Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

ธัมมุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านในธรรม เหตุแห่งวิปัสนูปกิเลส

mp 3 (for download) : ธัมมุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านในธรรม เหตุแห่งวิปัสนูปกิเลส

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


ขอขอบคุณ บ้านจิตสบาย ที่เอื้อเฟื้อภาพ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

หลวงพ่อปราโมทย์ : ในการปฏิบัติมีตั้งหลายแบบ พระอานนท์สอนเอาไว้มี ๔ แบบ สมาธินำปัญญา ปัญญานำสมาธิ สมาธิและปัญญาควบกัน จริงๆแล้วมี ๓ แบบ แบบที่ ๔ เนี่ย เป็นพวกที่ภาวนาแล้วไปติดความว่าง แบบที่ ๔ ท่านเลยสอนบอกว่า พวกที่มีธัมมุทธัจจะ หมายถึงมีอุทธัจจะในธรรมะ พวกฟุ้งซ่านในธรรมะ

ฟุ้งซ่านในธรรมะนั้นมี ๑๐ แบบ คือ วิปัสนูฯนั่นเอง (วิปัสสนูปกิเลส – ผู้ถอด) วิปัสนูฯพวกหนึ่งที่พวกเราเริ่มเป็นเยอะขึ้นนะ คือไปติดในว่างๆ ติดในความสว่าง ความว่าง ตัวนี้ท่านเรียก โอภาส ติดโอภาส สว่าง ว่าง สบาย มีแต่ความสุขนะ

ท่านบอกว่าเบื้องหลังของมันก็คือ ความฟุ้งของจิต ฟุ้งซ่านแบบไหน เวลาภาวนาไปแล้วว่าง เหมือนจิตสงบนะ ฟุ้งตรงที่จิตไม่อยู่ที่ฐาน จิตส่งออกไปนั่นเอง เรียกว่าจิตฟุ้งซ่าน ที่หลวงปู่ดูลย์เรียกว่าจิตออกนอก เพราะฉะนั้นพวกเราภาวนาแล้วว่างอยู่อย่างนี้ ใจไปเกาะแล้วว่าง พวกนี้เสร็จเลย

หรือบางคนนะ ไปสอนดูจิต สอนให้ดูแล้วน้อมเข้าหาความว่างเนี่ย เยอะมากนะ ช่วงหลังๆเนี่ย พวกเราเรียนๆไปแล้วเที่ยวไปเรียนที่โน่นที่นี่ เลอะเทอะนะ ไปติดสมถะ ไปติดอยู่ในภพว่างๆ ตัวนี้จริงๆแล้วเป็นวิปัสนูฯอันหนึ่ง เป็น ๑ ใน ๑๐ ของวิปัสนูฯ คือเห็นสภาวะเกิดดับแล้ว แต่เห็นแล้วจิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่ถึงฐานนี้ หลวงพ่อเรียกว่าจิตไม่ถึงฐาน ในพระไตรปิฎกเรียกว่า อุทธัจจะ หลวงปู่ดูลย์ท่านว่าจิตออกนอก จิตมันเคลื่อนไป เคลื่อนไปจับความโล่ง ความว่าง ความโปร่ง ความสบาย แล้วก็ไปสบายอยู่อย่างนั้น หลายวันก็ไม่มีกิเลสเกิดขึ้น ตอนนี้ชักเยอะนะ พวกที่สอนดูจิตน่ะ สอนมาสู่ตรงนี้เยอะมากเลย เพราะตัวเองผ่านไม่เป็น หัดดูเห็นสภาวะเกิดดับได้นิดๆหน่อยๆ แล้วเกิดวิปัสนูฯนะ แล้วมันอยากสอน

นี่ยังค่อยยังชั่ว บางคนเขาก็แก้ผ่านมาได้ บางคนเป็นหนักนะ ถึงขนาดคิดว่าเป็นพระอรหันต์ วันก่อนมาท่านหนึ่ง ก็ใช้ได้แล้ว มาสารภาพกับหลวงพ่อเลยว่า ไม่ใช่แล้ว หลวงพ่อก็บอกว่า หลวงพ่อก็ห่วงอยู่นะ หลวงพ่อก็บอกไปหลายทีแล้วว่าไม่ใช่แล้ว ไปติดอยู่ในว่าง เกาะอยู่อย่างนั้นน่ะ ไม่มีกิเลสเลย

ไม่มีกิเลสเพราะอะไร เพราะว่ามองไม่เห็นกิเลส ทำไมมองไม่เห็นกิเลส จิตขณะนั้นมีอุทธัจจะ จิตมันฟุ้งไปในธรรมะ ฟุ้งไปในหลายอย่างนะ ฟุ้งไปในปีติก็ได้ ปีติมาก วุ้ย..เจอแล้วดื่มด่ำ จิตมันไหลไปเคลิ้มในปีติ นั่นก็เป็นวิปัสนูฯ ๑ ใน ๑๐ นะ

น้อมไปอยู่ในความสว่าง คือโอภาส โล่ง สบาย ก็เป็นแบบหนึ่ง น้อมไปเดินปัญญานะ ฟุ้งไปในปัญญา นี่ก็เป็นอีกแบบหนึ่ง มีหลายแบบนะ พวกหนึ่งน้อมไปในทางทำความเพียร เดินจงกรมหามรุ่งหามค่ำ กิเลสไม่เกิดเลย หรือนั่งสมาธิหามรุ่งหามค่ำ นี่ก็เป็นวิป้สนูฯอย่างหนึ่ง

วิปัสนูฯมี ๑๐ อย่าง ไปหาอ่านเอา หลักมีอันเดียวคือจิตไม่ตั้งมั่น เรียกว่า ธัมมุทธัจจะ ธรรมะ-อุทธัจจะ สนธิกันเรียกว่า ธัมมุทธัจจะ ฟุ้งไปในธรรมะ ๑๐ ประการ จิตไม่ตั้งมั่น

พระอานนท์ท่านบอกว่า ถ้ารู้ทันว่าจิตไม่ตั้งมั่น ตรงนี้บอกเป๊ะเลย แต่เดิมหลวงพ่อพูดปาวๆนะ เราพูดจากประสบการณ์ พอไปเจอตำรา เหมือนกันเปี๊ยบ ท่านบอกว่า ถ้ารู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น จิตจะตั้งมั่น แล้วอริยมรรคจะเกิด จะเดินไปสู่อริยมรรคต่อได้ แต่ถ้าลงไปนอนแช่ ฟุ้งไปอยู่ข้างนอกแล้ว จิตไม่ถึงฐาน อริยมรรคไม่เกิดหรอก เนี่ยปริยัติปฏิบัตินะ ตรงกันเด๊ะๆ เป๊ะเลย


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๒ ก่อนฉันเช้า

สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๐
Track: ๑๗
File: 520611
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๒๔ ถึง นาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๒๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

V-Clip : จิตไม่ถึงฐานติดสมถะ และกรรมฐานจากการกวาดบ้าน

จิตไม่ถึงฐานติดสมถะ และกรรมฐานจากการกวาดบ้าน

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

V-Clip : จิตไม่ถึงฐานข้อพึงระวังของนักภาวนา

จิตไม่ถึงฐานข้อพึงระวังของนักภาวนา

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อนัตตา ไม่ใช่ ไม่มีอะไรเลย

mp 3 (for download) : อนัตตา ไม่ใช่ ไม่มีอะไรเลย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อนัตตา ไม่ใช่ ไม่มีอะไรเลย

อนัตตา ไม่ใช่ ไม่มีอะไรเลย

หลวงพ่อปราโมทย์ : สุญญตาไม่ใช่เรื่องกระจอก สุญญตาไม่ใช่มิจฉาทิฎฐินะ มันมีคล้ายๆตัวหนึ่งนะ ชื่อ อุจเฉทิกทิฎฐิ เป็นมิจฉาทิฎฐิ เชือว่าทุกอย่างมันสูญไปนะ เป็นมิจฉาทิฎฐิ หรือสุญญตาว่างเปล่าเลย ไม่มีเหตุ ไม่มีผล ไม่มีการกระทำ อันนั้นก็ใช้ไม่ได้ อะไรๆก็ไม่มีเหตุนะ อันนั้นเรียกเป็นมิจฉาทิฏฐิ ชื่อ อเหตุกทิฎฐิ ไม่มีการกระทำเรียก อกริยทิฎฐิ ไม่มีอะไรเลยเรียก นัตถิกทิฎฐิ เนี่ยคำว่า “ว่าง” คำเดียวนะ พาไปสู่มิจฉาทิฎฐิได้ตั้งเยอะ ตั้งแยะแหน่ะ เพราะฉะนั้นก่อนคนไปฟังธรรมะถึงระดับว่าง (ต้อง)ผ่านธรรมะระดับต้นๆมาก่อนเยอะแยะเลย

ยกตัวอย่าง อย่างการที่เราเห็นอนัตตา เราเห็นขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา ถ้าเราขาดโยนิโสมนสิการเสียอย่างเดียว เราจะกลายเป็นมิจฉาทิฎฐิ ชื่อ นัตถิกทิฎฐิ ไม่มีอะไรเลย อนัตตาไม่ได้แปลว่าไม่มีอะไรเลย อนัตตาแปลได้ ๕ อย่าง ไปหาอ่านเอานะ เยอะแยะไป ไม่มีเจ้าของ ไม่อยู่ในอำนาจ ก็ได้นะ เป็นไปตามเหตุไม่ใช่ตามสั่ง นะ แปลได้หลายอย่าง ว่างจากความเป็นตัวเป็นตน จะเฉลยไปหมดแล้ว เหลือให้อ่านเองบ้าง เดี๋ยวนิสัยเสีย ขี้เกียจ นะ

เพราะฉะนั้นเวลาพูดถึงอนัตตามีหลายมุม ว่างเปล่า สุญญตา เนี่ยเป็นมุมหนึ่ง ว่างแต่ไม่ใช่ว่างแบบ ไม่มีอะไรเลย สิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้น ถ้ามีเหตุ มันก็มี ถ้าหมดเหตุมันก็ดับ เพราะฉะนั้นสิ่งทั้งปวงว่างจากอะไร ว่างจากตัวตนถาวร ไม่มีตัวตนถาวร แต่มีมั้ย ความเป็นตัวเป็นตนที่เกิดขึ้นเป็นคราวๆ มีแต่ไม่ถาวร ถ้ามีเหตุก็มี ถ้าไม่มีเหตุก็ไม่มี สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุ เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่างเปล่าแบบไม่มีอะไรเลย ว่างๆ แบล็งค์ๆ ไม่ใช่ คำว่าว่างนั้น ว่างจากความมีตัวตนถาวร ว่างจากการบังคับได้ แล้วก็ว่างลึกซึ้งลงไปนะ ว่างจากขันธ์ ว่างจากกิเลสตัณหา

เพราะฉะนั้นบางทีฟังธรรมะนะ ฟังไม่ดีแล้วก็พลาด พลาดจากคุณอันใหญ่ ภาษาไทยเรียกว่า “ฉิบหายแล้ว” ภาษาแขกไพเราะ พลาดจากคุณอันใหญ่ นะ ฟังธรรมะต้องปราณีตนะ ต้องปราณีต ถ้ารู้ด้วย ว่าท่านสอนอันนี้กับใคร จะทำให้เราเข้าใจง่ายขึ้นนะ ว่าทำไมถึงสอนอย่างนี้ สอนแก่ใคร เข้าใจธรรมะง่ายขึ้น เรียนธรรมะโดดบางทีสับสนนะ

อนัตตา (วิกิพีเดีย)

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

CD: แสดงธรรมเทศนา สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๑
File: 540819A
ระหว่างนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๒๖ ถึงนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

V-Clip : ภาวนาแล้วจิตไปติดความนิ่งไม่เจริญปัญญา

ภาวนาแล้วจิตไปติดความนิ่งไม่เจริญปัญญา


เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ว่างหรือไม่ว่างต่างก็เท่าเทียมกัน

mp3 (for download) : ว่างหรือไม่ว่างต่างก็เท่าเทียมกัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม : แล้วเมื่อวานนี้หนูเดินจงกลมอยุู่ในศาลาค่ะหลวงพ่อ ก็ เห็นใจที่มันคือ เดินๆอยู่แล้วก็เห็นใจที่มันค่อยๆไหลลงไปเต็มฐานน่ะค่ะ แล้วมันก็ดีดตัวออกมา มันก็รู้ คือ แต่ไอ้ตัวรู้เนี่ยเมื่อก่อนมันจะ ที่หลวงพ่อบอกมันว่างแล้วมัน เอ่อ ที่หนูบอกหลวงพ่อว่า มันว่างแล้วมันก็สลับกับรู้ เอ่ะ ไม่ใช่ ว่างแล้วก็สลับกับหลง อย่างนี้ค่ะหลวงพ่อ แต่คราวนี้พอมันดีดมารู้ปุ๊บ มันจะเห็นว่างตัวนี้ มันจะเป็นว่างที่แบบ นานเกือบสิบนาที คือหนูเดินดูตัวเองที่แบบ เหมือนเป็นศพน่ะค่ะ เพราะว่า มันไม่มีตัวเราอยู่ในนั้นเลย แล้วก็แขนขา มันไม่ได้รู้สึกว่าเราเป็นแขนขา มันเป็นก้านๆแล้วมันก็เดินไปเดินมา

หลวงพ่อปราโมทย์ : หนูรู้สึกมั้ย ไอ้ตัวดูนี่ นิ่งๆ ทุกอย่างไม่เที่ยง ยกเว้นตัวดู

โยม : อ๋อ มันก็คือ ตัวเดียวกันกับที่หลวงพ่อบอกเมื่อตะกี้นี้

หลวงพ่อปราโมทย์ : มันก็ไปติดนะแหล่ะ มันก็ไปภพอีกภพนึง เห็นมั้ย ทุกอย่างแสดงไตรลักษณ์นะ ยกเว้นจิต ตัวรู้นี้เที่ยง แล้วเที่ยงกันเป็นกัลป์ๆเลยนะ ตรงนี้ถ้าหลุดไปพรหมโลก การดูจิตเนี่ย ถ้าพลาดนะจะไปอรูปภูมิ ไปอรูปพรหม เป็นอรูปพรหม ดูกายนะ ดูพลาดไปเป็นรูปพรหม

โยม : งั้น หนูก็แค่รู้มันไป

หลวงพ่อปราโมทย์ : อืม แค่รู้มันนะ มันก็คือสภาวะอันนึงที่จิตไปรู้เข้า เท่าเทียมกับทุกๆสภาวะนั่นแหล่ะ ไม่ใช่ว่าว่างดีกว่าไม่ว่าง ถ้าว่างดีกว่าไม่ว่างยังเป็นภาวะแห่งความเป็นคู่อยู่ ยังมีความต่างอยู่ เพราะฉะนั้น จิตจะดิ้นรนเอาความว่าง จะดิ้นรนหนีจากความวุ่นวาย ถ้าจิตยังปรุงแต่งจิตยังดิ้นรนอยู่ สร้างภพสร้างชาติไม่เลิกหรอก แต่ถ้าเห็นสภาวะทั้งหลายนั้นเท่าเทียมกันหมดเลยนะ จิตไม่ปรุงต่อ  เห็นแล้วจบลงจริงๆเลยไม่ปรุงต่อด้วยปัญญาอันยิ่งนะ ไม่ใช่ประคองไว้ ไม่ใช่ตัวนี้นิ่ง ตัวอย่างอื่นปรุง ไม่ใช่ ในท่ามกลางความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงนะ เห็นจิตเกิดดับไปด้วยนะ แต่ว่าไม่ยินดียินร้ายกับมันนะ นั่นแหล่ะ ถึงจะไม่ยึดถือจริงๆ ถ้ายังประคองตัวรู้อยู่ ไม่ใช่หรอก (โยม : ขอบพระคุณเจ้าค่ะ) ปล่อยให้ออกนะ หนูมุ่งไปทางอรูปมากไป

โยม : คือหนูรู้ลงไปแล้วก็ยังไงก็ได้ใช่มั้ยคะหลวงพ่อยอมรับมัน

หลวงพ่อปราโมทย์ : หนูรู้ลงไปอะไรก็ได้ สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ว่างไม่ว่าง เสมอกันหมดเลย อยู่ที่จิตเรา จิตจะเกิดปฏิกิริยาอะไร ให้รู้ทัน เห็นว่างแล้วจิตพอใจ รู้ทัน เห็นว่างแล้วจิตนิ่งๆ เฉยๆ รู้ว่านิ่งๆเฉยๆ เห็นมันก็ยังตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ทั้งความว่างทั้งจิตนั่นแหล่ะดีที่สุด

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: ๔๐
File: 540709B
ระหว่างนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๒๕ ถึงนาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๐๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ความว่างที่คู่กับความวุ่นยังเป็นที่พึ่งไม่ได้

mp3 (for download): ความว่างที่คู่กับความวุ่นยังเป็นที่พึ่งไม่ได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ความว่างที่คู่กับความวุ่นยังเป็นที่พึ่งไม่ได้

ความว่างที่คู่กับความวุ่นยังเป็นที่พึ่งไม่ได้

โยม : กราบนมัสการค่ะหลวงพ่อ จิตของหนูมันกลัวหลวงพ่อมาก เมื่อตะกี้นี้หลวงพ่อเทศน์ มันสั่นกลัวไปหมดเลย

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่ได้กลัวหลวงพ่อหรอก กลัวต้องส่งการบ้าน

โยม : หนูไปภาวนาที่เชียงดาวมา 6 อาทิตย์ เพิ่งกลับมาค่ะหลวงพ่อ ตอนนี้หนูเห็นแล้วว่า ถ้าเกิดเมื่อไหร่เรามีความคิด เมื่อนั้นเรามีตัวตน เมื่อไหร่ที่เราอยู่กับ.. มันจะเป็นว่างหลังจากที่เราคิดแล้ว ตรงนั้นไม่มีตัวตน ไม่มีสุขทุกข์ มันไม่มีเราอยู่ในนั้น

หลวงพ่อปราโมทย์ : อย่าไปเอา ว่างตัวนี้ไม่เอานะ ว่างตัวนี้ยังใช้ไม่ได้ มันเป็นว่างที่คู่กับวุ่น ว่างได้ก็ยังวุ่นได้อีก เป็นภพๆหนึ่งที่จิตของเราไปสร้างขึ้นมานะ เพราะฉะนั้นถ้าเราไปติดอยู่ในภพนี้นะ ถ้าสติปัญญาไม่พอเราจะรู้สึกมีความสุขนะ แต่จริงๆแล้วไม่ดีหรอก

เราต้องอยู่กับทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างเท่าเทียมกันนะ จิตปรุงแต่งเราก็อยู่ได้เท่าเทียมกันกับจิตว่างๆ ว่างก็ปรุงแต่งอีกแบบหนึ่ง ความปรุงแต่งมี 3 แบบนะ ปรุงแต่งฝ่ายชั่วเรียกว่าอปุญญาภิสังขาร ปรุงแต่ฝ่ายดีเรียกว่าปุญญาภิสังขาร ปรุงแต่งว่างๆเนี่ยเรียกอเนญชาภิสังขาร รากเหง้าอันเดียวกันเลยคืออวิชา อย่าเอาตัวนี้เป็นที่พึ่งที่อาศัยนะ ไม่งั้นจะหนีโลก

โยม : แล้วเวลาที่จิตของเราเข้าไปอยู่ตรงนั้นสักพักหนึ่ง แล้วมันก็ถอยออกมา คือเหมือนกับว่า มันจะมีความคิดแทรกเข้ามาอย่างนี้

หลวงพ่อปราโมทย์ : นั่นแหละ จิตมีหน้าที่คิดนะ กระทั่งจิตพระอรหันต์ก็คิด ทำไมไม่มีตัวตนล่ะ ทำไมไม่มีความทุกข์ล่ะ เพราะฉะนั้นตัวที่ชี้ขาดว่าจะทุกข์หรือไม่ทุกข์นี้ ไม่ใช่คิดหรือไม่คิดหรอก แต่เข้าใจหรือไม่เข้าใจต่างหาก

โยม : คือเรารู้มันลงไปว่าตรงนั้นมันเป็นแค่ภพๆหนึ่งหรือคะหลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ใช่ๆ หนูรู้ ดูไปนะ ว่างๆนั้นเป็นภพๆหนึ่งเท่านั้น เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้นะ ภพตัวนี้ชื่อ อากาสานัญจายตนะ ภพตัวนี้ แล้วสังเกตดูภพตัวนี้มีจิตเป็นคนดู ถ้ามาสังเกตที่สิ่งที่ถูกรู้เนี่ย จะเป็นความว่าง ถ้ามาสังเกตที่จิต มีจิตเป็นคนดู ถ้าจงใจอยู่ในว่าง ติดอยู่ในว่าง ก็ติดอยู่ในอากาสานัญจายตนะ ถ้าจงใจมาจับเอาตัวจิตตัวผู้รู้นี้ เป็น วิญญาณัญจายตนะ ถ้ายังเห็นว่า ว่างเอาไว้ก็ทุกข์ จิตเอาไว้ก็ทุกข์ ทิ้งสองตัวนี้ จงใจนะทิ้งสองตัวนี้ ชื่ออากิญจัญญายตนะ

โยม : มันยากหมดเลยหลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะฉะนั้นอย่าไปหลงอยู่ตรงนั้น ใครมาเรียนกับหลวงพ่อแล้วว่างๆก็เสร็จหลวงพ่อหมดน่ะ เราไม่เอา ครูบาอาจารย์สั่งนะ ระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย หลวงปู่ดูลย์ก็สอนนะ สอนบอกว่า เพิกรูปถอดก็ถึงความว่าง เพิกความว่างถึงจะถึงมหาสุญญตา ต้องไม่ติดความว่างนี้อีก ถ้าติดความว่างนี้ก็ปล่อยมันไม่ได้

โยม : ถ้าอย่างนั้น เวลาที่เราเข้าไปเห็นตัวนี้ เราควรทำอย่างไรคะหลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ก็เหมือนเราเห็นหมาขี้เรื้อนตัวหนึ่ง

โยม : ไม่ต้องให้ค่ามัน

หลวงพ่อปราโมทย์ : จิตให้ค่า รู้ว่า(จิต)ให้ค่า ไม่มีคำว่า “ต้อง” ให้รู้อย่างที่มันเป็น

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: ๔๐
File: 540709B
ระหว่างนาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๐๘ ถึงนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๒๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อย่าหยุดอยู่แค่ความว่าง ให้รู้ทันความพอใจความว่างด้วย

mp3 for download : อย่าหยุดอยู่แค่ความว่าง ให้รู้ทันความพอใจความว่างด้วย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อย่าหยุดอยู่แค่ความว่าง ให้รู้ทันความพอใจความว่างด้วย

อย่าหยุดอยู่แค่ความว่าง ให้รู้ทันความพอใจความว่างด้วย

โยม : นมัสการหลวงพ่อครับ คือตอนนี้หลวงพ่อ ก็รู้สึกว่าว่างๆน่ะครับ แล้วก็ไม่ได้รู้สึกว่าอยากจะทำอะไร แล้วก็รู้สึกว่า ถ้าเกิดแนวททางที่ทำอยู่ ก็จะพยายามทำทานแล้วก็ช่วยเหลือคนอื่นเท่าที่จะช่วยเหลือได้ครับ ส่วนในเรื่องการปฏิบัติก็พยายามที่จะดูลมหายใจไปเรื่อยๆ แล้วก็รู้สึกว่ามันว่างไปเรื่อยๆครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : อือ.. มันต้องว่างสินะ พอใจเราไปอยู่ที่ลม ใจเราไม่ว่อกแว่กไปที่อื่น ใจก็ว่างๆ แล้วก็มีความสุขเห็นมั้ย เราได้ลิ้มรสความสุขจากการทำสมถกรรมฐานละ

ยังมีเหนือกว่านั้นนะคือวิปัสสนากรรมฐาน เวลาที่ใจเราว่างๆแล้วตามดูไป ใจมีความสุขเราพอใจให้รู้ทัน ใจเราเฉยๆก็ให้รู้ทัน ดูต่อไปอย่างนี้อีก แล้วเวลาที่ใจเคลื่อนไปยุ่งกับโลก มันหงุดหงิดมันรำคาญ ให้รู้ว่ามันหงุดหงิดมันรำคาญ ตามดูการเปลี่ยนแปลงของจิตไป อย่าหยุดอยู่แค่ความว่างๆนะ เอาตัวไม่รอดจริงหรอก มันไม่ว่างทุกวันนี่

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510315
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๕๓ ถึงนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๐๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้าอยากรู้สึกตัวตลอดเวลา จะเป็นการเพ่งจิต

mp 3 (for download) : ภาวนาแล้วติดว่าง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ถ้าอยากรู้สึกตัวตลอดเวลา จะเป็นการเพ่งจิต

ถ้าอยากรู้สึกตัวตลอดเวลา จะเป็นการเพ่งจิต

โยม : ทุกครั้งที่ทำก็จะมี รู้สึก เหมือนเจอแต่ที่ว่างน่ะครับ แบบไม่ได้รู้สึกอะไรมากเท่าไหร่

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าอยู่ๆดูลงไปทีไรก็ว่าง ยังจงใจดูอยู่ เลิกปฏิบัติซะ แล้วให้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบอารมณ์ไปตามธรรมดา พอกระทบแล้วปล่อยให้จิตใจเกิดความรู้สึก ปฏิกริยาทั้งหลายเนี่ย รู้สึกขึ้นมาตามธรรมชาติของมัน อย่าไปจงใจปฏิบัติด้วยการทำความรู้สึกตัวไว้ตลอดเวลา ถ้าจงใจทำความรู้สึกตัว มันจะเหมือนแกล้งรู้สึกนะ จะรู้สึกๆตลอดเวลาเลย จะกลายเป็นการเพ่งเอาไว้ จะโล่งๆ ใจมันจะโล่งๆไม่มีอะไร แต่ถ้าเราไม่ได้เจตนาจะรู้สึกเนี่ย เผลอๆไป เห็นคนนี้ก็ดีใจ เดินๆอยู่งูเลื้อยผ่านมาแล้วตกใจ มันจะเกิดความรู้สึกขึ้นมา

ของคุณมันเป็นประคองไว้นิดนึง มันก็เลยเฉย คอยดูนะ สังเกตมั้ย เรายังจงใจรักษาจิตไว้ อย่ารักษามัน เราไม่มีหน้าที่รักษาจิตนะ หน้าที่ของการรักษาจิตเป็นหน้าที่ของสติ ไม่ใช่หน้าที่ของเรา ทันทีที่สติเกิดเนี่ย สติจะรักษาจิตโดยอัตโนมัติ รักษาอย่างไร ถ้าจิตในขณะนั้นเป็นอกุศลอยู่ อกุศลจะดับ รักษาอย่างไร อกุศลจะเกิดขึ้นมาไม่ได้ในขณะที่มีสติ รักษาอย่างไร ทันทีที่มีสติ จิตก็เกิดกุศลเรียบร้อยแล้ว แล้วก็กุศลจะเกิดมากขึ้นๆ สติจะเกิดได้เร็วขึ้นๆนะ

เพราะฉะนั้นสตินั่นแหละมีหน้าที่รักษาจิต เราไม่มีหน้าที่รักษา ถ้าเมื่อไหร่เราคิดจะรักษาจิต อยากรู้สึกตัวตลอดเวลาเนี่ย เราจะไปเพ่งจิต มันเลยกลายเป็นการเพ่ง ไม่ใช่การรักษาจิตอะไรหรอก กลายเป็นการเพ่งให้จิตนิ่งๆ อย่าไปรักษามันอย่างนั้น ให้หัดฝึกไปจนสติเกิด แล้วสติก็รักษาจิตของเขาเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ หลังฉันเช้า

CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๔
ระหว่างนาทีที่ ๓๕ วินาทีที่ ๔๑ ถึง นาทีที่ ๓๗ วินาทีที่ ๓๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย

mp 3 (for download) : ระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

หลวงพ่อปราโมทย์ : ธรรมะแท้ๆนี้ไม่เนิ่นช้าหรอก ที่เนิ่นช้าเพราะทำผิด ทำผิดที่สาหัสที่สุดก็คือ ไปติดสมถะ ติดแล้วก็เพ่งๆลูกเดียวแหละ ติดตรงนั้นหลายปี หลวงพ่อติดสมถะยี่สิบสองปี จะว่าติดสมถะก็ไม่เชิงนะ เพราะว่าเราไม่รู้วิธีไปต่อ เราก็จำเป็นต้องทำอยู่แค่นั้นแหละ ทำได้แค่นั้น ทำแต่สมาธิ ทำอานาปานสติ เล่าให้ฟัง อย่างหมดเปลือกไปแล้วนะ

ทีนี้เห็นพวกเรา นักปฏิบัติส่วนใหญ่ติดสมถะนั่นแหละ แล้วไม่ใช่ติดสำนักใดสำนักหนึ่งด้วย ติดทุกสำนัก กระทั่งแต่สำนักที่บอกว่าทำแต่วิปัสสนาไม่ทำสมถะ ก็ติดสมถะ เพราะอะไร เพราะว่าไม่ได้เรียนจิตตสิกขาให้ดี ไม่รู้ลักษณะของจิต ว่าจิตชนิดใดเอาไว้ทำสมถะ จิตชนิดไหนเอาไว้ทำวิปัสสนา

เมื่อขาดความรู้เรื่องจิตตสิกขาที่ถ่องแท้แล้วเนี่ย ส่วนใหญ่ก็ไปหลงทำสมถะแล้วนึกว่าเป็นวิปัสสนา ยกตัวอย่างนะ บางคนนั่งภาวนา จิตสงบ แล้วคิดพิจารณากาย แล้วคิดว่าการคิดพิจารณากายเป็นวิปัสสนา ครูบาอาจารย์สอนมาชัดๆเลยนะ ยกตัวอย่างหลวงพ่อพุธสอนมา บอกว่า สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด หลวงปู่เทสก์เคยสอน การคิดพิจารณากายเป็นปฏิกูลเป็นอสุภะ เป็นการแก้อาการของจิต แก้นิวรณ์ แก้กิเลส แก้ชั่วครั้งชั่วคราว เป็นสมถะ การคิดพิจารณากายเป็นธาตุเป็นขันธ์ ไม่ใช่ปฏิกูลอสุภะแล้วนะ คิดเป็นธาตุเป็นขันธ์ คิดลงเป็นไตรลักษณ์น่ะ ก็เพื่อแก้อาการของจิต เป็นสมถะ

ทีนี้พวกเราบางทีคิดว่าการคิดพิจารณากายเป็นวิปัสสนา วิปัสสนาแท้ๆเริ่มเมื่อหมดความคิด พ้นความคิดไปแล้วเห็นความจริง ความคิดกับความจริงเกิดพร้อมๆกันไม่ได้ ความคิดนั้นแหละปิดบังความจริงไว้ ความคิดนั้นแหละคืออภิสังขารมาร ปิดกั้นการมองเห็นความจริงไว้

เนี่ยธรรมะอย่างนี้เราไม่ค่อยได้ยินได้ฟัง บางทีครูบาอาจารย์ท่านก็สอน คือสอนด้วยความเมตตานะ เอ้า..พุทโธ พิจารณากายไป อะไรอย่างนี้ เรานึกว่าตรงพุทโธเป็นสมถะ พิจารณากายเป็นวิปัสสนา ความจริงเป็นสมถะคนละแบบ ตอนแรกตามลมหายใจ หัดพุทโธเนี่ย จิตสงบ พอจิตสงบก็ติดนิ่งติดเฉย ติดนิ่งติดเฉยเนี่ย จิตจะไม่มีทางเจริญปัญญาได้เลย ท่านก็บอกอุบายแก้ให้ ให้จิตไม่ติดเฉย

นี่หลวงปู่มั่นแต่งกลอนไว้ ขันธะวิมุติสมังคี บอกว่า ระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย วิธีที่จะไม่ให้ติด จิตไปติดเฉย ก็ให้จิตออกมาทำงาน ให้ทำงาน จิตทำงานอะไร จิตชอบทำงานคิด ให้มันคิด คิดเรื่องอะไรเป็นเรื่องที่ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย คิดพิจารณากายตัวเองนี่แหละ ปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย ไปคิดเรื่องอื่นไม่ปลอดภัย หรือคิดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ คิดถึงธรรมะ คิดถึงไตรลักษณ์ อันนี้เป็นคิดถึงธรรมะ คิดถึงครูบาอาจารย์ คิดถึงเทวดา เทวดาก็คือ อย่างคนดีๆ อย่างพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัวเรานี้ เป็นเทวดา เทวดาในภาคมนุษย์ เรียกว่า สมมุติเทพ คิดถึงท่านแล้วจิตใจเราอบอุ่น นุ่มนวล มีความสุข หรือให้คิดถึงร่างกาย เป็นชิ้นนะ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก อันนี้เรียกว่า กายคตาสติ เรื่องที่ท่านให้คิดนั้นมีอยู่สิบเรื่อง เรียกว่าอนุสติ ๑๐

อนุสติ ๑๐ เป็นเรื่องของสมถกรรมฐาน คิดเพื่ออะไร เพื่อไม่ให้จิตไปติดเฉย พอจิตไม่ติดเฉย หมดเวลาที่จะพุทโธพิจารณากายแล้ว เวลาที่เหลือ ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว เพราะฉะนั้นคำสอนของครูบาอาจารย์วัดป่ารุ่นก่อนๆ จะสอนครบ ๓ อัน สอนหัดทำความสงบเข้ามาก่อน สงบแล้วไม่ให้อยู่เฉย ให้ออกพิจารณา พิจารณาพอสมควรแล้ว กลับทำความสงบไป หมดเวลา ถอยออกมา ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว

หลวงปู่มั่นถึงสอน บอกว่า ทำสมถะ ทำความสงบมาก เนิ่นช้า คิดพิจารณามาก ฟุ้งซ่าน หัวใจสำคัญของการปฏิบัติ คือการมีสติในชีวิตประจำวัน ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องรู้สึกตัว

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ก่อนฉันเช้า


CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๕
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๓๘ ถึง นาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๔๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ฆราวาสมีจุดอ่อนที่สมาธิน้อยไป จิตไม่ค่อยตั้งมั่น

mp 3 (for download) : ฆราวาสมีจุดอ่อนที่สมาธิน้อยไป จิตไม่ค่อยตั้งมั่น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ฆราวาสมีจุดอ่อนที่สมาธิน้อยไป จิตไม่ค่อยตั้งมั่น

ฆราวาสมีจุดอ่อนที่สมาธิน้อยไป จิตไม่ค่อยตั้งมั่น

โยม : ก็ตอนนี้ก็ ดูขันธ์ ๕ ทำงานไปน่ะครับ แล้วก็ ไม่รู้ว่ายังอยู่ในลู่ในทางหรือเปล่าครับหลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์ : อยู่นะ แต่มันอยู่ไม่พอ สมาธิไม่พอ ฆราวาสเนี่ยมีจุดอ่อนนะ สมาธิน้อย สมาธิน้อยไปจิตไม่ค่อยตั้งมั่นน่ะ จิตชอบกระจายโล่งๆว่างๆ ออกไป เพราะอะไร เพราะว่าวันๆหนึ่งเรามีเรื่องฟุ้งซ่านเยอะ มันเหนื่อยน่ะ พอมันเหนื่อยมากมันเครียดมากนะ พอมาภาวนาแล้วสบาย มันจะไปติดอยู่ที่สบาย โล่งๆว่างๆสบายเพลินๆไป วิธีแก้ก็คือ รู้ทันว่ามันไปติดอยู่ข้างนอก โล่งๆว่างๆ ดูออกหรือเปล่า?

โยม : คิดว่าดูออกครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : มันไม่เข้าฐาน จิตต้องถึงฐานนะ ถึงจะเดินปัญญาได้จริงๆ ยกตัวอย่างเราเห็นธาตุเห็นขันธ์ทำงาน แต่จิตเราอยู่ข้างนอก ไม่พอ แรงไม่พอไม่ตัดหรอก

โยม : แต่ก็ เราก็ใช้วิธีนี้ ดูไปเรื่อยๆ..

หลวงพ่อปราโมทย์ : รู้ทันมันนะ รู้ทันมัน อาจารย์มหาบัวเคยสอนหลวงพ่อ บอกว่า พุทโธไปเลยก็ได้ พุทโธแล้วรู้ทันจิตมั่งนะ จิตไหลแล้วรู้ จิตไหลแล้วรู้เนี่ย มันจะทวนเข้ามาเอง อย่าดึง มันจะเข้ามาเอง พอเข้ามาถึงฐาน เป็นคนดู มันเห็น ธาตุขันธ์ทำงาน จิตถึงฐานจริงๆนะ อยู่กลางๆ

โยม : ถ้าผมใช้วิธีว่า ดูสบายๆ ดูร่างกายสบาย ใจสบาย แล้วก็ พอมันคิดเนี่ย เราก็ไปดูมัน อย่างนี้ได้มั้ยครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ดูกายก็ได้นะ แต่ว่าดูกายแล้วระวังอันหนึ่ง จิตไหลไปที่กาย ถ้าดูกายแล้วจิตไหลไปที่กายเนี่ย คือ จิตไม่ตั้งมั่น ถ้าดูกายแล้วเหมือนเรานั่งอยู่นี่ เห็นกายเราอยู่นี่(อีกที่-ผู้ถอด) จิตไม่ไหลเข้าไปในกาย อย่างนี้ใช้ได้นะ เพราะฉะนั้นจะดูกายก็ได้ จะดูลมหายใจอะไรอย่างนี้ แต่ถ้าจิตไหลไปอยู่กับลมเนี่ย จิตออกนอกแล้ว จิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูจริง จุดนี้แหละที่ฆราวาสจะพลาดตรงนี้เยอะเลย จิตไม่ถึงฐานน่ะ ไม่มีแรงพอ จะกระจายเพลินๆไป แล้วจะมีแต่ความสุขนะ นานแล้วสบาย โอ..หลั่นล้าทั้งวันเลย ใช่หรือเปล่า

โยม : ครับ หลวงพ่อครับ อีกนิดนึงฮะ ถ้าเกิดว่าลักษณะของการเป็นผู้รู้ผู้ดู เหมือนกับว่า มีระยะห่างจากขันธ์ที่มันเกิดขึ้น อย่างนั้นใช่มั้ยครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ใช่ แต่ว่าไม่ประคองให้ห่างนะ แต่มันห่างเอง แต่ถ้าเราจงใจดึงให้ห่างเนี้ย จะตึงเลย ตึงเครียดไป มันแยกเองน่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่วัดประชาสันติ จ.พังงา
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: วัดประชาสันติ จ.พังงา วันที่ ๒๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๔
File: 540123.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕๑ วินาทีที่ ๕๙ ถึง นาทีที่ ๕๔ วินาทีที่ ๒๖
 

 

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ธรรมดาดีที่สุด

mp3 for download: ธรรมดาดีที่สุด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ธรรมดาดีที่สุด

ธรรมดาดีที่สุด

โยม: ก็กำลังทำการบ้านอยู่ค่ะ ไม่มีอะไรจะรายงานหลวงพ่อ รู้สึกว่าต้องเอาใจใส่ตัวเองให้มากกว่านี้เท่านั้นน่ะค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: เราคอยรู้ทันนะ จิตเราเนี่ยมันจะสร้างภพตลอดเวลา สร้างสิ่งบางสิ่งขึ้นมา แล้วเราก็ไปติดอยู่กับสิ่งนั้น กระทั่งนักปฏิบัตินะ เราก็จะสร้างภพที่นิ่ง..นิ่ง ว่าง ว่าง นุ่มนวล อะไรขึ้นมานะ แล้วเราก็จะไปเกาะเอาไว้ เราคิดว่าอย่างนี้ดี ถ้าเราสร้างขึ้นมา รู้ว่าสร้าง จิตเข้าไปเกาะอยู่ รู้ว่าเกาะอยู่ อันนี้ถึงจะดีจริงนะ มีมั้ยตอนนี้

โยม: ก็มันก็เกาะอะไรอยู่ที่คิดว่ามันจะดี ก็รู้สึกว่ามันไม่เป็นธรรมชาติ

หลวงพ่อปราโมทย์: ไม่เป็นธรรมชาตินะ ธรรมดาดีที่สุดนะ เพราะว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่เราปรุงขึ้นมา พอเราปรุงขึ้นมาแล้วเราก็เข้าไปอาศัยอยู่ เราคิดว่าอยู่ตรงนี้ไปเรื่อยๆจะดี ไม่ดีหรอกนะ

โยม: มันเหมือนกับเราไม่ออกมาสู้รบกับกิเลสใช่มั้ยคะ

หลวงพ่อปราโมทย์: ใช่ๆ มันเป็นที่พัก ที่หนี หนีเข้าป้อมน่ะ นึกออกมั้ย เหมือนหนีเข้าป้อมเปี๊ยบเลย ให้รู้ทันนะ ออกมาสู้นะ ออกมา

โยม: เข้าใจค่ะ กราบขอบพระคุณค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: สู้ให้ได้นะ เราอุตส่าห์สร้างคุณงามความดีตั้งเยอะแยะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๓
File: 521204B.mp3
ลำดับที่ ๔
ระหว่างนาทีที่ ๔๐ วินาทีที่ ๑ ถึง นาทีที่ ๔๑ วินาทีที่ ๑๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิปัสสนูปกิเลส เกิดจากสมาธิไม่พอ จิตไม่ตั้งมั่น

mp 3 (for download) : วิปัสสนูปกิเลส เกิดจากสมาธิไม่พอ จิตไม่ตั้งมั่น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

วิปัสนูปกิเลส เกิดจากสมาธิไม่พอ  จิตไม่ตั้งมั่น

วิปัสนูปกิเลส เกิดจากสมาธิไม่พอ จิตไม่ตั้งมั่น

หลวงพ่อปราโมทย์ : เมื่อก่อนที่หลวงพ่อเคยไปเรียนจากหลวงปู่เทสก์ ท่านสอนบอกว่า เวลาเกิดวิปัสนู*เนี่ย เกิดเพราะว่าสมาธิไม่พอ เราฟังอย่างนี้เรายังไม่ get นะ เวลามันเกิดขึ้นมาจริงๆถึงได้ค่อยๆมาสังเกต อ๋อ..จิตมันไม่ตั้งมั่นนี่เอง จิตมันหลงไปข้างนอก หลงไปอยู่ในความว่างความสว่าง หลงไปอยู่ในปัญญา หลงไปอยู่ในความสุข ในความสบาย ความเย็น ความโล่ง ความว่าง หลงไปสารพัดรูปแบบเลย จิตมันไม่ตั้งมั่น ถ้าเมื่อไรจิตตั้งมั่น มันก็จะหลุดออกมา อันนี้เราเห็นมาด้วยการปฏิบัติอย่างนี้

เสร็จแล้ว เพิ่งมาเจอพระสูตรนี้ ที่ท่านพระอานนท์สอนไว้ เหมือนกันเปี๊ยบเลย วิปัสนูเกิดจากจิตไม่ตั้งมั่น ไหลออกไป จิตไม่ถึงฐานนั่นแหละ ที่หลวงพ่อเรียกว่าไม่ถึงฐาน

เพราะฉะนั้นเวลาพวกเราภาวนานะ ค่อยๆสังเกต เราดูจิตดูใจ หรือว่าดูกาย ก็เหมือนกันนะ ไม่ว่าทำวิปัสสนาด้วยอะไรเนี่ย เกิดวิปัสนูได้ทั้งสิ้นเลย ไม่ใช่ว่าดูจิตแล้วมีแต่วิปัสนู ดูกายไม่มีวิปัสนู เข้าใจผิด หลวงพ่อเจอคนติดวิปัสนูเยอะแยะไปหมดเลย กระทั่งในสำนักต่างๆของครูบาอาจารย์ก็มี ไม่ใช่ไม่มี

ถ้าทำวิปัสสนาถูกต้องนะ แต่เพิ่งเริ่ม เพิ่งเริ่มวิปัสสนาได้ไม่นานนะ ยังไม่ชำนิชำนาญพอเนี่ย สมาธิไม่พอ จิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่ถึงฐานเนี่ย มันจะมัวแต่ดูอารมณ์ที่เกิดดับแล้วถลำออกไปดู พออารมณ์นั้นหมดไป วับไป มันโล่ง มันว่าง มันสว่างแล้ว คราวนี้ก็เลยไปค้างอยู่ตรงนี้เลย คิดว่านิพพาน เอาละเราเป็นพระอรหันต์แล้ว ตรงนี้ไม่มีกิเลสเลย คนที่ภาวนามาถึงตรงนี้แล้วคิดว่าเป็นพระอรหันต์นั้นมีหลายคน ตอนนี้แก้ไปได้หลายคนแล้ว บางคนก็แก้ไม่ได้เพราะไม่ยอมมาเจอเราเลย

มีบางคนไม่ได้มาเจอนะ หลวงพ่อบอกว่าไม่ถูกหรอก โมโหไปเลยนะหายไป หายไปนานๆกลับมาใหม่ บอกว่าสติแตกมาแล้ว ไม่ใช่แล้ว รู้แล้วว่าไม่ใช่ ก็บอกไปว่าใช่ มันไม่ใช่หรอก เพราะจิตไม่ถึงฐาน จิตมันไปอยู่นอกๆ

ทีนี้คนที่ไปเจอวิปัสนูว่างๆ ก็จะเกิดความสำคัญผิดว่าบรรลุพระอรหันต์ แล้วจะคิดว่า โอ้..เอาใจไปอยู่ในความว่างนี้แหละ คืออยู่กับนิพพาน อยู่กับสุญญตา นี่เป็นทางลัด ไม่ต้องมามีสติรู้กายรู้ใจก็ได้ ไปดูความว่างเอาไว้ นี่พวกนี้เป็นวิปัสนูนะ

ถ้าไปดูความว่างอยู่เนี่ย มันเดินปัญญาต่อไม่ได้ มันเป็นภพอันหนึ่งที่ตัวเองมองไม่ออกว่าเป็นภพ ไปติดอยู่อย่างนั้นแหละ แต่ถ้ารู้ทันเมื่อไหร่นะว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่ถึงฐาน มันจะหลุดออกมาเลยนะ

*หมายเหตุ ‘วิปัสนู’ เป็นการเรียก วิปัสนูปกิเลส อย่างย่อๆ ซึ่งมาจากคำว่า วิปัสสนา กับคำว่า อุปกิเลส แปลว่า กิเลสละเอียดที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนา


CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๓๐
File: 520621.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๔๐ ถึง นาทีที่ ๒๖ วินาทีที่ ๑๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา พร้อมมูล อริยมรรคถึงจะเกิด

mp 3 (for download) : ต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา พร้อมมูล อริยมรรคถึงจะเกิด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: จิตต้องตั้งมั่น ตั้งมั่นเป็นคนรู้คนดู พวกเราหลายคนทำกรรมฐานมากมาย แต่สงสัยว่าทำไมมันไม่เกิดมรรคผลนิพพานตัวจริง เพราะมันไม่มีปัญญานั่นเอง ไม่มีปัญญาเห็นความจริงของรูปนาม มันคิดแต่จะบังคับรูปนาม เพ่งรูปเพ่งนาม เพ่งลูกเดียวนะ ไม่ใช่ปัญญาเห็นไตรลักษณ์

ทำไมไม่มีปัญญา เพราะจิตไม่มีสัมมาสมาธิ จิตไม่ตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นสำคัญนะ อย่างพระอยู่กับหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ต้องคอยควบคุม บางวันจิตตามรู้กายตามรู้ใจมากเข้าๆ จิตกระจายๆ ออกไปนี่ ต้องเพิ่มสมถะละ เพิ่มความสงบให้ใจตั้งมั่น ตั้งมั่นแล้วขี้เกียจขี้คร้านอีก ต้องไล่อีกแล้ว ให้ออกมารู้กายมารู้ใจนะ

เนี่ยเวลาทำกรรมฐานก็คล้ายๆ เราขับรถยนต์นะ บางเวลาก็เหยียบเบรก เนี่ยทำสมถะ บางเวลาเหยียบคันเร่งเจริญปัญญา รถมันถึงจะไปถึงที่หมายได้ งั้นเราคอยดูนะ คอยดูกายคอยดูใจไป ด้วยจิตใจที่ตั้งมั่น เป็นแค่คนดู

หลายคนทำมาหลายปีทำไมไม่ได้ผล หลวงพ่อยกตัวอย่างนะ อย่างตอนนี้ฝึกพองยุบเยอะ ฝึกพองยุบแล้วเห็นท้องพองท้องยุบนะ ถ้าจิตเราไม่ตั้งมั่นจิตเราจะไหลไปตั้งอยู่ที่ท้อง จิตไปตั้งอยู่ที่ท้องเรียกว่าไปตั้งแช่ไม่ใช่ตั้งมั่น เข้าไปแช่อยู่ที่ตัวอารมณ์ จิตตั้งมั่นเนี่ยมันจะอยู่ต่างหากจากอารมณ์ มันจะเห็นเลยร่างกายที่พองร่างกายที่ยุบเป็นของถูกดู จิตอยู่ต่างหาก ต้องแยกรูปแยกนามให้ได้ก่อน

เพราะฉะนั้นก่อนจะเกิดวิปัสสนาญาณนะ ญาณตัวแรกเลยนะเขาเรียกว่า “นามรูปปริจเฉทญาณ” นามรูปปริจเฉทญาณคือแยกรูปกับนาม เห็นเลยเห็นท้องมันพองท้องมันยุบไป ใจเป็นคนดูอยู่ต่างหาก ใจมันตั้งมั่นอยู่ต่างหาก ไม่ใช่ใจถลำไปอยู่ที่ท้องนะ ตรงนี้ชอบดูลมหายใจก็ถลำไปอยู่ที่ลมหายใจ ขยับมือทำจังหวะก็ไปเพ่งใส่มือ จิตไหลไปอยู่ที่มือ เดินจงกรมจิตไหลไปอยู่ที่เท้า ดูท้องจิตไหลไปอยู่ที่ท้อง ดูอิริยาบถสี่เพ่งมันทั้งตัวเลย อันนั้นเรียกว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตถลำลงไปตั้งแช่ในอารมณ์ จิตต้องตั้งมั่นในการรู้อารมณ์ ตั้งมั่นในการรู้อารมณ์ สักว่ารู้อารมณ์ อยู่ต่างหากจากอารมณ์นี่เป็นอันหนึ่ง ไหลเข้าไปรวมแช่อยู่กับอารมณ์เป็นอีกอันหนึ่ง

นี่พวกเราส่วนมากจิตไหลเข้าไปแช่อยู่กับอารมณ์ ไม่มีปัญญาจริงหรอก เกิดปัญญาไม่ได้ มันแช่ไปด้วยกัน ยกตัวอย่างให้ฟังนะ คล้ายๆ เรา ถ้าเรายืนอยู่บนบกริมคลองริมแม่น้ำ เราอยู่บนบกเราไม่ได้ตกน้ำ เราจะเห็นเลยในน้ำเดี๋ยวก็มีอันโน้นลอยมาอันนี้ลอยมา เดี๋ยวกอผักตบลอยมา เดี๋ยวท่อนไม้ลอยมา เดี๋ยวหมาเน่าลอยมา ลอยมาแล้วก็ลอยไปเพราะว่าเราอยู่บนบก

แต่ถ้าเราตกลงไปในน้ำเราลอยไปกับมันนะ เห็นมันอยู่อย่างนั้นน่ะ เห็นมันอยู่ทั้งวัน ดูท้องก็เห็นท้องทั้งวันอยู่ทั้งวันนั่นแหละ ลอยไปด้วยกัน งั้นต้องเป็นคนดูอยู่ต่างหาก

อย่างสายอภิธรรม อาจารย์แนบก็ชอบสอน ต้องเป็นคนดูละครนะ เป็นคนดูละครอย่าโดดเข้าไปในเวทีละคร ถ้าพูดสมัยใหม่คนรุ่นเราชอบดูฟุตบอล เราต้องดูฟุตบอลอยู่บนอัฒจันทร์นะ อย่าไปดูฟุตบอลอยู่กลางสนามฟุตบอล เดี๋ยวถูกเขาเตะเอานะ ถูกกิเลสเตะเอา

งั้นเราต้องดูอยู่ห่างๆ เนี่ยเรียกว่าเราตั้งมั่น ตั้งมั่นอยู่ห่างๆ ไม่เข้าไปยินดียินร้ายกับมัน เป็นกลางในการรู้ จิตใจอ่อนโยนนุ่มนวล ตั้งมั่น คล่องแคล่วว่องไวนะ ไม่ไหลเข้าไป เนี่ยอย่างนี้จิตใจถึงจะมีปัญญาจริงเกิดขึ้น มันจะเห็นเลยทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกอย่างเกิดแล้วดับ เพราะจิตมันไม่หลงตามไป จะเห็นแต่ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ถ้าไหลคู่กันไปมันคือการเพ่ง มันจะแนบอยู่ที่อันเดียวนะ เป็นการเพ่ง ได้สมถะ ได้แต่สมถะ

ถ้าจิตตั้งมั่นเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู ทางวัดป่าท่านจะเรียกว่าจิตผู้รู้ มีจิตผู้รู้ขึ้นมาเป็นคนดู เป็นคนดูกาย ดูเวทนา ดูกุศลอกุศล ก็จะเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นกุศลอกุศลล้วนแต่เกิดแล้วก็ดับ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ใจตั้งมั่นเป็นคนดู ปัญญาถึงจะเกิด

งั้นสติเป็นเครื่องระลึกรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นแปลกปลอมขึ้นในกายในใจ สัมมาสมาธิเป็นความตั้งมั่นของจิตในการไปรู้อารมณ์ไม่ถลำลงไป ปัญญาก็จะเห็นความเป็นจริงคือเห็นไตรลักษณ์ ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา นี่สติสมาธิปัญญา ทำงานร่วมกันอย่างนี้นะถึงจะเกิดมรรคเกิดผลได้ ทำไมเกิดมรรคเกิดผลได้เพราะว่ามีปัญญาแก่รอบแล้ว มีสมาธิบริบูรณ์ขึ้นมานะ ศีลสมาธิปัญญาพร้อมมูลขึ้นมานะ อริยมรรคถึงจะเกิด ตัวหนึ่งมากตัวหนึ่งน้อยกะพร่องกะแพร่งไม่เกิดหรอก งั้นต้องมีสติรู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางสักว่ารู้สักว่าเห็นนะ ถึงจะเห็นความจริงของกายของใจ ฟังเหมือนยากนะแต่ง่าย


แสดงธรรมที่ สวนสันติธรรม
เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๙ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
ลำดับที่: ๘
File: 491123B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๔๗ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๕๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตที่มีสัมมาทิฏฐิมีแนวโน้มไปสู่นิพพาน เว้นแต่จะไปติดขัดอยู่กลางทาง เปรียบเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ

เปรียบเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ

เปรียบเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ

mp 3 (for download) : จิตที่มีสัมมาทิฏฐิมีแนวโน้มไปสู่นิพพาน เว้นแต่จะไปติดขัดอยู่กลางทาง เปรียบเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: พระพุทธเจ้าท่านเคยเทียบ บอกว่าจิตของเราเนี่ย ที่แสวงหาความหลุดพ้นเนี่ยนะ เหมือนท่อนไม้ลอยอยู่ในแม่น้ำคงคา ท่านไม่ยกว่าเป็นแม่น้ำเจ้าพระยานะ ท่านยกแม่น้ำคงคา บอกว่า ท่านชี้ให้พระดูท่อนไม้ลอยน้ำ ท่านบอกว่าไม้ท่อนนี้นะ ถ้ามันลอยไปเรื่อยๆ มันไม่ไปติดฝั่งซ้าย ไม่ไปติดฝั่งขวา ไม่ไปเกยตื้น ไม่ไปติดเกาะอะไรอย่างนี้นะ ไม่ไปถูกมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกอมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวน ไม่เน่าใน ไม่ผุพังเสียเอง ถึงวันหนึ่งมันจะไปสู่ทะเล

จิตซึ่งมีสัมมาทิฎฐิ สิ่งที่พวกเราเรียนจากหลวงพ่อคือตัวสัมมาทิฎฐินั่นเอง จิตซึ่งมีสัมมาทิฎฐิรู้ทิศทางว่าเราจะทำอะไรเพื่ออะไรจะทำอย่างไร ระหว่างทำไม่หลงไม่เผลอ จิตมันมีสัมมาทิฎฐิอยู่อย่างนี้ ระดับเบื้องต้นซึ่งเรียกว่า “สัมปชัญญะ” รู้ทิศทาง รู้แนวทาง จิตที่มีสัมมาทิฎฐินั้นนะ มีแนวโน้ม น้อมโน้ม โน้มเอียง ลาดลุ่ม ไปสู่นิพพาน เหมือนท่อนไม้นี้ไหลตามน้ำไปเรื่อยๆ ถ้าไม่ไปติดฝั่งซ้ายฝั่งขวา เกยตื้น ไม่ถูกมนุษย์ อมนุษย์ จับไว้ ไม่เน่าใน ไม่ถูกน้ำวนดูดไปนะ ไม้ท่อนนี้ต้องไปถึงทะเล

จิตซึ่งมีสัมมาทิฎฐิ จิตของเรานี้ไม่ต้องไปทำอะไรมัน อย่าไปเกยอยู่ที่ไหนก็แล้วกัน มันจะไหลไปสู่นิพพานเอง จะไหลไปสู่มรรคผลนิพพานเอง เพราะฉะนั้นไม่ใช่ต้องทำอะไร แต่อย่ามัวไปเกยตื้นอยู่ที่ไหนซะล่ะ

คำว่าติดฝั่งซ้าย ติดฝั่งขวา ก็คือไปหลงในสิ่งที่เป็นคู่ๆ เช่นอายตนะภายในภายนอกนี่คู่หนึ่ง ตัวอย่างนะ ไปติดในความสุข หรือไปติดในความทุกข์ ติดในความทุกข์ก็คือเกลียดทุกข์ รักสุขเกลียดทุกข์อะไรอย่างนี้ ใจก็ยังดิ้นอีก เนี่ยติดในสิ่งที่เป็นคู่ๆ ติดความดี ความเลว เจออะไรเลวๆแล้วทนไม่ได้ ทุรนทุราย อยากจะให้โลกนี้ดี สวยงามอย่างเดียว อะไรอย่างนี้ จิตก็วุ่นวายติดในสิ่งที่เป็นคู่ๆ

ไปเกยตื้น ก็คือไปติดในผลประโยชน์ทั้งหลาย ถ้าเป็นพระก็เรียกว่าไปติดลาภสักการะ ติดครอบครัวโน้น ตระกูลนี้ อะไรอย่างนี้ ไปถูกมนุษย์จับไว้ อย่างพวกเรา คุณสุเมธ ถูกมนุษย์จับไว้ ถูกมนุษย์เป็นร้อยๆเลยนะ คุณสุเมธก็ห่วง มาหรือยัง มาหรือยัง กลัวเขาไม่ดี นี่เรียกว่าถูกมนุษย์จับไว้ ถูกอมนุษย์จับไว้ เช่น อยากดัง อยากมีชื่อเสียง อยากเด่น นี่ถูกอมนุษย์จับไว้ หรือติดใน อยากขึ้นสวรรค์นะ ไปเป็นเทวดาเป็นพรหมอะไรอย่างนี้ นี่เรียกว่าถูกอมนุษย์จับไว้

ไปหลงลาภสักการะ นี่ก็ไปเกยตื้นไว้ ถูกอมนุษย์จับก็หลงชื่อเสียง เป็นอาจารย์กรรมฐานดัง หลงอย่างนี้เสร็จเลยนะ ไปนิพพานไม่ได้ ถูกน้ำวนก็คือหลงอยู่ในกาม วันๆคิดแต่จะหาความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือความเพลิดเพลินทางใจ นี่เรียกว่ากามทั้งหมดเลย ตา หู จมูก ลิ้น กาย เรียกว่ากามคุณ ทางใจเรียกว่ากามธรรม เช่นเราคิดเพลิดเพลินไปในกาม นี่คิดเอาเอง ก็เป็นกามเหมือนกัน บางคนก็ชอบคิดใช่มั้ย ฝันๆ แหมมีความสุข คิดไปในอดีต แก่หน่อยก็คิดไปในอดีตใช่มั้ย เด็กๆก็ฝันไปในอนาคต อะไรอย่างนี้ นี่ก็หลงๆไปนะ

พวกเน่าในคือพวกทุศีล พวกไม่มีศีล ๕ ศีล ๕ จำเป็น อย่าดูถูกเด็ดขาดนะ ศีล ๕ จำเป็นที่สุดเลย ขาดศีล ๕ อย่าพูดเรื่องมรรคผลนิพพานเลย ศีล ๕ จำเป็นมาก แต่ถ้าทำผิดศีลไปแล้วอย่ากังวล ตั้งใจระวังรักษาเอาใหม่ อย่าให้การทำบาปอกุศลที่ทำไปแล้ว มากดถ่วง ทำให้เราพัฒนาตัวเองต่อไปไม่ได้ เพราะเรา สมมุติว่าเราทำผิดศีลอะไรมาอย่างนี้ ยังไงก็ไม่มากเท่าที่พระองคุลีมาลเคยทำใช่มั้ย เราฆ่าคนไม่ได้พันคนหรอก ทำไมท่านไปได้ ใช่มั้ย เพราะฉะนั้นถ้าเราผิดศีลแล้วเรา ก็อย่าทำอีก นะ อย่าให้กังวลใจ

ถ้าหากจิตใจเราไม่ได้ติดในสิ่งเหล่านี้ ที่กล่าวมานี้นะ ๗ ประการ ไปนับเอาเองก็แล้วกัน เจ็ดประการนี้ถ้าเราไม่ติดนะ แล้วเรามีสัมมาทิฎฐิ เรารู้แล้วว่าการปฏิบัตินี่เราต้องรู้กายรู้ใจตัวเอง ด้วยจิตที่เป็นกลาง รู้ลงปัจจุบัน รู้แล้วไม่ไปแทรกแซง รู้จนเห็นความจริงของเขา ว่าเขาไม่เที่ยง เขาเป็นทุกข์ เขาเป็นอนัตตา รู้จนไม่ยึดถืออะไร นี่ถ้าเรารู้ มีสัมมาทิฎฐิอย่างนี้นะ แล้วเราไม่ไปติด ๗ ข้อนั้นนะ ยังไงก็นิพพาน

นี่ไม่ใช่หลวงพ่อพูดเองนะ พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ เราก็สำรวจตัวเองนะ เราไปติดอะไรบ้าง ติดฝั่งซ้าย ติดฝั่งขวามั้ย ไปเกยตื้นมั้ย ไปเกยตื้นยกตัวอย่าง บางคนภาวนา พวกที่ติดสมถะนั้นแหละ พวกเกยตื้น วันๆก็ไปสร้างภพที่ละเอียด ปราณีต ว่างๆ ทำให้ดูก็ได้… เนี่ย แล้วก็ไปอยู่ในความว่าง เหมือนอยู่คนละโลกกัน นะ เห็นมั้ย เสียงยังเปลี่ยนเลย…

อย่างนี้เกยตื้น กี่ปีกี่ชาติก็อยู่ตรงนี้แหละ นะ ใ้ช้ไม่ได้ ไปดูเอานะ แล้วสำรวจตัวเอง ที่พวกเราได้จากหลวงพ่อกับได้จากพรรคพวกรุ่นพี่ ต้องเรียกว่ารุ่นพี่นะ เขาเป็นซือเฮีย ซือเจ๊ ใช่มั้ย ถึงเราอายุ ๕๙ แล้ว เด็กๆพวกนี้ก็ยังเป็นซือเฮีย ซือเจ๊

เนี่ย อาศัยการได้ฟังธรรมนะ เรารู้ว่าเราจะทำอะไร ทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไรแล้ว แล้วก็รู้ไปเรื่อย ปฏิบัติไปเรื่อย นะ อย่าไปเกยตื้น อย่าไปติดอะไรอยู่ที่ไหนซะ สำรวจตัวเองเป็นระยะๆ การสำรวจตัวเองว่าไปติดไปข้องอะไรใน ๗ ประการนั้นไว้ ก็เรียกว่าโยนิโสมนสิการ สำรวจตัวเองไปเรื่อย เรื่อย เรื่อย ในที่สุดใจนี้ก็จะไหลไปถึงมหาสมุทร ใจนี้แหละจะบรรลุพระนิพพานโดยตัวของเขาเอง ไม่ใช่เราไปเสือกไสไม้นี้ไปสู่มหาสมุทรนะ มันไหลไปเอง

จิตนี้เหมือนกัน ถ้ามีสัมมาทิำฎฐิแล้วไหลไปสู่นิพพานเอง สิ่งที่เราทำขึ้นมาไม่ใช่ช่วยใ้ห้มันไปเร็วขึ้น สิ่งที่เราทำก็คือ ๗ อย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้นเลิกซะ แล้วก็รู้กายอย่างที่เขาเป็น รู้กายอย่างที่เขาเป็น ไปเรื่อยๆ


สวนสันติธรรม
CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๘
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๔๙ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ขณะแรกที่ออกจากสมาธิ เป็นนาทีทองของคนทำสมาธิ

mp 3 (for download) : ขณะแรกที่ออกจากสมาธิ เป็นนาทีทองของคนทำสมาธิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: บางคนชอบทำสมาธิก็ทำสมาธิไปไม่ห้าม แต่พอออกจากสมาธินี่ให้มีสติรู้ทันจิตตั้งแต่ขณะแรกที่ออกจากสมาธิ ตัวนี้สำคัญที่สุดนะ  ขณะแรกที่ออกจากสมาธิเป็นนาทีทองของคนทำสมาธิ ในขณะที่อยู่ในสมาธินั้นเป็นที่พักผ่อน ไม่เกิดสติปัญญาอะไร แต่ขณะที่จิตถอยออกจากสมาธิให้มีสติรู้ทันความเปลี่ยนแปลงของจิตเลย จิตตะกี้มีปิติ ออกมาแล้วไม่มี จิตตะกี้มีสุข ออกมาแล้วไม่มี จิตตะกี้สงบเฉยๆ พอออกมาแล้วฟุ้งซ่าน

เพราะฉะนั้น นาทีทองอยู่ตรงที่ถอยออกจากสมาธินะ สำหรับคนที่ทำสมาธิ แต่ถ้าออกจากสมาธิแล้วก็ยังทำหน้าอย่างนี้ทั้งวันนะ นี่ หลวงพ่อทำให้ดูนะ แล้วคิดว่าปฏิบัติอยู่ทั้งวัน นี่หลงผิดอยู่ทั้งวันนะ โมหะครอบอยู่ทั้งวันแล้วไปคิดว่าวิปัสสนาจริงๆ เราจะเจริญสติต้องทำซึมไว้ ทำยากนะ ลืมไปนานแล้ว (โยมหัวเราะ) นี่ เชิญด่าเลยนะ ไม่โกรธหรอก ด่าสามวันก็ไม่โกรธนะ มันไม่ใช่ไม่มีกิเลสนะ มันคือกรรมฐานที่เอาหินทับหญ้าไว้เฉยๆ กรรมฐานโง่นะ เพราะฉะนั้น ถ้าออกจากสมาธิแล้วอย่าให้ค้างอยู่ ออกแล้วออกเลย ดูความเปลี่ยนแปลงของจิตของใจไปเรื่อยๆ

สวนสันติธรรม
CD: ธรรมเทศนา ๔ วัน ในสวนสันติธรรม
File: 501017B.mp3
Time: 46.26 – 47.56

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ตอนตื่นนอนเป็นนาทีทองของนักปฏิบัติ

mp 3 (for download) : ตอนตื่นนอนเป็นนาทีทองของนักปฏิบัติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

ใจมันจะปรุงแต่งเนี่ย ถ้าเมื่อไรเรารู้ทันการปรุงแต่งของเขาแล้ว มันจะหยุดไปเลย ขาดไป  งั้นอย่างหลวงพ่อจะบอกเรื่อยๆเลยว่า ตอนที่เราตื่นนอนใหม่ๆเนี่ย ตอนนี้เป็นนาทีทองของนักปฏิบัติ ตื่นนอนแล้ว ตื่นปุ๊บเนี่ย คนทั่วไปชอบซึมๆ ต่อไปอีกช่วงนึง แต่ถ้าเป็นนักปฏิบัติจริงๆ ตอนตื่นนอนแล้วให้ีรีบรู้ทันเลย ให้รีบสังเกต จิตมันจะทำงาน

เวลาที่เราเข้าไปติดในสภาวะอะไรที่เราดูไม่ออก อย่างเราติดทั้งวันเลยนะ ติดอยู่อย่างนั้นน่ะ ตอนตื่นนอนให้รีบรู้เลย มันจะเห็นเลย มันไหลกระดึ๊บๆ เข้าไปช่องเดิมนั่นแหล่ะ พอเรารู้ทันว่ามันจะเข้าทางนี้นะ ต่อไปมันจะไม่เข้า ไม่เข้าเองละ อย่างใจเรา มันจะไหลเข้าไปถูกโมหะครอบ มันจะไหลเข้าไป  ถ้ารู้ทัน มันก็จะไม่เข้า  งั้นตรงตื่นนอนปุ๊บเีนี่ยนะ เป็นนาทีทองเลย คอยรู้สึกเอา

หลวงพ่อก็ใช้วิธีนี้สังเกตนะ เราไม่มีครูบาอาจารย์อยู่ใกล้ๆ  หลวงพ่อปฏิบัติเนี่ย ไปเรียนกับครูบาอาจารย์ไม่มากหรอก แต่ใช้การสังเกตเอา  เราไม่มีโอกาสใกล้ชิดครูบาอาจารย์มากนัก สามเดือนสี่เดือนไปหนนึง  อย่างตอนหลังๆเนี่ย ตอนมาภาวนาที่สวนบัวนะ ครูบาอาจารย์ตายไปหมดแล้ว ไม่เหลือละ องค์สุดท้ายที่เรียนกับท่าน คือหลวงปู่สุวัฒน์ ก็ไม่อยู่แล้ว  สิ่งที่ช่วยเราได้ คือ การสังเกตเอา  ฉนั้นถ้าขาดกัลยาณมิตรคือครูบาอาจารย์  โยนิโสมนสิการสำคัญที่สุดเลย  แล้วจุดที่สังเกตได้ชัดเจนที่สุดนะ คือตอนตื่นนอน  ตอนที่จิตมันเพิ่งเริ่มทำงานน่ะ  พอมันขึ้นจากภวังค์นะ เราคิดถึงการปฏิบัติปั๊บ มันจะเข้าช่องเดิมเลย

อย่างบวชปีแรก ปีแรกๆเนี่ย เช้าขึ้นมาจิตมันสว่างจ้าเลย แล้วสบายอยู่อย่างนั้นน่ะนะ  อยู่ไปหลายวันแล้ว อืม ไม่ใช่น่ะ นิพพานอะไรหมองๆได้  นิพพานจอมปลอม มีเข้าๆออกๆ ได้นะ   ครูบาอาจารย์เคยสอนว่า นิพพานไม่ใช่เข้าๆ ออกๆ นะ  เราสังเกต เอ มันไปหลงตรงไหนเนี่ย ไปเดินผิดตรงจุดไหนเนี่ย มองไม่ออก  งั้นค่อยๆสังเกตตั้งแต่ตื่นเลย อ๋อ มันผิดตั้งแต่ตื่น พอตื่นนอน ทันที่ที่คิดเรื่องปฏิบัติปุ๊บนะ มันจะไปหยิบฉวยจิตขึ้นมาดู กุ๊กกิ๊กๆ สองสามทีนะ แล้วก็ทำเป็นวางไป นี่ แกล้งวางได้ด้วยนะ โอ๊ย เจ้าเล่ห์แสนกลนะกิเลสน่ะ   มีการไปหยิบมาพลิกซ้ายพลิกขวาสองทีนะแล้ววาง  เราไม่เห็นตรงที่ไปหยิบฉวยขึ้นมาแล้วก็จงใจวางลงไป เราก็ โอ ว่างตลอด ๆ ของเก๊แท้ๆเลย  สภาวะอะไรที่รู้ทัน แล้วถึงจะผ่านได้  ถ้ารู้ไม่ทันก็ไปติดกับมันอยู่

สวนสันติธรรม
CD: 17
File: 491229A.mp3
Time: 1.00 – 4.04

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ปฎิบัติแล้วรู้สึกเฉย ๆ ต่ออารมณ์

mp3 (for download) : ปฎิบัติแล้วรู้สึกเฉย ๆ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม :นมัสการค่ะหลวงพ่อ ตอนนี้ก็คือฝึกหัดตามดูอารมณ์นะคะ ก็คือส่วนใหญ่จะรู้ว่าหลงไปคิดค่ะ แต่อารมณ์อื่นจะเฉยๆ จะไม่ค่อยรู้สึกค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เฉยเพราะเราไปประคองใจให้นิ่งหรือเปล่า?

โยม : ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันค่ะ

หลวงพ่อ : ถ้ามันเฉยเพราะว่าเรารักษาจิตเอาไว้นะ ใช้ไม่ได้  แต่ถ้าเฉยเพราะปัญญา ถึงจะใช้ได้ แต่เฉยเพราะปัญญาเนี่ย ต้องฝึกกันช่วงหนึ่ง เช่น มันเห็นว่าสุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว ดีชั่วก็ชั่วคราว อะไรอย่างนี้ เห็นอย่างนี้บ่อยๆนะ ใจจะเป็นกลาง

ของคุณตอนนี้มันมีการกดอยู่นิดนึงนะ ถ้านิ่งถ้าเฉยเพราะตรงนี้ ละเพ่งเอา ยังเพ่งอยู่ แต่ว่ามาเพ่งเพราะว่ากลัวหลวงพ่อตอนนี้แหล่ะ อยู่ข้างนอกก็เพ่งน้อยกว่านี้

ปล่อยให้เป็นธรรมชาติ แล้วตามดู การภาวนานะ ปลดปล่อยตัวเองออกมา  ปลดปล่อยตัวจริงของแต่ละคนออกมานะ ตัวจริงของแต่ละคนน่าเกลียดมาก ฉนั้นเราอย่าไปสร้างเปลือกที่สวยๆ แล้วหุ้มเอาไว้ หลอกตัวเองก่อน แล้วก็ไปหลอกคนอื่นทีหลัง

เราปลดปล่อยตัวแท้ๆ ของเรา ตัวชั่วร้ายในใจนะ อย่าไปกดมันไว้ อย่าไปเพ่งมันไว้นะ  ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบอารมณ์ไป แล้วเราไม่เพ่งอารมณ์ไว้เนี่ย แล้วตัวจริงๆ มันจะโผล่ขึ้นมาเรื่อยๆ แต่เราถือศีลไว้ก่อน จิตใจจะชั่วร้ายยังไงนะ ก็ไม่ละเมิดไปถึงคนอื่น ต้องระวังตรงนี้

ต่อไปนี้ กิเลสใดๆ ที่ซ่อนเร้นอยู่ เรารู้ทัน รู้ทันไปเรื่อย มันจะค่อยสลายตัวไป

ศาลาลุงชิน ๓๒

520816

44.06 – 45.35

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้ามีสติอย่างเดียว แต่ขาดสัมมาสมาธิ จะไม่เกิดปัญญา และไม่มีกำลังที่จะเกิดอริยมรรค

mp 3 (for download) : ถ้ามีสติอย่างเดียว แต่ขาดสัมมาสมาธิ จะไม่เกิดปัญญา และไม่มีกำลังที่จะเกิดอริยมรรค

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เครื่องมือในการเจริญสติ เครื่องมือหลักๆ ก็คือสติ สัมมาสมาธิ คือเครื่องมือหลักๆ ผลผลิตของมันก็เป็นปัญญา พอปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาทำหน้าที่ประหารกิเลส ทำลาย ตัดกิเลส ตัดสังโยชน์ ถ้าตัดสังโยชน์นี่เรียกว่าเป็นปัญญาในระดับอริยมรรค เพราะฉะนั้นต้องเรียนมากๆ เรื่องสติ กับสัมมาสมาธิ ต้องเรียนสองอันนี้เยอะๆ หน่อย ถ้ามีสติอย่างเดียวนะ ขาดสัมมาสมาธินี่ มันไม่มีกำลังที่จะตัดสินความรู้ สัมมาสมาธิเป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดปัญญา สัมมาสมาธิคือความตั้งมั่น ความตั้งมั่นของจิต เราจะรู้สึกว่าพอจิตมันถึงฐานของมันจริงๆ นะ มันรู้สึกเลย จิตใจตั้งมั่น จะสามารถสักว่ารู้สักว่าดูอะไรได้หมด นี้ส่วนใหญ่พวกเราจิตใจไม่ตั้งมั่น สมาธิที่พวกเรารู้จักนี่มันเป็นมิจฉาสมาธิ จิตมันชอบเข้าไปตั้งแช่ในอารมณ์ ยกตัวอย่างเวลาเรารู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ใจเราชอบไหลเข้าไปอยู่ที่ลม พอรู้ลมนี่ใจก็ไหลไปอยู่ที่ลม เราไปดูท้องพองยุบ ใจไหลไปอยู่ที่ท้อง เราเดินจงกรมยกเท้าย่างเท้า ใจไหลไปอยู่ที่เท้า

บางสำนัก สายหลวงพ่อเทียนท่านขยับมือ ขยับมือ ลูกศิษย์จำนวนมากเลย ใจไหลเข้าไปอยู่ในมือ ใจไหลเข้าไปอยู่ในมือ กับไหลเข้าไปอยู่ที่ท้อง ไหลไปอยู่ที่เท้า ไหลไปอยู่ในลมหายใจ มันก็ไหลเหมือนกัน ใจไม่ตั้งมั่น พอใจไม่ตั้งมั่นนะ ปัญญาจะเกิดไม่ได้จริงหรอก ได้แต่เพ่ง ใจจะเข้าไปแนบ อยู่ในอารมณ์อันเดียว อย่างต่อเนื่อง สงบ ดีแล้วเกิดปีติ ขนลุกขนพอง ตัวลอย ตัวเบา ตัวโพรง ตัวใหญ่ ตัวหนัก มีสารพัด อาการที่แปลกๆ กว่าปกติทั้งหลาย เป็นอาการของปีติ ขนลุกขนพอง วูบๆ วาบๆ นะ เหมือนฟ้าแลบแปล๊บๆ ปล๊าบๆ อะไรอย่างนี้ มันเป็นอาการที่ใจมันทำสมถะ เข้าไปแช่ในอารมณ์นานๆ แล้วจิตใต้สำนึกก็ทำงานปรุงอะไรต่ออะไรขึ้นมา แล้วแต่มันจะชอบ บางคนปรุงเห็นผีเห็นสางอะไรก็ได้นะ บอกว่าผีหลอก จริงๆ หลอกตัวเอง

ค่อยๆ สังเกตไปใจที่ตั้งมั่นกับใจที่ไหลไป วิธีหัดง่ายๆ เลย หัดสังเกตจิตใจของเรา อย่างนั่งฟังหลวงพ่อพูดนะ เดี๋ยวใจก็ไหลไปคิด เดี๋ยวก็ตั้งใจฟัง ฟังแล้วก็ไหลไปคิด ดูออกมั้ย คุณนี่ ฟังไปแล้วก็คิดไป สลับ ดูออกมั้ย แต่เราไม่เคยเห็นจิตที่ไหลไป เพราะฉะนั้นจิตเราไม่ได้ตั้งมั่นจริง คุณลองดูท้องพองยุบซิ ลองเคยทำดูพองยุบมั้ย เคยใช่มั้ย ลองทำเหมือนที่เคยปฏิบัติ ลองเลย ทำจริงๆ ลืมหลวงพ่อซะ นี่รู้สึกมั้ย ใจเรารวมไปอยู่ที่ท้อง ใจเราเคลื่อนไปอยู่ที่ท้อง นึกออกมั้ย นี่แหละคือการทำสมถะล่ะ นะ แล้วพวกเราชอบคิดว่าวิปัสสนา ไม่ใช่วิปัสสนา จิตไม่ตั้งมั่น จิตไหลไปแล้ว ไหลไป งั้นวิธีการที่ง่ายๆ นะ ที่คุณจะดูก็คือ จิตเราไหลไปเรารู้ทันว่าไหล อย่าดึงนะ อย่าออกแรงดึงนะ ถ้าเราเห็นไหลไปแล้วเราดึงนี่ จะแน่นขึ้นมา นี่ส่งใจไปดูอีกแล้วรู้สึกมั้ย ใจเราเคลื่อนไปดู ให้รู้ว่าเราหลงไปดูแล้ว มันคล้ายๆ เราดูโทรทัศน์น่ะ หรือเราจ้องจอคอมพิวเตอร์ ในนี้เหมือนมีจอคอมพิวเตอร์อันนึง เราจ้องไปที่จอ รู้สึกมั้ยเราถลำไปที่จอ ใช้ไม่ได้นะ ที่นักปฏิบัติเกือบร้อยละร้อยพลาด ก็พลาดตรงนี้เอง จิตไม่ตั้งมั่น กับจิตตั้งแช่ เข้าไปแช่นิ่งๆ อยู่ที่ท้อง เข้าไปแช่อยู่ที่ลม เข้าไปแช่อยู่ที่เท้า ตราบใดจิตตั้งแช่ มันก็ได้แต่สมถะ สงบไปเฉยๆ แหละ  แต่ถ้าจิตตั้งมั่นนะ มันจะเห็นเลย จิตอยู่ต่างหากนะ ความคิดก็ส่วนความคิด จิตส่วนจิต รูปส่วนรูป นามส่วนนาม ไม่ก้าวก่ายกันหรอก จิตหลุดออกจากโลกของความคิดเลย แล้วก็ไม่ได้เพ่งกายไม่ได้เพ่งใจนะ แต่รู้กายรู้ใจ

รู้กายรู้ใจกับเพ่งกายเพ่งใจไม่เหมือนกัน เวลาเราเพ่งกายเพ่งใจนะ เบื้องต้นเราเกิดอยากก่อน อยากปฏิบัติ พออยากปฏิบัติเราก็จงใจกำหนดรูปกำหนดนาม เราคิดว่าถ้าเอาสติไปกำหนด สติมีหน้าที่กำหนด ถ้าเรียนอภิธรรมอย่าง อาจารย์อนัตตาจะทราบ สติไม่ได้แปลว่ากำหนด สติแปลว่าความไม่ประมาท ความไม่หลงลืม ความไม่เลื่อนลอยๆ แต่จิตใจของเราชอบเลื่อยลอย รู้สึกมั้ยลอยไปลอยมา ตอนเนี้ยลอยไปคิดแล้ว นึกออกมั้ย จิตเราลอยไปคิด เวลาที่เราไม่ได้นึกเรื่องปฏิบัติจิตเราก็ลอยไปคิด เค้าเรียกว่าขาดสติ เวลาเรานึกถึงการปฏิบัติเราก็ไปเพ่งใส่ลงไป จิตเราเคลื่อนไป จ่อนิ่งๆ ไว้ อันนั้นไม่ใช่การรู้รูปนาม แต่เป็นการเพ่ง เพ่งรูปเพ่งนาม เพ่งรูปเพ่งนามเป็นสมถะนะ หลายคนเข้าใจว่า ถ้ารู้รูปนามแล้วก็ ถ้ามีอารมณ์รูปนามแล้วต้องเป็นวิปัสสนา ไม่จำเป็นนะ ทำวิปัสสนานี่ต้องใช้อารมณ์รูปนาม ต้องรู้ อารมณ์รูปนาม อันนี้แน่นอน จะไปรู้อารมณ์บัญญัติหรือไปรู้อารมณ์นิพพานไม่ได้ ไม่ใช่วิปัสสนา แต่สมถะนี่ใช้อารมณ์บัญญัติก็ได้ อารมณ์รูปนามก็ได้ กระทั่งอารมณ์นิพพานก็ใช้ทำสมถะได้ พระอริยะเจ้าทำสมถะโดยใช้อารมณ์รูปนามก็ได้ ใช้บัญญัติก็ได้ ใช้อารมณ์นิพพานก็ได้ คนทั่วๆ ไปทำสมถะได้โดยใช้อารมณ์บัญญัติคือเรื่องราวที่คิด กับรูปนาม เพ่งรูปเพ่งนาม เป็นสมถะ งั้นอย่างที่เราเดินจงกรมแล้วใจเราไปแนบเข้าไปที่เท้านี่นะ ทำสมถะอยู่ แต่ถ้าใจของเราตั้งมั่น มันจะเห็นเลย ตัวที่เดินนี้ไม่ใช่ตัวเรา เห็นทันทีนะ นี่เราเริ่มเห็นไตรลักษณ์ ร่างกายที่เคลื่อนไหวอยู่นี่ สักแต่ว่าเคลื่อนไหว สักแต่ว่าเป็นธาตุ มันรู้ด้วยใจ รู้สึกเอา ไม่ใช่คิดนะ ถ้าคิดใช้ไม่ได้ มันรู้สึกเอาถึงความเป็นธาตุของร่างกาย รู้สึกเอาถึงความไหวของร่างกาย จะไม่รู้สึกว่าเราไหว หรือว่าธาตุนี้เป็นตัวเรา เพราะว่าเราหลุดออกจากโลกของความคิดได้แล้ว ฉะนั้นไม่ต้องบริกรรมนะ ไม่ต้องบริกรรม เมื่อไรบริกรรมเมื่อนั้นตกจากวิปัสสนาทันทีเลย อย่างเรามีสตินะ สมมติเราใจลอยไป เรามีสติระลึกได้ว่าใจลอย นี่ระลึกได้แล้ว ใช้ได้ นี่มีสติ ถ้ามีปัญญาก็จะต่อตามมาอีก เห็นเลย จิตจะใจลอยห้ามมันไม่ได้ จิตจะรู้สึกตัวสั่งไม่ได้ นี่แสดงความไม่เที่ยง แสดงอนัตตาได้ แต่ถ้าใจลอยไป รู้ว่าใจลอยปุ๊ป ดึงไว้ปั๊ป นี่เป็นสมถะนะ ใจลอยแล้วใจของเราก็ลอยตามมันไปด้วยเลย หลงไป เนี้ยหลงไป

ค่อยๆ ดูสภาวะนะ มาเรียนที่หลวงพ่อไม่ใช่เรียนปริยัตินะ หลายคนไปคุยกันบอกหลวงพ่อปราโมทย์สอนอภิธรรม หลวงพ่อปราโมทย์ไม่ได้เรียนอภิธรรมนะ แต่หลวงพ่อพูดเรื่องสภาวะล้วนๆ เลย อภิธรรมมันเป็นเรื่องของสภาวะล้วนๆ ต่างหากล่ะ งั้นไม่ใช่หลวงพ่อสอนอภิธรรมนะ หลวงพ่อสอนแต่เรื่องสภาวะ แต่บังเอิญๆ อภิธรรมมันคือสภาวะนั่นเอง เนี้ยสภาวะที่เราเห็นด้วยการปฏิบัตินะ กับสภาวะในตำรา อันเดียวกันน่ะ แต่สภาวะในตำราจะหยาบๆ นะ หยาบๆ อย่างโทสะนี่แยกได้ไม่กี่อย่าง พวกเราแยกได้เยอะเลย ขัดใจนิดหน่อยใช่มั้ย โมโหจนเห็นช้างเท่าหมู มีดีกรีด้วย ดีใจเสียใจ นี่แต่ละอันมันกระจายออกไป โอ้ยมีเยอะแยะ เยอะแยะเลย

หัดรู้สภาวะเรื่อยๆ แล้วสติจะเกิด หัดรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น แล้วจิตจะตั้งมั่น ฉะนั้นหัดสองอันเนี้ย หัดรู้สภาวะไป เช่นใจเราลอยไปเรารู้ ใจเราไปคิดเรารู้ ใจเราไปเพ่งเรารู้ นะ ใจหนีไปคิดอีกแล้วทราบมั้ย นี่หลวงพ่อบอกแล้วนึกออกมั้ย คอยดูไปเรื่อยๆ นะพอใจเราไหลไป อย่าไปตั้งใจดูนะ ห้ามไปจ้องไว้ก่อน ต้องตามดู ต้องตามดูนะ ตรงนี้ก็เป็นหลักการสำคัญ

สวนสันติธรรม
CD: 16
File: 491123B.mp3
Time: 0.14 – 9.15

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

 ทางสู่นิพพานและข้อควรระวังของความว่าง

mp3 (for down load): ทางสู่นิพพานและข้อควรระวังของความว่าง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : จะเห็นนิพพานได้นะ ต้องรู้แจ้งรูปนาม ต้องรู้แจ้งในกายในใจ นี่เป็นทางเดียวเลย เพราะพระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ ว่าสติปัฏฐานเป็นทางสายเดียวที่จะสู่ความบริสุทธิ์หลุดพ้น

อยากจะถึงนิพพานที่แท้จริงอย่าน้อมใจให้เฉย อย่าน้อมใจให้นิ่ง ให้คอยมีสติรู้กายรู้ใจ ด้วยจิตที่ตั้งมั่น ด้วยจิตที่เป็นกลาง รู้ทุกอย่างอย่างสบายๆ รู้อย่างเบาๆ รู้อย่างนุ่มนวล รู้แล้วไม่ไปเพ่ง รู้แล้วไม่ถลำลงไป รู้แล้วสบายๆ ปัญญามันจึงจะเกิด มันเห็นความจริงของรูปของนาม พอมันเห็นความจริงแจ่มแจ้งมันจะปล่อยวาง มันจะไม่ยึดไม่ถือ    พอปล่อยวางได้จะพ้นจากรูปนาม ก็จะไปเห็นนิพพานไม่พ้นไปจากอย่างอื่นหรอก   แต่ถ้าอยู่ๆเราจะไปทิ้งรูปนาม เราจะไปอยู่ในบัญญัติ เพราะสติปัญญาไม่พอ ที่จะปล่อยวางรูปนาม อยู่ๆจะปล่อยเอาตามใจชอบไม่ได้นะ   น้อมใจไม่ให้ความรู้สึกเลือนลางบางคนไอ้โน่นก็ไม่เอาไอ้นี่ก็ไม่เอา ไอ้โน่นก็ไม่เอาไอ้นี่ก็ไม่เอา เป็นมิจฉาทิฐิ เรียก นัตถิกทิฐิ อยู่ๆก็น้อมใจให้ว่าง น้อมไปทำไมความว่าง น้อมไปแล้วสบาย เป็นสมถกรรมฐานชนิดหนึ่ง น้อมใจให้อยู่ในความว่างๆ เรียกว่า อากาสานัญจายตนะ น้อมใจไปไม่ให้คิดไม่ให้นึกไม่ให้ปรุงไม่ให้แต่ง เรียก วิญญาจัญญายตนะ น้อมใจให้ไปอยู่กับความไม่มีอะไรเลย นู่นก็ไม่เอาไอ้นี่ก็ไม่เอาไม่มีอะไรเลย เรียก อากิญจัญญายตนะ   น้อมใจไม่ให้ความรู้สึกเลือนรางลงไป แทบจะไม่รู้สึกเลย เรียก เนวสัญญานา สัญญายตนะ

เวลาภาวนาผิดจะพลาดไปพรหมโลก คำสอนที่บอกว่าให้ไปดูความว่าง ให้น้อมจิตไปอยู่ในความว่าง นี่เป็นการทำสมถกรรมฐาน โดยคิดว่าวิปัสสนากรรมฐานอยู่ อันตรายมากเลย   ตอนนี้ดูจิตๆ ดูจิตหลายคนเลยไม่ได้ดูจิตให้เกิดสติปัญญานะ มาเรียนกับหลวงพ่อช่วงหนึ่ง รู้สึกถามหลวงพ่อไม่ได้ วิ่งไปถามคนโน้นคนนี้นะ เขาก็พาไปอยู่ในความว่างเสร็จกันพอดีนะ   พระศรีอาริยะฯ ตรัสรู้ขึ้นมา พอนึกถึงแล้วท่านอยากจะโปรดเรา ท่านจะอุทานว่า ฉิบหายแล้ว พลาดจากคุณอันใหญ่แล้ว  พระศรีอาริยะฯมาแล้วยังกลับมาไม่ทันเลยถ้าน้อมไปอยู่ในความว่างๆ

ไม่น้อมไปอยู่ในความว่างนะ รู้สึกตัวไว้ รู้กายอย่างที่เขาเป็น รู้ใจอย่างที่เขาเป็นเมื่อจิตพ้น รู้จนแจ่มแจ้งในกายในใจในรูปในนามนี้แหละ   เมื่อแจ่มแจ้งแล้วจิตจะหมดความยึดถือในรูปในนามในกายในใจนี้   เมื่อจิตไม่ยึดรูปนามจิตจะพ้นจากรูปจากนามจิตจะสัมผัสอยู่กับพระนิพพาน   นี่เป็นทางสายเอกทางสายเดียว ไม่มีทางที่สองเพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้นนะ   ไปดูในสติปัฏฐานได้เลย มีแต่เรื่องกายานุปัสสนา ให้รู้กาย, เวทนานุปัสสนา รู้เวทนา ความรู้สึกสุขทุกข์ การเสวยอารมณ์, จิตตานุปัสสนา ให้รู้ทันจิต ซึ่งมันถูกสังขารปรุงแต่ง เดี๋ยวเป็นจิตโกรธ จิตโลภ จิตหลง จิตรู้เนื้อรู้ตัว จิตอย่างโน้นจิตอย่างนี้, ธรรมานุปัสสนา คือ รูปกับนามมีทั้งรูปมีทั้งนาม  รวมแล้วในสติปัฏฐานมีแต่เรื่องรู้รูปรู้นามรู้กายรู้ใจ ไม่เคยมีสุญญุตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ไม่เคยมีเลย

ถ้าใครสอนสุญญุตานุปัสสนาสติปัฏฐาน พวกเราเรียนหลักมาแม่นๆแล้วเราต้องรู้นะ นั่นไม่ใช่ลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า ถึงแต่ใส่จีวรก็ไม่ใช่ลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า เราต้องแม่นในหลักนะเราจะได้ไม่พลาด เรียนรู้กายรู้ใจไปเรื่อยอย่าน้อมให้นิ่ง   ไม่เอานะว่างสว่างบริสุทธิ์ไม่เอาทั้งสิ้นเลย รู้กายอย่างเดียวรู้ใจอย่างเดียว รู้ไปอย่างที่มันเป็นไป พอถึงมันปล่อยวางรูปปล่อยว่างนามแล้วจะถึงความว่างจริง นั่นเป็นผลหรอก อย่าเอาผลมาทำเป็นเหตุนะ ให้ทำเหตุคือรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 212