Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๑) ทันทีที่รู้ทันจิตที่เคลื่อนไป จิตจะตั้งมั่นโดยอัตโนมัติ

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๑) ทันทีที่รู้ทันจิตที่เคลื่อนไป จิตจะตั้งมั่นโดยอัตโนมัติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เพราะงั้นเรามาฝึกนะ พุทโธไป หายใจไป ดูท้องพองยุบไปตามถนัด แล้วคอยรู้ทันจิต จิตหนีไปคิดรู้ทัน จิตลงมาเพ่งอยู่ที่อารมณ์อันนั้นนะ มาอยู่กับพุทโธ มาอยู่กับลมหายใจ มาอยู่กับท้อง จิตเคลื่อนไปอยู่(กับ)สิ่งเหล่านี้ รู้ทัน

การที่เราคอยรู้ทันจิต ที่เคลื่อนไปเคลื่อนมาเนืองๆเนี่ย ทันทีที่รู้ทัน จิตจะตั้งมั่นโดยอัตโนมัติ เพราะจิตที่เคลื่อนเนี่ยนะ คือจิตที่มีโมหะ จิตที่เคลื่อนเป็นจิตที่มีโมหะ โมหะชนิดที่เรียกว่า “อุทธัจจะ” ความฟุ้งซ่าน จิตมันฟุ้งไปในความคิดบ้าง ฟุ้งไปที่ลมหายใจบ้าง ฟุ้งไปที่ท้องบ้าง ฟุ้งไปที่เท้าบ้าง

ถ้าเมื่อไหร่เรามีสติ รู้ทันนะ ว่าจิตมันเคลื่อนไปนะ จิตจะไม่เคลื่อน จิตจะตั้งมั่นขึ้นโดยอัตโนมัติ โดยที่เราไม่ได้บังคับ ถ้าเราบังคับ จิตจะตึงเครียด ถ้าจิตตึงเครียด จิตเป็นอกุศล ไม่ใช่จิตที่ดีเลย เพราะงั้นอย่าไปข่ม อย่าไปกด อย่าไปบังคับ อย่าไปกดขี่ข่มเหงจิตใจ แล้วให้คอยรู้ทันเท่านั้น ว่าจิตมันเคลื่อนไป เคลื่อนไปคิด รู้ทัน เคลื่อนไปเพ่ง รู้ทัน ให้รู้ทันเฉยๆ

ทันทีที่รู้ทันนะ เราจะเริ่มเก็บคะแนนของความรู้สึกตัวไว้แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าจิตไหลไปคิด เคลื่อนไปคิด เรารู้ว่าจิตเคลื่อนไปคิด จิตจะตั้งมั่นขึ้นโดยอัตโนมัติเลย แต่ถ้าเคลื่อนไปเพ่งนะ เวลาไปดูเนี่ย บางทีถลำตามไปอีก เลยไม่ขึ้นมาเลยก็มี แต่ถ้ารู้ว่าจิตเคลื่อนไปอยู่ที่ท้อง จิตจะขึ้นมาได้นะ ขึ้นมาเอง แต่ส่วนใหญ่พอไปดูซ้ำนะ มันก็ซ้ำลงไปอีก ไปอยู่ที่ท้องหนักขึ้น ไปอยู่ที่ลมหนักขึ้น

เพราะงั้นบางทีบอก ดูแล้วทำไมก็ไม่หายเพ่ง ก็(เพราะว่า)ดูแบบเพ่งๆ ยิ่งดูยิ่งเพ่ง แต่เวลาเผลอไปคิดเนี่ย ทันทีที่รู้ ว่าจิตเผลอไปคิด จิตจะดีดตัวผางขึ้นมา เป็นผู้รู้ทันทีเลย ทันทีที่จิตเป็นผู้รู้แล้ว มันจะรู้สึกกายได้ มันจะรู้สึกใจได้ มันจะกลับมาอยู่กับตัวเอง เรียกว่า จิตใจกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๑ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๐) จิตตสิกขา คือต้องรู้เท่าทันจิต

mp 3 (for download) : คู่มือการปฏิบัติธรรม (๑๐) จิตตสิกขาคือต้องรู้เท่าทันจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : มีสมาธินั้นมี ๒ ชนิด เราต้องเรียนให้ชัดเจนนะ ส่วนมากนะ คนที่ทำสมาธินะ รุ่นก่อนนี้นะ เกือบทั้งหมดเลย ทำสมาธิออกนอก ไปพุทโธ จิตไปอยู่ที่พุทโธ ไปรู้ลมหายใจ จิตไปอยู่ที่ลมหายใจ ไปดูท้องพองยุบ จิตไปอยู่ที่ท้อง ไปเดินจงกลม จิตไปอยู่ที่เท้า ไม่เคยรู้ทันจิตตนเองเลย การที่ไม่รู้ทันจิตตนเองนี่ เรียกว่า ข้ามบทเรียนสำคัญของพระพุทธเจ้าไปบทนึง ชื่อ “จิตตสิกขา” เราต้องรู้เท่าทันจิตของเรา

เพราะงั้นต่อไปนี้ เราทำกรรมฐานอย่างหนึ่งขึ้นมา เคยพุทโธก็ใช้พุทโธได้นะ เคยหายใจ ก็ใช้ลมหายใจได้ เคยดูท้องพองยุบ ก็ใช้ท้องพองยุบได้ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนหรอก ถ้าทำแล้วมันสบายใจนะ เพียงแต่กลับนิดนึง แทนที่จะส่งจิตไปอยู่กับพุทโธ แทนที่จะส่งจิตไปอยู่ที่ลมหายใจ แทนที่จะส่งจิตไปอยู่ที่ท้อง แทนที่จะส่งจิตไปอยู่ที่มือ ที่เท้า “ให้คอยรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป” พุทโธๆจิตเคลื่อนไปที่อื่น เช่น เคลื่อนไปคิด รู้ทัน หายใจไป จิตเคลื่อนไปคิด รู้ทัน จิตเคลื่อนไปอยู่ที่ลมหายใจ รู้ทัน ดูท้องพองยุบไป จิตเคลื่อนไปคิด รู้ทัน จิตเคลื่อนไปอยู่ที่ท้อง รู้ทัน

จิตมันจะเคลื่อนไปใน ๒ ลักษณะเท่านั้นเอง คือเคลื่อนหลงไปในโลกของความคิด กับเคลื่อนไปเพ่งอารมณ์นิ่งๆ ถ้าจิตเคลื่อนไปเพ่งอารมณ์นิ่งๆ นั่นคือ การทำสมถะกรรมฐาน จะได้ความสงบเฉยๆ จะไม่มีปัญญา ถ้าจิตเคลื่อนไปอยู่ในโลกของความคิด อันนั้นหลงไปเลย สมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่ได้ ใช้ไม่ได้เลย เวลาที่จิตหลงไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่บ้านจิตสบาย
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

CD: บ้านจิตสบาย วันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕
File: 550805A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๒๒ ถึง นาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๑

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กรรมฐานที่เป็นวิหารธรรม

mp 3 (for download) : กรรมฐานที่เป็นวิหารธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เราต้องรู้กายรู้ใจอย่างเป็นวิหารธรรม วิหารธรรมแปลว่าบ้าน บ้านไม่ใช่คุก แต่นักปฏิบัติเกือบร้อยละร้อยนะ เอาอารมณ์กรรมฐานมาเป็นคุกขังใจ

เช่นเราจะอยู่กับลมหายใจ เราจะบังคับตัวเอง ให้รู้แต่ลมหายใจ ห้ามรู้อย่างอื่น ถ้ารู้อย่างอื่นถือว่าไม่ดี มันไม่ดีจริงนะในแง่ของสมถกรรมฐาน แต่ในแง่ของวิปัสสนากรรมฐานน่ะ เราไม่ได้เอาจิตไปติดคุก ทันทีที่พวกเราคิดถึงการปฏิบัติแล้วเราบังคับตัวเอง พอบังคับเมื่อไหร่เนี่ย จิตใจจะหนักๆแน่นๆแข็งๆขึ้นมาเลย ทื่อๆนะ แข็งขึ้นมา หาความสุขความสงบที่แท้จริงไม่ได้ มีแต่ความอึดอัดนะ จงใจปฏิบัติเมื่อไหร่อึดอัดเมื่อนั้นเลย จงใจไปรู้ลมหายใจก็อึดอัด จงใจไปรู้ท้องพองยุบก็อึดอัด ยกเท้าย่างเท้าแล้วจงใจไปรู้อยู่ที่เท้าก็อึดอัดอีก ทำอะไรๆมันก็อึดอัดไปหมดเลย

เพราะอะไร เพราะจิตมันไปติดคุก คนติดคุกมันมีความอึดอัดนะ แต่หลวงพ่อไม่เคยติดนะ อันนี้เดาๆเอา นะ ไม่เหมือนอยู่บ้าน อยู่บ้านสบาย มีธุระออกจากบ้านเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องรู้กายรู้ใจเหมือนมันเป็นบ้าน หมายถึงว่ามันเป็นที่อาศัยระลึกของสติเท่านั้น เวลาไม่รู้จะรู้อะไรนะ ก็กลับมาอยู่บ้าน คนไหนใช้ลมหายใจเป็นบ้าน พอจิตใจไม่ต้องไปรู้กายเวทนาจิตธรรมอันอื่น เราก็กลับมารู้ลมหายใจ รู้เล่นๆ ไม่ใช่บังคับจิตให้อยู่กับลมหายใจ ถ้าบังคับจิตให้อยู่กับลมหายใจเป็นสมถะ

ถ้าจะอยู่อย่างอยู่เป็นบ้านเราก็หายใจไป หายใจออกก่อนนะ หายใจออก หายใจเข้า หายใจออกไป ใจเราอยู่ที่ลมหายใจเราก็รู้ หายใจไป หายใจไป ใจเราหนีไปที่อื่นเราก็รู้ เห็นมั้ย หายใจไป เราเห็นร่างกายนี้หายใจอยู่นะ เกิดสติเกิดปัญญาขึ้นมา เห็นร่างกายหายใจ ร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่ตัวเราหรอก จิตใจก็เหมือนกัน จิตใจที่ไปรู้ร่างกายที่หายใจเนี่ย แป๊บเดียวมันก็หนีไปคิดเรื่องอื่น หรือมันถลำลงไปเพ่งลมหายใจ หรือมันสุข หรือมันทุกข์ หรือมันดี หรือมันร้ายขึ้นมา

การที่เราเห็นอย่างนี้มากเข้าๆ มันก็จะเกิดปัญญา เห็นเลย จิตใจก็ไม่ใช่ตัวเราอีกละ เราบังคับมันไม่ได้ เดี๋ยวก็วิ่งไป เดี๋ยวก็วิ่งมา เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย เนี่ยถ้าเรารู้อย่างนี้ รู้อย่างเป็นวิหารธรรมนะ มันจะรู้ทั้งกายรู้ทั้งใจ ไม่ใช่รู้อันเดียว ถ้าบังคับจิตให้แน่วอยู่ในอารมณ์อันเดียวเป็นเรื่องของสมถกรรมฐาน

เพราะฉะนั้นอย่างหลายคนดูท้องพองยุบ ดูท้องพองยุบแล้วเพ่งให้จิตแนบอยู่ที่ท้องเลย ห้ามหนีไปที่อื่น เอาท้องมาเป็นคุกขังจิตน่ะ จนจิตมันไม่ไปไหน มันเซื่องๆอยู่ที่ท้องเนี่ยนะ ได้ความสงบ เกิดปีติ ขนลุกขนพอง เกิดตัวลอยตัวเบาตัวโคลง ตัวใหญ่ตัวหนัก บางคนตัวหนักก็มีนะ บางคนก็ขนลุกซู่ซ่าๆ อันนี้เป็นเรื่องของสมถกรรมฐาน

แต่ถ้าเรารู้ท้องพองยุบอย่างให้เป็นวิปัสสนา หัดเจริญสติปัฏฐานจริงๆ เราจะเห็นร่างกายมันพองร่างกายมันยุบนะ รูปมันพองรูปมันยุบ ใจอยู่ต่างหาก ใจเป็นแค่คนดู เหมือนเราดูตัวเอง เห็นร่างกายมันขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว เหมือนกันหมดนะ จะใช้อารมณ์กรรมฐานอะไร ยกตัวอย่างใช้ อิริยาบถ ๔ เนี่ย เราก็เห็นร่างกายมันยืน ร่างกายมันเดิน ร่างกายมันนอน ถ้าทำสัมปชัญญะบรรพะ ร่างกายมันคู้ร่างกายมันเหยียด มันเหลียวซ้ายแลขวา เราก็รู้สึกเอา รู้สึกแล้วเราก็เห็นเลย ไอ้ตัวที่เคลื่อนไหวเหลียวซ้ายแลขวาน่ะ ไม่ใช่ตัวเราหรอก รูปมันเคลื่อนไหว ใจเป็นคนดู ตัวใจเองก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้นเราจะเห็นทั้งรูป เห็นทั้งนามนะ ถ้าเห็นถูกต้อง ไม่ใช่เห็นอันใดอันหนึ่ง ไม่ใช่บังคับเอาอันใดอันหนึ่ง เนี่ยเรียกว่าอยู่เป็นวิหารธรรม บางทีสติก็ไปรู้กาย บางทีสติก็ไปรู้ใจ เราเลือกไม่ได้ ไม่ได้จงใจ มันจะสบาย รู้กายก็สบายใจนะ รู้จิตใจก็สบายใจอีก รู้ไปเรื่อยๆ สบาย เหมือนเราอยู่บ้าน ออกจากบ้านไปเที่ยวเมื่อไหร่ก็ได้ มีธุระจะไปเมื่อไหร่ก็ได้ เหนื่อยแล้วกลับมาอยู่้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ศาลาลุงชิน (ศาลากาญจนาภิเษก)
ครั้งที่ ๑๐
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕o


CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๑๐
File: 500318
ระหว่างนาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๒ ถึง นาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๑๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลักการใช้วิหารธรรม

mp 3 (for download) : หลักการใช้วิหารธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : แต่ละคนไม่เหมือนกันหรอก แล้วคนเดียวกันนะ แต่ละวันแต่ละเวลา ดูไม่เหมือนกันอีก แต่ว่ามันจะต้องมีวิหารธรรมมีฐานอันเดียว อย่ามีบ้านหลายบ้าน แต่บางช่วง สมมุติเราใช้จิตเป็นวิหารธรรม ดูจิตเรื่อยๆ แต่ดูไม่ไหวก็รู้จักเปลี่ยนมาดูกายบ้าง รู้จักมาทำความสงบบ้าง หรือดูกายอย่างเดียว ไม่ได้ไปจ้องอยู่ที่กาย เห็นร่างกายพองร่างกายยุบ จิตไหลไปอยู่ในกาย ไม่รู้ทันว่าจิตไหล ก็ใช้ไม่ได้ ก็ต้องรู้ทันว่าจิตไม่ตั้งมั่นแล้ว

เพราะฉะนั้นการภาวนานะ ถึงแม้จะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นวิหารธรรม วิหารธรรมแปลว่าบ้าน มีบ้านให้จิตอยู่ก็จริง แต่จิตออกนอกบ้านได้ บ้านไม่ใช่คุก บ้านนั้นถ้ามีธุระก็ออกไปเมื่อไหร่ก็ได้ แต่คุกห้ามออก นักปฏิบัติส่วนใหญ่นะ เปลี่ยนวิหารธรรมให้กลายเป็นคุกขังจิตแทบทั้งนั้นเลย เกือบร้อยละร้อยเลย ไปที่ไหนๆก็เห็นแต่แบบนั้นแหละ ไม่ใช่วิหารธรรมแต่เป็นคุก

ยกตัวอย่าง อยู่กับพุทโธก็บังคับจิต ห้ามหนีไปจากพุทโธ อยู่กับลมหายใจก็บังคับจิต ห้ามหนีไปจากลมหายใจ อยู่กับท้องพองยุบก็บังคับจิตต้องอยู่ที่ท้อง ห้ามหนีไปจากท้อง มีแต่บังคับจิต ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ใช่บ้านแต่เป็นคุก

แต่ถ้าเราพุทโธๆเนี่ย มีอารมณ์มากระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จิตมันแส่ส่ายออกไป จิตมันเกิดสุขเกิดทุกข์ เกิดกุศลอกุศลรู้ทันมัน มันจะเห็นแต่ความเปลี่ยนแปลงของจิต เห็นเลยว่าจิตเป็นของบังคับไม่ได้นะ เห็นไตรลักษณ์ของจิต หรือรู้ลมหายใจอยู่นะ ให้จิตตั้งมั่นเป็นคนดู เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่ตัวเรา นี่ก็เป็นการเดินปัญญาด้วยการดูกายละ

ถ้าจิตแส่ส่ายหนีออกไป รู้ทันว่าจิตแส่ส่ายออกไป จิตจะตั้งมั่นได้สมาธิขึ้นมา หรือเดี๋ยวก็ส่ายเดี๋ยวก็ตั้ง เดี๋ยวก็ส่ายเดี๋ยวก็ตั้ง เริ่มสังเกตเห็น จิตจะส่ายไปจิตจะตั้งมั่น จิตจะส่ายไปจิตจะตั้งมั่น บังคับไม่ได้จิตไม่ใช่เรา นี่เริ่มเดินปัญญาอีกละ

เพราะฉะนั้นเวลาภาวนานะ มันจะพลิกไปพลิกมา พลิกไปพลิกมา ระหว่างสมถะกับวิปัสสนานะ อย่างนี้ใช้ได้

แต่ถ้าไปจ่ออยู่ในอารมณ์อันเดียว เป็นสมถะไม่เดินปัญญา เป็นคุกขังจิต จิตต้องอยู่ที่ลมหายใจเท่านั้น ห้ามไปอยู่ที่อื่น อย่างนั้นไม่ใช่ อย่างนั้นเป็นสมถะ ดีมั้ย ดีเหมือนกัน ถ้าทำวิปัสสนาไม่ได้

ถ้าทำวิปัสสนา ดูจิตได้ให้ดูจิต ดูจิตไม่ได้ให้ดูกาย ดูจิตไม่ได้ดูกายไม่ได้ ให้ทำสมถะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๕ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๔๕
Track: ๑๙
File: 550601.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๑ ถึง นาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๔๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๙) ฝึกสมาธิชนิดมีจิตตั้งมั่นเพื่อให้ถึงขั้นเจริญปัญญา

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๙) ฝึกสมาธิชนิดมีจิตตั้งมั่นเพื่อให้ถึงขั้นเจริญปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ทีนี้พวกเราที่ฝึกกันน่ะ ฝึกมั่วๆ ไปฝึกก็จะเอาแต่พุทโธๆจิตสงบไป หรือหายใจไปแล้วจิตสงบไป ดูท้องไปไปจิตสงบไป จิตสงบไปอยู่นิ่งๆเฉยๆอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตชนิดนี้ไม่เดินปัญญาหรอก จิตชนิดนี้จะไปนอนพักผ่อนอยู่เฉยๆ แล้วสดชื่นมีเรี่ยวมีแรงออกมา บางคนติดอยู่ในความสงบนาน ติดอยู่เป็นปีนะ พอหลุดออกจากความสงบแล้วร้ายกว่าเก่าอีกนะ ติดมันติดในความสงบพอออกมากระทบโลกข้างนอกมันทนไม่ได้มันคุ้มคลั่ง เพราะฉะนั้นพวกเข้าวัดบางคน พวกเราสังเกตคนที่เข้าวัดบางคนนะ ถ้าเขาติดสมาธินะอารมณ์เขาจะร้ายกว่าคนปกติอีก

แต่ถ้าฝึกสมาธิชนิดจิตตั้งมั่นจะไม่เป็น จะไม่คุ้มคลั่งอย่างนั้นหรอก เพราะฉะนั้นเรามาฝึกสมาธิให้ได้สมาธิชนิดที่จิตตั้งมั่น พุทโธไปจิตหนีไปคิดรู้ทัน ใครหายใจก็หายใจไปจิตหนีไปคิดรู้ทัน จิตไหลไปอยู่กับลมหายใจรู้ทัน จิตมันเคลื่อนไป จิตเคลื่อนไปคิดก็รู้ทันเคลื่อนไปเพ่งลมหายใจก็รู้ทัน ดูท้องพองยุบอยู่จิตเคลื่อนไปคิดก็รู้ทันเคลื่อนไปอยู่ที่ท้องก็รู้ทัน การที่รู้ว่าจิตเคลื่อนไปนั้น จิตจะตั้งขึ้นเอง จิตจะไม่เคลื่อน จิตที่ไม่เคลื่อนจะตั้งมั่นเด่นดวงอยู่อย่างนั้น เราต้องฝึกตัวนี้ให้ได้ก่อน พอเรามีจิตที่ตั้งมั่นขึ้นมาแล้ว คราวนี้ถึงขั้นของการเดินปัญญาที่แท้จริง

550409.20m04-21m28

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๒๐ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๒๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๗) สมาธิมีสองชนิด ฝึกเพื่อวัตถุประสงค์คนละอย่างกัน

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๗) สมาธิมีสองชนิด ฝึกเพื่อวัตถุประสงค์คนละอย่างกัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา (๖) จุดเริ่มต้นของการฝึกเจริญปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตรงนี้แหละที่เป็นข้อแตกต่างอย่างยิ่งนะ ระหว่างการทำสมาธิแบบเอาความสงบเป็นที่ตั้ง กับทำสมาธิชนิดที่จะทำให้จิตถอยยออกมาเป็นผู้รู้ผู้ดูเพื่อจะเดินปัญญา สมาธิมันมี ๒ ชนิด

สมาธิชนิดแรก สงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตของเราปกติฟุ้งซ่าน หนีไปโน้นหนีไปนี้อยู่ตลอดเวลา เรามาอยู่กับพุทโธไม่ให้จิตหนี มาอยู่กับพุทโธไม่ให้จิตหนีไปไหนเลย จิตสงบอยู่กับพุทโธ ได้สมถกรรมฐาน ได้ความสงบ เรารู้ลมหายใจไม่ให้จิตหนีไปไหนเลย อยู่กับลมหายใจอย่างเดียว เราได้ความสงบได้สมถกรรมฐาน

แต่จะฝึกให้จิตตั้งมั่น ไม่ลืมตัวเอง ต้องฝึกอีกแบบหนึ่ง ทำสมาธิอีกชนิดหนึ่ง สมาธิมี ๒ ชนิด สมาธิที่จิตสงบ อยู่ในอารมณ์อันเดียว มีชื่อทางวิชาการ ชื่อว่าอารัมณูปนิชฌาน อารัมณะคืออารมณ์นั่นเอง จิตนี้แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว เช่นอยู่กับพุทโธอย่างเดียวไม่หนีไปไหน ไม่นึกไม่คิดอะไร อยู่กับพุทโธ หายใจก็สงบอยู่กับลมหายใจอย่างเดียว ไม่คิดไม่นึกไม่หนีไปไหน อย่างนี้ได้ความสงบเฉยๆ

มีสมาธิอีกชนิดหนึ่ง ชื่อลักขณูปนิชฌาน สมาธิชนิดนี้จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นคนดู จิตไม่หลงไปในโลกของความคิด ไม่หลงเผลอไป ไม่ไหลไป แต่ตั้งมั่นขึ้นมา วิธีฝึกก็ใช้พุทโธ ใช้ลมหายใจ เหมือนที่ใช้ฝึกทำความสงบนั่นแหละ แต่ปรับวิธีนิดหนึ่ง ถ้าจะทำความสงบเราก็พุทโธให้จิตอยู่กับพุทโธ หายใจให้จิตอยู่กับลมหายใจ ดูท้องพองยุบให้จิตไปอยู่ที่ท้อง เนี่ยจิตได้ความสงบ แต่ถ้าจะฝึกจิตให้ตั้งมั่นนะ หัดพุทโธไปแล้วจิตหนีไปคิด รู้ทัน หายใจไปจิตหนีไปคิด รู้ทัน ไม่ได้บังคับจิตว่าห้ามไปไหน ไม่ได้บังคับจิตว่าต้องอยู่ที่เดียวนิ่งๆ

550409.15m29-17m24

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๑๕ วินาทีที่ ๒๙ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางวิปัสสนา (๖) จุดเริ่มต้นของการฝึกเจริญปัญญา

mp3 for download : ทางวิปัสสนา (๖) จดเริ่มต้นของการฝึกเจริญวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางวิปัสสนา

ทางวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : เรามาหัดถอดตัวเอง ทำอย่างไรดี ขั้นแรกเลยนะ เราต้องรู้สึกตัวให้เป็นก่อน ถ้าใจเราลอย ใจเราฟุ้งซ่าน คิดโน่นคิดนี่นะ เราไม่สามารถเรียนรู้เรื่องตัวเราเองได้ สังเกตมั้ย เวลาที่เราใจลอย เราจะไปคิดถึงคนอื่น คิดถึงสิ่งอื่น หรือถ้าคิดถึงตัวเราเอง ก็จะไปคิดถึงเวลาอื่น เช่น คิดถึงตัวเราในอดีต คิดถึงตัวเราในอนาคต มันจะหลงไปหาสิ่งอื่นตลอด

ลองดูก็ได้ ในขณะนี้ ตั้งใจฟังหลวงพ่อ รู้สึกมั้ย ขณะที่ตั้งใจฟังหลวงพ่อเนี่ย ร่างกายเรามีมั้ย ร่างกายเรามีอยู่นะ แต่เราไม่รู้สึก เราลืมร่างกายของเราไป ในขณะนี้จิตใจของเราก็มี แต่พอมาจดจ่อมาฟังธรรมะของหลวงพ่อนะ เราลืมจิตใจของเราเอง สุขหรือเปล่าก็ไม่รู้ ทุกข์หรือเปล่าก็ไม่รู้ เป็นกุศลหรืออกุศลก็ไม่รู้

เมื่อไรใจลอยนะ เมื่อนั้นไม่สามารถรู้กาย ไม่สามารถรู้ใจ ของตัวเองในปัจจุบันได้ ใจลอยอาจจะรู้กายรู้ใจนะ แต่รู้ด้วยการคิดๆเอา คิดถึงเราเมื่อวานซืน คิดถึงเราเมื่อตอนเด็ก คิดถึงคนโน้นคิดถึงคนนี้ มันไม่ใช่ตัวจริงในปัจจุบันนี้ เมื่อไรใจลอย เมื่อนั้นลืมตัวเอง เพราะฉะนั้นเราต้องพยายามรู้สึกตัวเอง ไม่ลืมตัวเอง

นี่คือจุดตั้งต้นเลยนะ ของการที่จะเจริญปัญญา ถอดตัวเองออกเป็นชิ้นๆได้เนี่ย ขั้นแรกต้องไม่ลืมตัวเอง ถ้าเราลืมตัวเอง เราก็ถอดตัวเองออกเป็นชิ้นๆไม่ได้ เหมือนเเราจะเป็นช่างซ่อม เราลืมรถยนต์ไปนะ ไม่ได้สนใจรถยนต์เลย รถยนต์ก็กองอยู่อย่างนั้น ไม่ได้ถอดออกมาเป็นชิ้นๆเสียที

เพราะฉะนั้นขั้นแรกเลยของการปฏิบัติเนี่ย ต้องอย่าใจลอย วิธีฝึกที่จะไม่ให้ใจลอยทำอย่างไร ขั้นแรกหัดพุทโธก็ได้นะ หัดหายใจก็ได้ จะดูท้องพองยุบก๊ได้ ทำกรรมฐานอะไรก็ได้สักอย่างหนึ่ง เราถนัดพุทโธเราก็ใช้พุทโธ ถนัดรู้ลมหายใจเราก็รู้ลมหายใจ ถนัดดูท้องพองยุบเราก็ดูท้องพองยุบ ถนัดที่จะขยับมือทำจังหวะ อย่างสายหลวงพ่อเทียนขยับมือ เราก็ขยับมือไป อะไรก็ได้ หางานขึ้นมาให้จิตทำสักอย่างหนึ่ง จะพุทโธ จะรู้ลมหายใจ จะดูท้องพองยุบ จะขยับมือทำจังหวะ จะไปเดินจงกรม อะไรก็ได้ ทั้งนั้นเลย แล้วคอยรู้ทันจิต

550409.13m06-15m29

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ห้องสุวรรณภูมิบอลรูม ชั้น ๒ อาคารบี
บจก. เตียวฮงสีลม บางพลี
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕
ระหว่างเวลา ๑๓:๐๐ – ๑๕:๐๐ น.

File: 550409.mp3 (ไทย)
File: 550409.mp3 (สหรัฐอเมริกาและยุโรป)
เสียงพระธรรมเทศนา ระหว่างนาที่ ๑๓ วินาทีที่ ๖ ถึง นาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๐) ถ้าทำสมาธิไม่เป็น ให้เจริญปัญญาไปเลย

mp3 for download : อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๐) ถ้าทำสมาธิไม่เป็น ให้เจริญปัญญาไปเลย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๐) ถ้าทำสมาธิไม่เป็น ให้เจริญปัญญาไปเลย

อานาปานสติ (ตอนที่ ๑๐) ถ้าทำสมาธิไม่เป็น ให้เจริญปัญญาไปเลย

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าทำไม่ได้อีกจะทำยังไง ทำอานาปานสติแล้วเจริญปัญญาไปเลยนะ ไม่ได้เข้าสมาธิหรอก แค่เห็นร่างกายมันหายใจอยู่ พวกนี้อุปจาระก็ไม่เข้า อัปนาคือเข้าฌานก็ไม่เข้า แค่เราเห็นร่างกายหายใจอยู่ ใจเป็นคนดู เนี่ยอานาปานสติอย่างนี้ก็ยังดี อานาปานสติตรงนี้เนี่ย ที่เรียกว่า มีสติอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก ไม่ใช่มีสติอยู่กับลมหายใจ ถ้ามีสติอยู่กับลมหายใจนะ ลมหายใจจะเปลี่ยนเป็นแสงสว่างแล้วจะเข้าฌานไป

เรามีสติอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก เห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู ตรงที่ใจเป็นคนดูขึ้นมาเนี่ย อันนี้ถ้าเข้าฌานไม่ได้ ต้องฝึกให้เกิด วิธีฝึกให้ใจเป็นคนดูเนี่ย หัดพุทโธไป หัดหายใจไปก็ได้นะ ใช้ลมหายใจไปก็ได้ หายใจแล้วค่อยสังเกตว่าร่างกายที่หายใจอยู่เป็นสิ่งถูกรู้ถูกดู ใช้พุทโธก็ได้ พุทโธไป พุทโธไปแล้วก็เห็นนะ ว่าพุทโธเป็นสิ่งที่ถูกรู้ถูกดู ดูท้องพองยุบก็ได้ แล้วเห็นว่าท้องพองยุบถูกรู้ถูกดู อย่างนี้ก็ได้ ใจมันจะเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา

อีกอย่างหนึ่ง ถ้าแยกอย่างนี้ไม่ออกนะ ให้คอยรู้ทันเวลาจิตหนีไปคิด พุทโธแล้วจิตหนีไปคิด รู้ทัน จิตก็ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา หายใจไป จิตหนีไปคิด รู้ทัน จิตก็ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา ท้องพองยุบ จิตหนีไปคิด รู้ทัน จิตก็ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา แต่ต้องไม่ไปเพ่งใส่ลมหายใจ ไม่ไปเพ่งใส่ท้องนะ ปล่อยให้มันรู้ลมหายใจ รู้ท้องพองยุบอะไรไป จิตมันเคลื่อนไป เรารู้ทันจิตที่เคลื่อนเนี่ย จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู บางคนก็ใช้วิธีนี้แยกได้ บางคนก็สังเกตดู ไอ้นี่ก็ถูกรู้ ไอ้นี่ก็ถูกรู้ ลมหายใจก็ถูกรู้ ร่างกายที่หายใจอยู่เป็นของถูกรู้ เห็นอย่างนี้ก็แยกได้ มีหลายอย่างเห็นมั้ย กรรมฐานน่ะมันหลากหลายมากนะ เพราะฉะนั้นเวลาภาวนา ถ้าไม่เรียนดีๆ จะมั่วซั่วเอา

541106A.16m08-18m20

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
วันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ก่อนฉันเช้า

CD: 42
File: 541106A.mp3
นาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๘ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๒๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เราฝึกกรรมฐานเพื่อสังเกตจิต

Mp3 for download:เราฝึกกรรมฐานเพื่อสังเกตจิต

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เราฝึกกรรมฐานเพื่อสังเกตจิต

เราฝึกกรรมฐานเพื่อสังเกตจิต

หลวงพ่อปราโมทย์ : คนในโลกนี้ลืมตัวทั้งวัน ใจลอย ใจล่องลอยหนีไปโน้นหนีไปนี้เรื่อย หนีไปคิดน่ะส่วนใหญ่ หนีไปดูลดลงมาหน่อย หนีไปฟังน้อยลงไปอีกนะ หนีไปลิ้มรสหนีไปอะไรงี้น้อย หนีน้อยลง แต่หนีไปคิดนี่หนีทั้งวัน พวกเรารู้สึกมั้ยเราคิดทั้งวัน พวกเก่าๆเนี่ยไม่ต้องมาพยักหน้าเอาพวกเข้าคอร์สน่ะ รู้สึกมั้ยใจเราแอบคิดทั้งวัน รู้สึกมั้ย สังเกตมั้ยขณะที่เราไปคิดเนี่ย เราลืมตัวเราเองนึกออกมั้ย เวลาเราคิดเรารู้เรื่องที่คิดใช่มั้ย รู้เรื่องคิด คิดโน่นคิดนี่ไปเรื่อยนะ ขณะนั้นเราลืมตัวเราเอง นี่เรียกว่าเราลืมตัวเองขาดสติแล้วนะ

ขาดสติที่จะรู้กายขาดสติที่รู้ใจ สติที่รู้กายสติที่รู้ใจเรียกว่า”สติปัฏฐาน” ถ้าเดินสติปัฏฐานได้โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าว่าไม่ใช่หลวงพ่อว่า เพราะงั้นถ้ายังมีผู้เจริญสติปัฏฐานอยู่โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ สติปัฏฐานเป็นสติที่รู้กายสติที่รู้ใจของตัวเองด้วยไม่ใช่รู้กายรู้ใจคนอื่นนะ ไปเจาะฝาห้องน้ำแล้วดูเค้าบอกรู้กายรู้ใจอะไรงี้ ไม่ได้ งั้นดูตัวเองไม่ดูคนอื่น งั้นต้องเป็นสติที่รู้สึกตัว รู้สึกอยู่ในกาย รู้สีกอยู่ในใจ ใจของเราหนีทั้งวัน หนีไปคิดเรื่องโน้นหนีไปคิดเรื่องนี้ เมื่อไรหนีไปคิดนะก็ลืมตัวเอง

งั้นต่อไปนี้เราฝึกนะ เราฝึก ทำกรรมฐานอันใดอันหนึ่งขึ้นมา ฝึกพุทโธก็ได้ ฝึกรู้ลมหายใจก็ได้ ฝึกดูท้องพองยุบก็ได้ ใครเคยฝึกอะไรฝึกอันนั้นแหล่ะ แต่ฝึกแล้วคอยสังเกตจิตไว้ เช่นพุทโธๆๆไปจิตไหลไปคิด รู้ทัน หายใจออกหายใจเข้าจิตไหลไปคิด รู้ทัน หายใจออกหายใจเข้าจิตไหลไปเพ่งลมหายใจ รู้ทัน หายใจแล้วรู้ทันจิตไป คนไหนถนัดดูท้องพองยุบก็ดูท้องพองยุบไป เห็นร่างกายมันพองร่างกายมันยุบ ดูไปเรื่อย ใจเป็นคนดู ดูไปๆจิตแอบไปคิด รู้ทันว่าจิตหนีไปคิด นี่ รู้ทันจิตไว้ จิตไหลไปอยู่ที่ท้องไปเพ่งอยู่ที่ท้อง รู้ทันว่าจิตไหลไปอยู่ที่ท้องแล้ว

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันพฤหัสบดีที่
๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
File: 530422
ระหว่างนาทีที่  ๑วินาทีที่ ๓๕ ถึง นาทีที่ ๑๙ วินาทีที่ ๓๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สมาธิที่รู้เห็นสิ่งภายนอกไม่เป็นไปเพื่อเกิดปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

Mp3 for download: สมาธิที่รู้เห็นสิ่งภายนอกไม่เป็นไปเพื่อเกิดปัญญา

สมาธิที่รู้เห็นสิ่งภายนอกไม่เป็นไปเพื่อเกิดปัญญา

สมาธิที่รู้เห็นสิ่งภายนอกไม่เป็นไปเพื่อเกิดปัญญา

ลพ.ปราโมทย์ : สมาธิที่รู้เห็นอะไรข้างนอกนี่ ไม่เป็นไปเพื่อให้เกิดปัญญา สมาธิที่ฝึกไปแล้วจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมเนื้อลืมตัว อันนี้แหละสมาธิที่ทำให้เกิดปัญญาได้

เพราะฉะนั้นต่อไปเราฝึกสมาธินะ เราอย่าฝึกให้เคลิ้ม เราฝึกให้รู้สึกตัวไว้ พุทโธๆ พุทโธไปนะ พุทโธสบาย ไม่พุทโธเพื่อบังคับให้จิตสงบ พุทโธๆ พุทโธไป หรือหายใจเข้า หายใจออกนะ หายใจไปอย่างสบาย ฝึกให้รู้สึกตัว เห็นร่างกายมันหายใจไป เห็นใจมันท่องพุทโธไป เรียกว่าทำสมถะไปนะ ทำกรรมฐานขึ้นสักอันหนึ่ง จะดูลมหายใจก็ได้ จะพุทโธก็ได้ จะดูท้องพองยุบก็ได้ จะเดินจงกรมก็ได้ นะ ทำอะไรก็ได้นะ แต่ทำไปเพื่อจะให้รู้สึกตัว ไม่ทำให้เคลิ้ม เช่น หายใจไป รู้สึกตัว ใจลอยไปแล้ว รู้ทัน หายใจไป รู้สึกตัว เอาใจไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจ รู้ทันนะ เราฝึกเพื่อให้ได้ความรู้สึกตัวขึ้นมาก่อน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อวันพฤหัสบดีที่
๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
File: 530422
ระหว่างนาทีที่  ๑วินาทีที่ ๓๒ ถึง นาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๓๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

เราปฎิบัติเพื่ออะไร?mp 3 (for download) : เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่นี่หลวงพ่อจะเน้นสอนเรื่องการปฏิบัติให้ หลักของการปฏิบัติเราก็ต้องรู้ ว่าเราจะปฏิบัติอะไร ปฏิบัติเพื่ออะไร ปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติแล้วได้ผลเป็นยังไง ต้องตอบได้ชัดเจน เราจะปฏิบัติอะไร มีสองอย่างที่จะต้องปฏิบัติคือ “สมถะ” กับ “วิปัสสนา” ปฏิบัติเพื่ออะไร สมถะ ปฏิบัติเพื่อให้จิตใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะเดินวิปัสสนา ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อจะได้เห็นนู่นเห็นนี่มีตาทิพย์มีหูทิพย์ บางคนอยากได้เจโตอยากได้ทิพจักษุ  หลวงพ่อเคยเจอนะ มีไอ้หนุ่มคนนึง มันภาวนาอยากได้ทิพจักษุ ถามว่าอยากได้ทำไม มันจะได้มองทะลุผ้าของคนอื่น มันเห็นธรรมะเป็นเรื่องอะไร จะทะลุฝาห้องของเค้าอะไรอย่างนี้ ได้เรื่องเลย มีจริงๆนะ สมถะนะ เราทำไปเพื่อให้ใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะทำวิปัสสนา

วิปัสสนาทำไปเพื่ออะไร เพื่อให้เกิดปัญญา รู้ความจริงของกายของใจนี้ ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ ดังนั้นทำเราทำวิปัสสนาเพื่อให้รู้ความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจ รู้แล้วได้อะไร รู้ถึงที่สุดแล้วมันจะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ

พระอรหันต์ไม่ใช่คนประหลาดนะ อย่าไปวาดภาพพระอรหันต์ประหลาดเกินเหตุทำอะไรก็ไม่ได้ กระดุกกระดิกก็ไม่ได้ วันๆต้องนั่งเซื่องๆเหมือนนกกระยางรอให้ปลามาใกล้ๆจะได้ฉกเอาเชื่องๆห้ามกระดุกกระดิก พระอรหันต์จริงๆก็คือท่านผู้ภาวนาจนมีปัญญา เห็นทุกข์เห็นโทษของขันธ์นะ ขันธ์ห้าเป็นทุกข์เห็นอย่างนี้ แล้วท่านปล่อยวางความยึดถือขันธ์ได้ จิตท่านแยกออกจากขันธ์ พรากออกจากขันธ์ ไม่ยึดถือขันธ์ ท่านเป็นอิสระจากขันธ์ ตัวขันธ์เป็นตัวทุกข์ เพราะฉะนั้นพระอรหันต์เลยพ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่นี่พ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่ตายแล้วเค้าเรียกดับทุกข์คือขันธ์มันดับ ไม่ใช่ไปเกิดอีกนะ หลายคนวาดภาพเป็นพระอรหันต์ไปเกิดอีกไปอยู่ในโลกนิพพาน อันนั้นไม่ใช่ศาสนาพุทธหรอก พระอรหันต์ นิพพานแล้วเหมือนไฟที่ดับไปแล้ว ไฟที่ดับแล้วอยู่ที่ใหน ใครจะรู้ เพราะฉะนั้นเราภาวนานะ ภาวนาทำสมถะเพื่อให้มีแรง ทำวิปัสสนา ทำวิปัสสนาเพื่อให้เห็นความจริงของกายของใจ ถ้าเราเห็นความจริงของกายของใจได้มันจะหมดความยึดถือ ปล่อยวางได้ พอปล่อยวางได้ก็พ้นทุกข์ได้ เพราะตัวกายตัวใจตัวขันธ์นี้แหล่ะตัวทุกข์

นี่ต้องเรียนสิ่งเหล่านี้ แล้วทำยังไง เราจะทำอะไร ทำสมถะและวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร บอกแล้ว ทำอย่างไร สมถะนี่ไม่ใช่ทำเพื่อให้เคลิ้ม วิธีทำสมถะไม่ใช่น้อมใจให้เคลิ้มให้ซึมให้นิ่ง แต่ฝึกความรู้สึกตัวขึ้นมา หายใจออกรู้สึก หายใจเข้ารู้สึก เคยได้ยินคำว่า”อานาปานสติ”มั้ย มีสตินะไม่ใช่ฝึกให้ไม่มีสติ ไม่ใช่ฝึก(เสียงกรน)คร้อกบรรลุแล้ว ฝึกให้มีสติหายใจเข้า ฝึกให้มีสติหายใจออก มีสติไปเรื่อยเลย หรือบางทีพิจารณากาย”กายคตาสติ” มีสติไล่ไปในกาย ดูอาการสามสิบสอง ดูอวัยวะต่างๆในร่างกาย มีสติ เห็นมั้ย ไม่ได้บอกให้ขาดสติเลยนะ ไม่ได้ดูเอาแก้วแหวนเงินทอง เอาวิมานสวรรค์อะไรทั้งสิ้นเลย แต่ฝึกให้มันมีสติ รู้ลมหายใจก็ให้มันมีสติ พิจารณากายก็พิจารณาด้วยความมีสติ เรียกว่ากายคตาสติ ทำอะไรๆก็มีสติ คิดถึงพระพุทธเจ้าก็คิดถึงด้วยความมีสติ หัดพุทโธ ๆ แล้วรู้สึกตัวไป นึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตของเราจะทำยังไงพุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราไม่ได้ภาวนาให้เคลิ้มๆ ภาวนาให้รู้สึกตัว ฉะนั้นเราอย่าทิ้งสติ ครูบาอาจารย์เคยสอนบอก “สติจำเป็นในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ”

ฉะนั้นทำสมถะก็ต้องมีสตินะ แต่มีสติอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข อารมณ์อันเดียว ทำไมต้องอารมณ์อันเดียว อารมณ์หลายอันแล้วก็รู้ตัวยาก ปกติจิตมันจะหนีตลอดเวลา วิ่งไปวิ่งมาตลอดเวลา พอเรามาทำสมถะนะ เรามีอารมณ์อันเดียว มาเป็นเหยื่อ เหยื่อล่อจิต อย่างถ้าจะตกปลานะ มีคนโยนเบ็ดพร้อมกันร้อยอัน ปลางงเลยจะกินอันใหนดีใช่มั้ย ว่างมาทางนี้ เอ๊ะ ไม่เอาตัวเล็กไป ว่ายทางนี้ ก็ใหญ่ไปเกินพอดี เกินคำ ไม่เอา วกไปวกมา ไม่ได้กิน ถ้ามีเหยื่ออันเดียวปลาฝูงนึงยิ่งดี มีเหยื่ออันเดียวล่อ จิตของเราปกติร่อนเร่ไปเรื่อยๆ วิ่งไปทางตา วิ่งไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนะ ร่อนเร่ไปเรื่อย เที่ยวแสวงหาอารมณ์ไปเรื่อย เหมือนปลาวิ่งหาเหยื่อไปเรื่อย ว่ายไปเรื่อยๆ เราหาอารมณ์อันนึงที่ชอบใจของปลาตัวนี้มาล่อมัน ไปเอาพุทโธก็ได้ คนไหนพุทโธแล้วสบายใจเอาพุทโธ คนไหนหายใจเข้าหายใจออกแล้วสบายใจเอาลมหายใจ คนไหนดูท้องพองยุบแล้วมีความสุขก็ดูท้องพองยุบไป คนไหนเดินจงกลมแล้วมีความสุขก็เดินไป ไม่ใช่เดินทรมาน เดินไปเครียดไป เดินไปเครียดไป สมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนะ หาอารมณ์ที่สบายๆ อยู่แล้วมีความสุข

อย่างหลวงพ่อนะ ฝึกอานาปานสติมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่เจ็ดขวบ พวกเราส่วนใหญ่ในห้องนี้ยังไม่เกิด หายใจแล้วมีความสุข พอจิตใจมีความสุข จิตจะสงบ จิตมันหิวอารมณ์นะ พอมันได้กินของชอบนะ มันเลยไม่ไปเที่ยวที่อื่น เอาอารมณ์มาล่อ อยู่กับพุทโธ อยู่กับลมหายใจแล้วมีความสุข จิตก็ไม่หนีไปไหน จิตเคล้าเคลียอยู่ แต่ระวังอย่างเดียว อย่าให้ขาดสติ อย่างเราหายใจไป ถ้าใจเคลิ้มก็รู้ทันว่าเคลิ้ม หายใจไปใจฟุ้งซ่านหนีไปคิดเรื่องอื่น รู้ว่าใจฟุ้งซ่านไป ใจก็มีความสุข เคล้าเคลีย สงบอยู่กับลมหายใจ จนกระทั่งลมหายใจมันสว่างขึ้นมา หายใจไปเรื่อยๆ เวลาจะเข้าฌาน ไม่ใช่รู้ลมหายใจหรอกจะบอกให้ พวกเรามั่วๆนะ หายใจแล้วเข้าฌานรู้ลมหายใจแล้วเข้าฌาน ไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอก

ลมหายใจเบื้องต้นเรียกว่า บริกรรมนิมิต รู้ลมไปเรื่อย สบาย จิตใจมีความสุข มันจะสว่างขึ้นมา ความสว่างมันเกิดขึ้นนะ ใจมันสงบลงมา ในทางร่างกายเวลาจิตสงบลงมา เลือดจะมาเลี้ยงสมองส่วนหน้านี้ เลือดจะมาเลิ้ยงตรงนี้เยอะ มันจะให้ความรู้สึกที่สว่างขึ้นมา จิตมันก็สว่างนะ กายมันก็สว่างขึ้นมา ผ่องใส ความสว่างเกิดขึ้นแล้วเนี่ย เอาความสว่างนี้มาเป็นนิมิตแทนลมหายใจได้ ต่อไปความสว่างมันเข้มข้นขึ้นนะ เป็นดวงขึ้นมา ให้เล็กก็ได้ ให้ใหญ่ก็ได้ จิตใจก็มีความสุข สนุก มีความสุขอิ่มเอิบเบิกบาน มีปีติขึ้นมา เข้าฌาน ไม่ใช่หายใจรู้ลมแล้ว (เสียงกรน คร้อก) บอกว่าหายใจจนลมระงับ ถามว่าลมระงับยังไง ลืมไปเลย หลับไปแล้ว บอกว่าไม่มีลมหายใจแล้ว ไม่ใช่นะ

เพราะฉะนั้นหลักของการทำสมถะนะ ก็อย่าทิ้งสติ มีสติไปเรื่อย เวลาจิตรวมก็รวมด้วยความมีสติ ไม่รวมแบบขาตสติ วูบๆวาบๆหรอก รู้เนื้อรู้ตัวตลอดสายของการปฏิบัติเลย รวมลงไปลึกเลย จนร่างกายหายไปเลย ลมหายใจก็หาย ร่างกายก็หาย โลกทั้งโลกก็หายไปหมดเหลือจิตอันเดียว ก็ยังไม่ขาดสตินะ จิตดวงเดียวอย่างนั้น เด่นอยู่อย่างนั้น ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ทำไมต้องมีจิตขึ้นมา โดดเด่นขึ้นมา เพื่อเราจะได้เอาไว้ต่อวิปัสสนา

ฉะนั้นบางคนทำไม่ถึงฌานก็ไม่เป็นไรนะ แค่หัดพุทโธ พุทโธๆ ไป ค่อยๆดูไป พุทโธเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า เห็นมั้ย ใจนั้นค่อยตั้งมั่นขึ้นมา อย่างนี้ใช้ได้ หายใจไปเรื่อยๆ หายใจเข้าหายใจออก อะไรก็ว่าไปเถอะ หายใจไปแล้วเห็นร่างกายมันหายใจ จิตเป็นคนดู อย่างนี้นะถึงจะทำสมถะ เพื่อจะต่อวิปัสสนา คือหายใจไปแล้วมีจิตเป็นคนรู้คนดูขึ้นมา ดูท้องพองยุบไปนะ เห็นร่างกายมันพองเห็นร่างกายมันยุบ จิตเป็นคนดู

เพราะฉะนั้นบทเรียนเรื่องการทำสมาธิเนี่ย ในทางศาสนาพุทธท่านถึงใช้คำว่า “จิตตสิกขา” ทำสมาธิจนกระทั่งเราเห็นจิตของเรา จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ยแหล่ะ พร้อมที่จะไปเดินวิปัสสนาต่อแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าคนไหนจะทำสมถะนะ ก็อย่าให้ขาดสติ หายใจไปเห็นร่างกายหายใจ จิตเป็นคนดู หายใจไปจิตแอบไปคิด รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน ก็มีจิตอีกคนนึงเป็นคนดู เฝ้ารู้ไปจนกระทั่งจิตเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา อย่างนี้เรียกว่าเราทำสมถะเป็น เวลาบางช่วงบางครั้งบางคราวจิตก็เข้าพักสงบ รู้เนื้อรู้ตัวอยู่นะ สงบ ไม่แส่ส่ายไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สงบไม่คิดไม่นึกอะไร ใจว่างสบายสว่าง อันนี้ทำสมถะเต็มที่

ต่อไปก็หัด นั่งสมาธิไปแล้วเห็นจิตเคลื่อนไหวรู้ไปเรื่อยจนจิตตั้งขึ้นมา ตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา อย่างนี้ดี จะเอาไว้ต่อวิปัสสนา นี้พอเราหัดภาวนาไปนะ พุทโธๆ เราเห็นเลย พุทโธเป็นของถูกรู้ จิตเป็นผู้รู้พุทโธ หายใจออกหายใจเข้านะ หายใจไป จนกระทั่งเห็นเลยร่างกายมันหายใจ จิตเป็นผู้รู้ว่าร่างกายหายใจ มีจิตที่เป็นผู้รู้ขึ้นมา จะเดินจงกลมยกเท้าย่างเท้าเห็นร่างกายมันเดินไป จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู ต่อไปพอผู้รู้ผู้ดูมันหายแว้บไป คือมันขาดสติเมื่อไรมันหายเมื่อนั้น สติมันระลึกได้เองเพราะมันเคยรู้จักผู้รู้ผู้ดูเนืองๆ ฉะนั้นเราจะฝึกจนกระทั่งสามารถรู้สึกตัวอยู่ในชีวิตประจำวันได้เนืองๆ เมื่อไรเป็นผู้หลงนะ ก็ขาดผู้รู้ เมื่อไรเป็นผู้รู้ก็ไม่เป็นผู้หลง บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็หลงเป็นผู้คิด บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็เป็นผู้เพ่ง

พอเรามาอยู่ในชีวิตประจำวัน เราเห็นตัวผู้รู้เค้าเกิดดับไปเรื่อยๆ เนี่ย เฝ้ารู้เฝ้าดูอย่างนี้เรื่อยๆ พอใจมันเป็นคนรู้คนดูขึ้นมาได้ มันจะเห็นร่างกายไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นวัตถุ ร่างกายเป็นก้อนธาตุ ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวไป จะเห็นเวทมาทั้งหลายไม่ใช่ตัวเรา ความสุขความทุกข์ทั้งหลาย ความไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหลาย ผ่านมาผ่านไป เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ จนใจของเรามันตั้งมั่น รู้เนื้อรู้ตัวเรื่อยๆ แต่ไม่ได้ตั้งเอาไว้จนแข็งๆรู้ตัวตลอดเวลา อย่างนั้นใช้ไม่ได้ ต้องรู้บ้างเผลอบ้างนะ ถึงจะเห็นว่าตัวรู้เองก็เกิดๆดับๆ

สมัยก่อน หลวงพ่อไปเรียนกับครูบาอาจารย์ เมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อนโน้น เข้าวัดไหนครูบาอาจารย์พูดแต่คำว่า”ผู้รู้” ท่านยังสอนด้วยซ้ำไปว่า ศาสนาพุทธ “พุทธ”แปลว่าอะไร พุทธ (อ่าน พุท-ธะ) แปลว่า”รู้” พุทธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ใจของเราชอบเป็นผู้คิด ใจของเราชอบเป็นผู้หลง เราฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ทำยังไงใจจะเป็นผู้รู้  ถ้ารู้ทันสภาวะที่กำลังปรากฎนะ ใจจะเป็นผู้รู้ขึ้นมา เช่นเผลอไปรู้ว่าเผลอ ใจก็จะเป็นผู้รู้ขึ้นแว้บนึง เป็นผู้รู้ตรงขณะไหน ขณะที่รู้ว่าเผลอ ถัดจากนั้นอาจจะเป็นผู้เพ่ง ใจโกรธขึ้นมานะ รู้ว่าโกรธ ขณะที่โกรธนะ ขณะนึง ขณะที่รู้ว่าโกรธนี่แหล่ะ ใจเป็นผู้รู้ขึ้นมาแล้ว ถัดจากนั้นอยากให้หายโกรธนี่ ใจมีอกุศลแล้ว มีความอยากเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นเราดูใจเราไปเรื่อยนะ ไม่ใช่ผู้รู้ต้องเที่ยงถวร ผู้รู้ไม่เที่ยงหรอก ผู้รู้เองก็เกิดดับ

ครูบาอาจารย์องค์นึงสอนดีมากเลยคือ หลวงปู่หล้า ภูจ้อก้อ บอกเลยว่า ผู้ใดเห็นว่าผู้รู้เที่ยงนะ เป็นมิจฉาทิฐิ จิตผู้รู้ก็ไม่เที่ยงแต่ว่าต้องมีอยู่อาศัยไว้ใช้ปฏิบัติเอา ของเราสังเกตสิ เดี๋ยวใจก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง เมื่อไหร่รู้สภาวะตรงความเป็นจริง ใจก็เป็นผู้รู้ขึ้นมาแว้บนึง เอาแค่แว้บเดียวพอนะ ไม่ต้องตั้งอยู่เป็นชั่วโมงๆ คนที่ตั้งเป็นชั่วโมงๆได้ต้องพวกที่เค้าทรงฌาน ผ่านฌานมาเต็มที่แล้ว เต็มภูมิอย่างน้อยได้ฌานที่สองแล้ว ได้ฌานที่สองใจจะเด่น ออกจากฌานมา ยังเด่นอยู่เป็นวันๆเลย อาศัยสมาธิอย่างนี้ตามรู้ดูกายดูใจได้นาน พวกเราไม่ได้ทรงฌานเนี่ยสมาธิจะอยู่แว้บเดียวๆเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” แต่อาศัย ขณิกสมาธิ เนี่ยแหล่ะทำมรรคผลนิพพานให้เกิดได้ เพราะสมาธิที่ใช้ทำวิปัสสนาจริงๆก็คือ ขณิกสมาธิ นี่แหล่ะดีที่สุดเลย รองลงมาก็คือตัว อุปจาร (คำเต็ม อุปจารสมาธิ) เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ ให้ใจมันตื่นขึ้นมา

วิธีง่ายที่สุดเลย ทำฌานไม่ได้ ทำยังไงใจจะตื่น ใจตื่นก็ตรงข้ามกับใจที่ไม่ตื่น ใจที่ไม่ตื่นคือใจหลับ ใจหลับได้ใจก็ฝันได้ ความฝันของใจก็คือความคิด ถ้าเมื่อไหร่รู้ว่าฝันนะเมื่อนั้นจะตื่น เวลาที่ใจไหลไปคิด ถ้าเมื่อไหร่พวกเรารู้ว่าจิตแอบไปคิดนะ เราจะตื่นขึ้นชั่วขณะนึง รู้ทันว่าจิตไหลไปคิด ขณะที่รู้นั่นน่ะตื่น ไม่เฉพาะหลงไปคิดนะ โกรธขึ้นมาขณะที่รู้ว่าโกรธ ขณะนั้นก็ตื่นเหมือนกัน แต่ตัวนี้ดูยากกว่า ใจของเราหลงคิดทั้งวัน มันดูง่ายกว่า อย่างจะดูจิตที่โกรธนะ แล้วก็ตัวรู้ว่าโกรธ วันนี้ยังไม่โกรธใครเลยเนี่ย จะภาวนายังไง แต่มีมั้ยวันใหนชั่วโมงไหนที่ไม่คิดมีมั้ย ไม่มีเลย จิตที่คิดคือจิตฟุ้งซ่าน เป็นจิตมีโมหะเค้าเรียกว่า “อุทธัจจะ” โมหะชนิด อุทธัจจะ จิตมันฟุ้งซ่าน เป็นจิตที่เกิดบ่อยที่สุดเลยจิตฟุ้งซ่านเนี่ย

เราเอาตัวที่เกิดบ่อยเนี่ยแหล่ะมาหัดทำกรรมฐาน เราจะได้ทำกรรมฐานบ่อยๆ เพราะฉะนั้นจิตไหลไปคิดแล้ว อ้อ หลงไปแล้ว มีคำว่า “แล้ว” นะ ทำไมต้องมี แล้ว ด้วย หมายถึงว่า หลงไปก่อน ไม่ได้ห้ามหลง หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง หลายคนภาวนาผิดนะ ไปจ้องรอดู ไหน เมื่อไหร่จะหลง เมื่อไหร่จะหลง จ้องใหญ่ ขณะที่รอดูนั่นหลงเรียบร้อยแล้วนะ ไม่มีวันรู้เลยว่าหลงเป็นยังไงเพราะหลงไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นให้มันหลงไปก่อนให้มันเผลอไปคิดก่อน แล้วก็ค่อยรู้ว่าเผลอไป หลงไป ให้มันโกรธไปก่อน ให้มันโลภไปก่อน แล้วก็รู้ว่ามันโกรธ​รู้ว่ามันโลภ นี่หัดรู้อย่างนี้บ่อยๆรู้ไปแล้วจะได้อะไร เห็นมั้ย คำสอนในศาสนาพุทธละเอียดนะ จะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำอย่างไรบอกแล้วนะ อย่างถ้าจะดูจิตดูใจเนี่ย ตามดูไป ให้สภาวะเกิดแล้วก็ตามรู้ไป หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง โกรธไปก่อนแล้วรู้ว่าโกรธ ตามดูไปเรื่อยๆ เราจะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำแล้วได้ผลอะไร ถ้าเราตามดูไปเรื่อย เราจะเห็นเลย เดี๋ยวจิตก็หลงเดี๋ยวจิตก็รู้  เดี๋ยวหลงเดี๋ยวรู้ นานๆจะมีอย่างอื่นแทรก เดี๋ยวโลภขึ้นมาเราก็รู้ หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ อ้าว เดี๋ยวโกรธขึ้นมา อีกแล้ว นานๆจะมีโลภแทรก นานๆจะมีโกรธแทรกที แต่หลงนี่มันยืนพื้นเลย มันเป็นกิเลสยืนพื้นเลย

ดังนั้นเราคอยรู้ทันเรื่อยๆ ไม่ใช่รู้เพื่อจะไม่ให้หลง แต่รู้เพื่ออะไร รู้เพื่อจะรู้ว่าเมื่อกี้จิตเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้จิตเป็นอีกอย่างหนึ่ง เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตโลภตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ ไม่ใช่ฝึกเพื่อจะไม่ให้โลภ ไม่ให้โกรธ ไม่ให้หลง จะฝึกเพื่อให้เห็นว่า เมื่อกี้เป็นอย่างนึง เดี๋ยวนี้เป็นอย่างนึง นี่คือการเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของสภาวะธรรมนั่นเอง เห็นมั้ยเมื่อกี้จิตหลง ตอนนี้จิตหลงดับไปแล้ว เกิดจิตที่รู้ขึ้นมา เห็นมั้ยเมื่อกี้เป็นจิตโกรธ ตอนนี้เกิดเป็นจิตที่รู้ จิตโกรธดับไปแล้ว จิตที่รู้อยู่ไม่นาน เกิดจิตหลงขึ้นมาแทนอีกแล้ว เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ ฝึกไปเรื่อยๆ

ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกปฏิเสธ สิ่งที่ไม่ดีแต่ฝึกจนเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาให้จิตรู้นี้ เป็นของชั่วคราวทั้งสิ้น จิตโลภก็โลภชั่วคราว จิตโกรธก็โกรธชั่วคราว จิตหลงก็หลงชั่วคราว ทำไมหลงชั่วคราวเพราะมีตัวรู้มาคั่น มีจิตรู้มาคั่น เราก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลยมันก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลย มันก็จะมีแต่จิตหลง หลงทั้งวัน หลงทั้งคืน เราจะรู้สึกว่าหลงแล้วเที่ยง จะไม่เห็นหรอกว่ามันเป็นไตรลักษณ์ แต่เรามีรู้ขึ้นมานะ เพื่อจะเห็นหลงมันขาดเป็นท่อนๆ หลงไปหนึ่งนาทีแล้วรู้สึกตัวแว้บ เราเห็นเลยชีวิตที่หลงนะมันจบไปแล้ว มันเกิดชีวิตใหม่ที่รู้สึกตัว เสร็จแล้วหลงไปอีกห้านาที ก็รู้สึกอีกทีนึง หลงไปอีกชั่วโมงรู้สึกอีกที ต่อไปฝึกไปเรื่อยๆนะ หลงสามวินาทีรู้สึก หลงสองวินาทีรู้สึก ยิ่งฝึกเก่งนะยิ่งหลงบ่อย หลงแว้บรู้สึก ฝึกไปเรื่อย ไม่ใช่ฝึกไม่ให้หลง ไม่ได้ฝึกห้ามหลง ไม่ได้ฝึกที่จะให้รู้ตลอดเวลา แต่ฝึกเพื่อให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วล้วนแต่ดับทั้งสิ้น

ปัญญาแก่รอบต่อไปอีก ก็จะเห็นอีกว่า จิตจะรู้หรือจิตจะหลงนะ ห้ามมันไม่ได้ บังคับมันไม่ได้ นี่คือการเห็นอนัตตา เราสั่งมันไม่ได้ มันไม่ใช่เราหรอก จิตจะหลง มันก็หลงของมันเอง จิตจะโลภ ก็โลภของมันเอง จิตจะโกรธ ก็โกรธของมันเอง จิตจะเป็นยังไงมันก็เป็นของมันอย่างนั้นแหล่ะ จิตจะรู้ขึ้นมา ก็รู้ได้เอง จงใจรู้ก็ไม่ใช่อีกแล้ว แต่เราก็ต้องฝึกจนกระทั่งมันได้รู้ขึ้นมานะ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนี่ฝึกให้มันมีรู้ก่อน

บางคนได้ยินหลวงพ่อพูด หลวงพ่อเล่าให้ฟังนะว่า ตอนหลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดุลย์ครั้งสุดท้าย สามสิบหกวันก่อนท่านมรณะภาพ หลวงปู่ดุลย์สอนหลวงพ่อ พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ ออกจากหลวงปู่ดุลย์นะ อีกวันไปหาหลวงพ่อพุธ หลวงพ่อพุธก็บอกท่านไปหาหลวงปู่ดุลย์มา หลวงปู่ดุลย์สอนอย่างเดียวกันนี้ บอก เจ้าคุณการปฏิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ สอนอย่างนี้ พอได้ยินอย่างนี้นะเลยพยายามทำลายผู้รู้ทั้งๆที่ผู้รู้ยังไม่มีเลย มีแต่ผู้หลงแต่หาทางทำลายผู้รู้ สติแตกสิ

ตอนนี้อย่าเพิ่งทำลายผู้รู้นะ ไม่ใช่เวลาทำลายผู้รู้ เอาไว้ให้ได้พระอนาคาก่อนแล้วค่อยพูดเรื่องทำลายผู้รู้ ตอนนี้เรายังไม่ได้ เราก็ยังไม่ทำลาย เราต้องมีผู้รู้ไว้ก่อน สังเกตมั้ยเดี๋ยวจิตก็รู้ เดี๋ยวจิตก็หลง เดี๋ยวจิตก็โลภ คอยรู้สึกไปเรื่อย รู้ัมันจะมีทีละแว้บ มีรู้อย่างนี้บ่อยๆ มีรู้ขึ้นมาเพื่อตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นช่วงๆ ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตตรงนี้รู้ เห็นมั้ยหลงต้องใหญ่หน่อย รู้ต้องนิดเดียว เป็นธรรมชาติอย่างนั้น ไม่ใช่ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตเดี๋ยวนี้รู้ ปัจจุบันไม่โตขนาดนี้ คำว่าปัจจุบันน่ะเล็กนิดเดียว ชิวิตที่รู้ลงมาคือชีวิตที่อยู่กับปัจจุบันได้ ขณะแว้บเดียวต่อหน้าเท่านั้น เล็กๆ ไม่มีรู้ยาวเท่านี้ (หลวงพ่อวาดมือ) รู้เที่ยงสิรู้อย่างนี้ รู้เที่ยงก็มิจฉาทิฐิ จริงๆรู้เกิดวับก็ดับ วับก็ดับ ดังนั้นเราฝึกนะจนกระทั่งเรารู้สึกขึ้นมา

วิธีที่จะให้รู้ขึ้นมาก็คือ คอยไปหัดรู้ทันเวลาใจหลงไปคิด อันนี้เป็นการบ้านที่ง่ายๆเลย เพราะจิตที่หลงคิดคือจิตที่เกิดบ่อยที่สุด จิตโลภจิตโกรธอะไรนี่มีน้อยนะ จิตหลงเนี่ยมีทั้งวันเลย เพราะในขณะที่โลภ ในขณะที่โกรธเนี่ยต้องมีหลงประกอบอยู่ด้วย ถ้าไม่หลงจะไม่มีโลภ ถ้าไม่หลงจะไม่โกรธ เพราะฉะนั้นจิตหลงเนี่ยเป็นตัวสาหัสสากันเลย ถ้าเราเรียนเรื่องจิตหลงได้ เราจะภาวนาได้ทั้งวัน

กรรมฐานนะ เราควรจะเลือกกรรมฐานซึ่งมันเกิดบ่อยๆ เราจะได้ดูบ่อยๆ อย่างใจเราหลงเนี่ยหลงทั้งวัน แล้วก็รู้ ใจหลงไปแล้วรู้  มันจะเห็นสลับกันเร็ว เคยมีนะ ตอนอยู่เมืองกาญฯ มีหนุ่มคนนึงมาถามหลวงพ่อ ผมใช้สิ่งอื่นนอกจากในสติปัฏฐานได้มั้ย ที่จะมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน ถามว่าจะใช้อะไร ถ้าฟ้าร้องแล้วผมจะรู้สึกตัว ปีนึงมันร้องกี่ครั้งนะ นานมาก บางวันก็ไม่ร้องตั้งหลายเดือน แสดงว่าตลอดมาเนี่ยเอ็งไม่มีสติเลยใช่มั้ย เอ็งจะมีสติตอนหน้าฝนอย่างเดียว อย่างงี้ใช้ไม่ได้

พวกเราไปดูสิอารมณ์ในสติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะ เป็นอารมณ์ที่เกิดตลอดเวลา หายใจออก หายใจเข้านี่ หายใจทั้งวันมั้ย ถ้าหายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวทั้งวัน ยืน เดิน นั่ง นอน มีทั้งวันใช่มั้ย ไม่ยืนก็เดิน ไม่เดินก็นั่ง ไม่นั่งก็นอน อะไรนี้ เวียนไปนี้ ถ้า ยืน เดิน นั่ง นอนรู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวได้เกือบทั้งวันแล้ว ยกเว้นอิริยาบถประหลาดๆ เช่น กระโดดอะไรนี้นะ หรือไปว่ายน้ำ เป็นอิริยาบถ แปลกๆไป ท่านก็สอนล็อกไว้อีกอันนึงเรื่องสัมปชัญญะ เคลื่อนไหวแล้วรู้สึก ก็เคลื่อนไหวแล้วก็หยุดนิ่ง หยุดนิ่งแล้วก็เคลื่อนไหว ถ้าหยุดนิ่งก็รู้สึก เคลื่อนไหวก็รู้สึก ก็รู้สึกตัวได้ทั้งวันแล้ว อารมณ์ที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะเกิดทั้งวัน อารมณ์เวทนาล่ะ มีทั้งวันมั้ย สุข ทุกข์ เฉยๆก็หมุนอยู่อย่างนี้ทั้งวันใช่มั้ย ถ้าสุขก็รู้ตัว ทุกข์ก็รู้ตัว เฉยๆก็รู้ตัว ก็คือรู้ตัวได้ทั้งวัน ดูจิตดูใจล่ะ จิตหลงไปแล้วรู้ เกิดได้ทั้งวัน หลงทั้งวัน ยกเว้นบางคนนั้นขี้โลภ เจออะไรมันก็อยากตลอดเวลาเลย ความอยากเกิดถี่ยิบเลยทั้งวัน พวกนี้ก็เอาความอยากเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่เดี๋ยวมันอยากแว้บอยากดู รู้ทัน อยากฟังรู้ทัน อยากคิดรู้ทัน พวกโลภมากนะ ดูอยากเป็นวิหารธรรม มีจิตที่อยากกับจิตที่ไม่อยาก คู่เดียวก็พอแล้ว เกิดทั้งวันแล้ว คนไหนขี้โมโหนะ อะไรนิดนึงก็โมโห อะไรนิดนึงก็ขัดใจ ก็เอาจิตที่มีโมโหนี่แหล่ะมาเป็นวิหารธรรม จิตโกรธขึ้นมาก็รู้ ขณะที่รู้ว่าโกรธนั้นคือจิตที่รู้ จิตนั้นมันโกรธ เดี๋ยวก็โกรธอีก เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ เห็นมั้ยมันจะเกิดทั้งวัน

เพราะฉะนั้นอารมณ์กรรมฐานที่เราใช้นั้นต้องเป็นอารมณ์ที่เกิดทั้งวัน เราจะได้มีสติได้ทั้งวัน หายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว เผลอไปรู้สึกตัว รู้ รู้ทันว่าเผลอ ก็รู้สึกตัว ก็เป็นจิตที่รู้ขึ้นมา ก็รู้ว่ามีจิตที่รู้อยู่ ทุกอย่างเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอด เวลา เราทำไปเพื่อให้เห็นว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับ ไม่ใช่ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบเช่น เราเห็นว่าร่างกายที่หายใจออก เกิดขึ้นมาแล้วดับไป กลายเป็นร่างกายที่หายใจเข้า ร่างกายที่หายใจเข้าเกิดแล้วก็ดับ กลายเป็นร่างกายที่หายใจออก ร่างกายที่ยืน ที่เดิน ที่นั่ง ที่นอนนี่ ก็คือร่างกายที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ หรือความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆนะ ก็แสดงความหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ความหลงไปกับความรู้สึก หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ ก็แสดงความเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ ภาวนาเพื่อให้เห็นสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบอะไรหรอกนั่นตื้นไป แต่ภาวนาเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ มันมีแต่ความไม่เที่ยง ในกายในใจนี้ มีแต่ความทนอยู่ไม่ได้ในสภาวะ อันใดอันหนึ่ง อยู่ไม่ได้ตลอดหรอก ไม่นานก็ต้องเสื่อมไป

มีแต่เรื่องบังคับไม่ได้นะ สั่งไม่ได้ ร่างกายก็ไม่ใช่เรานะ เป็นแค่วัตถุอันนึง จิตใจก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง สั่งมันไม่ได้ นี่ภาวนาอย่างนี้ สุดท้ายจะได้อะไรขึ้นมา จะเห็นเลยว่า ทั้งกาย ทั้งใจ ทั้งขันธ์ห้านี้เป็นทุกข์เป็นโทษทั้งหมดเลยนะ ไม่ใช่ของดีของวิเศษหรอก อย่างร่างกายนะ ประคบประหงมมันอย่างดีเลย ให้มันมีความสุข ไม่นานเลยมันก็ทุกข์อีกแล้ว นี่อย่างนี้ดูไปเรื่อย มันเอื่อมระอา มันไม่ยึดกายแล้ว จิตใจก็เหมือนกันนะ อุตสาห์ทำความสงบเข้ามา ไม่นานก็ฟุ้งอีกแล้ว ทำดียังไงเดี๋ยวก็แย่ขึ้นมาอีกแล้ว มีแต่ของไม่เที่ยงนะ เห็นแล้วอิดหนาระอาใจ ในที่สุดไม่ยึดจิตใจด้วย

สุดท้ายไม่ยึดทั้งกายไม่ยึดทั้งใจ ก็ไม่ยึดสิ่งใดในโลกนะ จิตก็หลุดพ้นจากความยึดถือ เรียกว่าวิมุตตินะ จิตหลุดพ้น หลุดแล้วจะได้อะไร ได้เห็นนิพพาน แต่ไม่เป็นเจ้าของนิพพานนะ นิพพานไม่เป็นของใคร นิพพานเป็นธรรมดาของโลกอยู่อย่างนั้น เป็นธรรมะประจำโลกอยู่อย่างนั้น แต่ว่าผู้ใดไปเห็นนิพพานผู้นั้นมีความสุขนะ จิตที่ไปรู้นิพพานนั้นมีบรมสุขที่สุดเลย มันพ้นความดิ้นรน พ้นความปรุงแต่ง พ้นความหิวโหย พวกเราค่อยๆฝึกนะ

วันนี้เทศน์มาตั้งแต่เช้าเนี่ยเรื่องอะไรบ้าง หวังว่าการปฏิบัติต้องรู้นะว่าเราจะทำอะไร ก็มีสมถะกับวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร ทำสมถะนะก็เพื่อให้มีกำลังไปทำวิปัสสนา หรือว่าบางครั้งก็ใช้พักผ่อนนิดๆหน่อยๆ พอมีเรี่ยวมีแรงสดชื่นแล้วก็ไปทำวิปัสสนา ทำอย่างไรนะ สมถะ เนี่ย ให้จิตไปอยู่ในอารมณ์ที่สบายแล้วจิตจะสงบ วิปัสสนานะให้ตามรู้ความเปลี่ยนแปลงของกายของใจไป ใจเป็นแค่คนรู้คนดูไปเรื่อย โลภขึ้นมาแล้วรู้ โกรธขึ้นมาแล้วรู้ ดูไปเรื่อย รู้แล้วได้อะไร ทำแล้วได้อะไร ถ้าทำสมถะก็ได้ตัวรู้ขึ้นมา ทำวิปัสสนาก็ได้ปัญญาเห็นความจริงของกายของใจ ได้เห็นความจริงแล้วก็หมดความยึดถือ ปล่อยวาง เข้าถึงบรมสุขที่แท้จริง


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๑๓
File: 520809A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ศึกษาหลายตำราแล้วสับสน

mp3 (for download): ศึกษาหลายตำราแล้วสับสน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ศึกษาหลายตำราแล้วสับสน

ศึกษาหลายตำราแล้วสับสน

โยม : ขออนุญาตกราบเรียนหลวงพ่อนะคะ คือว่า แบบตัวเองไปศึกษามาหลายตำราค่ะ แล้วก็ บางทีก็รู้สึกว่า เอ๊…อันนี้ไม่เข้ากับเรา ก็เปลี่ยนไปเรื่อยนะคะ ตอนหลังก็มานั่ง นั่งพุทโธ ก็มีความรู้สึก ทำไมเรา เราไม่ได้สมาธิเสียที แล้วก็ มันก็จะฟุ้งไปเรื่อยน่ะคะ หรือบางทีก็เผลอหลับไปน่ะค่ะ อยากจะขอคำแนะนำ..

หลวงพ่อปราโมทย์ : คือเราจะทำอะไร เราต้องรู้ว่าเราจะทำเพื่ออะไร เราต้องรู้วัตถุประสงค์เสียก่อนนะ อย่างของคุณต้องการจะทำสมาธิเพื่ออะไร เพื่อให้สงบหรือเพื่อให้มีปัญญา จะเอาอะไร อันนี้

โยม : คือ จะให้มีเพื่อปัญญาค่ะ..

หลวงพ่อปราโมทย์ : จะให้มีเพื่อปัญญานะ แต่ก่อนจะมีปัญญาก็ต้องสงบก่อนเหมือนกัน ถ้าใจฟุ้งมากๆมันก็ไม่มีปัญญา การปฏิบัติธรรมเนี่ยต้องเข้าใจก่อน อย่างที่หลวงพ่อบอกเมื่อสักครู่นี้นะ สมาธินี้นะเกิดจากความสุข ของคุณใจมันเที่ยวแสวงหาไปเรื่อย มันอยากลอง อยากลอง ลองไปหน่อยหนึ่ง ลองแล้วเมื่อไหร่จะสงบ ก็ดิ้นต่อไปอีก เปลี่ยนวิธี เอ๊ะ ทำอย่างนี้เมื่อไหร่จะสงบ ก็เลยไม่สงบเสียที

ลองเปลี่ยนใหม่นะ ลองทำเล่นๆ แต่ทำสม่ำเสมอ จะทำอะไรก็เอาสักอันหนึ่ง จะพุทโธก็พุทโธไป จะหายใจก็หายใจ จะดูท้องพองยุบก็ดูไป เอาอะไรก็เอาสักอันหนึ่ง แต่ไม่ใช่ทำแล้วบังคับใจ ทำเล่นๆ ทำไปอย่างมีความสุขนะ มันจะสงบเข้ามา พอมันสงบแล้วมาฝึกสมาธิอีกชนิดหนึ่ง สมาธิมี ๒ ชนิด สมาธิชนิดที่ ๑ สงบ สมาธิชนิดที่ ๒ ตั้งมั่น ไม่เหมือนกัน

สงบนี่นะ จิตอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตเป็นหนึ่ง อารมณ์เป็นหนึ่ง อยู่ด้วยกัน นิ่งอยู่ บางทีก็ไหลเข้าไปรวมเป็นอันเดียวกัน บางทีก็แยกออกมา อย่างนี้เป็นสมถะ

สมาธิชนิดที่สอง จิตตั้งมั่นเป็นคนดู อารมณ์ไม่ได้เป็นหนึ่งนะ จิตเป็นหนึ่งเป็นคนดูอยู่อย่างนี้ แต่อารมณ์นี่นะ ร้อยอารมณ์ พันอารมณ์ หมื่นอารมณ์ แสนอารมณ์ก็ได้ เห็นอารมณ์เคลื่อนไหวเกิดดับตลอด ทั้งรูปธรรมทั้งนามธรรม จิตเป็นแค่คนดูอยู่เฉยๆ เหมือนเรานั่งดูฟุตบอลอยู่บนอัฒจันทร์ เห็นนักฟุตบอลวิ่งไปวิ่งมา นี่น่ะจิตถอนตัวมาเป็นคนดู นี่เป็นสมาธิอีกชนิดหนึ่ง สมาธิชนิดนี้แหละที่จะใช้ให้เกิดปัญญา สมาธิสงบเอาไว้พักผ่อน สมาธิที่จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน เป็นผู้รู้ผู้ดู อันนี้แหละถึงจะทำให้เกิดปัญญา

สมาธิมี ๒ ชนิดนะ ต้องเรียนให้ได้ทั้ง ๒ ชนิด เวลามีจำกัดนะ ไปฟังซีดีหลวงพ่อให้เยอะๆ แล้วจับสมาธิ ๒ ชนิดนี้ให้ออก แล้วแต่ละชนิดนะหลวงพ่อบอกไว้หมดเลย ฝึกอย่างไร อยากจะฝึกให้สงบนี่นะ น้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข อยู่อย่างต่อเนื่องเลย เพราะฉะนั้นย้ายสำนักไปเรื่อยๆนี่นะ ทิ้งคำว่าต่อเนื่อง แล้วก็ไม่ว่าจะจับอารมณ์อะไรขึ้นมานี่ อยากให้มันสงบ จิตไม่สงบหรอก (เพราะ)จิตไม่มีความสุข ไปเค้นมัน เห็นมั้ย

ดังนั้น ถ้าจับหลักที่หลวงพ่อสอนนะ อะไรก็สงบไปหมดล่ะ ง่ายไปหมดเลย

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔

CD: แสดงธรรมนอกสถานที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
File: 540216
ระหว่างนาทีที่  ๔๓ วินาทีที่ ๒๕ ถึง นาทีที่ ๔๖ วินาทีที่ ๒๕

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การภาวนาคือการเรียนรู้ตัวเอง ไม่ใช่การดัดแปลงตัวเอง

mp3 for download : การภาวนาคือการเรียนรู้ตัวเอง ไม่ใช่การดัดแปลงตัวเอง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

มนุษย์ดัดแปลง

มนุษย์ดัดแปลง

หลวงพ่อปราโมทย์ : โยนิโสมนสิการ ไม่ใช่แปลว่า คิดส่งเดช คิดตามใจชอบ นึกจะคิดก็คิดเอาเอง ไม่ใช่ แต่ต้องคิดให้อยู่ในหลัก อยู่ในแนวทางที่พระพุทธเจ้าสอน เพราะฉะนั้นเราต้องเรียนว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไรก่อน

พระพุทธเจ้าสอนอริยสัจจ์นะ ง่ายๆเลย ทุกข์ให้รู้ ทุกข์คืออะไร ทุกข์คือกายกับใจ หน้าที่ของเราก็คือ รู้กายรู้ใจ เห็นมั้ยง่ายๆ รู้ไปเรื่อยแล้ววันหนึ่งละสมุทัยเอง ละความอยาก พอหมดความยึดในกายในใจก็หมดความอยากที่จะให้กายให้ใจเป็นสุข หมดความอยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์

เมื่อไรจิตหมดความอยาก จิตก็จะเห็นนิพพาน นิพพานคือสภาวะที่พ้นจากความอยาก ยังอยากอยู่นะไม่เห็นนิพพาน ยังอยากปฏิบัติยังไม่มีวันเห็นนิพพานหรอก อยากได้ผลนะยิ่งไม่มีทางเห็นใหญ่ ตราบใดที่ความอยากยังครองหัวใจอยู่ ตราบนั้นยังไม่เกิดมรรคผลหรอก

เนี่ยเราสังเกตของเราไปเรื่อยๆ อยู่ในหลักนี้แหละ รู้ทุกข์ไป รู้กายรู้ใจอย่างที่เขาเป็น รู้ไปเรื่อย ท่านให้รู้นี่ ท่านไม่ได้ให้บังคับ ไปเพ่งกายเพ่งใจเรียกว่ารู้กายรู้ใจหรือเปล่า? เพ่งกายเพ่งใจก็ไม่ใช่รู้กายรู้ใจ

ยกตัวอย่างบางคนไปดูท้องพองยุบนะ เพ่งอยู่ที่ท้อง ทำไมต้องเพ่ง เบื้องหลังการเพ่งคือโลภะ อยากปฏิบัติ เบื้องหลังโลภะก็คือความเห็นผิดว่ามันเป็นตัวเรา เราอยากให้เราพ้นทุกข์นะ อวิชามีอยู่ เห็นว่ากายนี้ใจนี้เป็นเรา ยึดถือว่าเป็นตัวดีตัววิเศษ เพราะมีอวิชาก็เลยมีตัณหา-อยาก พออยากแล้วก็ทำตามอยาก สนอง

คนทั่วๆไป สัตว์ทั่วๆไป พอเกิดความอยากก็ตามใจมัน สนองกิเลสไปเรื่อย ความอยากก็หมดไป เช่น อยากไปดูหนังแล้วไปดูหนังก็หายอยาก

ทีนี้นักปฏิบัตินะ ชอบบังคับตัวเอง จิตมีความอยากปฏิบัติอยากอะไรนะ ลงมือปฏิบัติ ลงมือบังคับตัวเอง คิดถึงการปฏิบัติเมื่อไหร่ก็ลงมือบังคับตัวเองเมื่อนั้น บังคับกายบังคับใจ กายก็ต้องเรียบร้อย นิ่งๆ ทำอะไรต้องช้าๆ ไปสังเกตดู ครูบาอาจารย์ที่ท่านภาวนาดี ไม่เห็นมีองค์ไหนท่านช้า ยกเว้นแต่ท่านช้าของท่านเอง ช้ามาแต่ไหนแต่ไร ยกตัวอย่างหลวงปู่เทสก์ท่านนุ่มนวล ท่านทำอะไรก็ช้าๆหน่อย ท่านนุ่มนวล อาจารย์มหาบัว ชึบชับๆ ว่องไว แก่ป่านนี้ท่านยังว่องไวอยู่เลย เห็นมั้ย ท่านไม่ได้ดัดจริตทำเป็นช้าๆให้ดูน่านับถือ ไม่มีหรอกไม่มีเสแสร้งเลย

เพราะฉะนั้นการภาวนาไม่ใช่ไปดัดแปลง คิดถึงการปฏิบัติก็ดัดแปลง เคยเดินท่านี้ก็เปลี่ยนท่าเดิน เคยนั่งอย่างนี้ก็เปลี่ยนท่านั่ง เคยกินอย่างนี้ก็ต้องเปลี่ยนวิธีกิน บางคนกินข้าวนะ กินข้าวเช้ากว่าจะเสร็จข้าวบูดไปแล้ว กินนาน…มากเลยนะ แปรงฟันมื้อเช้านะจนเพื่อนเขากินมื้อกลางวันเสร็จแล้วยังแปรงไม่เสร็จเลยก็มีนะ ไม่ใช่ไม่มี อะไรจะดัดแปลงตัวเองมากขนาดนั้น

การภาวนาคือการเรียนรู้ตัวเอง ไม่ใช่คือการดัดแปลงตัวเอง รู้กายลงไป รู้ใจลงไป ดูของจริงในกายในใจ กายนี้ไม่เที่ยงหรอก เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอด กายนี้ทนอยู่ในสภาวะอันใดอันหนึ่งไม่ได้ กายเป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุนะ ไม่ใช่ตัวเราหรอก ดูลงไป

จิตก็เหมือนกันนะ มันไม่เที่ยง เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทนอยู่ในภาวะอันใดอันหนึ่งไม่ได้ ถูกตัณหาบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา เพราะเราบังคับมันไม่ได้ สั่งมันไม่ได้จริงหรอก

เรียนจนเห็นของจริงนะ พอเห็นความเป็นจริงแล้วจะเบื่อ เพราะเห็นตามความเป็นจริงก็เบื่อหน่าย


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๐
File: 520426B.mp3
ลำดับที่ ๕
ระหว่างนาทีที่ ๒ วินาทีที่ ๔๘ ถึง นาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๒๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

มีวิหารธรรมไว้อันหนึ่ง แล้วก็คอยรู้ทันจิตไป

mp3 for download: มีวิหารธรรมไว้อันหนึ่ง แล้วก็คอยรู้ทันจิตไป

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

วิหารธรรม

วิหารธรรม

โยม: นมัสการหลวงพ่อค่ะ คือที่ปฎิบัติที่อยู่ที่นี่มาค่ะ คือถ้าจะให้ดูจิตเลย จะรู้สึกว่าดูยาก เพราะว่าจะค่อนข้างฟุ้ง ก็เลยจะพยายามทำสมาธิ โดยการเดินจงกรม แล้วก็ ตรงนี้จะรู้สึกว่า จิตรวมได้ดีกว่า

หลวงพ่อปราโมทย์: ดีสินะ เดินจงกรมไป แล้วจิตเคลื่อนไปก็รู้ทัน เดินจงกรมไปจิตเคลื่อนไปก็รู้ทัน จิตก็จะสงบเข้ามา เรียกว่าเรามีวิหารธรรมไว้อันหนึ่งนะ พวกเรา หลวงพ่อคุยรวมๆเลย ทุกคนจะได้ทำได้ มีวิหารธรรมไว้อันหนึ่ง แล้วก็คอยรู้ทันจิตไป เดินจงกรมไปจิตไหลไปเพ่งกายก็รู้ จิตไหลไปคิดก็รู้ อย่างนี้ก็ใช้ได้แล้ว

นั่งพุทโธ พุทโธ ไปนะ หรือเดิน พุทโธ ไปก็ได้ พุทโธไปเรื่อย พุทโธแล้วจิตสงบก็รู้ จิตฟุ้งซ่านก็รู้ จิตหลงไปที่อื่นก็รู้ นะ หายใจไปก็ได้ หายใจทั้งวัน นะ หายใจไปรู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป หายใจไปแล้วจิตมันเพ่งลมหายใจก็รู้ จิตหนีไปก็รู้ ในที่สุดจิตก็สงบ จิตถ้าไม่แส่ส่ายออกไป จิตก็สงบนะ ก็สงบเข้ามา

เพราะฉะนั้นเรามีสติ เรามีวิหารธรรมไว้อันหนึ่ง ก็จะช่วยให้ใจมันตั้งมั่น ไปเดินเอาก็ได้ ดี

โยม: ค่ะ แล้วที่นี้ เรา ตอนที่นั่งสมาธิน่ะค่ะ มีสภาวะเกิดขึ้นน่ะค่ะ หลวงพ่อ ก็คือ จากตอนแรกที่จะรู้สึกว่าดูท้องที่พองขึ้นแล้วก็ยุบ ตามที่เราหายใจ แล้วสักพักหนึ่งจะรู้สึกว่า มันจะแยกกันน่ะค่ะ ระหว่างท้องที่ยุบกับพอง แล้วที่นี้เราจะมีจิตเหมือนว่า ตามดูเข้าไป เหมือนรถที่วิ่งต่อกันไป แต่ว่าจะว่าง มีช่องว่าง

หลวงพ่อปราโมทย์: เออ นะ อย่าโดดลงไปกลางถนนก็แล้วกัน

โยม: ค่ะ ทีนี้มันจะรู้สึกว่าบีบคั้นตรงนั้น ที่เราเห็นจิตมันตามกายที่มันเคลื่อนไหวได้เอง

หลวงพ่อปราโมทย์: นั่นแหละ ใจต้องตั้งมั่น ถ้าใจเราไม่ตั้งมั่นนะ เราถลำลงไปอยู่ที่ท้อง ตัวนี้จะเครียดได้ นะ ถ้าใจเราอยู่ห่างๆนะ สบายๆ มันจะเห็นเหมือนคนอื่นพองยุบนะ ไม่ใช่เราพองยุบละ จะเห็นว่ากายมันพอง กายมันยุบ กายนี้ไม่ใช่เราหรอก จะเห็นอย่างนี้

โยม: อย่างนี้ที่เรามองเห็น เห็นว่า เห็นจิตที่วิ่งตามกายที่เคลื่อนไหว ผิดหรือถูกคะ

หลวงพ่อ: อย่างนั้นก็ดี ถูกที่รู้ทันว่าจิตถลำลงไป นะ ตรงนั้นถูก ถ้าจิตถลำลงไปให้รู้ทัน จะตั้งมั่นขึ้นมา จิตก็ไม่ถลำ ตั้งมั่นเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู คราวนี้จะเห็นทันทีเลยว่ากายไม่ใช่เราละ ถ้าเมื่อไรจิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดูนะ สติระลึกรู้สิ่งใด สิ่งนั้นจะไม่ใช่เราเลย ไปทำอีก ไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หลังฉันเช้า
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๓
File: 521204B.mp3
ลำดับที่ ๔
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๑๓ ถึง นาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๔๗
 

 

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

มีเครื่องอยู่ของจิตไว้อันหนึ่งนะ ถ้าจะฝึกให้จิตตั้งมั่น

มีเครื่องอยู่ของจิตไว้อันหนึ่งนะ ถ้าจะฝึกให้จิตตั้งมั่น

มีเครื่องอยู่ของจิตไว้อันหนึ่งนะ ถ้าจะฝึกให้จิตตั้งมั่น

mp3 for download: มีเครื่องอยู่ของจิตไว้อันหนึ่งนะ ถ้าจะฝึกให้จิตตั้งมั่น

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เพราะฉะนั้นเวลาที่กิเลสชั่วหยาบเกิดนะ คนจะทำผิดศีล เรายังสู้กิเลสหยาบๆไม่ได้ ตั้งใจไว้ รักษาศีลไว้ อย่างน้อยกิเลสชั่วหยาบเกิดขึ้นที่ใจก็ตาม อย่าให้มันทำผิดศีล ทางกายทางวาจาออกมา อย่าให้มันล้นออกมาทางกายทางวาจา มันไปเบียดเบียนคนอื่นเขา เพราะฉะนั้นศีลเนี่ยนะ ช่วยควบคุมพฤติกรรมทางกายทางวาจาของเรา ไม่ให้ไประรานผู้อื่น นี่ มันหยาบมาก มันก็ไประรานคนอื่น

กิเลสชั้นกลางชื่อว่านิวรณ์ เราจะสู้ด้วยสมาธิ คือความตั้งมั่นของจิต ไม่ใช่สู้ความสงบ แต่สู้ด้วยความตั้งมั่น สมาธิ แปลว่าความตั้งมั่น สมาธิไม่ได้แปลว่าความสงบ อย่าไปแปลผิดนะ ถ้าแปลผิดก็ภาวนาผิดอีก สมาธิคือความตั้งมั่น องค์ธรรมของสมาธิคือความตั้งมั่น ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียวนั้นแหละ ถ้าเป็นสมาธิที่ดีก็ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ที่เป็นกุศล ถ้าเป็นสมาธิที่ใช้เจริญวิปัสสนาก็ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์รูปนาม ถ้าเป็นสมาธิของพระอริยะเจ้าในขณะเกิดมรรคเกิดผล ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์นิพพาน มีตลอดนะ สมาธิ กระทั่งก่อกรรมทำชั่วก็มีสมาธิ เพราะฉะนั้นสมาธิต้องดูให้ดี

สมาธิเป็นความตั้งมั่นของจิตอยู่ในอารมณ์ อารมณ์อันเดียว และถ้าตั้งเป็นนะ จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา เราจะเห็นอารมณ์นั้นน่ะ กับจิตเป็นคนละอันกันนะ แยกกัน

นิวรณ์เป็นอะไร นิวรณ์ทั้งหมดเลยมี ๕ ตัว กามฉันทนิวรณ์ ความยินดีพอใจ ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส พยาบาท ความไม่พอใจ ไม่พออกพอใจ ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ความฟุ้งซ่าน อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ความลังเลสงสัย วิจิกิจฉา แล้วก็ ถีนมิทธะ ความเซื่องซึม ของจิต ของเจตสิก จิตเซื่องซึม เจตสิกเซื่องซึม ซึมไปด้วยกัน ทำงานไม่ค่อยสะดวก ทำงานไม่ได้ รู้อารมณ์ได้ไม่ดีไม่ชัดเจน

นิวรณ์ทั้งหมดถึงจะมี ๕ ตัว แต่ถ้าจะว่าไปแล้ว โดยสภาวะของมัน เป็นความฟุ้งของจิตทั้งสิ้นเลย ฟุ้งไปในอารมณ์ที่ดีก็เรียกว่า กามฉันทะ ฟุ้งไปในอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ เป็นพยาบาท ฟุ้งจับจด จับอารมณ์ไม่ถูก พวกนี้อุทธัจจะ ฟุ้งไปสงสัย คิดนึกปรุงแต่งใหญ่ เรียกว่า วิจิกิจฉา เห็นมั้ย ฟุ้งไปจับอารมณ์ไม่ได้เลย ไม่รู้เรื่องเลย เป็นถีนมิทธะ เซื่องซึม จับไม่ถูก เป็นเรื่องของจิตฟุ้งซ่านทั้งสิ้นเลย เพราะฉะนั้นถ้าจะสู้กับจิตฟุ้งซ่าน ก็ต้องจิตไม่ฟุ้งซ่าน จิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน คือ จิตที่ตั้งมั่น จิตมีสมาธิ จึงใช้สมาธิสู้กับนิวรณ์ เหมือนใช้ศีล ไปสู้กับ ราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นกิเลสชั่วหยาบ

เพราะฉะนั้นเราต้องมีนะ ต้องมี มีศีล มีสมาธิ วิธีฝึกให้จิตมีสมาธินะ สมาธิคือความตั้งมั่น ง่ายที่สุดเลย คอยรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น ง่ายสุดๆ เบื้องต้น หาเครื่องอยู่ให้จิตเสียก่อน เราจะรู้ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนไหว ต้องมีอะไร หยุดนิ่งเอาไว้ เป็นตัวสังเกต จึงจะเห็นชัดว่ามันเคลื่อนไหวมากขนาดไหน

จิตธรรมดาล่องลอย ดูยาก ไม่รู้เคลื่อนไปกี่องศาแล้ว ถ้ามีเครื่องสังเกต สมมุติว่ามีเครื่องสังเกตอันหนึ่ง มันอยู่ตรงนี้ก็รู้ เคลื่อนนิดหนึ่งก็เห็นแล้ว มันเคลื่อนแล้ว เครื่องสังเกตของจิตเนี่ย เรียกว่าเครื่องอยู่ วิหารธรรม

เพราะฉะนั้นเรามีเครื่องอยู่ของจิตไว้อันหนึ่งนะ ถ้าจะฝึกให้จิตตั้งมั่น พุทโธก็ได้ รู้ลมหายใจก็ได้ อะไรก็ได้ เอาสักอันหนึ่ง ให้จิตตั้งมั่น ให้จิตเนี่ยไปรู้เครื่องอยู่นั้นอย่างสบายๆ รู้พุทโธอย่างสบายๆ รู้ลมหายใจอย่างสบายๆ รู้ท้องพองยุบสบายๆ รู้อิริยาบถ ๔ สบายๆ รู้ร่างกาย ยืน เดิน นั่ง นอน อิริยาบถ ๔ รู้ร่างกายพอง ร่างกายยุบ รู้อย่างสบายๆ

รู้แล้วทำอะไร รู้แล้วให้จิตนิ่งอยู่กับอารมณ์อันนั้นรึ? ไม่ใช่นะ ไม่ใช่รู้แล้วบังคับให้จิตสงบนิ่งๆอยู่ในอารมณ์อันเดียว แต่รู้ เพื่อจะรู้ทันจิตที่ฟุ้งซ่านไปแล้ว ที่เคลื่อนไปแล้ว เช่นเราพุทโธๆ นะ จิตหนีไปจากพุทโธเรารู้ทัน เรารู้ลมหายใจออกหายใจเข้า จิตหนีไปจากลมหายใจเรารู้ทัน ไม่ใช่บังคับจิตให้อยู่ที่ลมหายใจ ถ้าบังคับแล้วจิตจะแน่น

เพราะฉะนั้นเมื่อเราหัดพุทโธ หัดหายใจ หัดดูท้องพองยุบ แล้วรู้ทันจิตไว้บ่อยๆ จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดูได้นะ ไหลนิดหนึ่งก็เห็น ไหลนิดหนึ่งก็เห็น หลวงปู่มั่นสอนสมาธิให้กับฆราวาส สอนแบบนี้นะ สอนอย่างนี้นะ สอนให้ดูจิตนะ สอนให้ดูจิต ใครบอกว่า ดูจิต เป็นของใหม่ๆ เขาสอนกันมาแต่ไหนแต่ไร พระพุทธเจ้าก็สอน หลวงปู่มั่นเอามาสอนหลวงปู่ดูลย์ด้วย แล้วสอนฆราวาสด้วย

ฆราวาสเนี่ยท่านบอกให้มีเครื่องอยู่ไว้อันหนึ่ง อยู่กับพุทโธก็ได้ อยู่กับลมหายใจก็ได้ แล้วคอยรู้ทันจิตนะ จิตหนีไปแล้วรู้ จิตหนีไปแล้วรู้ ในที่สุดพอมันขยับหนีไป พอเรารู้ทันมันจะตั้งขึ้นเอง เพราะอะไร จิตที่หลงไป เป็นอกุศล มีโมหะ ทันทีที่สติระลึกได้ว่าจิตหลงไป จิตเป็นอกุศล จิตที่เป็นกุศลก็เกิด จิตไม่หลงแล้ว จิตตั้งขึ้นมาเอง อัตโนมัติ โดยที่ไม่ต้องบังคับนะ เพราะฉะนั้นเราฝึกบ่อยๆ

เนี่ย เราฝึกอย่างนี้ จิตไหลไปแล้วรู้ จิตไหลไปแล้วรู้ มีเครื่องอยู่ไว้อันหนึ่ง ไม่ได้บังคับจิตให้นิ่งอยู่ที่ลมหายใจ ไม่ได้บังคับจิตให้นิ่งอยู่กับพุทโธ ไม่บังคับจิตให้นิ่งอยู่กับท้องพองยุบ ไม่บังคับจิตให้นิ่งอยู่กับเท้าเวลาเดิน แต่จิตหนีไปจากอารมณ์ ที่เราใช้เป็นวิหารธรรม ให้รู้ทัน ถ้ารู้ทันอย่างนี้จิตจะกลับมาเอง เข้าบ้าน กลับบ้านได้ เมื่อจิตเข้าบ้านได้ ตั้งมั่น

พอจิตตั้งมั่นแล้วมาถึงขั้นของการเดินปัญญา..

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ก่อนฉันเช้า
ระหว่างนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๑๔ ถึงนาทีที่ ๑๖ วินาทีที่ ๓๒

CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๕
ลำดับที่ ๒๑
File: 530730A.mp3

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การดูกาย

ดูกาย

ดูกาย

mp 3 (for download) : การดูกาย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ฝึกมาแบบไหน

โยม: ดูกายค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: ดูกายต้องมีใจที่ตั้งมั่น สักว่ารู้สักว่าดูนะ ใจต้องอยู่ต่างหากเป็นแค่คนดู ที่ฝึกอยู่พอใช้ได้แต่ตอนนี้ไม่ได้แล้ว ตะกี้ใช้ได้ นี่ตรงนี้ใช้ได้

โยม: ค่ะ

หลวงพ่อปราโมทย์: อย่าไปเพ่งนะ อย่าไปเพ่งกายให้ทื่อๆ ขึ้นมา ให้เราแค่เห็นร่างกายมันทำงานไป ใจเป็นคนดูอยู่ต่างหาก คนไหนดูกาย นี่หลวงพ่อพูดเหมาๆ นะ วันนี้มีเวลาครึ่งชั่วโมงเอง คนไหนดูกายนี่ให้เห็นร่างกายมันเคลื่อนไหวมันทำงานไป ใจเป็นคนดูอยู่ต่างหากนะ ใจเป็นแค่คนดูร่างกายทำงาน อย่าเหลือแต่กายอันเดียว หลายคนภาวนาผิดนะ ไปรู้ลมหายใจ เหลือแต่ลมหายใจไม่มีความรู้สึกตัว จิตจมลงไปในลม บางคนดูท้องพองยุบนะ เหลือแต่ท้อง จิตไปเพ่งอยู่ที่ท้อง มันต้องมีจิตอยู่ต่างหาก

การแยกกายแยกใจนี่เรียกว่านามรูปปริจเฉทญาณ’ ก่อนที่จะขึ้นวิปัสสนานี่ ญาณที่หนึ่งต้องมีนามรูปปริเฉทญาณ แยกรูปกับนามออกจากกันให้ได้ก่อน รูปธรรมอยู่ส่วนหนึ่งนะ นามธรรมเป็นคนดู เพราะฉะนั้นเราเห็นร่างกายที่เดินที่ยืนที่นั่งที่นอนนี่ไม่ใช่ตัวเรา มันจะเห็นทันทีเลย เพราะใจจะเป็นคนดูอยู่ต่างหาก

เพราะฉะนั้นต้องพยายามนะ คนไหนที่หัดรู้กาย เวลาที่รู้ลมหายใจอย่างนี้อย่าให้จิตไหลไปจมอยู่ที่ลมหายใจ ให้จิตอยู่ต่างหาก จิตเป็นคนดู เห็นร่างกายนี้หายใจไป จิตเป็นแค่คนดู บางคนดูท้องพองยุบก็ให้ร่างกายมันพองยุบไป จิตเป็นคนดูอยู่ต่างหาก คนไหนเดินจงกรมก็เห็นร่างกายมันเดินไป จิตเป็นคนดูอยู่ อย่าไปเพ่งใส่เท้านะ ถ้าไปเพ่งเท้าจนไม่รู้สึกถึงความมีอยู่ของจิต จิตไปรวมอยู่ที่เท้าเป็นสมถะ เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่ที่ทำนะได้แค่สมถะ จิตถลำลงไป จิตไม่ตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธินี่แหละเป็นของสำคัญมาก ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ ไม่สักว่าเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่นี่ จิตจะถลำลงไป ไปรู้อารมณ์แล้วก็ถลำ ไปรู้อารมณ์แล้วก็ถลำ มันจะไม่สามารถเห็นอารมณ์ทั้งหลายตามความเป็นจริง จิตมันจะไปแช่นิ่งๆ ซื่อบื้ออยู่กับอารมณ์ อย่างนั้นไม่เกิดปัญญา ได้แต่ความสงบ

เพราะฉะนั้น คนไหนดูกายนะ รู้ไป ร่างกายเคลื่อนไหว ใจเราเป็นคนดูอย่างนี้เรื่อยๆ แล้วก็จะเห็นเลย ร่างกายมันก็เคลื่อนไหวของมันไปเรื่อย จิตใจมันก็ทำงานของมันไปเรื่อย บังคับไม่ได้สักอันเดียวทั้งกายทั้งใจ

ทำวิปัสสนาไม่ใช่รู้กายอันเดียวหรือรู้จิตอันเดียว ทำวิปัสสนาจริงๆ ไม่เหมือนสมถะ สมถะรู้อันเดียว ให้จิตอยู่ในอารมณ์อันเดียว แต่วิปัสสนานี่บางครั้งสติรู้กาย บางครั้งสติรู้จิต เลือกไม่ได้ เพราะสติเป็นอนัตตา สั่งไม่ได้ บางทีก็รู้กาย บางทีก็รู้จิต เมื่อรู้กายเราก็ให้เห็นความจริงของกายนะ จิตเป็นแค่คนดูอยู่ เห็นความจริงร่างกายเป็นแค่วัตถุธาตุเคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ตัวเราหรอก จะเห็นทันทีว่าไม่ใช่เรา แต่ถ้าเราไปเพ่งท้องพองยุบไปเรื่อยๆ มันจะไม่เห็นว่าไม่เป็นเรา มันจะสงบไปเฉยๆ เพราะฉะนั้นใจจะต้องตั้งมั่นเป็นแค่คนดูอยู่

 

 

สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๐
Track: ๖
File:
500509.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๑๗ ถึง นาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๔๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา พร้อมมูล อริยมรรคถึงจะเกิด

mp 3 (for download) : ต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา พร้อมมูล อริยมรรคถึงจะเกิด

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: จิตต้องตั้งมั่น ตั้งมั่นเป็นคนรู้คนดู พวกเราหลายคนทำกรรมฐานมากมาย แต่สงสัยว่าทำไมมันไม่เกิดมรรคผลนิพพานตัวจริง เพราะมันไม่มีปัญญานั่นเอง ไม่มีปัญญาเห็นความจริงของรูปนาม มันคิดแต่จะบังคับรูปนาม เพ่งรูปเพ่งนาม เพ่งลูกเดียวนะ ไม่ใช่ปัญญาเห็นไตรลักษณ์

ทำไมไม่มีปัญญา เพราะจิตไม่มีสัมมาสมาธิ จิตไม่ตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นสำคัญนะ อย่างพระอยู่กับหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ต้องคอยควบคุม บางวันจิตตามรู้กายตามรู้ใจมากเข้าๆ จิตกระจายๆ ออกไปนี่ ต้องเพิ่มสมถะละ เพิ่มความสงบให้ใจตั้งมั่น ตั้งมั่นแล้วขี้เกียจขี้คร้านอีก ต้องไล่อีกแล้ว ให้ออกมารู้กายมารู้ใจนะ

เนี่ยเวลาทำกรรมฐานก็คล้ายๆ เราขับรถยนต์นะ บางเวลาก็เหยียบเบรก เนี่ยทำสมถะ บางเวลาเหยียบคันเร่งเจริญปัญญา รถมันถึงจะไปถึงที่หมายได้ งั้นเราคอยดูนะ คอยดูกายคอยดูใจไป ด้วยจิตใจที่ตั้งมั่น เป็นแค่คนดู

หลายคนทำมาหลายปีทำไมไม่ได้ผล หลวงพ่อยกตัวอย่างนะ อย่างตอนนี้ฝึกพองยุบเยอะ ฝึกพองยุบแล้วเห็นท้องพองท้องยุบนะ ถ้าจิตเราไม่ตั้งมั่นจิตเราจะไหลไปตั้งอยู่ที่ท้อง จิตไปตั้งอยู่ที่ท้องเรียกว่าไปตั้งแช่ไม่ใช่ตั้งมั่น เข้าไปแช่อยู่ที่ตัวอารมณ์ จิตตั้งมั่นเนี่ยมันจะอยู่ต่างหากจากอารมณ์ มันจะเห็นเลยร่างกายที่พองร่างกายที่ยุบเป็นของถูกดู จิตอยู่ต่างหาก ต้องแยกรูปแยกนามให้ได้ก่อน

เพราะฉะนั้นก่อนจะเกิดวิปัสสนาญาณนะ ญาณตัวแรกเลยนะเขาเรียกว่า “นามรูปปริจเฉทญาณ” นามรูปปริจเฉทญาณคือแยกรูปกับนาม เห็นเลยเห็นท้องมันพองท้องมันยุบไป ใจเป็นคนดูอยู่ต่างหาก ใจมันตั้งมั่นอยู่ต่างหาก ไม่ใช่ใจถลำไปอยู่ที่ท้องนะ ตรงนี้ชอบดูลมหายใจก็ถลำไปอยู่ที่ลมหายใจ ขยับมือทำจังหวะก็ไปเพ่งใส่มือ จิตไหลไปอยู่ที่มือ เดินจงกรมจิตไหลไปอยู่ที่เท้า ดูท้องจิตไหลไปอยู่ที่ท้อง ดูอิริยาบถสี่เพ่งมันทั้งตัวเลย อันนั้นเรียกว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตถลำลงไปตั้งแช่ในอารมณ์ จิตต้องตั้งมั่นในการรู้อารมณ์ ตั้งมั่นในการรู้อารมณ์ สักว่ารู้อารมณ์ อยู่ต่างหากจากอารมณ์นี่เป็นอันหนึ่ง ไหลเข้าไปรวมแช่อยู่กับอารมณ์เป็นอีกอันหนึ่ง

นี่พวกเราส่วนมากจิตไหลเข้าไปแช่อยู่กับอารมณ์ ไม่มีปัญญาจริงหรอก เกิดปัญญาไม่ได้ มันแช่ไปด้วยกัน ยกตัวอย่างให้ฟังนะ คล้ายๆ เรา ถ้าเรายืนอยู่บนบกริมคลองริมแม่น้ำ เราอยู่บนบกเราไม่ได้ตกน้ำ เราจะเห็นเลยในน้ำเดี๋ยวก็มีอันโน้นลอยมาอันนี้ลอยมา เดี๋ยวกอผักตบลอยมา เดี๋ยวท่อนไม้ลอยมา เดี๋ยวหมาเน่าลอยมา ลอยมาแล้วก็ลอยไปเพราะว่าเราอยู่บนบก

แต่ถ้าเราตกลงไปในน้ำเราลอยไปกับมันนะ เห็นมันอยู่อย่างนั้นน่ะ เห็นมันอยู่ทั้งวัน ดูท้องก็เห็นท้องทั้งวันอยู่ทั้งวันนั่นแหละ ลอยไปด้วยกัน งั้นต้องเป็นคนดูอยู่ต่างหาก

อย่างสายอภิธรรม อาจารย์แนบก็ชอบสอน ต้องเป็นคนดูละครนะ เป็นคนดูละครอย่าโดดเข้าไปในเวทีละคร ถ้าพูดสมัยใหม่คนรุ่นเราชอบดูฟุตบอล เราต้องดูฟุตบอลอยู่บนอัฒจันทร์นะ อย่าไปดูฟุตบอลอยู่กลางสนามฟุตบอล เดี๋ยวถูกเขาเตะเอานะ ถูกกิเลสเตะเอา

งั้นเราต้องดูอยู่ห่างๆ เนี่ยเรียกว่าเราตั้งมั่น ตั้งมั่นอยู่ห่างๆ ไม่เข้าไปยินดียินร้ายกับมัน เป็นกลางในการรู้ จิตใจอ่อนโยนนุ่มนวล ตั้งมั่น คล่องแคล่วว่องไวนะ ไม่ไหลเข้าไป เนี่ยอย่างนี้จิตใจถึงจะมีปัญญาจริงเกิดขึ้น มันจะเห็นเลยทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกอย่างเกิดแล้วดับ เพราะจิตมันไม่หลงตามไป จะเห็นแต่ทุกอย่างเกิดแล้วดับ ถ้าไหลคู่กันไปมันคือการเพ่ง มันจะแนบอยู่ที่อันเดียวนะ เป็นการเพ่ง ได้สมถะ ได้แต่สมถะ

ถ้าจิตตั้งมั่นเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู ทางวัดป่าท่านจะเรียกว่าจิตผู้รู้ มีจิตผู้รู้ขึ้นมาเป็นคนดู เป็นคนดูกาย ดูเวทนา ดูกุศลอกุศล ก็จะเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นกุศลอกุศลล้วนแต่เกิดแล้วก็ดับ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ใจตั้งมั่นเป็นคนดู ปัญญาถึงจะเกิด

งั้นสติเป็นเครื่องระลึกรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นแปลกปลอมขึ้นในกายในใจ สัมมาสมาธิเป็นความตั้งมั่นของจิตในการไปรู้อารมณ์ไม่ถลำลงไป ปัญญาก็จะเห็นความเป็นจริงคือเห็นไตรลักษณ์ ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา นี่สติสมาธิปัญญา ทำงานร่วมกันอย่างนี้นะถึงจะเกิดมรรคเกิดผลได้ ทำไมเกิดมรรคเกิดผลได้เพราะว่ามีปัญญาแก่รอบแล้ว มีสมาธิบริบูรณ์ขึ้นมานะ ศีลสมาธิปัญญาพร้อมมูลขึ้นมานะ อริยมรรคถึงจะเกิด ตัวหนึ่งมากตัวหนึ่งน้อยกะพร่องกะแพร่งไม่เกิดหรอก งั้นต้องมีสติรู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางสักว่ารู้สักว่าเห็นนะ ถึงจะเห็นความจริงของกายของใจ ฟังเหมือนยากนะแต่ง่าย


แสดงธรรมที่ สวนสันติธรรม
เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๙ หลังฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
ลำดับที่: ๘
File: 491123B.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๗ วินาทีที่ ๔๗ ถึง นาทีที่ ๒๒ วินาทีที่ ๕๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไตรสิกขา

ไตรสิกขา

ไตรสิกขา

mp 3 (for download) : ไตรสิกขา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เมื่อเดือนก่อนไปกราบท่านอาจารย์มหาบัว ท่านไม่สบายนะวันที่ไปน่ะ เป็นวันฉัตรมงคลหรือเปล่า ใช่ไหม เป็นวันฉัตรมงคล ตอนเช้าท่านออกมารับโยมนะ ฉันไปนิดหน่อยหรือไง ท่านเป็นลมล่ะ พระต้องเอาท่านกลับกุฏิล่ะ ไปนวด ให้ออกซิเย่นน่ะ นวด ท่านค่อยยังชั่วขึ้นมา บ่าย ๓ โมงกว่า

เข้าไปกราบท่าน ๓ โมงครึ่ง  ทีแรกท่านก็เนือย ๆ เหนื่อย ๆ นะ สังขารเป็นอย่างงั้นนะ สักพักน่ะ ก็ดู ๆ ไปในความชราของท่าน ในความเจ็บไข้ของท่านนะ ท่านมีความสุขจังเลย มีความสุขที่พวกเราไม่มีนะ ไอ้คนแข็งแรงก็ไม่มีความสุขอย่างนี้นะ คนหนุ่มคนสาวเขาก็ไม่มีความสุขอย่างนี้ เราดูแล้วเราเห็นตัวอย่างที่ดีนะ ดูครูบาอาจารย์มาแต่ละองค์ ๆ ท่านมีความสุข ยิ่งอยู่ไปยิ่งมีความสุขนะ พัฒนาไปเรื่อย งั้นเรามาเดินตามแนวของท่านนะ ท่านเดินยังไง ท่านเดินอยู่ในหลักของไตรสิกขานั่นเอง ศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ได้เดินนอกแนวทางนี้ไปได้หรอก ทุกองค์ ๆ ก็เดินอยู่ในแนวทางอันนี้

มีศีลนะ มีความสุข เคยได้ยินไหม เวลาทำบุญพระชอบสวด สีเลน สุคตึ ยนฺติ มีศีลแล้วจะมีความสุข มีสุคติ ไม่ใช่ทุคติ ตอนนี้ในบ้านในเมืองเรา ทุคติ รู้สึกไหม เป็นโซนทุคติแล้วนะ เพราะไม่มีศีล งั้นพวกเราพัฒนาใจของเรานะ ตั้งใจเอาไว้ ทุกวันเลย ตื่นนอนขึ้นมานะ ตั้งใจไว้ วันนี้เราจะไม่ทำผิดศีลห้า ตั้งใจอย่างนี้ทุกวันนะ ส่วนกลางวันศีลจะด่างพรอย กระท่อนกระแท่นก็ช่างมันนะ แต่ตื่นนอนต้องตั้งใจไว้ก่อน ย้ำกับตัวเองเอาไว้ว่าเราจะไม่ผิดศีล และพยายามรักษาให้เต็มที่ ก่อนจะนอนก็ตั้งใจอีก นอนไปวันนี้เราก็จะไม่ทำผิดศีล บางคนสงสัยทำไมจะนอนแล้วยังต้องรักษาศีล เกิดนอนแล้วไม่ได้ฟื้นขึ้นมา เป็นโรคไหลตายน่ะ อย่างน้อยก็ยังตั้งใจว่าจะรักษาศีลอยู่

รักษาศีลเนี่ย คือ เราตั้งใจไว้ว่าเราจะไม่เบียดเบียนคนอื่นนะ ด้วยกาย ด้วยวาจาเนี่ย เราจะไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่ว่ากิเลสจะเกิดขึ้นในกายใจเรารุนแรงแค่ไหน เราจะไม่เบียดเบียนผู้อื่นนะ ตั้งใจไว้อย่างนั้น วิธีที่จะรักษาศีลให้ง่ายนะ ให้มีสติ ถ้ากิเลสเกิดขึ้นที่จิตใจของเรานะ เรามีสติรู้ทันไว้ กิเลศจะครอบงำจิตไม่ได้ ถ้ากิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก คนทำผิดศีลได้เพราะกิเลสครอบงำจิต เพราะงั้นพวกเราฝึกนะ คอยรู้ทันจิตของตัวเองไว้ กิเลสโผล่ขึ้นมาคอยรู้ไว้ เราจะถือศีลง่าย ถ้าเราไม่มีสติซะอย่างเดียวนะ โอกาสจะถือศีลจะยากมาก ศีลจะด่างพร้อยอย่างรวดเร็วเลย

ศีลข้อไหนด่างพร้อยง่ายที่สุด นึกออกไหม ข้ออะไร อืม รู้ทั้งรู้นะ แต่ก็ด่างนะ เพราะฉะนั้นเราต้องมีสตินะ คอยรู้ทันจิตใจเรา กิเลสอะไรเกิดเราคอยรู้นะ ราคะอะไรเกิดเราคอยรู้นะ เพราะรู้ทัน ราคะจะไม่ครอบงำจิต เราก็ไม่ไปขโมยใคร ไม่เป็นชู้ใคร ไม่ไปโกหกหลอกหลวงเอาสมบัติของใครน่ะ โทสะเกิดขึ้นเรามีสติรู้ทันนะ เราก็ไม่ฆ่าใคร ไม่ตีใคร ไม่ด่าใครนะ เราคอยมีสติรู้ทันไปเรื่อย รักษาศีลง่าย

รักษาศีลเนี่ย ศีลทำให้กายวาจาเรียบร้อย แต่เวลารักษา รักษาที่ใจ ถ้ารักษาใจได้นะ กายวาจาเรียบร้อยไปเองแหล่ะ ถ้ากายวาจาไม่เรียบร้อย ก็เพราะใจมันไม่เรียบร้อย เรามีสตินะ รักษาใจของเรา อันนี้หลวงพ่อยังใช้คำว่ารักษาใจอยู่นะ รักษาจิตใจ ยังไม่ใช่ขึ้นวิปัสสนา ถ้าถึงขั้นวิปัสสนา ไม่ใช่ขั้นรักษาแล้ว เป็นขั้นเรียนรู้ความจริง ในขั้นถือศีลนะ มีสติรักษาใจตัวเองไว้

ถัดจากนั้นเรามาฝึกสมาธิ อย่าไปกลัวคำว่าสมาธิ สมาธิเป็นเรื่องธรรมดานะ สมาธิมี ๒ จำพวก สมาธิชนิดที่หนึ่งนะ เป็นสมาธิเพื่อการพักผ่อนนะ ทำสมาธิเพื่อพักผ่อน เช่น เรา พุท โธ พุท โธนะ จิตใจเราสบายอยู่กับพุท โธ สงบ ได้พักผ่อน หายใจออก หายใจเข้า จิตใจสงบ อยู่กับลมหายใจ ได้พักผ่อน ดูท้องพองยุบนะ จิตใจสงบอยู่กับท้อง ได้พักผ่อน ไปเดินจงกรมนะ จิตใจสงบอยู่กับร่างกาย จะอยู่กับเท้า หรืออยู่กับร่างกายทั้งร่างกายก็ได้ แบบนี้ก็ได้พักผ่อน คือจิตได้ไปอยู่สงบ อยู่กับอารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่อง สบายอยู่ในอารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่อง จิตสงบได้พักผ่อน

จิตปกตินั่น ร่อนเร่อยู่ตลอดเวลานะ หยิบฉวยอารมณ์โน้น หยิบฉวยอารมณ์นี่ตลอดเวลานะ สังเกตดู ใจของเราเดี๋ยวก็อยากดู เดี๋ยวก็อยากฟัง เดี๋ยวก็อยากได้กลิ่น เดี๋ยวก็อยากได้รส เดี๋ยวก็อยากสัมผัสโน่นสัมผัสนี่ เดี๋ยวก็อยากทางใจ อยากชิม อยากนึก อยากปรุง อยากแต่ง อยากสงบ อยากได้มรรคผลนิพพานนะอยากดี ไม่อยากชั่ว อยากสุขไม่อยากทุกข์ มีความอยากเกิดขึ้นตลอดเลย

จิตมันหิวอารมณ์ มันก็ดิ้นหาอารมณ์ไปเรื่อย ไม่สงบ เราก็เลือกดู ว่าถ้าเราอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุขนะ เราก็อยู่กับอารมณ์ชนิดนั้นนะ พอจิตได้ยินอารมณ์ ได้เสวยอารมณ์ที่มีความสุขแล้ว จิตก็ไม่ร่อนเร่ไปที่อื่น

หลักของการทำสมถะนะ ทำสมาธิให้เป็นสมถกรรมฐานเพื่อพักผ่อนเนี่ย เราเลือกดูว่าเราอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุข ต้องเป็นอารมณ์ที่เป็นกุศลนะ อย่างหลวงพ่อตั้งแต่เด็กนะ อยู่กับลมหายใจนะ แล้วมีความสุข ดังนั้นเวลาต้องการการพักผ่อน หลวงพ่อก็มารู้ลมหายใจ จิตไม่หนีไปที่อื่น จิตอยู่กับลมหายใจ อยู่ในอารมณ์อันเดียว ไม่ร่อนเร่ ไปตะครุบอารมณ์โน่นทีอารมณ์นี่ที จิตใจสงบมีความสุขขึ้นมา ได้พักผ่อน อันนี้เป็นสมาธิแบบหนึ่งนะ

สมาธิแบบที่สองเป็นสมาธิของการเตรียมความพร้อมทางจิตใจ เพื่อจะไปทำการเจริญปัญญา หรือทำวิปัสสนา สมาธิอันที่หนึ่งทำไปเพื่อพักผ่อน ให้มีความสุข มีความสงบ สมาธิอันที่สองเป็นการเตรียมจิตให้พร้อมกับการเจริญปัญญานะ จิตที่จะเจริญปัญญาได้ต้องเป็นจิตที่ตั้งมั่นนะ ไม่ใช่สงบแล้วก็เพลินอยู่กับความสุขความสงบ จิตที่ใช้เดินปัญญาได้เป็นจิตที่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้สึกตัว เป็นจิตที่รู้สึกตัว จิตชนิดนี้จะไม่ไหลตามอารมณ์ แต่ว่าอารมณ์มันจะไหลผ่านมา จิตเป็นแค่คนดู จิตไม่ไหลตามอารมณ์ ไม่เหมือนอารมณ์ชนิดแรกนะ อารมณ์ชนิดแรกน่ะ จิตไปแนบอยู่กับตัวอารมณ์ รู้ลมหายใจ จิตไปอยู่กับลมหายใจ รู้ท้องจิตไปอยู่ที่ท้อง รู้มือจิตอยู่ที่มือ แล้วไม่หนีไปที่อื่น สงบอยู่อย่างนั้น

สมาธิอย่างที่สองที่จะใช้เดินปัญญาเนี่ยนะ จิตตั้งมั่นเป็นแค่คนดู เห็นอารมณ์ทั้งหลายผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป จิตตั้งมั่นเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู ไม่ไหลตามอารมณ์ไป คล้ายๆ เราอยู่บนฝั่งริมแม่น้ำ ริมคลอง เรายืนอยู่บนฝั่งเห็นสิ่งต่าง ๆ ลอยน้ำมา ท่อนไม้ลอยน้ำมาบ้างนะ หมาเน่าลอยมาบ้าง ดอกไม้ลอยมาบ้างนะ เห็นเรือผ่านมาบ้าง เห็นคนว่ายน้ำผ่านมาบ้าง เราอยู่บนบก เราไม่โดดลงในน้ำ เราเห็นทุกอย่างไหลผ่านหน้าเราไปเฉยๆ

สมาธิชนิดนี้นะ จิตจะตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดู เห็นปรากฎการณ์ทั้งหลาย ไหลผ่านหน้าไป เช่น เห็นความสุขไหลผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความทุกข์ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความสงบผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความฟุ้งซ่านผ่านมาแล้วก็ผ่านไปนะ เห็นความโลภ ความโกรธ ความหลงผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความดีใจ ความเสียใจ ความกลัว ความเกลียด ความพยาบาทนะ เห็นทุกสิ่งทุกอย่างนั่นแหล่ะ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป จิตเป็นคนดู ดูอยู่ห่าง ๆ นะ

เราต้องค่อย ๆ ฝึกนะ ให้มีจิตชนิดนี้ จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ย เป็นจิตที่หลุดออกจากโลกของความคิด เป็นจิตที่หลุดออกจากโลกของความคิดนะ จิตที่ไหลไปแช่ไปนิ่งอยู่ในอารมณ์ มักจะเพลินไปในโลกของความคิด ยิ่งคิดถึงพุทโธ คิดถึงลมหายใจ คิดถึงท้องพองยุบนะ แล้วก็เพลินไป ส่วนจิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนะ มันจะหลุดออกจากโลกของความคิดได้

วิธีที่จะฝึกไม่ยากเท่าไรนะ ฝึกสังเกตจิตที่ไหลไปคิด จิตที่หลงไปคิด วิธีฝึกนะ เบื้องต้นทำกรรมฐานสักอันหนึ่งก่อน กรรมฐานอันที่เคยทำนั่นแหล่ะ เคยพุทโธ ก็พุทโธ เคยรู้ลมหายใจก็ลมหายใจ เคยดูท้องพองยุบก็ดูท้องพองยุบไปนะ เคยทำกรรมฐานอะไรก็ทำไป แต่ไม่ได้ทำเพื่อให้จิตเข้าไปแนบ เข้าไปนิ่ง อยู่กับตัวกรรมฐาน ปรับ ปรับการทำนิดหนึ่งนะ ปรับการทำนิดหนึ่ง เช่น เราอยู่กับพุทโธ พุทโธไป แล้วรู้อะไร รู้ทันจิต รู้ทันจิตเลยนะ พุทโธ พุทโธไป จิตสงบอยู่ รู้ว่าสงบอยู่ พุทโธ พุทโธ พุทโธ จิตหนีไปคิด รู้ว่าจิตหนีไปคิด หรือบางคนอยู่กับลมหายใจนะ แต่เดิมรู้ว่าลมหายใจ จิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ ที่นี่เป็นแบบแรก สงบ ถ้าสมาธิแบบที่สองนะ เห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดูอยู่ หายใจไปด้วยความรู้สึกตัวนะ หายใจไปด้วยความรู้สึกตัว จิตไม่ไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ แล้วต่อมาจิตหนีไปคิด จิตไหลไปคิดปึ้บ มีสติรู้ทันว่าจิตไหลไปคิด เมื่อไรรู้ทันว่าจิตหนีไปคิดนะ เมื่อนั่นจิตจะตื่นขึ้นมา

ที่หลวงพ่อบอกว่า ตื่น  ๆ บางคนไปโม้นะ บอกว่าตัวเองได้พระโสดา เพราะหลวงพ่อบอกว่าตื่นแล้ว ตื่นนี่แค่เบื้องต้นมีสมาธิเท่านั้นเอง เบื้องต้นเพื่อเจริญปัญญาต่อไป หลวงพ่อเทียนจึงบอกว่า ถ้ารู้ว่าจิต คิดจะได้ต้นทาง ต้นทางของการปฏิบัตินะ ไม่ใช่ได้โสดา เพราะงั้นเรารู้สึกตัวขึ้นมานะ จิตไหลไปคิดเรารู้ พุทโธ พุทโธ จิตหนีไปคิดเรารู้ หายใจไปหายใจออกหายใจเข้า จิตหนีไปคิดเรารู้ ดูท้องพองยุบไป จิตหนีไปคิด เราคอยรู้ เพราะงั้นจิตไหลไปอยู่ที่ท้องก็คอยรู้นะ จิตไปเพ่งก็รู้ จิตคอยคิดจิตก็รู้

สรุปแล้วก็คือ ทำกรรมฐานขึ้นสักอันหนึ่ง แล้วจิตไปเพ่งก็รู้ จิตเผลอไปก็รู้ เมื่อก่อนหลวงพ่อพูดเรื่อยๆ เผลอกับเพ่ง จำได้ไหม ถ้าไม่เผลอ ไม่เพ่งจิตก็ตื่นขึ้นมา เป็นผู้รู้ผู้ตื่น จิตมีสมาธินั่นเอง เพราะงั้นเราทำกรรมฐานขึ้นสักอันหนึ่ง แล้วจิตไปเพ่งอารมณ์ ไปเพ่งลมหายใจเข้าออกก็รู้ ไปดูท้องพองยุบแล้วจิตไปอยู่ที่ท้องก็รู้ เดินจงกรมแล้วจิตไปอยู่ที่เท้าก็รู้ รู้ทันนะ พอรู้ทันแล้วจิตมันจะถอนตัวขึ้นมาเป็นผู้รู้ได้ทันได้เอง

หรือจิตหลงไปคิด หายใจอยู่ พุทโธอยู่ ดูท้องพองยุบอยู่ จิตหลงไปคิดแล้ว รู้ทัน พอรู้ทันแล้วจิตจะถอนตัวขึ้นมา เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนะ จิตตัวนี้จะโปร่ง โล่ง เบา อ่อนโยน นุ่มนวล คล่องแคล่ว ว่องไว ไม่หนัก ไม่แน่น ไม่ซึม ไม่ทื่อนะ จิตชนิดนี้แหล่ะ พร้อมที่จะเจริญปัญญาแล้ว

เพราะฉะนั้นสมาธินั่นก็มี ๒ ส่วน สมาธิที่ทำไปเพื่อความสุข ความสงบ อันหนึ่ง สมาธิเพื่อเตรียมจิตให้พร้อมกับการเดินปัญญาเป็นอีกอย่างหนึ่งนะ พอจิตพร้อมกันการเดินปัญญา รู้ตัวแล้วเนี่ย ไม่หยุดอยู่แค่นั้น ต้องมาเดินปัญญานะ

การมาเดินปัญญานั่นเบื้องต้น ต้องหัดแยกธาตุ แยกขันฑ์ให้ได้ อย่างน้อยต้องแยกเรื่องรูปธรรม นามธรรมออกจากกันให้ได้นะ พอใจเราตั้งมั่นให้เป็นผู้รู้ผู้ดูแล้ว เราคอยรู้สึกลงไป เห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายพองยุบ ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายเคลื่อนไหว ร่างกายหยุดนิ่ง จิตใจเป็นคนดูนะ ทำตัวเป็นคนดูนะ ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง ใจเป็นคนดู หัดอย่างนี่บ่อย ๆ นะ นั่งสมาธิไปก็ได้ นั่งไปแล้วก็เห็นร่างกายหายใจ สังเกตไหม ใจเราอยู่ต่างหาก ใจเราตั้งมั่นอยู่ เป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ ร่างกายมันหายใจ ร่างกายไม่ใช่จิตใจ

นี่หัดอย่างนี้นะ หัดแยกขันธ์ พอเราแยกได้ เราจะเห็นว่าร่างกายกับจิตใจเป็นคนละอย่างกัน ร่างกายกับจิตใจอยู่ห่าง ๆ นะ ไม่ได้อยู่เป็นเนื้อเดียวกันอย่างแต่เดิม ตลอดชีวิตที่รู้สึกมาแล้ว ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่งนะ นั่งต่อไปด้วยความอดทนนะ นั่งต่อไปสักพักใหญ่  ๆ มันเมื่อย เราจะเห็นเลยความปวดความเมื่อยมันแทรกเข้ามา เนี่ยแทรกเข้ามาในร่างกาย ร่างกายตั้งมั่นอยู่ก่อน ตั้งอยู่ก่อน ความเมื่อยมาทีหลัง เพราะฉะนั้นความเมื่อยไม่ใช่ร่างกายหรอก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา จิตก็เป็นคนดูอยู่อย่างเดิมนะ เราก็จะเห็นได้ว่าร่างกายก็เป็นส่วนหนึ่งนะ นี่คือรูปขันธ์นะ ความปวดความเมื่อยเรียกว่า เวทนาขันธ์ จิตเป็นวิญญาณขันธ์

แยกได้ ๓ ขันธ์นะ พอมันปวดมันเมื่อยมาก ๆ นะ จิตใจมันทุรนทุราย ชักทุรนทุรายแล้ว โอ๊ย นั่งนาน ๆ เดี๋ยวเป็นอัมพาตนะ อย่างโน่นอย่างนี่ ชักกังวลล่ะ ความกังวลไม่ได้เกิดที่ร่างกาย รู้สึกไหม ความกังวลเกิดที่ใจ แต่เดิมใจไม่ได้กังวล แต่ตอนนี้ใจมันกังวล ความกังวลเป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาในใจ เพราะฉะนั้นความกังวลไม่ใช่ใจหรอก มันเป็นขันธ์อีกขันธ์หนึ่ง เรียกว่า สังฆารขันธ์ นะ หัดอย่างนี่นะ หัดซ้อมไปเรื่อย ต่อไปเราจะแยกขันธ์ได้หมดเลย รูปก็ส่วนรูปนะ ร่างกายมันก็ยืน เดิน นั่ง นอน หายใจไป กินอาหารไป ขับถ่ายไป ทำงานของมันไป เวทนาเป็นความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ที่เกิดในร่างกายบ้าง ความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ รู้สึกเฉย ๆ ที่เกิดในจิตใจบ้าง สังขารนั่นเป็นความปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงไม่ดี ปรุงไม่ชั่วที่เกิดขึ้นทางใจ ไม่เกิดทางกายนะ จิตก็เป็นผู้รู้ ผู้ดูอยู่

นี่ฝึกอย่างนี่เรื่อย ๆ ขันธ์แต่ละขันธ์นั่นจะแยกตัวออกไป พอขันธ์แยกตัวออกไป เรียกว่า พวกเรามีปัญญาขั้นต้นล่ะ ถัดจากนั้น ขันธ์แต่ละขันธ์จะแสดงไตรลักษณ์ ร่างกายแสดงความไม่เที่ยง แสดงความทุกข์ แสดงการบังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวเรา เวทนา สังญา สังขาร วิญญาณไรเนี่ย ก็ล้วนแต่แสดงไตรลักษณ์ อนิจจัง อนัตตา เสมอกันหมดเลยนะ

แต่ถ้าจิตเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด จิตเองก็ไม่เที่ยงนะ เดี๋ยวก็เป็นผู้สุข เดี๋ยวก็เป็นทุกข์ เดี๋ยวก็เป็นผู้ดี เดี๋ยวก็เป็นผู้ร้าย จิตก็มีความไม่เที่ยง เนี่ยเราเรียนรู้ลงในขันธ์ห้า นะ ในสิ่งที่เรียกว่าตัวเรา ในขันธ์ห้า เนี่ย เรียนรู้ลงไป เห็นแต่ความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ในตัวเรา เนี่ยแหล่ะคือการเดินวิปัสสนากรรมฐาน ดูลงไปในความเป็นจริงของกายของใจนะ ไม่ใช่แค่คิดเอา ต้องดูของกายจริง ๆ ของใจจริง ๆ ดูของจริง

เมื่อเดินปัญญาแก่รอบแล้วเนี่ย ต่อไปวิมุตติจะเกิดขึ้น จิตมันรู้ความจริงแล้วเนี่ยว่า ขันธ์ห้า มันเป็นตัวทุกข์นะ จิตจะวางขันธ์ จิตปล่อยวางขันธ์นะ จิตจะไปรู้พระนิพพานนะ ถ้าจิตไม่ได้หลงไปในโลกของความคิด คือ ไม่ได้หลงไปในบัญญัติ ไม่ได้หลงไปเพ่งกายเพ่งใจ หลงอยู่ในรูปธรรมนามธรรม จิตก็ไปรู้นิพพานนะ จิตไปรู้นิพพาน ไม่ได้ไปรู้บัญญัติ ไม่ได้ไปรู้รูปนาม ก็ต้องไปรู้นิพพาน จิตต้องรู้อารมณ์นะ นี่เราฝึกนะ วันหนึ่งเรานิพพาน นิพพานยังไม่ต้องตาย นิพพานยังมีชีวิตอยู่ ยิ่งอยู่ยิ่งแก่นะ ยิ่งมีความสุขมากขึ้นๆ นะ สดชื่น นึกถึงทีไรสดชื่น จิตใจคึกคักห้าวหาญเหมือนอย่างที่ครูบาอาจารย์ท่านเป็นนะ


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
Track: ๑๓
File: 530516A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๒๘ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การปฎิบัติในรูปแบบเป็นเครื่องช่วยไม่ให้ลืมตัวเอง

mp3 (for download) : ต้องทำในรูปแบบ มีวิหารธรรม จึงจะรู้สึกตัวได้บ่อยๆ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ลืมตัวเอง แล้วบอกว่ารักตัวเอง ลืมตัวเองบ่อยที่สุดแล้วเมื่อไรจะรู้เรื่องของตัวเอง เรามาเรียนเรื่องตัวเองให้ได้นะ เพราะฉะนั้นอย่าลืมตัวเองนาน คอยรู้สึกกายคอยรู้สึกใจบ่อยๆ

ทำอย่างไรจะรู้สึกได้บ่อยๆ มีวิธีนะ มีเครื่องช่วย ต้องซ้อมรู้สึก ทุกวันๆ นะ พยายามซ้อมไว้ หากรรมฐานมาทำสักอันหนึ่งก่อน จะพุทโธก็ได้ ใครถนัดพุทโธก็เอาพุทโธ คำว่าถนัดพุทโธหมายถึงพุทโธแล้วสบายใจ พุทโธแล้วใจสงบร่มเย็น เอ้า พุทโธ ใครถนัดลมหายใจแล้วจิตใจ..(เสียงระฆัง) ฟังเสียงระฆังแล้วดูสิ จิตไหวไหม รู้สึกไหม มีความไหวไหม ไม่สำคัญนะ ไม่ใช่ต้องไปนั่งฟังอะไรแล้วดูไหวๆ ให้ความรู้สึกมันเกิดแล้วค่อยรู้เอา เพราะฉะนั้น คนไหนถนัดรู้ลมหายใจนะ ก็รู้ลมหายใจไป รู้ไปแล้วมีความสุขนะ รู้ไปสบายๆ รู้ไปแล้วจิตใจเป็นอย่างไรก็คอยรู้ทันเอานะ นี่คอยฝึกอย่างนี้ บางคนดูท้องพองยุบก็ได้ กรรมฐานทั้งหลายนั้นเสมอภาคกันนะ ไม่ใช่ว่าหลวงพ่อบอกกรรมฐานอันนี้ดี กรรมฐานอันนี้เลว ไม่ใช่ กรรมฐานของแต่ละคนไม่เหมือนกันหรอก ทางใครทางมัน

ของเราถนัดพุทโธเราพุทโธ ถนัดสัมมาอรหังได้ไหม ได้ ทำไมจะไม่ได้ เหมือนกันนั่นเอง ถนัดนะมะพะทะได้ไหม นะมะพะทะก็ได้ แต่อย่าไปนะมะเลียะพะนะ คอยรู้สึกนะ รู้สึกๆ ทำกรรมฐานขึ้นมาอันหนึ่งก่อน ไปเดินจงกรมก็ได้ เดินจงกรมแล้วจิตขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวคอยรู้สึกนะ ทำกรรมฐานขึ้นมาอันหนึ่งก่อน สวดมนต์ก็ได้ อรหังสัมมา สัมพุทโธ ภควา ใจหนีแว๊บไป ภควาแล้วหนีไปที่อื่นเลย หนีไปตั้งหลายวานะ รู้ทันอีกจิตหนีไปแล้ว แล้วมานึกต่อ เมื่อกี้ถึงไหน บางคนสวดด้วยไขสันหลัง สวดจนชินนะ สวดๆๆ จนจบชินบัญชรแล้ว ลืมตัวตลอดเวลาเลย ก็มีนะ ไม่ใช่ไม่มี สวดด้วยไขสันหลังนะมันชำนาญ

เพราะฉะนั้น เราทำกรรมฐานขึ้นมาอันหนึ่งก่อนนะ เพื่อเป็นเครื่องสังเกตจิต จิตเราไปอยู่ที่กรรมฐานอันนี้เราก็รู้ทัน จิตหนีจากกรรมฐานนี้เราก็รู้ทัน จิตรู้กรรมฐานอันนั้นแล้ว จิตเป็นสุข จิตเป็นทุกข์ จิตเกิดกุศล จิตเกิดอกุศล เราก็คอยรู้ทันจิตไปเรื่อยๆ นี่เป็นวิธีที่ง่ายๆ นะ จะได้ทั้งสมาธิได้ทั้งปัญญา เราหัดสวดไปนะ สติก็ได้นะ อย่างสมมุติเราหัดสวดมนต์ไป หรือหัดดูท้องพองยุบ หัดเดินจงกรม รู้อิริยาบถสี่ หัดดูลมหายใจ หัดบริกรรมนะ ทำมาอันหนึ่งก่อนที่เราถนัด บางคนถนัดหลายอย่างรวมกัน หายใจไปพุทโธไปด้วย ทำได้ไหม ก็ทำได้ มีเครื่องอยู่ที่จิตใจเราคุ้นเคยไว้อันหนึ่งนะ ที่อยู่แล้วสบาย แล้วพอจิตมันวิ่งไปที่เครื่องอยู่อันนั้นเราก็รู้ จิตมันลืมเครื่องอยู่อันนั้นเราก็รู้ นี่ฝึกอย่างนี้บ่อยๆ

อย่างหลวงพ่อนะ หลวงพ่อถนัดรู้ลมหายใจ ฝึกมาแต่เด็ก ฝึกลมหายใจนะ หายใจออก หายใจเข้า แต่เดิมหายใจเข้า หายใจออกนะ หายใจเข้า-พุท หายใจออก-โธ ฝึกอย่างนี้แหละ เข้าพุทออกโธไปเรื่อย แล้วทำไม่เป็นแล้ว ทำได้แค่นั้น จนมาเจอหลวงปู่ดูลย์นะ ท่านสอนให้ดูจิต ต่อมาบางวันเราเหนื่อยๆ ขึ้นมา เราหายใจนะ แล้วมันดูจิตประกอบไปด้วย เลยรู้วิธีนี้ทำให้จิตมีแรง เช่น เราหายใจไป หายใจไปเรื่อยนะ จิตวิ่งไปเกาะลมหายใจแล้ว เรารู้ทันว่าจิตไปเกาะลมหายใจ หายใจไปๆ นะ จิตฟุ้งซ่าน ลืมลมหายไปแล้ว รู้ทันว่าจิตฟุ้งซ่าน หายใจไปแล้วจิตมีปิติ รู้ว่าจิตมีปิติ หายใจแล้วจิตมีความสุข รู้ว่าจิตมีความสุข หายใจแล้วจิตมีอุเบกขา ไม่สุขไม่ทุกข์ขึ้นมา รู้ว่าจิตมีอุเบกขา หายใจแล้วก็รู้ทันจิตไปเรื่อยๆ นะ

คนไหนถนัดพองยุบก็ดูพองยุบแล้วรู้ทันจิตนะ คนไหนถนัดบริกรรมก็บริกรรมแล้วก็รู้ทันจิต ฝึกอย่างนี้นะ อย่างน้อยฝึก แต่ละวันแบ่งเวลาฝึกแบบนี้ไว้บ้าง ถ้าทำได้ทั้งวันดีที่สุดเลย แต่ถ้าทำไม่ได้ก็แบ่งเวลาไว้ช่วงหนึ่ง สิบนาที สิบห้านาที ก็ยังดีกว่าไม่ทำเลยนะ ซ้อมอย่างนี้ทุกวัน การที่เราคอยเห็นจิตไหลไปทางนี้ จิตไหลไปทางนี้นะ จิตสุขจิตทุกข์ จิตดีจิตชั่ว จิตปิติ จิตอย่างโน้นจิตอย่างนี้ รู้ทันไปเรื่อยนะ สติมันจะไวขึ้น เพราะจิตมันจะจำสภาวะได้แม่นแล้วสติจะไว เรารู้ทันอย่างนี้นะ สติก็จะเกิดไวขึ้น

เรามีอารมณ์กรรมฐานอันหนึ่ง แล้วเรารู้ทันจิตเป็นเรื่อยๆ จิตเคลื่อนไปเรารู้ทัน เคลื่อนไปเรารู้ทัน จิตจะค่อยๆ ตั้งมั่นขึ้นมา ทำกรรมฐานอันนี้แหละก็จะมีสมาธิขึ้นมาด้วย จิตจะสงบ จิตจะตั้งมั่นขึ้นมานะ พอจิตสงบ จิตตั้งมั่นขึ้นมาแล้ว เป็นผู้รู้ผู้ดูนะ เราก็จะเห็นเลย ร่างกายหายใจนะ ส่วนหนึ่งนะ จิตเป็นคนดู เริ่มเดินปัญญาแล้ว แยกกายแยกใจแล้วนะ หรือเห็นว่าจิตมีปิติ ปิติไม่ใช่จิตหรอก ปิติเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ปิติกับจิตคนละอันกัน พอมีความสุขเกิดขึ้น ก็เห็นอีกความสุขกับจิตก็คนละอันกัน ความสงบกับความฟุ้งซ่านก็ไม่ใช่จิตอีก

เฝ้ารู้ลงไปนะ มันจะค่อยๆ แยกขันธ์ไปเรื่อย แยกกายกับใจ แยกกายกับจิตนะ แยกเวทนากับจิต แยกกุศลอกุศล ความปรุงแต่งทั้งหลาย กับจิต ค่อยๆ แยกไปเรื่อย นี่คือการที่ฝึกเดินปัญญานะ เพราะฉะนั้น เราทำกรรมฐานสักอันหนึ่งก่อน แล้วก็รู้ทันจิตเป็นเรื่อยนะ จะได้ทั้งสติ ได้ทั้งสมาธิ แล้วก็เป็นฐานเบื้องต้นที่จะทำให้เกิดปัญญา เพราะจิตที่มีสมาธิแล้วนั่นแหละ ถึงจะเกิดปัญญา จิตที่ไม่มีสมาธิจะไม่มีปัญญา จำไว้นะ แต่สมาธิต้องเป็นสัมมาสมาธิ ไม่ใช่สมาธิลืมเนื้อลืมตัว ไม่ใช่สมาธิโงกๆ เงกๆ อะไรอย่างนั้น

เราค่อยฝึกนะ ให้การบ้านทุกๆ คนไปฝึกเอา แบ่งเวลาไว้ส่วนหนึ่ง ในวันหนึ่งๆ นะ สิบนาที สิบห้านาทีอะไรก็ได้ เบื้องต้นเอาเท่านี้ก่อน ก็ยังดี ดีกว่าไม่เอาเลย เอาสักสิบนาทีก็ได้ พุทโธไป หายใจไป ดูท้องพองยุบไป เดินจงกรมไป ทำในรูปแบบนั้นแหละ แล้วก็คอยรู้ทันจิตไปเรื่อยๆ ต่อไปจิตจะรู้สภาวะได้แม่นนะ สติเกิดเร็วขึ้นๆ แล้วจิตพอเลื่อนไปปุ๊บ พอรู้ทันจิตก็ตั้งมั่น สมาธิก็เกิดง่ายขึ้นๆ โดยที่ไม่ได้บังคับนะ พอจิตมีสมาธิมันจะเห็นเลย กายอยู่ส่วนหนึ่ง เวทนาอยู่ส่วนหนึ่ง สังขารอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง ขันธ์กระจายออกไปนะ แต่ละอันไม่มีเราขึ้นมาแล้ว นี่เป็นการเดินปัญญา ไปทำเอานะ แล้วต่อไปก็เพิ่มเวลาขึ้นทีละหน่อยๆ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๒

CD สวนสันติธรรมแผ่นที่ 33
file :
ระหว่างนาทีที่ ๒๑ วินาทีที่ ๔๖ ถึงนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๓๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ขณะแรกที่ออกจากสมาธิ เป็นนาทีทองของคนทำสมาธิ

mp 3 (for download) : ขณะแรกที่ออกจากสมาธิ เป็นนาทีทองของคนทำสมาธิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: บางคนชอบทำสมาธิก็ทำสมาธิไปไม่ห้าม แต่พอออกจากสมาธินี่ให้มีสติรู้ทันจิตตั้งแต่ขณะแรกที่ออกจากสมาธิ ตัวนี้สำคัญที่สุดนะ  ขณะแรกที่ออกจากสมาธิเป็นนาทีทองของคนทำสมาธิ ในขณะที่อยู่ในสมาธินั้นเป็นที่พักผ่อน ไม่เกิดสติปัญญาอะไร แต่ขณะที่จิตถอยออกจากสมาธิให้มีสติรู้ทันความเปลี่ยนแปลงของจิตเลย จิตตะกี้มีปิติ ออกมาแล้วไม่มี จิตตะกี้มีสุข ออกมาแล้วไม่มี จิตตะกี้สงบเฉยๆ พอออกมาแล้วฟุ้งซ่าน

เพราะฉะนั้น นาทีทองอยู่ตรงที่ถอยออกจากสมาธินะ สำหรับคนที่ทำสมาธิ แต่ถ้าออกจากสมาธิแล้วก็ยังทำหน้าอย่างนี้ทั้งวันนะ นี่ หลวงพ่อทำให้ดูนะ แล้วคิดว่าปฏิบัติอยู่ทั้งวัน นี่หลงผิดอยู่ทั้งวันนะ โมหะครอบอยู่ทั้งวันแล้วไปคิดว่าวิปัสสนาจริงๆ เราจะเจริญสติต้องทำซึมไว้ ทำยากนะ ลืมไปนานแล้ว (โยมหัวเราะ) นี่ เชิญด่าเลยนะ ไม่โกรธหรอก ด่าสามวันก็ไม่โกรธนะ มันไม่ใช่ไม่มีกิเลสนะ มันคือกรรมฐานที่เอาหินทับหญ้าไว้เฉยๆ กรรมฐานโง่นะ เพราะฉะนั้น ถ้าออกจากสมาธิแล้วอย่าให้ค้างอยู่ ออกแล้วออกเลย ดูความเปลี่ยนแปลงของจิตของใจไปเรื่อยๆ

สวนสันติธรรม
CD: ธรรมเทศนา ๔ วัน ในสวนสันติธรรม
File: 501017B.mp3
Time: 46.26 – 47.56

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 212