ะ จะทำให้เกิดสติ การที่รู้ทันว่าจิตไหลไป จิตหลงไป จะทำให้เกิดสมาธิชนิดตั้งมั่น อาศัยสติและความตั้งมั่นของจิต ๒ อย่างนี้เป็นตัวช่วยกัน จะทำให้เกิดปัญญา คือการเห็นความจริงของกายของใจ

เพราะฉะนั้นต้องมี ๒ สิ่งนี้ อาศัยการทำในรูปแบบนี้มาช่วย เพราะฉะนั้นทำในรูปแบบนะ ถ้าฟุ้งซ่าน ก็ทำความสงบ พุทโธๆ ไม่ต้องคิดอะไรมาก ให้จิตสงบ ถ้าจิตสงบแล้ว ก็ทำกรรมฐานเดิมนั้นแหล่ะ แต่รู้ทันเวลาจิตมันเคลื่อนไป จิตมันไหลไป ถ้ารู้ทันจิตที่เคลื่อนไปไหลไป จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นคนดู พอจิตตั้งมั่นเนี่ย เราได้สมาธิแล้ว

ต่อไปเราก็มาพัฒนาให้เกิดสติ โดยรู้สภาวะนะ เห็นร่างกายหายใจ จิตเป็นคนดู เห็นร่างกายเดิน จิตเป็นคนดู เห็นความสุขความทุกข์ เกิดขึ้นในกาย จิตเป็นคนดู เห็นความสุขความทุกข์ความเฉยๆ เกิดขึ้นในจิต จิตเป็นคนดู เห็นกุศลอกุศลเกิดขึ้นในจิต จิตเป็นคนดู เห็นจิตเคลื่อนไปทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ จิตเป็นคนดู

ถ้าดูได้อย่างนี้ชำนิชำนาญนะ พอร่างกายขยับกริ๊กเดียวนะ สติเกิดเอง จะรู้สึกตัวขึ้นเองเลย ความรู้สึกแปลกปลอมเข้ามาในร่างกายนิดเดียว สติเกิดเองเลย ความรู้สึกหรือกุศลอกุศลแปลกปลอมเข้ามาในจิตนิดเดียวนะ สติระลึกได้เลย จิตเคลื่อนทางตาหูจมูกลิ้นกายใจนิดเดียวนะ สติระลึกได้เลย เมื่อเราได้ทั้งสติ ได้ทั้งสมาธิคือความตั้งมั่นแล้วเนี่ย เราเจริญปัญญาได้แล้ว

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
Track: ๒
File: 550421.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๙ ถึง นาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๔


เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๑๒) เมื่อแยกธาตุแยกขันธ์ได้ จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ไม่มีคน

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๑๒) เมื่อแยกธาตุแยกขันธ์ได้ จะเห็นว่าไม่มีตัวเรา ไม่มีคน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : นี้เราฝึกมาสองเรื่องแล้วนะ (หากต้องการอ่านย้อนหลัง กรุณาอ่านเรื่องในหมวด ทางวิปัสสนา) เรื่องแรก ทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง แล้วรู้ทันจิต พุทโธไปจิตหนีไปคิด-รู้ทัน หายใจจิตหนีไปคิด-รู้ทัน จิตไหลไปเพ่งลมหายใจ-รู้ทัน ฝึกรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป จิตก็ตั้งมั่นเป็นคนดู

พอจิตตั้งมั่นเป็นคนดูแล้วค่อยๆดูไป ร่างกายนี้เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ร่างกายที่นั่งอยู่ ร่างกายที่เดิน ร่างกายที่นอน เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ดูร่างกายกับจิตเป็นคนละอันกัน จะเป็นคนละอันอย่างอัตโนมัติ ต่อไปก็ดูไป ความปวดความเมื่อย อะไรเกิดขึ้นในร่างกายนะ ก็เป็นคนละส่วนกับร่างกาย เป็นคนละส่วนกับจิต ความกังวลใจที่เกิดขึ้น ก็เป็นคนละอันกับร่างกาย คนละอันกับความปวดเมื่อยเป็นคนละอันกับจิต นี้เราหัดแยกออกเป็นส่วนๆอย่างนี้แหละ

พอเราแยกออกเป็นส่วนๆแล้ว เราจะเห็นความจริงขึ้นมาแล้ว ร่างกายนี้เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า เป็นแค่วัตถุ เป็นก้อนธาตุ ร่างกายนี้มีธาตุไหลเข้าร่างกายนี้มีธาตุไหลออกตลอดเวลา เช่นเรากินอาหารแล้วเราก็ขับถ่าย เราหายใจเข้าแล้วเราก็หายใจออก เพราะฉะนั้นร่างกายนี้มีธาตุหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา ร่างกายเป็นเพียงแค่วัตถุเท่านั้นเอง เป็นสมบัติของโลกที่เรายืมโลกมาใช้ เรายืมวัตถุของโลกมาใช้ ถึงจุดหนึ่งเราก็ต้องคืนวัตถุชิ้นนี้ให้โลกไป เราครอบครองตลอดไปไม่ได้

เพราะฉะนั้นเราค่อยๆมาดูความจริงของร่างกาย ร่างกายไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นแค่วัตถุอันหนึ่งเท่านั้นเอง มีธาตุไหลเข้ามีธาตุไหลออก เนี่ยเราเริ่มล้างความเห็นผิดว่ามีตัวเราได้แล้ว ตัวเรานี้ประกอบไปด้วยกลุ่มก้อนของขันธ์ทั้งหลายที่มารวมตัวกันเข้า แต่พอเราแยกออกมาเป็นส่วนๆเราจะเริ่มเห็นความจริงว่ามันไม่ใช่เราหรอก ร่างกายเป็นวัตถุไม่ใช่ตัวเรา ความเจ็บปวดทั้งหลายความปวดเมื่อยทั้งหลาย กระทั่งความสุขทั้งหลาย เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาชั่วคราว

มันจะเห็นชัดๆเลยว่า ความสุขก็ไม่ใช่ตัวเรา ความสุขไม่ใช่ร่างกาย ความสุขไม่ใช่จิต เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ความสุขเป็นแค่สภาวธรรมอย่างหนึ่ง มิใช่คน ใครเห็นว่าคนคือความสุขบ้าง มีมั้ย คนคือความสุขไม่มี ไม่มีใครเห็นอย่างนั้นนะ เห็นอย่างนั้นก็เพี้ยนเลย

เพราะฉะนั้นถ้าเราแยกออกมาได้ เห็นตัวความสุขเห็นตัวความทุกข์ แล้วจะพบว่า ไม่มีคนนะ แต่ว่าคนเป็นสุขได้มั้ย อย่างพวกเราเป็นคน เรามีความสุขได้ ใช่มั้ย แต่พอแยกปั๊บออกไปนะ ความสุขไม่ใช่คน ร่างกายไม่ใช่คน จิตใจก็ไม่ใช่คนนะจิตใจก็ไม่ใช่คน ความปรุงดีปรุงชั่วความโกรธก็ไม่ใช่คน เราจะเห็นแยกออกไป ความกังวลใจก็ไม่ใช่คน พวกนี้เรียกว่าสังขารขันธ์ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นสังขารขันธ์ เป็นความปรุงของจิต ดูไปเรื่อย ความโกรธไม่ใช่คน ใครเห็นความโกรธเป็นคนได้ ต้องเพี้ยนนะ ความโกรธไม่ใช่คน ความโลภ ความรัก ไม่ใช่คนนะ ความใจลอย ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ ไม่ใช่คน

เราหัดรู้หัดดูไปเรื่อยอย่างนี้ ในที่สุดจะเห็นว่า ทุกส่วนที่เราแยกออกมาเป็นส่วนๆแล้วเนี่ย มันสอนให้เราเห็นความจริงว่า ไม่มีคนหรอก ไม่มีตัวเราหรอก

550409.25m04-28m24

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๒๕ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๗) สมาธิมีสองชนิด ฝึกเพื่อวัตถุประสงค์คนละอย่างกัน

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๗) สมาธิมีสองชนิด ฝึกเพื่อวัตถุประสงค์คนละอย่างกัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา (๖) จุดเริ่มต้นของการฝึกเจริญปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตรงนี้แหละที่เป็นข้อแตกต่างอย่างยิ่งนะ ระหว่างการทำสมาธิแบบเอาความสงบเป็นที่ตั้ง กับทำสมาธิชนิดที่จะทำให้จิตถอยยออกมาเป็นผู้รู้ผู้ดูเพื่อจะเดินปัญญา สมาธิมันมี ๒ ชนิด

สมาธิชนิดแรก สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตของเราปกติฟุ้งซ่าน หนีไปโน้นหนีไปนี้อยู่ตลอดเวลา เรามาอยู่กับพุทโธไม่ให้จิตหนี มาอยู่กับพุทโธไม่ให้จิตหนีไปไหนเลย จิตสงบอยู่กับพุทโธ ได้สมถกรรมฐาน ได้ความสงบ เรารู้ลมหายใจไม่ให้จิตหนีไปไหนเลย อยู่กับลมหายใจอย่างเดียว เราได้ความสงบได้สมถกรรมฐาน

แต่จะฝึกให้จิตตั้งมั่น ไม่ลืมตัวเอง ต้องฝึกอีกแบบหนึ่ง ทำสมาธิอีกชนิดหนึ่ง สมาธิมี ๒ ชนิด สมาธิที่จิตสงบ อยู่ในอารมณ์อันเดียว มีชื่อทางวิชาการ ชื่อว่าอารัมณูปนิชฌาน อารัมณะคืออารมณ์นั่นเอง จิตนี้แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นอยู่กับพุทโธอย่างเดียวไม่หนีไปไหน ไม่นึกไม่คิดอะไร อยู่กับพุทโธ หายใจก็สงบอยู่กับลมหายใจอย่างเดียว ไม่คิดไม่นึกไม่หนีไปไหน อย่างนี้ได้ความสงบเฉยๆ

มีสมาธิอีกชนิดหนึ่ง ชื่อลักขณูปนิชฌาน สมาธิชนิดนี้จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นคนดู จิตไม่หลงไปในโลกของความคิด ไม่หลงเผลอไป ไม่ไหลไป แต่ตั้งมั่นขึ้นมา วิธีฝึกก็ใช้พุทโธ ใช้ลมหายใจ เหมือนที่ใช้ฝึกทำความสงบนั่นแหละ แต่ปรับวิธีนิดหนึ่ง ถ้าจะทำความสงบเราก็พุทโธให้จิตอยู่กับพุทโธ หายใจให้จิตอยู่กับลมหายใจ ดูท้องพองยุบให้จิตไปอยู่ที่ท้อง เนี่ยจิตได้ความสงบ แต่ถ้าจะฝึกจิตให้ตั้งมั่นนะ หัดพุทโธไปแล้วจิตหนีไปคิด รู้ทัน หายใจไปจิตหนีไปคิด รู้ทัน ไม่ได้บังคับจิตว่าห้ามไปไหน ไม่ได้บังคับจิตว่าต้องอยู่ที่เดียวนิ่งๆ

550409.15m29-17m24

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๑๕ วินาทีที่ ๒๙ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๖) จุดเริ่มต้นของการฝึกเจริญปัญญา

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๖) จดเริ่มต้นของการฝึกเจริญวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : เรามาหัดถอดตัวเอง ทำอย่างไรดี ขั้นแรกเลยนะ เราต้องรู้สึกตัวให้เป็นก่อน ถ้าใจเราลอย ใจเราฟุ้งซ่าน คิดโน่นคิดนี่นะ เราไม่สามารถเรียนรู้เรื่องตัวเราเองได้ สังเกตมั้ย เวลาที่เราใจลอย เราจะไปคิดถึงคนอื่น คิดถึงสิ่งอื่น หรือถ้าคิดถึงตัวเราเอง ก็จะไปคิดถึงเวลาอื่น เช่น คิดถึงตัวเราในอดีต คิดถึงตัวเราในอนาคต มันจะหลงไปหาสิ่งอื่นตลอด

ลองดูก็ได้ ในขณะนี้ ตั้งใจฟังหลวงพ่อ รู้สึกมั้ย ขณะที่ตั้งใจฟังหลวงพ่อเนี่ย ร่างกายเรามีมั้ย ร่างกายเรามีอยู่นะ แต่เราไม่รู้สึก เราลืมร่างกายของเราไป ในขณะนี้จิตใจของเราก็มี แต่พอมาจดจ่อมาฟังธรรมะของหลวงพ่อนะ เราลืมจิตใจของเราเอง สุขหรือเปล่าก็ไม่รู้ ทุกข์หรือเปล่าก็ไม่รู้ เป็นกุศลหรืออกุศลก็ไม่รู้

เมื่อไรใจลอยนะ เมื่อนั้นไม่สามารถรู้กาย ไม่สามารถรู้ใจ ของตัวเองในปัจจุบันได้ ใจลอยอาจจะรู้กายรู้ใจนะ แต่รู้ด้วยการคิดๆเอา คิดถึงเราเมื่อวานซืน คิดถึงเราเมื่อตอนเด็ก คิดถึงคนโน้นคิดถึงคนนี้ มันไม่ใช่ตัวจริงในปัจจุบันนี้ เมื่อไรใจลอย เมื่อนั้นลืมตัวเอง เพราะฉะนั้นเราต้องพยายามรู้สึกตัวเอง ไม่ลืมตัวเอง

นี่คือจุดตั้งต้นเลยนะ ของการที่จะเจริญปัญญา ถอดตัวเองออกเป็นชิ้นๆได้เนี่ย ขั้นแรกต้องไม่ลืมตัวเอง ถ้าเราลืมตัวเอง เราก็ถอดตัวเองออกเป็นชิ้นๆไม่ได้ เหมือนเเราจะเป็นช่างซ่อม เราลืมรถยนต์ไปนะ ไม่ได้สนใจรถยนต์เลย รถยนต์ก็กองอยู่อย่างนั้น ไม่ได้ถอดออกมาเป็นชิ้นๆเสียที

เพราะฉะนั้นขั้นแรกเลยของการปฏิบัติเนี่ย ต้องอย่าใจลอย วิธีฝึกที่จะไม่ให้ใจลอยทำอย่างไร ขั้นแรกหัดพุทโธก็ได้นะ หัดหายใจก็ได้ จะดูท้องพองยุบก๊ได้ ทำกรรมฐานอะไรก็ได้สักอย่างหนึ่ง เราถนัดพุทโธเราก็ใช้พุทโธ ถนัดรู้ลมหายใจเราก็รู้ลมหายใจ ถนัดดูท้องพองยุบเราก็ดูท้องพองยุบ ถนัดที่จะขยับมือทำจังหวะ อย่างสายหลวงพ่อเทียนขยับมือ เราก็ขยับมือไป อะไรก็ได้ หางานขึ้นมาให้จิตทำสักอย่างหนึ่ง จะพุทโธ จะรู้ลมหายใจ จะดูท้องพองยุบ จะขยับมือทำจังหวะ จะไปเดินจงกรม อะไรก็ได้ ทั้งนั้นเลย แล้วคอยรู้ทันจิต

550409.13m06-15m29

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๑๓ วินาทีที่ ๖ ถึง นาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้าดูจิตไม่เห็นดูกายไปก่อน

mp3 for download: 520704B_seebodyseemind

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ถ้าดูจิตไม่เห็นดูกายไปก่อน

ถ้าดูจิตไม่เห็นดูกายไปก่อน

โยม : เมื่อก่อนตอนที่มาครั้งแรกค่ะหลวงพ่อบอกให้หนูดูกายใช่มั้ยคะ ก็รู้สึกว่าตัวเองนี้เราขนาดทำงานอยู่แต่ว่าใจชอบจะไหลไปคิด

หลวงพ่อปราโมทย์ : อ้อ นั่นแหล่ะ รู้กายไปนะแล้วมันจะเห็นจิต ดูกายเนี่ยกายมันเป็นบ้านของจิต อยู่ๆเราไปดูจิตตรงๆบางคนดูไม่เห็น ถ้าดูจิตไม่เห็นดูกายไปก่อน เหมือนเราอยากหาเจ้าของบ้าน ยังไม่เจอเจ้าของบ้าน เราไปเฝ้าหน้าบ้านไว้เห็นร่างกายมันทำงานไป     

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ
วันเสาร์ ที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
File: 520704B
ระหว่างนาทีที่  ๔๗ วินาทีที่ ๓๑ ถึง นาทีที่ ๔๗วินาทีที่ ๕๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางบรรลุธรรม (๒) ดูรูป(ร่างกาย)ให้เป็นวิปัสสนา

mp3 for download : ทางบรรลุธรรม (๒) ดูรูป(ร่างกาย)ให้เป็นวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางบรรลุธรรม (๒) ดูรูป(ร่างกาย)ให้เป็นวิปัสสนา

ทางบรรลุธรรม (๒) ดูรูป(ร่างกาย)ให้เป็นวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : บางคนน่ะแยกละเอียดยิบเลย อย่างร่างกายก็แยกเป็นธาตุต่อไปอีก ตัวรูปขันธ์ก็แยกออกเป็นธาตุอีก ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุน้ำ ธาตุน้ำดูยากที่สุด ธาตุน้ำรู้ด้วยใจ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม รู้ด้วยร่างกาย

อย่างเราคิดพิจารณาผมเป็นดิน นี้รู้ธาตุดินมั้ย คิดพิจารณาผมว่าเป็นดินน่ะ ถือว่าเป็นการรู้ธาตุดินมั้ย เป็นมั้ยเอ่ย ไม่เป็น เพราะธาตุดินรู้ด้วยร่างกาย คิดพิจารณารู้ด้วยใจ คิดพิจารณาธาตุดิน ผมเป็นธาตุดินอย่างนี้เป็นสมถกรรมฐาน รู้ไม่ได้ด้วยสภาวะแท้ๆ อายตนะแท้ๆที่จะใช้รู้ธาตุดินคือกายนะ

นี่บางคนละเอียด แต่บางคนก็ไม่ต้องละเอียดขนาดนี้ก็ได้ ส่วนใหญ่ไม่ได้ละเอียดถึงขนาดนี้หรอก ที่ภาวนากันจริงๆ พ้นทุกข์พ้นร้อนกันจริงๆ แค่เห็นเส้นผมไม่ใช่ตัวเรา ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ไม่ใช่ตัวเรา ดูลงเป็นอนัตตาไป เห็นมันไม่มีไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ตัวเรา แค่นั้นก็ยังได้เลย

ดูความไม่เที่ยง ดูยากหน่อย ตัวรูปมันอายุยืน จะดูว่าเส้นผมไม่เที่ยง จะไม่ให้เจือด้วยการคิดน่ะยาก ถ้าเจือด้วยการคิดนะ ผมแต่ก่อนดำเดี๋ยวขาวอะไรอย่างนี้ ผมแต่ก่อนสั้นเดี๋ยวนี้ยาว เจือด้วยการคิด ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา ไม่ใช่วิปัสสนา

เพราะฉะนั้นดูรูปให้เห็นอนิจจังดูยาก รูปมันอายุยืนกว่าจิต ส่วนมาก็จะเบี่ยงไปดูรูปข้างเคียง อย่างรูปยืนรูปเดินรูปนั่งรูปนอน รูปยืนเดินนั่งนอน รูปหายใจออกหายใจเข้า อันนี้ไม่จัดว่าเป็นรูปแท้ รูปแท้เป็นธาตุดินน้ำไฟลม มีสี มีกลิ่น อะไรพวกนี้เป็นรูปแท้ รูปข้างเคียง เช่นรูปยืนเดินนั่งนอน ไม่จัดเป็นรูปแท้ ในตำราบอกว่า เอาไปทำวิปัสสนาไม่ได้ จะไปดูรูปไม่ได้ ไม่ได้จริง

แต่พลิกอีกมุมหนึ่งนะ ดูเป็นอนัตตาได้มั้ย ได้ ดูเป็นอนัตตาได้ จะเห็นเลย ตัวที่เคลื่อนไหวอยู่ ไม่ใช่ตัวเรา ตัวที่นั่งอยู่ไม่ใช่ตัวเรา

540805.00m56-03m40


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
วันศุกร์ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ ก่อนฉันเช้า

CD: 41
File: 540805.mp3
นาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๕๖ ถึง นาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๔๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมาธิที่รู้เห็นสิ่งภายนอกไม่เป็นไปเพื่อเกิดปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

Mp3 for download: สมาธิที่รู้เห็นสิ่งภายนอกไม่เป็นไปเพื่อเกิดปัญญา

สมาธิที่รู้เห็นสิ่งภายนอกไม่เป็นไปเพื่อเกิดปัญญา

สมาธิที่รู้เห็นสิ่งภายนอกไม่เป็นไปเพื่อเกิดปัญญา

ลพ.ปราโมทย์ : สมาธิที่รู้เห็นอะไรข้างนอกนี่ ไม่เป็นไปเพื่อให้เกิดปัญญา สมาธิที่ฝึกไปแล้วจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมเนื้อลืมตัว อันนี้แหละสมาธิที่ทำให้เกิดปัญญาได้

เพราะฉะนั้นต่อไปเราฝึกสมาธินะ เราอย่าฝึกให้เคลิ้ม เราฝึกให้รู้สึกตัวไว้ พุทโธๆ พุทโธไปนะ พุทโธสบาย ไม่พุทโธเพื่อบังคับให้จิตสงบ พุทโธๆ พุทโธไป หรือหายใจเข้า หายใจออกนะ หายใจไปอย่างสบาย ฝึกให้รู้สึกตัว เห็นร่างกายมันหายใจไป เห็นใจมันท่องพุทโธไป เรียกว่าทำสมถะไปนะ ทำกรรมฐานขึ้นสักอันหนึ่ง จะดูลมหายใจก็ได้ จะพุทโธก็ได้ จะดูท้องพองยุบก็ได้ จะเดินจงกรมก็ได้ นะ ทำอะไรก็ได้นะ แต่ทำไปเพื่อจะให้รู้สึกตัว ไม่ทำให้เคลิ้ม เช่น หายใจไป รู้สึกตัว ใจลอยไปแล้ว รู้ทัน หายใจไป รู้สึกตัว เอาใจไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจ รู้ทันนะ เราฝึกเพื่อให้ได้ความรู้สึกตัวขึ้นมาก่อน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันพฤหัสบดีที่
๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
File: 530422
ระหว่างนาทีที่  ๑วินาทีที่ ๓๒ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๓๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

เราปฎิบัติเพื่ออะไร?mp 3 (for download) : เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่นี่หลวงพ่อจะเน้นสอนเรื่องการปฏิบัติให้ หลักของการปฏิบัติเราก็ต้องรู้ ว่าเราจะปฏิบัติอะไร ปฏิบัติเพื่ออะไร ปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติแล้วได้ผลเป็นยังไง ต้องตอบได้ชัดเจน เราจะปฏิบัติอะไร มีสองอย่างที่จะต้องปฏิบัติคือ “สมถะ” กับ “วิปัสสนา” ปฏิบัติเพื่ออะไร สมถะ ปฏิบัติเพื่อให้จิตใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะเดินวิปัสสนา ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อจะได้เห็นนู่นเห็นนี่มีตาทิพย์มีหูทิพย์ บางคนอยากได้เจโตอยากได้ทิพจักษุ  หลวงพ่อเคยเจอนะ มีไอ้หนุ่มคนนึง มันภาวนาอยากได้ทิพจักษุ ถามว่าอยากได้ทำไม มันจะได้มองทะลุผ้าของคนอื่น มันเห็นธรรมะเป็นเรื่องอะไร จะทะลุฝาห้องของเค้าอะไรอย่างนี้ ได้เรื่องเลย มีจริงๆนะ สมถะนะ เราทำไปเพื่อให้ใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะทำวิปัสสนา

วิปัสสนาทำไปเพื่ออะไร เพื่อให้เกิดปัญญา รู้ความจริงของกายของใจนี้ ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ ดังนั้นทำเราทำวิปัสสนาเพื่อให้รู้ความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจ รู้แล้วได้อะไร รู้ถึงที่สุดแล้วมันจะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ

พระอรหันต์ไม่ใช่คนประหลาดนะ อย่าไปวาดภาพพระอรหันต์ประหลาดเกินเหตุทำอะไรก็ไม่ได้ กระดุกกระดิกก็ไม่ได้ วันๆต้องนั่งเซื่องๆเหมือนนกกระยางรอให้ปลามาใกล้ๆจะได้ฉกเอาเชื่องๆห้ามกระดุกกระดิก พระอรหันต์จริงๆก็คือท่านผู้ภาวนาจนมีปัญญา เห็นทุกข์เห็นโทษของขันธ์นะ ขันธ์ห้าเป็นทุกข์เห็นอย่างนี้ แล้วท่านปล่อยวางความยึดถือขันธ์ได้ จิตท่านแยกออกจากขันธ์ พรากออกจากขันธ์ ไม่ยึดถือขันธ์ ท่านเป็นอิสระจากขันธ์ ตัวขันธ์เป็นตัวทุกข์ เพราะฉะนั้นพระอรหันต์เลยพ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่นี่พ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่ตายแล้วเค้าเรียกดับทุกข์คือขันธ์มันดับ ไม่ใช่ไปเกิดอีกนะ หลายคนวาดภาพเป็นพระอรหันต์ไปเกิดอีกไปอยู่ในโลกนิพพาน อันนั้นไม่ใช่ศาสนาพุทธหรอก พระอรหันต์ นิพพานแล้วเหมือนไฟที่ดับไปแล้ว ไฟที่ดับแล้วอยู่ที่ใหน ใครจะรู้ เพราะฉะนั้นเราภาวนานะ ภาวนาทำสมถะเพื่อให้มีแรง ทำวิปัสสนา ทำวิปัสสนาเพื่อให้เห็นความจริงของกายของใจ ถ้าเราเห็นความจริงของกายของใจได้มันจะหมดความยึดถือ ปล่อยวางได้ พอปล่อยวางได้ก็พ้นทุกข์ได้ เพราะตัวกายตัวใจตัวขันธ์นี้แหล่ะตัวทุกข์

นี่ต้องเรียนสิ่งเหล่านี้ แล้วทำยังไง เราจะทำอะไร ทำสมถะและวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร บอกแล้ว ทำอย่างไร สมถะนี่ไม่ใช่ทำเพื่อให้เคลิ้ม วิธีทำสมถะไม่ใช่น้อมใจให้เคลิ้มให้ซึมให้นิ่ง แต่ฝึกความรู้สึกตัวขึ้นมา หายใจออกรู้สึก หายใจเข้ารู้สึก เคยได้ยินคำว่า”อานาปานสติ”มั้ย มีสตินะไม่ใช่ฝึกให้ไม่มีสติ ไม่ใช่ฝึก(เสียงกรน)คร้อกบรรลุแล้ว ฝึกให้มีสติหายใจเข้า ฝึกให้มีสติหายใจออก มีสติไปเรื่อยเลย หรือบางทีพิจารณากาย”กายคตาสติ” มีสติไล่ไปในกาย ดูอาการสามสิบสอง ดูอวัยวะต่างๆในร่างกาย มีสติ เห็นมั้ย ไม่ได้บอกให้ขาดสติเลยนะ ไม่ได้ดูเอาแก้วแหวนเงินทอง เอาวิมานสวรรค์อะไรทั้งสิ้นเลย แต่ฝึกให้มันมีสติ รู้ลมหายใจก็ให้มันมีสติ พิจารณากายก็พิจารณาด้วยความมีสติ เรียกว่ากายคตาสติ ทำอะไรๆก็มีสติ คิดถึงพระพุทธเจ้าก็คิดถึงด้วยความมีสติ หัดพุทโธ ๆ แล้วรู้สึกตัวไป นึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตของเราจะทำยังไงพุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราไม่ได้ภาวนาให้เคลิ้มๆ ภาวนาให้รู้สึกตัว ฉะนั้นเราอย่าทิ้งสติ ครูบาอาจารย์เคยสอนบอก “สติจำเป็นในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ”

ฉะนั้นทำสมถะก็ต้องมีสตินะ แต่มีสติอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข อารมณ์อันเดียว ทำไมต้องอารมณ์อันเดียว อารมณ์หลายอันแล้วก็รู้ตัวยาก ปกติจิตมันจะหนีตลอดเวลา วิ่งไปวิ่งมาตลอดเวลา พอเรามาทำสมถะนะ เรามีอารมณ์อันเดียว มาเป็นเหยื่อ เหยื่อล่อจิต อย่างถ้าจะตกปลานะ มีคนโยนเบ็ดพร้อมกันร้อยอัน ปลางงเลยจะกินอันใหนดีใช่มั้ย ว่างมาทางนี้ เอ๊ะ ไม่เอาตัวเล็กไป ว่ายทางนี้ ก็ใหญ่ไปเกินพอดี เกินคำ ไม่เอา วกไปวกมา ไม่ได้กิน ถ้ามีเหยื่ออันเดียวปลาฝูงนึงยิ่งดี มีเหยื่ออันเดียวล่อ จิตของเราปกติร่อนเร่ไปเรื่อยๆ วิ่งไปทางตา วิ่งไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนะ ร่อนเร่ไปเรื่อย เที่ยวแสวงหาอารมณ์ไปเรื่อย เหมือนปลาวิ่งหาเหยื่อไปเรื่อย ว่ายไปเรื่อยๆ เราหาอารมณ์อันนึงที่ชอบใจของปลาตัวนี้มาล่อมัน ไปเอาพุทโธก็ได้ คนไหนพุทโธแล้วสบายใจเอาพุทโธ คนไหนหายใจเข้าหายใจออกแล้วสบายใจเอาลมหายใจ คนไหนดูท้องพองยุบแล้วมีความสุขก็ดูท้องพองยุบไป คนไหนเดินจงกลมแล้วมีความสุขก็เดินไป ไม่ใช่เดินทรมาน เดินไปเครียดไป เดินไปเครียดไป สมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนะ หาอารมณ์ที่สบายๆ อยู่แล้วมีความสุข

อย่างหลวงพ่อนะ ฝึกอานาปานสติมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่เจ็ดขวบ พวกเราส่วนใหญ่ในห้องนี้ยังไม่เกิด หายใจแล้วมีความสุข พอจิตใจมีความสุข จิตจะสงบ จิตมันหิวอารมณ์นะ พอมันได้กินของชอบนะ มันเลยไม่ไปเที่ยวที่อื่น เอาอารมณ์มาล่อ อยู่กับพุทโธ อยู่กับลมหายใจแล้วมีความสุข จิตก็ไม่หนีไปไหน จิตเคล้าเคลียอยู่ แต่ระวังอย่างเดียว อย่าให้ขาดสติ อย่างเราหายใจไป ถ้าใจเคลิ้มก็รู้ทันว่าเคลิ้ม หายใจไปใจฟุ้งซ่านหนีไปคิดเรื่องอื่น รู้ว่าใจฟุ้งซ่านไป ใจก็มีความสุข เคล้าเคลีย สงบอยู่กับลมหายใจ จนกระทั่งลมหายใจมันสว่างขึ้นมา หายใจไปเรื่อยๆ เวลาจะเข้าฌาน ไม่ใช่รู้ลมหายใจหรอกจะบอกให้ พวกเรามั่วๆนะ หายใจแล้วเข้าฌานรู้ลมหายใจแล้วเข้าฌาน ไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอก

ลมหายใจเบื้องต้นเรียกว่า บริกรรมนิมิต รู้ลมไปเรื่อย สบาย จิตใจมีความสุข มันจะสว่างขึ้นมา ความสว่างมันเกิดขึ้นนะ ใจมันสงบลงมา ในทางร่างกายเวลาจิตสงบลงมา เลือดจะมาเลี้ยงสมองส่วนหน้านี้ เลือดจะมาเลิ้ยงตรงนี้เยอะ มันจะให้ความรู้สึกที่สว่างขึ้นมา จิตมันก็สว่างนะ กายมันก็สว่างขึ้นมา ผ่องใส ความสว่างเกิดขึ้นแล้วเนี่ย เอาความสว่างนี้มาเป็นนิมิตแทนลมหายใจได้ ต่อไปความสว่างมันเข้มข้นขึ้นนะ เป็นดวงขึ้นมา ให้เล็กก็ได้ ให้ใหญ่ก็ได้ จิตใจก็มีความสุข สนุก มีความสุขอิ่มเอิบเบิกบาน มีปีติขึ้นมา เข้าฌาน ไม่ใช่หายใจรู้ลมแล้ว (เสียงกรน คร้อก) บอกว่าหายใจจนลมระงับ ถามว่าลมระงับยังไง ลืมไปเลย หลับไปแล้ว บอกว่าไม่มีลมหายใจแล้ว ไม่ใช่นะ

เพราะฉะนั้นหลักของการทำสมถะนะ ก็อย่าทิ้งสติ มีสติไปเรื่อย เวลาจิตรวมก็รวมด้วยความมีสติ ไม่รวมแบบขาตสติ วูบๆวาบๆหรอก รู้เนื้อรู้ตัวตลอดสายของการปฏิบัติเลย รวมลงไปลึกเลย จนร่างกายหายไปเลย ลมหายใจก็หาย ร่างกายก็หาย โลกทั้งโลกก็หายไปหมดเหลือจิตอันเดียว ก็ยังไม่ขาดสตินะ จิตดวงเดียวอย่างนั้น เด่นอยู่อย่างนั้น ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ทำไมต้องมีจิตขึ้นมา โดดเด่นขึ้นมา เพื่อเราจะได้เอาไว้ต่อวิปัสสนา

ฉะนั้นบางคนทำไม่ถึงฌานก็ไม่เป็นไรนะ แค่หัดพุทโธ พุทโธๆ ไป ค่อยๆดูไป พุทโธเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า เห็นมั้ย ใจนั้นค่อยตั้งมั่นขึ้นมา อย่างนี้ใช้ได้ หายใจไปเรื่อยๆ หายใจเข้าหายใจออก อะไรก็ว่าไปเถอะ หายใจไปแล้วเห็นร่างกายมันหายใจ จิตเป็นคนดู อย่างนี้นะถึงจะทำสมถะ เพื่อจะต่อวิปัสสนา คือหายใจไปแล้วมีจิตเป็นคนรู้คนดูขึ้นมา ดูท้องพองยุบไปนะ เห็นร่างกายมันพองเห็นร่างกายมันยุบ จิตเป็นคนดู

เพราะฉะนั้นบทเรียนเรื่องการทำสมาธิเนี่ย ในทางศาสนาพุทธท่านถึงใช้คำว่า “จิตตสิกขา” ทำสมาธิจนกระทั่งเราเห็นจิตของเรา จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ยแหล่ะ พร้อมที่จะไปเดินวิปัสสนาต่อแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าคนไหนจะทำสมถะนะ ก็อย่าให้ขาดสติ หายใจไปเห็นร่างกายหายใจ จิตเป็นคนดู หายใจไปจิตแอบไปคิด รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน ก็มีจิตอีกคนนึงเป็นคนดู เฝ้ารู้ไปจนกระทั่งจิตเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา อย่างนี้เรียกว่าเราทำสมถะเป็น เวลาบางช่วงบางครั้งบางคราวจิตก็เข้าพักสงบ รู้เนื้อรู้ตัวอยู่นะ สงบ ไม่แส่ส่ายไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สงบไม่คิดไม่นึกอะไร ใจว่างสบายสว่าง อันนี้ทำสมถะเต็มที่

ต่อไปก็หัด นั่งสมาธิไปแล้วเห็นจิตเคลื่อนไหวรู้ไปเรื่อยจนจิตตั้งขึ้นมา ตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา อย่างนี้ดี จะเอาไว้ต่อวิปัสสนา นี้พอเราหัดภาวนาไปนะ พุทโธๆ เราเห็นเลย พุทโธเป็นของถูกรู้ จิตเป็นผู้รู้พุทโธ หายใจออกหายใจเข้านะ หายใจไป จนกระทั่งเห็นเลยร่างกายมันหายใจ จิตเป็นผู้รู้ว่าร่างกายหายใจ มีจิตที่เป็นผู้รู้ขึ้นมา จะเดินจงกลมยกเท้าย่างเท้าเห็นร่างกายมันเดินไป จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู ต่อไปพอผู้รู้ผู้ดูมันหายแว้บไป คือมันขาดสติเมื่อไรมันหายเมื่อนั้น สติมันระลึกได้เองเพราะมันเคยรู้จักผู้รู้ผู้ดูเนืองๆ ฉะนั้นเราจะฝึกจนกระทั่งสามารถรู้สึกตัวอยู่ในชีวิตประจำวันได้เนืองๆ เมื่อไรเป็นผู้หลงนะ ก็ขาดผู้รู้ เมื่อไรเป็นผู้รู้ก็ไม่เป็นผู้หลง บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็หลงเป็นผู้คิด บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็เป็นผู้เพ่ง

พอเรามาอยู่ในชีวิตประจำวัน เราเห็นตัวผู้รู้เค้าเกิดดับไปเรื่อยๆ เนี่ย เฝ้ารู้เฝ้าดูอย่างนี้เรื่อยๆ พอใจมันเป็นคนรู้คนดูขึ้นมาได้ มันจะเห็นร่างกายไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นวัตถุ ร่างกายเป็นก้อนธาตุ ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวไป จะเห็นเวทมาทั้งหลายไม่ใช่ตัวเรา ความสุขความทุกข์ทั้งหลาย ความไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหลาย ผ่านมาผ่านไป เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ จนใจของเรามันตั้งมั่น รู้เนื้อรู้ตัวเรื่อยๆ แต่ไม่ได้ตั้งเอาไว้จนแข็งๆรู้ตัวตลอดเวลา อย่างนั้นใช้ไม่ได้ ต้องรู้บ้างเผลอบ้างนะ ถึงจะเห็นว่าตัวรู้เองก็เกิดๆดับๆ

สมัยก่อน หลวงพ่อไปเรียนกับครูบาอาจารย์ เมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อนโน้น เข้าวัดไหนครูบาอาจารย์พูดแต่คำว่า”ผู้รู้” ท่านยังสอนด้วยซ้ำไปว่า ศาสนาพุทธ “พุทธ”แปลว่าอะไร พุทธ (อ่าน พุท-ธะ) แปลว่า”รู้” พุทธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ใจของเราชอบเป็นผู้คิด ใจของเราชอบเป็นผู้หลง เราฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ทำยังไงใจจะเป็นผู้รู้  ถ้ารู้ทันสภาวะที่กำลังปรากฎนะ ใจจะเป็นผู้รู้ขึ้นมา เช่นเผลอไปรู้ว่าเผลอ ใจก็จะเป็นผู้รู้ขึ้นแว้บนึง เป็นผู้รู้ตรงขณะไหน ขณะที่รู้ว่าเผลอ ถัดจากนั้นอาจจะเป็นผู้เพ่ง ใจโกรธขึ้นมานะ รู้ว่าโกรธ ขณะที่โกรธนะ ขณะนึง ขณะที่รู้ว่าโกรธนี่แหล่ะ ใจเป็นผู้รู้ขึ้นมาแล้ว ถัดจากนั้นอยากให้หายโกรธนี่ ใจมีอกุศลแล้ว มีความอยากเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นเราดูใจเราไปเรื่อยนะ ไม่ใช่ผู้รู้ต้องเที่ยงถวร ผู้รู้ไม่เที่ยงหรอก ผู้รู้เองก็เกิดดับ

ครูบาอาจารย์องค์นึงสอนดีมากเลยคือ หลวงปู่หล้า ภูจ้อก้อ บอกเลยว่า ผู้ใดเห็นว่าผู้รู้เที่ยงนะ เป็นมิจฉาทิฐิ จิตผู้รู้ก็ไม่เที่ยงแต่ว่าต้องมีอยู่อาศัยไว้ใช้ปฏิบัติเอา ของเราสังเกตสิ เดี๋ยวใจก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง เมื่อไหร่รู้สภาวะตรงความเป็นจริง ใจก็เป็นผู้รู้ขึ้นมาแว้บนึง เอาแค่แว้บเดียวพอนะ ไม่ต้องตั้งอยู่เป็นชั่วโมงๆ คนที่ตั้งเป็นชั่วโมงๆได้ต้องพวกที่เค้าทรงฌาน ผ่านฌานมาเต็มที่แล้ว เต็มภูมิอย่างน้อยได้ฌานที่สองแล้ว ได้ฌานที่สองใจจะเด่น ออกจากฌานมา ยังเด่นอยู่เป็นวันๆเลย อาศัยสมาธิอย่างนี้ตามรู้ดูกายดูใจได้นาน พวกเราไม่ได้ทรงฌานเนี่ยสมาธิจะอยู่แว้บเดียวๆเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” แต่อาศัย ขณิกสมาธิ เนี่ยแหล่ะทำมรรคผลนิพพานให้เกิดได้ เพราะสมาธิที่ใช้ทำวิปัสสนาจริงๆก็คือ ขณิกสมาธิ นี่แหล่ะดีที่สุดเลย รองลงมาก็คือตัว อุปจาร (คำเต็ม อุปจารสมาธิ) เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ ให้ใจมันตื่นขึ้นมา

วิธีง่ายที่สุดเลย ทำฌานไม่ได้ ทำยังไงใจจะตื่น ใจตื่นก็ตรงข้ามกับใจที่ไม่ตื่น ใจที่ไม่ตื่นคือใจหลับ ใจหลับได้ใจก็ฝันได้ ความฝันของใจก็คือความคิด ถ้าเมื่อไหร่รู้ว่าฝันนะเมื่อนั้นจะตื่น เวลาที่ใจไหลไปคิด ถ้าเมื่อไหร่พวกเรารู้ว่าจิตแอบไปคิดนะ เราจะตื่นขึ้นชั่วขณะนึง รู้ทันว่าจิตไหลไปคิด ขณะที่รู้นั่นน่ะตื่น ไม่เฉพาะหลงไปคิดนะ โกรธขึ้นมาขณะที่รู้ว่าโกรธ ขณะนั้นก็ตื่นเหมือนกัน แต่ตัวนี้ดูยากกว่า ใจของเราหลงคิดทั้งวัน มันดูง่ายกว่า อย่างจะดูจิตที่โกรธนะ แล้วก็ตัวรู้ว่าโกรธ วันนี้ยังไม่โกรธใครเลยเนี่ย จะภาวนายังไง แต่มีมั้ยวันใหนชั่วโมงไหนที่ไม่คิดมีมั้ย ไม่มีเลย จิตที่คิดคือจิตฟุ้งซ่าน เป็นจิตมีโมหะเค้าเรียกว่า “อุทธัจจะ” โมหะชนิด อุทธัจจะ จิตมันฟุ้งซ่าน เป็นจิตที่เกิดบ่อยที่สุดเลยจิตฟุ้งซ่านเนี่ย

เราเอาตัวที่เกิดบ่อยเนี่ยแหล่ะมาหัดทำกรรมฐาน เราจะได้ทำกรรมฐานบ่อยๆ เพราะฉะนั้นจิตไหลไปคิดแล้ว อ้อ หลงไปแล้ว มีคำว่า “แล้ว” นะ ทำไมต้องมี แล้ว ด้วย หมายถึงว่า หลงไปก่อน ไม่ได้ห้ามหลง หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง หลายคนภาวนาผิดนะ ไปจ้องรอดู ไหน เมื่อไหร่จะหลง เมื่อไหร่จะหลง จ้องใหญ่ ขณะที่รอดูนั่นหลงเรียบร้อยแล้วนะ ไม่มีวันรู้เลยว่าหลงเป็นยังไงเพราะหลงไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นให้มันหลงไปก่อนให้มันเผลอไปคิดก่อน แล้วก็ค่อยรู้ว่าเผลอไป หลงไป ให้มันโกรธไปก่อน ให้มันโลภไปก่อน แล้วก็รู้ว่ามันโกรธ​รู้ว่ามันโลภ นี่หัดรู้อย่างนี้บ่อยๆรู้ไปแล้วจะได้อะไร เห็นมั้ย คำสอนในศาสนาพุทธละเอียดนะ จะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำอย่างไรบอกแล้วนะ อย่างถ้าจะดูจิตดูใจเนี่ย ตามดูไป ให้สภาวะเกิดแล้วก็ตามรู้ไป หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง โกรธไปก่อนแล้วรู้ว่าโกรธ ตามดูไปเรื่อยๆ เราจะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำแล้วได้ผลอะไร ถ้าเราตามดูไปเรื่อย เราจะเห็นเลย เดี๋ยวจิตก็หลงเดี๋ยวจิตก็รู้  เดี๋ยวหลงเดี๋ยวรู้ นานๆจะมีอย่างอื่นแทรก เดี๋ยวโลภขึ้นมาเราก็รู้ หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ อ้าว เดี๋ยวโกรธขึ้นมา อีกแล้ว นานๆจะมีโลภแทรก นานๆจะมีโกรธแทรกที แต่หลงนี่มันยืนพื้นเลย มันเป็นกิเลสยืนพื้นเลย

ดังนั้นเราคอยรู้ทันเรื่อยๆ ไม่ใช่รู้เพื่อจะไม่ให้หลง แต่รู้เพื่ออะไร รู้เพื่อจะรู้ว่าเมื่อกี้จิตเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้จิตเป็นอีกอย่างหนึ่ง เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตโลภตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ ไม่ใช่ฝึกเพื่อจะไม่ให้โลภ ไม่ให้โกรธ ไม่ให้หลง จะฝึกเพื่อให้เห็นว่า เมื่อกี้เป็นอย่างนึง เดี๋ยวนี้เป็นอย่างนึง นี่คือการเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของสภาวะธรรมนั่นเอง เห็นมั้ยเมื่อกี้จิตหลง ตอนนี้จิตหลงดับไปแล้ว เกิดจิตที่รู้ขึ้นมา เห็นมั้ยเมื่อกี้เป็นจิตโกรธ ตอนนี้เกิดเป็นจิตที่รู้ จิตโกรธดับไปแล้ว จิตที่รู้อยู่ไม่นาน เกิดจิตหลงขึ้นมาแทนอีกแล้ว เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ ฝึกไปเรื่อยๆ

ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกปฏิเสธ สิ่งที่ไม่ดีแต่ฝึกจนเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาให้จิตรู้นี้ เป็นของชั่วคราวทั้งสิ้น จิตโลภก็โลภชั่วคราว จิตโกรธก็โกรธชั่วคราว จิตหลงก็หลงชั่วคราว ทำไมหลงชั่วคราวเพราะมีตัวรู้มาคั่น มีจิตรู้มาคั่น เราก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลยมันก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลย มันก็จะมีแต่จิตหลง หลงทั้งวัน หลงทั้งคืน เราจะรู้สึกว่าหลงแล้วเที่ยง จะไม่เห็นหรอกว่ามันเป็นไตรลักษณ์ แต่เรามีรู้ขึ้นมานะ เพื่อจะเห็นหลงมันขาดเป็นท่อนๆ หลงไปหนึ่งนาทีแล้วรู้สึกตัวแว้บ เราเห็นเลยชีวิตที่หลงนะมันจบไปแล้ว มันเกิดชีวิตใหม่ที่รู้สึกตัว เสร็จแล้วหลงไปอีกห้านาที ก็รู้สึกอีกทีนึง หลงไปอีกชั่วโมงรู้สึกอีกที ต่อไปฝึกไปเรื่อยๆนะ หลงสามวินาทีรู้สึก หลงสองวินาทีรู้สึก ยิ่งฝึกเก่งนะยิ่งหลงบ่อย หลงแว้บรู้สึก ฝึกไปเรื่อย ไม่ใช่ฝึกไม่ให้หลง ไม่ได้ฝึกห้ามหลง ไม่ได้ฝึกที่จะให้รู้ตลอดเวลา แต่ฝึกเพื่อให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วล้วนแต่ดับทั้งสิ้น

ปัญญาแก่รอบต่อไปอีก ก็จะเห็นอีกว่า จิตจะรู้หรือจิตจะหลงนะ ห้ามมันไม่ได้ บังคับมันไม่ได้ นี่คือการเห็นอนัตตา เราสั่งมันไม่ได้ มันไม่ใช่เราหรอก จิตจะหลง มันก็หลงของมันเอง จิตจะโลภ ก็โลภของมันเอง จิตจะโกรธ ก็โกรธของมันเอง จิตจะเป็นยังไงมันก็เป็นของมันอย่างนั้นแหล่ะ จิตจะรู้ขึ้นมา ก็รู้ได้เอง จงใจรู้ก็ไม่ใช่อีกแล้ว แต่เราก็ต้องฝึกจนกระทั่งมันได้รู้ขึ้นมานะ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนี่ฝึกให้มันมีรู้ก่อน

บางคนได้ยินหลวงพ่อพูด หลวงพ่อเล่าให้ฟังนะว่า ตอนหลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดุลย์ครั้งสุดท้าย สามสิบหกวันก่อนท่านมรณะภาพ หลวงปู่ดุลย์สอนหลวงพ่อ พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ ออกจากหลวงปู่ดุลย์นะ อีกวันไปหาหลวงพ่อพุธ หลวงพ่อพุธก็บอกท่านไปหาหลวงปู่ดุลย์มา หลวงปู่ดุลย์สอนอย่างเดียวกันนี้ บอก เจ้าคุณการปฏิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ สอนอย่างนี้ พอได้ยินอย่างนี้นะเลยพยายามทำลายผู้รู้ทั้งๆที่ผู้รู้ยังไม่มีเลย มีแต่ผู้หลงแต่หาทางทำลายผู้รู้ สติแตกสิ

ตอนนี้อย่าเพิ่งทำลายผู้รู้นะ ไม่ใช่เวลาทำลายผู้รู้ เอาไว้ให้ได้พระอนาคาก่อนแล้วค่อยพูดเรื่องทำลายผู้รู้ ตอนนี้เรายังไม่ได้ เราก็ยังไม่ทำลาย เราต้องมีผู้รู้ไว้ก่อน สังเกตมั้ยเดี๋ยวจิตก็รู้ เดี๋ยวจิตก็หลง เดี๋ยวจิตก็โลภ คอยรู้สึกไปเรื่อย รู้ัมันจะมีทีละแว้บ มีรู้อย่างนี้บ่อยๆ มีรู้ขึ้นมาเพื่อตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นช่วงๆ ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตตรงนี้รู้ เห็นมั้ยหลงต้องใหญ่หน่อย รู้ต้องนิดเดียว เป็นธรรมชาติอย่างนั้น ไม่ใช่ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตเดี๋ยวนี้รู้ ปัจจุบันไม่โตขนาดนี้ คำว่าปัจจุบันน่ะเล็กนิดเดียว ชิวิตที่รู้ลงมาคือชีวิตที่อยู่กับปัจจุบันได้ ขณะแว้บเดียวต่อหน้าเท่านั้น เล็กๆ ไม่มีรู้ยาวเท่านี้ (หลวงพ่อวาดมือ) รู้เที่ยงสิรู้อย่างนี้ รู้เที่ยงก็มิจฉาทิฐิ จริงๆรู้เกิดวับก็ดับ วับก็ดับ ดังนั้นเราฝึกนะจนกระทั่งเรารู้สึกขึ้นมา

วิธีที่จะให้รู้ขึ้นมาก็คือ คอยไปหัดรู้ทันเวลาใจหลงไปคิด อันนี้เป็นการบ้านที่ง่ายๆเลย เพราะจิตที่หลงคิดคือจิตที่เกิดบ่อยที่สุด จิตโลภจิตโกรธอะไรนี่มีน้อยนะ จิตหลงเนี่ยมีทั้งวันเลย เพราะในขณะที่โลภ ในขณะที่โกรธเนี่ยต้องมีหลงประกอบอยู่ด้วย ถ้าไม่หลงจะไม่มีโลภ ถ้าไม่หลงจะไม่โกรธ เพราะฉะนั้นจิตหลงเนี่ยเป็นตัวสาหัสสากันเลย ถ้าเราเรียนเรื่องจิตหลงได้ เราจะภาวนาได้ทั้งวัน

กรรมฐานนะ เราควรจะเลือกกรรมฐานซึ่งมันเกิดบ่อยๆ เราจะได้ดูบ่อยๆ อย่างใจเราหลงเนี่ยหลงทั้งวัน แล้วก็รู้ ใจหลงไปแล้วรู้  มันจะเห็นสลับกันเร็ว เคยมีนะ ตอนอยู่เมืองกาญฯ มีหนุ่มคนนึงมาถามหลวงพ่อ ผมใช้สิ่งอื่นนอกจากในสติปัฏฐานได้มั้ย ที่จะมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน ถามว่าจะใช้อะไร ถ้าฟ้าร้องแล้วผมจะรู้สึกตัว ปีนึงมันร้องกี่ครั้งนะ นานมาก บางวันก็ไม่ร้องตั้งหลายเดือน แสดงว่าตลอดมาเนี่ยเอ็งไม่มีสติเลยใช่มั้ย เอ็งจะมีสติตอนหน้าฝนอย่างเดียว อย่างงี้ใช้ไม่ได้

พวกเราไปดูสิอารมณ์ในสติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะ เป็นอารมณ์ที่เกิดตลอดเวลา หายใจออก หายใจเข้านี่ หายใจทั้งวันมั้ย ถ้าหายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวทั้งวัน ยืน เดิน นั่ง นอน มีทั้งวันใช่มั้ย ไม่ยืนก็เดิน ไม่เดินก็นั่ง ไม่นั่งก็นอน อะไรนี้ เวียนไปนี้ ถ้า ยืน เดิน นั่ง นอนรู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวได้เกือบทั้งวันแล้ว ยกเว้นอิริยาบถประหลาดๆ เช่น กระโดดอะไรนี้นะ หรือไปว่ายน้ำ เป็นอิริยาบถ แปลกๆไป ท่านก็สอนล็อกไว้อีกอันนึงเรื่องสัมปชัญญะ เคลื่อนไหวแล้วรู้สึก ก็เคลื่อนไหวแล้วก็หยุดนิ่ง หยุดนิ่งแล้วก็เคลื่อนไหว ถ้าหยุดนิ่งก็รู้สึก เคลื่อนไหวก็รู้สึก ก็รู้สึกตัวได้ทั้งวันแล้ว อารมณ์ที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะเกิดทั้งวัน อารมณ์เวทนาล่ะ มีทั้งวันมั้ย สุข ทุกข์ เฉยๆก็หมุนอยู่อย่างนี้ทั้งวันใช่มั้ย ถ้าสุขก็รู้ตัว ทุกข์ก็รู้ตัว เฉยๆก็รู้ตัว ก็คือรู้ตัวได้ทั้งวัน ดูจิตดูใจล่ะ จิตหลงไปแล้วรู้ เกิดได้ทั้งวัน หลงทั้งวัน ยกเว้นบางคนนั้นขี้โลภ เจออะไรมันก็อยากตลอดเวลาเลย ความอยากเกิดถี่ยิบเลยทั้งวัน พวกนี้ก็เอาความอยากเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่เดี๋ยวมันอยากแว้บอยากดู รู้ทัน อยากฟังรู้ทัน อยากคิดรู้ทัน พวกโลภมากนะ ดูอยากเป็นวิหารธรรม มีจิตที่อยากกับจิตที่ไม่อยาก คู่เดียวก็พอแล้ว เกิดทั้งวันแล้ว คนไหนขี้โมโหนะ อะไรนิดนึงก็โมโห อะไรนิดนึงก็ขัดใจ ก็เอาจิตที่มีโมโหนี่แหล่ะมาเป็นวิหารธรรม จิตโกรธขึ้นมาก็รู้ ขณะที่รู้ว่าโกรธนั้นคือจิตที่รู้ จิตนั้นมันโกรธ เดี๋ยวก็โกรธอีก เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ เห็นมั้ยมันจะเกิดทั้งวัน

เพราะฉะนั้นอารมณ์กรรมฐานที่เราใช้นั้นต้องเป็นอารมณ์ที่เกิดทั้งวัน เราจะได้มีสติได้ทั้งวัน หายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว เผลอไปรู้สึกตัว รู้ รู้ทันว่าเผลอ ก็รู้สึกตัว ก็เป็นจิตที่รู้ขึ้นมา ก็รู้ว่ามีจิตที่รู้อยู่ ทุกอย่างเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอด เวลา เราทำไปเพื่อให้เห็นว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับ ไม่ใช่ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบเช่น เราเห็นว่าร่างกายที่หายใจออก เกิดขึ้นมาแล้วดับไป กลายเป็นร่างกายที่หายใจเข้า ร่างกายที่หายใจเข้าเกิดแล้วก็ดับ กลายเป็นร่างกายที่หายใจออก ร่างกายที่ยืน ที่เดิน ที่นั่ง ที่นอนนี่ ก็คือร่างกายที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ หรือความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆนะ ก็แสดงความหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ความหลงไปกับความรู้สึก หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ ก็แสดงความเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ ภาวนาเพื่อให้เห็นสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบอะไรหรอกนั่นตื้นไป แต่ภาวนาเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ มันมีแต่ความไม่เที่ยง ในกายในใจนี้ มีแต่ความทนอยู่ไม่ได้ในสภาวะ อันใดอันหนึ่ง อยู่ไม่ได้ตลอดหรอก ไม่นานก็ต้องเสื่อมไป

มีแต่เรื่องบังคับไม่ได้นะ สั่งไม่ได้ ร่างกายก็ไม่ใช่เรานะ เป็นแค่วัตถุอันนึง จิตใจก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง สั่งมันไม่ได้ นี่ภาวนาอย่างนี้ สุดท้ายจะได้อะไรขึ้นมา จะเห็นเลยว่า ทั้งกาย ทั้งใจ ทั้งขันธ์ห้านี้เป็นทุกข์เป็นโทษทั้งหมดเลยนะ ไม่ใช่ของดีของวิเศษหรอก อย่างร่างกายนะ ประคบประหงมมันอย่างดีเลย ให้มันมีความสุข ไม่นานเลยมันก็ทุกข์อีกแล้ว นี่อย่างนี้ดูไปเรื่อย มันเอื่อมระอา มันไม่ยึดกายแล้ว จิตใจก็เหมือนกันนะ อุตสาห์ทำความสงบเข้ามา ไม่นานก็ฟุ้งอีกแล้ว ทำดียังไงเดี๋ยวก็แย่ขึ้นมาอีกแล้ว มีแต่ของไม่เที่ยงนะ เห็นแล้วอิดหนาระอาใจ ในที่สุดไม่ยึดจิตใจด้วย

สุดท้ายไม่ยึดทั้งกายไม่ยึดทั้งใจ ก็ไม่ยึดสิ่งใดในโลกนะ จิตก็หลุดพ้นจากความยึดถือ เรียกว่าวิมุตตินะ จิตหลุดพ้น หลุดแล้วจะได้อะไร ได้เห็นนิพพาน แต่ไม่เป็นเจ้าของนิพพานนะ นิพพานไม่เป็นของใคร นิพพานเป็นธรรมดาของโลกอยู่อย่างนั้น เป็นธรรมะประจำโลกอยู่อย่างนั้น แต่ว่าผู้ใดไปเห็นนิพพานผู้นั้นมีความสุขนะ จิตที่ไปรู้นิพพานนั้นมีบรมสุขที่สุดเลย มันพ้นความดิ้นรน พ้นความปรุงแต่ง พ้นความหิวโหย พวกเราค่อยๆฝึกนะ

วันนี้เทศน์มาตั้งแต่เช้าเนี่ยเรื่องอะไรบ้าง หวังว่าการปฏิบัติต้องรู้นะว่าเราจะทำอะไร ก็มีสมถะกับวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร ทำสมถะนะก็เพื่อให้มีกำลังไปทำวิปัสสนา หรือว่าบางครั้งก็ใช้พักผ่อนนิดๆหน่อยๆ พอมีเรี่ยวมีแรงสดชื่นแล้วก็ไปทำวิปัสสนา ทำอย่างไรนะ สมถะ เนี่ย ให้จิตไปอยู่ในอารมณ์ที่สบายแล้วจิตจะสงบ วิปัสสนานะให้ตามรู้ความเปลี่ยนแปลงของกายของใจไป ใจเป็นแค่คนรู้คนดูไปเรื่อย โลภขึ้นมาแล้วรู้ โกรธขึ้นมาแล้วรู้ ดูไปเรื่อย รู้แล้วได้อะไร ทำแล้วได้อะไร ถ้าทำสมถะก็ได้ตัวรู้ขึ้นมา ทำวิปัสสนาก็ได้ปัญญาเห็นความจริงของกายของใจ ได้เห็นความจริงแล้วก็หมดความยึดถือ ปล่อยวาง เข้าถึงบรมสุขที่แท้จริง


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๑๓
File: 520809A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ต้องมีสติ มีจิตที่เป็นสัมมาสมาธิ จึงจะเกิดปัญญา

mp 3 (for download) : ต้องมีสติและสัมมาสมาธิ จึงจะเกิดปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ต้องมีสติ มีจิตที่เป็นสัมมาสมาธิ จึงจะเกิดปัญญา

ต้องมีสติ มีจิตที่เป็นสัมมาสมาธิ จึงจะเกิดปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์ : พวกเรารุ่นหลังๆคลาดเคลื่อนในการปฏิบัติมากขึ้นๆ แทนที่สติจะระลึกรู้กาย สติระลึกรู้ใจ เราเอาสติไปกำหนดกายกำหนดใจ เช่นกำหนดลมหายใจ กำหนดอิริยาบถ ๔ กำหนดเวทนา กำหนดไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง

สติจริงๆคือความระลึก ระลึกได้ถึงความมีอยู่ของกาย ระลึกได้ถึงความมีอยู่ของใจ ถ้าเมื่อไหร่เราใจลอย เราจะระลึกไม่ได้ถึงความมีอยู่ของกายของใจ กายกับใจมีอยู่ แต่เหมือนกับหายไป สังเกตมั้ยตอนที่ใจลอย คือตอนที่ดูพระพุทธรูปเมื่อตะกี้นี้ กายก็ยังมีอยู่นะ แต่เราลึมมันไป จิตใจก็มีอยู่แต่เราลืมมันไป นี่เรียกว่าขาดสตินั่นเอง ลืมกายลืมใจ สติเป็นเครื่องระลึกรู้ความมีอยู่ของกายความมีอยู่ของใจ ศัตรูของสติคือความขาดสติ ความเผลอความหลงนั่นเอง ความใจลอยนั่นเอง ความเหม่อ

ทีนี้พอเรามีสติแล้ว ใจเราต้องมีสัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิคือใจตั้งมั่น สักว่ารู้สักว่าเห็น ตั้งมั่นแบบนุ่มนวล อ่อนโยน ตั้งมั่นแบบเบาๆนะ เรียกว่ามีลหุตา ใจเราเบา มีมุทุตา ใจเราอ่อนโยนนุ่มนวล มีกัมมัญญตาควรแก่การงาน คือไม่ถูกกิเลสครอบงำ ยกตัวอย่างภาวนาด้วยความอยากปฏิบัติ อยากได้มรรคผลนิพพาน อยากปฏิบัติ เรียกว่ามีกิเลสครอบงำ จิตไม่ควรแก่การงาน จิตดวงนั้นเป็นอกุศล

จิตที่เป็นกุศล คล่องแคล่ว ว่องไว เรียกว่าปาคุญญตา ไม่ใช่ซึมทื่อๆ ผู้ปฏิบัติเกือบร้อยละร้อย น้อมจิตให้ซึมทื่อ นั่นทำลาย ปาคุญญตา ลงไปแล้ว จิตที่ซึมทื่อเป็นอกุศลจิต เอาจิตที่เป็นอกุศลมาเจริญวิปัสสนาไม่ได้ จิตที่เป็นกุศล มีอุชุกตา คือซื้อๆ ซื่อตรงในการรู้อารมณ์ กายเป็นอย่างไรรู้ว่าเป็นอย่างนั้น จิตเป็นอย่างไรรู้ว่าเป็นอย่างนั้น ซื่อๆ เพราะฉะนั้นเราต้องมีจิตที่มีสัมมาสมาธิ จิตของเราต้องสบาย ต้องผ่อนคลาย รู้เนื้อรู้ตัว ไม่หลงไม่เผลอไป ครูบาอาจารย์วัดป่าเรียกว่า “จิตผู้รู้”

จิตผู้รู้ก็ไม่ใช่จิตที่แข็งกระด้าง ไม่ใช่จิตที่ทื่อๆ ซึมๆ จิตผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อย่าลืมคำว่าเบิกบาน อย่าลืมคำว่าตื่น ยกตัวอย่างนั่งอยู่นะ แล้วบอกว่ารู้อยู่นะ แต่ซึมๆอยู่นี้เรียกว่าไม่ตื่น นั่งอยู่แล้วแข็งกระด้าง ไม่เบิกบาน นั่นไม่ใช่จิตผู้รู้ นั่นเป็นจิตผู้เพ่ง เพราะฉะนั้นเราต้องมีจิตที่มีคุณภาพนะ มีสัมมาสมาธิ จิตที่ตั้งมั่น อ่อนโยน นุ่มนวล เบา เป็นกลาง สบาย คล่องแคล่วว่องไว ซื่อตรง ในการรู้กายรู้ใจ

พอเรามีจิตชนิดนี้ขึ้นแล้ว เวลามีสติระลึกรู้กาย เราจะเห็นความจริงของกาย การเห็นความจริงของกายเรียกว่าปัญญา มีสติระลึกรู้จิตใจ แล้วก็จะเห็นความเป็นจริงของจิตใจ แล้วก็จะเห็นความจริงของจิตใจ การเห็นความจริงนั้นแหละเรียกว่าปัญญา

เพราะฉะนั้นเราต้องมีเครื่องมือ คือ สติ มีสัมมาสมาธิ มีปัญญา สติเป็นความระลึกได้ถึงกายถึงใจ ไม่ลืมกายไม่ลืมใจ ไม่เผลอ ไม่ใจลอยไป

สัมมาสมาธิ ใจเบา ใจนุ่มนวล ใจอ่อนโยน ไม่ใช่ไปเพ่งกายเพ่งใจ เพราะฉะนั้นพวกเผลอไปก็คือพวกขาดสติ พวกเพ่งกายเพ่งใจก็คือพวกขาดสัมมาสมาธิ เพ่งแล้วใจทื่อๆ ถ้าเราไม่เผลอไปกับเราไม่เพ่งไว้ เรียกว่าเรามีสติ เรามีสัมมาสมาธิ เมื่อใดมีสัมมาสมาธิมีสติแล้ว ปัญญาจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เราจะเห็นทันทีว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา หลวงพ่อขอย้ำว่า เห็นทันทีนะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันพุธที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ก่อนฉันเช้า


CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๑
ระหว่างนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๔๑ ถึง นาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รู้ด้วยใจ ตายแล้วความรู้นี้ไม่หาย

mp3 for download : รู้ด้วยใจ ตายแล้วความรู้นี้ไม่หาย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

รู้ด้วยใจ ตายแล้วความรู้นี้ไม่หาย

รู้ด้วยใจ ตายแล้วความรู้นี้ไม่หาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : จนเข้าถึงความบริสุทธิ์ก็ด้วยปัญญาที่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปของนามนี้แหละ พระพุทธเจ้าจึงบอก บุคคลถึงความบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ไม่ได้ถึงความบริสุทธิ์ด้วยศีล ไม่ได้ถึงความบริสุทธิ์ด้วยสมาธินะ แต่ถึงความบริสุทธิ์ด้วยปัญญา ลำพังมีศีลนะ ก็บริสุทธิ์บ้าง สกปรกบ้าง มีสมาธิ เดี๋ยวสมาธิก็ยังเสื่อม ให้มีปัญญาเข้าใจ จิตมันเข้าใจนะ ไม่ใช่เราเข้าใจนะ

ยกตัวอย่างเวลาเราฟังธรรมะนะ เราฟังแล้วก็จดนะ จดๆไว้ ท่องๆไว้ เหมือนฟังเลคเชอร์เนี่ย อันนี้เราเข้าใจ สมองมันเข้าใจ แต่ถ้าจิตเข้าใจ มันจะซาบซึ้งเลย ฝังลึกเข้าไปนะ ข้ามภพข้ามชาติ ในความรู้ชนิดนี้

หลวงพ่อมีเพื่อนเป็นนักอภิธรรมเยอะ บางคนก็มาบอกว่าเรียนอภิธรรมมากๆไว้ ชาติหน้าจะได้รู้ธรรมะง่าย มันข้ามภพข้ามชาติ โถ.. โม้ พอสอบเสร็จก็ลืมแล้ว ไม่ทันจะข้ามภพข้ามชาติหรอกนะ เนี่ยจำด้วยสมอง หรือพอแก่หน่อยก็ลืมแล้ว

ไม่เหมือนการภาวนานะ เราเห็นความโลภ ความโกรธ ความหลง ผุดขึ้นในใจ เห็นความสุข ความทุกข์ ผุดขึ้นมาหายไปๆ เรารู้ของเราอยู่อย่างนี้เรื่อย.. มันรู้ด้วยใจ มันจะฝังเข้าไปในใจ ตายแล้วความรู้นี้ไม่หายนะ สะสมไปอีก ชาติหน้าเราภาวนาง่ายกว่านี้อีก คนที่เขาภาวนาง่ายๆในชีวิตนี้ เพราะเขายากมาก่อน ไม่ใช่อยู่ๆก็บุญพาวาสนาส่งนะ ใส่บาตรมาเยอะ ชาตินี้บรรลุพระอรหันต์ไว ไม่ใช่นะ หรือเคยเจอพระพุทธเจ้า ไปใส่บาตรพระพุทธเจ้า แล้วก็ สา..ธุ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ ชาตินี้กินๆนอนๆแล้วก็บรรลุ ไม่มีทางหรอก ไม่มีของฟรี ไม่มีของฟลุ้คหรอก

เราทำบุญใส่บาตร ผลคืออะไร เราละความโลภของเรา เมื่อความโลภลดลงก็ภาวนาง่าย ต้องอย่างนี้ถึงจะฉลาด ทำบุญใส่บาตรแล้วหวังว่าจะเกิดปัญญา นี่คนละเรื่องกันเลย เหมือนอยากได้ลูกมะม่วงแล้วไปทำนา อะไรอย่างนี้ ไม่ได้หรอก คนละเรื่องกัน ก็ทำเหตุกับผลให้ตรงกันนะ

อยากให้เกิดปัญญา ก็มีสติรู้กายรู้ใจ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางไป ส่วนศีลและสมาธิเป็นเครื่องสนับสนุน ทำเหตุกับผลให้พอดีกัน ถามว่าเมื่อไหร่พอดีล่ะ ให้ทำไปเรื่อยๆ มีหน้าที่ก็ทำไปเรื่อย.. คล้ายๆเรากินข้าวนะ เรากินข้าวเรารู้มั้ย เมื่อไหร่จะอิ่ม เรายังไม่รู้ ใช่มั้ย เราค่อยๆกินไปเรื่อยๆ ถึงเวลาหนึ่งมันก็อิ่ม ถามว่าอิ่มของแต่ละคนเท่ากันมั้ย ไม่เท่ากันน่ะ แต่ละคนกินเท่านี้ไม่อิ่มเท่ากัน บางคนต้องกินเยอะๆถึงจะอิ่ม บางคนกินนิดๆหน่อยๆก็อิ่ม บางคนไม่ทันจะกินก็อิ่ม ก็มีนะ พวกกินไม่ลงแล้ว เบื่อ

เราภาวนาไปนะ จนใจเราอิ่ม จนใจเราพอ ใจเราพอแล้วเขาก็ตัดของเขาเอง ไม่มีใครสั่งจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จำไว้นะ ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ จิตที่เจริญสติเจริญปัญญาจนแก่รอบนั้นแหละ เขาบรรลุมรรคผลนิพพานของเขาเอง เราสั่งเขาไม่ได้

เพราะฉะนั้นไม่รีบร้อนนะ เราทำเหตุ เราเจริญสติ เจริญปัญญาไปเรื่อย รู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นแล้วก็เป็นกลางเรื่อยไป ทุกอย่างที่ปรากฎขึ้นในกายในใจ คอยรู้เท่าที่รู้ได้ ไม่ใช่รู้ตลอดเวลา รู้ตลอดเวลาไม่ได้เพราะสติไม่ได้เกิดตลอดเวลา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๐
File: 520426A.mp3
ลำดับที่ ๔
ระหว่างนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๓๓ ถึง นาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๑๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กรรมฐานของเราจะวนเวียนอยู่ไม่ให้เกินร่างกายออกไป

mp3 for download : กรรมฐานของเราจะวนเวียนอยู่ไม่ให้เกินร่างกายออกไป

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เมื่อปีสองสี่ ปลายๆปี หลวงพ่อไปเจอธรรมะของหลวงปู่ดูลย์เข้า ตอนนั้นไม่รู้จักท่านหรอก เพราะเขียนชื่อ “พระรัตนากรวิสุทธิ์” เขียนไว้แค่นั้น ใครก็ไม่รู้ แล้วก็บอกว่า “จิตที่ส่งออกนอกเป็นสมุทัย ผลที่จิตส่งออกนอกเป็นทุกข์ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค ผลที่จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นนิโรธ อนึ่งจิตมีธรรมชาติส่งออกนอก”

ยังมีอีกบทหนึ่งนะ จิตมีธรรมชาติส่งออกนอก ถ้าส่งออกนอกแล้วกระเพื่อมหวั่นไหวนี้เป็นสมุทัย ผลที่จิตส่งออกนอกแล้วกระเพื่อมหวั่นไหวเป็นทุกข์ ถ้าจิตส่งออกนอกแล้วมีสติอยู่อย่างบริบูรณ์ จิตไม่กระเพื่อมหวั่นไหวเป็นมรรค แล้วก็พ้นจากความทุกข์ไปเป็นนิโรธ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย นี่บทสรุป พระอริยะเจ้าทั้งหลายหมายถึงพระอรหันต์นะ มีจิตไม่ส่งออกนอก มีจิตไม่กระเพื่อมหวั่นไหว ก็พ้นจากทุกข์

ธรรมะของท่าน อ่านตรงนี้ โอ้..อ่านแล้วสะใจจัง ตอนนี้เหลือท่อนเดียว นึกออกไหม เหลือแต่จิตส่งออกนอกเป็นสมุทัย ท่อนหลังไม่มีแล้ว หายไปหมดแล้ว ไม่มีใครทรงจำไว้เลยทั้งที่ดี จำท่อนแรกไว้เพราะดูเก๋ไก๋ดี

พออ่านตรงนี้แล้วเรารู้สึกขึ้นมา โอ้.. ธรรมะอะไรประหลาด จริงๆนะ จิตมันทุกข์นะ ถ้าจิตมันทุกข์นะมันไม่ใช่เราทุกข์ นี่ใจรู้สึกอย่างนี้นะ ถ้าจิตไม่ทุกข์เสียอย่างแล้วใครจะทุกข์ อ่านธรรมะของท่านแล้วมันวกเข้ามาตรงนี้ได้ โอ้..อยากรู้จักนะ อยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ พระองค์นี้ ไปเที่ยวถามๆคนนะ เขาบอกว่าคงตายไปแล้วล่ะ คงมรณภาพไปแล้ว เพราะเป็นอาจารย์ของหลวงปู่ฝั้นอีกที หลวงปู่ฝั้นยังสิ้นไปแล้วเลย สิ้นตั้งแต่ปีสองสามมั้ง ราวๆนั้น หลวงปู่ดูลย์จะไปอยู่ได้อย่างไร

อยู่มาจนถึงเดือนกุมภา พงษ์เชษฐ์มาบอก ท่านยังอยู่นะ อยู่สุรินทร์ รู้อยู่แค่นี้ รู้ว่าท่านอยู่สุรินทร์ ชื่อหลวงปู่ดูลย์ เราขึ้นรถไฟไปหาท่าน ไปแล้วเที่ยวถามเขา ยังไม่รู้เลยว่าท่านอยู่อำเภอไหน อยู่ที่ไหนไม่รู้หรอก ลุยไปถามเอา ไปถามๆ ที่แท้อยู่ในเมืองนั่นเอง เจอท่านก็เรียนกับท่าน ท่านสอนให้ดูจิตดูใจตัวเอง

แทนที่ท่านจะบอกว่า ให้มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ถ้าเป็นสำนวนแบบช่วยย่อยนะ “มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง” นี่ย่อยให้เสร็จแล้วนะ ถ้าเอาไปกินแล้วยังไม่ย่อยอีกก็ไม่รู้จะทำอย่างไรแล้วนะ

ไปหาหลวงปู่ แล้วหลวงปู่สอน “การปฏิบัติไม่ยาก ยากเฉพาะผู้ไม่ปฏิบัติ อ่านหนังสือมามากแล้ว ต่อไปนี้อ่านจิตตนเอง” สอนเท่านี้แหละ เราก็มาคอยรู้ทันจิตตัวเอง มาคอยรู้ไปเรื่อย เครื่องมือในการรู้จิตตัวเองนะ ก็คือสตินั่นเอง

ตอนนั้นไม่รู้จักหรอก ไม่รู้สติเสตอะเป็นยังไง ไม่รู้ทั้งสิ้นเลย ท่านบอกให้อ่านจิตตนเอง ก็คอยสังเกตว่าจิตมันเป็นยังไง จิตมันอยู่ที่ไหน จิตมันเป็นยังไง จะอ่านมันได้ยังไง คอยสังเกต เพราะรู้อยู่อย่างเดียวว่าจิตต้องอยู่ในร่างกายนี้แน่ จิตไม่อยู่เกินร่างกายออกไปหรอก เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ กรรมฐานของเรานี้ จะวนเวียนอยู่ไม่ให้เกินร่างกายออกไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๐
File: 520418.mp3
ลำดับที่ ๑
ระหว่างนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๔๓ ถึง นาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การดูกาย

ดูกาย

ดูกาย

mp 3 (for download) : การดูกาย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ฝึกมาแบบไหน

โยม: ดูกายค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: ดูกายต้องมีใจที่ตั้งมั่น สักว่ารู้สักว่าดูนะ ใจต้องอยู่ต่างหากเป็นแค่คนดู ที่ฝึกอยู่พอใช้ได้แต่ตอนนี้ไม่ได้แล้ว ตะกี้ใช้ได้ นี่ตรงนี้ใช้ได้

โยม: ค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: อย่าไปเพ่งนะ อย่าไปเพ่งกายให้ทื่อๆ ขึ้นมา ให้เราแค่เห็นร่างกายมันทำงานไป ใจเป็นคนดูอยู่ต่างหาก คนไหนดูกาย นี่หลวงพ่อพูดเหมาๆ นะ วันนี้มีเวลาครึ่งชั่วโมงเอง คนไหนดูกายนี่ให้เห็นร่างกายมันเคลื่อนไหวมันทำงานไป ใจเป็นคนดูอยู่ต่างหากนะ ใจเป็นแค่คนดูร่างกายทำงาน อย่าเหลือแต่กายอันเดียว หลายคนภาวนาผิดนะ ไปรู้ลมหายใจ เหลือแต่ลมหายใจไม่มีความรู้สึกตัว จิตจมลงไปในลม บางคนดูท้องพองยุบนะ เหลือแต่ท้อง จิตไปเพ่งอยู่ที่ท้อง มันต้องมีจิตอยู่ต่างหาก

การแยกกายแยกใจนี่เรียกว่านามรูปปริจเฉทญาณ’ ก่อนที่จะขึ้นวิปัสสนานี่ ญาณที่หนึ่งต้องมีนามรูปปริเฉทญาณ แยกรูปกับนามออกจากกันให้ได้ก่อน รูปธรรมอยู่ส่วนหนึ่งนะ นามธรรมเป็นคนดู เพราะฉะนั้นเราเห็นร่างกายที่เดินที่ยืนที่นั่งที่นอนนี่ไม่ใช่ตัวเรา มันจะเห็นทันทีเลย เพราะใจจะเป็นคนดูอยู่ต่างหาก

เพราะฉะนั้นต้องพยายามนะ คนไหนที่หัดรู้กาย เวลาที่รู้ลมหายใจอย่างนี้อย่าให้จิตไหลไปจมอยู่ที่ลมหายใจ ให้จิตอยู่ต่างหาก จิตเป็นคนดู เห็นร่างกายนี้หายใจไป จิตเป็นแค่คนดู บางคนดูท้องพองยุบก็ให้ร่างกายมันพองยุบไป จิตเป็นคนดูอยู่ต่างหาก คนไหนเดินจงกรมก็เห็นร่างกายมันเดินไป จิตเป็นคนดูอยู่ อย่าไปเพ่งใส่เท้านะ ถ้าไปเพ่งเท้าจนไม่รู้สึกถึงความมีอยู่ของจิต จิตไปรวมอยู่ที่เท้าเป็นสมถะ เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่ที่ทำนะได้แค่สมถะ จิตถลำลงไป จิตไม่ตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธินี่แหละเป็นของสำคัญมาก ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ ไม่สักว่าเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่นี่ จิตจะถลำลงไป ไปรู้อารมณ์แล้วก็ถลำ ไปรู้อารมณ์แล้วก็ถลำ มันจะไม่สามารถเห็นอารมณ์ทั้งหลายตามความเป็นจริง จิตมันจะไปแช่นิ่งๆ ซื่อบื้ออยู่กับอารมณ์ อย่างนั้นไม่เกิดปัญญา ได้แต่ความสงบ

เพราะฉะนั้น คนไหนดูกายนะ รู้ไป ร่างกายเคลื่อนไหว ใจเราเป็นคนดูอย่างนี้เรื่อยๆ แล้วก็จะเห็นเลย ร่างกายมันก็เคลื่อนไหวของมันไปเรื่อย จิตใจมันก็ทำงานของมันไปเรื่อย บังคับไม่ได้สักอันเดียวทั้งกายทั้งใจ

ทำวิปัสสนาไม่ใช่รู้กายอันเดียวหรือรู้จิตอันเดียว ทำวิปัสสนาจริงๆ ไม่เหมือนสมถะ สมถะรู้อันเดียว ให้จิตอยู่ในอารมณ์อันเดียว แต่วิปัสสนานี่บางครั้งสติรู้กาย บางครั้งสติรู้จิต เลือกไม่ได้ เพราะสติเป็นอนัตตา สั่งไม่ได้ บางทีก็รู้กาย บางทีก็รู้จิต เมื่อรู้กายเราก็ให้เห็นความจริงของกายนะ จิตเป็นแค่คนดูอยู่ เห็นความจริงร่างกายเป็นแค่วัตถุธาตุเคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ตัวเราหรอก จะเห็นทันทีว่าไม่ใช่เรา แต่ถ้าเราไปเพ่งท้องพองยุบไปเรื่อยๆ มันจะไม่เห็นว่าไม่เป็นเรา มันจะสงบไปเฉยๆ เพราะฉะนั้นใจจะต้องตั้งมั่นเป็นแค่คนดูอยู่

 

 

สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๐
Track: ๖
File:
500509.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๑๗ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๔๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ภาวนาให้เหมือนเป็นคนวงนอก

ภาวนาให้เหมือนเป็นคนวงนอก

ภาวนาให้เหมือนเป็นคนวงนอก

mp 3 (for download) : ภาวนาใหเหมือนเป็นคนวงนอก

mp3 for download:

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: คือเมื่อสองสามวันก่อนมันฟุ้งซ่านมากเลยค่ะ หลวงพ่อ แล้วพอมันรู้สึกว่าแก้ปัญหาจบนี่ หมดหน้าที่นี่ มันกลับมาเบิกบานเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นน่ะค่ะ แต่ก็ไม่แน่ใจว่ามันเป็นการกดอยู่หรือเปล่าน่ะค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: ไม่ได้กดนะ ไม่ได้กด คือใจของเรานี่มันยังไม่ได้พ้นจากความยึดถือ เพราะฉะนั้นเวลาทำงานมันก็เข้าไปคลุกวงใน อดเข้าไปคลุกไม่ได้หรอก เวลาตะลุมบอนนี่ห้ามมันก็ไม่ได้ แต่พอหมดภาระแล้วใจที่เคยฝึกไว้ดีแล้วก็ถอยออกมา รู้สึกไหมถอยออกมาอยู่วงนอก ไม่เข้าไปคลุกวงใน

โยม: ค่ะ รู้สึกเหมือนมันเป็นเรื่องของคนอื่นแล้ว

หลวงพ่อปราโมทย์: มันเป็นเรื่องคนอื่น เวลาเราเข้าไปคลุกวงในก็ไปตะลุมบอน ทีนี้ทั้งหมัด ทั้งเท้า ทั้งศอก ทั้งเข่านะ ตะลุมบอนเข้าไป พอไปตีกับเขาเสร็จ ถอยออกมานะ ผ่านไป ไม่รู้ไปตีกับเขาทำไม มันเหมือนเรื่องของคนอื่นทั้งหมดเลย อันนี้กระทั่งความรู้สึกทั่วๆ ไปก็จะรู้สึกนะ เวลาพวกเด็กๆ น่ะ บางคนอกหัก บางคนมีปัญหาชีวิตอะไรอย่างนี้ บางคนกลุ้มใจแฟนเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ มันเหมือนเผชิญอยู่กับปัญหา เหมือนคลุกวงในอยู่ มองปัญหาไม่ออก หาทางออกไม่ได้ พวก advisor เขาเรียกว่าอะไร พวก consultant พวกนี้เลยหากินได้ พวกนี้ไม่ได้คลุกวงใน

แต่พอเราออกห่างจากปัญหามา ปัญหามันผ่านไปแล้วนะ เราจะดูๆ มันเหมือนเรื่องของคนอื่นทั้งหมดเลย พอผ่านไปแล้วก็เหมือนเรื่องของคนอื่น ปัญหาที่เคยยิ่งใหญ่ไม่ยิ่งใหญ่อีกต่อไปแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตผ่านไปหมด แต่ถ้าเราเคยฝึกภาวนา ทุกอย่างในชีวิตเราผ่านไปหมดแล้วนะ เราก็เหลือแต่ความสุขความสงบของเราอยู่ แต่คนที่ไม่มีการภาวนาพอหมดเรื่องนี้มันก็จะดิ้นหาเรื่องอื่นไปอีก เขาเรียกว่าแส่หาเรื่อง สังเกตไหม ใครยอมรับไหมว่ามีนิสัยแส่หาเรื่อง ใครไม่เป็นลองยกมือ มีไหมใครไม่เป็น ไม่มี

จิตใจของเรานี่แส่ทั้งวัน มันเลยมีศัพท์คำหนึ่ง คำว่า “ส่ายแส่” รู้สึกมั้ย ส่ายไปแล้วก็แส่หาเรื่อง ส่ายไปแล้วก็แส่หาเรื่อง จิตมีธรรมชาติส่ายแส่ ส่ายไปส่ายมา ส่ายไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อะไรผลักให้ส่าย ตัณหาผลักให้ส่าย ส่ายไปแล้วก็ไปแส่ หาเรื่องมาใส่ตัวเอง วิ่งไปทางตาก็วิ่งไปเอาความทุกข์มาใส่ตัวเอง วิ่งไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย วิ่งไปคิดไปนึกนะ ก็วิ่งไปเอาความทุกข์มาใส่ตัวเองล้วนๆเลย

ตอนตะลุมบอนมองไม่ออกนะ คนวงนอกมองออก ทีนี้ทำอย่างไรเราจะสามารถฝึกจนเกิดคนวงนอกอยู่ในนี้ การเจริญสติปัฏฐานจะทำให้เรากลายเป็นคนวงนอกสำหรับกายนี้และใจนี้ เราจะมาอยู่วงนอกนะ เราจะเห็นกายเห็นใจมันทำงานไป เราไม่เกี่ยวหรอก เราเห็นมันทำงานไปเรื่อยๆเลย เพราะฉะนั้นมันจะทำผิด ทำถูก ทำดี ทำไม่ดี มันเห็นได้ชัดเพราะเราไม่ได้คลุกวงใน ถ้าคลุกวงในแล้วมันเกิดอคติขึ้นมา

โยม: หลวงพ่อคะ แล้วในกรณีที่เรารู้สึกว่า ถ้าเราไม่ไปคลุก มันเหมือนกับเราละเลยหน้าที่อะไรบางอย่าง

หลวงพ่อปราโมทย์: นั่นแหละ กิเลสมันหลอก เราสามารถทำหน้าที่โดยไม่คลุกวงในได้ เพราะฉะนั้นเวลามีปัญหา เราต้องแก้ปัญหาด้วยใจที่ตั้งมั่น เป็นกลาง เราจะมองปัญหาได้ชัด ที่นี้กิเลสมันจะหลอกให้ต้องทุ่มให้สุดเนื้อสุดตัว กระโดดเข้าไปคลุกวงใน แก้ปัญหาได้ไม่ดี เพราะมองอะไรก็ไม่ชัด มองอย่างคนนอก จะมองง่าย แก้ปัญหาง่าย เพราะฉะนั้นพวกที่ปรึกษาเลยหากินง่ายนะ ไม่ได้ฉลาดกว่าเรานะ ที่พวกเราต้องจ้างบริษัทฯที่ปรึกษามาทำโน่นทำนี่ พวกนี้ไม่ได้รู้งานของเรามากกว่าเรา พวกนี้ไม่ได้มีไอเดียหรือฉลาดอะไรมากกว่าเรา แต่พวกนี้ไม่มีผลประโยชน์กับเรา เราจะเจ๊งก็ไม่ว่าอะไร ขอให้จ่ายเงินก็แล้วกัน เพราะฉะนั้นเขามองอะไรได้ง่ายกว่าเรา

ทำอย่างไรเราจะเป็นคนวงนอกสำหรับตัวเองโดยไม่ต้องจ้างใครมาช่วยมอง เป็นคนวงนอกก็ได้เห็นเลย กายไม่ใช่เรา รู้สึกมั้ย กายอยู่ห่างๆ จะรู้สึกทันทีเลย กายอยู่ห่างๆ เวทนา ความสุข ความทุกข์ อยู่ห่างๆ กุศล อกุศล อยู่ห่างๆ เหมือนคนเดินผ่านหน้าบ้าน เราไม่เข้าไปคลุกกับเขา ดูอย่างนี้นะ แล้วทุกอย่างจะผ่านมาแล้วก็ผ่านไปให้ดู โอ้..ภาวนาแล้วจะมีแต่ความสุข

โยม: ตอนนี้มันเป็นลักษณะที่ รู้ทฤษฎี แต่พอเวลาถึงจังหวะจริงๆ..

หลวงพ่อปราโมทย์: นั่นแหละ นั่นแหละ มันยังเมาหมัดอยู่ เพราะว่ามันชกมานาน มันชกมานับภพนับชาติไม่ถ้วน มันไม่เคยทำตัวเป็นแค่ ผู้รู้ ผู้ดู ผู้สังเกตการณ์ เพราะเราเข้าวงในตลอด

พระพุทธเจ้าสอนเรา ให้ฝึกจิตฝึกใจของเรานะ จนจิตใจของเราตั้งมั่นขึ้นมา เป็นผู้รู้ผู้ดูนะ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่คลุกวงใน พอพระพุทธเจ้าสอนเรา จนใจของเราตั้งมั่นขึ้นมา บทเรียนที่ทำให้จิตตั้งมั่นขึ้นมาอย่างนี้เรียกว่า “จิตตสิกขา” จิตตสิกขา เราจะศึกษาไปจนจิตของเราตั้งมั่นขึ้นมา เป็นแค่คนดู เป็นแค่ผู้สังเกตการณ์ ไม่ใช่นักประพันธ์ ไม่ใช่นักวิจารณ์ ไม่ใช่นักแสดง เป็นแ่ค่คนดู พอดูแล้วคราวนี้ล่ะเห็นชัดเลย ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำงานนี้ไม่ใช่เราสักอันหนึ่ง ร่างกายที่ทำงานอยู่ไม่ใช่เรา เวทนา สุข ทุกข์ เฉยๆ ไม่ใช่เรา สังขารที่เป็นกุศล อกุศล ไม่ใช่เรา จิตที่เกิดดับทางทวารทั้งหก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ใช่เรา ดูอย่างนี้นะ มันถอนเอาความเป็นเราออกมาแล้วมาคอยรู้คอยดูไปเรื่อยๆ ทำตัวเป็นแค่คนดู ถ้าคลุกวงในจะไม่เห็น

เหมือนเขาเตะฟุตบอลกันนะ เราอยากดูให้ชัดนะ กระโดดลงไปยืนกลางสนามนะ เราจะเจอเท้า ๔๔ ข้าง นะ ใช่มั้ย ๔๖ มีกรรมการอีกคน ดีไม่ดีโดนเหยียบ หลบคนนี้ เจออีกคนนี้ อะไรอย่างนี้ ถ้าเรานั่งบนอัฒจรรย์ดู เราเห็นหมดเลย เห็นภาพชัด

หรือเหมือนกับคนชกมวยกับคนดูมวยนะ คนชกมวยนะ มันเก่งแสนเก่ง เวลาชกนะ สังเกตมั้ย พวกที่ยืนข้างเวทีเป็นคนสอน ชกตรงนั้นสิ ชกตรงนี้สิ เพราะมันไม่มีส่วนได้เสีย มันดูง่าย เนี่ย บอก “เอ็งเซ่อ เอาหน้าไปให้เขาชกอยู่เรื่อย หลบสักนิดหนึ่งก็พ้นแล้ว” แต่ตอนเมาหมัดน่ะมันไม่รู้ เพราะฉะนั้นอย่าเมาหมัดนะ เวลาภาวนาห้ามเมาหมัด จำไว้นะ อย่าคลุกวงใน อย่าตะลุมบอนกับกิเลส ดูอยู่ห่างๆ ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้น ดูห่างๆไว้นะ

คำว่าดูห่างๆนี้เป็นสภาวะนะ ถ้าภาวนาเป็นถึงจะรู้ัจัก ถ้าภาวนาไม่เป็น ดูห่างๆไม่เป็น ไม่เข้าใจหรอกว่าห่างอย่างไร ได้ยินหลวงพ่อพูดแล้วก็งงๆ แต่ถ้าภาวนาเป็นจะรู้เลย กายกับจิตนี้มีระยะทางนะ มีช่องว่าง มีระยะห่าง จิตกับเวทนาก็มีระยะห่าง จิตกับสังขารก็มีระยะห่าง แถมจิตที่ว่ามีระยะห่างนั้นยังเกิดดับเสียอีก ไปๆมาๆหาตัวเราไม่ได้สักตัวเดียว


แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๔
ลำดับที่: ๑๑
File: 510323.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๒๒ ถึง นาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา พร้อมมูล อริยมรรคถึงจะเกิด

mp 3 (for download) : ต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา พร้อมมูล อริยมรรคถึงจะเกิด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: จิตต้องตั้งมั่น ตั้งมั่นเป็นคนรู้คนดู พวกเราหลายคนทำกรรมฐานมากมาย แต่สงสัยว่าทำไมมันไม่เกิดมรรคผลนิพพานตัวจริง เพราะมันไม่มีปัญญานั่นเอง ไม่มีปัญญาเห็นความจริงของรูปนาม มันคิดแต่จะบังคับรูปนาม เพ่งรูปเพ่งนาม เพ่งลูกเดียวนะ ไม่ใช่ปัญญาเห็นไตรลักษณ์

ทำไมไม่มีปัญญา เพราะจิตไม่มีสัมมาสมาธิ จิตไม่ตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นสำคัญนะ อย่างพระอยู่กับหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ต้องคอยควบคุม บางวันจิตตามรู้กายตามรู้ใจมากเข้าๆ จิตกระจายๆ ออกไปนี่ ต้องเพิ่มสมถะละ เพิ่มความสงบให้ใจตั้งมั่น ตั้งมั่นแล้วขี้เกียจขี้คร้านอีก ต้องไล่อีกแล้ว ให้ออกมารู้กายมารู้ใจนะ

เนี่ยเวลาทำกรรมฐานก็คล้ายๆ เราขับรถยนต์นะ บางเวลาก็เหยียบเบรก เนี่ยทำสมถะ บางเวลาเหยียบคันเร่งเจริญปัญญา รถมันถึงจะไปถึงที่หมายได้ งั้นเราคอยดูนะ คอยดูกายคอยดูใจไป ด้วยจิตใจที่ตั้งมั่น เป็นแค่คนดู

หลายคนทำมาหลายปีทำไมไม่ได้ผล หลวงพ่อยกตัวอย่างนะ อย่างตอนนี้ฝึกพองยุบเยอะ ฝึกพองยุบแล้วเห็นท้องพองท้องยุบนะ ถ้าจิตเราไม่ตั้งมั่นจิตเราจะไหลไปตั้งอยู่ที่ท้อง จิตไปตั้งอยู่ที่ท้องเรียกว่าไปตั้งแช่ไม่ใช่ตั้งมั่น เข้าไปแช่อยู่ที่ตัวอารมณ์ จิตตั้งมั่นเนี่ยมันจะอยู่ต่างหากจากอารมณ์ มันจะเห็นเลยร่างกายที่พองร่างกายที่ยุบเป็นของถูกดู จิตอยู่ต่างหาก ต้องแยกรูปแยกนามให้ได้ก่อน

เพราะฉะนั้นก่อนจะเกิดวิปัสสนาญาณนะ ญาณตัวแรกเลยนะเขาเรียกว่า “นามรูปปริจเฉทญาณ” นามรูปปริจเฉทญาณคือแยกรูปกับนาม เห็นเลยเห็นท้องมันพองท้องมันยุบไป ใจเป็นคนดูอยู่ต่างหาก ใจมันตั้งมั่นอยู่ต่างหาก ไม่ใช่ใจถลำไปอยู่ที่ท้องนะ ตรงนี้ชอบดูลมหายใจก็ถลำไปอยู่ที่ลมหายใจ ขยับมือทำจังหวะก็ไปเพ่งใส่มือ จิตไหลไปอยู่ที่มือ เดินจงกรมจิตไหลไปอยู่ที่เท้า ดูท้องจิตไหลไปอยู่ที่ท้อง ดูอิริยาบถสี่เพ่งมันทั้งตัวเลย อันนั้นเรียกว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตถลำลงไปตั้งแช่ในอารมณ์ จิตต้องตั้งมั่นในการรู้อารมณ์ ตั้งมั่นในการรู้อารมณ์ สักว่ารู้อารมณ์ อยู่ต่างหากจากอารมณ์นี่เป็นอันหนึ่ง ไหลเข้าไปรวมแช่อยู่กับอารมณ์เป็นอีกอันหนึ่ง

นี่พวกเราส่วนมากจิตไหลเข้าไปแช่อยู่กับอารมณ์ ไม่มีปัญญาจริงหรอก เกิดปัญญาไม่ได้ มันแช่ไปด้วยกัน ยกตัวอย่างให้ฟังนะ คล้ายๆ เรา ถ้าเรายืนอยู่บนบกริมคลองริมแม่น้ำ เราอยู่บนบกเราไม่ได้ตกน้ำ เราจะเห็นเลยในน้ำเดี๋ยวก็มีอันโน้นลอยมาอันนี้ลอยมา เดี๋ยวกอผักตบลอยมา เดี๋ยวท่อนไม้ลอยมา เดี๋ยวหมาเน่าลอยมา ลอยมาแล้วก็ลอยไปเพราะว่าเราอยู่บนบก

แต่ถ้าเราตกลงไปในน้ำเราลอยไปกับมันนะ เห็นมันอยู่อย่างนั้นน่ะ เห็นมันอยู่ทั้งวัน ดูท้องก็เห็นท้องทั้งวันอยู่ทั้งวันนั่นแหละ ลอยไปด้วยกัน งั้นต้องเป็นคนดูอยู่ต่างหาก

อย่างสายอภิธรรม อาจารย์แนบก็ชอบสอน ต้องเป็นคนดูละครนะ เป็นคนดูละครอย่าโดดเข้าไปในเวทีละคร ถ้าพูดสมัยใหม่คนรุ่นเราชอบดูฟุตบอล เราต้องดูฟุตบอลอยู่บนอัฒจันทร์นะ อย่าไปดูฟุตบอลอยู่กลางสนามฟุตบอล เดี๋ยวถูกเขาเตะเอานะ ถูกกิเลสเตะเอา

งั้นเราต้องดูอยู่ห่างๆ เนี่ยเรียกว่าเราตั้งมั่น ตั้งมั่นอยู่ห่างๆ ไม่เข้าไปยินดียินร้ายกับมัน เป็นกลางในการรู้ จิตใจอ่อนโยนนุ่มนวล ตั้งมั่น คล่องแคล่วว่องไวนะ ไม่ไหลเข้าไป เนี่ยอย่างนี้จิตใจถึงจะมีปัญญาจริงเกิดขึ้น มันจะเห็นเลยทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกอย่างเกิดแล้วดับ เพราะจิตมันไม่หลงตามไป จะเห็นแต่ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ถ้าไหลคู่กันไปมันคือการเพ่ง มันจะแนบอยู่ที่อันเดียวนะ เป็นการเพ่ง ได้สมถะ ได้แต่สมถะ

ถ้าจิตตั้งมั่นเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู ทางวัดป่าท่านจะเรียกว่าจิตผู้รู้ มีจิตผู้รู้ขึ้นมาเป็นคนดู เป็นคนดูกาย ดูเวทนา ดูกุศลอกุศล ก็จะเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นกุศลอกุศลล้วนแต่เกิดแล้วก็ดับ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ใจตั้งมั่นเป็นคนดู ปัญญาถึงจะเกิด

งั้นสติเป็นเครื่องระลึกรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นแปลกปลอมขึ้นในกายในใจ สัมมาสมาธิเป็นความตั้งมั่นของจิตในการไปรู้อารมณ์ไม่ถลำลงไป ปัญญาก็จะเห็นความเป็นจริงคือเห็นไตรลักษณ์ ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา นี่สติสมาธิปัญญา ทำงานร่วมกันอย่างนี้นะถึงจะเกิดมรรคเกิดผลได้ ทำไมเกิดมรรคเกิดผลได้เพราะว่ามีปัญญาแก่รอบแล้ว มีสมาธิบริบูรณ์ขึ้นมานะ ศีลสมาธิปัญญาพร้อมมูลขึ้นมานะ อริยมรรคถึงจะเกิด ตัวหนึ่งมากตัวหนึ่งน้อยกะพร่องกะแพร่งไม่เกิดหรอก งั้นต้องมีสติรู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางสักว่ารู้สักว่าเห็นนะ ถึงจะเห็นความจริงของกายของใจ ฟังเหมือนยากนะแต่ง่าย


แสดงธรรมที่ สวนสันติธรรม
เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๙ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
ลำดับที่: ๘
File: 491123B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๔๗ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๕๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เจริญสติในชีวิตประจำวัน ก็ต้องทำสมถะทำตามรูปแบบด้วย

สมถะตามรูปแบบ

สมถะตามรูปแบบ

mp 3 (for download) : เจริญสติในชีวิตประจำวัน ก็ต้องทำสมถะทำตามรูปแบบด้วย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: งานเยอะ แล้วก็มันวุ่นๆ ยุ่งๆ แล้วรู้สึกว่าเหมือนมันไม่ได้ทำอะไรไปเลยน่ะค่ะ หลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์: ต้องทำนะ อย่าทิ้งการทำในรูปแบบ เป็นเครื่องช่วย ถ้าเราจะเจริญสติในชีวิตประจำวัน ก็ไม่ใช่อยู่ๆ ก็เจริญไปเรื่อยๆ นะ ถึงวันหนึ่งกำลังก็ไม่พอ ครูบาอาจารย์วัดป่าจะสอน อย่างสายวัดป่านี่ การปฏิบัติมี ๓ สเต็ป ต้องทำทั้งสามอัน

อันแรกเลยทำความสงบให้จิตตั้งมั่น จิตสงบ มีกำลังขึ้นมา เป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา ที่นี้คนส่วนมากพอจิตสงบตั้งมั่นแล้วขี้เกียจ ขี้เกียจนี่ครูบาอาจารย์จะสอนให้พิจารณากาย อันนี้ก็เป็นสมถะอีกแบบหนึ่ง ให้คิดพิจารณากาย พอหมดเวลาปฏิบัติในรูปแบบแล้ว คราวนี้ต้องมีสติในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้นสติในชีวิตประจำวันนี่ตัวสำคัญที่สุด แต่การที่ทำใจสงบตั้งมั่น ทำใจให้ไม่ขี้เกียจขี้คร้าน อันนั้นก็เป็นตัวสนับสนุนที่สำคัญมาก

ที่นี้ถ้าพวกเราทำฌานไม่ได้ แต่ละวันนะ แบ่งเวลาไว้หน่อย ไหว้พระไว้ สวดมนต์ไว้นะ ได้สมถะ สวดมนต์แล้วจิตใจสงบได้สมถะ ถ้าสวดมนต์แล้วขี้เกียจให้รู้ว่าขี้เกียจ เราไหว้พระสวดมนต์แล้วเราก็แบ่งเวลาปฏิบัติในรูปแบบ ห้านาที สิบนาที สิบห้านาทีอะไรอย่างนี้ ต้องทำ อย่างที่หลวงพ่อพูดตั้งแต่ต้นแล้วนะ แบ่งเวลาไว้แล้วก็ทำในรูปแบบไว้หน่อย แล้วหัดรู้สภาวะไป การหัดรู้สภาวะทุกวันๆ มีประโยชน์มาก มันจะทำให้เรามีกำลัง สติมันจะมีกำลังที่จะเจริญสติในชีวิตประจำวันได้ ถ้าเราทิ้งการทำในรูปแบบไปเลยนะ มันจะไม่มีกำลังจริง มันเหมือนรู้นะ แต่ใจจะกระจายๆ รู้อย่างนี้ ผึ้งรู้สึกไหม รู้แบบไม่มีแรง รู้แบบป้อแป้ๆ ไม่มีแรง

สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๑
File: 491022A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๕๗ ถึง นาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 3123