Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

การดูจิต และการเดินปัญญาในฌาน

mp3 for download : การดูจิต และการเดินปัญญาในฌาน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณภาพจาก บ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : การดูจิตดูใจเรียกว่า จิตตนานุปัสสนา การดูกระบวนการทำงานของสภาวธรรม เรียกว่าธรรมานุปัสสนา กรรมฐานเหล่านี้เหมาะกับพวกทิฎฐิจริต พวกคิดมาก เมื่อพวกเราเป็นพวกช่างคิด เรามาดูจิตดูใจตัวเอง การดูจิตนั้นไม่ต้องใช้สมาธิเยอะ ใช้สมาธิเป็นขณะๆไป เรียกว่าขณิกสมาธิ

วิธีทำให้มีสมาธิเมื่อเช้าหลวงพ่อบอกไปแล้วนะ รู้ทันจิตที่เคลื่อนไป เรารู้ทันจิตที่เคลื่อนไป รู้ทันจิตที่ไหลไป จิตก็จะตั้งมั่นขึ้นมา ตรงที่จิตตั้งมั่นขึ้นมาเนี่ย อย่าไปบังคับจิตให้นิ่ง จิตมีความสุขให้รู้ว่ามีความสุข จิตมีความทุกข์ให้รู้ว่ามีความทุกข์ จิตสงบให้รู้ว่าสงบ จิตฟุ้งซ่านให้รู้ว่าฟุ้งซ่าน จิตมีราคะให้รู้ว่ามีราคะ จิตมีโทสะให้รู้ว่ามีโทสะ จิตไม่มีราคะก็รู้ จิตไม่มีโทสะก็รู้ จิตหลงไปก็รู้ จิตรู้สึกตัวอยู่ก็รู้ เนี่ยคอยดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปเรื่อย

การดูความเปลี่ยนแปลงของจิตนั้น ไม่ต้องไปนั่งสมาธิลึกๆ คนที่นั่งสมาธิลึกๆเนี่ย ดูจิตยาก มันจะไม่มีอะไรให้เปลี่ยน จะนิ่งๆ เพราะฉะนั้นการดูจิตดูใจเนี่ย เหมาะสำหรับพวกที่เข้าฌานไม่เป็น แต่ถ้าพวกที่ดูจิตแล้วเข้าฌานเป็น จะไปสู่จุดสุดยอดอีกเรื่องหนึ่ง สามารถไปเดินปัญญาในสมาธิได้ พวกดูกายเก่งๆเนี่ย เจริญปัญญาในสมาธิไม่ได้ ต้องดูจิตเก่งๆ ทำสมาธิและปัญญาควบกันได้

ดูกายเก่ง ต้องทำสมาธิก่อน ออกจากสมาธิแล้วมาดูกาย แต่ถ้าจะทำสมาธิและปัญญาควบกัน ถ้าทำสมาธิรู้ลมหายใจแล้วจิตรวมเข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ มีความสุข มีความเป็นหนึ่ง มีเอกัคคตา รู้ทันจิตที่เข้าไปจับแสงสว่าง ก็ปล่อย ไม่จับ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร จิตทวนกระแสเข้าหาตัวรู้ และตั้งมั่นอยู่ ปีติเด่นดวงขึ้นมา ในขณะนั้นมีทั้งปีติมีทั้งสุขมีทั้งเอกัคคตาอยู่ด้วยกัน แต่ปีติจะเด่น ใจเนี่ยเด่นดวงตั้งมั่นเป็นผู้รู้อยู่ แต่ปีติเด่น สติระลึกรู้ลงไปที่ปีติ เห็นปีติดับไป เนี่ยเขาทำวิปัสสนาในสมาธิ เขาดูองค์ฌานที่เกิดดับ องค์ฌานทั้งหลายเนี่ยไม่ใช่กาย องค์ฌานทั้งหลายเนี่ยเป็นเรื่องของนามธรรมทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นพวกที่ดูจิตได้นะ จะไปเดินปัญญาในฌานได้

แล้วถ้าดูจิตจนชำนิชำนาญจนถึงระดับที่เป็นพระอริยบุคคล แล้วถ้าตายไปนะ ยังไม่ใช่พระอรหันต์ ไปเกิดในพรหมโลก แล้วเข้าฌานเก่งมากเลย ได้ฌานที่ ๘ ด้วย ไปเกิดในเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นภูมิเป็นภพของเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นภพของพรหมที่สูงที่สุด ในคัมภีร์สอนเอาไว้เลยว่า ถ้าเป็นพระอริยบุคคลที่ชำนาญการดูจิตนะ จะไปทำวิปัสสนาในเนวสัญญานาสัญญายตนะได้ คนอื่นทำไม่ได้ ถ้าเป็นปุถุชนแล้วจะไปทำวิปัสสนาในเนวสัญญานาสัญญายตนะไม่ได้ ถ้าเป็นพระอริยบุคคลที่ไม่ได้ชำนาญเรื่องการดูจิต จะไปทำวิปัสสนาในเนวสัญญานาสัญญายตนะไม่ได้ ถ้าเป็นพระอริยบุคคลที่เข้าอรูปฌานถึงขีดสุดไม่ได้ก็จะไม่ไปเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิด้วย

เพราะฉะนั้นการที่เราหัดดูจิตดูใจเนี่ยนะ พวกที่สมาธิมากก็ดูได้ พวกนี้จะสามารถไปเจริญปัญญาในฌานได้ ทำสมาธิและวิปัสสนาควบกัน พวกนี้ทำรวดไปได้ ไม่มีข้อจำกัดในภูมิอะไร ยกเว้นอันเดียว ภูมิอสัญญสัตตา ภพของอสัญญสัตตา พรหมลูกฟัก แต่ท่านจะไม่ไปเกิดในพรหมลูกฟัก พระอริยะทั้งหลายท่านจะไม่ไปเกิดในพรหมลูกฟัก พระโพธิสัตว์ทั้งหลายจะไม่ไปอยู่ในพรหมลูกฟัก เสียเวลา

และถ้าเราดูจิตดูใจแต่ไม่ชำนาญจนถึงอรูป(ฌาน)นะ เราจะดูจิตในชีวิตประจำวัน ดูอยู่ข้างนอกอย่างที่พวกเรามีนี่แหละ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ต.บางพระ อ.ศรีราชา ชลบุรี
แผนที่ : 1 2 3
แสดงธรรมที่ วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๔ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๕
File: 550804B
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๖
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๑๔ ถึงนาทีที่ ๙ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๘) สรุปอานาปานสติ สำหรับฆราวาสคนเมือง (จบ)

mp3 for download : อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๘) สรุปอานาปานสติ สำหรับฆราวาสคนเมือง (จบ)

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๘) สรุปอานาปานสติ สำหรับฆราวาสคนเมือง (จบ)

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๘) สรุปอานาปานสติ สำหรับฆราวาสคนเมือง (จบ)

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลวงพ่อไม่เห็นกรรมฐานใดอัศจรรย์เหมือนอานาปานสติ ลึกล้ำ จนถึงขนาดยอมรับเต็มปากเต็มคำ เต็มหัวใจเลย มันเป็นกรรมฐานของพระมหาบุรุษ ไม่ใช่กรรมฐานของคนทั่วๆไปจะเล่นได้ชำนิชำนาญหรอก

ทีนี้ พวกเราเล่นไม่ได้ทั้งหมด เราก็เลือกเอาส่วนที่เล่นได้ หายใจแล้วรู้สึกตัวไป หายใจไปแล้วจิตหนีไปคิด คอยรู้ทัน ทำตรงนี้ให้ได้ หายใจไป จิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน จิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน จิตจะเป็นผู้รู้ขึ้นมา พอจิตเป็นผู้รู้แล้วจะดูกายดูใจก็ดูไปเลย ไม่ต้องไปเข้าฌานก็ได้ เอาแค่ว่าหายใจไป เห็นกายมันหายใจ ไม่ใช่ตัวเราหายใจ หายใจไปจิตใจมีความสุขความทุกข์ เห็นมันสุขมันทุกข์ของมันได้เอง หายใจไปแล้วก็เกิดกุศลบ้าง เกิดอกุศลบ้าง เช่น เกิดฟุ้งซ่าน หายใจแล้วมีฟุ้งซ่านมีไหม ส่วนใหญ่นั่นแหละหายใจแล้วฟุ้งซ่าน ใช่ไหม ก็ดูไป จิตมันฟุ้งซ่าน เราเป็นแค่คนดู ดูไปๆมันก็เลิกฟุ้งของมันไปเอง ฟุ้งซ่านมันก็ไม่เที่ยง เห็นแต่ของไม่เที่ยง มีความสงบเกิดขึ้น หายใจสบายๆ มันสงบขึ้นมา มันก็อยู่ชั่วคราว เดี๋ยวมันก็หายไปอีก นี้เราฝึกแค่นี้ก็พอแล้ว

หายใจไป จิตหนีไปแล้วรู้ทัน มันจะได้จิตผู้รู้ขึ้นมา ถัดจากนั้นเห็นร่างกายหายใจ ไม่ใช่ตัวเรา อันนี้เดินปัญญาด้วยการดูกาย ถ้าจะเดินปัญญาด้วยการดูจิตก็หายใจไป มีความสุขก็รู้ มีความทุกข์ก็รู้ เฉยๆก็รู้ หายใจไปแล้วจิตเป็นกุศลก็รู้ จิตเป็นอกุศลก็รู้ บางทีเห็น ทุกอย่างชั่วคราวไปหมด

ฝึกไปอย่างนี้ เรียกว่า ปัญญานำสมาธิ มันนำสมาธิอย่างไร ความจริงมันมีสมาธิอยู่แล้ว แต่มันมีในขั้นขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะ

เมื่อเดินปัญญาแก่รอบเต็มที่แล้ว จิตจะรวมเข้าอัปปนาเอง ในนาทีที่จะตัดสินความรู้บรรลุ อริยมรรค อริยผล อริยมรรค อริยผล ไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา อริยมรรค อริยผล เกิดในฌานจิตเท่านั้น เกิดในรูปฌานก็ได้ เกิดในอรูปฌานก็ได้ แต่จะไม่เกิดในวิถีจิตปกติของมนุษย์นี้

ทีนี้ ถ้าเราเข้าฌานไม่เป็น ไม่ต้องตกใจ เจริญปัญญาให้มาก มีแค่ขณิกสมาธินะ ทุกวันพยายามไหว้พระสวดมนต์ไว้ ทำในรูปแบบ จิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน ฝึกให้มันมีขณิกสมาธิ แล้วมาเดินปัญญา รู้กาย รู้ใจ ในชีวิตประจำวัน ถึงเวลาก็ทำความสงบ ไหว้พระ สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม รู้ทันจิตที่หนีไป หมดเวลาก็มารู้กาย รู้ใจ ในชีวิตประจำวันต่อไป ถึงวันที่ สติ สมาธิ ปัญญา แก่รอบพอ จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง แล้วเกิด อริยมรรค อริยผล ขึ้น อันนี้เรียกว่า ใช้ปัญญานำสมาธิ

ลึกซึ้งมาก เรื่องอานาปานสติ แต่ว่าเราฝึกง่ายๆอย่างที่หลวงพ่อบอก ไม่ต้องคิดมาก ไม่ต้องสนใจถึงขนาด ทำอย่างไรจะเกิดฌานจิต ทำอย่างไรจะไปเดินวิปัสสนาในอุปจาระ เห็นมันไหวๆขึ้นมา แต่ส่วนมากพวกเราก็ทำได้อันนี้ คนจำนวนมากก็ทำได้ นั่งสมาธิแล้วก็เห็น ใจสงบไปเห็นมันปรุงขึ้นมา เกิดดับไป บางทีไม่รู้ว่าอะไรเกิดอะไรดับ ไม่มีชื่อ ถ้ายังมีชื่ออยู่จิตยังฟุ้งซ่านมาก บางทีเห็นแค่สิ่งบางสิ่งเกิด แล้วสิ่งนั้นดับไป อย่างนี้ก็ใช้ได้ ถ้าถึงขนาดเห็นองค์ฌานเกิดดับอย่างนี้มีน้อยเต็มที ประเภทหนึ่งในแสน หายาก ส่วนถ้าฝึกในชีวิตประจำวัน เดินปัญญาอยู่นี้ ง่าย พอทำได้สำหรับฆราวาส ที่วันๆเต็มไปด้วยความวุ่นวายนะ หายใจไป อย่าหยุดหายใจ หายใจไว้ก่อน เอ้า ต่อไปส่งการบ้าน

541106B.17m57-22m17

ขอขอบคุณพี่ maibok @wimutti.net สำหรับเนื้อหาของ clip ช่วงนี้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
วันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ หลังฉันเช้า

CD: 42
File: 541106B.mp3
นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๕๗ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๑๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๗) สรุปอานาปานสติ กรรมฐานสำหรับมหาบุรุษ

mp3 for dowload : อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๗) สรุปอานาปานสติ กรรมฐานสำหรับมหาบุรุษ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๗) สรุปอานาปานสติ กรรมฐานสำหรับมหาบุรุษ

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๗) สรุปอานาปานสติ กรรมฐานสำหรับมหาบุรุษ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทำอานาปานสตินะ คลุมสติปัฏฐาน ๔ ได้ด้วย ไม่มีกรรมฐานอะไรเหมือนเลยนะ ตั้งแต่โหลยโท่ย ไม่มีสติเลย หรือทำจนเครียดสติแตกไปเลยนะ ก็เป็นไปได้ ทำอานาปานสติแล้วก็พลิกไปทางกสิณ เล่นอภิญญาก็ได้ ทำแล้วเข้าฌานเพื่อพักผ่อน ออกจากฌานมา มาเดินปัญญา ดูกายก็ได้ ดูจิตก็ได้ ทำแล้วเข้าอัปปนาสมาธิ เข้าฌาน เจริญปัญญาอยู่ในฌานเลยก็ได้ ทำแล้วเข้าฌานไม่ได้ เห็นร่างกายหายใจ-ใจเป็นคนดูอยู่ เห็นร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา นี่เดินปัญญานะ ใช้ปัญญานำสมาธิก็ได้ ไปดูจิตดูใจ หายใจไป จิตเป็นอย่างนั้นจิตเป็นอย่างนี้รู้ทัน นี่เดินปัญญาดูจิต เดินปัญญาดูกาย เดินปัญญาดูจิต แจกแจงให้ครบก็คือ การทำสติปัฏฐาน ๔ ครบทั้งหมดเลย

เห็นกายมันหายใจ ใจเป็นคนดูอยู่ เห็นกายไม่ใช่เรา เป็นกายานุปัสสนา

หายใจไปมีความสุข หายใจไปความสุขหายไป หายใจไปแล้วมีความทุกข์ หายใจแล้วความทุกข์หายไป หายใจแล้วมีอุเบกขา แล้วอุเบกขาหายไป อันนี้เป็นเวทนานุปัสสนา

หายใจแล้วฟุ้งซ่าน รู้ว่าฟุ้งซ่าน หายใจแล้วสงบ รู้ว่าสงบ หายใจไปแล้วจิตรวม เป็นมหัคคตะ หายใจแล้วจิตไม่รวม อย่างนี้เป็นจิตตานุปัสสนา

หายใจแล้วเห็นขันธ์กระจายตัวออกไป แต่ละขันธ์ทำงานของขันธ์ เป็นขันธบรรพ ในธัมมานุปัสสนา

หายใจไปแล้วโพชฌงค์เกิดขึ้น มีสติรู้ลมหายใจ มีความเพียรที่จะรู้ลมหายใจ มีฉันทะ หายใจแล้วสบายใจ วิริยะมันก็เกิด มีความเพียร ตามรู้ตามเห็นในตัวที่หายใจอยู่ ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เรียกว่า ธัมมวิจยะ มีปีติขึ้นมา อันนี้ไม่ใช่ปีติในฌาน เป็นปีติเพราะมีปัญญา มีปีติแล้ว สติรู้ทันปีติ หายใจไปมีปีติ รู้ทัน ปีติดับ สงบเข้ามาเป็น ปัสสัทธิ แล้วเป็นสมาธิ จิตตั้งมั่น จิตเป็นอุเบกขา เห็นจิตมันเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงไป เป็นลำดับ ตามหลักของโพชฌงค์ อันนี้ก็อยู่ในธัมมานุปัสสนา

หายใจไปแล้วมีนิวรณ์ขึ้นมา รู้เท่าทันนิวรณ์นั้น นิวรณ์เกิดแล้วดับไป เป็นนิวรณบรรพ อยู่ในธัมมานุปัสสนา

หายใจแล้วเห็นอริยสัจ ก็อยู่ในธัมมานุปัสสนา

หายใจแล้วมีความสุข มีความสุขแล้วตัณหาเกิด อยากได้ อยากมี อยากเป็น หายใจแล้วมีความทุกข์ ตัณหาก็เกิดอยากให้มันหายไป อยากให้ความทุกข์หายไป มีตัณหาขึ้นมาจิตใจก็มีความทุกข์ขึ้นมา เห็นปฏิจจสมุทปบาท (อยู่ในธัมมานุปัสสนา – ผู้ถอด)

ฉะนั้น หลวงพ่อไม่เห็นกรรมฐานใดอัศจรรย์เหมือนอานาปานสติ ลึกล้ำจนถึงขนาดยอมรับเต็มปากเต็มคำ เต็มหัวใจเลย มันเป็นกรรมฐานของพระมหาบุรุษ ไม่ใช่กรรมฐานของคนทั่วๆไปจะเล่นได้ชำนิชำนาญ

541106B.14m43-18m17

ขอขอบคุณพี่ maibok @wimutti.net สำหรับเนื้อหาของ clip ช่วงนี้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
วันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ หลังฉันเช้า

CD: 42
File: 541106B.mp3
นาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๔๓ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๑๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๔) สรุปอานาปานสติสำหรับผู้เดินสมาธินำปัญญา

mp3 for download: อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๔) สรุปอานาปานสติสำหรับผู้เดินสมาธินำปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๔) สรุปอานาปานสติสำหรับผู้เดินสมาธินำปัญญา

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๔) สรุปอานาปานสติสำหรับผู้เดินสมาธินำปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์ : เมื่อเช้าหลวงพ่อพูดเรื่องอานาปานสติให้ฟัง ไม่มีที่ไหนหรอก อย่างนี้ ในตำราก็ไม่ได้เขียนไว้มากมายอย่างนั้น ไม่ได้แจกแจงพิสดาร อานาปานสติ เรามีสติอยู่ทุกลมหายใจ อย่างนี้ดี มีสติไปอยู่ที่ลมหายใจ ลมหายใจจะค่อยๆสั้น ทีแรกลมยาว หายใจแล้วก็สั้นขึ้นๆ กลายเป็นความสว่าง อย่างนี้ก็ยังดี ได้สมถะ ถ้าหายใจแล้วเคลิ้ม ขาดสติไป อันนี้ไม่ดี สติอ่อนไป หายใจแล้วแน่นแข็งป๊อกขึ้นมาเลย เครียดๆ แข็งๆ นี่ สติแรงไป ไม่ดี จงใจมากไป

ถ้าพอดีๆ ลมหายใจสบายๆ ลมจะค่อยสั้นๆ สว่าง พอสว่างแล้ว จะเล่นกสิณก็ได้ เล่นกสิณแสงสว่าง อยากรู้อยากเห็นอะไรก็รู้ได้อยู่ ได้ทิพยจักษุ ได้กสิณแสงสว่าง หรือกสิณลม กสิณลมก็ได้ เห็นลมหายใจมันไหลเข้าไหลออก เป็นกสิณดินก็เห็นร่างกายที่หายใจ ไม่ได้ดูตัวลมตรงๆ แต่ลมหายใจมันก็อิงอยู่กับร่างกาย ก็ใช้ได้

ทำได้หลายอย่าง พลิกแพลงได้เยอะแยะ ถ้าไม่เล่นกสิณก็ไม่เป็นไร ไม่ให้จิตเข้าไปจับลมนะ แล้วสงบเข้ามา เข้าอุปจารสมาธิ พอได้อุปจารสมาธิแล้ว เดินปัญญาในอุปจารสมาธิก็ได้ เลยเข้าอัปปนาสมาธิ ไปพักอยู่ในอัปปนาสมาธิ เป็นที่พักของจิตก็ได้ ทำสมถะแล้วออกจากอัปปนาสมาธิ มาแยกธาตุแยกขันธ์ มาเดินปัญญา อันนี้เป็นสมาธินำปัญญา

08m12-10m12

ขอขอบคุณพี่ maibok @wimutti.net สำหรับเนื้อหาของ clip ช่วงนี้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
วันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ หลังฉันเช้า

CD: 42
File: 541106B.mp3
นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๑๒ ถึง นาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๑๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๒) ดูจิตด้วยอานาปานสติ

mp3 for download : อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๒) ดูจิตด้วยอานาปานสติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๒) ดูจิตด้วยอานาปานสติ

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๒) ดูจิตด้วยอานาปานสติ

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทีนี้ทำอานาปานสติแล้วดูจิตก็ได้ เห็นมั้ยกรรมฐานนี้กว้าง เห็นมั้ย ทำสมาธิได้ทุกแบบเลยนะ จนถึงเข้าอรูปนะ แต่ตรงอรูปเนี่ยทิ้งเรื่องลมไปแล้ว แล้วเข้าไปดูจิตต่อ เข้าอรูปไป จะทำโดยใช้ปัญญานำสมาธิก็ได้ ใช้สมาธินำปัญญาก็ได้ ใช้สมาธิและปัญญาควบกันก็ได้ เนี่ยอานาปานสติทำได้หมดเลย ตรงที่ใช้ปัญญานำสมาธินี้เอง เห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู เนี่ยเราใช้ปัญญานำสมาธิไปเลย ไม่ได้เข้าฌานนะ ถ้าใช้สมาธินำปัญญาก็คือ เข้าฌานไปก่อนนะ ออกจากฌานแล้วมาพิจารณาธาตุขันธ์ แล้วได้ตัวผู้รู้ออกมา จากฌานที่ ๒ ออกมาข้างนอกเนี่ยนะ ดู ดูธาตุดูขันธ์ทำงาน ดูได้เป็นวันๆเลย อันนี้ใช้สมาธินำปัญญา ตัวผู้รู้จะเด่นดวง อดทน ทนได้นาน

พวกใช้ปัญญานำสมาธิ ตัวผู้รู้จะอยู่แว้บๆ เพราะสมาธิที่ใช้ มันก็มีสมาธิเหมือนกัน สมาธิที่ใช้เดินปัญญามันแค่ขณิกสมาธิ ไม่ถึงอุปจาระ ไม่ถึงอัปนา นะ ได้แค่ ขณิกะ ให้รู้ตัวเป็นขณะๆ จิตหนีไปแล้วรู้ทัน ก็ได้สมาธิขึ้นมา ได้มานิดเดียว แต่พอหลายๆนิดเข้านะ นิดบ่อยๆเข้า มันก็รู้ได้เหมือนกัน ก็เห็นร่างกายเป็นของถูกรู้ถูกดู จิตเป็นคนดู ตรงที่จิตเป็นคนดู ตรงนี้ล่ะ ได้ขณิกสมาธิแล้ว ตรงนี้เป็นปัญญานำสมาธิ เดินปัญญาไปก่อนแล้วสมาธิที่ถึงอัปนาฯจะเกิดทีหลัง แต่ตอนที่เดินปัญญานี้มีขณิกสมาธิอยู่

แล้วถ้าจะเดินปัญญาด้วยการดูจิตล่ะ ทำไง? หายใจไป หายใจไปแล้วจิตมีความสุข รู้ ว่าจิตมีความสุข หายใจไปแล้วจิตเครียดๆขึ้นมา รู้ ว่าจิตเครียดๆ เนี่ย ดูความเปลี่ยนแปลงของจิต หายใจไปแล้วจิตฟุ้งซ่าน รู้ทัน ว่าจิตฟุ้งซ่าน หายใจไปแล้วจิตสงบ รู้ทัน ว่าจิตสงบ นี่หายใจแล้วดูจิต หายใจแล้วจิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ รู้ทัน ว่าจิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ หายใจแล้วจิตตั้งมั่น สักว่ารู้ว่าเห็น ไม่ไหลเข้าไปในลมหายใจ อันนี้ก็เรียกว่า “ดูจิต”

เพราะฉะนั้นนะ หายใจนะ ดูกายก็ได้ เจริญปัญญาด้วยการดูกาย เห็นกายมันหายใจ หายใจไม่ใช่แค่เห็นว่าร่างกายมันหายใจนะ บางทีโยงไปถึงท้องพองยุบ จิตเป็นคนดู เพราะฉะนั้นถ้าทำท้องพองยุบแล้วจิตเป็นคนดู ก็ใช้ได้เหมือนกัน เราจะเห็นว่า ร่างกายที่พองที่ยุบ ไม่ใช่เรา

ถ้าหายใจไปแล้ว จิตมีความสุขก็รู้ จิตมีความทุกข์ก็รู้ อันนี้ถือว่าดูจิตล่ะ หายใจไปแล้วจิตฟุ้งซ่านก็รู้ จิตสงบก็รู้ อันนี้ก็เรียกว่าดูจิตล่ะ หายใจไปแล้วจิตตั้งมั่นอยู่ก็รู้ จิตไหลเข้าไปอยู่ที่ลมหายใจก็รู้ อันนี้ก็เรียกว่าดูจิตล่ืะ มันจะเห็นว่าจิตทุกชนิดไม่เที่ยง จิตสุขก็ไม่เที่ยง จิตทุกข์ก็ไม่เที่ยง จิตกุศลก็ไม่เที่ยง จิตอกุศลก็ไม่เที่ยง เห็นจิตไม่เที่ยงตลอดเวลาเลย เนี่ยแหละ เดินปัญญาแล้วนะ ดูจิตจะเห็นอนิจจังง่ายนะ จะเห็นแต่ของไม่เที่ยง เปลี่ยนตลอดเวลา เปลี่ยนเร็วมากเลย

541106A.19m51-23m22

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
วันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ก่อนฉันเช้า

CD: 42
File: 541106A.mp3
นาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๕๑ ถึง นาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๒๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

เราปฎิบัติเพื่ออะไร?mp 3 (for download) : เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่นี่หลวงพ่อจะเน้นสอนเรื่องการปฏิบัติให้ หลักของการปฏิบัติเราก็ต้องรู้ ว่าเราจะปฏิบัติอะไร ปฏิบัติเพื่ออะไร ปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติแล้วได้ผลเป็นยังไง ต้องตอบได้ชัดเจน เราจะปฏิบัติอะไร มีสองอย่างที่จะต้องปฏิบัติคือ “สมถะ” กับ “วิปัสสนา” ปฏิบัติเพื่ออะไร สมถะ ปฏิบัติเพื่อให้จิตใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะเดินวิปัสสนา ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อจะได้เห็นนู่นเห็นนี่มีตาทิพย์มีหูทิพย์ บางคนอยากได้เจโตอยากได้ทิพจักษุ  หลวงพ่อเคยเจอนะ มีไอ้หนุ่มคนนึง มันภาวนาอยากได้ทิพจักษุ ถามว่าอยากได้ทำไม มันจะได้มองทะลุผ้าของคนอื่น มันเห็นธรรมะเป็นเรื่องอะไร จะทะลุฝาห้องของเค้าอะไรอย่างนี้ ได้เรื่องเลย มีจริงๆนะ สมถะนะ เราทำไปเพื่อให้ใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะทำวิปัสสนา

วิปัสสนาทำไปเพื่ออะไร เพื่อให้เกิดปัญญา รู้ความจริงของกายของใจนี้ ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ ดังนั้นทำเราทำวิปัสสนาเพื่อให้รู้ความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจ รู้แล้วได้อะไร รู้ถึงที่สุดแล้วมันจะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ

พระอรหันต์ไม่ใช่คนประหลาดนะ อย่าไปวาดภาพพระอรหันต์ประหลาดเกินเหตุทำอะไรก็ไม่ได้ กระดุกกระดิกก็ไม่ได้ วันๆต้องนั่งเซื่องๆเหมือนนกกระยางรอให้ปลามาใกล้ๆจะได้ฉกเอาเชื่องๆห้ามกระดุกกระดิก พระอรหันต์จริงๆก็คือท่านผู้ภาวนาจนมีปัญญา เห็นทุกข์เห็นโทษของขันธ์นะ ขันธ์ห้าเป็นทุกข์เห็นอย่างนี้ แล้วท่านปล่อยวางความยึดถือขันธ์ได้ จิตท่านแยกออกจากขันธ์ พรากออกจากขันธ์ ไม่ยึดถือขันธ์ ท่านเป็นอิสระจากขันธ์ ตัวขันธ์เป็นตัวทุกข์ เพราะฉะนั้นพระอรหันต์เลยพ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่นี่พ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่ตายแล้วเค้าเรียกดับทุกข์คือขันธ์มันดับ ไม่ใช่ไปเกิดอีกนะ หลายคนวาดภาพเป็นพระอรหันต์ไปเกิดอีกไปอยู่ในโลกนิพพาน อันนั้นไม่ใช่ศาสนาพุทธหรอก พระอรหันต์ นิพพานแล้วเหมือนไฟที่ดับไปแล้ว ไฟที่ดับแล้วอยู่ที่ใหน ใครจะรู้ เพราะฉะนั้นเราภาวนานะ ภาวนาทำสมถะเพื่อให้มีแรง ทำวิปัสสนา ทำวิปัสสนาเพื่อให้เห็นความจริงของกายของใจ ถ้าเราเห็นความจริงของกายของใจได้มันจะหมดความยึดถือ ปล่อยวางได้ พอปล่อยวางได้ก็พ้นทุกข์ได้ เพราะตัวกายตัวใจตัวขันธ์นี้แหล่ะตัวทุกข์

นี่ต้องเรียนสิ่งเหล่านี้ แล้วทำยังไง เราจะทำอะไร ทำสมถะและวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร บอกแล้ว ทำอย่างไร สมถะนี่ไม่ใช่ทำเพื่อให้เคลิ้ม วิธีทำสมถะไม่ใช่น้อมใจให้เคลิ้มให้ซึมให้นิ่ง แต่ฝึกความรู้สึกตัวขึ้นมา หายใจออกรู้สึก หายใจเข้ารู้สึก เคยได้ยินคำว่า”อานาปานสติ”มั้ย มีสตินะไม่ใช่ฝึกให้ไม่มีสติ ไม่ใช่ฝึก(เสียงกรน)คร้อกบรรลุแล้ว ฝึกให้มีสติหายใจเข้า ฝึกให้มีสติหายใจออก มีสติไปเรื่อยเลย หรือบางทีพิจารณากาย”กายคตาสติ” มีสติไล่ไปในกาย ดูอาการสามสิบสอง ดูอวัยวะต่างๆในร่างกาย มีสติ เห็นมั้ย ไม่ได้บอกให้ขาดสติเลยนะ ไม่ได้ดูเอาแก้วแหวนเงินทอง เอาวิมานสวรรค์อะไรทั้งสิ้นเลย แต่ฝึกให้มันมีสติ รู้ลมหายใจก็ให้มันมีสติ พิจารณากายก็พิจารณาด้วยความมีสติ เรียกว่ากายคตาสติ ทำอะไรๆก็มีสติ คิดถึงพระพุทธเจ้าก็คิดถึงด้วยความมีสติ หัดพุทโธ ๆ แล้วรู้สึกตัวไป นึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตของเราจะทำยังไงพุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราไม่ได้ภาวนาให้เคลิ้มๆ ภาวนาให้รู้สึกตัว ฉะนั้นเราอย่าทิ้งสติ ครูบาอาจารย์เคยสอนบอก “สติจำเป็นในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ”

ฉะนั้นทำสมถะก็ต้องมีสตินะ แต่มีสติอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข อารมณ์อันเดียว ทำไมต้องอารมณ์อันเดียว อารมณ์หลายอันแล้วก็รู้ตัวยาก ปกติจิตมันจะหนีตลอดเวลา วิ่งไปวิ่งมาตลอดเวลา พอเรามาทำสมถะนะ เรามีอารมณ์อันเดียว มาเป็นเหยื่อ เหยื่อล่อจิต อย่างถ้าจะตกปลานะ มีคนโยนเบ็ดพร้อมกันร้อยอัน ปลางงเลยจะกินอันใหนดีใช่มั้ย ว่างมาทางนี้ เอ๊ะ ไม่เอาตัวเล็กไป ว่ายทางนี้ ก็ใหญ่ไปเกินพอดี เกินคำ ไม่เอา วกไปวกมา ไม่ได้กิน ถ้ามีเหยื่ออันเดียวปลาฝูงนึงยิ่งดี มีเหยื่ออันเดียวล่อ จิตของเราปกติร่อนเร่ไปเรื่อยๆ วิ่งไปทางตา วิ่งไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนะ ร่อนเร่ไปเรื่อย เที่ยวแสวงหาอารมณ์ไปเรื่อย เหมือนปลาวิ่งหาเหยื่อไปเรื่อย ว่ายไปเรื่อยๆ เราหาอารมณ์อันนึงที่ชอบใจของปลาตัวนี้มาล่อมัน ไปเอาพุทโธก็ได้ คนไหนพุทโธแล้วสบายใจเอาพุทโธ คนไหนหายใจเข้าหายใจออกแล้วสบายใจเอาลมหายใจ คนไหนดูท้องพองยุบแล้วมีความสุขก็ดูท้องพองยุบไป คนไหนเดินจงกลมแล้วมีความสุขก็เดินไป ไม่ใช่เดินทรมาน เดินไปเครียดไป เดินไปเครียดไป สมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนะ หาอารมณ์ที่สบายๆ อยู่แล้วมีความสุข

อย่างหลวงพ่อนะ ฝึกอานาปานสติมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่เจ็ดขวบ พวกเราส่วนใหญ่ในห้องนี้ยังไม่เกิด หายใจแล้วมีความสุข พอจิตใจมีความสุข จิตจะสงบ จิตมันหิวอารมณ์นะ พอมันได้กินของชอบนะ มันเลยไม่ไปเที่ยวที่อื่น เอาอารมณ์มาล่อ อยู่กับพุทโธ อยู่กับลมหายใจแล้วมีความสุข จิตก็ไม่หนีไปไหน จิตเคล้าเคลียอยู่ แต่ระวังอย่างเดียว อย่าให้ขาดสติ อย่างเราหายใจไป ถ้าใจเคลิ้มก็รู้ทันว่าเคลิ้ม หายใจไปใจฟุ้งซ่านหนีไปคิดเรื่องอื่น รู้ว่าใจฟุ้งซ่านไป ใจก็มีความสุข เคล้าเคลีย สงบอยู่กับลมหายใจ จนกระทั่งลมหายใจมันสว่างขึ้นมา หายใจไปเรื่อยๆ เวลาจะเข้าฌาน ไม่ใช่รู้ลมหายใจหรอกจะบอกให้ พวกเรามั่วๆนะ หายใจแล้วเข้าฌานรู้ลมหายใจแล้วเข้าฌาน ไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอก

ลมหายใจเบื้องต้นเรียกว่า บริกรรมนิมิต รู้ลมไปเรื่อย สบาย จิตใจมีความสุข มันจะสว่างขึ้นมา ความสว่างมันเกิดขึ้นนะ ใจมันสงบลงมา ในทางร่างกายเวลาจิตสงบลงมา เลือดจะมาเลี้ยงสมองส่วนหน้านี้ เลือดจะมาเลิ้ยงตรงนี้เยอะ มันจะให้ความรู้สึกที่สว่างขึ้นมา จิตมันก็สว่างนะ กายมันก็สว่างขึ้นมา ผ่องใส ความสว่างเกิดขึ้นแล้วเนี่ย เอาความสว่างนี้มาเป็นนิมิตแทนลมหายใจได้ ต่อไปความสว่างมันเข้มข้นขึ้นนะ เป็นดวงขึ้นมา ให้เล็กก็ได้ ให้ใหญ่ก็ได้ จิตใจก็มีความสุข สนุก มีความสุขอิ่มเอิบเบิกบาน มีปีติขึ้นมา เข้าฌาน ไม่ใช่หายใจรู้ลมแล้ว (เสียงกรน คร้อก) บอกว่าหายใจจนลมระงับ ถามว่าลมระงับยังไง ลืมไปเลย หลับไปแล้ว บอกว่าไม่มีลมหายใจแล้ว ไม่ใช่นะ

เพราะฉะนั้นหลักของการทำสมถะนะ ก็อย่าทิ้งสติ มีสติไปเรื่อย เวลาจิตรวมก็รวมด้วยความมีสติ ไม่รวมแบบขาตสติ วูบๆวาบๆหรอก รู้เนื้อรู้ตัวตลอดสายของการปฏิบัติเลย รวมลงไปลึกเลย จนร่างกายหายไปเลย ลมหายใจก็หาย ร่างกายก็หาย โลกทั้งโลกก็หายไปหมดเหลือจิตอันเดียว ก็ยังไม่ขาดสตินะ จิตดวงเดียวอย่างนั้น เด่นอยู่อย่างนั้น ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ทำไมต้องมีจิตขึ้นมา โดดเด่นขึ้นมา เพื่อเราจะได้เอาไว้ต่อวิปัสสนา

ฉะนั้นบางคนทำไม่ถึงฌานก็ไม่เป็นไรนะ แค่หัดพุทโธ พุทโธๆ ไป ค่อยๆดูไป พุทโธเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า เห็นมั้ย ใจนั้นค่อยตั้งมั่นขึ้นมา อย่างนี้ใช้ได้ หายใจไปเรื่อยๆ หายใจเข้าหายใจออก อะไรก็ว่าไปเถอะ หายใจไปแล้วเห็นร่างกายมันหายใจ จิตเป็นคนดู อย่างนี้นะถึงจะทำสมถะ เพื่อจะต่อวิปัสสนา คือหายใจไปแล้วมีจิตเป็นคนรู้คนดูขึ้นมา ดูท้องพองยุบไปนะ เห็นร่างกายมันพองเห็นร่างกายมันยุบ จิตเป็นคนดู

เพราะฉะนั้นบทเรียนเรื่องการทำสมาธิเนี่ย ในทางศาสนาพุทธท่านถึงใช้คำว่า “จิตตสิกขา” ทำสมาธิจนกระทั่งเราเห็นจิตของเรา จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ยแหล่ะ พร้อมที่จะไปเดินวิปัสสนาต่อแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าคนไหนจะทำสมถะนะ ก็อย่าให้ขาดสติ หายใจไปเห็นร่างกายหายใจ จิตเป็นคนดู หายใจไปจิตแอบไปคิด รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน ก็มีจิตอีกคนนึงเป็นคนดู เฝ้ารู้ไปจนกระทั่งจิตเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา อย่างนี้เรียกว่าเราทำสมถะเป็น เวลาบางช่วงบางครั้งบางคราวจิตก็เข้าพักสงบ รู้เนื้อรู้ตัวอยู่นะ สงบ ไม่แส่ส่ายไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สงบไม่คิดไม่นึกอะไร ใจว่างสบายสว่าง อันนี้ทำสมถะเต็มที่

ต่อไปก็หัด นั่งสมาธิไปแล้วเห็นจิตเคลื่อนไหวรู้ไปเรื่อยจนจิตตั้งขึ้นมา ตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา อย่างนี้ดี จะเอาไว้ต่อวิปัสสนา นี้พอเราหัดภาวนาไปนะ พุทโธๆ เราเห็นเลย พุทโธเป็นของถูกรู้ จิตเป็นผู้รู้พุทโธ หายใจออกหายใจเข้านะ หายใจไป จนกระทั่งเห็นเลยร่างกายมันหายใจ จิตเป็นผู้รู้ว่าร่างกายหายใจ มีจิตที่เป็นผู้รู้ขึ้นมา จะเดินจงกลมยกเท้าย่างเท้าเห็นร่างกายมันเดินไป จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู ต่อไปพอผู้รู้ผู้ดูมันหายแว้บไป คือมันขาดสติเมื่อไรมันหายเมื่อนั้น สติมันระลึกได้เองเพราะมันเคยรู้จักผู้รู้ผู้ดูเนืองๆ ฉะนั้นเราจะฝึกจนกระทั่งสามารถรู้สึกตัวอยู่ในชีวิตประจำวันได้เนืองๆ เมื่อไรเป็นผู้หลงนะ ก็ขาดผู้รู้ เมื่อไรเป็นผู้รู้ก็ไม่เป็นผู้หลง บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็หลงเป็นผู้คิด บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็เป็นผู้เพ่ง

พอเรามาอยู่ในชีวิตประจำวัน เราเห็นตัวผู้รู้เค้าเกิดดับไปเรื่อยๆ เนี่ย เฝ้ารู้เฝ้าดูอย่างนี้เรื่อยๆ พอใจมันเป็นคนรู้คนดูขึ้นมาได้ มันจะเห็นร่างกายไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นวัตถุ ร่างกายเป็นก้อนธาตุ ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวไป จะเห็นเวทมาทั้งหลายไม่ใช่ตัวเรา ความสุขความทุกข์ทั้งหลาย ความไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหลาย ผ่านมาผ่านไป เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ จนใจของเรามันตั้งมั่น รู้เนื้อรู้ตัวเรื่อยๆ แต่ไม่ได้ตั้งเอาไว้จนแข็งๆรู้ตัวตลอดเวลา อย่างนั้นใช้ไม่ได้ ต้องรู้บ้างเผลอบ้างนะ ถึงจะเห็นว่าตัวรู้เองก็เกิดๆดับๆ

สมัยก่อน หลวงพ่อไปเรียนกับครูบาอาจารย์ เมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อนโน้น เข้าวัดไหนครูบาอาจารย์พูดแต่คำว่า”ผู้รู้” ท่านยังสอนด้วยซ้ำไปว่า ศาสนาพุทธ “พุทธ”แปลว่าอะไร พุทธ (อ่าน พุท-ธะ) แปลว่า”รู้” พุทธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ใจของเราชอบเป็นผู้คิด ใจของเราชอบเป็นผู้หลง เราฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ทำยังไงใจจะเป็นผู้รู้  ถ้ารู้ทันสภาวะที่กำลังปรากฎนะ ใจจะเป็นผู้รู้ขึ้นมา เช่นเผลอไปรู้ว่าเผลอ ใจก็จะเป็นผู้รู้ขึ้นแว้บนึง เป็นผู้รู้ตรงขณะไหน ขณะที่รู้ว่าเผลอ ถัดจากนั้นอาจจะเป็นผู้เพ่ง ใจโกรธขึ้นมานะ รู้ว่าโกรธ ขณะที่โกรธนะ ขณะนึง ขณะที่รู้ว่าโกรธนี่แหล่ะ ใจเป็นผู้รู้ขึ้นมาแล้ว ถัดจากนั้นอยากให้หายโกรธนี่ ใจมีอกุศลแล้ว มีความอยากเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นเราดูใจเราไปเรื่อยนะ ไม่ใช่ผู้รู้ต้องเที่ยงถวร ผู้รู้ไม่เที่ยงหรอก ผู้รู้เองก็เกิดดับ

ครูบาอาจารย์องค์นึงสอนดีมากเลยคือ หลวงปู่หล้า ภูจ้อก้อ บอกเลยว่า ผู้ใดเห็นว่าผู้รู้เที่ยงนะ เป็นมิจฉาทิฐิ จิตผู้รู้ก็ไม่เที่ยงแต่ว่าต้องมีอยู่อาศัยไว้ใช้ปฏิบัติเอา ของเราสังเกตสิ เดี๋ยวใจก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง เมื่อไหร่รู้สภาวะตรงความเป็นจริง ใจก็เป็นผู้รู้ขึ้นมาแว้บนึง เอาแค่แว้บเดียวพอนะ ไม่ต้องตั้งอยู่เป็นชั่วโมงๆ คนที่ตั้งเป็นชั่วโมงๆได้ต้องพวกที่เค้าทรงฌาน ผ่านฌานมาเต็มที่แล้ว เต็มภูมิอย่างน้อยได้ฌานที่สองแล้ว ได้ฌานที่สองใจจะเด่น ออกจากฌานมา ยังเด่นอยู่เป็นวันๆเลย อาศัยสมาธิอย่างนี้ตามรู้ดูกายดูใจได้นาน พวกเราไม่ได้ทรงฌานเนี่ยสมาธิจะอยู่แว้บเดียวๆเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” แต่อาศัย ขณิกสมาธิ เนี่ยแหล่ะทำมรรคผลนิพพานให้เกิดได้ เพราะสมาธิที่ใช้ทำวิปัสสนาจริงๆก็คือ ขณิกสมาธิ นี่แหล่ะดีที่สุดเลย รองลงมาก็คือตัว อุปจาร (คำเต็ม อุปจารสมาธิ) เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ ให้ใจมันตื่นขึ้นมา

วิธีง่ายที่สุดเลย ทำฌานไม่ได้ ทำยังไงใจจะตื่น ใจตื่นก็ตรงข้ามกับใจที่ไม่ตื่น ใจที่ไม่ตื่นคือใจหลับ ใจหลับได้ใจก็ฝันได้ ความฝันของใจก็คือความคิด ถ้าเมื่อไหร่รู้ว่าฝันนะเมื่อนั้นจะตื่น เวลาที่ใจไหลไปคิด ถ้าเมื่อไหร่พวกเรารู้ว่าจิตแอบไปคิดนะ เราจะตื่นขึ้นชั่วขณะนึง รู้ทันว่าจิตไหลไปคิด ขณะที่รู้นั่นน่ะตื่น ไม่เฉพาะหลงไปคิดนะ โกรธขึ้นมาขณะที่รู้ว่าโกรธ ขณะนั้นก็ตื่นเหมือนกัน แต่ตัวนี้ดูยากกว่า ใจของเราหลงคิดทั้งวัน มันดูง่ายกว่า อย่างจะดูจิตที่โกรธนะ แล้วก็ตัวรู้ว่าโกรธ วันนี้ยังไม่โกรธใครเลยเนี่ย จะภาวนายังไง แต่มีมั้ยวันใหนชั่วโมงไหนที่ไม่คิดมีมั้ย ไม่มีเลย จิตที่คิดคือจิตฟุ้งซ่าน เป็นจิตมีโมหะเค้าเรียกว่า “อุทธัจจะ” โมหะชนิด อุทธัจจะ จิตมันฟุ้งซ่าน เป็นจิตที่เกิดบ่อยที่สุดเลยจิตฟุ้งซ่านเนี่ย

เราเอาตัวที่เกิดบ่อยเนี่ยแหล่ะมาหัดทำกรรมฐาน เราจะได้ทำกรรมฐานบ่อยๆ เพราะฉะนั้นจิตไหลไปคิดแล้ว อ้อ หลงไปแล้ว มีคำว่า “แล้ว” นะ ทำไมต้องมี แล้ว ด้วย หมายถึงว่า หลงไปก่อน ไม่ได้ห้ามหลง หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง หลายคนภาวนาผิดนะ ไปจ้องรอดู ไหน เมื่อไหร่จะหลง เมื่อไหร่จะหลง จ้องใหญ่ ขณะที่รอดูนั่นหลงเรียบร้อยแล้วนะ ไม่มีวันรู้เลยว่าหลงเป็นยังไงเพราะหลงไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นให้มันหลงไปก่อนให้มันเผลอไปคิดก่อน แล้วก็ค่อยรู้ว่าเผลอไป หลงไป ให้มันโกรธไปก่อน ให้มันโลภไปก่อน แล้วก็รู้ว่ามันโกรธ​รู้ว่ามันโลภ นี่หัดรู้อย่างนี้บ่อยๆรู้ไปแล้วจะได้อะไร เห็นมั้ย คำสอนในศาสนาพุทธละเอียดนะ จะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำอย่างไรบอกแล้วนะ อย่างถ้าจะดูจิตดูใจเนี่ย ตามดูไป ให้สภาวะเกิดแล้วก็ตามรู้ไป หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง โกรธไปก่อนแล้วรู้ว่าโกรธ ตามดูไปเรื่อยๆ เราจะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำแล้วได้ผลอะไร ถ้าเราตามดูไปเรื่อย เราจะเห็นเลย เดี๋ยวจิตก็หลงเดี๋ยวจิตก็รู้  เดี๋ยวหลงเดี๋ยวรู้ นานๆจะมีอย่างอื่นแทรก เดี๋ยวโลภขึ้นมาเราก็รู้ หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ อ้าว เดี๋ยวโกรธขึ้นมา อีกแล้ว นานๆจะมีโลภแทรก นานๆจะมีโกรธแทรกที แต่หลงนี่มันยืนพื้นเลย มันเป็นกิเลสยืนพื้นเลย

ดังนั้นเราคอยรู้ทันเรื่อยๆ ไม่ใช่รู้เพื่อจะไม่ให้หลง แต่รู้เพื่ออะไร รู้เพื่อจะรู้ว่าเมื่อกี้จิตเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้จิตเป็นอีกอย่างหนึ่ง เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตโลภตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ ไม่ใช่ฝึกเพื่อจะไม่ให้โลภ ไม่ให้โกรธ ไม่ให้หลง จะฝึกเพื่อให้เห็นว่า เมื่อกี้เป็นอย่างนึง เดี๋ยวนี้เป็นอย่างนึง นี่คือการเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของสภาวะธรรมนั่นเอง เห็นมั้ยเมื่อกี้จิตหลง ตอนนี้จิตหลงดับไปแล้ว เกิดจิตที่รู้ขึ้นมา เห็นมั้ยเมื่อกี้เป็นจิตโกรธ ตอนนี้เกิดเป็นจิตที่รู้ จิตโกรธดับไปแล้ว จิตที่รู้อยู่ไม่นาน เกิดจิตหลงขึ้นมาแทนอีกแล้ว เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ ฝึกไปเรื่อยๆ

ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกปฏิเสธ สิ่งที่ไม่ดีแต่ฝึกจนเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาให้จิตรู้นี้ เป็นของชั่วคราวทั้งสิ้น จิตโลภก็โลภชั่วคราว จิตโกรธก็โกรธชั่วคราว จิตหลงก็หลงชั่วคราว ทำไมหลงชั่วคราวเพราะมีตัวรู้มาคั่น มีจิตรู้มาคั่น เราก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลยมันก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลย มันก็จะมีแต่จิตหลง หลงทั้งวัน หลงทั้งคืน เราจะรู้สึกว่าหลงแล้วเที่ยง จะไม่เห็นหรอกว่ามันเป็นไตรลักษณ์ แต่เรามีรู้ขึ้นมานะ เพื่อจะเห็นหลงมันขาดเป็นท่อนๆ หลงไปหนึ่งนาทีแล้วรู้สึกตัวแว้บ เราเห็นเลยชีวิตที่หลงนะมันจบไปแล้ว มันเกิดชีวิตใหม่ที่รู้สึกตัว เสร็จแล้วหลงไปอีกห้านาที ก็รู้สึกอีกทีนึง หลงไปอีกชั่วโมงรู้สึกอีกที ต่อไปฝึกไปเรื่อยๆนะ หลงสามวินาทีรู้สึก หลงสองวินาทีรู้สึก ยิ่งฝึกเก่งนะยิ่งหลงบ่อย หลงแว้บรู้สึก ฝึกไปเรื่อย ไม่ใช่ฝึกไม่ให้หลง ไม่ได้ฝึกห้ามหลง ไม่ได้ฝึกที่จะให้รู้ตลอดเวลา แต่ฝึกเพื่อให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วล้วนแต่ดับทั้งสิ้น

ปัญญาแก่รอบต่อไปอีก ก็จะเห็นอีกว่า จิตจะรู้หรือจิตจะหลงนะ ห้ามมันไม่ได้ บังคับมันไม่ได้ นี่คือการเห็นอนัตตา เราสั่งมันไม่ได้ มันไม่ใช่เราหรอก จิตจะหลง มันก็หลงของมันเอง จิตจะโลภ ก็โลภของมันเอง จิตจะโกรธ ก็โกรธของมันเอง จิตจะเป็นยังไงมันก็เป็นของมันอย่างนั้นแหล่ะ จิตจะรู้ขึ้นมา ก็รู้ได้เอง จงใจรู้ก็ไม่ใช่อีกแล้ว แต่เราก็ต้องฝึกจนกระทั่งมันได้รู้ขึ้นมานะ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนี่ฝึกให้มันมีรู้ก่อน

บางคนได้ยินหลวงพ่อพูด หลวงพ่อเล่าให้ฟังนะว่า ตอนหลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดุลย์ครั้งสุดท้าย สามสิบหกวันก่อนท่านมรณะภาพ หลวงปู่ดุลย์สอนหลวงพ่อ พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ ออกจากหลวงปู่ดุลย์นะ อีกวันไปหาหลวงพ่อพุธ หลวงพ่อพุธก็บอกท่านไปหาหลวงปู่ดุลย์มา หลวงปู่ดุลย์สอนอย่างเดียวกันนี้ บอก เจ้าคุณการปฏิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ สอนอย่างนี้ พอได้ยินอย่างนี้นะเลยพยายามทำลายผู้รู้ทั้งๆที่ผู้รู้ยังไม่มีเลย มีแต่ผู้หลงแต่หาทางทำลายผู้รู้ สติแตกสิ

ตอนนี้อย่าเพิ่งทำลายผู้รู้นะ ไม่ใช่เวลาทำลายผู้รู้ เอาไว้ให้ได้พระอนาคาก่อนแล้วค่อยพูดเรื่องทำลายผู้รู้ ตอนนี้เรายังไม่ได้ เราก็ยังไม่ทำลาย เราต้องมีผู้รู้ไว้ก่อน สังเกตมั้ยเดี๋ยวจิตก็รู้ เดี๋ยวจิตก็หลง เดี๋ยวจิตก็โลภ คอยรู้สึกไปเรื่อย รู้ัมันจะมีทีละแว้บ มีรู้อย่างนี้บ่อยๆ มีรู้ขึ้นมาเพื่อตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นช่วงๆ ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตตรงนี้รู้ เห็นมั้ยหลงต้องใหญ่หน่อย รู้ต้องนิดเดียว เป็นธรรมชาติอย่างนั้น ไม่ใช่ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตเดี๋ยวนี้รู้ ปัจจุบันไม่โตขนาดนี้ คำว่าปัจจุบันน่ะเล็กนิดเดียว ชิวิตที่รู้ลงมาคือชีวิตที่อยู่กับปัจจุบันได้ ขณะแว้บเดียวต่อหน้าเท่านั้น เล็กๆ ไม่มีรู้ยาวเท่านี้ (หลวงพ่อวาดมือ) รู้เที่ยงสิรู้อย่างนี้ รู้เที่ยงก็มิจฉาทิฐิ จริงๆรู้เกิดวับก็ดับ วับก็ดับ ดังนั้นเราฝึกนะจนกระทั่งเรารู้สึกขึ้นมา

วิธีที่จะให้รู้ขึ้นมาก็คือ คอยไปหัดรู้ทันเวลาใจหลงไปคิด อันนี้เป็นการบ้านที่ง่ายๆเลย เพราะจิตที่หลงคิดคือจิตที่เกิดบ่อยที่สุด จิตโลภจิตโกรธอะไรนี่มีน้อยนะ จิตหลงเนี่ยมีทั้งวันเลย เพราะในขณะที่โลภ ในขณะที่โกรธเนี่ยต้องมีหลงประกอบอยู่ด้วย ถ้าไม่หลงจะไม่มีโลภ ถ้าไม่หลงจะไม่โกรธ เพราะฉะนั้นจิตหลงเนี่ยเป็นตัวสาหัสสากันเลย ถ้าเราเรียนเรื่องจิตหลงได้ เราจะภาวนาได้ทั้งวัน

กรรมฐานนะ เราควรจะเลือกกรรมฐานซึ่งมันเกิดบ่อยๆ เราจะได้ดูบ่อยๆ อย่างใจเราหลงเนี่ยหลงทั้งวัน แล้วก็รู้ ใจหลงไปแล้วรู้  มันจะเห็นสลับกันเร็ว เคยมีนะ ตอนอยู่เมืองกาญฯ มีหนุ่มคนนึงมาถามหลวงพ่อ ผมใช้สิ่งอื่นนอกจากในสติปัฏฐานได้มั้ย ที่จะมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน ถามว่าจะใช้อะไร ถ้าฟ้าร้องแล้วผมจะรู้สึกตัว ปีนึงมันร้องกี่ครั้งนะ นานมาก บางวันก็ไม่ร้องตั้งหลายเดือน แสดงว่าตลอดมาเนี่ยเอ็งไม่มีสติเลยใช่มั้ย เอ็งจะมีสติตอนหน้าฝนอย่างเดียว อย่างงี้ใช้ไม่ได้

พวกเราไปดูสิอารมณ์ในสติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะ เป็นอารมณ์ที่เกิดตลอดเวลา หายใจออก หายใจเข้านี่ หายใจทั้งวันมั้ย ถ้าหายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวทั้งวัน ยืน เดิน นั่ง นอน มีทั้งวันใช่มั้ย ไม่ยืนก็เดิน ไม่เดินก็นั่ง ไม่นั่งก็นอน อะไรนี้ เวียนไปนี้ ถ้า ยืน เดิน นั่ง นอนรู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวได้เกือบทั้งวันแล้ว ยกเว้นอิริยาบถประหลาดๆ เช่น กระโดดอะไรนี้นะ หรือไปว่ายน้ำ เป็นอิริยาบถ แปลกๆไป ท่านก็สอนล็อกไว้อีกอันนึงเรื่องสัมปชัญญะ เคลื่อนไหวแล้วรู้สึก ก็เคลื่อนไหวแล้วก็หยุดนิ่ง หยุดนิ่งแล้วก็เคลื่อนไหว ถ้าหยุดนิ่งก็รู้สึก เคลื่อนไหวก็รู้สึก ก็รู้สึกตัวได้ทั้งวันแล้ว อารมณ์ที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะเกิดทั้งวัน อารมณ์เวทนาล่ะ มีทั้งวันมั้ย สุข ทุกข์ เฉยๆก็หมุนอยู่อย่างนี้ทั้งวันใช่มั้ย ถ้าสุขก็รู้ตัว ทุกข์ก็รู้ตัว เฉยๆก็รู้ตัว ก็คือรู้ตัวได้ทั้งวัน ดูจิตดูใจล่ะ จิตหลงไปแล้วรู้ เกิดได้ทั้งวัน หลงทั้งวัน ยกเว้นบางคนนั้นขี้โลภ เจออะไรมันก็อยากตลอดเวลาเลย ความอยากเกิดถี่ยิบเลยทั้งวัน พวกนี้ก็เอาความอยากเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่เดี๋ยวมันอยากแว้บอยากดู รู้ทัน อยากฟังรู้ทัน อยากคิดรู้ทัน พวกโลภมากนะ ดูอยากเป็นวิหารธรรม มีจิตที่อยากกับจิตที่ไม่อยาก คู่เดียวก็พอแล้ว เกิดทั้งวันแล้ว คนไหนขี้โมโหนะ อะไรนิดนึงก็โมโห อะไรนิดนึงก็ขัดใจ ก็เอาจิตที่มีโมโหนี่แหล่ะมาเป็นวิหารธรรม จิตโกรธขึ้นมาก็รู้ ขณะที่รู้ว่าโกรธนั้นคือจิตที่รู้ จิตนั้นมันโกรธ เดี๋ยวก็โกรธอีก เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ เห็นมั้ยมันจะเกิดทั้งวัน

เพราะฉะนั้นอารมณ์กรรมฐานที่เราใช้นั้นต้องเป็นอารมณ์ที่เกิดทั้งวัน เราจะได้มีสติได้ทั้งวัน หายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว เผลอไปรู้สึกตัว รู้ รู้ทันว่าเผลอ ก็รู้สึกตัว ก็เป็นจิตที่รู้ขึ้นมา ก็รู้ว่ามีจิตที่รู้อยู่ ทุกอย่างเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอด เวลา เราทำไปเพื่อให้เห็นว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับ ไม่ใช่ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบเช่น เราเห็นว่าร่างกายที่หายใจออก เกิดขึ้นมาแล้วดับไป กลายเป็นร่างกายที่หายใจเข้า ร่างกายที่หายใจเข้าเกิดแล้วก็ดับ กลายเป็นร่างกายที่หายใจออก ร่างกายที่ยืน ที่เดิน ที่นั่ง ที่นอนนี่ ก็คือร่างกายที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ หรือความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆนะ ก็แสดงความหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ความหลงไปกับความรู้สึก หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ ก็แสดงความเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ ภาวนาเพื่อให้เห็นสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบอะไรหรอกนั่นตื้นไป แต่ภาวนาเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ มันมีแต่ความไม่เที่ยง ในกายในใจนี้ มีแต่ความทนอยู่ไม่ได้ในสภาวะ อันใดอันหนึ่ง อยู่ไม่ได้ตลอดหรอก ไม่นานก็ต้องเสื่อมไป

มีแต่เรื่องบังคับไม่ได้นะ สั่งไม่ได้ ร่างกายก็ไม่ใช่เรานะ เป็นแค่วัตถุอันนึง จิตใจก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง สั่งมันไม่ได้ นี่ภาวนาอย่างนี้ สุดท้ายจะได้อะไรขึ้นมา จะเห็นเลยว่า ทั้งกาย ทั้งใจ ทั้งขันธ์ห้านี้เป็นทุกข์เป็นโทษทั้งหมดเลยนะ ไม่ใช่ของดีของวิเศษหรอก อย่างร่างกายนะ ประคบประหงมมันอย่างดีเลย ให้มันมีความสุข ไม่นานเลยมันก็ทุกข์อีกแล้ว นี่อย่างนี้ดูไปเรื่อย มันเอื่อมระอา มันไม่ยึดกายแล้ว จิตใจก็เหมือนกันนะ อุตสาห์ทำความสงบเข้ามา ไม่นานก็ฟุ้งอีกแล้ว ทำดียังไงเดี๋ยวก็แย่ขึ้นมาอีกแล้ว มีแต่ของไม่เที่ยงนะ เห็นแล้วอิดหนาระอาใจ ในที่สุดไม่ยึดจิตใจด้วย

สุดท้ายไม่ยึดทั้งกายไม่ยึดทั้งใจ ก็ไม่ยึดสิ่งใดในโลกนะ จิตก็หลุดพ้นจากความยึดถือ เรียกว่าวิมุตตินะ จิตหลุดพ้น หลุดแล้วจะได้อะไร ได้เห็นนิพพาน แต่ไม่เป็นเจ้าของนิพพานนะ นิพพานไม่เป็นของใคร นิพพานเป็นธรรมดาของโลกอยู่อย่างนั้น เป็นธรรมะประจำโลกอยู่อย่างนั้น แต่ว่าผู้ใดไปเห็นนิพพานผู้นั้นมีความสุขนะ จิตที่ไปรู้นิพพานนั้นมีบรมสุขที่สุดเลย มันพ้นความดิ้นรน พ้นความปรุงแต่ง พ้นความหิวโหย พวกเราค่อยๆฝึกนะ

วันนี้เทศน์มาตั้งแต่เช้าเนี่ยเรื่องอะไรบ้าง หวังว่าการปฏิบัติต้องรู้นะว่าเราจะทำอะไร ก็มีสมถะกับวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร ทำสมถะนะก็เพื่อให้มีกำลังไปทำวิปัสสนา หรือว่าบางครั้งก็ใช้พักผ่อนนิดๆหน่อยๆ พอมีเรี่ยวมีแรงสดชื่นแล้วก็ไปทำวิปัสสนา ทำอย่างไรนะ สมถะ เนี่ย ให้จิตไปอยู่ในอารมณ์ที่สบายแล้วจิตจะสงบ วิปัสสนานะให้ตามรู้ความเปลี่ยนแปลงของกายของใจไป ใจเป็นแค่คนรู้คนดูไปเรื่อย โลภขึ้นมาแล้วรู้ โกรธขึ้นมาแล้วรู้ ดูไปเรื่อย รู้แล้วได้อะไร ทำแล้วได้อะไร ถ้าทำสมถะก็ได้ตัวรู้ขึ้นมา ทำวิปัสสนาก็ได้ปัญญาเห็นความจริงของกายของใจ ได้เห็นความจริงแล้วก็หมดความยึดถือ ปล่อยวาง เข้าถึงบรมสุขที่แท้จริง


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๑๓
File: 520809A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

นาทีทองของผู้ปฏิบัติ

mp 3 (for download) : นาทีทองของผู้ปฏิบัติแนวสมถยานิก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

นาทีทองของผู้ปฏิบัติ

นาทีทองของผู้ปฏิบัติ

หลวงพ่อปราโมทย์ : สัมมาสมาธิ จิตอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตเคล้าเคลียอยู่ในอารมณ์อันเดียวอย่างมีความสุข ไม่ขาดสติ สงบก็สงบลงไปนิ่มๆ รู้เนื้อรู้ตัว ไม่ใช่หล่นวูบเลย ลืมตัวเองไปนะ ไม่ใช่

เสร็จแล้วพอถอยออกมาจากสมาธิ มารู้กาย มารู้ใจ โดยเฉพาะถ้าจิตถอยออกมาจากสมาธินะ เป็นนาทีทองของผู้ปฏิบัติที่ปฏิบัติโดยเอาสมถะนำหน้า ให้รู้ลงไปถึงความเปลี่ยนแปลงของจิตเลย ในขณะนั้น จิตเมื่อตะกี้นี้มีปีติตอนนี้ไม่มี จิตเมื่อตะกี้นี้มีความสุขตอนนี้ไม่มี จิตเมื่อตะกี้นี้เฉยๆต้องนี้ชักไม่เฉยแล้ว วิ่งไปวิ่งมา เนี่ยเราจะเริ่มเห็นความไม่เที่ยง

หลวงพ่อพุธท่านเคยสอน บอกว่า ตรงนี้คือนาทีทองนะ พวกเรารู้จักแต่นาทีทองที่จะไปซื้อของ จะไปจับฉลาก เราไม่รู้จักนาทีทองของการปฏิบัติ

นาทีทองของการปฏิบัติ ตอนที่จิตถอยออกจากความสงบ หรือตอนที่ตื่นนอน คนไหนทำฌานไม่ได้นะ ตอนที่ตื่นนอนมาปุ๊บเนี่ย ให้รีบมีสติ รู้ทันจิตใจของตนเองที่กำลังเปลี่ยแปลงไป ต่อหน้าต่อตา นี่คือนาทีทองของการปฏิบัตินะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ก่อนฉันเช้า

CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๕
ระหว่างนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๑๓ ถึง นาทีที่ ๒๓ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การดูจิตเป็นกรรมฐานที่เหมาะกับคนในเมือง

mp 3 (for download) : การดูจิตเป็นกรรมฐานที่เหมาะกับคนในเมือง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : กรรมฐานดูจิตดูใจ เป็นกรรมฐานที่เหมาะกับคนในเมือง เพราะเราเป็นนักคิด แต่ละคนเป็นนักคิด ในอภิธรรมก็สอนนะ พวกที่ทิฏฐิจริต พวกชอบคิดน่ะคิดมาก เหมาะกับการดูจิต

หลวงปู่ดูลย์เคยบอกหลวงพ่อนะ ก่อนท่านมรณภาพไม่นาน ท่านเคยบอกไว้ บอกว่า ต่อไปการดูจิตจะรุ่งเรืองในเมือง ตอนนั้นเราฟังเราก็ไม่เชื่อหรอกนะ แต่เราเคารพครูบาอาจารย์เราก็ไม่เถียง ถามว่าในใจเชื่อมั้ย ไม่ค่อยเชื่อ เพราะไปที่ไหนก็มีแต่คนดูกาย แทบทุกคนนะมีแต่เรื่องดูกาย เวลานี้มันเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา ไม่ใช่ว่าอะไรหรอก เพราะว่าสังคมมันเปลี่ยน

แต่เดิมสังคมเราเป็นสังคมเกษตร คนชนบทเยอะ คนทำไร่ทำนาอะไรอย่างนี้ สิ่งที่เขาปราถนาในชีวิตนะ คือความสุขความสงบในชีวิต อะไรอย่างนี้ วันๆไม่อยากจะคิดมาก จิตใจที่เป็นพวกตัณหาจริตเนี่ย รักความสุขรักความสงบรักความสบาย อะไรพวกนี้ ต้องพิจารณากาย ต้องมารู้กาย เพราะฉะนั้นคำสอนรุ่นก่อนที่ครูบาอาจารย์พาทำมาก็คือ ทำความสงบเข้ามาแล้วมาพิจารณากาย ถูกต้องเหมาะสมกับการปฏิบัติของคนกลุ่มหนึ่งนะ กลุ่มที่เป็นตัณหาจริต

ส่วนกลุ่มของพวกทิฎฐิจริต พวกคิดมากเนี่ย จะไปทำความสงบขึ้นมาก่อน จิตจะไม่ยอมสงบเพราะจิตจะชอบฟุ้งซ่าน ก็เลยต้องดูจิตใจเอา

ในอภิธรรมสอนนะ บอกว่าพวกตัณหาจริตเนี่ยให้รู้กายไป เพราะกายนี้จะสอนให้เห็นความจริงว่าไม่สวยไม่งาม ไม่สุขไม่สบาย พวกตัณหาจริตรักสุขรักสบาย รักสวยรักงาม พอมาดูกายแล้วก็จะหมดความยึดถืออย่างรวดเร็ว แต่การดูกายมีเงื่อนไข ต้องทำสมาธิก่อน เพราะฉะนั้นในแนวครูบาอาจารย์วัดป่า ท่านให้ทำสมาธิก่อนนั้นถูกต้องแล้ว เพราะฉะนั้นเมื่อทำสมาธิแล้วก็ออกมารู้กาย ดูกายไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ทำสมาธิเพื่อจะทำสมาธินะ ทำสมาธิแล้วต้องค้นคว้ารู้อยู่ในร่างกายนี้ ยืน เดิน นั่ง นอน คอยรู้สึกไปเรื่อย นี่แนวหนึ่ง สำหรับคนซึ่งรักสุขรักสบาย รักสวยรักงาม

อีกแนวหนึ่งสำหรับพวกคิดมาก เขาเรียกว่าพวกทิฎฐิจริต ในอภิธรรมสอนบอกว่า ทิฎฐิจริตนี้เหมาะกับการดูจิต แล้วก็การดูจิตเนี่ยเหมาะกับวิปัสสนายานิก เหมาะกับคนที่ดูเลยไม่ต้องทำฌาน ดูเข้าไปก่อน แล้วสมาธิเกิดทีหลัง

เพราะฉะนั้นการที่ทำความสงบแล้วดูกายจนเกิดปัญญาขึ้นมา ก็เป็นการปฏิบัติแบบที่เรียกว่า ใช้สมาธินำปัญญา ส่วนการดูจิตดูใจนี้นะ แล้วก็เกิดความสงบขึ้นทีหลังเนี่ย ใช้ปัญญานำสมาธิ

การปฏิบัติมีหลายแนวทาง ทางใครทางมัน แล้วแต่ว่าความสะดวกของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ไม่ใช่ทางใดผิดนะ ในที่สุดทุกคนก็จะมีทั้งสมาธิและปัญญา เข้าถึงวิมุติหลุดพ้นอันเดียวกัน

พอขึ้นไปถึงยอดเขาได้แล้ว คราวนี้จะรู้แล้วว่าทางขึ้นเขาไม่ได้มีเส้นเดียวอย่างที่เราเคยคิดไว้ ยกตัวอย่างคนที่กำลังไต่เขาขึ้นไป จะคิดว่าทางขึ้นเขาที่ดีที่สุดคือเส้นที่เราเดินอยู่นี่แหละ เพราะฉะนั้นครูบาอาจารย์องค์ใดนะ ถ้าท่านขึ้นยอดเขาไปแล้วเนี่ย เวลาท่านสอนท่าจะสอนกว้างขวาง บางคนท่านก็สอนดูกาย บางคนท่านก็สอนดูจิต ท่านรู้ว่าทางเดินของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ไม่ต้องลอกเลียนแบบกัน

หลวงพ่อเลยไม่จัดคอร์ส เพราะจริตนิสัยคนไม่เหมือนกัน ใครเหมาะอย่างไรก็ไปทำเอา หลวงพ่อมีแต่ไล่ ไปสิโน่นภูเขา เรือนว่าง ใช่มั้ยนี่ถ้าสมัยโบราณ เดี๋ยวนี้ไม่มี ไปสิบ้านของเธอเองน่ะ บ้านใครบ้านมันไปทำเอา

ฝึกเอานะ ไม่ยากหรอก ถ้าจะเอาสมาธิก็ทำสมาธิ พอจิตถอยออกจากสมาธิ มีสติรู้ทัน ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของจิตไป เจริญสติในชีวิตประจำวันเลย

จะได้เหมือนที่หลวงปู่มั่นบอกว่า ให้ทำความสงบไว้ แล้วก็พิจารณากาย แล้วก็มาเจริญสติในชีวิตประจำวัน ถ้าเอาแต่ความสงบนะก็เนิ่นช้า เอาแต่พิจารณาก็ฟุ้งซ่าน ส่วนการปฏิบัติที่สำคัญที่สุดก็คือการมีสติในชีวิตประจำวัน ตัวนี้ล่ะที่ทำให้บรรลุมรรคผล หรือไม่บรรลุมรรคผล ไม่ใช่นั่งสมาธิเก่งหรือไม่เก่งนะ คนละเรื่องกัน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ หลังฉันเช้า

CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๔
ระหว่างนาทีที่ ๔๓ วินาทีที่ ๕๙ ถึง นาทีที่ ๔๘ วินาทีที่ ๑๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หัวใจของการปฎิบัติ อยู่ที่การมีสติในชีวิตประจำวัน

mp3 (for download): หัวใจของการปฎิบัติ อยู่ที่การมีสติในชีวิตประจำวัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หัวใจของการปฎิบัติ อยู่ที่การมีสติในชีวิตประจำวัน

หัวใจของการปฎิบัติ อยู่ที่การมีสติในชีวิตประจำวัน

หลวงพ่อปราโมทย์: คำสอนของครูบาอาจารย์วัดป่ามีทั้งหมด 3 ขั้นตอน ต้องทำให้ได้นะ

ขั้นตอนแรกเลย ให้พุทโธ ให้กำหนดลมหายใจ แล้วแต่ความสะดวก ความถนัด พุทโธไป ทำลมหายใจไปจนใจเราสงบ

ใจเราสงบแล้วอย่าขี้เกียจขี้คร้านนะ ให้ใจออกมาทำงาน เอาใจออกมาทำงานคือมาพิจารณาร่างกายนี้ ไม่อย่างนั้นใจจะติดแต่ความสุข ความสงบ เฉยๆ อยู่ เฉยโง่ๆ นะอย่างนั้น เป็นสมาธิโง่ งั้นสงบแล้วต้องออกมาพิจารณาร่างกาย ให้ใจทำงาน หมดเวลาพุทโธพิจารณากายแล้วเนี่ย

ต้องทำขั้นตอนที่สาม คือการเจริญสติในชีวิตประจำวัน ขั้นตอนนี้ละเลยไม่ได้เด็ดขาดนะ ขั้นตอนนี้สำคัญที่สุด หัวใจกรรมฐานอยู่ที่การมีสติในชีวิตประจำวัน

หลวงปู่ใหญ่ หลวงปู่มั่นสอน หลวงพ่อไม่ทันท่านนะ ครูบาอาจารย์บอกต่อมา หลวงปู่มั่นสอนไว้บอกว่าทำความสงบมากเนิ่นช้า นี่ทำความสงบมากจะเนิ่นช้านะ เอาแต่ความสงบลูกเดียวไปไหนไม่รอดหรอก กี่ภพกี่ชาติก็ช้าอยู่น่านนะ

คิดพิจารณามากฟุุ้งซ่าน ดูกายพิจารณากายอย่างเดียวนะฟุ้งซ่าน งั้นพิจารณาไปพอสมควรแล้วก็ทำความสงบเข้ามาสลับไปสลับมา บอกว่าทำความสงบมากเนิ่นช้า คิดพิจารณามากฟุ้งซ่าน หัวใจของการปฏิบัติคือการมีสติในชีวิตประจำวัน

หัวใจอยู่ที่นี่นะ หัวใจอยู่ที่มีสติในชีวิตประจำวัน ต้องมีสติ มีสติร่างกายเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวคอยรู้สึก ให้ดูกายให้ดูใจไป อาจารย์มหาบัวเคยสอนหลวงพ่อ การปฏิบัติไม่มีอะไรมากหรอกบอกอย่างนี้ มีสติรู้กายรู้ใจลงเป็นปัจจุบัน ไม่ใช่นั่งเคลิ้มลูกเดียวนะ เคลิ้มลูกเดียวก็ ชาติหน้าก็ไปเคลิ้มอีกนะ มันไม่มีปัญญานะ สมถะไม่ทำให้เกิดปัญญานะ ต้องมามีสติรู้กายรู้ใจลงไป ซักฟอกลงมาในกายในใจนี้ จนมันคลายความยึดถึอกายยึดถือใจได้ มันหมดความยึดถือกายยืดถึอใจได้เมื่อไหร่ก็เป็นพระอรหันต์เมื่อนั้นนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันพุธที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๙

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๗
ลำดับที่  ๑
File: 491129
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๕๒ ถึง นาทีที่ ๗ วินาทีที่ ๑๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สัมมาสมาธิแท้ๆ จะเกิดธาตุรู้ตั้งมั่นเป็นหนึ่ง

mp3 (for download): สัมมาสมาธิแท้ๆ จะเกิดธาตุรู้ตั้งมั่นเป็นหนึ่ง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สัมมาสมาธิแท้ๆ จะเกิดธาตุรู้ตั้งมั่นเป็นหนึ่ง

สัมมาสมาธิแท้ๆ จะเกิดธาตุรู้ตั้งมั่นเป็นหนึ่ง

หลวงพ่อปราโมทย์: แต่ถ้าเราเคยฝึกสมาธิมาแล้วนะ จิตเรารวมเข้าไป ตรงที่จิตรวมเข้าไป ถ้าเราฝึกเต็มรูปแบบนะ ของสัมมาสมาธิแท้ๆ ของจิตสิกขาแท้ๆเนี่ย ตรงที่จิตรวมเข้าไปในปฐมฌานเนี่ย จิตยังไม่มีธาตุรู้ที่บริสุทธิ์ เด่นดวง เพราะในปฐมฌานยังมีวิตกมีวิจารอยู่ ยังมีการตรึก มีการตรอง ถึงตัวอารมณ์อยู่ จิตยังสนใจไปยังที่ตัวอารมณ์เป็นหลัก เป็นเครื่องผูกมัดจิตให้สงบ

ทีนี้พอขึ้นถึงฌานที่ ๒ ทุติยฌาน วิตกวิจารดับไป ถ้าพูดแบบอภิธรรม มันคือฌานที่ ๓ ของอภิธรรม เป็นฌานที่ ๒ ของพระสูตร เราพูดแบบพระสูตรก็แล้วกัน พอขึ้นถึงฌานที่ ๒ วิตกวิจารดับไป มีปีติ มีสุข เอกัคคตา ในขณะนั้นจะเกิดองค์ธรรมที่พิเศษอัศจรรย์ชนิดหนึ่งขึ้น ในพระสูตรจะเรียกว่า เอโกทิภาวะ

เอโกทิภาวะ หรือภาวะแห่งความเป็นหนึ่ง ในอรรถกถาบอกว่า คือสัมมาสมาธินั่นเอง เอโกทิภาวะก็คือ สภาวะที่ใจนี้ตั้งมั่น เด่นดวง ขึ้นมา แล้วมันเห็นอารมณ์ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของถูกรู้ถูกดู ใจมันเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู เนี่ยถ้าใจเราเข้าไปถึงฌานที่ ๒ ทุติยฌาน เราจะได้ เอโกทิภาวะ ขึ้นมา และถ้าถึง ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ถึงฌานที่ ๘ อะไรเหล่านี้ เอโกทิภาวะก็ยังอยู่ ใจจะตั้งมั่นเด่นอยู่อย่างนั้น

พอออกจากฌานแล้ว เอโกทิภาวะ นี้ยังทรงตัวอยู่อีกช่วงหนึ่ง อีกหลายชั่วโมง หรืออีกเป็นวันๆได้ ทรงตัว ถ้าฌานนั้นเกิดจากการเดินจงกรม เราเดินจงกรมอยู่แล้วจิตรวมลงไปถึงฌานที่ ๒ เนี่ย ถอยออกมาแล้วนะ เอเอโกทิภาวะทรงตัวอยู่ได้นาน เพราะฉะนั้นถ้าเราทำสมาธิด้วยการเดินได้เนี่ย กำลังของความรู้สึกตัวนี้จะทรงอยู่นานมาก จะนานกว่านั่ง เพราะฉะนั้นสมาธิที่เกิดจากการเดินจงกรมจะเข้มแข็ง

ทีนี้พอเรามีตัวผู้รู้ขึ้นมา พระป่าท่านจะเรียกว่าตัวผู้รู้นะ ทันทีที่จิตทรงมีตัวผู้รู้ขึ้นมาแล้วเนี่ย เราจะเห็นทันที ว่าร่างกายที่ยืน เดิน นั่ง นอน เนี่ย ไม่ใช่ตัวเรา เห็นมั้ย พอใจทรงตัวขึ้นมา มีสัมมาสมาธิขึ้นมา ปัญญาจะเกิดขึ้นมาทันทีเลย จะเห็นทันทีเลยว่า กายที่ยืนเดินนั่งนอนอยู่นี้ไม่ใช่ตัวเรา กายที่หายใจเข้าหายใจออกนี้ไม่ใช่ตัวเรา กายที่พองที่ยุบนี้ไม่ใช่ตัวเรา จะเห็นทันที ไม่ต้องคิดนะ แต่จะเห็นทันที จะรู้สึกทันที

เนี่ยถ้าเราฝึกเต็มภูมินะ เราจะเดินมาอย่างนี้ เพราะฉะนั้นกายานุปัสสนานะ หรือเวทนานุปัสสนาก็ตามเนี่ย ในอภิธรรมท่านถึงสอบบอกว่า เหมาะกับคนเล่นฌาน กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จะทำได้ดีถ้าเราทำฌาน และฌานนั้นถ้าจะดีจริงๆต้องถึงฌานที่ ๒ แล้ว จะมีเอโกทิภาวะขึ้นมา แล้วจะเห็นทันทีว่ากายนี้ไม่ใช่เรา เวทนาไม่ใช่เรา จะเห็นอย่างนั้น

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์
พ.ศ.๒๕๕๑

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๔
File: 510216A
ลำดับที่ ๑
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๕๑ ถึง นาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๕๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลวงพ่อสอนหลักของการปฎิบัติให้

mp 3 (for download) : หลวงพ่อสอนหลักของการปฎิบัติให้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อสอนหลักของการปฎิบัติให้

หลวงพ่อสอนหลักของการปฎิบัติให้

หลวงพ่อปราโมทย์: พวกเรามาเรียนกับหลวงพ่อนะ ถ้าถามว่าหลวงพ่อสอนอะไร บางทีงงนะ ถามว่าหลวงพ่อปราโมทย์สอนดูจิตเหรอ หรือสอนดูกาย หรือสอนดูเวทนา สอนให้ทำสมาธิก่อนหรือเปล่า หรือว่าให้เจริญปัญญาก่อน ถ้าใครไปตอบอันใดอันหนึ่งนะ ผิดเลยนะ หลวงพ่อไม่ได้สอนอย่างนั้น หลวงพ่อสอนหลักของการปฏิบัติให้ เพราะฉะนั้นคนไหนควรทำสมาธิก่อน เดินปัญญาทีหลัง (หลวงพ่อ)ก็(ให้)ทำ คนไหนควรเดินปัญญาก่อนสมาธิ ความสงบในขั้นลึกเกิดขึ้นทีหลัง (หลวงพ่อ)ก็(ให้)ทำ คนไหนควรทำสมาธิกับปัญญาควบกัน เหมาะที่ทำอย่างนั้น (หลวงพ่อ)ก็(ให้)ทำ เห็นมั้ย ไม่ใช่มีอันใดอันหนึ่งหรอก

คนไหนเหมาะที่จะดูกาย ดูกายแล้วเกิดสติ เกิดสมาธิ เกิดปัญญา ก็ดูกายเอาเป็นหลัก แต่เวลาดูกายไม่ใช่ไม่ดูจิตนะ คนไหนควรดูเวทนานะ ดูเวทนาแล้วมีสติ มีสมาธิ มีปัญญา ก็ดูเวทนา เห็นมั้ย ดูตัวเองน่ะ ไม่ใช่ดูคนอื่นหรอก คนไหนดูจิตแล้วก็ มีสติ มีสมาธิ มีปัญญาขึ้นมา ก็ดูจิตไป

เพราะฉะนั้นถ้าถามว่าหลวงพ่อสอนอะไรนะ สอนหลักนะ แล้วทุกคนต้อง apply ของตัวเอง เลียนแบบกันไม่ได้ด้วย ทางใครทางมันเลย


แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๗
Track: ๗
File: 531031.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๑๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การเจริญวิปัสสนาสำหรับ สมถยานิก (๒/๒)

mp3 for download : จากสมถะสู่วิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

การเจริญวิปัสสนาสำหรับ สมถยานิก (๒/๒)

การเจริญวิปัสสนาสำหรับ สมถยานิก (๒/๒)

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทำอย่างไรจะพลิกจากสมถะขึ้นสู่วิปัสสนาได้ วิปัสสนาคือการมีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นเมื่อใจเราสงบแล้วเนี่ย อย่าสงบอยู่เฉยๆ เพลินๆ มีแต่ความสุขอยู่เฉยๆ ระลึกรู้กายระลึกรู้ใจไว้ หัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆ เวลาที่จิตถอยออกจากสมาธินะ จิตที่เคยสงบเนี่ยจะเริ่มฟุ้งซ่าน ให้เรามีสติรู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่านไป ตรงนี้เป็นนาทีทองของการปฏิบัติเลย การที่จะพลิกจากสมถะขึ้นวิปัสสนา

ทำความสงบมาแล้ว ตอนที่จิตถอยออกจากความสงบ อย่าเจตนาถอย ถ้าเจตนาถอยจะปวดหัว ใจมันยังคล้ายๆมันยังนอนไม่พอ มันยังพักไม่พอ แล้วไปดึงมันขึ้นมา เหมือนคนกำลังหลับลึกนะ ถูกปลุกขึ้นมา ปวดหัว ถ้าจิตมันถอนขึ้นมาเองนะ ค่อยๆรู้สึก มันรู้สึกขึ้นมาเนี่ย พอรู้สึกขึ้นมาแล้วอย่าไปบอกว่า อ้าว..สบายแล้วหมดเวลาปฏิบัติแล้ว อันนี้ฉลาดน้อยมาก พอจิตถอนขึ้นมานะ ให้คอยรู้สึกกายรู้สึกใจ ร่างกายอยู่ท่าไหนก็รู้สึกไป จะเห็นเลยร่างกายที่อยู่ท่านี้อาจจะนั่งคอเอียงก็ได้ นั่งแล้วแข้งขาเหยียดก็ได้ ไม่สำคัญหรอก ไม่สำคัญว่านั่งท่าไหนนะ สำคัญที่คุณภาพข้างใน จิตใจเป็นอย่างไร

มีน้องร่วมสาบานของหลวงพ่อ เขาเรียก ซือตี๋ เวลาภาวนา ภาวนาเก่งนะ คนนี้ ภาวนาดี ภาวนาเข้าใจธรรมะ แต่เวลานั่งสมาธินะ ไม่น่านับถือ นั่งขัดสมาธิ์ดีๆนี่นะ พอจิตรวมลงไปนะ แข้งขามันจะเหยียดออกไป กางแข้งกางขานะ คนก็แอบมาหัวเราะ ครูบาอาจารย์ก็เตือน อย่าไปหัวเราะเขานะ ตัวเขาไม่ตรงแต่จิตเขาตรง ไปหัวเราะเขาบาป เพราะฉะนั้นพอเรารู้สึกตัวขึ้นมานะ ร่างกายอยู่ในท่าไหนเราก็รู้สึกไป พอรู้สึกตัวขึ้นมาใจจะเริ่มคิด เราก็รู้ทันว่าใจมันคิด ใจมันเป็นอย่างไรก็ตามรู้มันไปเลย นี่เป็นวิธีการนะ

แต่บางคนพอจิตถอยออกจากสมาธิแล้วถอยไม่หมด ติดความสงบออกมาด้วย ตัวนี้มีปัญหา เพราะฉะนั้นถ้าทำสมาธิแล้วพอออกจากสมาธินะ ใจตื่นขึ้นมาเต็มที่ อยู่ในโลกของมนุษย์ธรรมดาเลย เรียกว่าจิตมาอยู่ในกามาวจรภูมิเลยเนี่ย ดีที่สุดเลย แต่ถ้าจิตมันติดค้างอารมณ์ในรูปาวจร อรูปาวจร อารมณ์ในฌานออกมา มันจะซึมๆไปนิดนึง มันจะคล้ายๆ.. หลวงพ่อทำให้ดู ทำเก่ง.. เนี่ยโลกว่างเปล่า ไม่มีตัวมีตน ไม่มีอะไร ไม่มีสติ ไม่มีปัญญา จะไปเห็นอะไร โง่.. ฉลาดน้อยๆ

ทีนี้ถ้าจิตมันค้างอารมณ์ออกมานะ ครูบาอาจารย์ท่านก็สอน ให้กระตุ้นให้จิตทำงาน เพราะฉะนั้นครูบาอาจารย์วัดป่าจะบอกว่า พอทำความสงบแล้วให้พิจารณากาย ให้มาพิจารณากาย พุทโธแล้วมาพิจารณากาย รู้ลมหายใจแล้วพอถอยออกมาแล้วมาพิจารณากาย พิจารณาเพื่ออะไร เพื่อกระตุ้นไม่ให้จิตติดความสงบเฉยๆของสมาธิออกมา ให้มันหลุดออกมาสู่โลกภายนอกนี้ให้ได้ พอพิจารณาแล้วจิตมันกระฉับกระเฉงแล้ว จิตยอมทำงาน จิตยอมรู้กาย จิตยอมรู้ใจ หน้าที่ของเราก็คือ เจริญสติในชีวิตประจำวันต่อไป

เพราะฉะนั้นกรรมฐานที่ครูบาอาจารย์วัดป่าท่านสอน มันจะมี ๓ สเต็ป อันหนึ่งทำความสงบเข้ามา ทำความสงบอย่างเดียวนะ ไม่ดี หลวงปู่มั่นบอกทำความสงบมาก เนิ่นช้า ทีนี้พอสงบแล้วนะ ใจยังค้างคาอยู่ในความสงบนะ ท่านให้พิจารณากาย ทำไมต้องพิจารณากายตัวเอง เพราะว่าพิจารณาแล้วกิเลสมันไม่เกิด ถ้าให้ไปพิจารณากายสาวนะ เดี๋ยวมันจะสวยขึ้นมา ยิ่งพวกที่ติดสมาธินะ พอออกมาเจอหมาๆจะสวยด้วยซ้ำไป เพราะกิเลสจะดีดตัวอย่างรุนแรงเลย หรือเป็นคนขี้โมโห ไปทำสมาธินะ สงบไป พอออกจากสมาธินะ ขี้โมโหมากกว่าเก่า มันคิดดอกเบี้ยนะ

เพราะฉะนั้นครูบาอาจารย์จะสอนให้พิจารณาร่างกายตัวเอง พิจารณาแล้วมันไม่เกิดกิเลสขึ้นมา แต่เป็นการกระตุ้นให้จิตมันทำงาน เป็นการกระตุ้นเพราะหลวงปู่มั่นสอนว่าระวังอย่าให้จิตไปติดเฉย เพราะฉะนั้นท่านจึงมาพิจารณากายกัน ปลอดภัย พิจารณากายตนเองนี่ปลอดภัย พิจารณาอย่างอื่นไม่ค่อยปลอดภัย

ทีนี้พิจารณาไม่ใช่พิจารณามันทั้งวันทั้งคืน หลวงปู่มั่นบอกอีก พิจารณามากฟุ้งซ่าน เห็นมั้ย พิจารณาพอดีๆ พอให้จิตมันตื่นตัวขึ้นมา คล่องแคล่ว ปราดเปรียว กระฉับกระเฉง ถัดจากนั้นท่านถึงสอน บอกว่า การเจริญสติในชีวิตประจำวันนี้ คือหัวใจของการปฎิบัติ เห็นมั้ย หลวงปู่มั่นสอนนะ เป๊ะเลย

บางคนไปเข้าใจคลาดเคลื่อน ไปได้ยินหลวงปู่มั่นสอนว่า พุทโธๆ โอ๊ย.. สมถะ แล้วจะบรรลุมรรคผลนิพพานได้ยังไง โกหก ไม่จริงหรอก ปรามาสล่วงเกินครูบาอาจารย์ ไม่รู้หรอกว่า ตรงนั้นท่านก็ทำสมถะ ท่านก็รู้ว่าทำสมถะ ทำสมถะแล้วท่านก็มาพิจารณากาย ท่านก็รู้ว่าไม่ใช่วิปัสสนา หลวงปู่เทสก์เคยสอนชัดเลยว่า คิดพิจารณากายไม่ใช่วิปัสสนา หลวงพ่อพุธก็บอกนะว่า วิปัสสนานะเริ่มเมื่อหมดความคิด เพราะฉะนั้นไม่ใช่คิดเอา

ทีนี้บางคนฟังธรรมะของครูบาอาจารย์ไม่ตลอดสาย ฟังได้นิดๆก็ปรามาสไว้ก่อน เฮ้ยพุทโธเป็นแต่สมถะ เพราะไม่ได้ใช้อารมณ์รูปนาม ใช้ไม่ได้หรอก คิดพิจารณากายก็ใช้ไม่ได้ เพราะไม่ได้เห็นสภาวธรรมเกิดดับ แต่เป็นการคิดเอา ไม่ใช่วิปัสสนา ก็ไม่ใช่วิปัสสนาสิ ใครว่าวิปัสสนาล่ะ หัวใจอยู่ตรงที่มีสติในชีวิตประจำวันนี้ต่างหาก ท่านสอนว่า ยืน เดิน นั่ง นอน นะ จะครองผ้าจีวร สังฆาติ จะฉันอาหาร จะขับถ่าย ให้มีสติ มีสติรู้กาย มีสติรู้ใจ ตรงนี้แหละคือตัววิปัสสนาแท้ๆ ท่านถึงบอกหัวใจของการปฏิบัติอยู่ตรงนี้

ทีนี้บางคนเรียนไม่ดี หลังๆเริ่มหย่อนไป เอะอะทำความสงบอย่างเดียว แล้วก็ไม่ยอมพิจารณากาย หรือว่าสงบแล้วพิจารณากาย แต่พอหมดเวลาปฏิบัตินะ ไม่เจริญสติในชีวิตประจำวัน ถ้าไม่ได้เจริญสติในชีวิตประจำวันนะ อย่ามาพูดถึงมรรค ผล นิพพาน เลย ห่างไกล ก็ตอนทำสมาธิอยู่ วันหนึ่งๆจะทำสักกี่ชั่วโมง ใช่มั้ย เวลาที่เหลืออยู่ข้างนอกนี้ เราปล่อยทิ้งไปเฉยๆ กิเลสก็เอาไปกินหมด ไม่มีสติ ไม่มีปัญญา

เพราะฉะนั้นเมื่อเราทำความสงบแล้ว อย่าสงบเฉยอยู่ ให้ต่อขึ้นวิปัสสนา พอจิตถอนออกมาจากสมาธิมานะ รู้กายรู้ใจตามที่เขาเป็น ตามรู้ไปเลย แต่ถ้าถอนออกมาแล้วมันไม่ยอมรู้กายรู้ใจ มันเซื่องๆซึมๆอยู่อย่างนั้นนะ หาอะไรมายั่วมัน ให้จิตมันทำงาน คิดพิจารณากายก็ได้ หรือพิจารณาธรรมะอะไรก็ได้ ให้จิตมันทำงาน อย่าให้มันเฉย พอจิตมันทำงานแล้วคอยรู้สึก แต่อย่าให้มันฟุ้งออกไปข้างนอกนะ คอยรู้วนเวียนอยู่ในกายในใจตัวเอง

พอจิตมันเคลื่อนไหวคล่องแคล่วปราดเปรียวแล้วเนี่ย จิตจะนุ่มนวล จิตจะอ่อนโยน จิตจะคล่องแคล่วปราดเปรียว มีคุณสมบัติอย่างนี้แหละ ในพระไตรปิฎกก็พูดถึงคุณสมบัติเหล่านี้ว่า ทำสมาธิแล้วนะ จิตเบา จิตอ่อน จิตคล่องแคล่วว่องไว จิตควรแก่การงาน คือไม่ถูกกิเลสไม่ถูกนิวรณ์ครอบงำ จิตซื่อตรงในการรู้อารมณ์ โน้มน้อมจิตนี้ให้เกิดญาณทัศนะ ก็คือมาคอยรู้กายมาคอยรู้ใจ ด้วยจิตที่เบาๆ จิตที่สบาย จิตที่รู้เนื้อรู้ตัว จิตที่คล่องแคล่วว่องไว นี่ รู้อย่างนี้เรื่อย.. อย่าให้มันเฉย..ซึมกระทืออยู่ อย่าน้อมจิตไปอยู่ในความว่าง

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การเจริญวิปัสสนาสำหรับ สมถยานิก (๑/๒)

mp3 for download : การเจริญวิปัสสนาสำหรับ สมถยานิก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

การเจริญวิปัสสนาสำหรับ สมถยานิก (๑/๒)

การเจริญวิปัสสนาสำหรับ สมถยานิก (๑/๒)

หลวงพ่อปราโมทย์ : อันหนึ่งทำฌานไป ยกตัวอย่าง เรารู้ลมหายใจ ทีแรกลมหายใจนี้ เขาเรียกว่า “บริกรรมนิมิต” รู้ตัวลมหายใจ เห็นลมนะ ลมกระทบ ดูเล่นๆ ดูแบบใจเป็นคนดู อย่าให้จิตไหลเข้าไปอยู่ที่ลมนะ จิตไหลไปอยู่ที่ลมจะเป็นการเพ่งลม ฌานไม่เกิดหรอก ให้รู้มัน ให้รู้ลม เห็นร่างกายมันหายใจ เห็นหายใจอย่างนี้ หายใจ ดูอย่างสบายๆ ดูอย่างผ่อนคลาย ถ้าไปเพ่งแล้วจะไม่ผ่อนคลาย ถ้าจิตไม่ผ่อนคลายจิตจะไม่มีความสุข จิตไม่มีความสุขสมาธิจะไม่เกิด จำไว้นะ มันมีกระบวนการของมันนะ มีเหตุ มีผล มีต้น มีปลาย ทั้งสิ้นเลย

เรารู้ เราเห็นร่างกายของเราไป รู้เล่นๆไปนะ ดูไปเรื่อยๆจิตใจมีความสุข มีความสบาย ลมหายใจค่อยๆแปรสภาพไปเป็นแสงสว่าง เราจะเห็นลมเป็นแสงเลย เป็นเส้น..เลยนะ การที่เรารู้แสงสว่างอันนี้ ตัวนี้ไม่ใช่บริกรรมนิมิต ไม่ใช่ลมตัวเดิมแล้ว ตัวนี้เขาเรียกว่า “อุคหนิมิต” เป็นอุคหนิมิตขึ้นมา เราดูเห็นแสงสว่าง ใจเราสบาย ดูเล่นๆไป ทีแรกมันจะยืดยาว เห็นเป็นแสงเป็นเกลียววิ่ง มันจะรวมขึ้นมาเป็นดวง พอเราเห็นดวงนี้ เรารู้อยู่ที่ดวงนี้นะ มีสติรู้อย่างสบายๆ ดวงนี้สวยงามนะ ผ่องใส เหมือนแก้วสวยงาม เห็นแล้วมีความสุข ตัวดวงสว่างนี้เรียกว่า “ปฎิภาคนิมิต” เห็นมั้ย ไม่ใช่ตัวลมแท้ๆแล้ว กลายเป็นรู้นิมิตแล้ว ทำฌานไม่ใช่รู้ตัวลมนะ ทำฌานสุดท้ายไปรู้ตัวนิมิต มีนิมิตขึ้นมาแล้วก็รู้นิมิตไป นิมิตนี้สวยงาม นิมิตนี้ย่อได้ขยายได้นะ เปลี่ยนแปลงได้ตามใจชอบ มีความสุข เห็นแล้วมีความสุข

เห็นแล้วมีความสุขจิตก็มีปีติขึ้นมา จิตนี้มีความสุขที่ได้รู้นิมิตนี้ เพราะฉะนั้นจิตนี้จะเกาะอยู่กับนิมิตนี้โดยที่ไม่ได้เจตนา เรียกว่ามันมี “วิตก” คือมันตรึกถึงตัวนิมิตนี้ จิตนี้จะเคล้าเคลียอยู่กับตัวนิมิตนี้ เรียกว่า “วิจาร” จิตจะมีปีติ มีความสุขขึ้นมา มีเอกัคตาขึ้นมา

ภาวนาต่อไปอีกนะ จิตจะเห็นเลยว่า จิตยังถลำไปเกาะอยู่กับนิมิตนี้ ไม่ค่อยได้อะไรขึ้นมา ก็สังเกตเห็นอีก นิมิตนี้เป็นของถูกรู้ถูกดูนะ จิตมันถอนออกจากนิมิต มันละวิตกละวิจารเสีย ม้นเข้ามารู้อยู่ที่ตัวรู้ ตัวรู้คือ “เอโกทิภาวะ” ถึงผุดขึ้นในฌานที่สอง เอโกทิภาวะ คือตัวสัมมาสมาธิแท้ๆนี่เอง เกิดในฌานที่สอง ตัวนี้ยังเป็นแค่ตัวรู้ เป็นธรรมชาติรู้

จะทำฌานสูงขึ้นไปก็ได้หรือจะทำอยู่แค่นี้ก็ได้ พอออกจากตรงนี้แล้วเนี่ย อำนาจของสมาธิที่เราทำนี้ยังทรงอยู่อีกช่วงหนึ่ง จิตของคนซึ่งเดินมาถึงตรงนี้ ถอยออกมาแล้วนะ มันจะมีตัวรู้อยู่ อยู่ได้เป็นวันๆ แต่ไม่เกิน ๗ วัน ถ้าคนไหนเกิน ๗ วัน ต้องรู้เลยว่า ไปประคองตัวรู้ไว้แล้ว ผิดอีกแล้ว มันอยู่ไม่นานหรอก อยู่วันสองวัน อะไรอย่างนี้ วันสองวันแล้วเสื่อมไป เราก็ทำเอาใหม่ อย่าอยากทำ ถ้าอยากให้ได้ดีอย่างเดิม มันจะไม่ได้ ทีนี้ฝึกไปเรื่อย จนจิตมันชำนาญนะ มันรู้จักตัวรู้ชำนาญ ต่อไปถึงไม่ทรงฌานอยู่นะ นึกถึงมันก็มีอยู่แล้ว นี่เป็นเพราะมันชำนาญแล้ว มันคือสภาวะที่ “รู้” นั่นเอง

ทีนี้พอมีสภาวะที่ “รู้” แล้วมาเดินปัญญาต่อ เห็นกายมันทำงาน ทำไมต้องดูกาย เพราะว่าถ้าดูจิตนะ มันจะนิ่งไปเลย เพราะว่าจิตนั้นมันทรงตัวอยู่ เป็นตัวรู้ไปแล้ว มันไม่คิดไม่นึกไม่ปรุงไม่แต่งอะไรแล้ว ถ้าอยู่ๆไปดูใส่ตัวจิต มันก็จะไม่มีอะไรให้ดู มีแต่ว่างๆ นิ่งๆ ไป เพราะฉะนั้นพอจิตทรงฌานะ แล้วถอยออกมาเนี่ย ควรจะมารู้กาย หรือรู้เวทนา อย่าไปดูจิต เพราะฉะนั้นรู้กายและเวทนาเนี่ย เหมาะกับสมถยานิก

พวกที่ไม่มีสมาธินะ ไปดูกายก็ไปเพ่งกาย ไม่มีจิตที่ทรงตัวเป็นคนดูอยู่ จิตกับกายจะไม่แยกออกจากกัน ถ้าจิตกับกายไม่แยกออกจากกัน เรียกว่าแยกรูปแยกนามไม่ได้ ถ้ายังแยกรูปแยกนามไม่ได้ อย่ามาพูดเรื่องวิปัสสนา เพราะการเจริญปัญญานะ ญาณตัวแรกเลยชื่อ “นามรูปปริเฉทญาณ” แยกรูปแยกนามออกมา กายอยู่ส่วนกายนะ จิตอยู่ส่วนจิต จิตมันตั้งมั่นเป็นคนดู เห็นกายมันทำงาน แต่ถ้าจิตเผลอไผลไปที่อื่นนะ สติก็ระลึกได้อีก รู้ทั้งกายรู้ทั้งจิตนะ ไม่ใช่เพ่งอยู่แต่กายอย่างเดียว นี่สำหรับคนซึ่งทำสมาธิเต็มรูปแบบ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

พวกช่างคิดต้องดูจิต

mp3 for download : พวกช่างคิดต้องดูจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

พวกช่างคิดต้องดูจิต

พวกช่างคิดต้องดูจิต

โยม :กราบนมัสการหลวงพ่อครับ กระผมเป็นคนชอบคิดนะครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เหรอ น่าสงสารนะ ถ้าชอบคิดน่าสงสารนะ ว่าไง

โยม : เดิมอยากจะนั่งสมาธิ แต่ทำไม่ค่อยได้ ก็เลยเลือกปฏิบัติที่จะดูความเผลอ แล้วก็รู้สึกตัวมา โดยอาศัยกายมาเป็นวิหารธรรมครับ ไม่ทราบว่าถูกจริตของผม?”

หลวงพ่อปราโมทย์ : อื้ม.. ใช้ได้สิ ถูกจริตอยู่แล้วล่ะ เราพวกช่างคิดก็ต้องดูจิตเอา พวกช่างคิดไปดูกายไม่ได้หรอกนะ เพราะใจไม่ตั้งมั่น ไม่มีสมาธิพอ จะดูกาย จะดูเวทนา จิตต้องมีสมาธิพอ จิตของคุณดีขึ้น คุณรู้สึกมั้ย มันโปร่งโล่งเบาขึ้น

เราอย่าไปวาดภาพเอาเองนะว่า ก่อนจะปฏิบัติต้องทำสมาธิ การปฏิบัตินั้นมีตั้งหลายแนวทาง พวกหนึ่งใช้สมาธินำปัญญา ทำความสงบเขัามาแล้วไปพิจารณากาย ไปรู้กาย รู้เวทนา พวกหนึ่งใช้ปัญญานำสมาธิ คือดูจิตเข้าไปเลย อีกพวกหนึ่งใช้สมาธิและปัญญาควบคู่กัน อันนี้สำหรับคนที่ชำนาญ ทำสมาธิอยู่นะ แล้วดูความเกิดดับอยู่ภายใน เห็นองค์ฌานทั้งหลายเกิดดับๆอยู่ข้างใน อันนั้นถ้าเราทำไม่ได้ก็ไม่เป็นไร มันมีตั้งหลายแนวทาง

เราใช้ปัญญานำสมาธิได้ เราก็มีสติรู้ความเปลี่ยนแปลงของจิตไปเลย รู้สึกมั้ยจิตก็สงบขึ้น เห็นมั้ย จะไปนั่งสมาธิจะให้จิตสงบมันไม่ยอมสงบหรอก แต่เรามีปัญญานำ คือ ไม่ใช่คิดนำนะ ปัญญานำ กับคิดนำ คนละเรื่องกันเลยนะ คิดนำใช้ไม่ได้นะ ปัญญานำหมายถึงมีสติดูของจริงเลย ดูของจริงในใจเราที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเกิดดับไปเรื่อย ดูไปเรื่อยๆนะ ใจจะสงบเอง ใจจะตั้งมั่น สมาธิเกิดขึ้นเอง ที่ฝึกอยู่ใช้ได้นะ ใจก็สงบ ใจก็ตั้งมั่น เพียงแต่ตอนนี้ประคองไว้นิดหน่อย


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๐
File: 520425.mp3
ลำดับที่ ๓
ระหว่างนาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๒๖ ถึง นาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๒๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่น มีสัมมาสมาธิ มี ๒ วิธี

mp 3 (for download) : วิธีฝึกให้จิตตั้งมั่น มีสัมมาสมาธิ มี ๒ วิธี

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม ศรี่ราชา ชลบุรี

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม ศรี่ราชา ชลบุรี

หลวงพ่อปราโมทย์: สัมมาสมาธิคือความตั้งมั่นของจิต วิธีฝึกมี ๒ วิธี วิธีหนึ่งทำฌานสำหรับคนที่ทำฌานได้ ทำฌานไปจนถึงฌานที่ ๒ ละวิตก ละวิจารณ์ได้ วิตกคือการตรึกถึงอารมณ์ วิจารณ์คือการตรอง เคล้าเคลียอยู่ในอารมณ์ มีความจงใจที่จะตรึกนะ แต่ตรงวิจารณ์มันเคล้าเคลียไม่ได้จงใจเคล้าแล้ว

แต่ตรงนี้ วิตกวิจารณ์นี้ ยังปนอยู่กับการคิดอยู่ ยังมีการหยิบยกอารมณ์ จงใจหยิบยกอารมณ์ขึ้นมา ใจไปจงใจเคล้าเคลียอยู่กับอารมณ์ ใจจะยังไม่ตื่น เพราะยังเพ่งเล็งอยู่ที่ตัวอารมณ์

พอพ้นจากฌานที่ ๑ ไปนะ ดับวิตกดับวิจารณ์ไป มีปีติ มีความสุข มีจิตตั้งมั่นขึ้นมา มันจะมีสภาวธรรมตัวหนึ่ง เรียกว่า “เอโกทิภาวะ” ภาวะแห่งความตื่นเกิดขึ้น จิตจะเป็นผู้ตื่นขึ้นมา ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดูได้

เมื่อเราออกจากสมาธิแล้ว ตัวความตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูนี้ มันจะทรงอยู่ได้เป็นชั่วโมงๆ หรือเป็นวันๆ แต่ไม่เกิน ๗ วัน ก็เสื่อม เป็นของเสื่อมได้ แต่ว่าตอนที่ยังไม่เสื่อม ก็อาศัยมีใจที่ตั้งมั่นขึ้นมา คอยรู้กายที่เคลื่อนไหวไป ดูกายไปเรื่อย อย่าไปดูจิตนะ ถ้าทำสมาธิออกมา แล้วก็จิตมันติดความนิ่งความเฉยนะ ต้องระวัง ถ้าไปดูจิตเดี๋ยวจะไปนิ่งใหญ่

เพราะฉะนั้นครูบาอาจารย์ชอบสอนว่า ออกจากสมาธิแล้วคอยรู้กาย แต่คนไหนถนัดดูจิต ออกจากสมาธิแล้วก็ดูจิตต่อไปได้เลย ก็ไม่มีข้อห้ามหรอก แต่ส่วนใหญ่แล้วควรจะมารู้กาย เห็นร่างกาย ยืน เดิน นั่ง นอน เห็นว่าร่างกายที่ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นของถูกรู้ถูกดู ไม่ใช่ตัวเรา นี่ จิตมันแยกออกมาเป็นผู้รู้ ผู้ดู เรียกว่ามีจิตผู้รู้

อีกวิธีหนึ่ง สำหรับคนทำฌานไม่ได้ คือ พวกเราส่วนใหญ่ทำฌานไม่ได้ วิธีที่จะทำให้จิตเกิดความตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ ก็ใช้วิธีที่มีสติ คอยรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น จิตของเราจะไหลตลอดเวลา เรียนมาช่วงหนึ่งแล้วรู้สึกมั้ย จิตไหลตลอดเวลา เดี๋ยวไหลไปดู ใช่มั้ย ลืมตัวเอง ไหลไปฟังลืมตัวเอง ไหลไปคิดลืมตัวเอง เวลาภาวนาก็ไหลไปเพ่ง ไหลไปอยู่กับลมหายใจ ไหลไปอยู่กับท้องพองยุบ ไหลไปอยู่ที่เท้า อันนี้เป็นเรื่องของสมถะทั้งสิ้นเลย จิตมันไหลไป มันไม่ตั้งมั่น ไม่ตั้งมั่นสักว่ารู้สักว่าเห็น แต่จิตมันไหลไปแช่อยู่ในตัวอารมณ์ เป็นการเพ่งตัวอารมณ์ อันนั้นเป็นมิจฉาสมาธิ

ถ้าจะให้เป็นสัมมาสมาธิ จิตต้องตั้งมั่น เป็นแค่ผู้รู้อารมณ์ จิตอยู่ต่างหาก เห็นร่างกายอยู่ต่างหาก ร่างกายกับจิตมันแยกกัน เห็นเวทนากับจิตมันแยกกัน เห็นความปรุงแต่ง เช่นโลภ โกรธ หลง กับจิตเนี่ย มันแยกกัน

เห็นจิตเกิดดับไปทางทวารทั้ง ๖ เกิดที่ตาดับที่ตา เกิดที่หูดับที่หู เกิดที่ใจดับที่ใจ เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็หลงไป มันเกิดดับให้ดู

แล้วถ้าใจเราคอยรู้นะ รู้ทันใจที่มันไหลไปไหลมาเนี่ย ใจมันจะตั้งมั่นขึ้นเอง พอใจตั้งมั่นขึ้นเอง ที่หลวงพ่อชอบใช้คำว่า จิตมันถึงฐานแล้ว มันรู้ตัวเต็มที่แล้ว มันตื่นเต็มที่แล้ว ตรงนี้ ตรงนี้ จิตตรงนี้น่ะสำคัญ ถ้าจิตยังไหลตามอารมณ์ไปนะ ไม่สามารถทำวิปัสสนาให้เกิดปัญญาอย่างแท้จริงได้ แต่ถ้าจิตเราตั้งมั่นขึ้นมา เป็นผู้รู้ผู้ดู เราจะเห็นเลย ร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา เห็นทันทีเลยนะ เห็นเวทนาไม่ใช่เรา เห็นสังขาร โลภ โกรธ หลง อะไรพวกนี้ไม่ใช่เรา แล้วก็เห็นจิตเกิดดับทางทวารทั้ง ๖ นี้เป็นการเจริญปัญญา เพราะการเจริญปัญญาต้องเห็นไตรลักษณ์นะ ไม่ใช่เห็นอย่างอื่น


CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๒๖
File: 511221.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๓ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๔๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เจริญสติในชีวิตประจำวัน ก็ต้องทำสมถะทำตามรูปแบบด้วย

สมถะตามรูปแบบ

สมถะตามรูปแบบ

mp 3 (for download) : เจริญสติในชีวิตประจำวัน ก็ต้องทำสมถะทำตามรูปแบบด้วย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: งานเยอะ แล้วก็มันวุ่นๆ ยุ่งๆ แล้วรู้สึกว่าเหมือนมันไม่ได้ทำอะไรไปเลยน่ะค่ะ หลวงพ่อ

หลวงพ่อปราโมทย์: ต้องทำนะ อย่าทิ้งการทำในรูปแบบ เป็นเครื่องช่วย ถ้าเราจะเจริญสติในชีวิตประจำวัน ก็ไม่ใช่อยู่ๆ ก็เจริญไปเรื่อยๆ นะ ถึงวันหนึ่งกำลังก็ไม่พอ ครูบาอาจารย์วัดป่าจะสอน อย่างสายวัดป่านี่ การปฏิบัติมี ๓ สเต็ป ต้องทำทั้งสามอัน

อันแรกเลยทำความสงบให้จิตตั้งมั่น จิตสงบ มีกำลังขึ้นมา เป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา ที่นี้คนส่วนมากพอจิตสงบตั้งมั่นแล้วขี้เกียจ ขี้เกียจนี่ครูบาอาจารย์จะสอนให้พิจารณากาย อันนี้ก็เป็นสมถะอีกแบบหนึ่ง ให้คิดพิจารณากาย พอหมดเวลาปฏิบัติในรูปแบบแล้ว คราวนี้ต้องมีสติในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้นสติในชีวิตประจำวันนี่ตัวสำคัญที่สุด แต่การที่ทำใจสงบตั้งมั่น ทำใจให้ไม่ขี้เกียจขี้คร้าน อันนั้นก็เป็นตัวสนับสนุนที่สำคัญมาก

ที่นี้ถ้าพวกเราทำฌานไม่ได้ แต่ละวันนะ แบ่งเวลาไว้หน่อย ไหว้พระไว้ สวดมนต์ไว้นะ ได้สมถะ สวดมนต์แล้วจิตใจสงบได้สมถะ ถ้าสวดมนต์แล้วขี้เกียจให้รู้ว่าขี้เกียจ เราไหว้พระสวดมนต์แล้วเราก็แบ่งเวลาปฏิบัติในรูปแบบ ห้านาที สิบนาที สิบห้านาทีอะไรอย่างนี้ ต้องทำ อย่างที่หลวงพ่อพูดตั้งแต่ต้นแล้วนะ แบ่งเวลาไว้แล้วก็ทำในรูปแบบไว้หน่อย แล้วหัดรู้สภาวะไป การหัดรู้สภาวะทุกวันๆ มีประโยชน์มาก มันจะทำให้เรามีกำลัง สติมันจะมีกำลังที่จะเจริญสติในชีวิตประจำวันได้ ถ้าเราทิ้งการทำในรูปแบบไปเลยนะ มันจะไม่มีกำลังจริง มันเหมือนรู้นะ แต่ใจจะกระจายๆ รู้อย่างนี้ ผึ้งรู้สึกไหม รู้แบบไม่มีแรง รู้แบบป้อแป้ๆ ไม่มีแรง

สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๑
File: 491022A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๕๗ ถึง นาทีที่ ๒๗ วินาทีที่ ๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไตรสิกขา

ไตรสิกขา

ไตรสิกขา

mp 3 (for download) : ไตรสิกขา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เมื่อเดือนก่อนไปกราบท่านอาจารย์มหาบัว ท่านไม่สบายนะวันที่ไปน่ะ เป็นวันฉัตรมงคลหรือเปล่า ใช่ไหม เป็นวันฉัตรมงคล ตอนเช้าท่านออกมารับโยมนะ ฉันไปนิดหน่อยหรือไง ท่านเป็นลมล่ะ พระต้องเอาท่านกลับกุฏิล่ะ ไปนวด ให้ออกซิเย่นน่ะ นวด ท่านค่อยยังชั่วขึ้นมา บ่าย ๓ โมงกว่า

เข้าไปกราบท่าน ๓ โมงครึ่ง  ทีแรกท่านก็เนือย ๆ เหนื่อย ๆ นะ สังขารเป็นอย่างงั้นนะ สักพักน่ะ ก็ดู ๆ ไปในความชราของท่าน ในความเจ็บไข้ของท่านนะ ท่านมีความสุขจังเลย มีความสุขที่พวกเราไม่มีนะ ไอ้คนแข็งแรงก็ไม่มีความสุขอย่างนี้นะ คนหนุ่มคนสาวเขาก็ไม่มีความสุขอย่างนี้ เราดูแล้วเราเห็นตัวอย่างที่ดีนะ ดูครูบาอาจารย์มาแต่ละองค์ ๆ ท่านมีความสุข ยิ่งอยู่ไปยิ่งมีความสุขนะ พัฒนาไปเรื่อย งั้นเรามาเดินตามแนวของท่านนะ ท่านเดินยังไง ท่านเดินอยู่ในหลักของไตรสิกขานั่นเอง ศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ได้เดินนอกแนวทางนี้ไปได้หรอก ทุกองค์ ๆ ก็เดินอยู่ในแนวทางอันนี้

มีศีลนะ มีความสุข เคยได้ยินไหม เวลาทำบุญพระชอบสวด สีเลน สุคตึ ยนฺติ มีศีลแล้วจะมีความสุข มีสุคติ ไม่ใช่ทุคติ ตอนนี้ในบ้านในเมืองเรา ทุคติ รู้สึกไหม เป็นโซนทุคติแล้วนะ เพราะไม่มีศีล งั้นพวกเราพัฒนาใจของเรานะ ตั้งใจเอาไว้ ทุกวันเลย ตื่นนอนขึ้นมานะ ตั้งใจไว้ วันนี้เราจะไม่ทำผิดศีลห้า ตั้งใจอย่างนี้ทุกวันนะ ส่วนกลางวันศีลจะด่างพรอย กระท่อนกระแท่นก็ช่างมันนะ แต่ตื่นนอนต้องตั้งใจไว้ก่อน ย้ำกับตัวเองเอาไว้ว่าเราจะไม่ผิดศีล และพยายามรักษาให้เต็มที่ ก่อนจะนอนก็ตั้งใจอีก นอนไปวันนี้เราก็จะไม่ทำผิดศีล บางคนสงสัยทำไมจะนอนแล้วยังต้องรักษาศีล เกิดนอนแล้วไม่ได้ฟื้นขึ้นมา เป็นโรคไหลตายน่ะ อย่างน้อยก็ยังตั้งใจว่าจะรักษาศีลอยู่

รักษาศีลเนี่ย คือ เราตั้งใจไว้ว่าเราจะไม่เบียดเบียนคนอื่นนะ ด้วยกาย ด้วยวาจาเนี่ย เราจะไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่ว่ากิเลสจะเกิดขึ้นในกายใจเรารุนแรงแค่ไหน เราจะไม่เบียดเบียนผู้อื่นนะ ตั้งใจไว้อย่างนั้น วิธีที่จะรักษาศีลให้ง่ายนะ ให้มีสติ ถ้ากิเลสเกิดขึ้นที่จิตใจของเรานะ เรามีสติรู้ทันไว้ กิเลศจะครอบงำจิตไม่ได้ ถ้ากิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก คนทำผิดศีลได้เพราะกิเลสครอบงำจิต เพราะงั้นพวกเราฝึกนะ คอยรู้ทันจิตของตัวเองไว้ กิเลสโผล่ขึ้นมาคอยรู้ไว้ เราจะถือศีลง่าย ถ้าเราไม่มีสติซะอย่างเดียวนะ โอกาสจะถือศีลจะยากมาก ศีลจะด่างพร้อยอย่างรวดเร็วเลย

ศีลข้อไหนด่างพร้อยง่ายที่สุด นึกออกไหม ข้ออะไร อืม รู้ทั้งรู้นะ แต่ก็ด่างนะ เพราะฉะนั้นเราต้องมีสตินะ คอยรู้ทันจิตใจเรา กิเลสอะไรเกิดเราคอยรู้นะ ราคะอะไรเกิดเราคอยรู้นะ เพราะรู้ทัน ราคะจะไม่ครอบงำจิต เราก็ไม่ไปขโมยใคร ไม่เป็นชู้ใคร ไม่ไปโกหกหลอกหลวงเอาสมบัติของใครน่ะ โทสะเกิดขึ้นเรามีสติรู้ทันนะ เราก็ไม่ฆ่าใคร ไม่ตีใคร ไม่ด่าใครนะ เราคอยมีสติรู้ทันไปเรื่อย รักษาศีลง่าย

รักษาศีลเนี่ย ศีลทำให้กายวาจาเรียบร้อย แต่เวลารักษา รักษาที่ใจ ถ้ารักษาใจได้นะ กายวาจาเรียบร้อยไปเองแหล่ะ ถ้ากายวาจาไม่เรียบร้อย ก็เพราะใจมันไม่เรียบร้อย เรามีสตินะ รักษาใจของเรา อันนี้หลวงพ่อยังใช้คำว่ารักษาใจอยู่นะ รักษาจิตใจ ยังไม่ใช่ขึ้นวิปัสสนา ถ้าถึงขั้นวิปัสสนา ไม่ใช่ขั้นรักษาแล้ว เป็นขั้นเรียนรู้ความจริง ในขั้นถือศีลนะ มีสติรักษาใจตัวเองไว้

ถัดจากนั้นเรามาฝึกสมาธิ อย่าไปกลัวคำว่าสมาธิ สมาธิเป็นเรื่องธรรมดานะ สมาธิมี ๒ จำพวก สมาธิชนิดที่หนึ่งนะ เป็นสมาธิเพื่อการพักผ่อนนะ ทำสมาธิเพื่อพักผ่อน เช่น เรา พุท โธ พุท โธนะ จิตใจเราสบายอยู่กับพุท โธ สงบ ได้พักผ่อน หายใจออก หายใจเข้า จิตใจสงบ อยู่กับลมหายใจ ได้พักผ่อน ดูท้องพองยุบนะ จิตใจสงบอยู่กับท้อง ได้พักผ่อน ไปเดินจงกรมนะ จิตใจสงบอยู่กับร่างกาย จะอยู่กับเท้า หรืออยู่กับร่างกายทั้งร่างกายก็ได้ แบบนี้ก็ได้พักผ่อน คือจิตได้ไปอยู่สงบ อยู่กับอารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่อง สบายอยู่ในอารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่อง จิตสงบได้พักผ่อน

จิตปกตินั่น ร่อนเร่อยู่ตลอดเวลานะ หยิบฉวยอารมณ์โน้น หยิบฉวยอารมณ์นี่ตลอดเวลานะ สังเกตดู ใจของเราเดี๋ยวก็อยากดู เดี๋ยวก็อยากฟัง เดี๋ยวก็อยากได้กลิ่น เดี๋ยวก็อยากได้รส เดี๋ยวก็อยากสัมผัสโน่นสัมผัสนี่ เดี๋ยวก็อยากทางใจ อยากชิม อยากนึก อยากปรุง อยากแต่ง อยากสงบ อยากได้มรรคผลนิพพานนะอยากดี ไม่อยากชั่ว อยากสุขไม่อยากทุกข์ มีความอยากเกิดขึ้นตลอดเลย

จิตมันหิวอารมณ์ มันก็ดิ้นหาอารมณ์ไปเรื่อย ไม่สงบ เราก็เลือกดู ว่าถ้าเราอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุขนะ เราก็อยู่กับอารมณ์ชนิดนั้นนะ พอจิตได้ยินอารมณ์ ได้เสวยอารมณ์ที่มีความสุขแล้ว จิตก็ไม่ร่อนเร่ไปที่อื่น

หลักของการทำสมถะนะ ทำสมาธิให้เป็นสมถกรรมฐานเพื่อพักผ่อนเนี่ย เราเลือกดูว่าเราอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุข ต้องเป็นอารมณ์ที่เป็นกุศลนะ อย่างหลวงพ่อตั้งแต่เด็กนะ อยู่กับลมหายใจนะ แล้วมีความสุข ดังนั้นเวลาต้องการการพักผ่อน หลวงพ่อก็มารู้ลมหายใจ จิตไม่หนีไปที่อื่น จิตอยู่กับลมหายใจ อยู่ในอารมณ์อันเดียว ไม่ร่อนเร่ ไปตะครุบอารมณ์โน่นทีอารมณ์นี่ที จิตใจสงบมีความสุขขึ้นมา ได้พักผ่อน อันนี้เป็นสมาธิแบบหนึ่งนะ

สมาธิแบบที่สองเป็นสมาธิของการเตรียมความพร้อมทางจิตใจ เพื่อจะไปทำการเจริญปัญญา หรือทำวิปัสสนา สมาธิอันที่หนึ่งทำไปเพื่อพักผ่อน ให้มีความสุข มีความสงบ สมาธิอันที่สองเป็นการเตรียมจิตให้พร้อมกับการเจริญปัญญานะ จิตที่จะเจริญปัญญาได้ต้องเป็นจิตที่ตั้งมั่นนะ ไม่ใช่สงบแล้วก็เพลินอยู่กับความสุขความสงบ จิตที่ใช้เดินปัญญาได้เป็นจิตที่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้สึกตัว เป็นจิตที่รู้สึกตัว จิตชนิดนี้จะไม่ไหลตามอารมณ์ แต่ว่าอารมณ์มันจะไหลผ่านมา จิตเป็นแค่คนดู จิตไม่ไหลตามอารมณ์ ไม่เหมือนอารมณ์ชนิดแรกนะ อารมณ์ชนิดแรกน่ะ จิตไปแนบอยู่กับตัวอารมณ์ รู้ลมหายใจ จิตไปอยู่กับลมหายใจ รู้ท้องจิตไปอยู่ที่ท้อง รู้มือจิตอยู่ที่มือ แล้วไม่หนีไปที่อื่น สงบอยู่อย่างนั้น

สมาธิอย่างที่สองที่จะใช้เดินปัญญาเนี่ยนะ จิตตั้งมั่นเป็นแค่คนดู เห็นอารมณ์ทั้งหลายผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป จิตตั้งมั่นเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู ไม่ไหลตามอารมณ์ไป คล้ายๆ เราอยู่บนฝั่งริมแม่น้ำ ริมคลอง เรายืนอยู่บนฝั่งเห็นสิ่งต่าง ๆ ลอยน้ำมา ท่อนไม้ลอยน้ำมาบ้างนะ หมาเน่าลอยมาบ้าง ดอกไม้ลอยมาบ้างนะ เห็นเรือผ่านมาบ้าง เห็นคนว่ายน้ำผ่านมาบ้าง เราอยู่บนบก เราไม่โดดลงในน้ำ เราเห็นทุกอย่างไหลผ่านหน้าเราไปเฉยๆ

สมาธิชนิดนี้นะ จิตจะตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดู เห็นปรากฎการณ์ทั้งหลาย ไหลผ่านหน้าไป เช่น เห็นความสุขไหลผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความทุกข์ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความสงบผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความฟุ้งซ่านผ่านมาแล้วก็ผ่านไปนะ เห็นความโลภ ความโกรธ ความหลงผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความดีใจ ความเสียใจ ความกลัว ความเกลียด ความพยาบาทนะ เห็นทุกสิ่งทุกอย่างนั่นแหล่ะ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป จิตเป็นคนดู ดูอยู่ห่าง ๆ นะ

เราต้องค่อย ๆ ฝึกนะ ให้มีจิตชนิดนี้ จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ย เป็นจิตที่หลุดออกจากโลกของความคิด เป็นจิตที่หลุดออกจากโลกของความคิดนะ จิตที่ไหลไปแช่ไปนิ่งอยู่ในอารมณ์ มักจะเพลินไปในโลกของความคิด ยิ่งคิดถึงพุทโธ คิดถึงลมหายใจ คิดถึงท้องพองยุบนะ แล้วก็เพลินไป ส่วนจิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนะ มันจะหลุดออกจากโลกของความคิดได้

วิธีที่จะฝึกไม่ยากเท่าไรนะ ฝึกสังเกตจิตที่ไหลไปคิด จิตที่หลงไปคิด วิธีฝึกนะ เบื้องต้นทำกรรมฐานสักอันหนึ่งก่อน กรรมฐานอันที่เคยทำนั่นแหล่ะ เคยพุทโธ ก็พุทโธ เคยรู้ลมหายใจก็ลมหายใจ เคยดูท้องพองยุบก็ดูท้องพองยุบไปนะ เคยทำกรรมฐานอะไรก็ทำไป แต่ไม่ได้ทำเพื่อให้จิตเข้าไปแนบ เข้าไปนิ่ง อยู่กับตัวกรรมฐาน ปรับ ปรับการทำนิดหนึ่งนะ ปรับการทำนิดหนึ่ง เช่น เราอยู่กับพุทโธ พุทโธไป แล้วรู้อะไร รู้ทันจิต รู้ทันจิตเลยนะ พุทโธ พุทโธไป จิตสงบอยู่ รู้ว่าสงบอยู่ พุทโธ พุทโธ พุทโธ จิตหนีไปคิด รู้ว่าจิตหนีไปคิด หรือบางคนอยู่กับลมหายใจนะ แต่เดิมรู้ว่าลมหายใจ จิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ ที่นี่เป็นแบบแรก สงบ ถ้าสมาธิแบบที่สองนะ เห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดูอยู่ หายใจไปด้วยความรู้สึกตัวนะ หายใจไปด้วยความรู้สึกตัว จิตไม่ไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ แล้วต่อมาจิตหนีไปคิด จิตไหลไปคิดปึ้บ มีสติรู้ทันว่าจิตไหลไปคิด เมื่อไรรู้ทันว่าจิตหนีไปคิดนะ เมื่อนั่นจิตจะตื่นขึ้นมา

ที่หลวงพ่อบอกว่า ตื่น  ๆ บางคนไปโม้นะ บอกว่าตัวเองได้พระโสดา เพราะหลวงพ่อบอกว่าตื่นแล้ว ตื่นนี่แค่เบื้องต้นมีสมาธิเท่านั้นเอง เบื้องต้นเพื่อเจริญปัญญาต่อไป หลวงพ่อเทียนจึงบอกว่า ถ้ารู้ว่าจิต คิดจะได้ต้นทาง ต้นทางของการปฏิบัตินะ ไม่ใช่ได้โสดา เพราะงั้นเรารู้สึกตัวขึ้นมานะ จิตไหลไปคิดเรารู้ พุทโธ พุทโธ จิตหนีไปคิดเรารู้ หายใจไปหายใจออกหายใจเข้า จิตหนีไปคิดเรารู้ ดูท้องพองยุบไป จิตหนีไปคิด เราคอยรู้ เพราะงั้นจิตไหลไปอยู่ที่ท้องก็คอยรู้นะ จิตไปเพ่งก็รู้ จิตคอยคิดจิตก็รู้

สรุปแล้วก็คือ ทำกรรมฐานขึ้นสักอันหนึ่ง แล้วจิตไปเพ่งก็รู้ จิตเผลอไปก็รู้ เมื่อก่อนหลวงพ่อพูดเรื่อยๆ เผลอกับเพ่ง จำได้ไหม ถ้าไม่เผลอ ไม่เพ่งจิตก็ตื่นขึ้นมา เป็นผู้รู้ผู้ตื่น จิตมีสมาธินั่นเอง เพราะงั้นเราทำกรรมฐานขึ้นสักอันหนึ่ง แล้วจิตไปเพ่งอารมณ์ ไปเพ่งลมหายใจเข้าออกก็รู้ ไปดูท้องพองยุบแล้วจิตไปอยู่ที่ท้องก็รู้ เดินจงกรมแล้วจิตไปอยู่ที่เท้าก็รู้ รู้ทันนะ พอรู้ทันแล้วจิตมันจะถอนตัวขึ้นมาเป็นผู้รู้ได้ทันได้เอง

หรือจิตหลงไปคิด หายใจอยู่ พุทโธอยู่ ดูท้องพองยุบอยู่ จิตหลงไปคิดแล้ว รู้ทัน พอรู้ทันแล้วจิตจะถอนตัวขึ้นมา เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนะ จิตตัวนี้จะโปร่ง โล่ง เบา อ่อนโยน นุ่มนวล คล่องแคล่ว ว่องไว ไม่หนัก ไม่แน่น ไม่ซึม ไม่ทื่อนะ จิตชนิดนี้แหล่ะ พร้อมที่จะเจริญปัญญาแล้ว

เพราะฉะนั้นสมาธินั่นก็มี ๒ ส่วน สมาธิที่ทำไปเพื่อความสุข ความสงบ อันหนึ่ง สมาธิเพื่อเตรียมจิตให้พร้อมกับการเดินปัญญาเป็นอีกอย่างหนึ่งนะ พอจิตพร้อมกันการเดินปัญญา รู้ตัวแล้วเนี่ย ไม่หยุดอยู่แค่นั้น ต้องมาเดินปัญญานะ

การมาเดินปัญญานั่นเบื้องต้น ต้องหัดแยกธาตุ แยกขันฑ์ให้ได้ อย่างน้อยต้องแยกเรื่องรูปธรรม นามธรรมออกจากกันให้ได้นะ พอใจเราตั้งมั่นให้เป็นผู้รู้ผู้ดูแล้ว เราคอยรู้สึกลงไป เห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายพองยุบ ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายเคลื่อนไหว ร่างกายหยุดนิ่ง จิตใจเป็นคนดูนะ ทำตัวเป็นคนดูนะ ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง ใจเป็นคนดู หัดอย่างนี่บ่อย ๆ นะ นั่งสมาธิไปก็ได้ นั่งไปแล้วก็เห็นร่างกายหายใจ สังเกตไหม ใจเราอยู่ต่างหาก ใจเราตั้งมั่นอยู่ เป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ ร่างกายมันหายใจ ร่างกายไม่ใช่จิตใจ

นี่หัดอย่างนี้นะ หัดแยกขันธ์ พอเราแยกได้ เราจะเห็นว่าร่างกายกับจิตใจเป็นคนละอย่างกัน ร่างกายกับจิตใจอยู่ห่าง ๆ นะ ไม่ได้อยู่เป็นเนื้อเดียวกันอย่างแต่เดิม ตลอดชีวิตที่รู้สึกมาแล้ว ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่งนะ นั่งต่อไปด้วยความอดทนนะ นั่งต่อไปสักพักใหญ่  ๆ มันเมื่อย เราจะเห็นเลยความปวดความเมื่อยมันแทรกเข้ามา เนี่ยแทรกเข้ามาในร่างกาย ร่างกายตั้งมั่นอยู่ก่อน ตั้งอยู่ก่อน ความเมื่อยมาทีหลัง เพราะฉะนั้นความเมื่อยไม่ใช่ร่างกายหรอก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา จิตก็เป็นคนดูอยู่อย่างเดิมนะ เราก็จะเห็นได้ว่าร่างกายก็เป็นส่วนหนึ่งนะ นี่คือรูปขันธ์นะ ความปวดความเมื่อยเรียกว่า เวทนาขันธ์ จิตเป็นวิญญาณขันธ์

แยกได้ ๓ ขันธ์นะ พอมันปวดมันเมื่อยมาก ๆ นะ จิตใจมันทุรนทุราย ชักทุรนทุรายแล้ว โอ๊ย นั่งนาน ๆ เดี๋ยวเป็นอัมพาตนะ อย่างโน่นอย่างนี่ ชักกังวลล่ะ ความกังวลไม่ได้เกิดที่ร่างกาย รู้สึกไหม ความกังวลเกิดที่ใจ แต่เดิมใจไม่ได้กังวล แต่ตอนนี้ใจมันกังวล ความกังวลเป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาในใจ เพราะฉะนั้นความกังวลไม่ใช่ใจหรอก มันเป็นขันธ์อีกขันธ์หนึ่ง เรียกว่า สังฆารขันธ์ นะ หัดอย่างนี่นะ หัดซ้อมไปเรื่อย ต่อไปเราจะแยกขันธ์ได้หมดเลย รูปก็ส่วนรูปนะ ร่างกายมันก็ยืน เดิน นั่ง นอน หายใจไป กินอาหารไป ขับถ่ายไป ทำงานของมันไป เวทนาเป็นความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ที่เกิดในร่างกายบ้าง ความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ รู้สึกเฉย ๆ ที่เกิดในจิตใจบ้าง สังขารนั่นเป็นความปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงไม่ดี ปรุงไม่ชั่วที่เกิดขึ้นทางใจ ไม่เกิดทางกายนะ จิตก็เป็นผู้รู้ ผู้ดูอยู่

นี่ฝึกอย่างนี่เรื่อย ๆ ขันธ์แต่ละขันธ์นั่นจะแยกตัวออกไป พอขันธ์แยกตัวออกไป เรียกว่า พวกเรามีปัญญาขั้นต้นล่ะ ถัดจากนั้น ขันธ์แต่ละขันธ์จะแสดงไตรลักษณ์ ร่างกายแสดงความไม่เที่ยง แสดงความทุกข์ แสดงการบังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวเรา เวทนา สังญา สังขาร วิญญาณไรเนี่ย ก็ล้วนแต่แสดงไตรลักษณ์ อนิจจัง อนัตตา เสมอกันหมดเลยนะ

แต่ถ้าจิตเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด จิตเองก็ไม่เที่ยงนะ เดี๋ยวก็เป็นผู้สุข เดี๋ยวก็เป็นทุกข์ เดี๋ยวก็เป็นผู้ดี เดี๋ยวก็เป็นผู้ร้าย จิตก็มีความไม่เที่ยง เนี่ยเราเรียนรู้ลงในขันธ์ห้า นะ ในสิ่งที่เรียกว่าตัวเรา ในขันธ์ห้า เนี่ย เรียนรู้ลงไป เห็นแต่ความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ในตัวเรา เนี่ยแหล่ะคือการเดินวิปัสสนากรรมฐาน ดูลงไปในความเป็นจริงของกายของใจนะ ไม่ใช่แค่คิดเอา ต้องดูของกายจริง ๆ ของใจจริง ๆ ดูของจริง

เมื่อเดินปัญญาแก่รอบแล้วเนี่ย ต่อไปวิมุตติจะเกิดขึ้น จิตมันรู้ความจริงแล้วเนี่ยว่า ขันธ์ห้า มันเป็นตัวทุกข์นะ จิตจะวางขันธ์ จิตปล่อยวางขันธ์นะ จิตจะไปรู้พระนิพพานนะ ถ้าจิตไม่ได้หลงไปในโลกของความคิด คือ ไม่ได้หลงไปในบัญญัติ ไม่ได้หลงไปเพ่งกายเพ่งใจ หลงอยู่ในรูปธรรมนามธรรม จิตก็ไปรู้นิพพานนะ จิตไปรู้นิพพาน ไม่ได้ไปรู้บัญญัติ ไม่ได้ไปรู้รูปนาม ก็ต้องไปรู้นิพพาน จิตต้องรู้อารมณ์นะ นี่เราฝึกนะ วันหนึ่งเรานิพพาน นิพพานยังไม่ต้องตาย นิพพานยังมีชีวิตอยู่ ยิ่งอยู่ยิ่งแก่นะ ยิ่งมีความสุขมากขึ้นๆ นะ สดชื่น นึกถึงทีไรสดชื่น จิตใจคึกคักห้าวหาญเหมือนอย่างที่ครูบาอาจารย์ท่านเป็นนะ


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
Track: ๑๓
File: 530516A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๒๘ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตที่มีสัมมาทิฏฐิมีแนวโน้มไปสู่นิพพาน เว้นแต่จะไปติดขัดอยู่กลางทาง เปรียบเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ

เปรียบเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ

เปรียบเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ

mp 3 (for download) : จิตที่มีสัมมาทิฏฐิมีแนวโน้มไปสู่นิพพาน เว้นแต่จะไปติดขัดอยู่กลางทาง เปรียบเหมือนท่อนไม้ลอยน้ำ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: พระพุทธเจ้าท่านเคยเทียบ บอกว่าจิตของเราเนี่ย ที่แสวงหาความหลุดพ้นเนี่ยนะ เหมือนท่อนไม้ลอยอยู่ในแม่น้ำคงคา ท่านไม่ยกว่าเป็นแม่น้ำเจ้าพระยานะ ท่านยกแม่น้ำคงคา บอกว่า ท่านชี้ให้พระดูท่อนไม้ลอยน้ำ ท่านบอกว่าไม้ท่อนนี้นะ ถ้ามันลอยไปเรื่อยๆ มันไม่ไปติดฝั่งซ้าย ไม่ไปติดฝั่งขวา ไม่ไปเกยตื้น ไม่ไปติดเกาะอะไรอย่างนี้นะ ไม่ไปถูกมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกอมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวน ไม่เน่าใน ไม่ผุพังเสียเอง ถึงวันหนึ่งมันจะไปสู่ทะเล

จิตซึ่งมีสัมมาทิฎฐิ สิ่งที่พวกเราเรียนจากหลวงพ่อคือตัวสัมมาทิฎฐินั่นเอง จิตซึ่งมีสัมมาทิฎฐิรู้ทิศทางว่าเราจะทำอะไรเพื่ออะไรจะทำอย่างไร ระหว่างทำไม่หลงไม่เผลอ จิตมันมีสัมมาทิฎฐิอยู่อย่างนี้ ระดับเบื้องต้นซึ่งเรียกว่า “สัมปชัญญะ” รู้ทิศทาง รู้แนวทาง จิตที่มีสัมมาทิฎฐินั้นนะ มีแนวโน้ม น้อมโน้ม โน้มเอียง ลาดลุ่ม ไปสู่นิพพาน เหมือนท่อนไม้นี้ไหลตามน้ำไปเรื่อยๆ ถ้าไม่ไปติดฝั่งซ้ายฝั่งขวา เกยตื้น ไม่ถูกมนุษย์ อมนุษย์ จับไว้ ไม่เน่าใน ไม่ถูกน้ำวนดูดไปนะ ไม้ท่อนนี้ต้องไปถึงทะเล

จิตซึ่งมีสัมมาทิฎฐิ จิตของเรานี้ไม่ต้องไปทำอะไรมัน อย่าไปเกยอยู่ที่ไหนก็แล้วกัน มันจะไหลไปสู่นิพพานเอง จะไหลไปสู่มรรคผลนิพพานเอง เพราะฉะนั้นไม่ใช่ต้องทำอะไร แต่อย่ามัวไปเกยตื้นอยู่ที่ไหนซะล่ะ

คำว่าติดฝั่งซ้าย ติดฝั่งขวา ก็คือไปหลงในสิ่งที่เป็นคู่ๆ เช่นอายตนะภายในภายนอกนี่คู่หนึ่ง ตัวอย่างนะ ไปติดในความสุข หรือไปติดในความทุกข์ ติดในความทุกข์ก็คือเกลียดทุกข์ รักสุขเกลียดทุกข์อะไรอย่างนี้ ใจก็ยังดิ้นอีก เนี่ยติดในสิ่งที่เป็นคู่ๆ ติดความดี ความเลว เจออะไรเลวๆแล้วทนไม่ได้ ทุรนทุราย อยากจะให้โลกนี้ดี สวยงามอย่างเดียว อะไรอย่างนี้ จิตก็วุ่นวายติดในสิ่งที่เป็นคู่ๆ

ไปเกยตื้น ก็คือไปติดในผลประโยชน์ทั้งหลาย ถ้าเป็นพระก็เรียกว่าไปติดลาภสักการะ ติดครอบครัวโน้น ตระกูลนี้ อะไรอย่างนี้ ไปถูกมนุษย์จับไว้ อย่างพวกเรา คุณสุเมธ ถูกมนุษย์จับไว้ ถูกมนุษย์เป็นร้อยๆเลยนะ คุณสุเมธก็ห่วง มาหรือยัง มาหรือยัง กลัวเขาไม่ดี นี่เรียกว่าถูกมนุษย์จับไว้ ถูกอมนุษย์จับไว้ เช่น อยากดัง อยากมีชื่อเสียง อยากเด่น นี่ถูกอมนุษย์จับไว้ หรือติดใน อยากขึ้นสวรรค์นะ ไปเป็นเทวดาเป็นพรหมอะไรอย่างนี้ นี่เรียกว่าถูกอมนุษย์จับไว้

ไปหลงลาภสักการะ นี่ก็ไปเกยตื้นไว้ ถูกอมนุษย์จับก็หลงชื่อเสียง เป็นอาจารย์กรรมฐานดัง หลงอย่างนี้เสร็จเลยนะ ไปนิพพานไม่ได้ ถูกน้ำวนก็คือหลงอยู่ในกาม วันๆคิดแต่จะหาความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือความเพลิดเพลินทางใจ นี่เรียกว่ากามทั้งหมดเลย ตา หู จมูก ลิ้น กาย เรียกว่ากามคุณ ทางใจเรียกว่ากามธรรม เช่นเราคิดเพลิดเพลินไปในกาม นี่คิดเอาเอง ก็เป็นกามเหมือนกัน บางคนก็ชอบคิดใช่มั้ย ฝันๆ แหมมีความสุข คิดไปในอดีต แก่หน่อยก็คิดไปในอดีตใช่มั้ย เด็กๆก็ฝันไปในอนาคต อะไรอย่างนี้ นี่ก็หลงๆไปนะ

พวกเน่าในคือพวกทุศีล พวกไม่มีศีล ๕ ศีล ๕ จำเป็น อย่าดูถูกเด็ดขาดนะ ศีล ๕ จำเป็นที่สุดเลย ขาดศีล ๕ อย่าพูดเรื่องมรรคผลนิพพานเลย ศีล ๕ จำเป็นมาก แต่ถ้าทำผิดศีลไปแล้วอย่ากังวล ตั้งใจระวังรักษาเอาใหม่ อย่าให้การทำบาปอกุศลที่ทำไปแล้ว มากดถ่วง ทำให้เราพัฒนาตัวเองต่อไปไม่ได้ เพราะเรา สมมุติว่าเราทำผิดศีลอะไรมาอย่างนี้ ยังไงก็ไม่มากเท่าที่พระองคุลีมาลเคยทำใช่มั้ย เราฆ่าคนไม่ได้พันคนหรอก ทำไมท่านไปได้ ใช่มั้ย เพราะฉะนั้นถ้าเราผิดศีลแล้วเรา ก็อย่าทำอีก นะ อย่าให้กังวลใจ

ถ้าหากจิตใจเราไม่ได้ติดในสิ่งเหล่านี้ ที่กล่าวมานี้นะ ๗ ประการ ไปนับเอาเองก็แล้วกัน เจ็ดประการนี้ถ้าเราไม่ติดนะ แล้วเรามีสัมมาทิฎฐิ เรารู้แล้วว่าการปฏิบัตินี่เราต้องรู้กายรู้ใจตัวเอง ด้วยจิตที่เป็นกลาง รู้ลงปัจจุบัน รู้แล้วไม่ไปแทรกแซง รู้จนเห็นความจริงของเขา ว่าเขาไม่เที่ยง เขาเป็นทุกข์ เขาเป็นอนัตตา รู้จนไม่ยึดถืออะไร นี่ถ้าเรารู้ มีสัมมาทิฎฐิอย่างนี้นะ แล้วเราไม่ไปติด ๗ ข้อนั้นนะ ยังไงก็นิพพาน

นี่ไม่ใช่หลวงพ่อพูดเองนะ พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ เราก็สำรวจตัวเองนะ เราไปติดอะไรบ้าง ติดฝั่งซ้าย ติดฝั่งขวามั้ย ไปเกยตื้นมั้ย ไปเกยตื้นยกตัวอย่าง บางคนภาวนา พวกที่ติดสมถะนั้นแหละ พวกเกยตื้น วันๆก็ไปสร้างภพที่ละเอียด ปราณีต ว่างๆ ทำให้ดูก็ได้… เนี่ย แล้วก็ไปอยู่ในความว่าง เหมือนอยู่คนละโลกกัน นะ เห็นมั้ย เสียงยังเปลี่ยนเลย…

อย่างนี้เกยตื้น กี่ปีกี่ชาติก็อยู่ตรงนี้แหละ นะ ใ้ช้ไม่ได้ ไปดูเอานะ แล้วสำรวจตัวเอง ที่พวกเราได้จากหลวงพ่อกับได้จากพรรคพวกรุ่นพี่ ต้องเรียกว่ารุ่นพี่นะ เขาเป็นซือเฮีย ซือเจ๊ ใช่มั้ย ถึงเราอายุ ๕๙ แล้ว เด็กๆพวกนี้ก็ยังเป็นซือเฮีย ซือเจ๊

เนี่ย อาศัยการได้ฟังธรรมนะ เรารู้ว่าเราจะทำอะไร ทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไรแล้ว แล้วก็รู้ไปเรื่อย ปฏิบัติไปเรื่อย นะ อย่าไปเกยตื้น อย่าไปติดอะไรอยู่ที่ไหนซะ สำรวจตัวเองเป็นระยะๆ การสำรวจตัวเองว่าไปติดไปข้องอะไรใน ๗ ประการนั้นไว้ ก็เรียกว่าโยนิโสมนสิการ สำรวจตัวเองไปเรื่อย เรื่อย เรื่อย ในที่สุดใจนี้ก็จะไหลไปถึงมหาสมุทร ใจนี้แหละจะบรรลุพระนิพพานโดยตัวของเขาเอง ไม่ใช่เราไปเสือกไสไม้นี้ไปสู่มหาสมุทรนะ มันไหลไปเอง

จิตนี้เหมือนกัน ถ้ามีสัมมาทิำฎฐิแล้วไหลไปสู่นิพพานเอง สิ่งที่เราทำขึ้นมาไม่ใช่ช่วยใ้ห้มันไปเร็วขึ้น สิ่งที่เราทำก็คือ ๗ อย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้นเลิกซะ แล้วก็รู้กายอย่างที่เขาเป็น รู้กายอย่างที่เขาเป็น ไปเรื่อยๆ


สวนสันติธรรม
CD: ธรรมเทศนา ๔ วันในสวนสันติธรรม
Track: ๘
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๔๙ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การภาวนา ถ้าถูกต้องจะต้องง่าย ถ้ารู้สึกยากแสดงว่าผิด

การภาวนา ถ้าถูกต้องจะต้องง่าย ถ้ารู้สึกยากแสดงว่าผิด

การภาวนา ถ้าถูกต้องจะต้องง่าย ถ้ารู้สึกยากแสดงว่าผิด

mp 3 (for download) : การภาวนา ถ้าถูกต้องจะต้องง่าย ถ้ารู้สึกยากแสดงว่าผิด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เคยมีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ท่านหลงป่าเข้าพม่าไป แล้วก็เปียกฝนสามวันสามคืน เดินหลงทาง ข้าวก็ไม่มีจะฉัน ปอดบวม เข้าไปหลบฝนอยู่ในถ้ำ ก็ยังภาวนา แล้วรู้สึกว่าคราวนี้ต้องตายแน่ๆเลย ถึงแข็งแรงนะ จะรอดออกจากป่าหรือเปล่าก็ไม่รู้เพราะหลงทาง

ท่านก็ภาวนาของท่านไปเรื่อย กะว่าถ้าตายแล้วจิตใจจะห่วงอะไรมั้ย ร่างกายนี้ไม่ห่วงแล้ว ดูจิตดูใจก็ไม่ห่วงแล้ว ใจไม่ยึดอะไรสักอย่าง พร้อมจะตายแล้ว จิตใจไม่ยึดอะไรสักอย่าง ท่านก็ดูไปเรื่อยๆ เอ๊ะ! ไม่ยึดอะไรเลย ทำไมมันมีอะไรก็ไม่รู้ แปลกๆ สังเกตไปเรื่อยๆ ยึดความไม่ยึดอะไร ท่านเห็นว่าท่านยึดความไม่ยึดอะไร ยึดความว่างไว้ ตรงนี้ขาดปั๊บลงไป จิตท่านสว่างจ้าขึ้นมา

ท่านก็นึกว่า ในถ้ำ อยู่ในถ้ำมืดๆนะ กลางคืนนะ นึกว่าสว่างแล้ว ดูนาฬิกา ก็ยังไม่สว่างนะ ยังกลางคืนอยู่ มองข้างนอกก็มืดตึ๊ดตื๋อเลย ในถ้ำทั้งถ้ำนี่สว่าง แล้วท่านก็หายป่วย เสร็จแล้วตอนเช้า ฝนหยุดแล้ว ออกไปจากถ้ำ หิวนะ หิว ไม่มีอะไรฉันหลายวัน เจอลิงมันถือมะละกอ แล้วมันทำมะละกอตกลงมาที่พื้น แล้วมันก็มองหน้าท่านนะ มองมะละกอ มองหน้า

ท่านก็นึกว่า เอ๊… มันไม่กล้าหยิบกระมัง คงกลัวท่านว่า พอก้มลงหยิบเดี๋ยวท่านเล่นงาน ท่านเลยกลับเข้าถ้ำ เป็นเรา เราจะแย่งลิงกินใช่มั้ย เราก็จะมีเหตุผลเราต้องเอาตัวรอดไว้ก่อน จะได้มีแรงภาวนาต่อไปอีก ใช่มั้ย ท่านไม่เอา ท่านกลับเข้าถ้ำไป ลิงถึงได้มาเก็บมะละกอคืนไป

เข้าไปพักหนึ่งถึงได้ออกมา ปรากฎว่าลิงมาอยู่ที่พื้นดินละ ถือมะละกอ คราวนี้มันกลิ้งมาให้ท่านแล้วก็หนีขึ้นต้นไม้ไปเลย ลองดูมะละกอลูกนี้นะ มีรอยนกเจาะๆไว้ด้วย อุตส่าห์ไปเก็บมาให้นะ ท่านบอกว่าตั้งแต่เกิดมาไม่เคยฉันอะไรอร่อยเท่านั้นเลย ฉันเสร็จแล้วเลยเดินกลับมาเมืองไทยได้ หลงเข้าป่าพม่าไป

ที่หลงเพราะท่านไปเดินตามลำห้วยไป นึกว่าลำห้วยนี้จะไหลเข้าฝั่งไทย กลายเป็นลำห้วยนี้ไหลไปพม่า ตามไป ตามไป ต้นไม้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เลยรู้ว่าไม่ใช่เมืองไทยแน่ เมืองไทยเข้ามาต้องเหลือแต่ต้นมันสำปะหลัง

ภาวนานะ ภาวนา ต้องทำ ฝึกไปเรื่อยๆ มีความสุขมากขึ้น มากขึ้น ไม่ใช่ภาวนาแล้วเคร่งเครียดนะ ถ้าภาวนาแล้วเคร่งเครียดแสดงว่าทำิผิด ถ้าภาวนาถูกจะมีแต่ความสุข มีความสุขมากขึ้น มากขึ้น ทุกวัน ทุกวัน นั่งอยู่เฉยๆก็มีความสุขโชยแผ่วๆขึ้นมา คุณมนเคยเป็นใช่มั้ย มันมีความสุข

ความสุขมันเกิดจากการมีสติ รู้ลงในกาย รู้ลงในใจ เห็นกายเห็นใจเป็นทุกข์ล้วนๆนะ ยิ่งมีความสุขมากขึ้น มากขึ้น เป็นเรื่องประหลาดนะ รู้ทุกข์แล้วมีความสุข รู้ทุกข์แล้วพ้นทุกข์ มีแต่ความสุขล้วนๆ

ใครๆก็อยากละทุกข์ทั้งนั้นเลย พระพุทธเจ้ากลับสอนให้รู้ทุกข์ ทุกข์อยู่ที่กายรู้ลงในกาย ทุกข์อยู่้ที่จิตใจรู้ลงในใจ รู้ไปเรื่อย จนวันหนึ่งไม่ยึดถือในกายในใจ ไม่ยึดถืออะไรเลย รวมทั้งไม่ยึดถือความไม่ยึดถือด้วยนะ เหมือนอย่างที่ครูบาอาจารย์ที่หลวงพ่อเล่า เสร็จแล้วท่านไปยึดความไม่มีอะไร พอท่านผ่านตรงนี้นะ จิตใจของท่านก็เปลี่ยนไปเยอะแยะ

ท่านกลับเข้ามาในเมืองนะ พอดีมีโยมคนหนึ่งรู้จักท่าน นิมนต์ท่านไปฉัน ก็มีคนรู้จักกับหลวงพ่อบอกว่าเนี่ย ท่านมาจากป่าละ เลยไปหาท่าน ไปที่บ้านเขานั่นแหละ เป็นตึกแถวนะ ไม่เจอหลายปี นานๆเจอทีหนึ่ง

ท่านก็เล่า การภาวนานะ เวลานักปฏิบัติเจอกัน สนทนาธรรมด้วยเรื่องการปฏิบัติล้วนๆ น่าฟังมากเลย น่าฟัง มันเป็นเรื่องของการต่อสู้กับกิเลสของตัวเองนั้นแหละ ไม่ใช่สู้คนอื่นนะ สู้กิเลสของเราเอง ล้มลุกคลุกคลาน ตอนสู้นะ ปางตาย

แต่ตอนสู้ขาดมาแล้ว มันขำนะ มันขำว่า แต่ก่อนทำไมมันโง่นะ ของง่ายๆเท่านี้เอง ไม่เข้าใจ สอบผ่านได้แล้วมันจะขำตัวเอง บางทีรู้สึกสมเพชตัวเองนะ ทำไมมันโง่หลายนะ โง่หลาย ของง่ายเท่านี้ไม่เห็น เห็นแล้วรู้ เห็นแล้วนะ ยังไม่เข้าใจ ง่ายกว่าที่นึกนะ

การภาวนา ถ้าเมื่อไรภาวนาแล้วรู้สึกยาก สังวรไว้เลยว่าผิดแน่นอน การภาวนาถ้าถูกต้อง จะต้องง่าย จิตใจมีสติ จิตใจมีสัมมาสมาธิ รู้ตื่น เบิกบาน เห็นกายตามความเป็นจริง เห็นใจตามความเป็นจริง มีแต่ความสุขล้วนๆเลย ค่อยๆภาวนา มันไม่ได้ยากเย็นเหมือนที่เราวาดภาพไว้ เราไปวาดภาพธรรมะเอาไว้ผิดธรรมดา ธรรมะคือธรรมดานั่นเอง

เราเรียนธรรมดาของกาย ธรรมดาของใจ ธรรมดาของกาย ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ธรรมดาของใจก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเหมือนกัน เรียนจนเห็นธรรมดา เรียนไปเรื่อย เห็นไปเรื่อย จนใจยอมรับความเป็นธรรมดาของกายของใจ ยอมรับแล้วมันไม่เที่ยงนี่ จะไปยินดียินร้ายอะไรกับมัน มันเป็นทุกข์นะ มันไม่ใช่เป็นสุข มันบังคับไม่ได้ มันเป็นอนัตตา ไม่ใช่บังคับได้

หลายคนภาวนาแทนที่จะมุ่งมาให้เห็นกายเห็นใจเป็นไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกือบทั้งหมดที่ภาวนาแล้วล้มลุกคลุกคลานนะ ภาวนาเื่พื่อจะให้มันเที่ยง เพื่อจะให้มันสุข เพื่อจะบังคับมันให้ได้

ยกตัวอย่างภาวนาแล้วอยากให้จิตใจสงบถาวร ให้สุขถาวร ให้ดีถาวร อะไรอย่างนี้ ภาวนาแล้วจะเอา อยากได้ อยากได้ความสุข อยากได้ความสงบ อยากได้ความดี สุข สงบ ดี ธรรมดาก็ไม่ได้นะ อยากถาวรด้วย ลืมไปว่าถาวรไม่มี มีแต่อนิจจัง ไม่ถาวร มีแต่ทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่มีความสุขที่แท้จริงในกายในใจนี้

ไม่ใช่ว่าพระอรหันต์ภาวนาไปแล้ว ร่างกายมีความสุขนะ ไม่ใช่นะ จิตใจก็ยังทำหน้าที่รู้สึกนึกคิด ธรรมดานั่นเอง ความสุขมันอยู่ตรงที่ ไม่ได้ยึดถือขันธ์ต่างหาก ไม่ยึดถือในกาย ไม่ยึดถือในใจ เป็นอิสระ อิสระจากกายจากใจ ความสุขมันอยู่ที่พ้นขันธ์ ไม่ใช่ความสุขอยู่ที่ดัดแปลงขันธ์สำเร็จแล้ว

พวกเราภาวนา รู้สึกมั้ย อยากดี อยากสุข อยากสงบ อยากได้มรรคผลนิพพาน มีแต่คำว่าอยากนะ มีแต่คำว่าอยาก ลืมไปว่าความอยากเกิดทีไร ความทุกข์ก็เกิดทีนั้น พอความอยากเกิดขึ้นจิตก็ดิ้น จิตก็ดิ้น จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมา ถ้าจิตไม่มีความอยากจิตก็ไม่ดิ้น จิตไม่ดิ้นจิตก็ไม่ทุกข์

แต่ตราบใดที่ยังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้แจ้งในกายในใจนี้ว่าเป็นทุกข์ล้วนๆ มันยังรักกายรักใจ มันคิดว่ากายเป็นเรา ใจเป็นเรา คิดอย่างนี้ มันอยากให้เรามีความสุข อยากให้เรามีความสงบ อยากให้เราดี อยากให้เราบรรลุมรรคผลนิพพาน พอมีความอยากแล้วใจก็ดิ้น ใจก็ดิ้นแล้วใจก็ทุกข์ เพราะฉะนั้นตราบใดที่ยังละอวิชาไม่ได้นะ ตัณหาคือความอยากก็จะไม่หมดไป

จะหมดเป็นคราวๆพอมีสติรู้ทันนะ ก็ดับไป พอขาดสตินะ ก็กลับมาอีก เพราะฉะนั้นเลยต้องมีสติรักษาจิตอยู่ตลอดเวลา แต่พอภาวนาจนถึงที่สุดแ้ล้วนี่ มีปัญญา มีวิชาเกิดแล้ว มันไม่ไปหยิบฉวยจิตขึ้นมา ไม่ต้องรักษาจิตน่ะ แล้วถามว่ามีสติมั้ย มีก็มีไปอย่างนั้นล่ะ ไม่ได้มีเพื่อรักษาจิต เพราะจิตนั้นไม่ต้องรักษา เพราะคืนโลกคืนธรรมชาติเขาไปแล้ว

เนี่ยธรรมะนะ เป็นสิ่งที่เราึนึกไม่ถึง นึกไม่ถึง เราภาวนา เราก็หวังว่าวันหนึ่งจิตของเราจะดี จะสุข จะสงบ ถาวร วาดภาพพระอรหันต์ไว้อย่างนั้น จริงๆไม่ได้เป็นอย่างที่นึกหรอก คนที่วางขันธ์ไปแล้ว กับคนที่มีขันธ์อยู่ ความรู้สึกนึกคิดไม่เหมือนกัน ของเราคิดแต่ว่าทำอย่างไรจะดี ของท่านรู้ว่าวางแล้วก็หมดเรื่องแล้ว วางแล้วก็หมดเรื่องแล้ว ไม่จำเป็นต้องสงวนรักษาอะไรต่อไป

ถามว่ากิเลสเกิดขึ้นมาครอบงำจิตใจได้มั้ย ไม่ได้นะ จิตใจเข้าถึงภาวะที่อะไรก็ปรุงแต่งไม่ได้ เพราะว่ามีปัญญารู้ทุกข์นี่แหละ สำคัญ ใช่รู้อย่างอื่นนะ ในขณะที่เราต่อสู้ ตะลุมบอนไป จิตใจเกิดปัญญา เกิดสติ เกิดสมาธินะ เกิดคุณงามความดีแต่ละอย่าง แต่ละอย่าง แต่ละครั้ง แต่ละครั้ง มันอิ่มอกอิ่มใจ แต่สักพักหนึ่งมันก็พบว่าไม่ใช่นะ มันเสื่อมไปอีก

มีสติก็ขาดสติได้นะ มีสมาธิก็ขาดสมาธิได้ มีปัญญาก็โง่ได้อีก เนี่ยยังของกลับกลอก ยังของแปรปรวนอยู่ จิตใจก็ถูกกิเลสย้อมได้อีก แ้ล้วมันยังรู้สึกลึกๆว่ายังขาดอะไรอย่างหนึ่งที่ยังไม่ีรู้แจ้ง ตราบใดที่ยังขาดอันนี้อยู่เนี่ย จิตยังไม่เลิกดิ้นรนค้นคว้า จนวันหนึ่งจิตรู้แจ้งอริยสัจจ์ พอจิตรู้แจ้งอริยสัจจ์แล้ว จิตคืนกายคืนจิตให้โลก มันคืนกายไปก่อนนะ สุดท้ายมันหวงอยู่ที่จิตอันเดียวนี่แหละ พอคืนจิตให้โลกไปแล้ว ไม่ียึดถืออะไรในโลกอีก งานตรงนั้นก็หมดลงตรงนั้นเอง เข้าถึงความสุขที่นึกไม่ถึง

สวนสันติธรรม
CD: 19
File: 500310A.mp3
Time: 4.02 – 14.47

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เรายึดอะไรก็ทุกข์เพราะอันนั้น

เรายึดอะไรก็ทุกข์เพราะอันนั้น

เรายึดอะไรก็ทุกข์เพราะอันนั้น

mp 3 (for download) : เรายึดอะไรก็ทุกข์เพราะอันนั้น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: การภาวนาไม่ใช่เรื่องยากเรื่องเย็นนะ แต่ต้องใจถึงๆ จริงจัง ซื่อสัตย์กับตัวเอง ซึ่อสัตย์กับตัวเองที่จะเรียนรู้ตัวเอง ความไม่ดีของเรา ซ่อนเร้นอยู่เยอะ แต่ละคน เก็บขยะไว้เต็มไปหมดเลย เก็บขยะ เปิดคลังมหาสมบัติออกมา เจอขยะ เพชรๆ พลอยๆ ไม่ค่อยมีหรอก ส่วนมาก อาศัยความตั้งใจจริง กล้าสละประโยชน์ส่วนน้อย ประโยชน์ส่วนน้อยก็คือความสุขอย่างโลกๆเลย ความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่เห็นจะมีอะไรนักหนาเลย ความสุขของโลกมีนิดเดียว คับแคบ

ลองมาศึกษาปฏิบัติธรรม จะพบกับความสุขที่ยิ่งใหญ่ ความสุขในโลกมันเหมือนเราเป็นแค่ปลาเงินปลาทองอะไรอย่างนี้ อยู่ในตู้แคบๆ ถูกเขาเลี้ยงไว้ อยู่ไปวันๆ ถึงเวลาก็มีกินมีอยู่ไปวันๆนะ เดี๋ยวก็ตาย แล้วเขาก็เอาตัวอื่นมาเลี้ยงแทน บ้านเรานะอยู่ๆไป ตายไป คนอื่นก็มาอยู่แทน เมื่อก่อนมีเพลงด้วยซ้ำไปนะ พอเราตาย อะไร ทรามวัยพ้นมือ เมียเราก็ไม่รู้ว่าเป็นเมียใคร อะไรน่ะ จำไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องกล้า อย่าไปหลงกับความสุข ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย มากนัก ศึกษา ปฏิบัติธรรม เรียนรู้ลงมาในกายเรียนรู้ลงมาในใจของเราบ่อยๆ สิ่งที่มันเป็นภาระที่สุด สำหรับพวกเราก็คือ กายกับใจของเรานี่แหละ เป็นภาระมาก กายกับใจ

อย่างร่างกาย ดูสิ เราต้องดูแลมันเยอะนะ ตั้งแต่หัวถึงเท้า ดูสิ เยอะแยะเลย รักหวงแหนที่สุด ทั้งที่เป็น “ขี้” ทั้งนั้นเลยนะ ลองไล่ลงมาตั้งแต่ขี้หัวถึงขี้ตีน เห็นมั้ย สูงสุดจนถึงต่ำสุด มันวิเศษวิโสอะไรนักหนา ไปหลงกับมันทำไม ดูลงมานะ ดูลงมาในกาย ดูลงมาในใจ เมื่อไรหมดความรักในกาย หมดความรักในใจ ไม่ยึดถือกาย ไม่ยึดถือใจ จะไม่ยึดถืออะไรในโลกแล้ว เพราะสิ่งที่เรายึดถือมากที่สุดคือกายกับใจของเรานี่เอง พอเราไม่ยึดถือในกายในใจ มันไม่มีอะไรให้ยึดถืออีกแล้ว จิตใจมันจะมีอิสรภาพ เพราะว่าไม่ว่าเราไปยึดอะไรเอาไว้นะ เราจะไม่เป็นอิสระเพราะสิ่งนั้นแหละ

ยกตัวอย่าง เรายึดในทรัพย์สมบัติ เราจะไปไหนไม่รอดเลย ไปไหนเราก็ห่วงสมบัตินะ ไปไหนไม่ได้ เนี่ยเราไปยึดอะไรเราก็ไปติดอันนั้น ไปไม่รอด ยึดลูกยึดเมียไว้ก็ไปไหนไม่ได้ ใจเป็นห่วง

คนโบราณท่านเปรียบดีนะ บอก เวลาคนตาย เขาจะผูกมัดตราสังข์ไว้ เขาจะมัด ๓ ข้อ มัดคอนะ มัดคอไว้อันหนึ่ง มัดมือ แล้วก็มัดเท้า มัดคอ มีลูก มีลูกนะ เหมือนเอาเชือกผูกคอไว้ ทำไมผูกคอ รัดแน่นๆ กินไม่ลงนะ อย่างพ่อแม่คนไหนจนหน่อยๆ ไม่มีเงินมาก เจอของอร่อยๆกินไม่ลงนะ คิดถึงลูก กินไม่ลง มันถูกผูกคอไว้

มีสามีภริยาก็บอกว่า เหมือนถูกเอาปอผูกศอก นี่ภาษาอีสานนะ คุณแม่น้อยเคยท่องให้หลวงพ่อฟัง มีลูกเหมือนเอาเชือกผูกคอ มีเมียเหมือนเอาปอผูกศอก มีสมบัติเหมือนเอาปลอกติดขา เวลาเรามีแฟนมีคู่รู้สึกมั้ย เราไม่อิสระ เหมือนเราถูกมัดมือละ บางทีถูกมัดมือชกนะ มันไม่อิสระ นี่ความสุขของโลก เห็นมั้ย มีลูกเราทุกข์เพราะลูกใช่มั้ย มีสามีมีภรรยา เราก็ไม่อิสระ ไม่อิสระ จะทำอะไรเคยอิสระก็ไม่อิสระ มันไม่คล่องตัว

มีสมบัติ เหมือนเอาปลอกติดขา ปลอกติดขาไว้คือไปไหนไม่ได้ มีสมบัติแล้วต้องนั่งเฝ้าสมบัติ ไปไหนเดี๋ยวกลัวหาย เราก็เป็นทุกข์นะ มีความทุกข์ เพราะฉะนั้นในโลกเรามีอะไร เราก็ทุกข์เพราะอันนั้น พระพุทธเจ้าจึงบอก มีวัวทุกข์เพราะวัว มีนาก็ทุกข์เพราะนา มีทรัพย์สมบัติทุกข์เพราะทรัพย์สมบัติ คนในโลกไม่เข้าใจว่ามันเป็นทุกข์นะ ก็อยู่ตามๆกันมาก็เที่ยวแสวงหาหวังว่ามันจะดี ได้มายิ่งเยอะยิ่งดี ไม่รู้ว่ายิ่งภาระเยอะนะ คนเราไม่ได้ต้องการอะไรมากในชีวิตของเราจริงๆ มีแต่ความต้องการเทียมเยอะ ความต้องการเพื่อเอาหน้าเอาตาหลอกๆ

เนี่ยถ้าเรามาดูนะ ดูลงในกายในใจ เรายึดอะไรไว้ เราก็ทุกข์เพราะอันนั้น สิ่งที่เรารักที่สุดนะ คือกายกับใจ ไม่ใช่ลูกนะ บางคนบอกรักลูกที่สุด ไม่ใช่ ไม่ใช่รักสามีภรรยามากที่สุด ไม่มีหรอก โกหก ใครมาบอกเรา ผมรักคุณมากกว่าชีวิตของผม โกหก ชี้หน้าไปเลยนะ โกหก บอก คนที่เขาจิตปราดเปรียว เขารู้นะ อย่ามาโกหกนะ ไม่มีอะไรรักมากเท่าตัวเอง หรือเรารักจิตใจของเรา เราอยากให้จิตใจมีแต่ความสุข สนุกสนาน ใช่มั้ย เรารัก ทีนี้จิตใจมันก็สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ดีบ้าง ร้ายบ้าง บ้าๆบอๆไปตามเรื่องของมัน แกว่งขึ้นแกว่งลงไปตามเรื่องของมัน มันไม่มีความสุขที่แท้จริง

ถ้าเรารู้ลงในกาย รู้ลงในใจ พอไม่ยึดกาย เราไม่ทุกข์เพราะกาย ไม่ยึดใจ ก็ไม่ทุกข์เพราะจิตใจ จะมีความสุขที่นึกไม่ถึง น้ำตาร่วงเลยนะ ว่าโอ้อย่างนี้ก็มีด้วยเหรอ ความสุขชนิดนี้ก็มีด้วยเหรอ อัศจรรย์ คำสอนของพระพุทธเจ้าอัศจรรย์จริงๆ สอนให้เรารู้กาย สอนให้เรารู้ใจ จนปล่อยวางกายปล่อยวางใจ เข้าถึงธรรมะที่มีแต่ความสุขล้วนๆเลย อัศจรรย์ที่สุด ความสุขอย่างโลกๆนะ ความสุขคับแคบ สุขที่เจือด้วยความทุกข์เต็มไปหมดเลย รักอะไรก็ทุกข์เพราะอันนั้นแหละ


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๙
Track: ๑๓
File: 500331B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๑ ถึง นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๒๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 3123