Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

จิตตั้งมั่น : ลักษณะและวิธีฝึกฝนจิต

mp3 for download : จิตตั้งมั่น : ลักษณะและวิธีฝึกฝนจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : จิตตั้งมั่นนะ ไม่ใช่จิตสงบ คนละอันกัน แต่ในความตั้งมั่น มีความสงบ สงบจากอะไร สงบจากนิวรณ์เท่านั้นเอง ไม่ใช่สงบจากอารมณ์ ต้องแยกให้ออกนะที่ว่าสงบๆน่ะ ไม่ใช่สงบจากอารมณ์นะ แต่สงบจากนิวรณ์

อารมณ์มีร้อยอารมณ์ก็ได้ พันอารมณ์ก็ได้ หมื่นอารมณ์ก็ได้ ล้านอารมณ์ก็ได้ แต่จิตนั้นสงบจากนิวรณ์ ไม่ถูกยั่วให้ฟุ้งซ่านไป ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ นี่แหละ สงบแบบตั้งมั่นนะ ไม่ใช่สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียวแบบสมถะ คนละอัน

จิตบางชนิดนะ สมาธิบางชนิดนะ จิตไปสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว อารมณ์เป็นหนึ่งจิตเป็นหนึ่ง นี่คือสมถกรรมฐาน สมาธิอีกชนิดหนึ่งนะ จิตเป็นหนึ่งอารมณ์ล้านอารมณ์ก็ได้ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอด จิตเป็นหนึ่งคือเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดูไม่ฟุ้งซ่านตามอารมณ์ไป แต่ไม่ได้เพ่งตัวจิตไว้นะ ถ้าเพ่งตัวจิตเมื่อไหร่ ตัวจิตจะเปลี่ยนสภาพจากผู้รู้ไปเป็นอารมณ์ทันทีเลย จิตจะแปลสภาพจากจิต คือธรรมชาติที่รู้นะ กลายเป็นอารมณ์คือสิ่งที่ถูกรู้ เพราะฉะนั้นเราอย่าไปเพ่งใส่จิตด้วย

เราจะต้องฝึกจนกระทั่งจิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู อาศัยสติรู้ทันจิตที่ไหลไป จิตไหลไปดูไหลไปฟังไหลไปคิด ไหลไปเพ่ง ยกตัวอย่างหายใจอยู่ก็ไหลไปอยู่ที่ท้องไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ หรือไหลไปคิดเรื่องอื่นเลย หรือไหลไปคิดเรื่องบริกรรมพองหนอยุบหนออะไรขึ้นมา นี่ไหลไปคิด ให้รู้ทันจิตที่ไหลไปคิด จิตรู้จะเกิด หลวงพ่อเทียนจึงสอนนะว่า เมื่อไรรู้ว่าจิตคิด เมื่อนั้นจะได้ต้นทางของการปฏิบัติ หลวงปู่ดูลย์ก็สอนอันเดียวกันบอกว่า คิดเท่าไรก็ไม่รู้ หยุดคิดถึงรู้ หยุดคิดถึงรู้ แต่ไม่ใช่เป็นวิปัสสนานะ เพิ่งจะตั้งต้นเท่านั้นเอง เพิ่งหลุด หมายถึงหลุดออกจากโลกของความคิด หลังจากนั้นต้องเจริญวิปัสสนาอยู่ดีแหละ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๑
ไฟล์ 540710
ระหว่างนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๓๗ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

V-Clip : ภาวนาแล้วจิตไปติดความนิ่งไม่เจริญปัญญา

ภาวนาแล้วจิตไปติดความนิ่งไม่เจริญปัญญา


เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ว่างหรือไม่ว่างต่างก็เท่าเทียมกัน

mp3 (for download) : ว่างหรือไม่ว่างต่างก็เท่าเทียมกัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : แล้วเมื่อวานนี้หนูเดินจงกลมอยุู่ในศาลาค่ะหลวงพ่อ ก็ เห็นใจที่มันคือ เดินๆอยู่แล้วก็เห็นใจที่มันค่อยๆไหลลงไปเต็มฐานน่ะค่ะ แล้วมันก็ดีดตัวออกมา มันก็รู้ คือ แต่ไอ้ตัวรู้เนี่ยเมื่อก่อนมันจะ ที่หลวงพ่อบอกมันว่างแล้วมัน เอ่อ ที่หนูบอกหลวงพ่อว่า มันว่างแล้วมันก็สลับกับรู้ เอ่ะ ไม่ใช่ ว่างแล้วก็สลับกับหลง อย่างนี้ค่ะหลวงพ่อ แต่คราวนี้พอมันดีดมารู้ปุ๊บ มันจะเห็นว่างตัวนี้ มันจะเป็นว่างที่แบบ นานเกือบสิบนาที คือหนูเดินดูตัวเองที่แบบ เหมือนเป็นศพน่ะค่ะ เพราะว่า มันไม่มีตัวเราอยู่ในนั้นเลย แล้วก็แขนขา มันไม่ได้รู้สึกว่าเราเป็นแขนขา มันเป็นก้านๆแล้วมันก็เดินไปเดินมา

หลวงพ่อปราโมทย์ : หนูรู้สึกมั้ย ไอ้ตัวดูนี่ นิ่งๆ ทุกอย่างไม่เที่ยง ยกเว้นตัวดู

โยม : อ๋อ มันก็คือ ตัวเดียวกันกับที่หลวงพ่อบอกเมื่อตะกี้นี้

หลวงพ่อปราโมทย์ : มันก็ไปติดนะแหล่ะ มันก็ไปภพอีกภพนึง เห็นมั้ย ทุกอย่างแสดงไตรลักษณ์นะ ยกเว้นจิต ตัวรู้นี้เที่ยง แล้วเที่ยงกันเป็นกัลป์ๆเลยนะ ตรงนี้ถ้าหลุดไปพรหมโลก การดูจิตเนี่ย ถ้าพลาดนะจะไปอรูปภูมิ ไปอรูปพรหม เป็นอรูปพรหม ดูกายนะ ดูพลาดไปเป็นรูปพรหม

โยม : งั้น หนูก็แค่รู้มันไป

หลวงพ่อปราโมทย์ : อืม แค่รู้มันนะ มันก็คือสภาวะอันนึงที่จิตไปรู้เข้า เท่าเทียมกับทุกๆสภาวะนั่นแหล่ะ ไม่ใช่ว่าว่างดีกว่าไม่ว่าง ถ้าว่างดีกว่าไม่ว่างยังเป็นภาวะแห่งความเป็นคู่อยู่ ยังมีความต่างอยู่ เพราะฉะนั้น จิตจะดิ้นรนเอาความว่าง จะดิ้นรนหนีจากความวุ่นวาย ถ้าจิตยังปรุงแต่งจิตยังดิ้นรนอยู่ สร้างภพสร้างชาติไม่เลิกหรอก แต่ถ้าเห็นสภาวะทั้งหลายนั้นเท่าเทียมกันหมดเลยนะ จิตไม่ปรุงต่อ  เห็นแล้วจบลงจริงๆเลยไม่ปรุงต่อด้วยปัญญาอันยิ่งนะ ไม่ใช่ประคองไว้ ไม่ใช่ตัวนี้นิ่ง ตัวอย่างอื่นปรุง ไม่ใช่ ในท่ามกลางความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงนะ เห็นจิตเกิดดับไปด้วยนะ แต่ว่าไม่ยินดียินร้ายกับมันนะ นั่นแหล่ะ ถึงจะไม่ยึดถือจริงๆ ถ้ายังประคองตัวรู้อยู่ ไม่ใช่หรอก (โยม : ขอบพระคุณเจ้าค่ะ) ปล่อยให้ออกนะ หนูมุ่งไปทางอรูปมากไป

โยม : คือหนูรู้ลงไปแล้วก็ยังไงก็ได้ใช่มั้ยคะหลวงพ่อยอมรับมัน

หลวงพ่อปราโมทย์ : หนูรู้ลงไปอะไรก็ได้ สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ว่างไม่ว่าง เสมอกันหมดเลย อยู่ที่จิตเรา จิตจะเกิดปฏิกิริยาอะไร ให้รู้ทัน เห็นว่างแล้วจิตพอใจ รู้ทัน เห็นว่างแล้วจิตนิ่งๆ เฉยๆ รู้ว่านิ่งๆเฉยๆ เห็นมันก็ยังตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ทั้งความว่างทั้งจิตนั่นแหล่ะดีที่สุด

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: ๔๐
File: 540709B
ระหว่างนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๒๕ ถึงนาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๐๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อย่าไปดักดู ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยตามรู้

mp3 for download : อย่าไปดักดู ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยตามรู้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อย่าไปดักดู ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยตามรู้

อย่าไปดักดู ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยตามรู้

หลวงพ่อปราโมทย์ : เวลาที่เราจะดูจิตดูใจ เราอย่าไปดักจ้องไว้ก่อน บางคนไปจ้องรอดูว่าเมื่อไหร่จิตจะมีปฎิกริยาอะไรขึ้นมา ถ้าเราไปจ้องไว้ จิตจะนิ่งๆ ทื่อๆ ไม่มีอะไรให้ดูเลย

เพราะฉะนั้นการดูจิตที่ดี ปล่อยให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยตามรู้เอา มันโกรธขึ้นมา อ้อ มันโกรธขึ้นมาแล้ว มีคำว่าแล้วด้วย มันโกรธขึ้นมาแล้วเรารู้ทัน จิตมันโกรธขึ้นมา มันอยากแล้ว มันเห็นสาวมันอยากจีบเค้าเนี่ย รู้ว่ามันอยากแล้ว นี่ความอยากเกิดขึ้นก่อนแล้วรู้ว่าอยาก ความโกรธเกิดขึ้นก่อนแล้วรู้ว่าโกรธ ใจลอยไปก่อนแล้วรู้ว่าใจลอย ฟุ้งซ่านไปก่อนแล้วรู้ว่าฟุ้งซ่าน หดหู่ไปก่อนแล้วรู้ว่าหดหู่ ให้ความรู้สึกมันเกิดขึ้นก่อน อย่าไปดักดู ถ้าเราดักดูละก็จะไม่มีอะไรให้ดู ทุกอย่างมันจะนิ่งไปหมด

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สนามบินสุวรรณภูมิ
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๓


CD: แสดงธรรมนอกสถานที่สนามบินสุวรรณภูมิ
File: 530111
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๓๙ ถึงนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๒๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตนิ่งคือจิตตั้งมั่นหรือไม่

mp3 (for download): จิตนิ่งคือจิตตั้งมั่นหรือไม่

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

จิตนิ่งคือจิตตั้งมั่นหรือไม่

จิตนิ่งคือจิตตั้งมั่นหรือไม่

โยม : แล้วอย่างเราภาวนาไปนะคะ แล้วจิตมันนิ่งๆอย่างนี้ค่ะ ถือว่าเป็นจิตตั้งมั่นใช่มั้ยเจ้าคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : จิตนิ่งๆไม่ใช่จิตตั้งมั่นนะ ต้องไม่นิ่งที่อๆนะ ถ้ามันตั้งมั่นเนี่ย จิตจะไม่ว่อกแว่กหลงไปอยู่ในโลกของความคิดเท่านั้นแหละ เราไม่ได้ไปบังคับให้มันนิ่งนะ แต่ว่ามันก็นิ่งเหมือนกัน แต่มันนิ่งแบบรู้เนื้อรู้ตัวอยู่ สบาย ไม่นิ่งทือๆแข็งๆนะ ไม่นิ่งแบบว่างๆไม่รู้เนื้อรู้ตัว ไม่นิ่งแบบจิตเข้าไปรวมกับความว่างข้างนอก มันนิ่งอยู่ด้วยความรู้สึกตัวอยู่

จิตที่ตั้งมั่นรู้เนื้อรู้ตัวเนี่ย ต้องสังเกตเอาตอนที่จิตหนีไปคิด ถ้าเรารู้ทันจิตที่หนีไปคิด จิตรู้จะเกิดขึ้น จิตรู้นั้นแหละเป็นจิตที่ตั้งมั่น เพราะฉะนั้นเราคอยรู้ทันจิตที่หลงไปคิดนะ ตัวรู้(จิตผู้รู้ – ผู้ถอด)จะเกิดมันจะตั้ง จะตั้งได้พอดีไม่แข็งเกินไปไม่อ่อนเกินไป อ่อนเกินไปก็ขาดสติไหลหลงๆไป แข็งเกินไปก็ทื่อๆอยู่ ไม่เดินปัญญา ก็ตั้งพอดีๆ แค่ไหนพอดี ถ้าหนีไปคิดแล้วรู้ว่าหนีไปคิดนั้นพอดีเลย ถ้าจงใจจะให้ตั้งอยู่ อันนี้จะตึงเกินไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แสดงธรรมเมื่อ วันพุธที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมเทศนานอกสถานที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
File: 540810A
ระหว่างนาทีที่ ๕๔ วินาทีที่ ๔๐ ถึง นาทีที่ ๕๕ วินาทีที่ ๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด

mp 3 (for download) : สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด

สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตรงที่เราบอกว่าเราฟังธรรมเข้าใจเนี่ย   ความจริงไม่ได้เข้าใจด้วยการฟัง แต่เข้าใจด้วยการคิดเอาเอง การคิดเอาเองของเราเนี่ย  คิดถูกก็ได้  คิดผิดก็ได้ งั้นธรรมที่ฟัง ๆ เอานะยังใช้ไม่ได้ ฟังเอาพอเป็นแนว เพื่อจะมารู้กาย รู้ใจ  ศัตรูของการรู้กาย รู้ใจ  เบอร์หนึ่งเลยคือการที่เราหลงไปอยู่ในโลกของความคิด ลืมกาย ลืมใจที่เป็นปัจจุบัน รู้สึกไหม ขณะที่เราคิดไปเนี่ย เรานั่งอยู่เราก็ลืมไป จิตใจเราเป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นกุศล อกุศล เราก็ไม่รู้ นึกออกไหม   เนี่ยอย่างขณะนี้ลืมกาย ลืมใจแล้ว ตรงที่ไหลแว๊บไป

เพราะฉะนั้นตราบใดที่คุณยังคิดไม่เลิกนะ  คุณไม่ได้ทำวิปัสสนาแน่นอน แล้วมันเป็นศัตรูด้วย   หลวงพ่อเลยไม่ส่งเสริมให้มานั่งคิดนั่งถามนะ ที่สงสัยได้เพราะคิดมาก   คิดมากก็สงสัยมาก สงสัยแล้วอยากถาม ถามไปแล้วก็จำเอาไว้แล้วหรือเอาไปคิดต่อ นะ มันจะเวียนไปอย่างนี้เรื่อย ๆ  วิปัสสนาจริง ๆ ไม่ใช่การคิด วิปัสสนาจริงๆ ในอภิธรรมสอนนะเริ่มจากตัวอุทยัพพยญาณ อุทยัพพยญาณเนี่ยมันเห็นความเกิดดับของรูปนามนะ แล้วระบุไว้ด้วยว่า ต้องพ้นจากความคิดด้วย ถ้ายังเห็นไตรลักษณ์ด้วยการคิดเอา เช่นคิดเอาว่าจิตตะกี้กับจิตเดี๋ยวนี้ไม่เหมือนกัน เนี่ยแสดงว่าเป็นไตรลักษณ์ นี่ได้แค่สัมมสนญาณ ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา เพราะฉะนั้นยังตราบใดที่ยังคิดอยู่ไม่ใช่วิปัสสนา

หลวงพ่อพุธเคยสอนนะบอกว่า “สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด” ความคิดเนี่ยคือศัตรูเบอร์หนึ่งเลย   มันทำให้เราลืมกายลืมใจตัวเอง ส่วนศัตรูเบอร์สองคือการที่บังคับกาย บังคับใจ นักปฏิบัติเกือบร้อยละร้อยคือนักบังคับกาย บังคับใจ   เพ่งเอา ๆ นะ กำหนดเอา ๆ กายก็ทื่อ ๆ ใจก็ทื่อ ๆ  ถ้าเราบังคับกาย บังคับใจ จนมันทื่อ ๆ ไปแล้วไตรลักษณ์มันจะไปอยู่ที่ไหน มันไม่แสดงตัวขึ้นมา

ศัตรูของผู้ปฏิบัติวิปัสสนาอันแรก  หลงไป เผลอไป ขาดสติ ลืมเนื้อ ลืมตัว ตามใจกิเลสไปนี้เรียกว่า  อกุศลาภิสังขารมั่ง   อปุญญาภิสังขารมั่ง   เรียกว่า  กามสุขัลลิกานุโยคบ้าง มีหลายชื่อ

ศัตรูหมายเลขสองคือการเพ่งกาย เพ่งใจ บังคับกาย บังคับใจ กำหนดกาย กำหนดใจ ควบคุมไว้ ทำกายทำใจให้ลำบากอันนี้เรียกว่า  ปุญญาภิสังขาร  ความปรุงแต่งฝ่ายที่เป็นบุญ  เรียกว่า กุศลาภิสังขาร ความปรุงแต่งที่เป็นกุศลเรียกว่า  อัตตกิลมถานุโยค  การบังคับตัวเอง

เนี่ยสองทางนี้แหละเป็นทางสุดโต่งสองด้านที่พระพุทธเจ้าห้าม ถ้าเรายังไปทำส่วนใหญ่ไปทำอย่างนั้นเองคือไปเพ่งเอา กำหนดเอา ใจแข็ง  ทื่อ ๆ จ้องเอาไว้ ๆ นั่นไม่ใช่การเจริญสติ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
เมื่อวันจันทร์ที่ ๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๖
File: 491106.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๒๓ ถึง นาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๔๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เคล็ดลับของสมาธิ เคล็ดลับของสมถะ

 mp 3 (for download) : เคล็ดลับของสมาธิ เคล็ดลับของสมถะ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เคล็ดลับของสมาธิ เคล็ดลับของสมถะ

เคล็ดลับของสมาธิ เคล็ดลับของสมถะ

หลวงพ่อปราโมทย์: สมถกรรมฐาน มุ่งไปที่ความสุข ความสงบ ความดี วิปัสสนามุ่งให้เกิดปัญญา ปัญญาคือการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้น วัตถุประสงค์ไม่เหมือนกัน วิธีการก็ไม่เหมือนกัน เราจะต้องเรียน ต้องแยกแยะให้ออกนะว่า การดำเนินจิตแบบไหนเป็นสมถกรรมฐาน การดำเนินจิตแบบไหนเป็นวิปัสสนากรรมฐาน ถ้าแยกไม่ได้ ส่วนใหญ่จะไปทำสมถะ แล้วคิดว่าทำวิปัสสนาอยู่

สมถกรรมฐาน หลักการของมัน ไม่ยากเท่าไหร่ หลักการของสมถกรรมฐานก็คือ ให้เราสังเกตความจริงของจิตใจของเราเองก่อน จิตใจของเรานั้น ร่อนเร่ ซัดส่าย ตลอดเวลา เดี๋ยวหลงไปทางโน้น เดี๋ยวหลงไปทางนี้ เดี๋ยวจับอารมณ์อันโน้น เดี๋ยวจับอารมณ์อันนี้ ฟุ้งซ่าน จับอารมณ์โน้นอารมณ์นี้ จิตใจนั้นเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง อุตลุดตลอดเวลา คนที่ภาวนาไม่เป็นก็พยายามบังคับใจ ให้สงบ ให้ดี บังคับยังไงมันก็ไม่สงบนะ มีแต่เครียด เพราะฉะนั้นพวกที่ภาวนาแล้วเครียดนะ แสดงว่าไปทำสมถะแบบผิด ผิดวิธีด้วย ถ้าทำถูกวิธีจะไม่เครียด

จิต ถ้าเรารู้จักลักษณะของจิตนะ จิตมันคล้ายๆเด็ก เหมือนเด็กซนๆคนหนึ่ง จิต เดี๋ยวก็วิ่งไปทางโน้น เดี๋ยวก็วิ่งไปทางนี้ เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้ เดี๋ยวดีใจ เดี๋ยวเสียใจ จิตมันเป็นอย่างนี้ ถ้าเราทำสมถะผิดนะ ก็คล้ายๆว่าเราเอาไม้เรียวไป ไปยืนเฝ้าเด็กไว้ บังคับไม่ให้มันกระดุกกระดิก เด็กมันจะเครียด จิตนี้ก็เหมือนกัน ถ้าเราไปบังคับให้มันนิ่งนะ มันจะเครียด เราต้องใช้อุบายวิธี หาอารมณ์ที่จิตชอบใจมาเป็นเหยื่อล่อ หาอารมณ์ที่จิตชอบใจมาเป็นเหยื่อล่อ คล้ายๆกับว่า เรารู้ว่าเด็กคนนี้ชอบกินไอติม เราก็บอกเด็กว่า อย่าซนนอกบ้าน มา เข้ามาในบ้าน มากินไอติมให้สบายใจ เห็นมั้ย เด็กจะสมัครใจเข้ามาในบ้าน เด็กก็มีความสุขด้วย ใช่มั้ย แล้วเด็กก็ไม่ร่อนเร่ออกไปนอกบ้านด้วย

หลักของการทำสมถกรรมฐานก็แบบเดียวกัน เราต้องเลือก ว่าจิตใจของเรานี้ รู้อารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุข บางคนรู้ลมหายใจแล้วมีความสุข ก็รู้ลมหายใจไปอย่างมีความสุข ไม่ต้องไปคิด ว่าจะทำอย่างไรจิตจะสงบ ถ้ารู้ลมแล้วสบายใจนะ รู้ลมไป บางคนดูท้องพองยุบแล้วจิตสบายใจ ก็ดูท้องพองยุบ บางคนเดินจงกรม บางคนภาวนาพุทโธ บางคนขยับมือ ทำจังหวะแบบหลวงพ่อเทียน ทำแล้วจิตใจสบาย มีความสุข ก็ทำอย่างนั้น ความสุขนี้แหละเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ พอจิตมันมีความสุขนะ จิตจะไม่หนี ซัดส่าย ไปที่อื่น มันจะเคล้าเคลียอยู่ในอารมณ์ที่มันมีความสุข นี่เคล็ดลับมันอยู่ตรงนี้

เพราะฉะนั้นบางคนภาวนานะ ทำอย่างไรก็ไม่สงบๆ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะไปพยายามบังคับจิตให้สงบ มันไม่ยอมสงบหรอก ต้องหาอารมณ์ที่มีความสุขมาล่อมัน ยกตัวอย่างหลวงพ่อตอนเด็กๆ หลวงพ่อชอบลมหายใจ ไปเรียนหายใจออก หายใจเข้า จากท่านพ่อลี วัดอโศการาม ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๒ ส่วนใหญ่ในห้องนี้ยังไม่เกิด พอหายใจแล้วมีความสุข พอมีความสุขแล้วจิตสงบ คล้ายๆเด็กได้กินไอติม เด็กก็ไม่ไปซน นี่เคล็ดลับของสมาธินะ เคล็ดลับของสมถะ คือเลือกอารมณ์ที่เรามีความสุข แล้วจิตจะสงบเอง ถ้าจิตสงบโดยที่ไม่ได้บังคับ จิตจะไม่เครียด

ถ้าคนไหนภาวนาแล้วก็เครียด แสดงว่าสมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่มี ถ้าภาวนาแล้วจิตใจมีความสุข มีความสงบ อยู่ในตัวเอง ได้สมถะ โดยไม่ได้บังคับ ทีนี้พอมีความสุขแล้ว มีความสงบแล้ว อย่าหยุดอยู่แค่นี้ ถ้าลำพังการปฏิบัติธรรมนะ มุ่งเอาความสุข ความสงบ ยังตื้นเกินไป ศาสนาพุทธมีสิ่งที่ปราณีต ลึกซึ้ง กว่านั้นอีกเยอะ ลำพังแค่ภาวนาเพื่อให้จิตมีความสุข มีความสงบเนี่ย ไม่มีพระพุทธเจ้า เขาก็สอนกันได้ สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมา แล้วคนอื่นไม่มี คือ วิปัสสนากรรมฐาน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เมื่อ วันพุธที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๒

CD: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วันที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๒
File: 520429.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๓๖ ถึง นาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๔๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ตามองเห็นรูปทำผิดได้ ๔ แบบ

mp 3 (for download) : ตามองเห็นรูปทำผิดได้ ๔ แบบ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ดูอายตนะ ผิดได้ ๔ แบบ

ตามองเห็นรูปทำผิดได้ ๔ แบบ

หลวงพ่อปราโมทย์: เราชอบตีความเพี้ยน ตีความเพี้ยนนะ ยกตัวอย่างบางคนหัดภาวนา เมื่อตามองเห็นรูป ท่านสอนอย่างนี้นะ เมื่อตามองเห็นรูป ความรู้สึกเกิดที่จิตน่ะ ความยินดียินร้ายเกิดที่จิต ให้มีสติรู้ทันนะ หน้าที่ของเราก็รู้ทันอย่างนี้นะ ไม่ใช่เมื่อตามองเห็นรูป เอาสติกำหนดไว้ที่จักษุประสาท จักขุประสาท เฉยๆ กำหนดอยู่ที่จักขุประสาท รู้จักมั้ย คือตัวที่รับภาพน่ะ ตัวเส้นประสาทที่รับภาพน่ะ

ถ้าจิตไปกำหนดไว้ที่จักขุประสาทเนี่ย ทุกอย่างจะนิ่งหมดเลย ไม่มีกิเลส เพราะอะไร เพราะจักขุประสาทเป็นรูป กิเลสไม่ได้อยู่ที่รูป แล้วก็จิตที่เกิดที่ตาที่เรียกว่าจักขุวิญญาณจิต จักขุวิญญาณจิตเป็นวิบากจิต เป็นจิตอัตโนมัติเกิดขึ้นธรรมดา หมาก็มี พระอรหันต์ก็มีนะ ไม่ได้ว่าท่านเทียบกับหมาหรอกนะ แต่หมายถึงว่าสัตว์ที่มีตาทั้งหมดน่ะ มันก็มีจักขุวิญญาณจิต แล้วจักขุวิญญาณจิตนี้ไม่มีกิเลสสักตัวเดียว ในขณะที่หมามองเห็นก็ไม่เกิดกิเลส ในขณะที่ผู้ปฏิบัติธรรมมองเห็นก็ไม่ได้เกิดกิเลส กิเลสเกิดตามหลังนั้นมาต่างหาก ถ้าเราเอาสติไปจ้องอยู่ที่ตานะ เอาสติไปจ้องอยู่ที่ประสาทหู จ้องอยู่ที่ประสาทจมูก ประสาทลิ้น ประสาทกาย กายะประสาท ทุกอย่างจะนิ่ง ไม่มีกิเลส

ไม่มีกิเลสไม่ใช่เพราะว่าไม่มีกิเลส ไม่ใช่เพราะว่าไม่มีอนุสัย แต่อนุสัยไม่มีโอกาสทำงาน เพราะไปเพ่งไว้เฉยๆ เพราะฉะนั้นมันคือการเพ่งรูปนะ มันคือการเพ่งรูป ถ้าเพ่งเข้าไปเมื่อไหร่ เมื่อนั้นก็ไม่มีกิเลสเกิดแล้วแหละ ในขณะที่เพ่งอยู่ไม่มีกิเลสหยาบๆขึ้นมาได้หรอก แต่มีกิเลสที่อยู่เบื้องหลังการเพ่ง กิเลสที่อยู่เบื้องหลังการเพ่งนั้นคือโลภะ และทิฏฐิ โลภะก็คือ อยากรู้ อยากเห็น อยากเป็น อยากได้ ทิฎฐิก็คือคิดว่าทำอย่างนี้แล้วจะดี ทำอย่างนี้แล้วจะถูก เพราะฉะนั้นในขณะนั้นกิเลสครอบงำจิตอยู่แท้ๆเลย แต่ไม่รู้ไม่เห็นเลย

เพราะฉะนั้นจะต้องระมัดระวังมากนะในการเรียนกรรมฐานเนี่ย แค่ตามองเห็นรูปเนี่ยทำผิดได้ ๔ แบบ อย่างนี้จะมากกว่านี้ก็คงมีนะ แต่ภูมิปัญญาของหลวงพ่อรู้ได้แค่ ๔ แบบ ที่เห็นทำผิดอยู่

แบบที่ ๑ ไปกำหนดอยู่ที่รูป (ที่ตาเห็น) อันนี้ออกนอกเลย ไปกำหนดอยู่ที่รูป

อย่างที่ ๒ ไปกำหนดอยู่ที่จักขุประสาท ถามว่าตรงนี้จิตออกนอกมั้ย ออกนอกเรียบร้อยแล้ว จิตเคลื่อนไปที่จักขุประสาท จิตส่งออกนอกไปเรียบร้อยแล้ว ไปเพ่งจักขุประสาท

อย่างที่ ๓ นะ เอาสติไปจ่ออยู่ตรงผัสสะ ตรงที่มีการกระทบระหว่างตา รูป และความรู้สึก สิ่งที่เรียกว่าผัสสะนะ คือการประชุมกันของธรรมะ ๓ อย่าง คือ อายตนะภายนอก อายตนะภายใน แล้วก็จิต เพราะฉะนั้นไปดักดูตรงการกระทบของสิ่งสามสิ่งนี้ ก็นิ่งเหมือนกัน

อย่างที่ ๔ ก็ไปเพ่งจิตที่เกิดขึ้นทางอายตนะ เพ่งจิตที่ไปเห็นรูป

เพราะฉะนั้นตรงนี้เพ่งได้ตั้ง ๔ แบบ เห็นมั้ย ทางที่ผิดนี้ละเอียดละออเลย ยิบยับไปหมดเลย ถ้าไม่เรียนให้ดีจะนึกว่าดี ว่าทำอยู่ตรงนี้แล้วเหมือนไม่มีกิเลส กิเลสไม่มีโอกาสเกิดต่างหาก แต่ว่ามันเกิดไปเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่ส่งจิตไปดู แค่นั้นก็ส่งจิตออกนอกแล้ว คือเมื่อไรออกนอกจากการรู้นะ รู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง เมื่อนั้นออกนอกทั้งนั้นล่ะ แต่หลวงปู่ดูลย์ไม่ได้ห้าม

หลวงปู่ดูลย์บอกว่า ธรรมดาจิตต้องออกนอกเพื่อจะไปรู้อารมณ์ เพียงแต่ออกนอกแล้วนะ พระอริยเจ้าทั้งหลายเนี่ย จิตไม่กระเพื่อมหวั่นไหว ต่างกันตรงนี้เท่านั้นเอง ส่วน พระอริยเจ้า คำว่าพระอริยเจ้าของท่านเนี่ย หมายถึงพระอรหันต์ พระอนาคาฯก็ยังกระเพื่อมหวั่นไหวได้นะ หวั่นไหวในอะไรพระอนาคาฯ หวั่นไหวในรูปฌาน อรูปฌาน ยังยินดีพอใจในรูปฌาน อรูปฌาน ถ้าต่ำกว่าพระอนาคาฯนี้ จะยินดีในกาม ยินดีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ยินดีในการคิดเรื่องกาม และก็ยินร้ายในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ยินร้ายในการคิดเรื่องกาม เพราะฉะนั้นจะมีความยินดียินร้ายเกิดขึ้นทั้งสิ้น

เพราะธรรมชาติของจิตต้องออกไปรู้อารมณ์ แต่เมื่อรู้อารมณ์แล้วเนี่ย เฉพาะพระอรหันต์จิตไม่ยินดียินร้ายไม่กระเพื่อมหวั่นไหว นอกนั้นกระเพื่อมหวั่นไหวอยู่ กระเพื่อมหวั่นไหวอยู่มีสติรู้ทันมัน เพราะฉะนั้นไม่ใช่ภาวนาดูจิตแล้วห้ามกระเพื่อมหวั่นไหวนะ เข้าใจผิดอย่างร้ายแรงเลย

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๓ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๖
Track: ๘
File: 530829B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๑ ถึง นาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๔๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เคล็ดลับของการดูจิต ๓ ขั้นตอน

mp 3 (for download) : เคล็ดลับของการดูจิต ๓ ขั้นตอน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เคล็ดลับของการดูจิต ๓ ขั้นตอน

เคล็ดลับของการดูจิต ๓ ขั้นตอน

หลวงพ่อปราโมทย์ : เอา.. ต่อไปหลวงพ่อจะสอนปิดท้ายนิดหนึ่ง เป็นเคล็ดลับของการดูจิต พวกเราเคยได้ยินคำว่า “ดูจิต” มั้ย ยุคนี้ใครไม่ได้ยินนะ เรียกว่าเชยแหลกเลย บางคนดูยังไม่เป็นหรอกนะ ก็ยังอุตส่าห์บอกว่าดูจิต ใครไม่ดูจิตเรียกว่าล้าสมัย จริงๆเคล็ดลับของการดูจิตเนี่ยไม่ยากเท่าไหร่ มีอยู่ ๓ ขั้นตอนนะ

การดูจิตไม่ใช่ทั้งหมดของการปฏิบัตินะ บางคนดูกายก็ได้ บางคนดูเวทนาก็ได้ บางคนดูจิตก็ได้ แต่พวกเราเป็นคนในเมือง กรรมฐานที่เหมาะกับคนในเมืองคือการดูจิต ไม่ใช่หลวงพ่อพูดเองนะ หลวงปู่ดูลย์เคยสอนไว้

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ วันหนึ่งหลวงพ่อนั่งอยู่กับหลวงปู่ดูลย์ จู่ๆท่านก็พูดขึ้นมานะ ต่อไปการดูจิตจะรุ่งเรืองในเมือง ตอนนั้นเราไม่เชื่อนะ จะรุ่งเรื่องจริงเร้อ มันน่าจะรุ่งริ่งมากกว่า ไปไหนก็ไม่เห็นมีใครรู้จักดูจิตเลย แล้วเมื่อสักอาทิตย์ สองอาทิตย์ที่ผ่านมานี้ หลวงพ่อไปเยี่ยมครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ลูกศิษย์หลวงพ่อชา ท่านก็บอกว่า โอ้..อาจารย์ปราโมทย์สอนให้คนดูจิต ดีนะ หลวงพ่อชาเคยบอกท่านไว้ว่า คนในเมืองน่ะ พวกปัญญาชน พวกคนในเมือง อะไรพวกนี้นะ อย่าไปสอนเรื่องอื่นเลย สอนให้ดูจิตไปเลย แต่ต้องดูด้วยความเป็นกลาง

เพราะฉะนั้นเราดูจิตไปนะ แล้วจิตไม่เป็นกลางคอยรู้ทันไว้ ดูด้วยความเป็นกลาง จิตดีก็รู้ไป ไม่ต้องไปชอบมัน จิตร้ายก็รู้ไป ไม่ต้องไปเกลียดมัน รู้อย่างเป็นกลางไปเรื่อย แค่นี้เอง นี่คือคำว่า “ดูจิต” ดูจิตก็คือ จิตใจเราเป็นอย่างไร รู้ ว่าเป็นอย่างนั้น

ทีนี้เราจะดูจิตให้เห็นว่าจิตเป็นอย่างไรรู้ว่าเป็นอย่างนั้นได้เนี่ย มันมี ๓ ขั้นตอน ขั้นตอนที่ ๑ ก่อนจะดู อย่าอยากดูแล้วไปรอดู เวลาพวกเราคิดถึงการดูจิต พวกเราจะไปดักดูไว้ก่อน ไหนดูสิ หายใจไป แล้วดูสิ จิตจะกระดุกกระดิกเมื่อไหร่ จ้องๆๆ จิตจะนิ่งไปเลย ไม่มีอะไรให้ดูนะ มีแต่นิ่ง

เพราะฉะนั้นกฎข้อที่ ๑ ของการดูจิตเนี่ยนะ อย่าดักดู จริงๆแล้วการทำวิปัสสนาจะไม่ดักดูทั้งนั้นแหละ ดูจิตห้ามดักดูเลย ถ้าดักดูเมื่อไรจิตจะนิ่ง การดูจิตก็คล้ายกับการจะดูพฤติกรรมของเด็กซนๆสักคนหนึ่ง ถ้าเราถือไม้เรียวเฝ้าไว้นะ เราไปถือจ้องไว้อย่างนี้นะ เด็กก็ไม่กล้าซน ใช่มั้ย ไม่กล้าซน จิตก็เหมือนกัน ถ้าเราไปนั่งจ้องอยู่นะ มันไม่กล้าซน มันจะนิ่ง เพราะฉะนั้นกฎข้อที่ ๑ ของการดูจิตนะ อย่าไปจ้องมันไว้ ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนนะ แล้วค่อยรู้เอา นี่กฎข้อที่ ๑ นะ ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยรู้เอา เช่น ให้ใจลอยไปก่อน แล้วรู้ว่าใจลอย ให้โกรธไปก่อน แล้วรู้ว่าโกรธ ให้โลภไปก่อนแล้วรู้ว่าโลภ

ทำไมต้องให้มันเป็นไปก่อน คำว่า “จิตตานุปัสนนา” เนี่ย โดยคำศัพท์มันนะ คือคำว่า “จิต” คำว่า “อนุ” คำว่า “ปัสสนา” ปัสสนาคือการเห็น อนุแปลว่าตาม ตามเห็นเนืองๆซึ่งจิต เพราะฉะนั้นจิตโกรธขึ้นมา รู้ว่าจิตโกรธ ไม่ใช่ให้ไปรอดูนะว่าต่อไปนี้จิตชนิดไหนจะเกิดขึ้น ถ้าไปอ่านสติปัฏฐานให้ดีท่านจะสอนไว้ชัดๆเลยนะ ท่านบอกว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อจิตมีราคะ ให้รู้ว่ามีราคะ เห็นมั้ย ราคะเกิดก่อนนะ แล้วรู้ว่ามีราคะ ท่านไม่ได้สอนนะ ภิกษุทั้งหลาย จงรอดูสิว่าอะไรจะเกิดในจิตของเธอ ไม่ได้สอนอย่างนี้เลยนะ เพราะฉะนั้น จิตมีราคะ ให้รู้ว่ามีราคะ จิตมีโทสะ ให้รู้ว่ามีโทสะ จิตหลงไปใจลอยไป รู้ว่าใจลอยไป ไม่ห้ามนะ แต่ใจลอยไปรู้ว่าใจลอยไป ให้สภาวะเกิดก่อนแล้วตามรู้ นี่คือกฎข้อที่ ๑ อันแรกก็คือ ก่อนจะรู้อย่าไปดักนะ อย่าไปดักดู ก่อนจะดูเนี่ย ก่อนจะรู้จิต ก่อนจะดูจิต อย่าไปจ้องเอาไว้ ให้สภาวะเกิดแล้วก็ค่อยตามดูเอา

กฎข้อที่ ๒ ระหว่างดูจิตเนี่ย ระวังอย่าให้ถลำลงไปจ้อง ระวังอย่าถลำลงไปเพ่ง ยกตัวอย่างพวกเรา เวลาหายใจ สังเกตมั้ย เวลารู้ลมหายใจ บางทีจิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ เวลาดูท้องพองยุบจิตชอบไหลไปอยู่ที่ท้อง เวลาเดินจงกรมจิตไหลไปอยู่ที่เท้า นี่เรียกว่าจิตไม่ตั้งมั่น เวลาเราดูจิตก็เหมือนกัน ถ้าเห็นความโกรธผุดขึ้นมานะ ให้ดูสบายๆนะ ดูแล้วเหมือนจะเห็นว่าคนอื่นโกรธนะ ไม่ใช่เราโกรธนะ ดูห่างๆ เราเห็นความโกรธเหมือนคนเดินผ่านหน้าบ้าน หรือเหมือนเห็นรถยนต์วิ่งผ่านหน้าสเถียรฯอย่างนี้ ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา มันมาแล้วมันไปๆ ใจเราอยู่ห่างๆ เพราะฉะนั้นกฎข้อที่ ๒ เวลาดู อย่าถลำลงไปจ้อง ดูห่างๆ ดูสบายๆ ดูแบบคนวงนอก ดูเหมือนคนดูฟุตบอล นั่งบนอัฒจรรย์เห็นนักฟุตบอลวิ่งไปวิ่งมา อย่ากระโดดลงไปในสนามฟุตบอล

กฎข้อที่ ๓ ก็คือ เมื่อเห็นสภาวะใดๆแล้วนะ อย่าเข้าไปแทรกแซง อันที่ ๑ ก่อนจะรู้ อย่าไปดักรู้ อันที่ ๒ ระหว่างรู้ อย่าไปจ้อง อย่าไปถลำไปจ้อง อันที่ ๓ เมื่อรู้แล้วอย่าเข้าไปแทรกแซง เช่นความโกรธเกิดขึ้น รู้ว่าจิตมันโกรธ อย่าไปห้ามมัน ไม่ต้องห้ามมัน ความโกรธก็จะแสดงไตรลักษณ์ให้ดู เกิดได้ก็ดับได้เหมือนกัน ความโลภเกิดขึ้นก็อย่าไปว่ามันนะ ก็จะเห็นว่าความโลภเกิดขึ้นแล้วก็ดับเองได้ ความสุขความทุกข์มันก็ดับของมันเอง สิ่งทั้งหลายมีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ บังคับไม่ได้ เราจะเห็นอย่างนี้เนืองๆ เพราะฉะนั้น เราไม่ใช่ว่า สภาวะอะไรเกิดขึ้นก็เข้าไปแทรกแซง

ยกตัวอย่างเวลาเราใจลอยไป เรานั่งหายใจอยู่ พอใจลอยปุ๊บ อุ๊ยใจลอยไมดี ดึงกลับมาอยู่ที่ลม บังคับจิตไม่ให้หนีไปไหนนะ อย่างนี้แทรกแซงแล้ว อย่าไปแทรกแซงนะ ให้รู้ สักว่ารู้ หมายถึง รู้โดยไม่เข้าไปแทรกแซง

ถ้าพวกเราทำได้ ๓ ขั้นตอนนี้นะ ก่อนจะดูนะ อย่าอยากดูแล้วถลำเข้าไปจ้อง ไปอยากดูน่ะ แล้วก็ไปคอยดักดูไว้ก่อน อันที่ ๒ ระหว่างดู อย่าถลำลงไปจ้อง ดูอยู่ห่างๆ เหมือนคนดูฟุตบอลอยู่บนอัฒจรรย์ อันที่ ๓ รู้แล้วไม่เข้าไปแทรกแซง มันดีก็รู้ไป มันก็จะเห็นว่าดีอยู่ชั่วคราวแล้วก็หาย.. มันชั่วก็เห็นไป ความชั่วอยู่ชั่วคราวแล้วก็หาย มันสุขก็รู้ไปนะ แล้วก็จะเห็นความสุขอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป ความทุกข์อยู่ชั่วคราวแล้วก็หาย ทุกอย่างอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไปทั้งสิ้นเลย อย่าเข้าไปแทรกแซง เพราะเมื่อเข้าไปแทรกแซงเมื่อไร เป็นสมถะเมื่อนั้นเลย เป็นการทำสมถกรรมฐาน


CD: เสถียรธรรมสถาน วันที่ ๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๒
File: 520906.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๕๙ ถึง นาทีที่ ๓๕ วินาทีที่ ๑๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ธรรมดาดีที่สุด

mp3 for download: ธรรมดาดีที่สุด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ธรรมดาดีที่สุด

ธรรมดาดีที่สุด

โยม: ก็กำลังทำการบ้านอยู่ค่ะ ไม่มีอะไรจะรายงานหลวงพ่อ รู้สึกว่าต้องเอาใจใส่ตัวเองให้มากกว่านี้เท่านั้นน่ะค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: เราคอยรู้ทันนะ จิตเราเนี่ยมันจะสร้างภพตลอดเวลา สร้างสิ่งบางสิ่งขึ้นมา แล้วเราก็ไปติดอยู่กับสิ่งนั้น กระทั่งนักปฏิบัตินะ เราก็จะสร้างภพที่นิ่ง..นิ่ง ว่าง ว่าง นุ่มนวล อะไรขึ้นมานะ แล้วเราก็จะไปเกาะเอาไว้ เราคิดว่าอย่างนี้ดี ถ้าเราสร้างขึ้นมา รู้ว่าสร้าง จิตเข้าไปเกาะอยู่ รู้ว่าเกาะอยู่ อันนี้ถึงจะดีจริงนะ มีมั้ยตอนนี้

โยม: ก็มันก็เกาะอะไรอยู่ที่คิดว่ามันจะดี ก็รู้สึกว่ามันไม่เป็นธรรมชาติ

หลวงพ่อปราโมทย์: ไม่เป็นธรรมชาตินะ ธรรมดาดีที่สุดนะ เพราะว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่เราปรุงขึ้นมา พอเราปรุงขึ้นมาแล้วเราก็เข้าไปอาศัยอยู่ เราคิดว่าอยู่ตรงนี้ไปเรื่อยๆจะดี ไม่ดีหรอกนะ

โยม: มันเหมือนกับเราไม่ออกมาสู้รบกับกิเลสใช่มั้ยคะ

หลวงพ่อปราโมทย์: ใช่ๆ มันเป็นที่พัก ที่หนี หนีเข้าป้อมน่ะ นึกออกมั้ย เหมือนหนีเข้าป้อมเปี๊ยบเลย ให้รู้ทันนะ ออกมาสู้นะ ออกมา

โยม: เข้าใจค่ะ กราบขอบพระคุณค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: สู้ให้ได้นะ เราอุตส่าห์สร้างคุณงามความดีตั้งเยอะแยะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๓
File: 521204B.mp3
ลำดับที่ ๔
ระหว่างนาทีที่ ๔๐ วินาทีที่ ๑ ถึง นาทีที่ ๔๑ วินาทีที่ ๑๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิปัสสนูปกิเลส เกิดจากสมาธิไม่พอ จิตไม่ตั้งมั่น

mp 3 (for download) : วิปัสสนูปกิเลส เกิดจากสมาธิไม่พอ จิตไม่ตั้งมั่น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

วิปัสนูปกิเลส เกิดจากสมาธิไม่พอ  จิตไม่ตั้งมั่น

วิปัสนูปกิเลส เกิดจากสมาธิไม่พอ จิตไม่ตั้งมั่น

หลวงพ่อปราโมทย์ : เมื่อก่อนที่หลวงพ่อเคยไปเรียนจากหลวงปู่เทสก์ ท่านสอนบอกว่า เวลาเกิดวิปัสนู*เนี่ย เกิดเพราะว่าสมาธิไม่พอ เราฟังอย่างนี้เรายังไม่ get นะ เวลามันเกิดขึ้นมาจริงๆถึงได้ค่อยๆมาสังเกต อ๋อ..จิตมันไม่ตั้งมั่นนี่เอง จิตมันหลงไปข้างนอก หลงไปอยู่ในความว่างความสว่าง หลงไปอยู่ในปัญญา หลงไปอยู่ในความสุข ในความสบาย ความเย็น ความโล่ง ความว่าง หลงไปสารพัดรูปแบบเลย จิตมันไม่ตั้งมั่น ถ้าเมื่อไรจิตตั้งมั่น มันก็จะหลุดออกมา อันนี้เราเห็นมาด้วยการปฏิบัติอย่างนี้

เสร็จแล้ว เพิ่งมาเจอพระสูตรนี้ ที่ท่านพระอานนท์สอนไว้ เหมือนกันเปี๊ยบเลย วิปัสนูเกิดจากจิตไม่ตั้งมั่น ไหลออกไป จิตไม่ถึงฐานนั่นแหละ ที่หลวงพ่อเรียกว่าไม่ถึงฐาน

เพราะฉะนั้นเวลาพวกเราภาวนานะ ค่อยๆสังเกต เราดูจิตดูใจ หรือว่าดูกาย ก็เหมือนกันนะ ไม่ว่าทำวิปัสสนาด้วยอะไรเนี่ย เกิดวิปัสนูได้ทั้งสิ้นเลย ไม่ใช่ว่าดูจิตแล้วมีแต่วิปัสนู ดูกายไม่มีวิปัสนู เข้าใจผิด หลวงพ่อเจอคนติดวิปัสนูเยอะแยะไปหมดเลย กระทั่งในสำนักต่างๆของครูบาอาจารย์ก็มี ไม่ใช่ไม่มี

ถ้าทำวิปัสสนาถูกต้องนะ แต่เพิ่งเริ่ม เพิ่งเริ่มวิปัสสนาได้ไม่นานนะ ยังไม่ชำนิชำนาญพอเนี่ย สมาธิไม่พอ จิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่ถึงฐานเนี่ย มันจะมัวแต่ดูอารมณ์ที่เกิดดับแล้วถลำออกไปดู พออารมณ์นั้นหมดไป วับไป มันโล่ง มันว่าง มันสว่างแล้ว คราวนี้ก็เลยไปค้างอยู่ตรงนี้เลย คิดว่านิพพาน เอาละเราเป็นพระอรหันต์แล้ว ตรงนี้ไม่มีกิเลสเลย คนที่ภาวนามาถึงตรงนี้แล้วคิดว่าเป็นพระอรหันต์นั้นมีหลายคน ตอนนี้แก้ไปได้หลายคนแล้ว บางคนก็แก้ไม่ได้เพราะไม่ยอมมาเจอเราเลย

มีบางคนไม่ได้มาเจอนะ หลวงพ่อบอกว่าไม่ถูกหรอก โมโหไปเลยนะหายไป หายไปนานๆกลับมาใหม่ บอกว่าสติแตกมาแล้ว ไม่ใช่แล้ว รู้แล้วว่าไม่ใช่ ก็บอกไปว่าใช่ มันไม่ใช่หรอก เพราะจิตไม่ถึงฐาน จิตมันไปอยู่นอกๆ

ทีนี้คนที่ไปเจอวิปัสนูว่างๆ ก็จะเกิดความสำคัญผิดว่าบรรลุพระอรหันต์ แล้วจะคิดว่า โอ้..เอาใจไปอยู่ในความว่างนี้แหละ คืออยู่กับนิพพาน อยู่กับสุญญตา นี่เป็นทางลัด ไม่ต้องมามีสติรู้กายรู้ใจก็ได้ ไปดูความว่างเอาไว้ นี่พวกนี้เป็นวิปัสนูนะ

ถ้าไปดูความว่างอยู่เนี่ย มันเดินปัญญาต่อไม่ได้ มันเป็นภพอันหนึ่งที่ตัวเองมองไม่ออกว่าเป็นภพ ไปติดอยู่อย่างนั้นแหละ แต่ถ้ารู้ทันเมื่อไหร่นะว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่ถึงฐาน มันจะหลุดออกมาเลยนะ

*หมายเหตุ ‘วิปัสนู’ เป็นการเรียก วิปัสนูปกิเลส อย่างย่อๆ ซึ่งมาจากคำว่า วิปัสสนา กับคำว่า อุปกิเลส แปลว่า กิเลสละเอียดที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนา


CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๓๐
File: 520621.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๔๐ ถึง นาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๑๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ข้อแตกต่างระหว่างผู้ปฏิบัติกับคนปฏิบัติไม่เป็น

mp 3 (for download) : ข้อแตกต่างระหว่างผู้ปฏิบัติกับคนปฏิบัติไม่เป็น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ข้อแตกต่างระหว่างผู้ปฏิบัติกับคนปฏิบัติไม่เป็น

ข้อแตกต่างระหว่างผู้ปฏิบัติกับคนปฏิบัติไม่เป็น

หลวงพ่อปราโมทย์: จิตนะมันก็คล้ายๆเด็กคนหนึ่ง เป็นเด็กซนด้วย จิตของทุกคนเป็นเด็กซนๆ นะ เพราะฉะนั้นจิตจะเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง ทำงานอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราเป็นแบบผู้ใหญ่ใจร้าย เราไปถือไม้เรียวเฝ้าเด็กไว้เนี่ย เด็กก็ตัวแข็งๆ ไม่กล้ากระดุกกระดิก เด็กก็ผิดธรรมชาติแล้ว เด็กไม่กล้าเคลื่อนไหว

จิตนี้เหมือนกัน ถ้าเราไปนั่งเพ่ง นั่งจ้อง นะ จิตก็จะนิ่ง ไม่กล้าเคลื่อนไหว ไม่กล้ากระดุกกระดิก เพราะฉะนั้นเราอย่าไปเพ่งมัน ปล่อยให้มันทำงานเป็นอิสระเลย แล้วมีสติตามดู ผู้ปฏิบัติกับคนปฏิบัติไม่เป็นเนี่ย ต่างกันนิดเดียว เด็กๆที่ปฏิบัติไม่เป็นนะ จิตมันเดี๋ยวก็แกว่งขึ้น เดี๋ยวก็แกว่งลง เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย ตลอดเวลา จิตมันเป็นอย่างนั้นเอง เป็นธรรมชาติ เจอสิ่งนี้มันดีใจ เจอสิ่งนี้มันไม่พอใจนะ เปลี่ยนแปลงไป

แต่ว่าเด็กนั้นอารมณ์มันเปลี่ยนแปลงนะ แต่มันไม่รู้ นะ มันไม่รู้ มันมัวแต่หลงออกไปภายนอก ผู้ปฏิบัติต่างจากเด็กนิดเดียว ตรงที่ว่าเรารู้ทัน จิตเราโลภขึ้นมาเรารู้ทัน จิตเราโกรธขึ้นมาเรารู้ทัน จิตเราหลงขึ้นมารู้ทัน จิตฟุ้งซ่าน จิตหดหู่ จิตสงสัย จิตเป็นอย่างไรคอยรู้ทันไปเรื่อยๆ แต่ว่าปล่อยจิตให้มันทำงานไปอย่างอิสระนะ เหมือนเราเป็นเด็กๆ ปล่อยจิตมันให้ทำงานไป เหมือนจิตใจของเด็กธรรมดานั่นเอง

นี่ฝึกไปอย่างนี้ ง่ายๆ เราก็จะได้เห็นความจริง ว่าจิตนี้เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นี่คือ “ไม่เที่ยง” นะ จิตนั้นทนอยู่ในสภาวะอันใดอันหนึ่งไม่ได้ เช่นสุขก็สุขไม่นานนะ ทุกข์ก็ทุกข์ได้ชั่วคราว เนี่ยเรียกว่ามันเป็น “ทุกขัง” มันทนอยู่ไม่ได้ มันถูกบีบคั้นตลอดเวลา จิตนี้นะ เราสั่งมันไม่ได้ มันจะสุข มันจะทุกข์ มันจะดี จะชั่ว เราสั่งมันไม่ได้ นี่เรียกว่า “อนัตตา”

เราดูของจริงนะ เราจะเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดูในกาย ดูในจิตนะ ดูไปเรื่อยๆ ดูเขาทำงานไปเรื่อย อย่าไปบังคับเขา ถ้าเราลืมดู เรียกว่า “หลงไป” นะ ใช้ไม่ได้ ถ้าเราไปเพ่งกายเพ่งจิต มันก็นิ่งๆ ไม่เห็นความจริง ก็ใช้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นให้เรารู้เล่นๆ

เพราะฉะนั้น เด็กๆ เนี่ย จิตใจมันจะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง มันอยากจะวิ่งมันก็วิ่งนะ ร่างกายมันก็เคลื่อนไหวไป หกล้มขึ้นมา มันเจ็บมันก็ร้องไห้ มันไม่ได้มีมารยา นะ ของเราถ้าหกล้มใช่มั้ย เราเจ็บเนี้ยไม่เท่าไหร่ แต่อายมากกว่า เห็นมั้ย เด็กไม่อาย รู้สึกมั้ย แต่หลวงพ่อไม่ได้สอนให้พวกเราหน้าด้านนะ แต่เทียบให้ฟังน่ะ อย่างเด็กหกล้มเนี่ย เด็กเจ็บ แต่ของเราเนี่ยอาย ใช่มั้ย เจ็บด้วย แล้วอายด้วย นี่บวกมารยาเข้าไป นะ ถ้าเรามีใจอย่างเด็กๆ นะ ใจซื่อๆ ความรู้สึกใดๆ เกิดขึ้น ก็มีสติรู้ทันนะ ต่างกับเด็กตรงที่เด็กมันไม่รู้เท่านั้นเอง

แต่เด็กบางคนรู้นะ หลวงพ่อตอนอายุสิบขวบ ไฟไหม้ข้างบ้าน ตกใจ วิ่งจะไปบอกพ่อ วิ่งไป ตึ๊บ ตึ๊บ ตึ๊บ วิ่งไปสามก้าวเท่านั้น มันไปเห็นจิตที่ตกใจเข้า ความตกใจมันดับลงตรงนั้นเลย นะ มันตื่นขึ้นมา เพราะฉะนั้นเด็กบางคนมันก็เป็นเหมือนกันนะ ทีนี้พวกเรานะ ปล่อย..ให้กายให้ใจเขาทำงาน ให้เขาเคลื่อนไหว ให้เขาเปลี่ยนแปลงแล้วเราตามดู

ผู้ปฏิบัติไปพลาดตรงไหน พลาดตรงที่ไปทำลายหัวใจของเด็กๆ เสียนะ เป็นหัวใจที่เต็มไปด้วยมารยานะ เรากดข่ม บังคับตัวเองสารพัดเลยนะ จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ก็ไม่เป็นธรรมชาตินะ ใจเราจะมีความรู้สึกอะไร เราก็คอยควบคุม คอยบังคับ คอยกดข่ม จนเครียดไปหมดเลย นะ เพราะฉะนั้นเราเต็มไปด้วยความทุกข์ เราสร้างความทุกข์ขึ้นมาเอง เราสร้างความลำบากในกายในใจขึ้นมาเอง

ลองเปลี่ยนซะนะ อย่าไปเพ่งกาย อย่าไปเพ่งใจ อย่าไปกำหนดกาย อย่าไปกำหนดใจ ให้มีสติรู้กาย ให้มีสติรู้ใจ รู้ไปเรื่อยๆ รู้ไปเล่นๆ วันหนึ่งเราจะเห็นความจริงเลย ทั้งกายทั้งใจนี้ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตานะ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มันไม่ใช่ตัวเราที่แท้จริง เห็นแต่สภาวธรรม แต่ไม่มีตัวเรา

เช่น ความโกรธเกิดขึ้น เราเห็นเลย ความโกรธไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นสภาวธรรมที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ความโลภเกิดขึ้นก็ไม่ใช่ตัวเรา เป็นแค่สภาวธรรมอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นแล้วก็ผ่านไป ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นแล้วก็ผ่านไปหมดเลย ความสุขเกิดขึ้นนี่ เรามีสติรู้อยู่ มีใจตั้งมั่น เห็นเลย ความสุขนั้นเป็นแค่สิ่งที่ผ่านมา แล้วก็ผ่านไป เป็นของแปลกปลอมมาชั่วครั้งชั่วคราว ความสุขไม่ใช่ตัวเรา นะ

เราจะเห็นทุกสิ่งทุกอย่างผ่านมาผ่านไปล้วนแต่ไม่ใช่ตัวเรา นี่เราคอยรู้สึกไป รู้สึกไปนะ ในกายนี้ก็มีแต่สภาวธรรม ไม่ใช่ตัวเรา ในจิตก็มีแต่สภาวธรรม ไม่ใช่ตัวเรา


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ศาลากาญจนาภิเศก (ศาลาลุงชิน) ครั้งที่ ๒๗
เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕๒
CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๒๗
File: 520215.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๖ ถึง นาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๔๑

 

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การดูกาย

ดูกาย

ดูกาย

mp 3 (for download) : การดูกาย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ฝึกมาแบบไหน

โยม: ดูกายค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: ดูกายต้องมีใจที่ตั้งมั่น สักว่ารู้สักว่าดูนะ ใจต้องอยู่ต่างหากเป็นแค่คนดู ที่ฝึกอยู่พอใช้ได้แต่ตอนนี้ไม่ได้แล้ว ตะกี้ใช้ได้ นี่ตรงนี้ใช้ได้

โยม: ค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: อย่าไปเพ่งนะ อย่าไปเพ่งกายให้ทื่อๆ ขึ้นมา ให้เราแค่เห็นร่างกายมันทำงานไป ใจเป็นคนดูอยู่ต่างหาก คนไหนดูกาย นี่หลวงพ่อพูดเหมาๆ นะ วันนี้มีเวลาครึ่งชั่วโมงเอง คนไหนดูกายนี่ให้เห็นร่างกายมันเคลื่อนไหวมันทำงานไป ใจเป็นคนดูอยู่ต่างหากนะ ใจเป็นแค่คนดูร่างกายทำงาน อย่าเหลือแต่กายอันเดียว หลายคนภาวนาผิดนะ ไปรู้ลมหายใจ เหลือแต่ลมหายใจไม่มีความรู้สึกตัว จิตจมลงไปในลม บางคนดูท้องพองยุบนะ เหลือแต่ท้อง จิตไปเพ่งอยู่ที่ท้อง มันต้องมีจิตอยู่ต่างหาก

การแยกกายแยกใจนี่เรียกว่านามรูปปริจเฉทญาณ’ ก่อนที่จะขึ้นวิปัสสนานี่ ญาณที่หนึ่งต้องมีนามรูปปริเฉทญาณ แยกรูปกับนามออกจากกันให้ได้ก่อน รูปธรรมอยู่ส่วนหนึ่งนะ นามธรรมเป็นคนดู เพราะฉะนั้นเราเห็นร่างกายที่เดินที่ยืนที่นั่งที่นอนนี่ไม่ใช่ตัวเรา มันจะเห็นทันทีเลย เพราะใจจะเป็นคนดูอยู่ต่างหาก

เพราะฉะนั้นต้องพยายามนะ คนไหนที่หัดรู้กาย เวลาที่รู้ลมหายใจอย่างนี้อย่าให้จิตไหลไปจมอยู่ที่ลมหายใจ ให้จิตอยู่ต่างหาก จิตเป็นคนดู เห็นร่างกายนี้หายใจไป จิตเป็นแค่คนดู บางคนดูท้องพองยุบก็ให้ร่างกายมันพองยุบไป จิตเป็นคนดูอยู่ต่างหาก คนไหนเดินจงกรมก็เห็นร่างกายมันเดินไป จิตเป็นคนดูอยู่ อย่าไปเพ่งใส่เท้านะ ถ้าไปเพ่งเท้าจนไม่รู้สึกถึงความมีอยู่ของจิต จิตไปรวมอยู่ที่เท้าเป็นสมถะ เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่ที่ทำนะได้แค่สมถะ จิตถลำลงไป จิตไม่ตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธินี่แหละเป็นของสำคัญมาก ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ ไม่สักว่าเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่นี่ จิตจะถลำลงไป ไปรู้อารมณ์แล้วก็ถลำ ไปรู้อารมณ์แล้วก็ถลำ มันจะไม่สามารถเห็นอารมณ์ทั้งหลายตามความเป็นจริง จิตมันจะไปแช่นิ่งๆ ซื่อบื้ออยู่กับอารมณ์ อย่างนั้นไม่เกิดปัญญา ได้แต่ความสงบ

เพราะฉะนั้น คนไหนดูกายนะ รู้ไป ร่างกายเคลื่อนไหว ใจเราเป็นคนดูอย่างนี้เรื่อยๆ แล้วก็จะเห็นเลย ร่างกายมันก็เคลื่อนไหวของมันไปเรื่อย จิตใจมันก็ทำงานของมันไปเรื่อย บังคับไม่ได้สักอันเดียวทั้งกายทั้งใจ

ทำวิปัสสนาไม่ใช่รู้กายอันเดียวหรือรู้จิตอันเดียว ทำวิปัสสนาจริงๆ ไม่เหมือนสมถะ สมถะรู้อันเดียว ให้จิตอยู่ในอารมณ์อันเดียว แต่วิปัสสนานี่บางครั้งสติรู้กาย บางครั้งสติรู้จิต เลือกไม่ได้ เพราะสติเป็นอนัตตา สั่งไม่ได้ บางทีก็รู้กาย บางทีก็รู้จิต เมื่อรู้กายเราก็ให้เห็นความจริงของกายนะ จิตเป็นแค่คนดูอยู่ เห็นความจริงร่างกายเป็นแค่วัตถุธาตุเคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ตัวเราหรอก จะเห็นทันทีว่าไม่ใช่เรา แต่ถ้าเราไปเพ่งท้องพองยุบไปเรื่อยๆ มันจะไม่เห็นว่าไม่เป็นเรา มันจะสงบไปเฉยๆ เพราะฉะนั้นใจจะต้องตั้งมั่นเป็นแค่คนดูอยู่

 

 

สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๐
Track: ๖
File:
500509.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๑๗ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๔๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา พร้อมมูล อริยมรรคถึงจะเกิด

mp 3 (for download) : ต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา พร้อมมูล อริยมรรคถึงจะเกิด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: จิตต้องตั้งมั่น ตั้งมั่นเป็นคนรู้คนดู พวกเราหลายคนทำกรรมฐานมากมาย แต่สงสัยว่าทำไมมันไม่เกิดมรรคผลนิพพานตัวจริง เพราะมันไม่มีปัญญานั่นเอง ไม่มีปัญญาเห็นความจริงของรูปนาม มันคิดแต่จะบังคับรูปนาม เพ่งรูปเพ่งนาม เพ่งลูกเดียวนะ ไม่ใช่ปัญญาเห็นไตรลักษณ์

ทำไมไม่มีปัญญา เพราะจิตไม่มีสัมมาสมาธิ จิตไม่ตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นสำคัญนะ อย่างพระอยู่กับหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ต้องคอยควบคุม บางวันจิตตามรู้กายตามรู้ใจมากเข้าๆ จิตกระจายๆ ออกไปนี่ ต้องเพิ่มสมถะละ เพิ่มความสงบให้ใจตั้งมั่น ตั้งมั่นแล้วขี้เกียจขี้คร้านอีก ต้องไล่อีกแล้ว ให้ออกมารู้กายมารู้ใจนะ

เนี่ยเวลาทำกรรมฐานก็คล้ายๆ เราขับรถยนต์นะ บางเวลาก็เหยียบเบรก เนี่ยทำสมถะ บางเวลาเหยียบคันเร่งเจริญปัญญา รถมันถึงจะไปถึงที่หมายได้ งั้นเราคอยดูนะ คอยดูกายคอยดูใจไป ด้วยจิตใจที่ตั้งมั่น เป็นแค่คนดู

หลายคนทำมาหลายปีทำไมไม่ได้ผล หลวงพ่อยกตัวอย่างนะ อย่างตอนนี้ฝึกพองยุบเยอะ ฝึกพองยุบแล้วเห็นท้องพองท้องยุบนะ ถ้าจิตเราไม่ตั้งมั่นจิตเราจะไหลไปตั้งอยู่ที่ท้อง จิตไปตั้งอยู่ที่ท้องเรียกว่าไปตั้งแช่ไม่ใช่ตั้งมั่น เข้าไปแช่อยู่ที่ตัวอารมณ์ จิตตั้งมั่นเนี่ยมันจะอยู่ต่างหากจากอารมณ์ มันจะเห็นเลยร่างกายที่พองร่างกายที่ยุบเป็นของถูกดู จิตอยู่ต่างหาก ต้องแยกรูปแยกนามให้ได้ก่อน

เพราะฉะนั้นก่อนจะเกิดวิปัสสนาญาณนะ ญาณตัวแรกเลยนะเขาเรียกว่า “นามรูปปริจเฉทญาณ” นามรูปปริจเฉทญาณคือแยกรูปกับนาม เห็นเลยเห็นท้องมันพองท้องมันยุบไป ใจเป็นคนดูอยู่ต่างหาก ใจมันตั้งมั่นอยู่ต่างหาก ไม่ใช่ใจถลำไปอยู่ที่ท้องนะ ตรงนี้ชอบดูลมหายใจก็ถลำไปอยู่ที่ลมหายใจ ขยับมือทำจังหวะก็ไปเพ่งใส่มือ จิตไหลไปอยู่ที่มือ เดินจงกรมจิตไหลไปอยู่ที่เท้า ดูท้องจิตไหลไปอยู่ที่ท้อง ดูอิริยาบถสี่เพ่งมันทั้งตัวเลย อันนั้นเรียกว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตถลำลงไปตั้งแช่ในอารมณ์ จิตต้องตั้งมั่นในการรู้อารมณ์ ตั้งมั่นในการรู้อารมณ์ สักว่ารู้อารมณ์ อยู่ต่างหากจากอารมณ์นี่เป็นอันหนึ่ง ไหลเข้าไปรวมแช่อยู่กับอารมณ์เป็นอีกอันหนึ่ง

นี่พวกเราส่วนมากจิตไหลเข้าไปแช่อยู่กับอารมณ์ ไม่มีปัญญาจริงหรอก เกิดปัญญาไม่ได้ มันแช่ไปด้วยกัน ยกตัวอย่างให้ฟังนะ คล้ายๆ เรา ถ้าเรายืนอยู่บนบกริมคลองริมแม่น้ำ เราอยู่บนบกเราไม่ได้ตกน้ำ เราจะเห็นเลยในน้ำเดี๋ยวก็มีอันโน้นลอยมาอันนี้ลอยมา เดี๋ยวกอผักตบลอยมา เดี๋ยวท่อนไม้ลอยมา เดี๋ยวหมาเน่าลอยมา ลอยมาแล้วก็ลอยไปเพราะว่าเราอยู่บนบก

แต่ถ้าเราตกลงไปในน้ำเราลอยไปกับมันนะ เห็นมันอยู่อย่างนั้นน่ะ เห็นมันอยู่ทั้งวัน ดูท้องก็เห็นท้องทั้งวันอยู่ทั้งวันนั่นแหละ ลอยไปด้วยกัน งั้นต้องเป็นคนดูอยู่ต่างหาก

อย่างสายอภิธรรม อาจารย์แนบก็ชอบสอน ต้องเป็นคนดูละครนะ เป็นคนดูละครอย่าโดดเข้าไปในเวทีละคร ถ้าพูดสมัยใหม่คนรุ่นเราชอบดูฟุตบอล เราต้องดูฟุตบอลอยู่บนอัฒจันทร์นะ อย่าไปดูฟุตบอลอยู่กลางสนามฟุตบอล เดี๋ยวถูกเขาเตะเอานะ ถูกกิเลสเตะเอา

งั้นเราต้องดูอยู่ห่างๆ เนี่ยเรียกว่าเราตั้งมั่น ตั้งมั่นอยู่ห่างๆ ไม่เข้าไปยินดียินร้ายกับมัน เป็นกลางในการรู้ จิตใจอ่อนโยนนุ่มนวล ตั้งมั่น คล่องแคล่วว่องไวนะ ไม่ไหลเข้าไป เนี่ยอย่างนี้จิตใจถึงจะมีปัญญาจริงเกิดขึ้น มันจะเห็นเลยทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกอย่างเกิดแล้วดับ เพราะจิตมันไม่หลงตามไป จะเห็นแต่ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ถ้าไหลคู่กันไปมันคือการเพ่ง มันจะแนบอยู่ที่อันเดียวนะ เป็นการเพ่ง ได้สมถะ ได้แต่สมถะ

ถ้าจิตตั้งมั่นเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู ทางวัดป่าท่านจะเรียกว่าจิตผู้รู้ มีจิตผู้รู้ขึ้นมาเป็นคนดู เป็นคนดูกาย ดูเวทนา ดูกุศลอกุศล ก็จะเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นกุศลอกุศลล้วนแต่เกิดแล้วก็ดับ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ใจตั้งมั่นเป็นคนดู ปัญญาถึงจะเกิด

งั้นสติเป็นเครื่องระลึกรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นแปลกปลอมขึ้นในกายในใจ สัมมาสมาธิเป็นความตั้งมั่นของจิตในการไปรู้อารมณ์ไม่ถลำลงไป ปัญญาก็จะเห็นความเป็นจริงคือเห็นไตรลักษณ์ ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา นี่สติสมาธิปัญญา ทำงานร่วมกันอย่างนี้นะถึงจะเกิดมรรคเกิดผลได้ ทำไมเกิดมรรคเกิดผลได้เพราะว่ามีปัญญาแก่รอบแล้ว มีสมาธิบริบูรณ์ขึ้นมานะ ศีลสมาธิปัญญาพร้อมมูลขึ้นมานะ อริยมรรคถึงจะเกิด ตัวหนึ่งมากตัวหนึ่งน้อยกะพร่องกะแพร่งไม่เกิดหรอก งั้นต้องมีสติรู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางสักว่ารู้สักว่าเห็นนะ ถึงจะเห็นความจริงของกายของใจ ฟังเหมือนยากนะแต่ง่าย


แสดงธรรมที่ สวนสันติธรรม
เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๙ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
ลำดับที่: ๘
File: 491123B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๔๗ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๕๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตที่มีสัมมาทิฏฐิมีแนวโน้มไปสู่นิพพาน เว้นแต่จะไปติดขัดอยู่กลางทาง เปรียบเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ

เปรียบเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ

เปรียบเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ

mp 3 (for download) : จิตที่มีสัมมาทิฏฐิมีแนวโน้มไปสู่นิพพาน เว้นแต่จะไปติดขัดอยู่กลางทาง เปรียบเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: พระพุทธเจ้าท่านเคยเทียบ บอกว่าจิตของเราเนี่ย ที่แสวงหาความหลุดพ้นเนี่ยนะ เหมือนท่อนไม้ลอยอยู่ในแม่น้ำคงคา ท่านไม่ยกว่าเป็นแม่น้ำเจ้าพระยานะ ท่านยกแม่น้ำคงคา บอกว่า ท่านชี้ให้พระดูท่อนไม้ลอยน้ำ ท่านบอกว่าไม้ท่อนนี้นะ ถ้ามันลอยไปเรื่อยๆ มันไม่ไปติดฝั่งซ้าย ไม่ไปติดฝั่งขวา ไม่ไปเกยตื้น ไม่ไปติดเกาะอะไรอย่างนี้นะ ไม่ไปถูกมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกอมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวน ไม่เน่าใน ไม่ผุพังเสียเอง ถึงวันหนึ่งมันจะไปสู่ทะเล

จิตซึ่งมีสัมมาทิฎฐิ สิ่งที่พวกเราเรียนจากหลวงพ่อคือตัวสัมมาทิฎฐินั่นเอง จิตซึ่งมีสัมมาทิฎฐิรู้ทิศทางว่าเราจะทำอะไรเพื่ออะไรจะทำอย่างไร ระหว่างทำไม่หลงไม่เผลอ จิตมันมีสัมมาทิฎฐิอยู่อย่างนี้ ระดับเบื้องต้นซึ่งเรียกว่า “สัมปชัญญะ” รู้ทิศทาง รู้แนวทาง จิตที่มีสัมมาทิฎฐินั้นนะ มีแนวโน้ม น้อมโน้ม โน้มเอียง ลาดลุ่ม ไปสู่นิพพาน เหมือนท่อนไม้นี้ไหลตามน้ำไปเรื่อยๆ ถ้าไม่ไปติดฝั่งซ้ายฝั่งขวา เกยตื้น ไม่ถูกมนุษย์ อมนุษย์ จับไว้ ไม่เน่าใน ไม่ถูกน้ำวนดูดไปนะ ไม้ท่อนนี้ต้องไปถึงทะเล

จิตซึ่งมีสัมมาทิฎฐิ จิตของเรานี้ไม่ต้องไปทำอะไรมัน อย่าไปเกยอยู่ที่ไหนก็แล้วกัน มันจะไหลไปสู่นิพพานเอง จะไหลไปสู่มรรคผลนิพพานเอง เพราะฉะนั้นไม่ใช่ต้องทำอะไร แต่อย่ามัวไปเกยตื้นอยู่ที่ไหนซะล่ะ

คำว่าติดฝั่งซ้าย ติดฝั่งขวา ก็คือไปหลงในสิ่งที่เป็นคู่ๆ เช่นอายตนะภายในภายนอกนี่คู่หนึ่ง ตัวอย่างนะ ไปติดในความสุข หรือไปติดในความทุกข์ ติดในความทุกข์ก็คือเกลียดทุกข์ รักสุขเกลียดทุกข์อะไรอย่างนี้ ใจก็ยังดิ้นอีก เนี่ยติดในสิ่งที่เป็นคู่ๆ ติดความดี ความเลว เจออะไรเลวๆแล้วทนไม่ได้ ทุรนทุราย อยากจะให้โลกนี้ดี สวยงามอย่างเดียว อะไรอย่างนี้ จิตก็วุ่นวายติดในสิ่งที่เป็นคู่ๆ

ไปเกยตื้น ก็คือไปติดในผลประโยชน์ทั้งหลาย ถ้าเป็นพระก็เรียกว่าไปติดลาภสักการะ ติดครอบครัวโน้น ตระกูลนี้ อะไรอย่างนี้ ไปถูกมนุษย์จับไว้ อย่างพวกเรา คุณสุเมธ ถูกมนุษย์จับไว้ ถูกมนุษย์เป็นร้อยๆเลยนะ คุณสุเมธก็ห่วง มาหรือยัง มาหรือยัง กลัวเขาไม่ดี นี่เรียกว่าถูกมนุษย์จับไว้ ถูกอมนุษย์จับไว้ เช่น อยากดัง อยากมีชื่อเสียง อยากเด่น นี่ถูกอมนุษย์จับไว้ หรือติดใน อยากขึ้นสวรรค์นะ ไปเป็นเทวดาเป็นพรหมอะไรอย่างนี้ นี่เรียกว่าถูกอมนุษย์จับไว้

ไปหลงลาภสักการะ นี่ก็ไปเกยตื้นไว้ ถูกอมนุษย์จับก็หลงชื่อเสียง เป็นอาจารย์กรรมฐานดัง หลงอย่างนี้เสร็จเลยนะ ไปนิพพานไม่ได้ ถูกน้ำวนก็คือหลงอยู่ในกาม วันๆคิดแต่จะหาความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือความเพลิดเพลินทางใจ นี่เรียกว่ากามทั้งหมดเลย ตา หู จมูก ลิ้น กาย เรียกว่ากามคุณ ทางใจเรียกว่ากามธรรม เช่นเราคิดเพลิดเพลินไปในกาม นี่คิดเอาเอง ก็เป็นกามเหมือนกัน บางคนก็ชอบคิดใช่มั้ย ฝันๆ แหมมีความสุข คิดไปในอดีต แก่หน่อยก็คิดไปในอดีตใช่มั้ย เด็กๆก็ฝันไปในอนาคต อะไรอย่างนี้ นี่ก็หลงๆไปนะ

พวกเน่าในคือพวกทุศีล พวกไม่มีศีล ๕ ศีล ๕ จำเป็น อย่าดูถูกเด็ดขาดนะ ศีล ๕ จำเป็นที่สุดเลย ขาดศีล ๕ อย่าพูดเรื่องมรรคผลนิพพานเลย ศีล ๕ จำเป็นมาก แต่ถ้าทำผิดศีลไปแล้วอย่ากังวล ตั้งใจระวังรักษาเอาใหม่ อย่าให้การทำบาปอกุศลที่ทำไปแล้ว มากดถ่วง ทำให้เราพัฒนาตัวเองต่อไปไม่ได้ เพราะเรา สมมุติว่าเราทำผิดศีลอะไรมาอย่างนี้ ยังไงก็ไม่มากเท่าที่พระองคุลีมาลเคยทำใช่มั้ย เราฆ่าคนไม่ได้พันคนหรอก ทำไมท่านไปได้ ใช่มั้ย เพราะฉะนั้นถ้าเราผิดศีลแล้วเรา ก็อย่าทำอีก นะ อย่าให้กังวลใจ

ถ้าหากจิตใจเราไม่ได้ติดในสิ่งเหล่านี้ ที่กล่าวมานี้นะ ๗ ประการ ไปนับเอาเองก็แล้วกัน เจ็ดประการนี้ถ้าเราไม่ติดนะ แล้วเรามีสัมมาทิฎฐิ เรารู้แล้วว่าการปฏิบัตินี่เราต้องรู้กายรู้ใจตัวเอง ด้วยจิตที่เป็นกลาง รู้ลงปัจจุบัน รู้แล้วไม่ไปแทรกแซง รู้จนเห็นความจริงของเขา ว่าเขาไม่เที่ยง เขาเป็นทุกข์ เขาเป็นอนัตตา รู้จนไม่ยึดถืออะไร นี่ถ้าเรารู้ มีสัมมาทิฎฐิอย่างนี้นะ แล้วเราไม่ไปติด ๗ ข้อนั้นนะ ยังไงก็นิพพาน

นี่ไม่ใช่หลวงพ่อพูดเองนะ พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ เราก็สำรวจตัวเองนะ เราไปติดอะไรบ้าง ติดฝั่งซ้าย ติดฝั่งขวามั้ย ไปเกยตื้นมั้ย ไปเกยตื้นยกตัวอย่าง บางคนภาวนา พวกที่ติดสมถะนั้นแหละ พวกเกยตื้น วันๆก็ไปสร้างภพที่ละเอียด ปราณีต ว่างๆ ทำให้ดูก็ได้… เนี่ย แล้วก็ไปอยู่ในความว่าง เหมือนอยู่คนละโลกกัน นะ เห็นมั้ย เสียงยังเปลี่ยนเลย…

อย่างนี้เกยตื้น กี่ปีกี่ชาติก็อยู่ตรงนี้แหละ นะ ใ้ช้ไม่ได้ ไปดูเอานะ แล้วสำรวจตัวเอง ที่พวกเราได้จากหลวงพ่อกับได้จากพรรคพวกรุ่นพี่ ต้องเรียกว่ารุ่นพี่นะ เขาเป็นซือเฮีย ซือเจ๊ ใช่มั้ย ถึงเราอายุ ๕๙ แล้ว เด็กๆพวกนี้ก็ยังเป็นซือเฮีย ซือเจ๊

เนี่ย อาศัยการได้ฟังธรรมนะ เรารู้ว่าเราจะทำอะไร ทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไรแล้ว แล้วก็รู้ไปเรื่อย ปฏิบัติไปเรื่อย นะ อย่าไปเกยตื้น อย่าไปติดอะไรอยู่ที่ไหนซะ สำรวจตัวเองเป็นระยะๆ การสำรวจตัวเองว่าไปติดไปข้องอะไรใน ๗ ประการนั้นไว้ ก็เรียกว่าโยนิโสมนสิการ สำรวจตัวเองไปเรื่อย เรื่อย เรื่อย ในที่สุดใจนี้ก็จะไหลไปถึงมหาสมุทร ใจนี้แหละจะบรรลุพระนิพพานโดยตัวของเขาเอง ไม่ใช่เราไปเสือกไสไม้นี้ไปสู่มหาสมุทรนะ มันไหลไปเอง

จิตนี้เหมือนกัน ถ้ามีสัมมาทิำฎฐิแล้วไหลไปสู่นิพพานเอง สิ่งที่เราทำขึ้นมาไม่ใช่ช่วยใ้ห้มันไปเร็วขึ้น สิ่งที่เราทำก็คือ ๗ อย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้นเลิกซะ แล้วก็รู้กายอย่างที่เขาเป็น รู้กายอย่างที่เขาเป็น ไปเรื่อยๆ


สวนสันติธรรม
CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๘
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๔๙ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เดินจงกรมอย่างไรจึงจะถูกต้อง?

mp 3 (for download) : เดินจงกรมอย่างไรจึงจะถูกต้อง?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: การปฏิบัตินี่ถ้าเราแยกส่วนการปฏิบัติออกจากการดำเนินชีวิตปกติของเรา อย่ามาพูดเรื่องมรรค ผล นิพพานเลย ชาตินี้ไม่ได้ ถ้ายังรู้สึกนะ เวลานี้เป็นเวลาปฏิบัติ เวลานี้ไม่ใช่เวลาปฏิบัติ ถ้ารู้สึกอย่างนี้อย่าพูดเรื่องมรรค ผล นิพพาน เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าเราสามารถหลอมรวมการปฏิบัติเข้าในชีวิตจริงของเราได้ ก็ไม่ต้องพูดเรื่องมรรค ผล นิพพานนะ อย่างไรก็ต้องได้ เพราะฉะนั้นต้องหลอมรวมการปฏิบัติเข้าในชีวิตจริงของเราให้ได้

เมื่อสักเดือนสองเดือนนะ มีคนไปเรียนกับหลวงพ่อที่ศรีราชา ศาลาหลวงพ่อใหญ่กว่านี้ตั้งเกือบเท่า วันนั้นคนเต็ม ยาว มีเด็กหนุ่มคนหนึ่งมาถามหลวงพ่อว่า ผมอยากเดินจงกรม จะเดินอย่างไร อยากเดินจงกรม หลวงพ่อบอกว่า กล้าออกมาเดินโชว์ไหม เดินตรงนี้ กล้าไหม เด็กคนนี้กล้า ค่อยๆ แหวกคนออกมานะ แหวกเดินออกมา หลวงพ่อบอกว่าหยุดก่อน ใช้ไม่ได้แล้ว ทำไม ขาดสติ ที่ขาดสติก็ตอนที่แหวกคนออกมา จะมาเข้าทางจงกรม คิดว่าเวลานี้ยังไม่ใช่เวลาปฏิบัติ คิดว่าตอนนี้ไม่ต้องปฏิบัติ เดี๋ยวเอาไว้เข้าทางจงกรมก่อนค่อยปฏิบัติ นี่เข้าใจผิดแล้ว แท้จริงแล้วทุกก้าวที่เดินถ้ามีความรู้สึกตัว เรียกว่าเดินจงกรมทั้งหมดเลย เดินอยู่ที่ไหนก็ตาม ถ้ารู้สึกตัวขึ้นมานะ ก็เรียกว่าเดินจงกรมทั้งหมด ถ้าเดินกลับไปกลับมาแล้วขาดสติ ก็เรียกเดินเรื่อยเปื่อย ถ้าเดินแล้วก็เพ่งเอาเพ่งเอา บังคับกาย บังคับใจ ก็เรียกเดินทรมาน ทรมานกายทรมานใจ ถ้าเดินแบบมีสติก็เรียกว่าเดินจงกรม

หลวงพ่อก็ให้เดินต่อ คราวนี้เขาก็ไม่เดินใจลอยแล้ว เขาเดินค่อยๆ รู้สึกตัวมานะ กำลังพอดีเลย พอเริ่มเข้าทางจงกรมปุ๊บ เริ่มวางฟอร์มแบบนักปฏิบัติ วางฟอร์ม ทำขรึม บอกนี่ผิดไปอีกข้างหนึ่งแล้ว สิ่งที่ผิดหลวงพ่อพูดบ่อยๆ สุดโต่งมีสองอัน อันหนึ่งเผลอไป ตอนเดินออกมาทีแรก เผลอไป เรื่อยเปื่อย พอเริ่มลงมือปฏิบัติ บังคับกาย บังคับใจ สุดโต่ง

พอเราบังคับกายบังคับใจนะ กายก็นิ่งผิดความเป็นจริง จิตก็นิ่งผิดความเป็นจริง เราต้องการดูให้เห็นความจริงต่างหาก ไปทำจนมันผิดความจริง แล้วจะเอาความจริงที่ไหนไปดู เพราะฉะนั้น เราต้องรู้ตามที่เขาเป็นจริงๆ นะ อย่าไปดัดแปลอารมณ์กรรมฐาน อารมณ์กรรมฐานไม่ได้เอาไว้ฝึกดัดแปลง แต่เอาไว้ดูเพื่อให้เห็นความจริง ว่ากายนี้ใจนี้ไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวเรา พอรู้ความจริงแล้วมันจะปล่อยวาง แต่ถ้าไปบังคับไปทำขรึม ทื่อๆ ไว้นะ ยิ่งแก่ยิ่งเก่งนะ ยิ่งแก่ยิ่งเพ่งเก่ง ใครด่าก็เฉย ใครชมก็เฉยนะ ฝึกจนกระทั่งมีรู้สึกเหมือนตนเองเป็นต้นไม้และก้อนหิน ไร้ความรู้สึก ฝึกอย่างนั้นน่าสงสาร เหนื่อย บางคนเพ่งมากๆๆ เพ่งไปกันจนพิกลพิการนะ ต้องหอบหิ้วกันมาให้เราแก้ให้ มันก็แก้ยากนะ

เพราะฉะนั้นอย่ารีบร้อน อย่าใจร้อนรีบปฏิบัติมากนัก ฟังให้รู้เรื่องหน่อย แล้วค่อยลงมือทำ เรียนก่อนว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร

ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๓
File:
490716.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๒๓ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การปฏิบัติ ไม่มีสายกาย สายจิต

mp 3 (for download) : การปฏิบัติ ไม่มีสายกาย สายจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: จริงๆแล้วธรรมะง่ายที่สุดเลย เราไปคิดมากเลยยากนาน เราคิดแต่ว่าจะต้องทำยังไง ต้องทำยังไง ทำยังไงแล้วจะดี เห็นมั้ย วัตถุประสงค์ที่ต้องการ คือ ต้องการดี สิ่งทีต้องการจะได้ ต้องการดี ทำยังไงมันจะดี ก็คิดแต่จะทำ เราลืมสภาวะของวิปัสสนาคือการรู้ไป

รู้เนี่ยไม่ใช่เอาดี รู้เอาความจริงนะ รู้เพื่อให้เห็นความจริง เพราะฉะนั้นอย่างสมถะทั้งหลายเนี่ย มุ่งเอาสุข เอาสงบ เอาดี ก็คิดแต่ว่าทำอย่างไรจะเอาสุข เอาสงบ เอาดี ส่วนวิปัสสนานะ รู้กาย รู้ใจ ตามที่เขาเป็น เพื่ออะไร เพื่อรู้ความจริง สิ่งที่ต้องการคือความจริงเท่านั้นเอง ธรรมะก็คือความจริงนั้นแหละ ตัวสัมมาทิฎฐินั้นแหละ

เนี่ยเราคอยรู้ลงไปนะ ไม่ใช่เรื่องยาก อย่าใจลอยก็แล้วกัน ถ้าใจลอยก็รู้กายรู้ใจไม่ได้ อย่าเอาแต่นั่งเพ่งไว้ กำหนดไว้ ประคองไว้ ถ้าเพ่งไว้ กำหนดไว้ ประคองไว้ ควบคุมไว้ กายกับใจก็จะนิ่งๆผิดความเป็นจริง เพราะฉะนั้นแค่รู้สึกตัว สติระลึกรู้กาย ก็รู้กาย สติระลึกรู้จิตก็รู้จิต มันไม่เลือกแล้วนะ ถ้าสติเกิดแล้วไม่มีสายไหนแล้ว มีแต่ว่าขณะนี้มีสติหรือว่าขณะนี้ขาดสติ ไม่มีสายกายสายจิตอะไรหรอก อันนั้นเป็นแค่จุดตั้งต้น เพื่อฝึกให้มีสติขึ้นมา

จุดตั้งต้นเพื่อฝึกให้มีสติขึ้นมาเป็นการตามรู้ทั้งหมดเลยนะ เพราะฉะนั้นในสติปัฏฐานท่านถึงใช้ว่า การตามเห็นกายเนืองๆ ตามเห็นนะ ไม่ใช่รู้ลงในปัจจุบันนะ การตามเห็นเวทนาเนืองๆ การตามเห็นจิตเนืองๆ ตามเห็นธรรมเนืองๆ


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๑๑
File: 491123A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๓๖ ถึง นาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๒๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ขณะแรกที่ออกจากสมาธิ เป็นนาทีทองของคนทำสมาธิ

mp 3 (for download) : ขณะแรกที่ออกจากสมาธิ เป็นนาทีทองของคนทำสมาธิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: บางคนชอบทำสมาธิก็ทำสมาธิไปไม่ห้าม แต่พอออกจากสมาธินี่ให้มีสติรู้ทันจิตตั้งแต่ขณะแรกที่ออกจากสมาธิ ตัวนี้สำคัญที่สุดนะ  ขณะแรกที่ออกจากสมาธิเป็นนาทีทองของคนทำสมาธิ ในขณะที่อยู่ในสมาธินั้นเป็นที่พักผ่อน ไม่เกิดสติปัญญาอะไร แต่ขณะที่จิตถอยออกจากสมาธิให้มีสติรู้ทันความเปลี่ยนแปลงของจิตเลย จิตตะกี้มีปิติ ออกมาแล้วไม่มี จิตตะกี้มีสุข ออกมาแล้วไม่มี จิตตะกี้สงบเฉยๆ พอออกมาแล้วฟุ้งซ่าน

เพราะฉะนั้น นาทีทองอยู่ตรงที่ถอยออกจากสมาธินะ สำหรับคนที่ทำสมาธิ แต่ถ้าออกจากสมาธิแล้วก็ยังทำหน้าอย่างนี้ทั้งวันนะ นี่ หลวงพ่อทำให้ดูนะ แล้วคิดว่าปฏิบัติอยู่ทั้งวัน นี่หลงผิดอยู่ทั้งวันนะ โมหะครอบอยู่ทั้งวันแล้วไปคิดว่าวิปัสสนาจริงๆ เราจะเจริญสติต้องทำซึมไว้ ทำยากนะ ลืมไปนานแล้ว (โยมหัวเราะ) นี่ เชิญด่าเลยนะ ไม่โกรธหรอก ด่าสามวันก็ไม่โกรธนะ มันไม่ใช่ไม่มีกิเลสนะ มันคือกรรมฐานที่เอาหินทับหญ้าไว้เฉยๆ กรรมฐานโง่นะ เพราะฉะนั้น ถ้าออกจากสมาธิแล้วอย่าให้ค้างอยู่ ออกแล้วออกเลย ดูความเปลี่ยนแปลงของจิตของใจไปเรื่อยๆ

สวนสันติธรรม
CD: ธรรมเทศนา ๔ วัน ในสวนสันติธรรม
File: 501017B.mp3
Time: 46.26 – 47.56

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปฎิบัติแล้วรู้สึกเฉย ๆ ต่ออารมณ์

mp3 (for download) : ปฎิบัติแล้วรู้สึกเฉย ๆ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม :นมัสการค่ะหลวงพ่อ ตอนนี้ก็คือฝึกหัดตามดูอารมณ์นะคะ ก็คือส่วนใหญ่จะรู้ว่าหลงไปคิดค่ะ แต่อารมณ์อื่นจะเฉยๆ จะไม่ค่อยรู้สึกค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เฉยเพราะเราไปประคองใจให้นิ่งหรือเปล่า?

โยม : ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันค่ะ

หลวงพ่อ : ถ้ามันเฉยเพราะว่าเรารักษาจิตเอาไว้นะ ใช้ไม่ได้  แต่ถ้าเฉยเพราะปัญญา ถึงจะใช้ได้ แต่เฉยเพราะปัญญาเนี่ย ต้องฝึกกันช่วงหนึ่ง เช่น มันเห็นว่าสุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว ดีชั่วก็ชั่วคราว อะไรอย่างนี้ เห็นอย่างนี้บ่อยๆนะ ใจจะเป็นกลาง

ของคุณตอนนี้มันมีการกดอยู่นิดนึงนะ ถ้านิ่งถ้าเฉยเพราะตรงนี้ ละเพ่งเอา ยังเพ่งอยู่ แต่ว่ามาเพ่งเพราะว่ากลัวหลวงพ่อตอนนี้แหล่ะ อยู่ข้างนอกก็เพ่งน้อยกว่านี้

ปล่อยให้เป็นธรรมชาติ แล้วตามดู การภาวนานะ ปลดปล่อยตัวเองออกมา  ปลดปล่อยตัวจริงของแต่ละคนออกมานะ ตัวจริงของแต่ละคนน่าเกลียดมาก ฉนั้นเราอย่าไปสร้างเปลือกที่สวยๆ แล้วหุ้มเอาไว้ หลอกตัวเองก่อน แล้วก็ไปหลอกคนอื่นทีหลัง

เราปลดปล่อยตัวแท้ๆ ของเรา ตัวชั่วร้ายในใจนะ อย่าไปกดมันไว้ อย่าไปเพ่งมันไว้นะ  ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบอารมณ์ไป แล้วเราไม่เพ่งอารมณ์ไว้เนี่ย แล้วตัวจริงๆ มันจะโผล่ขึ้นมาเรื่อยๆ แต่เราถือศีลไว้ก่อน จิตใจจะชั่วร้ายยังไงนะ ก็ไม่ละเมิดไปถึงคนอื่น ต้องระวังตรงนี้

ต่อไปนี้ กิเลสใดๆ ที่ซ่อนเร้นอยู่ เรารู้ทัน รู้ทันไปเรื่อย มันจะค่อยสลายตัวไป

ศาลาลุงชิน ๓๒

520816

44.06 – 45.35

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้ามีสติอย่างเดียว แต่ขาดสัมมาสมาธิ จะไม่เกิดปัญญา และไม่มีกำลังที่จะเกิดอริยมรรค

mp 3 (for download) : ถ้ามีสติอย่างเดียว แต่ขาดสัมมาสมาธิ จะไม่เกิดปัญญา และไม่มีกำลังที่จะเกิดอริยมรรค

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เครื่องมือในการเจริญสติ เครื่องมือหลักๆ ก็คือสติ สัมมาสมาธิ คือเครื่องมือหลักๆ ผลผลิตของมันก็เป็นปัญญา พอปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาทำหน้าที่ประหารกิเลส ทำลาย ตัดกิเลส ตัดสังโยชน์ ถ้าตัดสังโยชน์นี่เรียกว่าเป็นปัญญาในระดับอริยมรรค เพราะฉะนั้นต้องเรียนมากๆ เรื่องสติ กับสัมมาสมาธิ ต้องเรียนสองอันนี้เยอะๆ หน่อย ถ้ามีสติอย่างเดียวนะ ขาดสัมมาสมาธินี่ มันไม่มีกำลังที่จะตัดสินความรู้ สัมมาสมาธิเป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดปัญญา สัมมาสมาธิคือความตั้งมั่น ความตั้งมั่นของจิต เราจะรู้สึกว่าพอจิตมันถึงฐานของมันจริงๆ นะ มันรู้สึกเลย จิตใจตั้งมั่น จะสามารถสักว่ารู้สักว่าดูอะไรได้หมด นี้ส่วนใหญ่พวกเราจิตใจไม่ตั้งมั่น สมาธิที่พวกเรารู้จักนี่มันเป็นมิจฉาสมาธิ จิตมันชอบเข้าไปตั้งแช่ในอารมณ์ ยกตัวอย่างเวลาเรารู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ใจเราชอบไหลเข้าไปอยู่ที่ลม พอรู้ลมนี่ใจก็ไหลไปอยู่ที่ลม เราไปดูท้องพองยุบ ใจไหลไปอยู่ที่ท้อง เราเดินจงกรมยกเท้าย่างเท้า ใจไหลไปอยู่ที่เท้า

บางสำนัก สายหลวงพ่อเทียนท่านขยับมือ ขยับมือ ลูกศิษย์จำนวนมากเลย ใจไหลเข้าไปอยู่ในมือ ใจไหลเข้าไปอยู่ในมือ กับไหลเข้าไปอยู่ที่ท้อง ไหลไปอยู่ที่เท้า ไหลไปอยู่ในลมหายใจ มันก็ไหลเหมือนกัน ใจไม่ตั้งมั่น พอใจไม่ตั้งมั่นนะ ปัญญาจะเกิดไม่ได้จริงหรอก ได้แต่เพ่ง ใจจะเข้าไปแนบ อยู่ในอารมณ์อันเดียว อย่างต่อเนื่อง สงบ ดีแล้วเกิดปีติ ขนลุกขนพอง ตัวลอย ตัวเบา ตัวโพรง ตัวใหญ่ ตัวหนัก มีสารพัด อาการที่แปลกๆ กว่าปกติทั้งหลาย เป็นอาการของปีติ ขนลุกขนพอง วูบๆ วาบๆ นะ เหมือนฟ้าแลบแปล๊บๆ ปล๊าบๆ อะไรอย่างนี้ มันเป็นอาการที่ใจมันทำสมถะ เข้าไปแช่ในอารมณ์นานๆ แล้วจิตใต้สำนึกก็ทำงานปรุงอะไรต่ออะไรขึ้นมา แล้วแต่มันจะชอบ บางคนปรุงเห็นผีเห็นสางอะไรก็ได้นะ บอกว่าผีหลอก จริงๆ หลอกตัวเอง

ค่อยๆ สังเกตไปใจที่ตั้งมั่นกับใจที่ไหลไป วิธีหัดง่ายๆ เลย หัดสังเกตจิตใจของเรา อย่างนั่งฟังหลวงพ่อพูดนะ เดี๋ยวใจก็ไหลไปคิด เดี๋ยวก็ตั้งใจฟัง ฟังแล้วก็ไหลไปคิด ดูออกมั้ย คุณนี่ ฟังไปแล้วก็คิดไป สลับ ดูออกมั้ย แต่เราไม่เคยเห็นจิตที่ไหลไป เพราะฉะนั้นจิตเราไม่ได้ตั้งมั่นจริง คุณลองดูท้องพองยุบซิ ลองเคยทำดูพองยุบมั้ย เคยใช่มั้ย ลองทำเหมือนที่เคยปฏิบัติ ลองเลย ทำจริงๆ ลืมหลวงพ่อซะ นี่รู้สึกมั้ย ใจเรารวมไปอยู่ที่ท้อง ใจเราเคลื่อนไปอยู่ที่ท้อง นึกออกมั้ย นี่แหละคือการทำสมถะล่ะ นะ แล้วพวกเราชอบคิดว่าวิปัสสนา ไม่ใช่วิปัสสนา จิตไม่ตั้งมั่น จิตไหลไปแล้ว ไหลไป งั้นวิธีการที่ง่ายๆ นะ ที่คุณจะดูก็คือ จิตเราไหลไปเรารู้ทันว่าไหล อย่าดึงนะ อย่าออกแรงดึงนะ ถ้าเราเห็นไหลไปแล้วเราดึงนี่ จะแน่นขึ้นมา นี่ส่งใจไปดูอีกแล้วรู้สึกมั้ย ใจเราเคลื่อนไปดู ให้รู้ว่าเราหลงไปดูแล้ว มันคล้ายๆ เราดูโทรทัศน์น่ะ หรือเราจ้องจอคอมพิวเตอร์ ในนี้เหมือนมีจอคอมพิวเตอร์อันนึง เราจ้องไปที่จอ รู้สึกมั้ยเราถลำไปที่จอ ใช้ไม่ได้นะ ที่นักปฏิบัติเกือบร้อยละร้อยพลาด ก็พลาดตรงนี้เอง จิตไม่ตั้งมั่น กับจิตตั้งแช่ เข้าไปแช่นิ่งๆ อยู่ที่ท้อง เข้าไปแช่อยู่ที่ลม เข้าไปแช่อยู่ที่เท้า ตราบใดจิตตั้งแช่ มันก็ได้แต่สมถะ สงบไปเฉยๆ แหละ  แต่ถ้าจิตตั้งมั่นนะ มันจะเห็นเลย จิตอยู่ต่างหากนะ ความคิดก็ส่วนความคิด จิตส่วนจิต รูปส่วนรูป นามส่วนนาม ไม่ก้าวก่ายกันหรอก จิตหลุดออกจากโลกของความคิดเลย แล้วก็ไม่ได้เพ่งกายไม่ได้เพ่งใจนะ แต่รู้กายรู้ใจ

รู้กายรู้ใจกับเพ่งกายเพ่งใจไม่เหมือนกัน เวลาเราเพ่งกายเพ่งใจนะ เบื้องต้นเราเกิดอยากก่อน อยากปฏิบัติ พออยากปฏิบัติเราก็จงใจกำหนดรูปกำหนดนาม เราคิดว่าถ้าเอาสติไปกำหนด สติมีหน้าที่กำหนด ถ้าเรียนอภิธรรมอย่าง อาจารย์อนัตตาจะทราบ สติไม่ได้แปลว่ากำหนด สติแปลว่าความไม่ประมาท ความไม่หลงลืม ความไม่เลื่อนลอยๆ แต่จิตใจของเราชอบเลื่อยลอย รู้สึกมั้ยลอยไปลอยมา ตอนเนี้ยลอยไปคิดแล้ว นึกออกมั้ย จิตเราลอยไปคิด เวลาที่เราไม่ได้นึกเรื่องปฏิบัติจิตเราก็ลอยไปคิด เค้าเรียกว่าขาดสติ เวลาเรานึกถึงการปฏิบัติเราก็ไปเพ่งใส่ลงไป จิตเราเคลื่อนไป จ่อนิ่งๆ ไว้ อันนั้นไม่ใช่การรู้รูปนาม แต่เป็นการเพ่ง เพ่งรูปเพ่งนาม เพ่งรูปเพ่งนามเป็นสมถะนะ หลายคนเข้าใจว่า ถ้ารู้รูปนามแล้วก็ ถ้ามีอารมณ์รูปนามแล้วต้องเป็นวิปัสสนา ไม่จำเป็นนะ ทำวิปัสสนานี่ต้องใช้อารมณ์รูปนาม ต้องรู้ อารมณ์รูปนาม อันนี้แน่นอน จะไปรู้อารมณ์บัญญัติหรือไปรู้อารมณ์นิพพานไม่ได้ ไม่ใช่วิปัสสนา แต่สมถะนี่ใช้อารมณ์บัญญัติก็ได้ อารมณ์รูปนามก็ได้ กระทั่งอารมณ์นิพพานก็ใช้ทำสมถะได้ พระอริยะเจ้าทำสมถะโดยใช้อารมณ์รูปนามก็ได้ ใช้บัญญัติก็ได้ ใช้อารมณ์นิพพานก็ได้ คนทั่วๆ ไปทำสมถะได้โดยใช้อารมณ์บัญญัติคือเรื่องราวที่คิด กับรูปนาม เพ่งรูปเพ่งนาม เป็นสมถะ งั้นอย่างที่เราเดินจงกรมแล้วใจเราไปแนบเข้าไปที่เท้านี่นะ ทำสมถะอยู่ แต่ถ้าใจของเราตั้งมั่น มันจะเห็นเลย ตัวที่เดินนี้ไม่ใช่ตัวเรา เห็นทันทีนะ นี่เราเริ่มเห็นไตรลักษณ์ ร่างกายที่เคลื่อนไหวอยู่นี่ สักแต่ว่าเคลื่อนไหว สักแต่ว่าเป็นธาตุ มันรู้ด้วยใจ รู้สึกเอา ไม่ใช่คิดนะ ถ้าคิดใช้ไม่ได้ มันรู้สึกเอาถึงความเป็นธาตุของร่างกาย รู้สึกเอาถึงความไหวของร่างกาย จะไม่รู้สึกว่าเราไหว หรือว่าธาตุนี้เป็นตัวเรา เพราะว่าเราหลุดออกจากโลกของความคิดได้แล้ว ฉะนั้นไม่ต้องบริกรรมนะ ไม่ต้องบริกรรม เมื่อไรบริกรรมเมื่อนั้นตกจากวิปัสสนาทันทีเลย อย่างเรามีสตินะ สมมติเราใจลอยไป เรามีสติระลึกได้ว่าใจลอย นี่ระลึกได้แล้ว ใช้ได้ นี่มีสติ ถ้ามีปัญญาก็จะต่อตามมาอีก เห็นเลย จิตจะใจลอยห้ามมันไม่ได้ จิตจะรู้สึกตัวสั่งไม่ได้ นี่แสดงความไม่เที่ยง แสดงอนัตตาได้ แต่ถ้าใจลอยไป รู้ว่าใจลอยปุ๊ป ดึงไว้ปั๊ป นี่เป็นสมถะนะ ใจลอยแล้วใจของเราก็ลอยตามมันไปด้วยเลย หลงไป เนี้ยหลงไป

ค่อยๆ ดูสภาวะนะ มาเรียนที่หลวงพ่อไม่ใช่เรียนปริยัตินะ หลายคนไปคุยกันบอกหลวงพ่อปราโมทย์สอนอภิธรรม หลวงพ่อปราโมทย์ไม่ได้เรียนอภิธรรมนะ แต่หลวงพ่อพูดเรื่องสภาวะล้วนๆ เลย อภิธรรมมันเป็นเรื่องของสภาวะล้วนๆ ต่างหากล่ะ งั้นไม่ใช่หลวงพ่อสอนอภิธรรมนะ หลวงพ่อสอนแต่เรื่องสภาวะ แต่บังเอิญๆ อภิธรรมมันคือสภาวะนั่นเอง เนี้ยสภาวะที่เราเห็นด้วยการปฏิบัตินะ กับสภาวะในตำรา อันเดียวกันน่ะ แต่สภาวะในตำราจะหยาบๆ นะ หยาบๆ อย่างโทสะนี่แยกได้ไม่กี่อย่าง พวกเราแยกได้เยอะเลย ขัดใจนิดหน่อยใช่มั้ย โมโหจนเห็นช้างเท่าหมู มีดีกรีด้วย ดีใจเสียใจ นี่แต่ละอันมันกระจายออกไป โอ้ยมีเยอะแยะ เยอะแยะเลย

หัดรู้สภาวะเรื่อยๆ แล้วสติจะเกิด หัดรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น แล้วจิตจะตั้งมั่น ฉะนั้นหัดสองอันเนี้ย หัดรู้สภาวะไป เช่นใจเราลอยไปเรารู้ ใจเราไปคิดเรารู้ ใจเราไปเพ่งเรารู้ นะ ใจหนีไปคิดอีกแล้วทราบมั้ย นี่หลวงพ่อบอกแล้วนึกออกมั้ย คอยดูไปเรื่อยๆ นะพอใจเราไหลไป อย่าไปตั้งใจดูนะ ห้ามไปจ้องไว้ก่อน ต้องตามดู ต้องตามดูนะ ตรงนี้ก็เป็นหลักการสำคัญ

สวนสันติธรรม
CD: 16
File: 491123B.mp3
Time: 0.14 – 9.15

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 212