Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

ทุกข์เป็นสิ่งที่หนีไม่ได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

Mp3 for download: 520704B_suffering can’t be denied

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้ารู้สภาวะนะ ให้รู้สภาวะตามความเป็นจริง  เป็นจริงของมันก็คือทุกข์นั่นแหละ  รู้ด้วยความเป็นกลาง ถ้าใจเราไม่เป็นกลาง  ใจเรายังรังเกียจทุกข์อยู่ก็ยังไม่พ้นหรอก มันก็จะทุกข์ไปเรื่อย ไปรู้อันนี้ จิตไปเกาะอันนี้ก็ทุกข์ จิตไปเกาะอันนี้ก็ทุกข์ มีแต่ทุกข์ไปหมดเลย วันนึงจิตจะฉลาดขึ้นมา จิตจะเป็นกลาง จิตรู้แล้วว่าความทุกข์เป็นสิ่งที่หนีไม่ได้ ห้ามก็ไม่ได้ หนีก็ไม่ได้ ไปไหนก็ไม่พ้น ไปไหนก็เอาทุกข์ไปด้วย พอจิตมันรู้ตรงนี้นะ มันยอมรับนะ เป็นกลางกับมัน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ
วันเสาร์ ที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หลังฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
File: 520704B
ระหว่างนาทีที่ ๒๔วินาทีที่ ๓๒ ถึง นาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๐๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

มีสติช่วยให้มีสมาธิได้อย่างไร ?

mp3 (for download) : มีสติช่วยให้มีสมาธิได้อย่างไร ?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : สมาธิเป็นเครื่องสู้กิเลสระดับกลางชื่อว่า “นิวรณ์” นิวรณ์มีห้าตัว แต่ทั้งห้าตัวมันเป็นความฟุ้งซ่านของจิตทั้งนั้น ถ้าฟุ้งไปชอบใจในอารมณ์ เรียกว่า “กามฉันทะนิวรณ์” ฟุ้งไปเกลียดอารมณ์ เรียก “พยาบาท” ฟุ้งจับจด ฟุ้งแล้วไม่รู้อะไรต่ออะไร สะเปะสะปะ เรียก “อุทธัจจะ” อุทธัจจะไม่อยู่ลำพังหรอก พอฟุ้งมากๆก็รำคาญใจ อุทธัจจะ เป็นโมหะ มันจะต่อด้วย “กุกกุจจะ” รำคาญใจ กุกกุจจะ เป็นโทสะนะ พอฟุ้งได้ที่ก็รำคาญ หงุดหงิด เนี่ย ถ้าจิตไม่ฟุ้ง ไม่รำคาญ ไม่หงุดหงิด ลังเลสงสัยก็เป็นความฟุ้งซ่าน คนถามกรรมฐานมากๆ ถามแล้วถามอีก คิดมาก ดูกายดูใจมันทำงานเข้าไป ไม่มีคำถาม มีน้อย คำถาม

หลวงพ่อเรียนกรรมฐานจากครูบาอาจารย์นะ เรียนจากครูบาอาจารย์ตั้งหลายสิบองค์ เข้าไปหาท่าน คำถามหลักๆเลยที่ถามนะคือที่ทำอยู่นี่ถูกมั้ย คราวก่อนท่านสอนมาอย่างนี้ ผมไปทำ อย่างนี้ถูกต้องหรือเปล่า ถ้าผิดให้ท่านบอกด้วย ถ้าถูกแล้วทำยังไงจะพัฒนาไปมากกว่านี้ ถามเท่านี้เองนะ ครูบาอาจารย์ก็ตอบเหมือนกันทุกที ดีแล้ว ทำอีก จบแล้ว ไม่มีอะไรต้องมาพิรี้พิไร ขอแถมอีกหน่อยอะไรอย่างนี้ ขอนั่งอีกนิด ไม่มี เสียเวลา

“เวลา” หมดแล้วหมดเลยนะ ซื้อไม่ได้ ทิ้งเปล่าๆ ไม่นานก็ตาย ฉะนั้นเราเอาเวลามาภาวนา ภาวนาแล้วไม่ค่อยมีคำถามเท่าไหร่หรอก ถามอะไร มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง มีเท่านี้เอง ถามมากกว่านี้ก็คิดมาก คิดเยอะไป รู้ไว้เยอะๆ รู้ทัน ทุกคนรู้จิตรู้ใจตัวเองได้อยู่แล้ว กายของเรา เราก็รู้ได้อยู่แล้ว จิตของเรา เราก็รู้ได้อยู่แล้ว รู้เอาบ่อยๆ พอเรามีสติรู้ทันนิวรณ์ที่เกิดขึ้นนะ นิวรณ์จะดับ อย่างจิตมีพยาบาทเกิดขึ้น เรามีสติรู้ทันนะ พยาบาทดับ จิตมีกามฉันทะเพลิดเพลินพอใจในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส เรามีสติรู้ทันนะ ความเพลิดเพลินพอใจคือกามฉันทะก็ดับ สงสัยขึ้นมา มีสติรู้ทัน สงสัยก็ดับ หดหู่ มีสติรู้ขึ้นมา หดหู่ก็ดับ

อาศัยสตินี่แหล่ะ มารู้ทันนิวรณ์ที่เกิดขึ้นในใจบ่อยๆ แล้วสมาธิจะเกิดขึ้นเอง นี่เป็นวิธีทำสมาธิที่สุดจะง่ายเลยนะ ไม่ใช่หลวงพ่อพูดเองด้วย มีพระสูตรที่สอง ชื่อ สามัญญผลสูตร (สูตรที่ ๒ ในคัมภีร์ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระสุตตันตปิฎก) พระพุทธเจ้าสอน อชาตศัตรู อชาตศัตรูเกิดมาไม่เป็นศัตรูกับใครนะ เป็นศัตรูกับพ่อเท่านั้นแหล่ะ ฆ่าพ่อตาย อชาตศัตรูไปเรียนธรรมะ พระพุทธเจ้าสอนให้รู้ทันนิวรณ์นะ รู้ทันนิวรณ์แล้วสมาธิเกิด นี่เป็นวิธีฝึกสมาธิของฆราวาส อาศัยสติรู้ทันศัตรูของสมาธิ พอจิตไม่มีศัตรูของสมาธิ จิตก็สงบเองแหล่ะ ไม่ต้องทำความสงบหรอก อย่าทำความฟุ้งซ่านก็พอแล้ว ความฟุ้งซ่านเราจะทำลายมันได้ไง ความฟุ้งซ่านเป็นกิเลส เมื่อไรมีสติ เมื่อนั้นไม่มีกิเลส นี่เป็นกฎของธรรมะเลย

ดังนั้นเรามีสติรู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่านไป ฟุ้งไปหาอารมณ์ที่ชอบ ฟุ้งไปหาอารมณ์ที่ไม่ชอบ ฟุ้งสะเปะสะปะ จับอารมณ์ไม่ถูก ฟุ้งไปหาอารมณ์ที่ชอบเป็นกามฉันทะ ฟุ้งไปหาอารมณ์ไม่ชอบเป็นพยาบาท ฟุ้งสะเปะสะปะเป็นอุทธัจจะกุกกุจจะ ฟุ้งไปคิดมากก็ลังเลมากเป็น “วิจิกิจฉา” ฟุ้งมากหมดเรี่ยวหมดแรงลงไปแผ่หลาอยู่ หมดเรี่ยวหมดแรง ดูอะไรไม่รู้เรื่องแล้วเรียกว่า “ถีนมิทธะ” ทั้งจิตทั้งเจตสิกหมดแรง ล้วนแต่มาจากความฟุ้งทั้งนั้น

ถ้ามีสติรู้ทันจิตที่ฟุ้งไปนะ สมาธิเกิดเอง โดยเฉพาะจิตนะชอบฟุ้งไปคิด ฟุ้งไปคิดเนี่ยบ่อยที่สุด ถ้าเรารู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่านไปคิด ความฟุ้งซ่านจะดับ จิตจะเกิดสมาธิ จิตใจจะอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจต้องอยู่กับเนื้อกับตัวนะ ถึงจะเจริญปัญญาได้ ถึงจะทำวิปัสสนาได้ ถ้าจิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ทำวิปัสสนาไม่ได้ เพราะวิปัสสนานี่คือการเรียนรู้ความจริงของรูปนาม สิ่งที่เรียกว่าตัวเรา รูปธรรมนามธรรมนี้เอง เมื่อไหร่ขาดสติเมื่อนั้นไม่รู้รูปนาม ไม่รู้รูปธรรมนามธรรมของตัวเอง ใช้ไม่ได้เลยนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔ หลังฉันเช้า

CD: ๔๑
File: 540730B
ระหว่างนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๓๔ ถึงนาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๔๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อย่ากังวลเรื่องปฎิบัติถูกหรือผิด ค่อยๆ สังเกตกายใจตนเองไป

mp3 (for download) : อย่ากังวลเรื่องปฎิบัติถูกหรือผิด ค่อยๆ สังเกตกายใจตนเองไป

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อย่ากังวลเรื่องปฎิบัติถูกหรือผิด ค่อยๆ สังเกตกายใจตนเองไป

อย่ากังวลเรื่องปฎิบัติถูกหรือผิด ค่อยๆ สังเกตกายใจตนเองไป

หลวงพ่อปราโมทย์ : อย่าไปกังวลเรื่องปฏิบัติถูก ปฏิบัติผิด พวกเราทุกคนปฏิบัติผิด เวลาถูกมันถูกแว่บเดียว นอกนั้นผิดทั้งนั้นแหละ แค่จงใจปฏิบัติก็ผิดแล้ว ทำไมปฏิบัติจะไม่ผิด ปฎิบัติเมื่อไรก็ผิดเมื่อนั้นแหละ เราต้องไม่ปฏิบัติ คำว่าไม่ปฏิบัติของหลวงพ่อคือเราไม่ทำอะไรนะ เราคอยดูร่างกายมันทำงาน คอยดูจิตใจมันทำงาน เราไม่ทำอะไร อย่างจิตใจของเราเนี่ย เดี๋ยวก็วิ่งไปฟัง เดี๋ยวก็วิ่งไปคิด รู้สึกไหม เนี่ยเราหน้าที่เราก็คอยรู้ไป มันไปฟังก็รู้ มันไปคิดก็รู้ เราไม่ได้ทำอะไร เราไม่ต้องปฏิบัติอะไรหรอก เราแค่รู้ทันมันเท่านั้นเอง ถ้าฝึกอย่างนี้แล้วจะง่าย ถ้าเราคิดว่าทำยังไงเราจะบรรลุมรรคผลนิพพานนะ เราพยายามจะปฏิบัติ พยายามจะทำยิ่งช้าใหญ่เลย เพราะความโลภมันเข้าไปแทรก สติมันไม่เกิด


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510315
ระหว่างนาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๓๔ ถึงนาทีที่ ๓๐ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

เราปฎิบัติเพื่ออะไร?mp 3 (for download) : เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่นี่หลวงพ่อจะเน้นสอนเรื่องการปฏิบัติให้ หลักของการปฏิบัติเราก็ต้องรู้ ว่าเราจะปฏิบัติอะไร ปฏิบัติเพื่ออะไร ปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติแล้วได้ผลเป็นยังไง ต้องตอบได้ชัดเจน เราจะปฏิบัติอะไร มีสองอย่างที่จะต้องปฏิบัติคือ “สมถะ” กับ “วิปัสสนา” ปฏิบัติเพื่ออะไร สมถะ ปฏิบัติเพื่อให้จิตใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะเดินวิปัสสนา ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อจะได้เห็นนู่นเห็นนี่มีตาทิพย์มีหูทิพย์ บางคนอยากได้เจโตอยากได้ทิพจักษุ  หลวงพ่อเคยเจอนะ มีไอ้หนุ่มคนนึง มันภาวนาอยากได้ทิพจักษุ ถามว่าอยากได้ทำไม มันจะได้มองทะลุผ้าของคนอื่น มันเห็นธรรมะเป็นเรื่องอะไร จะทะลุฝาห้องของเค้าอะไรอย่างนี้ ได้เรื่องเลย มีจริงๆนะ สมถะนะ เราทำไปเพื่อให้ใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะทำวิปัสสนา

วิปัสสนาทำไปเพื่ออะไร เพื่อให้เกิดปัญญา รู้ความจริงของกายของใจนี้ ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ ดังนั้นทำเราทำวิปัสสนาเพื่อให้รู้ความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจ รู้แล้วได้อะไร รู้ถึงที่สุดแล้วมันจะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ

พระอรหันต์ไม่ใช่คนประหลาดนะ อย่าไปวาดภาพพระอรหันต์ประหลาดเกินเหตุทำอะไรก็ไม่ได้ กระดุกกระดิกก็ไม่ได้ วันๆต้องนั่งเซื่องๆเหมือนนกกระยางรอให้ปลามาใกล้ๆจะได้ฉกเอาเชื่องๆห้ามกระดุกกระดิก พระอรหันต์จริงๆก็คือท่านผู้ภาวนาจนมีปัญญา เห็นทุกข์เห็นโทษของขันธ์นะ ขันธ์ห้าเป็นทุกข์เห็นอย่างนี้ แล้วท่านปล่อยวางความยึดถือขันธ์ได้ จิตท่านแยกออกจากขันธ์ พรากออกจากขันธ์ ไม่ยึดถือขันธ์ ท่านเป็นอิสระจากขันธ์ ตัวขันธ์เป็นตัวทุกข์ เพราะฉะนั้นพระอรหันต์เลยพ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่นี่พ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่ตายแล้วเค้าเรียกดับทุกข์คือขันธ์มันดับ ไม่ใช่ไปเกิดอีกนะ หลายคนวาดภาพเป็นพระอรหันต์ไปเกิดอีกไปอยู่ในโลกนิพพาน อันนั้นไม่ใช่ศาสนาพุทธหรอก พระอรหันต์ นิพพานแล้วเหมือนไฟที่ดับไปแล้ว ไฟที่ดับแล้วอยู่ที่ใหน ใครจะรู้ เพราะฉะนั้นเราภาวนานะ ภาวนาทำสมถะเพื่อให้มีแรง ทำวิปัสสนา ทำวิปัสสนาเพื่อให้เห็นความจริงของกายของใจ ถ้าเราเห็นความจริงของกายของใจได้มันจะหมดความยึดถือ ปล่อยวางได้ พอปล่อยวางได้ก็พ้นทุกข์ได้ เพราะตัวกายตัวใจตัวขันธ์นี้แหล่ะตัวทุกข์

นี่ต้องเรียนสิ่งเหล่านี้ แล้วทำยังไง เราจะทำอะไร ทำสมถะและวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร บอกแล้ว ทำอย่างไร สมถะนี่ไม่ใช่ทำเพื่อให้เคลิ้ม วิธีทำสมถะไม่ใช่น้อมใจให้เคลิ้มให้ซึมให้นิ่ง แต่ฝึกความรู้สึกตัวขึ้นมา หายใจออกรู้สึก หายใจเข้ารู้สึก เคยได้ยินคำว่า”อานาปานสติ”มั้ย มีสตินะไม่ใช่ฝึกให้ไม่มีสติ ไม่ใช่ฝึก(เสียงกรน)คร้อกบรรลุแล้ว ฝึกให้มีสติหายใจเข้า ฝึกให้มีสติหายใจออก มีสติไปเรื่อยเลย หรือบางทีพิจารณากาย”กายคตาสติ” มีสติไล่ไปในกาย ดูอาการสามสิบสอง ดูอวัยวะต่างๆในร่างกาย มีสติ เห็นมั้ย ไม่ได้บอกให้ขาดสติเลยนะ ไม่ได้ดูเอาแก้วแหวนเงินทอง เอาวิมานสวรรค์อะไรทั้งสิ้นเลย แต่ฝึกให้มันมีสติ รู้ลมหายใจก็ให้มันมีสติ พิจารณากายก็พิจารณาด้วยความมีสติ เรียกว่ากายคตาสติ ทำอะไรๆก็มีสติ คิดถึงพระพุทธเจ้าก็คิดถึงด้วยความมีสติ หัดพุทโธ ๆ แล้วรู้สึกตัวไป นึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตของเราจะทำยังไงพุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราไม่ได้ภาวนาให้เคลิ้มๆ ภาวนาให้รู้สึกตัว ฉะนั้นเราอย่าทิ้งสติ ครูบาอาจารย์เคยสอนบอก “สติจำเป็นในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ”

ฉะนั้นทำสมถะก็ต้องมีสตินะ แต่มีสติอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข อารมณ์อันเดียว ทำไมต้องอารมณ์อันเดียว อารมณ์หลายอันแล้วก็รู้ตัวยาก ปกติจิตมันจะหนีตลอดเวลา วิ่งไปวิ่งมาตลอดเวลา พอเรามาทำสมถะนะ เรามีอารมณ์อันเดียว มาเป็นเหยื่อ เหยื่อล่อจิต อย่างถ้าจะตกปลานะ มีคนโยนเบ็ดพร้อมกันร้อยอัน ปลางงเลยจะกินอันใหนดีใช่มั้ย ว่างมาทางนี้ เอ๊ะ ไม่เอาตัวเล็กไป ว่ายทางนี้ ก็ใหญ่ไปเกินพอดี เกินคำ ไม่เอา วกไปวกมา ไม่ได้กิน ถ้ามีเหยื่ออันเดียวปลาฝูงนึงยิ่งดี มีเหยื่ออันเดียวล่อ จิตของเราปกติร่อนเร่ไปเรื่อยๆ วิ่งไปทางตา วิ่งไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนะ ร่อนเร่ไปเรื่อย เที่ยวแสวงหาอารมณ์ไปเรื่อย เหมือนปลาวิ่งหาเหยื่อไปเรื่อย ว่ายไปเรื่อยๆ เราหาอารมณ์อันนึงที่ชอบใจของปลาตัวนี้มาล่อมัน ไปเอาพุทโธก็ได้ คนไหนพุทโธแล้วสบายใจเอาพุทโธ คนไหนหายใจเข้าหายใจออกแล้วสบายใจเอาลมหายใจ คนไหนดูท้องพองยุบแล้วมีความสุขก็ดูท้องพองยุบไป คนไหนเดินจงกลมแล้วมีความสุขก็เดินไป ไม่ใช่เดินทรมาน เดินไปเครียดไป เดินไปเครียดไป สมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนะ หาอารมณ์ที่สบายๆ อยู่แล้วมีความสุข

อย่างหลวงพ่อนะ ฝึกอานาปานสติมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่เจ็ดขวบ พวกเราส่วนใหญ่ในห้องนี้ยังไม่เกิด หายใจแล้วมีความสุข พอจิตใจมีความสุข จิตจะสงบ จิตมันหิวอารมณ์นะ พอมันได้กินของชอบนะ มันเลยไม่ไปเที่ยวที่อื่น เอาอารมณ์มาล่อ อยู่กับพุทโธ อยู่กับลมหายใจแล้วมีความสุข จิตก็ไม่หนีไปไหน จิตเคล้าเคลียอยู่ แต่ระวังอย่างเดียว อย่าให้ขาดสติ อย่างเราหายใจไป ถ้าใจเคลิ้มก็รู้ทันว่าเคลิ้ม หายใจไปใจฟุ้งซ่านหนีไปคิดเรื่องอื่น รู้ว่าใจฟุ้งซ่านไป ใจก็มีความสุข เคล้าเคลีย สงบอยู่กับลมหายใจ จนกระทั่งลมหายใจมันสว่างขึ้นมา หายใจไปเรื่อยๆ เวลาจะเข้าฌาน ไม่ใช่รู้ลมหายใจหรอกจะบอกให้ พวกเรามั่วๆนะ หายใจแล้วเข้าฌานรู้ลมหายใจแล้วเข้าฌาน ไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอก

ลมหายใจเบื้องต้นเรียกว่า บริกรรมนิมิต รู้ลมไปเรื่อย สบาย จิตใจมีความสุข มันจะสว่างขึ้นมา ความสว่างมันเกิดขึ้นนะ ใจมันสงบลงมา ในทางร่างกายเวลาจิตสงบลงมา เลือดจะมาเลี้ยงสมองส่วนหน้านี้ เลือดจะมาเลิ้ยงตรงนี้เยอะ มันจะให้ความรู้สึกที่สว่างขึ้นมา จิตมันก็สว่างนะ กายมันก็สว่างขึ้นมา ผ่องใส ความสว่างเกิดขึ้นแล้วเนี่ย เอาความสว่างนี้มาเป็นนิมิตแทนลมหายใจได้ ต่อไปความสว่างมันเข้มข้นขึ้นนะ เป็นดวงขึ้นมา ให้เล็กก็ได้ ให้ใหญ่ก็ได้ จิตใจก็มีความสุข สนุก มีความสุขอิ่มเอิบเบิกบาน มีปีติขึ้นมา เข้าฌาน ไม่ใช่หายใจรู้ลมแล้ว (เสียงกรน คร้อก) บอกว่าหายใจจนลมระงับ ถามว่าลมระงับยังไง ลืมไปเลย หลับไปแล้ว บอกว่าไม่มีลมหายใจแล้ว ไม่ใช่นะ

เพราะฉะนั้นหลักของการทำสมถะนะ ก็อย่าทิ้งสติ มีสติไปเรื่อย เวลาจิตรวมก็รวมด้วยความมีสติ ไม่รวมแบบขาตสติ วูบๆวาบๆหรอก รู้เนื้อรู้ตัวตลอดสายของการปฏิบัติเลย รวมลงไปลึกเลย จนร่างกายหายไปเลย ลมหายใจก็หาย ร่างกายก็หาย โลกทั้งโลกก็หายไปหมดเหลือจิตอันเดียว ก็ยังไม่ขาดสตินะ จิตดวงเดียวอย่างนั้น เด่นอยู่อย่างนั้น ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ทำไมต้องมีจิตขึ้นมา โดดเด่นขึ้นมา เพื่อเราจะได้เอาไว้ต่อวิปัสสนา

ฉะนั้นบางคนทำไม่ถึงฌานก็ไม่เป็นไรนะ แค่หัดพุทโธ พุทโธๆ ไป ค่อยๆดูไป พุทโธเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า เห็นมั้ย ใจนั้นค่อยตั้งมั่นขึ้นมา อย่างนี้ใช้ได้ หายใจไปเรื่อยๆ หายใจเข้าหายใจออก อะไรก็ว่าไปเถอะ หายใจไปแล้วเห็นร่างกายมันหายใจ จิตเป็นคนดู อย่างนี้นะถึงจะทำสมถะ เพื่อจะต่อวิปัสสนา คือหายใจไปแล้วมีจิตเป็นคนรู้คนดูขึ้นมา ดูท้องพองยุบไปนะ เห็นร่างกายมันพองเห็นร่างกายมันยุบ จิตเป็นคนดู

เพราะฉะนั้นบทเรียนเรื่องการทำสมาธิเนี่ย ในทางศาสนาพุทธท่านถึงใช้คำว่า “จิตตสิกขา” ทำสมาธิจนกระทั่งเราเห็นจิตของเรา จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ยแหล่ะ พร้อมที่จะไปเดินวิปัสสนาต่อแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าคนไหนจะทำสมถะนะ ก็อย่าให้ขาดสติ หายใจไปเห็นร่างกายหายใจ จิตเป็นคนดู หายใจไปจิตแอบไปคิด รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน ก็มีจิตอีกคนนึงเป็นคนดู เฝ้ารู้ไปจนกระทั่งจิตเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา อย่างนี้เรียกว่าเราทำสมถะเป็น เวลาบางช่วงบางครั้งบางคราวจิตก็เข้าพักสงบ รู้เนื้อรู้ตัวอยู่นะ สงบ ไม่แส่ส่ายไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สงบไม่คิดไม่นึกอะไร ใจว่างสบายสว่าง อันนี้ทำสมถะเต็มที่

ต่อไปก็หัด นั่งสมาธิไปแล้วเห็นจิตเคลื่อนไหวรู้ไปเรื่อยจนจิตตั้งขึ้นมา ตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา อย่างนี้ดี จะเอาไว้ต่อวิปัสสนา นี้พอเราหัดภาวนาไปนะ พุทโธๆ เราเห็นเลย พุทโธเป็นของถูกรู้ จิตเป็นผู้รู้พุทโธ หายใจออกหายใจเข้านะ หายใจไป จนกระทั่งเห็นเลยร่างกายมันหายใจ จิตเป็นผู้รู้ว่าร่างกายหายใจ มีจิตที่เป็นผู้รู้ขึ้นมา จะเดินจงกลมยกเท้าย่างเท้าเห็นร่างกายมันเดินไป จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู ต่อไปพอผู้รู้ผู้ดูมันหายแว้บไป คือมันขาดสติเมื่อไรมันหายเมื่อนั้น สติมันระลึกได้เองเพราะมันเคยรู้จักผู้รู้ผู้ดูเนืองๆ ฉะนั้นเราจะฝึกจนกระทั่งสามารถรู้สึกตัวอยู่ในชีวิตประจำวันได้เนืองๆ เมื่อไรเป็นผู้หลงนะ ก็ขาดผู้รู้ เมื่อไรเป็นผู้รู้ก็ไม่เป็นผู้หลง บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็หลงเป็นผู้คิด บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็เป็นผู้เพ่ง

พอเรามาอยู่ในชีวิตประจำวัน เราเห็นตัวผู้รู้เค้าเกิดดับไปเรื่อยๆ เนี่ย เฝ้ารู้เฝ้าดูอย่างนี้เรื่อยๆ พอใจมันเป็นคนรู้คนดูขึ้นมาได้ มันจะเห็นร่างกายไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นวัตถุ ร่างกายเป็นก้อนธาตุ ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวไป จะเห็นเวทมาทั้งหลายไม่ใช่ตัวเรา ความสุขความทุกข์ทั้งหลาย ความไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหลาย ผ่านมาผ่านไป เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ จนใจของเรามันตั้งมั่น รู้เนื้อรู้ตัวเรื่อยๆ แต่ไม่ได้ตั้งเอาไว้จนแข็งๆรู้ตัวตลอดเวลา อย่างนั้นใช้ไม่ได้ ต้องรู้บ้างเผลอบ้างนะ ถึงจะเห็นว่าตัวรู้เองก็เกิดๆดับๆ

สมัยก่อน หลวงพ่อไปเรียนกับครูบาอาจารย์ เมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อนโน้น เข้าวัดไหนครูบาอาจารย์พูดแต่คำว่า”ผู้รู้” ท่านยังสอนด้วยซ้ำไปว่า ศาสนาพุทธ “พุทธ”แปลว่าอะไร พุทธ (อ่าน พุท-ธะ) แปลว่า”รู้” พุทธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ใจของเราชอบเป็นผู้คิด ใจของเราชอบเป็นผู้หลง เราฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ทำยังไงใจจะเป็นผู้รู้  ถ้ารู้ทันสภาวะที่กำลังปรากฎนะ ใจจะเป็นผู้รู้ขึ้นมา เช่นเผลอไปรู้ว่าเผลอ ใจก็จะเป็นผู้รู้ขึ้นแว้บนึง เป็นผู้รู้ตรงขณะไหน ขณะที่รู้ว่าเผลอ ถัดจากนั้นอาจจะเป็นผู้เพ่ง ใจโกรธขึ้นมานะ รู้ว่าโกรธ ขณะที่โกรธนะ ขณะนึง ขณะที่รู้ว่าโกรธนี่แหล่ะ ใจเป็นผู้รู้ขึ้นมาแล้ว ถัดจากนั้นอยากให้หายโกรธนี่ ใจมีอกุศลแล้ว มีความอยากเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นเราดูใจเราไปเรื่อยนะ ไม่ใช่ผู้รู้ต้องเที่ยงถวร ผู้รู้ไม่เที่ยงหรอก ผู้รู้เองก็เกิดดับ

ครูบาอาจารย์องค์นึงสอนดีมากเลยคือ หลวงปู่หล้า ภูจ้อก้อ บอกเลยว่า ผู้ใดเห็นว่าผู้รู้เที่ยงนะ เป็นมิจฉาทิฐิ จิตผู้รู้ก็ไม่เที่ยงแต่ว่าต้องมีอยู่อาศัยไว้ใช้ปฏิบัติเอา ของเราสังเกตสิ เดี๋ยวใจก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง เมื่อไหร่รู้สภาวะตรงความเป็นจริง ใจก็เป็นผู้รู้ขึ้นมาแว้บนึง เอาแค่แว้บเดียวพอนะ ไม่ต้องตั้งอยู่เป็นชั่วโมงๆ คนที่ตั้งเป็นชั่วโมงๆได้ต้องพวกที่เค้าทรงฌาน ผ่านฌานมาเต็มที่แล้ว เต็มภูมิอย่างน้อยได้ฌานที่สองแล้ว ได้ฌานที่สองใจจะเด่น ออกจากฌานมา ยังเด่นอยู่เป็นวันๆเลย อาศัยสมาธิอย่างนี้ตามรู้ดูกายดูใจได้นาน พวกเราไม่ได้ทรงฌานเนี่ยสมาธิจะอยู่แว้บเดียวๆเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” แต่อาศัย ขณิกสมาธิ เนี่ยแหล่ะทำมรรคผลนิพพานให้เกิดได้ เพราะสมาธิที่ใช้ทำวิปัสสนาจริงๆก็คือ ขณิกสมาธิ นี่แหล่ะดีที่สุดเลย รองลงมาก็คือตัว อุปจาร (คำเต็ม อุปจารสมาธิ) เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ ให้ใจมันตื่นขึ้นมา

วิธีง่ายที่สุดเลย ทำฌานไม่ได้ ทำยังไงใจจะตื่น ใจตื่นก็ตรงข้ามกับใจที่ไม่ตื่น ใจที่ไม่ตื่นคือใจหลับ ใจหลับได้ใจก็ฝันได้ ความฝันของใจก็คือความคิด ถ้าเมื่อไหร่รู้ว่าฝันนะเมื่อนั้นจะตื่น เวลาที่ใจไหลไปคิด ถ้าเมื่อไหร่พวกเรารู้ว่าจิตแอบไปคิดนะ เราจะตื่นขึ้นชั่วขณะนึง รู้ทันว่าจิตไหลไปคิด ขณะที่รู้นั่นน่ะตื่น ไม่เฉพาะหลงไปคิดนะ โกรธขึ้นมาขณะที่รู้ว่าโกรธ ขณะนั้นก็ตื่นเหมือนกัน แต่ตัวนี้ดูยากกว่า ใจของเราหลงคิดทั้งวัน มันดูง่ายกว่า อย่างจะดูจิตที่โกรธนะ แล้วก็ตัวรู้ว่าโกรธ วันนี้ยังไม่โกรธใครเลยเนี่ย จะภาวนายังไง แต่มีมั้ยวันใหนชั่วโมงไหนที่ไม่คิดมีมั้ย ไม่มีเลย จิตที่คิดคือจิตฟุ้งซ่าน เป็นจิตมีโมหะเค้าเรียกว่า “อุทธัจจะ” โมหะชนิด อุทธัจจะ จิตมันฟุ้งซ่าน เป็นจิตที่เกิดบ่อยที่สุดเลยจิตฟุ้งซ่านเนี่ย

เราเอาตัวที่เกิดบ่อยเนี่ยแหล่ะมาหัดทำกรรมฐาน เราจะได้ทำกรรมฐานบ่อยๆ เพราะฉะนั้นจิตไหลไปคิดแล้ว อ้อ หลงไปแล้ว มีคำว่า “แล้ว” นะ ทำไมต้องมี แล้ว ด้วย หมายถึงว่า หลงไปก่อน ไม่ได้ห้ามหลง หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง หลายคนภาวนาผิดนะ ไปจ้องรอดู ไหน เมื่อไหร่จะหลง เมื่อไหร่จะหลง จ้องใหญ่ ขณะที่รอดูนั่นหลงเรียบร้อยแล้วนะ ไม่มีวันรู้เลยว่าหลงเป็นยังไงเพราะหลงไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นให้มันหลงไปก่อนให้มันเผลอไปคิดก่อน แล้วก็ค่อยรู้ว่าเผลอไป หลงไป ให้มันโกรธไปก่อน ให้มันโลภไปก่อน แล้วก็รู้ว่ามันโกรธ​รู้ว่ามันโลภ นี่หัดรู้อย่างนี้บ่อยๆรู้ไปแล้วจะได้อะไร เห็นมั้ย คำสอนในศาสนาพุทธละเอียดนะ จะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำอย่างไรบอกแล้วนะ อย่างถ้าจะดูจิตดูใจเนี่ย ตามดูไป ให้สภาวะเกิดแล้วก็ตามรู้ไป หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง โกรธไปก่อนแล้วรู้ว่าโกรธ ตามดูไปเรื่อยๆ เราจะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำแล้วได้ผลอะไร ถ้าเราตามดูไปเรื่อย เราจะเห็นเลย เดี๋ยวจิตก็หลงเดี๋ยวจิตก็รู้  เดี๋ยวหลงเดี๋ยวรู้ นานๆจะมีอย่างอื่นแทรก เดี๋ยวโลภขึ้นมาเราก็รู้ หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ อ้าว เดี๋ยวโกรธขึ้นมา อีกแล้ว นานๆจะมีโลภแทรก นานๆจะมีโกรธแทรกที แต่หลงนี่มันยืนพื้นเลย มันเป็นกิเลสยืนพื้นเลย

ดังนั้นเราคอยรู้ทันเรื่อยๆ ไม่ใช่รู้เพื่อจะไม่ให้หลง แต่รู้เพื่ออะไร รู้เพื่อจะรู้ว่าเมื่อกี้จิตเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้จิตเป็นอีกอย่างหนึ่ง เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตโลภตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ ไม่ใช่ฝึกเพื่อจะไม่ให้โลภ ไม่ให้โกรธ ไม่ให้หลง จะฝึกเพื่อให้เห็นว่า เมื่อกี้เป็นอย่างนึง เดี๋ยวนี้เป็นอย่างนึง นี่คือการเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของสภาวะธรรมนั่นเอง เห็นมั้ยเมื่อกี้จิตหลง ตอนนี้จิตหลงดับไปแล้ว เกิดจิตที่รู้ขึ้นมา เห็นมั้ยเมื่อกี้เป็นจิตโกรธ ตอนนี้เกิดเป็นจิตที่รู้ จิตโกรธดับไปแล้ว จิตที่รู้อยู่ไม่นาน เกิดจิตหลงขึ้นมาแทนอีกแล้ว เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ ฝึกไปเรื่อยๆ

ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกปฏิเสธ สิ่งที่ไม่ดีแต่ฝึกจนเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาให้จิตรู้นี้ เป็นของชั่วคราวทั้งสิ้น จิตโลภก็โลภชั่วคราว จิตโกรธก็โกรธชั่วคราว จิตหลงก็หลงชั่วคราว ทำไมหลงชั่วคราวเพราะมีตัวรู้มาคั่น มีจิตรู้มาคั่น เราก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลยมันก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลย มันก็จะมีแต่จิตหลง หลงทั้งวัน หลงทั้งคืน เราจะรู้สึกว่าหลงแล้วเที่ยง จะไม่เห็นหรอกว่ามันเป็นไตรลักษณ์ แต่เรามีรู้ขึ้นมานะ เพื่อจะเห็นหลงมันขาดเป็นท่อนๆ หลงไปหนึ่งนาทีแล้วรู้สึกตัวแว้บ เราเห็นเลยชีวิตที่หลงนะมันจบไปแล้ว มันเกิดชีวิตใหม่ที่รู้สึกตัว เสร็จแล้วหลงไปอีกห้านาที ก็รู้สึกอีกทีนึง หลงไปอีกชั่วโมงรู้สึกอีกที ต่อไปฝึกไปเรื่อยๆนะ หลงสามวินาทีรู้สึก หลงสองวินาทีรู้สึก ยิ่งฝึกเก่งนะยิ่งหลงบ่อย หลงแว้บรู้สึก ฝึกไปเรื่อย ไม่ใช่ฝึกไม่ให้หลง ไม่ได้ฝึกห้ามหลง ไม่ได้ฝึกที่จะให้รู้ตลอดเวลา แต่ฝึกเพื่อให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วล้วนแต่ดับทั้งสิ้น

ปัญญาแก่รอบต่อไปอีก ก็จะเห็นอีกว่า จิตจะรู้หรือจิตจะหลงนะ ห้ามมันไม่ได้ บังคับมันไม่ได้ นี่คือการเห็นอนัตตา เราสั่งมันไม่ได้ มันไม่ใช่เราหรอก จิตจะหลง มันก็หลงของมันเอง จิตจะโลภ ก็โลภของมันเอง จิตจะโกรธ ก็โกรธของมันเอง จิตจะเป็นยังไงมันก็เป็นของมันอย่างนั้นแหล่ะ จิตจะรู้ขึ้นมา ก็รู้ได้เอง จงใจรู้ก็ไม่ใช่อีกแล้ว แต่เราก็ต้องฝึกจนกระทั่งมันได้รู้ขึ้นมานะ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนี่ฝึกให้มันมีรู้ก่อน

บางคนได้ยินหลวงพ่อพูด หลวงพ่อเล่าให้ฟังนะว่า ตอนหลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดุลย์ครั้งสุดท้าย สามสิบหกวันก่อนท่านมรณะภาพ หลวงปู่ดุลย์สอนหลวงพ่อ พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ ออกจากหลวงปู่ดุลย์นะ อีกวันไปหาหลวงพ่อพุธ หลวงพ่อพุธก็บอกท่านไปหาหลวงปู่ดุลย์มา หลวงปู่ดุลย์สอนอย่างเดียวกันนี้ บอก เจ้าคุณการปฏิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ สอนอย่างนี้ พอได้ยินอย่างนี้นะเลยพยายามทำลายผู้รู้ทั้งๆที่ผู้รู้ยังไม่มีเลย มีแต่ผู้หลงแต่หาทางทำลายผู้รู้ สติแตกสิ

ตอนนี้อย่าเพิ่งทำลายผู้รู้นะ ไม่ใช่เวลาทำลายผู้รู้ เอาไว้ให้ได้พระอนาคาก่อนแล้วค่อยพูดเรื่องทำลายผู้รู้ ตอนนี้เรายังไม่ได้ เราก็ยังไม่ทำลาย เราต้องมีผู้รู้ไว้ก่อน สังเกตมั้ยเดี๋ยวจิตก็รู้ เดี๋ยวจิตก็หลง เดี๋ยวจิตก็โลภ คอยรู้สึกไปเรื่อย รู้ัมันจะมีทีละแว้บ มีรู้อย่างนี้บ่อยๆ มีรู้ขึ้นมาเพื่อตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นช่วงๆ ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตตรงนี้รู้ เห็นมั้ยหลงต้องใหญ่หน่อย รู้ต้องนิดเดียว เป็นธรรมชาติอย่างนั้น ไม่ใช่ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตเดี๋ยวนี้รู้ ปัจจุบันไม่โตขนาดนี้ คำว่าปัจจุบันน่ะเล็กนิดเดียว ชิวิตที่รู้ลงมาคือชีวิตที่อยู่กับปัจจุบันได้ ขณะแว้บเดียวต่อหน้าเท่านั้น เล็กๆ ไม่มีรู้ยาวเท่านี้ (หลวงพ่อวาดมือ) รู้เที่ยงสิรู้อย่างนี้ รู้เที่ยงก็มิจฉาทิฐิ จริงๆรู้เกิดวับก็ดับ วับก็ดับ ดังนั้นเราฝึกนะจนกระทั่งเรารู้สึกขึ้นมา

วิธีที่จะให้รู้ขึ้นมาก็คือ คอยไปหัดรู้ทันเวลาใจหลงไปคิด อันนี้เป็นการบ้านที่ง่ายๆเลย เพราะจิตที่หลงคิดคือจิตที่เกิดบ่อยที่สุด จิตโลภจิตโกรธอะไรนี่มีน้อยนะ จิตหลงเนี่ยมีทั้งวันเลย เพราะในขณะที่โลภ ในขณะที่โกรธเนี่ยต้องมีหลงประกอบอยู่ด้วย ถ้าไม่หลงจะไม่มีโลภ ถ้าไม่หลงจะไม่โกรธ เพราะฉะนั้นจิตหลงเนี่ยเป็นตัวสาหัสสากันเลย ถ้าเราเรียนเรื่องจิตหลงได้ เราจะภาวนาได้ทั้งวัน

กรรมฐานนะ เราควรจะเลือกกรรมฐานซึ่งมันเกิดบ่อยๆ เราจะได้ดูบ่อยๆ อย่างใจเราหลงเนี่ยหลงทั้งวัน แล้วก็รู้ ใจหลงไปแล้วรู้  มันจะเห็นสลับกันเร็ว เคยมีนะ ตอนอยู่เมืองกาญฯ มีหนุ่มคนนึงมาถามหลวงพ่อ ผมใช้สิ่งอื่นนอกจากในสติปัฏฐานได้มั้ย ที่จะมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน ถามว่าจะใช้อะไร ถ้าฟ้าร้องแล้วผมจะรู้สึกตัว ปีนึงมันร้องกี่ครั้งนะ นานมาก บางวันก็ไม่ร้องตั้งหลายเดือน แสดงว่าตลอดมาเนี่ยเอ็งไม่มีสติเลยใช่มั้ย เอ็งจะมีสติตอนหน้าฝนอย่างเดียว อย่างงี้ใช้ไม่ได้

พวกเราไปดูสิอารมณ์ในสติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะ เป็นอารมณ์ที่เกิดตลอดเวลา หายใจออก หายใจเข้านี่ หายใจทั้งวันมั้ย ถ้าหายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวทั้งวัน ยืน เดิน นั่ง นอน มีทั้งวันใช่มั้ย ไม่ยืนก็เดิน ไม่เดินก็นั่ง ไม่นั่งก็นอน อะไรนี้ เวียนไปนี้ ถ้า ยืน เดิน นั่ง นอนรู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวได้เกือบทั้งวันแล้ว ยกเว้นอิริยาบถประหลาดๆ เช่น กระโดดอะไรนี้นะ หรือไปว่ายน้ำ เป็นอิริยาบถ แปลกๆไป ท่านก็สอนล็อกไว้อีกอันนึงเรื่องสัมปชัญญะ เคลื่อนไหวแล้วรู้สึก ก็เคลื่อนไหวแล้วก็หยุดนิ่ง หยุดนิ่งแล้วก็เคลื่อนไหว ถ้าหยุดนิ่งก็รู้สึก เคลื่อนไหวก็รู้สึก ก็รู้สึกตัวได้ทั้งวันแล้ว อารมณ์ที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะเกิดทั้งวัน อารมณ์เวทนาล่ะ มีทั้งวันมั้ย สุข ทุกข์ เฉยๆก็หมุนอยู่อย่างนี้ทั้งวันใช่มั้ย ถ้าสุขก็รู้ตัว ทุกข์ก็รู้ตัว เฉยๆก็รู้ตัว ก็คือรู้ตัวได้ทั้งวัน ดูจิตดูใจล่ะ จิตหลงไปแล้วรู้ เกิดได้ทั้งวัน หลงทั้งวัน ยกเว้นบางคนนั้นขี้โลภ เจออะไรมันก็อยากตลอดเวลาเลย ความอยากเกิดถี่ยิบเลยทั้งวัน พวกนี้ก็เอาความอยากเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่เดี๋ยวมันอยากแว้บอยากดู รู้ทัน อยากฟังรู้ทัน อยากคิดรู้ทัน พวกโลภมากนะ ดูอยากเป็นวิหารธรรม มีจิตที่อยากกับจิตที่ไม่อยาก คู่เดียวก็พอแล้ว เกิดทั้งวันแล้ว คนไหนขี้โมโหนะ อะไรนิดนึงก็โมโห อะไรนิดนึงก็ขัดใจ ก็เอาจิตที่มีโมโหนี่แหล่ะมาเป็นวิหารธรรม จิตโกรธขึ้นมาก็รู้ ขณะที่รู้ว่าโกรธนั้นคือจิตที่รู้ จิตนั้นมันโกรธ เดี๋ยวก็โกรธอีก เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ เห็นมั้ยมันจะเกิดทั้งวัน

เพราะฉะนั้นอารมณ์กรรมฐานที่เราใช้นั้นต้องเป็นอารมณ์ที่เกิดทั้งวัน เราจะได้มีสติได้ทั้งวัน หายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว เผลอไปรู้สึกตัว รู้ รู้ทันว่าเผลอ ก็รู้สึกตัว ก็เป็นจิตที่รู้ขึ้นมา ก็รู้ว่ามีจิตที่รู้อยู่ ทุกอย่างเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอด เวลา เราทำไปเพื่อให้เห็นว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับ ไม่ใช่ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบเช่น เราเห็นว่าร่างกายที่หายใจออก เกิดขึ้นมาแล้วดับไป กลายเป็นร่างกายที่หายใจเข้า ร่างกายที่หายใจเข้าเกิดแล้วก็ดับ กลายเป็นร่างกายที่หายใจออก ร่างกายที่ยืน ที่เดิน ที่นั่ง ที่นอนนี่ ก็คือร่างกายที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ หรือความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆนะ ก็แสดงความหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ความหลงไปกับความรู้สึก หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ ก็แสดงความเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ ภาวนาเพื่อให้เห็นสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบอะไรหรอกนั่นตื้นไป แต่ภาวนาเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ มันมีแต่ความไม่เที่ยง ในกายในใจนี้ มีแต่ความทนอยู่ไม่ได้ในสภาวะ อันใดอันหนึ่ง อยู่ไม่ได้ตลอดหรอก ไม่นานก็ต้องเสื่อมไป

มีแต่เรื่องบังคับไม่ได้นะ สั่งไม่ได้ ร่างกายก็ไม่ใช่เรานะ เป็นแค่วัตถุอันนึง จิตใจก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง สั่งมันไม่ได้ นี่ภาวนาอย่างนี้ สุดท้ายจะได้อะไรขึ้นมา จะเห็นเลยว่า ทั้งกาย ทั้งใจ ทั้งขันธ์ห้านี้เป็นทุกข์เป็นโทษทั้งหมดเลยนะ ไม่ใช่ของดีของวิเศษหรอก อย่างร่างกายนะ ประคบประหงมมันอย่างดีเลย ให้มันมีความสุข ไม่นานเลยมันก็ทุกข์อีกแล้ว นี่อย่างนี้ดูไปเรื่อย มันเอื่อมระอา มันไม่ยึดกายแล้ว จิตใจก็เหมือนกันนะ อุตสาห์ทำความสงบเข้ามา ไม่นานก็ฟุ้งอีกแล้ว ทำดียังไงเดี๋ยวก็แย่ขึ้นมาอีกแล้ว มีแต่ของไม่เที่ยงนะ เห็นแล้วอิดหนาระอาใจ ในที่สุดไม่ยึดจิตใจด้วย

สุดท้ายไม่ยึดทั้งกายไม่ยึดทั้งใจ ก็ไม่ยึดสิ่งใดในโลกนะ จิตก็หลุดพ้นจากความยึดถือ เรียกว่าวิมุตตินะ จิตหลุดพ้น หลุดแล้วจะได้อะไร ได้เห็นนิพพาน แต่ไม่เป็นเจ้าของนิพพานนะ นิพพานไม่เป็นของใคร นิพพานเป็นธรรมดาของโลกอยู่อย่างนั้น เป็นธรรมะประจำโลกอยู่อย่างนั้น แต่ว่าผู้ใดไปเห็นนิพพานผู้นั้นมีความสุขนะ จิตที่ไปรู้นิพพานนั้นมีบรมสุขที่สุดเลย มันพ้นความดิ้นรน พ้นความปรุงแต่ง พ้นความหิวโหย พวกเราค่อยๆฝึกนะ

วันนี้เทศน์มาตั้งแต่เช้าเนี่ยเรื่องอะไรบ้าง หวังว่าการปฏิบัติต้องรู้นะว่าเราจะทำอะไร ก็มีสมถะกับวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร ทำสมถะนะก็เพื่อให้มีกำลังไปทำวิปัสสนา หรือว่าบางครั้งก็ใช้พักผ่อนนิดๆหน่อยๆ พอมีเรี่ยวมีแรงสดชื่นแล้วก็ไปทำวิปัสสนา ทำอย่างไรนะ สมถะ เนี่ย ให้จิตไปอยู่ในอารมณ์ที่สบายแล้วจิตจะสงบ วิปัสสนานะให้ตามรู้ความเปลี่ยนแปลงของกายของใจไป ใจเป็นแค่คนรู้คนดูไปเรื่อย โลภขึ้นมาแล้วรู้ โกรธขึ้นมาแล้วรู้ ดูไปเรื่อย รู้แล้วได้อะไร ทำแล้วได้อะไร ถ้าทำสมถะก็ได้ตัวรู้ขึ้นมา ทำวิปัสสนาก็ได้ปัญญาเห็นความจริงของกายของใจ ได้เห็นความจริงแล้วก็หมดความยึดถือ ปล่อยวาง เข้าถึงบรมสุขที่แท้จริง


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๑๓
File: 520809A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตที่มีโมหะ

mp3 (for download) : 460331A_moha

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

จิตที่มีโมหะ

จิตที่มีโมหะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : โลภะโทสะนี่เห็นง่าย มันหยาบ อย่างโมหะนี่ ใจมันซึมลงไปหน่อยๆ ใจไม่กระปรี้กระเปร่าหรือใจฟุ้งไปนะ อยากปฏิบัติ กำหนดนู่น กำหนดนี่ ทำอย่างนั้นอย่างนี้ เราไม่รู้ว่านั่นน่ะฟุ้งซ่าน เพราะว่าการปฏิบัติจริงๆ เราทำแค่ว่าเราระลึกรู้ทุกอย่างที่ปรากฎตามที่มันเป็น พอเราระลึกรู้ทุกอย่างที่ปรากฎตามที่มันเป็นจริงๆแล้ว มันจะเห็นว่าไม่มีตัวตน เห็นไตรลักษณ์เพราะไม่มีตัวตน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันจันทร์ ที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๖ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒
File: 460331A
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๑๐ถึง นาทีที่ ๔ วินาทีที่  ๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา

Mp3 for download: 530726A_Nirvana

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา

นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา

หลวงพ่อปราโมทย์ : นิพพานเป็นธรรมะที่มีอยู่แล้วนะ เป็นของที่มีอยู่แล้วไม่ใช่ของที่เกิดขึ้นสดๆร้อนๆ เหมือนกิเลสตัณหาทั้งหลายนี่เกิดขึ้นสดๆร้อนๆ  นิพพานมีอยู่แล้วแต่เรามองไม่เห็นเพราะใจของเรามีกิเลสตัณหา ใจของเราเร่าร้อน ใจของเราไม่คู่ควรที่จะเห็นนิพพาน ใจเรามีกิเลสมีตัณหา ใจเราชอบดิ้นรนปรุงแต่งนะ ปรุงดีบ้าง ปรุงชั่วบ้าง ปรุงสุขบ้าง ปรุงทุกข์บ้าง ปรุง กลางๆ ไม่ดีไม่ชั่วไม่สุขไม่ทุกข์บ้างนะ ปรุงตลอดเวลา

จิตใจที่ปรุงอยู่ ฟุ้งซ่านอยู่นั้นเป็นจิตใจที่ไม่คู่ควรกับธรรมะนะ ไม่เห็นนิพพานซึ่งเป็นธรรมะที่พ้นกิเลสพ้นตัณหา พ้นความปรุงแต่ง พ้นความดิ้นรน เมื่อไรจิตเราพ้นจากตัณหาได้เพราะว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้ง นิพพานจะปรากฎขึ้นให้เห็นต่อหน้าต่อตา นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตาอยู่แล้วแต่ไม่เคยเห็น ขณะนี้พวกเราทุกคนนะ นิพพานอยู่กับเราต่อหน้าต่อตานี่แหล่ะแต่พวกเราไม่เห็น เพราะใจของเรายังมีตัณหาอยู่นะ ถ้าเมื่อไหร่ตัณหานี้ดับสนิทลงไปนิพพานจะปรากฎขึ้น นิพพานคือสภาวะที่สิ้นตัณหา สิ้นความอยาก นิพพานมีสภาวะยังไง สิ้นตัณหาสิ้นความอยาก นิพพานสงบ นิพพานมีสันติ ที่นี่ชื่อสวนสันติธรรมนะ ถ้าแปลแล้วสันติธรรมคืออะไรคือนิพพานนะ สวนสันติธรรมนะ สันติก็คือนิพพานนั้นมีสันติลักษณะ สงบ สงบจากอะไร สงบจากกิเลส สงบจากตัณหา สงบจากความปรุงแต่ง สงบจากความทุกข์ สงบจากขันธ์นะ เนี่ย มันจะปรากฎขึ้นต่อหน้าต่อตา

เมื่อไรใจพ้นความปรุงแต่งเมื่อนั้นเราจะเห็นธรรมะที่ไม่ปรุงแต่งคือเห็นนิพพาน ทำนองเดียวกับที่พวกเราเป็น วันใหนจิตใจของเราร่าเริงเบิกบานโลกทั้งโลกดูร่าเริงเบิกบาน วันใหนจิตใจของเราหดหู่เศร้าหมองโลกทั้งโลกดูหดหู่เศร้าหมอง ถ้าวันใดใจของเราพ้นความปรุงแต่ง พ้นความอยากนะ มีความอยากมันก็ปรุงแต่งนะ พ้นความอยากมันก็พ้นความปรุงแต่ง เมื่อนั้นเราจะเห็นความไม่ปรุงแต่งเนี่ย ครอบคลุมโลกทั้งโลกอยู่ ความไม่ปรุงแต่งความสงบความสันติครอบคลุมโลกทั้งโลกนี้อยู่นะ นี่คือตัวนิพพานนะ เป็นความสิ้นทุกข์สิ้นกิเลสสิ้นขันธ์นะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ก่อนฉันเช้า


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๕
File: 530726A
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๓๕ ถึง นาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๕๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่ทราบอารมณ์ปัจจุบัน ควรทำอย่างไร

mp3 (for download) : ไม่ทราบอารมณ์ปัจจุบัน ควรทำอย่างไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ไม่ทราบอารมณ์ปัจจุบัน ควรทำอย่างไร

ไม่ทราบอารมณ์ปัจจุบัน ควรทำอย่างไร

โยม : เวลาที่เราไม่ทราบว่าจิตอยู่ที่ใหน กำลังหลงอารมณ์อะไรอยู่ เราควรทำอย่างไรดีคะ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ก็หัดรู้ทันนะ หัดรู้ทันความรู้สึกของตัวเองไป เราทุกคนสามารถรู้ความรู้สึกของตัวเองได้ ความรู้สึกทุกชนิดเรารู้จักอยู่แล้ว แต่เราละเลยที่จะรู้

มีใครไม่รู้จักว่าโกรธเป็นไงบ้าง มีมั้ย ใครไม่รู้จัก ไม่เคยโกรธ ใครไม่เคยโลภ ใครไม่เคยหลง ใครเคยกลัวบ้าง มีมั้ย ใครเคยกลัว (โยมเริ่มยกมือ) มีคนเดียวเคยกลัว อ้อ มีสองคน สามคน มีใครเคยอิจฉาบ้างมีมั้ย เคยทุกคนแหล่ะ ความรู้สึกทุกชนิดนะเรารู้จักอยู่แล้ว แต่เราละเลยที่จะรู้ว่าตอนนี้ใจของเรารู้สึกอะไร ใจไม่ได้หลงไปใหนนักหนาหรอก เรานั่นแหล่ะไม่ยอมดูเอง ถ้าขยันดู เราก็จะรู้เลยว่าตอนนี้ความรู้สึกของเราเป็นยังไง ความสุขรู้จักมั้ย ความทุกข์ก็รู้จักใช่มั้ย ดีใจ เสียใจ กลัว กังวล รู้จักทุกอย่าง เซ็งรู้จักมั้ย เซ็งกับโกรธเหมือนกันมั้ย ไม่เหมือน เห็นมั้ย แยกเป็น ตอนนี้ความรู้สึกเป็นยังไง

รู้ลงไป รู้ทันความรู้สึกที่กำลังเกิดอยู่ สดๆร้อนๆในใจ ตัวเองนะ ฝึกอย่างนี้แหล่ะ แล้วถึงจะเข้าใจว่าจิตมันเป็นยังไง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ โรงพยาบาลตำรวจ
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่ โรงพยาบาลตำรวจ
File: 540330
ระหว่างนาทีที่  ๓๖ วินาทีที่ ๕๘ ถึง นาทีที่ ๓๘ วินาทีที่ ๓๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คนในสังคมไม่มีศีลก็อย่าไปตามแบบเขา ตัวเราให้มีศีลไว้

mp3 (for download) : คนในสังคมไม่มีศีลก็อย่าไปตามแบบเขา ตัวเราให้มีศีลไว้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

คนในสังคมไม่มีศีลก็อย่าไปตามแบบเขา ตัวเราให้มีศีลไว้

คนในสังคมไม่มีศีลก็อย่าไปตามแบบเขา ตัวเราให้มีศีลไว้

หลวงพ่อปราโมทย์ : มาวัด มาหาคุณงามความดีใส่ตัวให้เป็นสมบัติติดตัวไป ควรจะมาเพื่อขัดเกลากิเลส กิเลสท่วมโลก มีแต่ธรรมะของพระพุทธเจ้านะ พอจะสู้กิเลสไหว แต่คนที่สนใจธรรมะมีไม่มาก ธรรมะถึงขั้นสู้กิเลส ต้องขั้นเจริญปัญญาถึงจะสู้กิเลสได้จริงๆ ธรรมะระดับรักษาศีลก็ธรรมะเหมือนกัน สู้กิเลสหยาบๆ ได้ ไม่ฆ่ากัน ไม่ตีกัน ไม่ใส่ร้ายกัน สังคมก็ดูดีขึ้นนะ  แต่ขั้นศีลก็ดีถมไปแล้ว

ในยุคซึ่งคนไม่มีศีล บ้านเมืองไม่มีศีลน่ากลัวเหลือเกิน เราเหมือนไม่มีที่พึ่งเลย ไม่มี มองอนาคตไม่ออก คนไม่มีศึลซะอย่างเดียว นี่เราทำทุกคนให้มีศีลไม่ได้ ต้องอยู่กับคนไม่มีศีลนั่นแหละ เบียดเบียนกันทุกหัวระแหง ศึลเป็นเครื่องสู้กิเลสขั้นหยาบที่สุด ถ้าพลาดจากศีลไม่ได้เป็นมนุษย์นะ ถึงร่างกายยังป็นมนุษย์อยู่ แต่ใจไม่ใช่มนุษย์หรอก ในใจคิดมุ่งร้าย ประหัดประหารมุ่งทำลายกัน หัวใจของสัตว์นรก มีสัตว์นรกอยู่พวกหนึ่งนะชื่อนรกโลกันต์ โลกันตนรก เป็นอยู่ระหว่างรอยต่อของแกแลตซี่ ในที่แสงสว่างส่องไปไม่ถึง สัตว์พวกนี้อยู่ในความมืด มันคลานไปเรื่อยๆ มันเจอกันมันก็จับกิน สู้กัน กินกันเอง

ตอนนี้ก็คล้ายๆ เข้าไปทุกทีแล้ว อยู่ในความมืด มืด ไม่มีสติมีปัญญาเลย ประหัดประหารห่ำหั่นทำร้ายกัน รับจ้างทำร้ายกันก็มีนะ สังคมไม่มีศีลก็ร้อนเป็นฟืนเป็นไฟ เบียดเบียนกันนะ อยู่ยาก แต่เราต้องอยู่กับมัน ไม่รู้เราจะไปอยู่ที่ไหน ก็ต้องอยู่กับมันอย่างนี้แหละ แต่อยู่โดยอย่าไปตามแบบเค้า คนอื่นไม่มีศีลก็ช่างเค้าเถอะ เรามีศีลเอาไว้ เราต้องพัฒนาจิตวิญญาณของเราไป ร่างกายของเรามาเกิดในภูมิมนุษย์นี้ อยู่ไม่นาน อีกไม่กี่สิบปีก็ตายแล้ว บางคนไม่ถึงหรอก บางคนไม่ถึงสิบปีก็จะตายแล้ว เด็กๆ ก็ตายไปเยอะแล้วไม่ใช่เด็กไม่ตาย ไม่ใช่ต้องตายตาม ซีเนียรีตี้ (Seniority ตายตามตามหลักอาวุโส :ผู้ถอด) ไม่ใช่นะ เราอยู่กับมันไม่นานเท่าไหร่หรอกนะ เรามาพัฒนาจิตวิญญาณของเราให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ รักษาศีลไว้นะ แล้วมาฝึกจิต ศึลจะสู้ ราคะ โทสะ โมหะ ไม่ให้ ราคะ โทสะ โมหะ มาบงการพฤติกรรมทางกาย ทางวาจาของเราได้ แล้วจะไม่เบียดเบียนคนอื่นหรอก

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔ หลังฉันเช้า

CD: ๔๑
File: 540730B
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๐๑ ถึงนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

โทสะมีหลายแบบ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

Mp3 for download: anger 530522

หลวงพ่อปราโมทย์ : โทสะมีหลายแบบ ความโกรธเป็นโทสะ ความกังวลเป็นโทสะ ความกลัวเป็นโทสะ ความตระหนี่เป็นโทสะ ความเศร้าโศกเสียใจคร่ำครวญเป็นโทสะ เพราะงั้นโทสะมีหลายรูปแบบนะ อาฆาตพยาบาทนี่ตระกูลโทสะ อาศัยสตินี่เองรู้ทันใจของเรา โทสะเกิดขึ้นในใจเรารู้ทัน ถ้ารู้ไม่ทันนะ ใจมันจะเกิดความอยากไปตามอำนาจของโทสะอีก

เราคอยรู้ทัน เช่นมันโกรธคนนี้ มันก็อยากตีหัวเขา แค่ความโกรธเกิดขึ้นในใจ ความทุกข์ก็เกิดละ เมื่อไหร่กิเลสเกิดขึ้นที่ใจนะ ความทุกข์มันก็เกิดในใจละ มันเบียดเบียนจิตใจให้เสียสมดุลย์ของความเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน โทสะเกิดขึ้นเราคอยรู้ทันไปนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๕
File: 530522
ระหว่างนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๒๒ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๒๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การเดินมรรค

Mp3 for download: การเดินมรรค

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

การเดินมรรค

การเดินมรรค

หลวงพ่อปราโมทย์ : ใจลอยไปแล้วรู้ ใจฟุ้งซ่านไปแล้วรู้ ใจฟุ้งไปแล้วรู้ รู้อย่างนี้เรื่อยนะ ใจจะตั้งมั่นขึ้นมา สมาธิชนิดนี้คือความตั้งมั่น คือ พูดภาษาไทยง่ายๆ นะ คือ จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมเนื้อลืมตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้วถัดจากนั้นเรามาเดินสติปัฏฐานที่ให้เกิดปัญญา

พอจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้ว สติระลึกรู้ลงในรูปธรรมนะ จะเห็นรูปธรรมไม่ใช่ตัวเรา สติระลึกรู้ลงในเวทนา จะเห็นว่าเวทนาไม่ใช่ตัวเรา ในขณะที่ใจเราตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว เป็นผู้รู้ผู้ดู จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูนี่แหละ เรียกว่ามีสมาธิล่ะ แล้วก็สติเกิดระลึกรู้ เห็นเวทนาทางใจ ก็จะเห็นว่าเวทนาทางใจไม่ใช่เรา สติระลึกรู้เห็นกุศลเห็นอกุศล จะเห็นว่ากุศลและอกุศลไม่ใช่เรา

ทีนี้ตัวผู้รู้เนี่ย มันจะรู้สึกเหมือนกับทรงอยู่ แต่ถ้าทำแค่ขณิกสมาธิเนี่ย ตัวผู้รู้จะไม่อยู่นาน ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้คิด ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้หลงไปเลย ไม่รู้คิดเรื่องอะไร ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง ตัวผู้รู้เองก็เกิดดับ จิตนี้เองเกิดดับ ไม่เที่ยงด้วย ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์เท่าๆกับขันธ์อื่นๆนั่นเอง เนี่ยการเดินปัญญาทำอย่างนี้นะ รู้ลงไปในกาย  มีสติระลึกรู้กายที่กำลังปรากฏอยู่ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ลืมเนื้อลืมตัว เนี่ยคือจิตที่มีสมาธิได้มาด้วยการทำฌาณก็ได้นะ ได้มาด้วยการรู้ทันจิตที่ไหลไปๆ แล้วรู้บ่อยๆ เนี่ย มันจะตั้งมั่นขึ้นเอง พวกเราใจไหลไปแล้วรู้ ไหลแล้วรู้เนี่ย ใจมันจะมาอยู่กับเนื้อกับตัว

พอใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้วมันจะรู้สึกขึ้นมานะว่า ร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหว ใช้คำว่าร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่เนี่ย ไม่ใช่ตัวเรา ดูกายเนี่ยจะดูลงปัจจุบันขณะนะ  ดูลงขณะปัจจุบันนี้เลย เนี่ยๆ กำลังเคลื่อนอยู่เนี่ย เรารู้ได้มั้ย รู้ได้ เพราะจิตมันเป็นคนไปรู้กาย แต่ว่าการดูจิตเนี่ยจะไม่ดูลงปัจจุบันขณะ การดูจิตจะดูด้วยลักษณะที่เรียกว่า ดูปัจจุบันสันตติ  ไม่เหมือนกันนะ ปัจจุบันขณะก็คือสิ่งที่กำลังปรากฏต่อหน้าต่อตานี้เอง ปัจจุบันสันตติคือสิ่งที่เนื่องอยู่กับปัจจุบัน ปัจจุบันเป๊ะๆไม่ได้ เพราะจิตนั้นรู้อารมณ์ได้ครั้งละอย่างเดียว อย่างร่างกายเคลื่อนไหวเนี่ย จิตดูลงปัจจุบันได้ เพราะจิตมารู้กาย แต่จิตจะไปรู้จิตเนี่ยไม่ได้ จิตจะไปรู้จิตในขณะ ขณะนั้นนะ ในขณะที่เดินปฏิบัติปกติเนี่ยไม่ได้ แต่ในขณะที่เกิดอริยมรรคได้นะ คนละอันกันนะ คนละเรื่อง ที่ท่านว่าจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรคนั้น ท่านพูดถึงอริยมรรคเลย เฮ้อ เหนื่อย เทศน์มันยากมากเลย มัน intensive course

เพราะงั้นดูกายเนี่ยนะ ดูมันลงปัจจุบัน ดูจิตนั้น ดูมันเนื่องกับปัจจุบัน เช่น มันโกรธ พอมันโกรธปุ๊บ สติรู้ว่าโกรธ ในขณะที่จิตมีสติรู้ว่าโกรธเนี่ย ความโกรธนั้นเป็นอดีตไปแล้ว ความรู้ รู้ว่าเมื่อกี้โกรธนั้นเป็นปัจจุบัน ความโลภเกิดขึ้น ความโลภเป็นปัจจุบัน สติรู้ว่าเมื่อกี้โลภ โลภเป็นอดีตละ จิตที่มีสตินี้เป็นปัจจุบัน

จิตที่มีสติมันเกิดตามหลังจิตที่มีกิเลสนะ เพราะงั้นตรงที่มีกิเลสเนี่ย ดูไม่ได้ เพราะในขณะที่กิเลสเกิดเนี่ย สติไม่มี ในขณะที่มีสติน่ะไม่มีกิเลส เพราะงั้นการที่เราเห็นว่าจิตมีกิเลสน่ะ เราเห็นตามหลังทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นการดูจิตนี่นะ จะตาม แต่ตามแบบติดๆนะ เมื่อวานโกรธวันนี้รู้ไม่เรียกว่าปัจจุบันสันตตินะ เพราะว่าห่างไกลมาก นั่นเป็นอดีตสันตติแล้วไม่ใช่ปัจจุบันละ

เพราะงั้นการดูจิตนะ ดูแบบติดๆ เลย โกรธขึ้นมาก่อน รู้ว่าโกรธ นี่เห็นหางความโกรธๆไหวๆ หายแว้บไปต่อหน้าต่อตา นี่ เห็นหางเท่านั้นนะ ไม่เห็นตัวมันหรอก งั้นดูอย่างนี้นะ ดูไปเรื่อย แต่จิตต้องตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู ตัวนี้แหละคือตัวสัมมาสมาธิ จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู สติระลึกรู้กายลงเป็นปัจจุบัน สติตามรู้จิตที่ดับไปสดๆร้อนๆ นะ เนี่ยในขณะที่เดินมรรคเขาเดินกันอย่างนี้ ในขณะที่เกิดอริยมรรคเป็นอีกแบบนึง คนละเรื่องกัน อย่าไปปนกัน

พอเราเจริญมากๆนะ จะได้อะไร จะได้ตัวของปัญญา ปัญญา คือสัมมาทิฐิ คือสัมมาสังกัปปะ สัมมาทิฐิคือความเห็นแจ้งในอริยสัจจ์ รู้ว่าตัวตนไม่มีหรอก ตัวตนมีแต่ทุกข์ ขันธ์มีแต่ตัวทุกข์ ขันธ์ไม่ใช่ตัวตน พอมีอย่างนี้นะใจมันก็ดำริออกจากกาม ดำริออกจากพยาบาท ดำริออกจากการเบียดเบียน ก็ตัวเราไม่มีจะมีกามไปทำไม จะพยาบาททำไม จะเบียดเบียนยังไง ใจก็พ้นจากกิเลส พ้นจากทุกข์ พ้นจากทุกสิ่งทุกอย่างไป

เนี่ยวันนี้เทศน์เรื่องมรรคให้ฟังนะ มรรคมีหนึ่งนะ แต่มีองค์แปด แต่ไม่ได้มีแปดมรรคนะ ถ้าแปดมรรคเรียกมักมาก มรรคมีหนึ่งเท่านั้นแต่มีองค์แปด คล้ายๆ แมงมุมมีหนึ่งตัวแต่มีแปดขา หักออกขานึงก็พิการละ ใช้ไม่ได้ อริยมรรคจะไม่เกิดนะ ถ้าขนาดส่วนใดส่วนหนึ่ง

เพราะฉะนั้นส่วนแรกเลยที่ต้องรักษาคือศีล จำไว้นะ ตั้งใจ แล้วพยายามดำรงชีวิตอย่างสุจริต พยายามฝึกจิตฝึกใจไปเรื่อย คอยรู้ทันจิตไป กิเลสเกิดรู้ทัน อย่าให้มันครอบงำ รู้ทันกิเลสได้บ่อยๆ ใจก็มีกุศลมากขึ้นๆ แล้วก็หัดรู้สภาวะของรูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย จนกระทั่งสติมันเกิด แล้วก็ฝึกจิตไป จิตไหลไปแล้วรู้ๆ สมาธิก็เกิด ในที่สุดก็มีสมาธิ มีสติรู้รูปรู้นามตามความเป็นจริงด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางคือจิตมีสมาธิ เมื่อมีสติรู้รูปรู้นามรู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางมากพอ ปัญญาจะเกิด จะเห็นแจ้งว่ารูปธรรมนามธรรมไม่ใช่ตัวตน เป็นแต่ตัวทุกข์ล้วนๆ ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ล้วนๆ พอปล่อยวางได้นะ คุณงามความดีทั้งหลายเนี่ยสมบูรณ์แบบหมดเลย ความสุขอันมหาศาลจะเกิดขึ้น

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโชแสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
File: 530425A
ระหว่างนาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๑๑  ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๑๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หากรักษาเนื้อแท้ไว้ได้ นิกายใดก็ทำให้พ้นทุกข์ได้เหมือนกัน

mp3 for download : หากรักษาเนื้อแท้ไว้ได้ นิกายใดก็พ้นทุกข์ได้เหมือนกัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หากรักษาเนื้อแท้ไว้ได้ นิกายใดก็ทำให้พ้นทุกข์ได้เหมือนกัน

หากรักษาเนื้อแท้ไว้ได้ นิกายใดก็ทำให้พ้นทุกข์ได้เหมือนกัน

หลวงพ่อปราโมทย์ : มหายานที่ดี เขาก็รักษาเนื้อแท้ของศาสนาพุทธไว้ได้ มหายานไม่ดีก็รักษาไม่ได้ เหมือนเถรวาทเหมือนกันนะ คำสอนที่ดีๆในฝ่ายเถรวาทก็มี แต่คำสอนที่เป็นเนื้องอกก็เยอะมากเลย

อย่างคำสอนนานาชนิดที่มีทุกวันนี้นะ เรื่องแก้กรรมแก้เวร อะไรอย่างนี้ มันไม่ใช่ชาวพุทธแท้ๆ ไม่ใช่คำสอนอย่างพุทธะแท้ๆ พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้สอนแก้กรรมอะไรอย่างนี้

เพราะฉะนั้นในความเป็นจริงก็คือ ตัวเนื้อแท้ของศาสนานะ ของเถรวาทก็มี ของมหายานก็มี ตัวเปลือกที่มาห่อหุ้มจนกระทั่งปิดบังเนื้อแท้ไปเลยก็มี ผู้ใดมีปัญญาก็แหวกเปลือกเข้าไปเห็นเนื้อแท้ได้ เหมือนลูกทุเรียนนะ หน้าตาน่าเกลียดนะ มีหนาม หน้าตาไม่น่าดูเลย แต่เนื้อในดี (จะเข้าถึง-ผู้ถอด)ธรรมะเขาก็ต้องแหวกสิ่งห่อหุ้มเข้าไป เข้าไปในถึงเนื้อใน

ถ้าเข้าไปถึงเนื้อในของธรรมะนะ จะพบว่าไม่มีอะไร กายนี้ว่างเปล่า ใจนี้ว่างเปล่า (ว่างเปล่าจากความเป็นตัวเป็นตน เป็นสิ่งที่ประกอบขึ้นมาด้วยธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ – ผู้ถอด) ทุกสิ่งในชีวิตเราเหมือนภาพลวงตา เป็นแค่ภาพลวงตาเท่านั้นเอง คนที่ไม่รู้ความจริงก็คิดว่ามีจริงๆ เหมือนภาพ ภาพลวงตา เดินอยู่ในทะเลทรายแล้วก็เห็นต้นไม้ อะไรอย่างนี้ เป็นภาพที่ไหนก็ไม่รู้ เดินเข้าไปถึงตรงนั้นก็ไม่มี

ที่จริงแล้วเราอยู่ในโลกที่ลวง เต็มไปด้วยภาพลวงตา เรามาหัดเจริญสติ เราหลุดออกจากโลกของความฝัน หลุดออกจากโลกของภาพลวง มาอยู่ในโลกของความเป็นจริง โลกของความเป็นจริงก็คือ ร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก จิตใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา สิ่งที่เรียกว่าตัวเราไม่มี ไม่มีความหมายอะไรเลย

*หมายเหตุ ในฝ่ายมหายานมีคำสอนหนึ่งซึ่งศึกษากันมาก คือ “มายา” ซึ่งจะสอดคล้องกับคำสอนของหลวงพ่อปราโมทย์ในเรื่อง “โลกของความฝัน” – ผู้ถอด

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510315
ระหว่างนาทีที่ ๑ วินาทีที่ ๓๒ ถึงนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๓๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ศัตรูที่แท้จริง

Mp3 for download: ศัตรูที่แท้จริง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ศัตรูที่แท้จริง

ศัตรูที่แท้จริง

หลวงพ่อปราโมทย์ : ศัตรูของเรามีนะ แต่ไม่ใช่คนอื่นหรอก ศัตรูที่ทำให้เราทุกข์ก็คือกิเลสในใจเราเอง มีกิเลสขึ้นเมื่อไหร่ ใจก็ทุกข์แหละ งั้นศัตรูอยู่ตรงนี้เอง อย่าไปเห็นคนอื่นเป็นศัตรูเลย

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๕
File: 530522
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๓๕ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่ได้ฝึกเพื่อจะทำอะไร แต่ฝึกให้รู้ทันว่าจิตแอบไปทำ

mp3 for download : ไมได้ฝึกเพื่อจะทำอะไร แต่ฝึกให้รู้ทันว่าจิตแอบไปทำ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ไม่ได้ฝึกเพื่อจะทำอะไร แต่ฝึกให้รู้ทันว่าจิตแอบไปทำ

ไม่ได้ฝึกเพื่อจะทำอะไร แต่ฝึกให้รู้ทันว่าจิตแอบไปทำ

โยม : แต่พอ หลังจาก 2 – 3 วัน ก็ปรากฎว่า มันค่อยๆหายไปแล้ว จนถึงตอนนี้ก็คือ เหมือนทำอะไรไม่เป็นแล้ว

หลวงพ่อปราโมทย์ : ก็ดีแล้วนี่ ก็ไม่ต้องทำอะไร นะ ก็รู้ตัวไปอย่างนี้แหละ รู้ว่าไม่ได้ทำอะไร รู้ว่าทำอะไร รู้ว่าทำอะไรไม่ได้

แต่สังเกตมั้ย ใจมันโปร่งๆ โล่งๆ ก็รู้ว่ามันโปร่งๆโล่งๆ เพราะมันไม่ได้ทำอะไร เราไม่ได้ฝึกเพื่อจะทำนะ เราฝึกเพื่อรู้ทันว่าจิตแอบไปทำอะไร ฝึกตรงนี้ต่างหาก ไม่ได้ฝึกทำอะไร แต่ฝึกเพื่อรู้ทันว่าจิตแอบไปทำอะไรอยู่ เช่นจิตแอบไปเพ่ง เรารู้ทัน มันก็เลิกเพ่ง จิตแอบไปคิด เรารู้ทัน มันก็เลิกคิดไป จิตปรุงแต่งขึ้นมา เรารู้ทัน มันก็หมดความปรุงแต่งไป

*หมายเหตุ เมื่อรู้ทัน กระบวนการปรุงแต่งต่างๆก่อนหน้านั้นจะดับไป แต่เมื่อดับไปแล้วก็อาจไปปรุงแต่งอย่างเก่ากลับมาได้ใหม่ ให้ตามรู้ตามดูต่อไปเป็นระยะๆ อย่าไปพยายามทำให้ไม่ปรุงแต่ง อย่าไปพยายามทำให้จิตปรุงแต่งแต่กุศล อย่าไปพยายามห้ามจิตไม่ให้มีกิเลส – ผู้ถอด

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510315
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๓๗ ถึงนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๒๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ต้องทำงานที่ผิดศีล ควรวางใจอย่างไร

mp3 for download : ต้องทำงานที่ผิดศีล ควรวางใจอย่างไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ต้องทำงานที่ผิดศีล ควรวางใจอย่างไร

ต้องทำงานที่ผิดศีล ควรวางใจอย่างไร

โยม : คืออย่าง สมมุติถ้าไปเรียนต่ออย่างนี้ครับ คือต้องทำการทดลองในสัตว์ทดลองครับหลวงพ่อ คือว่า คือจะวางใจอย่างไร หรือว่าจะไม่ต้องทำไปเลยดีล่ะครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าไม่ทำได้ก็ไม่ต้องทำสิ ถ้าต้องทำก็ถือว่าทำหน้าที่ไป เราก็ได้รับบาปเล็กน้อย แต่จะไม่มีบาปเลยไม่ได้นะ กรรมเนี่ยมันขึ้นด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง ตัวหลักตัวหนึ่งคือเจตนา เจตนาที่จะทดลองไปตามที่อาจารย์สั่ง หรือเจตนาที่จะฆ่า กิจกรรมอย่างเดียวกันนะ แต่บาปไม่เท่ากัน

เพราะฉะนั้นคนที่ฉลาดก็จะรู้จักการวางจิตให้ถูกแง่ถูกมุมแล้วก็ได้รับโทษน้อย มันเหมือนเราเห็นถ่านไฟแดงๆก้อนหนึ่งเนี่ยนะ สมมุติเราต้องจับ คนโง่ก็ตะปบเข้าไปเลยก็ลวกเยอะ คนฉลาดก็จับอย่างระมัดระวังไฟก็ลวกนิดๆหน่อยไม่ลวกทั้งมือ อะไรอย่างนี้ ถามว่าไฟลวกมั้ย ลวกแต่ไม่มาก เพราะฉะนั้นอยู่ที่เจตนานะ

โยม : แล้วจะทำให้ตกนรกมั้ยครับหลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์ : กรรมที่ประกอบด้วยเจตนานี่นะ เป็นกรรมที่ส่งผลให้ไปเกิดได้ ส่วนกรรมซึ่งเล็กๆน้อยๆพวกนี้ เราไม่ได้มีเจตนาเนี่ย ถ้ายังมีกรรมตัวอื่นที่แรงกว่านะ ตัวนี้ยังไม่ให้ผลที่ทำให้เราไปเกิด ส่วนมากกรรมที่ไม่ได้เจตนาเนี่ย มันจะมาให้ผลหลังจากที่เราเกิดแล้ว

เช่นเราไปชอบทดลองสัตว์ใช่มั้ย วันดีคืนดีเดินไปชนอะไรหัวแตกอะไรอย่างนี้ สมมุตินะ มันจะให้ผลตอนที่มีชีวิตขึ้นมาแล้ว ไม่ใช่ให้ผลตอนไปเกิด เพราะกรรมที่แรงกว่าจะให้ผล

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510315
ระหว่างนาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๓๔ ถึงนาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๒๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ความว่างที่คู่กับความวุ่นยังเป็นที่พึ่งไม่ได้

mp3 (for download): ความว่างที่คู่กับความวุ่นยังเป็นที่พึ่งไม่ได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ความว่างที่คู่กับความวุ่นยังเป็นที่พึ่งไม่ได้

ความว่างที่คู่กับความวุ่นยังเป็นที่พึ่งไม่ได้

โยม : กราบนมัสการค่ะหลวงพ่อ จิตของหนูมันกลัวหลวงพ่อมาก เมื่อตะกี้นี้หลวงพ่อเทศน์ มันสั่นกลัวไปหมดเลย

หลวงพ่อปราโมทย์ : ไม่ได้กลัวหลวงพ่อหรอก กลัวต้องส่งการบ้าน

โยม : หนูไปภาวนาที่เชียงดาวมา 6 อาทิตย์ เพิ่งกลับมาค่ะหลวงพ่อ ตอนนี้หนูเห็นแล้วว่า ถ้าเกิดเมื่อไหร่เรามีความคิด เมื่อนั้นเรามีตัวตน เมื่อไหร่ที่เราอยู่กับ.. มันจะเป็นว่างหลังจากที่เราคิดแล้ว ตรงนั้นไม่มีตัวตน ไม่มีสุขทุกข์ มันไม่มีเราอยู่ในนั้น

หลวงพ่อปราโมทย์ : อย่าไปเอา ว่างตัวนี้ไม่เอานะ ว่างตัวนี้ยังใช้ไม่ได้ มันเป็นว่างที่คู่กับวุ่น ว่างได้ก็ยังวุ่นได้อีก เป็นภพๆหนึ่งที่จิตของเราไปสร้างขึ้นมานะ เพราะฉะนั้นถ้าเราไปติดอยู่ในภพนี้นะ ถ้าสติปัญญาไม่พอเราจะรู้สึกมีความสุขนะ แต่จริงๆแล้วไม่ดีหรอก

เราต้องอยู่กับทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างเท่าเทียมกันนะ จิตปรุงแต่งเราก็อยู่ได้เท่าเทียมกันกับจิตว่างๆ ว่างก็ปรุงแต่งอีกแบบหนึ่ง ความปรุงแต่งมี 3 แบบนะ ปรุงแต่งฝ่ายชั่วเรียกว่าอปุญญาภิสังขาร ปรุงแต่ฝ่ายดีเรียกว่าปุญญาภิสังขาร ปรุงแต่งว่างๆเนี่ยเรียกอเนญชาภิสังขาร รากเหง้าอันเดียวกันเลยคืออวิชา อย่าเอาตัวนี้เป็นที่พึ่งที่อาศัยนะ ไม่งั้นจะหนีโลก

โยม : แล้วเวลาที่จิตของเราเข้าไปอยู่ตรงนั้นสักพักหนึ่ง แล้วมันก็ถอยออกมา คือเหมือนกับว่า มันจะมีความคิดแทรกเข้ามาอย่างนี้

หลวงพ่อปราโมทย์ : นั่นแหละ จิตมีหน้าที่คิดนะ กระทั่งจิตพระอรหันต์ก็คิด ทำไมไม่มีตัวตนล่ะ ทำไมไม่มีความทุกข์ล่ะ เพราะฉะนั้นตัวที่ชี้ขาดว่าจะทุกข์หรือไม่ทุกข์นี้ ไม่ใช่คิดหรือไม่คิดหรอก แต่เข้าใจหรือไม่เข้าใจต่างหาก

โยม : คือเรารู้มันลงไปว่าตรงนั้นมันเป็นแค่ภพๆหนึ่งหรือคะหลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ใช่ๆ หนูรู้ ดูไปนะ ว่างๆนั้นเป็นภพๆหนึ่งเท่านั้น เอาเป็นที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้นะ ภพตัวนี้ชื่อ อากาสานัญจายตนะ ภพตัวนี้ แล้วสังเกตดูภพตัวนี้มีจิตเป็นคนดู ถ้ามาสังเกตที่สิ่งที่ถูกรู้เนี่ย จะเป็นความว่าง ถ้ามาสังเกตที่จิต มีจิตเป็นคนดู ถ้าจงใจอยู่ในว่าง ติดอยู่ในว่าง ก็ติดอยู่ในอากาสานัญจายตนะ ถ้าจงใจมาจับเอาตัวจิตตัวผู้รู้นี้ เป็น วิญญาณัญจายตนะ ถ้ายังเห็นว่า ว่างเอาไว้ก็ทุกข์ จิตเอาไว้ก็ทุกข์ ทิ้งสองตัวนี้ จงใจนะทิ้งสองตัวนี้ ชื่ออากิญจัญญายตนะ

โยม : มันยากหมดเลยหลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะฉะนั้นอย่าไปหลงอยู่ตรงนั้น ใครมาเรียนกับหลวงพ่อแล้วว่างๆก็เสร็จหลวงพ่อหมดน่ะ เราไม่เอา ครูบาอาจารย์สั่งนะ ระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย หลวงปู่ดูลย์ก็สอนนะ สอนบอกว่า เพิกรูปถอดก็ถึงความว่าง เพิกความว่างถึงจะถึงมหาสุญญตา ต้องไม่ติดความว่างนี้อีก ถ้าติดความว่างนี้ก็ปล่อยมันไม่ได้

โยม : ถ้าอย่างนั้น เวลาที่เราเข้าไปเห็นตัวนี้ เราควรทำอย่างไรคะหลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ก็เหมือนเราเห็นหมาขี้เรื้อนตัวหนึ่ง

โยม : ไม่ต้องให้ค่ามัน

หลวงพ่อปราโมทย์ : จิตให้ค่า รู้ว่า(จิต)ให้ค่า ไม่มีคำว่า “ต้อง” ให้รู้อย่างที่มันเป็น

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔

CD: ๔๐
File: 540709B
ระหว่างนาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๐๘ ถึงนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๒๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ตัวที่ทำให้เราทุกข์คือความคิดของเราเอง

mp3 for download : Mp3 for download 530522_3 times of suffering

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ตัวที่ทำให้เราทุกข์คือความคิดของเราเอง

ตัวที่ทำให้เราทุกข์คือความคิดของเราเอง

หลวงพ่อปราโมทย์ : สังเกตดูเถอะ ตัวที่ทำให้เราทุกข์มากนะ คือความคิดของเราเองนี่เอง คิดไปก่อนแล้วก็กังวลนะ ระหว่างเจอปัญหาก็มัวแต่คิดวุ่นวายว่าทำยังไงจะไม่มีปัญหา ทั้งๆที่ปัญหามีแล้ว แทนที่จะคิดแก้ปัญหา คิดลดความรุนแรงของปัญหา ก็กลายเป็นคิดว่าทำยังไงปัญหาจะไม่มี อยากให้มันไม่มี พอปัญหามันต้องมี ก็ทุกข์สิ พอความเสียหายเกิดขึ้นแล้วก็อาลัยอาวรณ์ คร่ำครวญถึงอดีตที่เสียไปแล้วก็ทุกข์อีก เพราะงั้นความทุกข์เกิดได้สามเวลาเลย สามกาล สามกาละ แต่ทั้งหมดเลยมาจากคิดเอานะ

เรามาฝึกใจง่ายๆเลย ทำยังไงเราจะหลุดออกจากโลกของความคิด เรามาอยู่ในโลกของความรู้สึกตัว ถ้าเราอยู่ในโลกของความรู้สึกตัวได้ เราจะไม่กังวลถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึง เราจะไม่คร่ำครวญถึงอดีต เราจะมีสติอยู่ในปัจจุบัน พระพุทธเจ้าท่านยกย่องมากนะ บอกว่าอดีตก็ผ่านไปแล้วนะไม่คร่ำครวญถึง อนาคตยังมาไม่ถึง ให้มีสติ มีสติมีปัญญาอยู่กับปัจจุบัน นี่ท่านยกย่องมากเลย

คนที่มีชีวิตอย่างนี้ คนที่ชีวิตแบบนี้จะไม่ทุกข์หรอก งั้นเราพยายามฝึกให้มีสติอยู่กับปัจจุบัน จิตจะไหลไปคิดเรื่องอดีต รู้ทัน จิตจะกังวลไปถึงอนาคต รู้ทัน รู้ทันจิตอยู่ในปัจจุบันนี้ เรียกว่ามีสติอยู่กับปัจจุบัน ไม่ต้องไปรู้ทันอะไรหรอก รู้ทันจิตอยู่กับปัจจุบันนี่แหละ ถ้าเราไม่รู้ทันจิตในปัจจุบันนะ จิตก็จะหลงไปอดีตมั่ง ไปคร่ำครวญถึงอดีตที่ผ่านไปแล้ว หลงไปอนาคต ไปกังวลถึงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าเรามีสติรู้ทันจิตอยู่กับปัจจุบัน ความทุกข์จะเข้ามาไม่ได้ อดีตมันก็ไม่มีนี่ เพราะใจไม่หลงไปคิด อดีตไม่ได้มีจริง เป็นแค่ความคิดล้วนๆเลย อดีตจบไปหมดแล้ว ไม่มีเหลือแล้ว เหลือแต่ความจำ นึกออกมั้ย อดีตเหลือแต่ความจำไม่ได้มีจริงละ เราไปจำแล้วเราก็เจ็บอกเจ็บใจเสียอกเสียใจ เพราะฉะนั้นใจเราหลงไป คิดถึงอดีต จำได้ แล้วคิดถึง ก็ทุกข์ ใจเรากังวล ปรุงแต่งไปถึงอนาคตก็ทุกข์อีก

พยายามมีสติอยู่กับปัจจุบัน รู้ทันใจของเรา ใจไหลไปอดีตก็รู้ ใจไหลไปอนาคตก็รู้ ใจกำลังคิดวุ่นวายอะไร ลืมกายลืมใจอยู่ในปัจจุบัน เราก็คอยรู้สึก เนี่ยรู้อยู่ในปัจจุบันนะ ความทุกข์จะเข้ามาไม่ได้ ถ้าไม่รู้อยู่ในปัจจุบันมันก็จะหลงไปอดีต ไปอนาคต

ความทุกข์สามกาลนะเราแก้ไปได้สองละ ถ้าเรามีสติอยู่กับปัจจุบันนะ ความทุกข์ในอดีตไม่มีละ ความทุกข์ในอนาคตไม่มีละ เหลืออันเดียว อยู่กับปัจจุบันนะ อยู่กับปัจจุบันมันมีจริง ปัจจุบันมีจริง อดีตอนาคตไม่มี อดีตจบไปแล้วไม่มีแล้ว อนาคตยังไม่เกิด แต่ปัจจุบันมีจริง เพราะงั้นความทุกข์ในปัจจุบันมีจริงๆ ไม่ใช่ความทุกข์ที่คิดเลื่อนๆลอยๆ

อะไรที่เป็นความทุกข์ของปัจจุบัน รูปธรรม นามธรรม กายกับใจเราเนี่ย เป็นตัวทุกข์ในปัจจุบันนี่เอง อย่างคนทุกข์ถึงอดีตใช่มั้ย จริงๆ คือทุกข์ในปัจจุบัน ใช่มั้ย คนกังวลถึงอนาคตก็คือกังวลอยู่ในปัจจุบัน งั้นถ้าเราอยู่กับปัจจุบันนะ เรามีสติ รู้จิตรู้ใจตัวเอง มันจะปรุงความทุกข์ขึ้นมารู้ทันมัน ความทุกข์ทางใจจะหายไป เหลือแต่ความทุกข์ทางร่างกาย เพราะงั้นความทุกข์ในปัจจุบันมีจริงๆ คือรูปธรรมนามธรรมมีจริงๆ ไม่ใช่ฝันๆเอา ไม่ใช่คิดๆเอา ไม่ใช่จำๆเอาแต่มันมีอยู่จริง

เวลามีความทุกข์นะ ไม่ได้ให้หนีทุกข์ พระพุทธเจ้าสอนให้เรารู้ทุกข์ อะไรเป็นทุกข์ กายนี้เป็นทุกข์ ใจนี้เป็นทุกข์ งั้นเราคอยรู้ลงในกายรู้ลงในใจบ่อยๆนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๕

File: 530522
Track:3
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๔๑ ถึง นาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๐๕


เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ความทุกข์ทางใจเกิดจากความอยาก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

Mp3 for download: 530522_suffe bc of wants

ความทุกข์ทางใจเกิดจากความอยาก

ความทุกข์ทางใจเกิดจากความอยาก

หลวงพ่อปราโมทย์ : ความทุกข์ทางใจเกิดจากความอยาก มีความอยากขึ้นเมื่อไหร่ มีความทุกข์ขึ้นเมื่อนั้น ให้เราสังเกตใจของเราไป ใจมีความอยากขึ้นมารู้ทัน ใจมีความอยากขึ้นมารู้ทัน ถ้าคอยรู้ความอยากของใจบ่อยๆ เราจะรู้เลยว่าใจอยากในสิ่งที่ไร้สาระนี่เยอะมากเลยวันๆ นึง อยากในสิ่งที่มีสาระไม่มากนะ อยากในสิ่งไร้สาระนี้เยอะ อยากดูหนัง อยากฟังเพลง อยากไปเที่ยว อยากกินโน่นอยากกินนี่ อยากคุยกับคนโน้น อยากไม่เห็นหน้าคนนี้ อะไรอย่างนี้นะ อยากให้อากาศเย็นๆ พอร้อนแล้วก็อยากให้เย็น พอเย็นมากแล้วก็ โอ๊ย เย็นมากไป อยากให้อุ่นๆ อะไรอย่างนี้นะ ฝนตกก็โมโห ว้า มาตกทำไม ลำบาก ฝนไม่ตกเลยก็กลุ้มใจ

ใจนั้นมันเต็มไปด้วยความอยากนะ อยากได้ฝนหรือไม่อยากได้ฝนไรงี้นะ ความอยากเรามีตลอดเวลา พอความอยากเกิดขึ้นนะ ใจจะเครียดละ ความอยากเกิดขึ้นเมื่อไหร่ใจจะเครียดเมื่อนั้น ไปสังเกตนะ ว่าจริงหรือไม่จริง มันกลัวไม่ได้ หรือได้แล้วไม่ได้เหมือนที่อยาก อะไรอย่างนี้นะ ได้มาแล้วกลัวมันหายไป

หรือบางอย่างนะ ตอนยังไม่ได้อยากได้นะ พอได้มาแล้วอยากให้มันหายเร็วๆ ถามดูผู้ชายที่แต่งงาน ลองถามดู แต่เวลาคุยกับเพื่อน เขาจะคุยแบบนี้นะ อยู่ที่บ้านก็คุยอีกอย่างนึง ใครจะไปพูด คนยังไม่แต่งงานอยากแต่ง คนแต่งงานแล้วอยากเลิก อะไรอย่างนี้

เพราะงั้นนะ ความอยากเกิดตลอดเวลาเลย ความอยากเกิดเมื่อไหร่ ใจก็เครียดเมื่อนั้น ทำยังไง ห้ามความอยากไม่ให้เกิดได้มั้ย ห้ามไม่ได้เพราะจิตเป็นอนัตตา แต่ให้เรามีสตินะ ความอยากเกิดขึ้นในจิต เราคอยรู้ทันไว้

อย่างเขาจะตีกันนะ เราโอ๊ยเมื่อไหร่เขาจะกลับบ้านกันไปให้หมดน้า เลิกมายุ่งในกรุงเทพฯ สักที นี่เราอยาก ความอยากเกิดขึ้นก็กลุ้มใจนะ หลวงพ่ออยู่เมืองชลนะ เขาไปตีกันในกรุงเทพ หลวงพ่อไม่กลุ้มเท่าไหร่หรอก แต่สงสารพวกเรา

เมื่อไหร่ความอยากเกิดขึ้น ความทุกข์ก็จะเกิดขึ้น ความอยากจะเกิดเนี่ยห้ามไม่ได้ แต่ถ้าความอยากเกิดขึ้น เรามีสติรู้ทัน จิตจะไม่ถูกความอยากบีบคั้น ความอยากจะบีบคั้นจิตใจไม่ได้ มันจะอยากขึ้นมา พอรู้ทันก็สลายตัวไป หายไป คราวนี้จะเหลือเหตุผลละ ไอ้สิ่งที่อยากนั้นสมควรอยากมั้ย ถ้าสมควรอยากนะ สมควรที่จะต้องทำอย่างนั้น เราก็ทำด้วยเหตุด้วยผล

ยกตัวอย่าง จิตมันอยากกินโน่นอยากกินนี่ พอเรารู้ทันความอยาก ความอยากดับไป เราก็เหลือเหตุผล สมควรกินก็กินนะ ไม่ใช่ว่าทุกครั้งที่อยากแล้วจะต้องไม่กิน ถ้าทุกครั้งอยากแล้วไม่กิน คงไม่ได้กินอะไรเลย เพราะว่าใจมันอยากตลอดเวลา หรืออยากได้เสื้อใหม่ มีเสื้อตัวใหม่อยากได้ พอสติรู้ทันใจที่อยากนะ ความอยากดับไป เหลือเหตุผลละ สมควรจะไปซื้อมั้ย สมควรซื้อก็ซื้อ อะไรอย่างนี้ ไม่สมควรก็ไม่ซื้อ จะเหลือเหตุผล เราดำรงชีวิตด้วยเหตุผลนะ ไม่ใช่ดำรงชีวิตด้วยความอยาก

งั้นง่ายๆนะ มีสติรู้ทันใจตัวเองไป ใจเกิดความอยากขึ้นมารู้ทัน ๆ ความอยากไม่บีบคั้นนะ ไม่จนหรอกนะ ฐานะไม่ค่อยดีเท่าไหร่แต่ความอยากน้อยไม่จนนะ มีเงินมากแต่ความอยากมาก จนนะ เท่าไหร่ก็ไม่พอ ไม่เต็มตามความอยากหรอก นี่หัดดูใจนะ ถ้าใจมีความอยากขึ้นมา ใจก็มีความทุกข์ ถ้ารู้ทัน ความอยากหายไป เหลือเหตุผล ดำรงชีวิตด้วยเหตุผลนะ ก็ทุกข์น้อยหน่อย

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๕
ลำดับที่ ๓
File: 530522
ระหว่างนาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๐๐ ถึง นาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๑๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรียนธรรมะที่เป็นคู่ จึงจะเห็นไตรลักษณ์

mp3 (for download): เรียนธรรมที่เป็นคู่จึงจะเห็นไตรลักษณ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เรียนธรรมะที่เป็นคู่ จึงจะเห็นไตรลักษณ์

เรียนธรรมะที่เป็นคู่ จึงจะเห็นไตรลักษณ์

หลวงพ่อปราโมทย์ : ให้เรามีสติรู้กายรู้ใจไว้นะ รู้สิ่งซึ่งเป็นคู่ๆนี้แหละ สุขบ้างทุกข์บ้าง ดีบ้างชั่วบ้าง ให้เรียนรู้สิ่งที่เป็นคู่แล้ววันหนึ่งจะเจอสิ่งที่เป็นหนึ่ง

ให้ดูให้ดี อารมณ์ทั้งหลายในสติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้ายกขึ้นมาให้เราเรียนรู้นั้น เป็นอารมณ์ที่เป็นคู่ทั้งสิ้น เช่น หายใจออกกับหายใจเข้า ใช่มั้ยเป็นคู่ๆเรียนรู้เป็นคู่ๆ ยืนเดินนั่งนอนใช่มั้ย นี่ก็เป็นคู่ หมายถึงว่ามีตัวเทียบเคียง

คำว่าคู่ไม่ใช่แปลว่าสองนะ หมายถึงมีสิ่งที่เทียบเคียงได้ ไม่ใช่มีอันเดียว ยืนเดินนั่งนอนนี่มี ๔ อัน หรือเวทนา มีสุขมีทุกข์มีเฉยๆ มี ๓ อัน หรือจิตมีราคะไม่มีราคะนี้ ๑ คู่ จิตมีโทสะไม่มีโทสะนี้ ๑ คู่ จิตมีโมหะไม่มีโมหะนี่อีกคู่หนึ่ง จิตฟุ้งซ่านกับจิตหดหู่นี้อีกคู่หนึ่ง

ให้เราเรียนธรรมคู่ เรียนเป็นคู่ๆ ทำไมต้องเรียนเป็นคู่ๆ เรียนสิ่งซึ่งเป็นคู่เพื่อจะได้เห็นว่า แต่ละอันๆนั้นไม่เที่ยง แต่ละอันๆทนอยู่ไม่ได้นาน แต่ละอันๆบังคับไม่ได้ เรียนเพื่อให้เห็นตรงนี้นะ เช่นเราเห็นว่าความสุขก็ไม่เที่ยงความทุกข์ก็ไม่เที่ยงเฉยๆก็ไม่เที่ยง อะไรก็ไม่เที่ยง เลือกก็ไม่ได้ด้วยว่าจะสุขหรือจะทุกข์หรือจะเฉยๆ

หรือยืนเดินนั่งนอนเห็นมั้ยมันเปลี่ยนไปเรื่อยๆบังคับมันไม่ได้หรอก ขืนอยู่นั่งอยู่อิริยาบถเดียวนานๆนะ ความทุกข์บีบคั้น ร่างกายจะถูกความทุกข์บีบคั้นมาก ทนไม่ไหว ต้องเปลี่ยนอิริยาบถ

หายใจออกแล้วก็อยู่นิ่งไม่ได้ใช่มั้ย หายใจออกตลอดเวลาไม่ได้ ต้องสลับด้วยหายใจเข้า เพราะอะไร เพราะความทุกข์มันบีบคั้น เนี่ยให้รู้อย่างนี้นะ

เห็นมั้ยความโกรธเกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง เกิดแล้วก็หายโกรธ ไม่มีใครโกรธได้เป็นชั่วโมงนะ ไม่มี ไม่มีใครโกรธได้(นาน-ผู้ถอด)แม้แต่นาทีเดียว ความจริงความโกรธเกิดแล้วก็ดับๆ แต่มันต่อเนื่องซ้ำๆซ้ำๆ เราเลยรู้สึกว่าเราโกรธได้เป็นวันๆ แต่ถ้าเราสติดีเราจะเห็นมันเกิดดับๆอยู่ตลอดเวลา เนี่ยเรียน ๑ คู่ เพื่อจะได้เห็นความเกิดดับนั่นเอง

แต่ถ้าเรียนธรรมเดี่ยวก็จะไม่มีการเกิดดับ เพราะนิพพานไม่มีเกิดดับ นิพพานเที่ยง นิพพานไม่มีทุกข์ เพราะไม่มีอะไรเสียดแทง ไม่มีอะไรบีบคั้น เพราะฉะนั้นให้เราเรียนสิ่งซึ่งเป็นคู่ๆนี้เอง ก็คืออารมณ์ทั้งหลายในสติปัฏฐาน รูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย คอยรู้ลงไปเรื่อย ในที่สุดจะเห็นว่าสภาวะทั้งหลายทั้งปวงเกิดแล้วดับทั้งสิ้น ถ้าเห็นอย่างนี้ได้ก็ได้เป็นพระโสดาบัน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510308
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๑๗ ถึงนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๕๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่ได้ภาวนาให้เป็นคนดี แต่ให้เห็นว่าไม่มีคน

mp3 for download : ไม่ได้ภาวนาให้เป็นคนดี แต่ให้เห็นว่าไม่มีคน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ไม่ได้ภาวนาให้เป็นคนดี แต่ให้เห็นว่าไม่มีคน

ไม่ได้ภาวนาให้เป็นคนดี แต่ให้เห็นว่าไม่มีคน

โยม : เรื่องการปฏิบัติในช่วงนี้ ก็รู้สึกว่าสติปัญญามันทื่อๆ มันจะไม่ค่อยรู้อะไรน่ะครับ มันจะไม่ค่อยรู้อะไรน่ะครับ แต่มันพอจะรู้ได้บ้างครับ

แล้วก็ผมจะรู้สึกว่ารู้สภาวธรรมอื่นๆ มันไม่ค่อยดีครับ เพราะแบบบางทีมันกลัว ถ้าเป็นความคิดแบบชั่วมาก บางทีผมก็กลัวว่าจะเป็นคนชั่ว ก็เลยรีบพยายามไปดับมันน่ะครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เห็นมั้ยอยากเป็นคนดี เห็นมั้ย ไม่ได้อยากเลิกเป็นคน ยังอยากเป็นคนดี พออยากเป็นคนดี ก็ต้องพยายามสร้างความดี ต่อต้านความชั่ว แต่ถ้าเราคิดว่าเราจะไม่เป็นคน เราก็จะเห็นสภาวะของความดีเกิดขึ้นแล้วก็ดับ สภาวะของความชั่วเกิดขึ้นแล้วก็ดับ มันอยู่ที่เป้าหมายในชีวิตของเรานะ ว่าต้องการแค่ไหน

การที่เราต้องการเป็นคนดี ก็คือการต้องการภพภูมิที่ดี ต้องการไปสู่ภพภูมิที่ดี เราจะเวียนว่ายตายเกิดไป แต่ถ้าเราต้องการเห็นความจริงว่าตัวเราไม่มีนี้ จะเป็นอีกอย่างหนึ่ง มันจะพ้นจากภพภูมิทั้งหลาย

เพราะฉะนั้นการที่เรารู้ทันใจตัวเองแล้วมันอยากดีมันรักดีมันกลัวชั่วเนี่ย ดูลึกลงไปอีกอย่างหนึ่ง มันก็คือมันรักตัวเอง มันยังสงวนรักษาตัวเองอยู่ เพราะฉะนั้นการดิ้นรนเพื่อจะสร้างความดี ดิ้นรนเพื่อจะต่อต้านความชั่วน้้นน่ะ ทำไปก็เพื่อ Serve อัตตาตัวตนทั้งสิ้น ทำเพื่้อรักษาตัวเรานั่นแหละ

เพราะฉะนั้นการที่เราละชั่วก็ตามทำดีก็ตามเนี่ย ถ้าเราหยุดอยู่เพียงแต่ละชั่วทำดีเนี่ย เราไม่สามารถเข้าถึงนิพพานได้ ไปเรียนต่อนะ ดูลงไป ละชั่วทำดีจนกระทั่งจิตผ่องแผ้ว

จิตผ่องแผ้วก็คือ ไม่ว่าอะไรก็ย้อมจิตไม่ติด จิตผ่องแผ้วเป็นสภาวะซึ่งว่า สภาวธรรมทั้งหลายมีอยู่ แต่มันย้อมจิตไม่ได้ จิตเข้าถึงสภาวะที่ไม่มีอะไรย้อมติด เหมือนที่พระพุทธเจ้าท่านอุทานตัณหาสร้างภพอะไรอย่างนี้ ตอนนี้ท่านรู้ทันแล้ว มันสร้างให้ท่านไม่ได้แล้ว จิตของท่านถึงสภาพที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้แล้ว

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510315
ระหว่างนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๔๔ ถึงนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๔๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เบื้องต้นดูภาพในจอ ต่อไปจะเห็นเครื่องฉายหนัง

mp3 for download : เบื้องต้นดูภาพในจอ ต่อไปจะเห็นเครื่องฉายหนัง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เบื้องต้นดูภาพในจอ ต่อไปจะเห็นเครื่องฉายหนัง

เบื้องต้นดูภาพในจอ ต่อไปจะเห็นเครื่องฉายหนัง

หลวงพ่อปราโมทย์ : เวลาที่เราดูจิต เราไม่ได้ดูเหมือนเราดูหนัง ถ้าจะดูจิตให้มันลึกซึ้งจริงๆไม่ใช่เหมือนดูหนัง การดูจิตตสังขารน่ะเหมือนดูหนัง ดูปลายทางของมัน มันปรุงไปแล้วมันแต่งไปแล้ว มันทำงานขึ้นมาแล้ว เหมือนเราดูภาพในจอหนัง แต่การดูจิตจริงๆนี่นะ เหมือนดูเครื่องฉายหนัง เราเห็นเลยว่ามันติดไฟขึ้นมาแล้ว รูปกำลังจะวิ่งไปที่จอหนังแล้ว เห็นตรงนี้นะ ไฟดับปั๊บลงไปเลย ไม่ต้องไปสร้างภพสร้างชาติ เสียเวล่ำเวลา

ถ้าดูไปจนชำนิชำนาญถึงจุดหนึ่งนะ เอาเครื่องฉายหนังนี้โยนทิ้งไป ทุบซะแหลกละเอียด ฉายอีกไม่ได้แล้ว สร้างภพสร้างชาติอีกไม่ได้ อันนั้นหมายถึงว่า จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งแล้ว จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งมันสร้างภพสร้างชาติไม่ได้อีกแล้ว เพราะฉะนั้นจิตเห็นจิตนี่ก็เป็นมรรคนะ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นอรหัตตมรรค เหมือนเราทำลายต้นตอมัน ไม่ได้ไปดูปลายทาง

แต่พวกเราสังเกตจิตสังเกตใจของเราให้ดี เราชอบไปดูปลายทาง เราไม่เห็นตรงที่จิตเคลื่อนไป เคลื่อนเข้าไปในจอหนัง เราไม่เห็น เราไปเห็นแต่ภาพในจอหนัง แล้วภาพนั้นไม่นิ่งไม่เที่ยง อยากบังคับมันเที่ยวไปจับรูปในจอ มันจับก็จับไม่ได้ มันก็ฉายไปตามเหตุตามปัจจัยของมัน บังคับมันไม่ได้หรอก

แต่พอสติปัญญาแก่รอบขึ้นมา มันก็ทวนกระแสเข้าหาจิตหาใจนี้แหละ ทวนๆๆเข้ามาจนเห็นเลย มันมีความคันๆขึ้นมาก่อนนะ มันมีความคันๆขึ้นในจิต แล้วมันก็เลยอยากรู้อยากดูอยากเห็นอยากเป็นอยากได้อยากโน้นอยากนี้ขึ้นมาแล้วก็ส่งออกไป เคลื่อนออกไป

ถ้ารู้ทันตรงที่เคลื่อนไป คล้ายๆมันผงะนิดนึง ผงะอย่างนี้ ผงะ จะชะโงกลงไปดู เห็นตรงที่จะชะโงกลงไปดู มันจะขาดสะบั้นตรงนั้น ก็จะไม่ชะโงกนะ กลายเป็นนั่งดูอยู่ห่างๆ เรียกว่าดูสักว่ารู้สักว่าเห็นอยู่ เห็นอะไรก็สักว่ารู้สักว่าเห็น ไม่ถลำลงไปรู้ เห็นมั้ยคำว่าไม่ถลำรู้ลึกซึ้งนะ ไม่ใช่แค่ว่าลงไปนอนแช่หรอก แค่ผงะเข้าไปนิดเดียวก็เห็นแล้ว แค่นั้นก็ถลำแล้ว

เพราะฉะนั้นการภาวนาในเบื้องต้นก็หยาบๆหน่อย เบื้องปลายก็ละเอียดขึ้นๆ จะเห็นเลยว่าจิตนี้มันผงะทั้งวันนะ ขยับๆมันหิวอารมณ์นั่นแหละ พอรู้ทันมันก็ดับไปๆ เหลือจิตอยู่ ๒ อย่างเอง จิตที่รู้ตัวตื่นอยู่ สักว่ารู้สักว่าเห็นสภาวะอยู่ อันนี้อันหนึ่ง จิตที่ถูกกิเลสตัณหาผลักดัน ขยับตัวไป จะเข้าไปเสพอารมณ์ จะเข้าไปรู้อารมณ์ก่อน อยากรู้อารมณ์ พอรู้อารมณ์ก็เข้าไปเสพอารมณ์

พวกเราส่วนใหญ่เห็นตอนมันเสพอารมณ์ไปแล้ว นี่ค่อยๆฝึกนะ ต่อไปเหลือจุดที่ต้องปฎิบัตินิดเดียว เหมือนอยู่บนปลายเข็ม คล้ายๆ ถ้าสำนวนโบราณหน่อย เหมือนเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดตั้งเอาไว้บนปลายเข็ม เล็กๆเล็กๆ เล็กนิดเดียวนะ ขยับกริ๊กเดียวก็ตกแล้ว ตกจากยอดปลายเข็มแล้ว พวกเรายุคนี้คงไม่รู้จักเมล็ดพันธุ์ผักกาด เอาแค่เมล็ดตะขบก็พอ พอจะรู้จักมั้ย หรือก็ไม่รู้จักอีก ก็ไม่รู้จักนะ ต้องแบบสปอร์อะไรสักอย่าง เล็กๆอย่างนั้น

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๑ ก่อนฉันเช้า

CD: ๒๔
File: 510414A
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๒๓ ถึงนาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 10 of 21« First...89101112...20...Last »