Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

Animation: แนวทางการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา




Link: youtu.be/iGVassFXMCQ

ภาพยนต์อะนิเมชั่น

แนวทางการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา

จากพระธรรมเทศนาของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

วัดสวนสันติธรรม

บ.โค้งดารา ต.ท่าพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

รักบ้านเมือง ด้วยวิถีชาวพุทธ

“ไม่มีใครเคยชนะด้วยความรุนแรง”

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

พระโปฐิละ: พระใบลานเปล่า

พระโปฐิละ: พระใบลานเปล่า


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

เราปฎิบัติเพื่ออะไร?mp 3 (for download) : เราจะปฏิบัติอะไร? ทำเพื่ออะไร? ทำอย่างไร? ทำแล้วจะได้อะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ที่นี่หลวงพ่อจะเน้นสอนเรื่องการปฏิบัติให้ หลักของการปฏิบัติเราก็ต้องรู้ ว่าเราจะปฏิบัติอะไร ปฏิบัติเพื่ออะไร ปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติแล้วได้ผลเป็นยังไง ต้องตอบได้ชัดเจน เราจะปฏิบัติอะไร มีสองอย่างที่จะต้องปฏิบัติคือ “สมถะ” กับ “วิปัสสนา” ปฏิบัติเพื่ออะไร สมถะ ปฏิบัติเพื่อให้จิตใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะเดินวิปัสสนา ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อจะได้เห็นนู่นเห็นนี่มีตาทิพย์มีหูทิพย์ บางคนอยากได้เจโตอยากได้ทิพจักษุ  หลวงพ่อเคยเจอนะ มีไอ้หนุ่มคนนึง มันภาวนาอยากได้ทิพจักษุ ถามว่าอยากได้ทำไม มันจะได้มองทะลุผ้าของคนอื่น มันเห็นธรรมะเป็นเรื่องอะไร จะทะลุฝาห้องของเค้าอะไรอย่างนี้ ได้เรื่องเลย มีจริงๆนะ สมถะนะ เราทำไปเพื่อให้ใจมีเรี่ยวมีแรงที่จะทำวิปัสสนา

วิปัสสนาทำไปเพื่ออะไร เพื่อให้เกิดปัญญา รู้ความจริงของกายของใจนี้ ความจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ ดังนั้นทำเราทำวิปัสสนาเพื่อให้รู้ความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจ รู้แล้วได้อะไร รู้ถึงที่สุดแล้วมันจะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ

พระอรหันต์ไม่ใช่คนประหลาดนะ อย่าไปวาดภาพพระอรหันต์ประหลาดเกินเหตุทำอะไรก็ไม่ได้ กระดุกกระดิกก็ไม่ได้ วันๆต้องนั่งเซื่องๆเหมือนนกกระยางรอให้ปลามาใกล้ๆจะได้ฉกเอาเชื่องๆห้ามกระดุกกระดิก พระอรหันต์จริงๆก็คือท่านผู้ภาวนาจนมีปัญญา เห็นทุกข์เห็นโทษของขันธ์นะ ขันธ์ห้าเป็นทุกข์เห็นอย่างนี้ แล้วท่านปล่อยวางความยึดถือขันธ์ได้ จิตท่านแยกออกจากขันธ์ พรากออกจากขันธ์ ไม่ยึดถือขันธ์ ท่านเป็นอิสระจากขันธ์ ตัวขันธ์เป็นตัวทุกข์ เพราะฉะนั้นพระอรหันต์เลยพ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่นี่พ้นทุกข์ พระอรหันต์ที่ตายแล้วเค้าเรียกดับทุกข์คือขันธ์มันดับ ไม่ใช่ไปเกิดอีกนะ หลายคนวาดภาพเป็นพระอรหันต์ไปเกิดอีกไปอยู่ในโลกนิพพาน อันนั้นไม่ใช่ศาสนาพุทธหรอก พระอรหันต์ นิพพานแล้วเหมือนไฟที่ดับไปแล้ว ไฟที่ดับแล้วอยู่ที่ใหน ใครจะรู้ เพราะฉะนั้นเราภาวนานะ ภาวนาทำสมถะเพื่อให้มีแรง ทำวิปัสสนา ทำวิปัสสนาเพื่อให้เห็นความจริงของกายของใจ ถ้าเราเห็นความจริงของกายของใจได้มันจะหมดความยึดถือ ปล่อยวางได้ พอปล่อยวางได้ก็พ้นทุกข์ได้ เพราะตัวกายตัวใจตัวขันธ์นี้แหล่ะตัวทุกข์

นี่ต้องเรียนสิ่งเหล่านี้ แล้วทำยังไง เราจะทำอะไร ทำสมถะและวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร บอกแล้ว ทำอย่างไร สมถะนี่ไม่ใช่ทำเพื่อให้เคลิ้ม วิธีทำสมถะไม่ใช่น้อมใจให้เคลิ้มให้ซึมให้นิ่ง แต่ฝึกความรู้สึกตัวขึ้นมา หายใจออกรู้สึก หายใจเข้ารู้สึก เคยได้ยินคำว่า”อานาปานสติ”มั้ย มีสตินะไม่ใช่ฝึกให้ไม่มีสติ ไม่ใช่ฝึก(เสียงกรน)คร้อกบรรลุแล้ว ฝึกให้มีสติหายใจเข้า ฝึกให้มีสติหายใจออก มีสติไปเรื่อยเลย หรือบางทีพิจารณากาย”กายคตาสติ” มีสติไล่ไปในกาย ดูอาการสามสิบสอง ดูอวัยวะต่างๆในร่างกาย มีสติ เห็นมั้ย ไม่ได้บอกให้ขาดสติเลยนะ ไม่ได้ดูเอาแก้วแหวนเงินทอง เอาวิมานสวรรค์อะไรทั้งสิ้นเลย แต่ฝึกให้มันมีสติ รู้ลมหายใจก็ให้มันมีสติ พิจารณากายก็พิจารณาด้วยความมีสติ เรียกว่ากายคตาสติ ทำอะไรๆก็มีสติ คิดถึงพระพุทธเจ้าก็คิดถึงด้วยความมีสติ หัดพุทโธ ๆ แล้วรู้สึกตัวไป นึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตของเราจะทำยังไงพุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราไม่ได้ภาวนาให้เคลิ้มๆ ภาวนาให้รู้สึกตัว ฉะนั้นเราอย่าทิ้งสติ ครูบาอาจารย์เคยสอนบอก “สติจำเป็นในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ”

ฉะนั้นทำสมถะก็ต้องมีสตินะ แต่มีสติอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข อารมณ์อันเดียว ทำไมต้องอารมณ์อันเดียว อารมณ์หลายอันแล้วก็รู้ตัวยาก ปกติจิตมันจะหนีตลอดเวลา วิ่งไปวิ่งมาตลอดเวลา พอเรามาทำสมถะนะ เรามีอารมณ์อันเดียว มาเป็นเหยื่อ เหยื่อล่อจิต อย่างถ้าจะตกปลานะ มีคนโยนเบ็ดพร้อมกันร้อยอัน ปลางงเลยจะกินอันใหนดีใช่มั้ย ว่างมาทางนี้ เอ๊ะ ไม่เอาตัวเล็กไป ว่ายทางนี้ ก็ใหญ่ไปเกินพอดี เกินคำ ไม่เอา วกไปวกมา ไม่ได้กิน ถ้ามีเหยื่ออันเดียวปลาฝูงนึงยิ่งดี มีเหยื่ออันเดียวล่อ จิตของเราปกติร่อนเร่ไปเรื่อยๆ วิ่งไปทางตา วิ่งไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนะ ร่อนเร่ไปเรื่อย เที่ยวแสวงหาอารมณ์ไปเรื่อย เหมือนปลาวิ่งหาเหยื่อไปเรื่อย ว่ายไปเรื่อยๆ เราหาอารมณ์อันนึงที่ชอบใจของปลาตัวนี้มาล่อมัน ไปเอาพุทโธก็ได้ คนไหนพุทโธแล้วสบายใจเอาพุทโธ คนไหนหายใจเข้าหายใจออกแล้วสบายใจเอาลมหายใจ คนไหนดูท้องพองยุบแล้วมีความสุขก็ดูท้องพองยุบไป คนไหนเดินจงกลมแล้วมีความสุขก็เดินไป ไม่ใช่เดินทรมาน เดินไปเครียดไป เดินไปเครียดไป สมถะก็ไม่มี วิปัสสนาก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนะ หาอารมณ์ที่สบายๆ อยู่แล้วมีความสุข

อย่างหลวงพ่อนะ ฝึกอานาปานสติมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่เจ็ดขวบ พวกเราส่วนใหญ่ในห้องนี้ยังไม่เกิด หายใจแล้วมีความสุข พอจิตใจมีความสุข จิตจะสงบ จิตมันหิวอารมณ์นะ พอมันได้กินของชอบนะ มันเลยไม่ไปเที่ยวที่อื่น เอาอารมณ์มาล่อ อยู่กับพุทโธ อยู่กับลมหายใจแล้วมีความสุข จิตก็ไม่หนีไปไหน จิตเคล้าเคลียอยู่ แต่ระวังอย่างเดียว อย่าให้ขาดสติ อย่างเราหายใจไป ถ้าใจเคลิ้มก็รู้ทันว่าเคลิ้ม หายใจไปใจฟุ้งซ่านหนีไปคิดเรื่องอื่น รู้ว่าใจฟุ้งซ่านไป ใจก็มีความสุข เคล้าเคลีย สงบอยู่กับลมหายใจ จนกระทั่งลมหายใจมันสว่างขึ้นมา หายใจไปเรื่อยๆ เวลาจะเข้าฌาน ไม่ใช่รู้ลมหายใจหรอกจะบอกให้ พวกเรามั่วๆนะ หายใจแล้วเข้าฌานรู้ลมหายใจแล้วเข้าฌาน ไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอก

ลมหายใจเบื้องต้นเรียกว่า บริกรรมนิมิต รู้ลมไปเรื่อย สบาย จิตใจมีความสุข มันจะสว่างขึ้นมา ความสว่างมันเกิดขึ้นนะ ใจมันสงบลงมา ในทางร่างกายเวลาจิตสงบลงมา เลือดจะมาเลี้ยงสมองส่วนหน้านี้ เลือดจะมาเลิ้ยงตรงนี้เยอะ มันจะให้ความรู้สึกที่สว่างขึ้นมา จิตมันก็สว่างนะ กายมันก็สว่างขึ้นมา ผ่องใส ความสว่างเกิดขึ้นแล้วเนี่ย เอาความสว่างนี้มาเป็นนิมิตแทนลมหายใจได้ ต่อไปความสว่างมันเข้มข้นขึ้นนะ เป็นดวงขึ้นมา ให้เล็กก็ได้ ให้ใหญ่ก็ได้ จิตใจก็มีความสุข สนุก มีความสุขอิ่มเอิบเบิกบาน มีปีติขึ้นมา เข้าฌาน ไม่ใช่หายใจรู้ลมแล้ว (เสียงกรน คร้อก) บอกว่าหายใจจนลมระงับ ถามว่าลมระงับยังไง ลืมไปเลย หลับไปแล้ว บอกว่าไม่มีลมหายใจแล้ว ไม่ใช่นะ

เพราะฉะนั้นหลักของการทำสมถะนะ ก็อย่าทิ้งสติ มีสติไปเรื่อย เวลาจิตรวมก็รวมด้วยความมีสติ ไม่รวมแบบขาตสติ วูบๆวาบๆหรอก รู้เนื้อรู้ตัวตลอดสายของการปฏิบัติเลย รวมลงไปลึกเลย จนร่างกายหายไปเลย ลมหายใจก็หาย ร่างกายก็หาย โลกทั้งโลกก็หายไปหมดเหลือจิตอันเดียว ก็ยังไม่ขาดสตินะ จิตดวงเดียวอย่างนั้น เด่นอยู่อย่างนั้น ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ทำไมต้องมีจิตขึ้นมา โดดเด่นขึ้นมา เพื่อเราจะได้เอาไว้ต่อวิปัสสนา

ฉะนั้นบางคนทำไม่ถึงฌานก็ไม่เป็นไรนะ แค่หัดพุทโธ พุทโธๆ ไป ค่อยๆดูไป พุทโธเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า เห็นมั้ย ใจนั้นค่อยตั้งมั่นขึ้นมา อย่างนี้ใช้ได้ หายใจไปเรื่อยๆ หายใจเข้าหายใจออก อะไรก็ว่าไปเถอะ หายใจไปแล้วเห็นร่างกายมันหายใจ จิตเป็นคนดู อย่างนี้นะถึงจะทำสมถะ เพื่อจะต่อวิปัสสนา คือหายใจไปแล้วมีจิตเป็นคนรู้คนดูขึ้นมา ดูท้องพองยุบไปนะ เห็นร่างกายมันพองเห็นร่างกายมันยุบ จิตเป็นคนดู

เพราะฉะนั้นบทเรียนเรื่องการทำสมาธิเนี่ย ในทางศาสนาพุทธท่านถึงใช้คำว่า “จิตตสิกขา” ทำสมาธิจนกระทั่งเราเห็นจิตของเรา จิตตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ยแหล่ะ พร้อมที่จะไปเดินวิปัสสนาต่อแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าคนไหนจะทำสมถะนะ ก็อย่าให้ขาดสติ หายใจไปเห็นร่างกายหายใจ จิตเป็นคนดู หายใจไปจิตแอบไปคิด รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน ก็มีจิตอีกคนนึงเป็นคนดู เฝ้ารู้ไปจนกระทั่งจิตเป็นผู้รู้ผู้ดูขึ้นมา อย่างนี้เรียกว่าเราทำสมถะเป็น เวลาบางช่วงบางครั้งบางคราวจิตก็เข้าพักสงบ รู้เนื้อรู้ตัวอยู่นะ สงบ ไม่แส่ส่ายไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สงบไม่คิดไม่นึกอะไร ใจว่างสบายสว่าง อันนี้ทำสมถะเต็มที่

ต่อไปก็หัด นั่งสมาธิไปแล้วเห็นจิตเคลื่อนไหวรู้ไปเรื่อยจนจิตตั้งขึ้นมา ตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา อย่างนี้ดี จะเอาไว้ต่อวิปัสสนา นี้พอเราหัดภาวนาไปนะ พุทโธๆ เราเห็นเลย พุทโธเป็นของถูกรู้ จิตเป็นผู้รู้พุทโธ หายใจออกหายใจเข้านะ หายใจไป จนกระทั่งเห็นเลยร่างกายมันหายใจ จิตเป็นผู้รู้ว่าร่างกายหายใจ มีจิตที่เป็นผู้รู้ขึ้นมา จะเดินจงกลมยกเท้าย่างเท้าเห็นร่างกายมันเดินไป จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู ต่อไปพอผู้รู้ผู้ดูมันหายแว้บไป คือมันขาดสติเมื่อไรมันหายเมื่อนั้น สติมันระลึกได้เองเพราะมันเคยรู้จักผู้รู้ผู้ดูเนืองๆ ฉะนั้นเราจะฝึกจนกระทั่งสามารถรู้สึกตัวอยู่ในชีวิตประจำวันได้เนืองๆ เมื่อไรเป็นผู้หลงนะ ก็ขาดผู้รู้ เมื่อไรเป็นผู้รู้ก็ไม่เป็นผู้หลง บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็หลงเป็นผู้คิด บางทีก็เป็นผู้รู้ บางทีก็เป็นผู้เพ่ง

พอเรามาอยู่ในชีวิตประจำวัน เราเห็นตัวผู้รู้เค้าเกิดดับไปเรื่อยๆ เนี่ย เฝ้ารู้เฝ้าดูอย่างนี้เรื่อยๆ พอใจมันเป็นคนรู้คนดูขึ้นมาได้ มันจะเห็นร่างกายไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นวัตถุ ร่างกายเป็นก้อนธาตุ ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวไป จะเห็นเวทมาทั้งหลายไม่ใช่ตัวเรา ความสุขความทุกข์ทั้งหลาย ความไม่สุขไม่ทุกข์ทั้งหลาย ผ่านมาผ่านไป เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ จนใจของเรามันตั้งมั่น รู้เนื้อรู้ตัวเรื่อยๆ แต่ไม่ได้ตั้งเอาไว้จนแข็งๆรู้ตัวตลอดเวลา อย่างนั้นใช้ไม่ได้ ต้องรู้บ้างเผลอบ้างนะ ถึงจะเห็นว่าตัวรู้เองก็เกิดๆดับๆ

สมัยก่อน หลวงพ่อไปเรียนกับครูบาอาจารย์ เมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อนโน้น เข้าวัดไหนครูบาอาจารย์พูดแต่คำว่า”ผู้รู้” ท่านยังสอนด้วยซ้ำไปว่า ศาสนาพุทธ “พุทธ”แปลว่าอะไร พุทธ (อ่าน พุท-ธะ) แปลว่า”รู้” พุทธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ใจของเราชอบเป็นผู้คิด ใจของเราชอบเป็นผู้หลง เราฝึกให้ใจเป็นผู้รู้ ทำยังไงใจจะเป็นผู้รู้  ถ้ารู้ทันสภาวะที่กำลังปรากฎนะ ใจจะเป็นผู้รู้ขึ้นมา เช่นเผลอไปรู้ว่าเผลอ ใจก็จะเป็นผู้รู้ขึ้นแว้บนึง เป็นผู้รู้ตรงขณะไหน ขณะที่รู้ว่าเผลอ ถัดจากนั้นอาจจะเป็นผู้เพ่ง ใจโกรธขึ้นมานะ รู้ว่าโกรธ ขณะที่โกรธนะ ขณะนึง ขณะที่รู้ว่าโกรธนี่แหล่ะ ใจเป็นผู้รู้ขึ้นมาแล้ว ถัดจากนั้นอยากให้หายโกรธนี่ ใจมีอกุศลแล้ว มีความอยากเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นเราดูใจเราไปเรื่อยนะ ไม่ใช่ผู้รู้ต้องเที่ยงถวร ผู้รู้ไม่เที่ยงหรอก ผู้รู้เองก็เกิดดับ

ครูบาอาจารย์องค์นึงสอนดีมากเลยคือ หลวงปู่หล้า ภูจ้อก้อ บอกเลยว่า ผู้ใดเห็นว่าผู้รู้เที่ยงนะ เป็นมิจฉาทิฐิ จิตผู้รู้ก็ไม่เที่ยงแต่ว่าต้องมีอยู่อาศัยไว้ใช้ปฏิบัติเอา ของเราสังเกตสิ เดี๋ยวใจก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง เมื่อไหร่รู้สภาวะตรงความเป็นจริง ใจก็เป็นผู้รู้ขึ้นมาแว้บนึง เอาแค่แว้บเดียวพอนะ ไม่ต้องตั้งอยู่เป็นชั่วโมงๆ คนที่ตั้งเป็นชั่วโมงๆได้ต้องพวกที่เค้าทรงฌาน ผ่านฌานมาเต็มที่แล้ว เต็มภูมิอย่างน้อยได้ฌานที่สองแล้ว ได้ฌานที่สองใจจะเด่น ออกจากฌานมา ยังเด่นอยู่เป็นวันๆเลย อาศัยสมาธิอย่างนี้ตามรู้ดูกายดูใจได้นาน พวกเราไม่ได้ทรงฌานเนี่ยสมาธิจะอยู่แว้บเดียวๆเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” แต่อาศัย ขณิกสมาธิ เนี่ยแหล่ะทำมรรคผลนิพพานให้เกิดได้ เพราะสมาธิที่ใช้ทำวิปัสสนาจริงๆก็คือ ขณิกสมาธิ นี่แหล่ะดีที่สุดเลย รองลงมาก็คือตัว อุปจาร (คำเต็ม อุปจารสมาธิ) เพราะฉะนั้นเราค่อยๆฝึกนะ ให้ใจมันตื่นขึ้นมา

วิธีง่ายที่สุดเลย ทำฌานไม่ได้ ทำยังไงใจจะตื่น ใจตื่นก็ตรงข้ามกับใจที่ไม่ตื่น ใจที่ไม่ตื่นคือใจหลับ ใจหลับได้ใจก็ฝันได้ ความฝันของใจก็คือความคิด ถ้าเมื่อไหร่รู้ว่าฝันนะเมื่อนั้นจะตื่น เวลาที่ใจไหลไปคิด ถ้าเมื่อไหร่พวกเรารู้ว่าจิตแอบไปคิดนะ เราจะตื่นขึ้นชั่วขณะนึง รู้ทันว่าจิตไหลไปคิด ขณะที่รู้นั่นน่ะตื่น ไม่เฉพาะหลงไปคิดนะ โกรธขึ้นมาขณะที่รู้ว่าโกรธ ขณะนั้นก็ตื่นเหมือนกัน แต่ตัวนี้ดูยากกว่า ใจของเราหลงคิดทั้งวัน มันดูง่ายกว่า อย่างจะดูจิตที่โกรธนะ แล้วก็ตัวรู้ว่าโกรธ วันนี้ยังไม่โกรธใครเลยเนี่ย จะภาวนายังไง แต่มีมั้ยวันใหนชั่วโมงไหนที่ไม่คิดมีมั้ย ไม่มีเลย จิตที่คิดคือจิตฟุ้งซ่าน เป็นจิตมีโมหะเค้าเรียกว่า “อุทธัจจะ” โมหะชนิด อุทธัจจะ จิตมันฟุ้งซ่าน เป็นจิตที่เกิดบ่อยที่สุดเลยจิตฟุ้งซ่านเนี่ย

เราเอาตัวที่เกิดบ่อยเนี่ยแหล่ะมาหัดทำกรรมฐาน เราจะได้ทำกรรมฐานบ่อยๆ เพราะฉะนั้นจิตไหลไปคิดแล้ว อ้อ หลงไปแล้ว มีคำว่า “แล้ว” นะ ทำไมต้องมี แล้ว ด้วย หมายถึงว่า หลงไปก่อน ไม่ได้ห้ามหลง หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง หลายคนภาวนาผิดนะ ไปจ้องรอดู ไหน เมื่อไหร่จะหลง เมื่อไหร่จะหลง จ้องใหญ่ ขณะที่รอดูนั่นหลงเรียบร้อยแล้วนะ ไม่มีวันรู้เลยว่าหลงเป็นยังไงเพราะหลงไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นให้มันหลงไปก่อนให้มันเผลอไปคิดก่อน แล้วก็ค่อยรู้ว่าเผลอไป หลงไป ให้มันโกรธไปก่อน ให้มันโลภไปก่อน แล้วก็รู้ว่ามันโกรธ​รู้ว่ามันโลภ นี่หัดรู้อย่างนี้บ่อยๆรู้ไปแล้วจะได้อะไร เห็นมั้ย คำสอนในศาสนาพุทธละเอียดนะ จะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำอย่างไรบอกแล้วนะ อย่างถ้าจะดูจิตดูใจเนี่ย ตามดูไป ให้สภาวะเกิดแล้วก็ตามรู้ไป หลงไปก่อนแล้วรู้ว่าหลง โกรธไปก่อนแล้วรู้ว่าโกรธ ตามดูไปเรื่อยๆ เราจะทำอะไร จะทำเพื่ออะไร จะทำอย่างไร ทำแล้วได้ผลอะไร ถ้าเราตามดูไปเรื่อย เราจะเห็นเลย เดี๋ยวจิตก็หลงเดี๋ยวจิตก็รู้  เดี๋ยวหลงเดี๋ยวรู้ นานๆจะมีอย่างอื่นแทรก เดี๋ยวโลภขึ้นมาเราก็รู้ หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ อ้าว เดี๋ยวโกรธขึ้นมา อีกแล้ว นานๆจะมีโลภแทรก นานๆจะมีโกรธแทรกที แต่หลงนี่มันยืนพื้นเลย มันเป็นกิเลสยืนพื้นเลย

ดังนั้นเราคอยรู้ทันเรื่อยๆ ไม่ใช่รู้เพื่อจะไม่ให้หลง แต่รู้เพื่ออะไร รู้เพื่อจะรู้ว่าเมื่อกี้จิตเป็นอย่างหนึ่ง เดี๋ยวนี้จิตเป็นอีกอย่างหนึ่ง เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตโลภตอนนี้จิตรู้ เมื่อกี้จิตหลงตอนนี้จิตรู้ ไม่ใช่ฝึกเพื่อจะไม่ให้โลภ ไม่ให้โกรธ ไม่ให้หลง จะฝึกเพื่อให้เห็นว่า เมื่อกี้เป็นอย่างนึง เดี๋ยวนี้เป็นอย่างนึง นี่คือการเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของสภาวะธรรมนั่นเอง เห็นมั้ยเมื่อกี้จิตหลง ตอนนี้จิตหลงดับไปแล้ว เกิดจิตที่รู้ขึ้นมา เห็นมั้ยเมื่อกี้เป็นจิตโกรธ ตอนนี้เกิดเป็นจิตที่รู้ จิตโกรธดับไปแล้ว จิตที่รู้อยู่ไม่นาน เกิดจิตหลงขึ้นมาแทนอีกแล้ว เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ ฝึกไปเรื่อยๆ

ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกปฏิเสธ สิ่งที่ไม่ดีแต่ฝึกจนเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาให้จิตรู้นี้ เป็นของชั่วคราวทั้งสิ้น จิตโลภก็โลภชั่วคราว จิตโกรธก็โกรธชั่วคราว จิตหลงก็หลงชั่วคราว ทำไมหลงชั่วคราวเพราะมีตัวรู้มาคั่น มีจิตรู้มาคั่น เราก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลยมันก็เลยเห็นว่าหลงชั่วคราว ถ้าเราไม่มีจิตรู้เลย มันก็จะมีแต่จิตหลง หลงทั้งวัน หลงทั้งคืน เราจะรู้สึกว่าหลงแล้วเที่ยง จะไม่เห็นหรอกว่ามันเป็นไตรลักษณ์ แต่เรามีรู้ขึ้นมานะ เพื่อจะเห็นหลงมันขาดเป็นท่อนๆ หลงไปหนึ่งนาทีแล้วรู้สึกตัวแว้บ เราเห็นเลยชีวิตที่หลงนะมันจบไปแล้ว มันเกิดชีวิตใหม่ที่รู้สึกตัว เสร็จแล้วหลงไปอีกห้านาที ก็รู้สึกอีกทีนึง หลงไปอีกชั่วโมงรู้สึกอีกที ต่อไปฝึกไปเรื่อยๆนะ หลงสามวินาทีรู้สึก หลงสองวินาทีรู้สึก ยิ่งฝึกเก่งนะยิ่งหลงบ่อย หลงแว้บรู้สึก ฝึกไปเรื่อย ไม่ใช่ฝึกไม่ให้หลง ไม่ได้ฝึกห้ามหลง ไม่ได้ฝึกที่จะให้รู้ตลอดเวลา แต่ฝึกเพื่อให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วล้วนแต่ดับทั้งสิ้น

ปัญญาแก่รอบต่อไปอีก ก็จะเห็นอีกว่า จิตจะรู้หรือจิตจะหลงนะ ห้ามมันไม่ได้ บังคับมันไม่ได้ นี่คือการเห็นอนัตตา เราสั่งมันไม่ได้ มันไม่ใช่เราหรอก จิตจะหลง มันก็หลงของมันเอง จิตจะโลภ ก็โลภของมันเอง จิตจะโกรธ ก็โกรธของมันเอง จิตจะเป็นยังไงมันก็เป็นของมันอย่างนั้นแหล่ะ จิตจะรู้ขึ้นมา ก็รู้ได้เอง จงใจรู้ก็ไม่ใช่อีกแล้ว แต่เราก็ต้องฝึกจนกระทั่งมันได้รู้ขึ้นมานะ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนี่ฝึกให้มันมีรู้ก่อน

บางคนได้ยินหลวงพ่อพูด หลวงพ่อเล่าให้ฟังนะว่า ตอนหลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดุลย์ครั้งสุดท้าย สามสิบหกวันก่อนท่านมรณะภาพ หลวงปู่ดุลย์สอนหลวงพ่อ พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ ออกจากหลวงปู่ดุลย์นะ อีกวันไปหาหลวงพ่อพุธ หลวงพ่อพุธก็บอกท่านไปหาหลวงปู่ดุลย์มา หลวงปู่ดุลย์สอนอย่างเดียวกันนี้ บอก เจ้าคุณการปฏิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ สอนอย่างนี้ พอได้ยินอย่างนี้นะเลยพยายามทำลายผู้รู้ทั้งๆที่ผู้รู้ยังไม่มีเลย มีแต่ผู้หลงแต่หาทางทำลายผู้รู้ สติแตกสิ

ตอนนี้อย่าเพิ่งทำลายผู้รู้นะ ไม่ใช่เวลาทำลายผู้รู้ เอาไว้ให้ได้พระอนาคาก่อนแล้วค่อยพูดเรื่องทำลายผู้รู้ ตอนนี้เรายังไม่ได้ เราก็ยังไม่ทำลาย เราต้องมีผู้รู้ไว้ก่อน สังเกตมั้ยเดี๋ยวจิตก็รู้ เดี๋ยวจิตก็หลง เดี๋ยวจิตก็โลภ คอยรู้สึกไปเรื่อย รู้ัมันจะมีทีละแว้บ มีรู้อย่างนี้บ่อยๆ มีรู้ขึ้นมาเพื่อตัดตอนชีวิตให้ขาดเป็นช่วงๆ ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตตรงนี้รู้ เห็นมั้ยหลงต้องใหญ่หน่อย รู้ต้องนิดเดียว เป็นธรรมชาติอย่างนั้น ไม่ใช่ชีวิตตะกี้หลง ชีวิตเดี๋ยวนี้รู้ ปัจจุบันไม่โตขนาดนี้ คำว่าปัจจุบันน่ะเล็กนิดเดียว ชิวิตที่รู้ลงมาคือชีวิตที่อยู่กับปัจจุบันได้ ขณะแว้บเดียวต่อหน้าเท่านั้น เล็กๆ ไม่มีรู้ยาวเท่านี้ (หลวงพ่อวาดมือ) รู้เที่ยงสิรู้อย่างนี้ รู้เที่ยงก็มิจฉาทิฐิ จริงๆรู้เกิดวับก็ดับ วับก็ดับ ดังนั้นเราฝึกนะจนกระทั่งเรารู้สึกขึ้นมา

วิธีที่จะให้รู้ขึ้นมาก็คือ คอยไปหัดรู้ทันเวลาใจหลงไปคิด อันนี้เป็นการบ้านที่ง่ายๆเลย เพราะจิตที่หลงคิดคือจิตที่เกิดบ่อยที่สุด จิตโลภจิตโกรธอะไรนี่มีน้อยนะ จิตหลงเนี่ยมีทั้งวันเลย เพราะในขณะที่โลภ ในขณะที่โกรธเนี่ยต้องมีหลงประกอบอยู่ด้วย ถ้าไม่หลงจะไม่มีโลภ ถ้าไม่หลงจะไม่โกรธ เพราะฉะนั้นจิตหลงเนี่ยเป็นตัวสาหัสสากันเลย ถ้าเราเรียนเรื่องจิตหลงได้ เราจะภาวนาได้ทั้งวัน

กรรมฐานนะ เราควรจะเลือกกรรมฐานซึ่งมันเกิดบ่อยๆ เราจะได้ดูบ่อยๆ อย่างใจเราหลงเนี่ยหลงทั้งวัน แล้วก็รู้ ใจหลงไปแล้วรู้  มันจะเห็นสลับกันเร็ว เคยมีนะ ตอนอยู่เมืองกาญฯ มีหนุ่มคนนึงมาถามหลวงพ่อ ผมใช้สิ่งอื่นนอกจากในสติปัฏฐานได้มั้ย ที่จะมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน ถามว่าจะใช้อะไร ถ้าฟ้าร้องแล้วผมจะรู้สึกตัว ปีนึงมันร้องกี่ครั้งนะ นานมาก บางวันก็ไม่ร้องตั้งหลายเดือน แสดงว่าตลอดมาเนี่ยเอ็งไม่มีสติเลยใช่มั้ย เอ็งจะมีสติตอนหน้าฝนอย่างเดียว อย่างงี้ใช้ไม่ได้

พวกเราไปดูสิอารมณ์ในสติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะ เป็นอารมณ์ที่เกิดตลอดเวลา หายใจออก หายใจเข้านี่ หายใจทั้งวันมั้ย ถ้าหายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวทั้งวัน ยืน เดิน นั่ง นอน มีทั้งวันใช่มั้ย ไม่ยืนก็เดิน ไม่เดินก็นั่ง ไม่นั่งก็นอน อะไรนี้ เวียนไปนี้ ถ้า ยืน เดิน นั่ง นอนรู้สึกตัว ก็รู้สึกตัวได้เกือบทั้งวันแล้ว ยกเว้นอิริยาบถประหลาดๆ เช่น กระโดดอะไรนี้นะ หรือไปว่ายน้ำ เป็นอิริยาบถ แปลกๆไป ท่านก็สอนล็อกไว้อีกอันนึงเรื่องสัมปชัญญะ เคลื่อนไหวแล้วรู้สึก ก็เคลื่อนไหวแล้วก็หยุดนิ่ง หยุดนิ่งแล้วก็เคลื่อนไหว ถ้าหยุดนิ่งก็รู้สึก เคลื่อนไหวก็รู้สึก ก็รู้สึกตัวได้ทั้งวันแล้ว อารมณ์ที่พระพุทธเจ้าให้ไว้นะเกิดทั้งวัน อารมณ์เวทนาล่ะ มีทั้งวันมั้ย สุข ทุกข์ เฉยๆก็หมุนอยู่อย่างนี้ทั้งวันใช่มั้ย ถ้าสุขก็รู้ตัว ทุกข์ก็รู้ตัว เฉยๆก็รู้ตัว ก็คือรู้ตัวได้ทั้งวัน ดูจิตดูใจล่ะ จิตหลงไปแล้วรู้ เกิดได้ทั้งวัน หลงทั้งวัน ยกเว้นบางคนนั้นขี้โลภ เจออะไรมันก็อยากตลอดเวลาเลย ความอยากเกิดถี่ยิบเลยทั้งวัน พวกนี้ก็เอาความอยากเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่เดี๋ยวมันอยากแว้บอยากดู รู้ทัน อยากฟังรู้ทัน อยากคิดรู้ทัน พวกโลภมากนะ ดูอยากเป็นวิหารธรรม มีจิตที่อยากกับจิตที่ไม่อยาก คู่เดียวก็พอแล้ว เกิดทั้งวันแล้ว คนไหนขี้โมโหนะ อะไรนิดนึงก็โมโห อะไรนิดนึงก็ขัดใจ ก็เอาจิตที่มีโมโหนี่แหล่ะมาเป็นวิหารธรรม จิตโกรธขึ้นมาก็รู้ ขณะที่รู้ว่าโกรธนั้นคือจิตที่รู้ จิตนั้นมันโกรธ เดี๋ยวก็โกรธอีก เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็รู้ เห็นมั้ยมันจะเกิดทั้งวัน

เพราะฉะนั้นอารมณ์กรรมฐานที่เราใช้นั้นต้องเป็นอารมณ์ที่เกิดทั้งวัน เราจะได้มีสติได้ทั้งวัน หายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว เผลอไปรู้สึกตัว รู้ รู้ทันว่าเผลอ ก็รู้สึกตัว ก็เป็นจิตที่รู้ขึ้นมา ก็รู้ว่ามีจิตที่รู้อยู่ ทุกอย่างเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอด เวลา เราทำไปเพื่อให้เห็นว่าทุกอย่างเกิดแล้วดับ ไม่ใช่ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบเช่น เราเห็นว่าร่างกายที่หายใจออก เกิดขึ้นมาแล้วดับไป กลายเป็นร่างกายที่หายใจเข้า ร่างกายที่หายใจเข้าเกิดแล้วก็ดับ กลายเป็นร่างกายที่หายใจออก ร่างกายที่ยืน ที่เดิน ที่นั่ง ที่นอนนี่ ก็คือร่างกายที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ หรือความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆนะ ก็แสดงความหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ความหลงไปกับความรู้สึก หลงแล้วรู้ หลงแล้วรู้ ก็แสดงความเกิดดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ ภาวนาเพื่อให้เห็นสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้ภาวนาเอาดีเอาสุขเอาสงบอะไรหรอกนั่นตื้นไป แต่ภาวนาเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ มันมีแต่ความไม่เที่ยง ในกายในใจนี้ มีแต่ความทนอยู่ไม่ได้ในสภาวะ อันใดอันหนึ่ง อยู่ไม่ได้ตลอดหรอก ไม่นานก็ต้องเสื่อมไป

มีแต่เรื่องบังคับไม่ได้นะ สั่งไม่ได้ ร่างกายก็ไม่ใช่เรานะ เป็นแค่วัตถุอันนึง จิตใจก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง สั่งมันไม่ได้ นี่ภาวนาอย่างนี้ สุดท้ายจะได้อะไรขึ้นมา จะเห็นเลยว่า ทั้งกาย ทั้งใจ ทั้งขันธ์ห้านี้เป็นทุกข์เป็นโทษทั้งหมดเลยนะ ไม่ใช่ของดีของวิเศษหรอก อย่างร่างกายนะ ประคบประหงมมันอย่างดีเลย ให้มันมีความสุข ไม่นานเลยมันก็ทุกข์อีกแล้ว นี่อย่างนี้ดูไปเรื่อย มันเอื่อมระอา มันไม่ยึดกายแล้ว จิตใจก็เหมือนกันนะ อุตสาห์ทำความสงบเข้ามา ไม่นานก็ฟุ้งอีกแล้ว ทำดียังไงเดี๋ยวก็แย่ขึ้นมาอีกแล้ว มีแต่ของไม่เที่ยงนะ เห็นแล้วอิดหนาระอาใจ ในที่สุดไม่ยึดจิตใจด้วย

สุดท้ายไม่ยึดทั้งกายไม่ยึดทั้งใจ ก็ไม่ยึดสิ่งใดในโลกนะ จิตก็หลุดพ้นจากความยึดถือ เรียกว่าวิมุตตินะ จิตหลุดพ้น หลุดแล้วจะได้อะไร ได้เห็นนิพพาน แต่ไม่เป็นเจ้าของนิพพานนะ นิพพานไม่เป็นของใคร นิพพานเป็นธรรมดาของโลกอยู่อย่างนั้น เป็นธรรมะประจำโลกอยู่อย่างนั้น แต่ว่าผู้ใดไปเห็นนิพพานผู้นั้นมีความสุขนะ จิตที่ไปรู้นิพพานนั้นมีบรมสุขที่สุดเลย มันพ้นความดิ้นรน พ้นความปรุงแต่ง พ้นความหิวโหย พวกเราค่อยๆฝึกนะ

วันนี้เทศน์มาตั้งแต่เช้าเนี่ยเรื่องอะไรบ้าง หวังว่าการปฏิบัติต้องรู้นะว่าเราจะทำอะไร ก็มีสมถะกับวิปัสสนา ทำเพื่ออะไร ทำสมถะนะก็เพื่อให้มีกำลังไปทำวิปัสสนา หรือว่าบางครั้งก็ใช้พักผ่อนนิดๆหน่อยๆ พอมีเรี่ยวมีแรงสดชื่นแล้วก็ไปทำวิปัสสนา ทำอย่างไรนะ สมถะ เนี่ย ให้จิตไปอยู่ในอารมณ์ที่สบายแล้วจิตจะสงบ วิปัสสนานะให้ตามรู้ความเปลี่ยนแปลงของกายของใจไป ใจเป็นแค่คนรู้คนดูไปเรื่อย โลภขึ้นมาแล้วรู้ โกรธขึ้นมาแล้วรู้ ดูไปเรื่อย รู้แล้วได้อะไร ทำแล้วได้อะไร ถ้าทำสมถะก็ได้ตัวรู้ขึ้นมา ทำวิปัสสนาก็ได้ปัญญาเห็นความจริงของกายของใจ ได้เห็นความจริงแล้วก็หมดความยึดถือ ปล่อยวาง เข้าถึงบรมสุขที่แท้จริง


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๑
Track: ๑๓
File: 520809A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๔ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หน้าที่ของชาวพุทธ

mp3 (for download): โอวาทหลวงพ่อแด่ชาวพุทธทุกคน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

รอยพระพุทธบาท

รอยพระพุทธบาท

หลวงพ่อปราโมทย์ : พวกเราต้องช่วยกันนะ ช่วยกัน ฟังธรรมะแล้วค่อยๆสังเกตลงในกายในใจของตัวเอง ช่วยตัวเองก่อนนะ ต่อๆไปก็จะได้ช่วยคนรอบๆตัวเรา ในภาพรวมก็จะได้ช่วยสังคมให้มันร่มเย็น อย่างน้อยสังคมนี้ร้อนเป็นฟืนเป็นไฟ ยังมีจุดที่เย็นๆเหลืออยู่สักจุด สองจุด เล็กๆก็ยังดีนะ อยู่ในบ้านเราน่ะ ค่อยๆฝึกไป

ชาวพุทธทุกวันนี้ร่อยหรอสุดขีดแล้วนะ ศาสนาพุทธตกอยู่ในอันตรายที่น่ากลัวที่สุดแล้ว ศาสนาพุทธแท้ๆที่สืบทอดจากคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างเถรวาทเหลือนิดเดียวแล้ว เหลืออยู่ไม่กี่ประเทศ เหลือยู่ในเมืองไทย ในลังกา ในพม่า อะไรอย่างนี้

ในเมืองไทยแล้ว จริงศาสนาพุทธแทบจะเรียกได้ว่าสูญไปแล้ว หรือเกือบๆจะสูญไปแล้ว เราอย่าภูมิใจว่ามีชาวพุทธเก้าสิบกว่าเปอร์เซนต์ เก้าสิบกว่าเปอร์เซนต์นั้นเป็นคนไม่มีศาสนาต่างหาก (คนเหล่านี้-ผู้ถอด)อะไรก็ได้ ขอให้รวยก็แล้วกัน ใช่มั้ย พร้อมจะนับถืออะไรก็ได้ เอาอะไรมาห้อยก็ได้นะ ไหว้มันหมดแหละ หมู หมา กา ไก่ วัวสามขาก็ไหว้ ใช่มั้ย อะไรๆเกิดขึ้นมาเราก็นับถือหมด เทวดงเทวดา มนุษย์สร้างเทวดาแล้วมนุษย์ก็กลัวเทวดา แล้วมนุษย์ก็ไปไหว้เทวดา เราขายพระพุทธเจ้าได้นะ ขอให้รวยก็แล้วกัน

เพราะฉะนั้นจริงๆแล้วเราไม่ใช่ชาวพุทธ คนส่วนมากไม่ใช่ชาวพุทธ พวกเรานี้ชาวพุทธนะ เพราะพวกเราศึกษาธรรมะ ถ้าคนไหนไม่ได้ศึกษาธรรมะไม่ใช่ชาวพุทธหรอก เป็นชาวพุทธแต่ชื่อ เป็นพุทธในทะเบียนบ้านหรือในบัตรประชาชน ไม่ใช่พุทธตัวจริง พุทธตัวจริงมีนับตัวได้เลย นับจำนวนได้เลย มีไม่เท่าไหร่หรอก หลวงพ่อกะว่าคงมีเพียงระดับหลักหมื่นเท่านั้นมั้ง คือพุทธที่ต้องศึกษาธรรมะนะ ถ้าเป็นพุทธเฉยๆ พุทธตามบรรพบุรุษอะไรอย่างนี้ มันไม่ใช่หรอก

ทุกวันนี้สติปัญญาของคนตกต่ำลงเรื่อยๆ ยกตัวอย่างคนสมัยโบราณคนนับถือเทวดา นับถือเทพใช่มั้ย พอเกิดพระพุทธเจ้าขึ้นมา คนไม่ได้นับถือเทวดา คนนับถือธรรมะ ธรรมะคืออะไร ธรรมะคือความจริง คนยอมรับความจริง ดำรงชีวิตสอดคล้องกับความเป็นจริงแล้วก็ไม่ทุกข์ ไม่ใช่ให้คนอื่นช่วย คนเรารู้เลยว่า เราช่วยตัวเองได้ เราต้องพึ่งตัวเอง เราทำอะไรเราก็ต้องได้รับผลอย่างนั้น

มนุษย์พอเปลี่ยนจากเชื่อเทวดา เชื่อเทพเจ้า มาเชื่อในธรรมะ มนุษย์ก็จะไม่เชื่อเรื่องพรหมลิขิต หรือใครมาบงการ เราจะเชื่อกรรม กรรมคือการกระทำของเราเอง กำหนดชีวิตของเราเอง

เนี่ยถ้าเราทำกรรมฐานนะ รู้สึกกายรู้สึกใจ เราจะรู้เลย ชีวิตเราเปลี่ยนจริงๆนะ มันเปลี่ยนจริงๆ เราทำกรรมชั่ว เราก็เดือดร้อนจริงๆ มนุษย์ที่พัฒนาแล้วนะ พัฒนาทางสติปัญญาแล้วจะไม่เชื่อเรื่องอำนาจภายนอกนะ แต่ยอมรับเรื่องกรรมและผลของกรรมซึ่งเราทำเอง

แล้วมนุษย์ถ้าอยากให้มีสติปัญญามากขึ้น ก็ต้องศึกษาธรรมะ เรียกว่าไตรสิกขา ศึกษาเรื่องศีล ศึกษาเรื่องจิต ศึกษาเรื่องการเจริญปัญญา เมื่อศึกษาแจ่มแจ้งแล้ว จิตใจก็ไม่ยึดถืออะไร จิตใจดำรงชีวิตสอดคล้องอยู่กับธรรมะล้วนๆเลย คราวนี้ จิตธรรมะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่แยกจากกัน เนี่ยมีความสุขล้วนๆ นี่เป็นพัฒนาการที่สูงที่สุดแล้วที่มนุษย์เคยมีมา แต่พวกเราเคยมีสิ่งเหล่านี้ เรากำลังสูญเสียไป

ยกตัวอย่างเราเคยมีพระพุทธเจ้า ต่อมาเราก็ลดลงมาเหลือพระพุทธรูป ท่านพุทธทาสท่านเคยพูดไว้นานแล้ว แล้วท่านทายไว้ด้วย ต่อไปไม่ใช่พระพุทธรูป ต่อไปจะนับถือรูปเจว็ดต่างๆนะ ซึ่งไม่ใช่อะไรที่เป็นศาสนาพุทธ

สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาแล้วทั้งสิ้นนะ แล้วก็จะเกิดต่อไปอีก หน้าที่ของเราทุกคน ทุกคนมีความสำคัญนะ สำคัญต่อตนเอง สำคัญต่อครอบครัว สำคัญต่อสังคมที่แวดล้อมอยู่ และสำคัญที่จะสืบทอดศาสนาต่อไปอีก ให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานได้มีโอกาสฟังธรรมะ เหมือนที่พวกเรามีโอกาส

เพราะฉะนั้นเราต้องรักษาธรรมะ วิธีรักษาธรรมะที่ดีที่สุด คือ การศึกษาธรรมะ จนธรรมะเข้าไปสู่ใจของเรา ธรรมะที่ต้องศึกษาให้รู้เรื่อง คือเรื่องของวิปัสสนากรรมฐาน เรื่องสมถกรรมฐานเป็นของง่าย ถึงไม่มีพระพุทธเจ้าก็มีสมถกรรมฐาน

เพราะฉะนั้นต้องฟังเรื่องวิปัสสนา ก็คือการที่เรามีสติ รู้เนื้อรู้ตัวขึ้นมาแล้วคอยรู้กายอย่างที่มันเป็น รู้จิตใจอย่างที่มันเป็น รู้มากเข้าๆนะ จนเห็นผลของการปฏิบัติ เมื่อเราเห็นผลแล้วเนี่ย เราจะเชื่อมั่น ศรัทธา ในศาสนาพุทธอย่างแน่นแฟ้น เชื่อในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อย่างแน่นแฟ้น คนที่จะเชื่ออย่างแน่นแฟ้นก็คือคนที่เห็นผลของการปฏิบัติแล้ว คือพระโสดาบันขึ้นไป

เพราะฉะนั้นพวกเราอย่าประมาทนะ ศรัทธาของพวกเราส่วนใหญ่ซึ่งเป็นปุถุชนนี้ ยังเป็นศรัทธาที่ยังกลับกลอกได้ ตอนนี้นับถือพุทธนะ แต่อีกหน่อยอาจจะไม่นับถือก็ยังได้นะ เพราะฉะนั้นต้องพากเพียรศึกษาลงมาในกายในใจนี้ ถ้าศึกษาจนเริ่มเห็นผลแล้วนะ ให้เอาไปตัดคอซะถ้าไม่บอกว่าพระพุทธเจ้าโกหกเนี่ย ยังไงก็ไม่ยอม เพราะว่ารู้แล้วว่าเป็นไปไม่ได้ พระพุทธเจ้าไม่ได้โกหก ธรรมะที่ท่านสอนเป็นของจริงล้วนๆ ปฏิบัติแล้วพ้นทุกข์จริงๆ เห็นได้ด้วยตนเองจริงๆ

เพราะฉะนั้นพวกเราพากเพียรไปนะ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมศาลาลุงชินครั้งที่ ๑๔
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๐

CD: แสดงธรรมที่ศาลาลุงชินครั้งที่ ๑๔
File:
500916
ระหว่างนาทีที่  ๒๔ วินาทีที่ ๔๘ ถึง นาทีที่ ๓๐ วินาทีที่ ๑๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เคล็ดลับของการดูจิต ๓ ขั้นตอน

mp 3 (for download) : เคล็ดลับของการดูจิต ๓ ขั้นตอน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เคล็ดลับของการดูจิต ๓ ขั้นตอน

เคล็ดลับของการดูจิต ๓ ขั้นตอน

หลวงพ่อปราโมทย์ : เอา.. ต่อไปหลวงพ่อจะสอนปิดท้ายนิดหนึ่ง เป็นเคล็ดลับของการดูจิต พวกเราเคยได้ยินคำว่า “ดูจิต” มั้ย ยุคนี้ใครไม่ได้ยินนะ เรียกว่าเชยแหลกเลย บางคนดูยังไม่เป็นหรอกนะ ก็ยังอุตส่าห์บอกว่าดูจิต ใครไม่ดูจิตเรียกว่าล้าสมัย จริงๆเคล็ดลับของการดูจิตเนี่ยไม่ยากเท่าไหร่ มีอยู่ ๓ ขั้นตอนนะ

การดูจิตไม่ใช่ทั้งหมดของการปฏิบัตินะ บางคนดูกายก็ได้ บางคนดูเวทนาก็ได้ บางคนดูจิตก็ได้ แต่พวกเราเป็นคนในเมือง กรรมฐานที่เหมาะกับคนในเมืองคือการดูจิต ไม่ใช่หลวงพ่อพูดเองนะ หลวงปู่ดูลย์เคยสอนไว้

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ วันหนึ่งหลวงพ่อนั่งอยู่กับหลวงปู่ดูลย์ จู่ๆท่านก็พูดขึ้นมานะ ต่อไปการดูจิตจะรุ่งเรืองในเมือง ตอนนั้นเราไม่เชื่อนะ จะรุ่งเรื่องจริงเร้อ มันน่าจะรุ่งริ่งมากกว่า ไปไหนก็ไม่เห็นมีใครรู้จักดูจิตเลย แล้วเมื่อสักอาทิตย์ สองอาทิตย์ที่ผ่านมานี้ หลวงพ่อไปเยี่ยมครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ลูกศิษย์หลวงพ่อชา ท่านก็บอกว่า โอ้..อาจารย์ปราโมทย์สอนให้คนดูจิต ดีนะ หลวงพ่อชาเคยบอกท่านไว้ว่า คนในเมืองน่ะ พวกปัญญาชน พวกคนในเมือง อะไรพวกนี้นะ อย่าไปสอนเรื่องอื่นเลย สอนให้ดูจิตไปเลย แต่ต้องดูด้วยความเป็นกลาง

เพราะฉะนั้นเราดูจิตไปนะ แล้วจิตไม่เป็นกลางคอยรู้ทันไว้ ดูด้วยความเป็นกลาง จิตดีก็รู้ไป ไม่ต้องไปชอบมัน จิตร้ายก็รู้ไป ไม่ต้องไปเกลียดมัน รู้อย่างเป็นกลางไปเรื่อย แค่นี้เอง นี่คือคำว่า “ดูจิต” ดูจิตก็คือ จิตใจเราเป็นอย่างไร รู้ ว่าเป็นอย่างนั้น

ทีนี้เราจะดูจิตให้เห็นว่าจิตเป็นอย่างไรรู้ว่าเป็นอย่างนั้นได้เนี่ย มันมี ๓ ขั้นตอน ขั้นตอนที่ ๑ ก่อนจะดู อย่าอยากดูแล้วไปรอดู เวลาพวกเราคิดถึงการดูจิต พวกเราจะไปดักดูไว้ก่อน ไหนดูสิ หายใจไป แล้วดูสิ จิตจะกระดุกกระดิกเมื่อไหร่ จ้องๆๆ จิตจะนิ่งไปเลย ไม่มีอะไรให้ดูนะ มีแต่นิ่ง

เพราะฉะนั้นกฎข้อที่ ๑ ของการดูจิตเนี่ยนะ อย่าดักดู จริงๆแล้วการทำวิปัสสนาจะไม่ดักดูทั้งนั้นแหละ ดูจิตห้ามดักดูเลย ถ้าดักดูเมื่อไรจิตจะนิ่ง การดูจิตก็คล้ายกับการจะดูพฤติกรรมของเด็กซนๆสักคนหนึ่ง ถ้าเราถือไม้เรียวเฝ้าไว้นะ เราไปถือจ้องไว้อย่างนี้นะ เด็กก็ไม่กล้าซน ใช่มั้ย ไม่กล้าซน จิตก็เหมือนกัน ถ้าเราไปนั่งจ้องอยู่นะ มันไม่กล้าซน มันจะนิ่ง เพราะฉะนั้นกฎข้อที่ ๑ ของการดูจิตนะ อย่าไปจ้องมันไว้ ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนนะ แล้วค่อยรู้เอา นี่กฎข้อที่ ๑ นะ ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยรู้เอา เช่น ให้ใจลอยไปก่อน แล้วรู้ว่าใจลอย ให้โกรธไปก่อน แล้วรู้ว่าโกรธ ให้โลภไปก่อนแล้วรู้ว่าโลภ

ทำไมต้องให้มันเป็นไปก่อน คำว่า “จิตตานุปัสนนา” เนี่ย โดยคำศัพท์มันนะ คือคำว่า “จิต” คำว่า “อนุ” คำว่า “ปัสสนา” ปัสสนาคือการเห็น อนุแปลว่าตาม ตามเห็นเนืองๆซึ่งจิต เพราะฉะนั้นจิตโกรธขึ้นมา รู้ว่าจิตโกรธ ไม่ใช่ให้ไปรอดูนะว่าต่อไปนี้จิตชนิดไหนจะเกิดขึ้น ถ้าไปอ่านสติปัฏฐานให้ดีท่านจะสอนไว้ชัดๆเลยนะ ท่านบอกว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อจิตมีราคะ ให้รู้ว่ามีราคะ เห็นมั้ย ราคะเกิดก่อนนะ แล้วรู้ว่ามีราคะ ท่านไม่ได้สอนนะ ภิกษุทั้งหลาย จงรอดูสิว่าอะไรจะเกิดในจิตของเธอ ไม่ได้สอนอย่างนี้เลยนะ เพราะฉะนั้น จิตมีราคะ ให้รู้ว่ามีราคะ จิตมีโทสะ ให้รู้ว่ามีโทสะ จิตหลงไปใจลอยไป รู้ว่าใจลอยไป ไม่ห้ามนะ แต่ใจลอยไปรู้ว่าใจลอยไป ให้สภาวะเกิดก่อนแล้วตามรู้ นี่คือกฎข้อที่ ๑ อันแรกก็คือ ก่อนจะรู้อย่าไปดักนะ อย่าไปดักดู ก่อนจะดูเนี่ย ก่อนจะรู้จิต ก่อนจะดูจิต อย่าไปจ้องเอาไว้ ให้สภาวะเกิดแล้วก็ค่อยตามดูเอา

กฎข้อที่ ๒ ระหว่างดูจิตเนี่ย ระวังอย่าให้ถลำลงไปจ้อง ระวังอย่าถลำลงไปเพ่ง ยกตัวอย่างพวกเรา เวลาหายใจ สังเกตมั้ย เวลารู้ลมหายใจ บางทีจิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ เวลาดูท้องพองยุบจิตชอบไหลไปอยู่ที่ท้อง เวลาเดินจงกรมจิตไหลไปอยู่ที่เท้า นี่เรียกว่าจิตไม่ตั้งมั่น เวลาเราดูจิตก็เหมือนกัน ถ้าเห็นความโกรธผุดขึ้นมานะ ให้ดูสบายๆนะ ดูแล้วเหมือนจะเห็นว่าคนอื่นโกรธนะ ไม่ใช่เราโกรธนะ ดูห่างๆ เราเห็นความโกรธเหมือนคนเดินผ่านหน้าบ้าน หรือเหมือนเห็นรถยนต์วิ่งผ่านหน้าสเถียรฯอย่างนี้ ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา มันมาแล้วมันไปๆ ใจเราอยู่ห่างๆ เพราะฉะนั้นกฎข้อที่ ๒ เวลาดู อย่าถลำลงไปจ้อง ดูห่างๆ ดูสบายๆ ดูแบบคนวงนอก ดูเหมือนคนดูฟุตบอล นั่งบนอัฒจรรย์เห็นนักฟุตบอลวิ่งไปวิ่งมา อย่ากระโดดลงไปในสนามฟุตบอล

กฎข้อที่ ๓ ก็คือ เมื่อเห็นสภาวะใดๆแล้วนะ อย่าเข้าไปแทรกแซง อันที่ ๑ ก่อนจะรู้ อย่าไปดักรู้ อันที่ ๒ ระหว่างรู้ อย่าไปจ้อง อย่าไปถลำไปจ้อง อันที่ ๓ เมื่อรู้แล้วอย่าเข้าไปแทรกแซง เช่นความโกรธเกิดขึ้น รู้ว่าจิตมันโกรธ อย่าไปห้ามมัน ไม่ต้องห้ามมัน ความโกรธก็จะแสดงไตรลักษณ์ให้ดู เกิดได้ก็ดับได้เหมือนกัน ความโลภเกิดขึ้นก็อย่าไปว่ามันนะ ก็จะเห็นว่าความโลภเกิดขึ้นแล้วก็ดับเองได้ ความสุขความทุกข์มันก็ดับของมันเอง สิ่งทั้งหลายมีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ บังคับไม่ได้ เราจะเห็นอย่างนี้เนืองๆ เพราะฉะนั้น เราไม่ใช่ว่า สภาวะอะไรเกิดขึ้นก็เข้าไปแทรกแซง

ยกตัวอย่างเวลาเราใจลอยไป เรานั่งหายใจอยู่ พอใจลอยปุ๊บ อุ๊ยใจลอยไมดี ดึงกลับมาอยู่ที่ลม บังคับจิตไม่ให้หนีไปไหนนะ อย่างนี้แทรกแซงแล้ว อย่าไปแทรกแซงนะ ให้รู้ สักว่ารู้ หมายถึง รู้โดยไม่เข้าไปแทรกแซง

ถ้าพวกเราทำได้ ๓ ขั้นตอนนี้นะ ก่อนจะดูนะ อย่าอยากดูแล้วถลำเข้าไปจ้อง ไปอยากดูน่ะ แล้วก็ไปคอยดักดูไว้ก่อน อันที่ ๒ ระหว่างดู อย่าถลำลงไปจ้อง ดูอยู่ห่างๆ เหมือนคนดูฟุตบอลอยู่บนอัฒจรรย์ อันที่ ๓ รู้แล้วไม่เข้าไปแทรกแซง มันดีก็รู้ไป มันก็จะเห็นว่าดีอยู่ชั่วคราวแล้วก็หาย.. มันชั่วก็เห็นไป ความชั่วอยู่ชั่วคราวแล้วก็หาย มันสุขก็รู้ไปนะ แล้วก็จะเห็นความสุขอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป ความทุกข์อยู่ชั่วคราวแล้วก็หาย ทุกอย่างอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไปทั้งสิ้นเลย อย่าเข้าไปแทรกแซง เพราะเมื่อเข้าไปแทรกแซงเมื่อไร เป็นสมถะเมื่อนั้นเลย เป็นการทำสมถกรรมฐาน


CD: เสถียรธรรมสถาน วันที่ ๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๒
File: 520906.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๕๙ ถึง นาทีที่ ๓๕ วินาทีที่ ๑๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ร่างกายที่เคลื่อนไหวเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า

mp3 for download : ร่างกายที่เคลื่อนไหวเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ร่างกายที่เคลื่อนไหวเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า

ร่างกายที่เคลื่อนไหวเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า

หลวงพ่อปราโมทย์ : เนี่ยเราหัดภาวนานะ เราอย่าไปวาดภาพการภาวนาอะไรลึกลับซับซ้อนมากมาย การภาวนาก็คือการหัดมาเห็นไตรลักษณ์ของสิ่งซึ่งเป็นคู่ๆ ทีนี้สิ่งที่เป็นคู่ๆมันมีสองส่วน ส่วนภายนอกกับส่วนภายใน พยายามน้อมกลับเข้ามาเรียนส่วนภายใน โอปนยิโก น้อมกลับเข้ามาหาตัวเอง มาเรียนรู้ตัวเอง

ของเรามีเป็นคู่ๆนะ อันแรกเลย คู่แรกเลย มีรูปกับนาม มีกายกับใจ หรือมีสิ่งที่ถูกรู้ กับมีผู้รู้ จิตนั้นแหละเป็นผู้รู้ อันอื่นๆนอกจากจิตเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่จิต จิตเป็นธรรมชาติรู้ ในตัวเรามีธรรมชาติรู้ รู้สึกมั้ย ในนี้มีคนรู้อยู่คนหนึ่งคอยรู้เรื่องโน้นคอยรู้เรื่องนี้ แถมไม่รู้เปล่าๆนะ รู้แล้วคิดด้วย เป็นผู้รู้สึกนึกคิด

เนี่ยเราค่อยๆหัดแยกนะ หัดแยกไป เรียนจากสิ่งที่เป็นคู่ๆนี้แหละ อันแรกคู่แรกที่อยากแนะนำให้พวกเราหัดแยกออกไปนะ ก็คือ กายกับใจ หัดแยกรูปกับนามก่อน คำว่ากายกับใจ กับ รูปกับนาม เนี่ย ไม่ตรงกันทีเดียวหรอกนะ เรียกโดยอนุโลมเพื่อให้พวกเราที่ไม่ได้เรียนอภิธรรมได้ฟังรู้เรื่อง กายกับรูปคนละอันกัน แต่ว่าถ้าพูดคำว่ารูปจะฟังแล้วงง คำว่านามฟังแล้วก็งง เอาภาษาไทยง่ายๆก่อนนะ คอยรู้แยกกายกับใจก่อน

ต่อไปค่อยเรียน พอเห็นสภาวะอย่างแท้จริง จะพบว่ากายไม่มีจริงหรอก กายเป็นรูป ส่วนที่เราว่าใจ ใจไม่ใช่ใจอันเดียว ประกอบด้วยธรรมะจำนวนมากเลย มาทำงานร่วมกัน เรียกว่าจิต กับเจตสิก มาทำงานด้วยกัน ตอนนี้เอากายกับใจก่อน

วิธีที่จะหัดแยกนะ ขั้นแรกเลย เรารู้อารมณ์อันเดียว รู้กายนี้แหละ ง่ายๆ นั่งอยู่ก็ได้ นั่งสมาธินะ หรือนั่งพัดไปเนี่ย หลายคนนั่งพัด ไม่ว่านะ พัดได้ เนี่ยหลวงพ่อยังมีพัดเลย เอาไว้ไล่แมลงวัน แมลงหวี่เยอะ เราเคลื่อนไหวไป พยายามเคลื่อนไหว บางคนไม่มีพัด มีอะไรที่เคลื่อนไหวในตัวเอง มีการหายใจ ใช่มั้ย ร่างกายนี้หายใจอยู่ ท้องนี้พองยุบอยู่ เนี่ยเบื้องต้นดูอย่างนี้ก่อน ดูร่างกายของตัวเองนะ ร่างกายนั่งอยู่ ร่างกายหายใจอยู่ ร่างกายพองยุบอยู่ ร่างกายเคลื่อนไหวอยู่ ดูกาย

แล้วค่อยๆสังเกตว่า ร่างกายเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า รู้สึกมั้ย เราไม่ได้พัดเฉยๆนะ มันมีคนหนึ่งเหมือนเป็นคนดูอยู่ แต่ไอ้คนดูอยู่จะอยู่ตรงไหนเราไม่รู้หรอก รู้สึกว่ามันอยู่ข้างในนี้ บางคนก็ว่าคงอยู่ที่หัว บางคนว่าอยู่ตรงนี้ จริงๆจิตอยู่ที่ไหนก็ได้นะ จิตไม่มีที่ตั้งหรอก จิตอยู่ตรงไหนก็ได้ จิตเกิดร่วมกับอารมณ์

ค่อยๆสังเกตไป ร่างกายที่เคลื่อนไหวเป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า หัดอย่างนี้เรื่อยๆ ดูเหมือนดูคนอื่น ถ้าดูตัวเองยังไม่ออก ลองดูคนอื่นก่อน ดูคนที่นั่งข้างๆเรา เราเห็นมั้ย คนที่นั่งข้างๆเราเนี่ย เป็นสิ่งที่จิตของเราไปรู้เข้า เป็นสิ่งถูกรู้ ไม่ใช่ตัวเรา ดูคนข้างๆแล้วลองย้อนมาดูร่างกายของตนเอง ดูเหมือนดูคนอื่นน่ะ ดูเหมือนมันเป็นคนอื่น เป็นวัตถุ เป็นก้อนธาตุ เหมือนเป็นคนอื่น ใจเราเป็นคนดู ค่อยๆหัดอย่างนี้เรื่อยๆ

ต่อไปมันจะเห็นนะ ร่างกายที่หายใจอยู่ ร่างกายที่ ยืน เดิน นั่ง นอน อยู่ ร่างกายที่เคลื่อนไหว ร่างกายที่หยุดนิ่ง เป็นสิ่งที่ถูกรู้ถูกดู ไม่ใช่จิตหรอก จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู ร่างกายไม่ใช่จิตหรอก ค่อยๆฝึกอย่างนี้นะ


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๓


CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๓
ลำดับที่ ๗
File: 530606A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๓๑ ถึง นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๔ จาก Dhammada.Net : พรปีใหม่จากหลวงพ่อฯ

“ไหนๆ มันก็อยู่กับโลกสมมุติแล้ว  ก็ใช้สมมุติให้เกิดประโยชน์นะ
ปีใหม่ก็ตั้งความหวัง  แต่ชาวพุทธเราไม่ได้ตั้งความหวังเลื่อนๆ ลอยๆ นะ
ปีใหม่ขอให้โน้น ขอให้นี้  ปีใหม่ขี้ขอ  ปีใหม่ชูชก  ไม่ใช่ปีใหม่พระพุทธเจ้า
ปีใหม่ก็ตั้งใจไว้  ตั้งอธิษฐานและตั้งใจมั่น  ว่าจะสร้างคุณความดี
ลองตั้งใจ  ในปีใหม่นี้เป็นต้นไป  ในวันนี้เป็นต้นไป
เราจะพยายามรักษาศีล ๕ ให้ดี  อย่างนี้เป็นปีใหม่ชาวพุทธหน่อย
นอกจากรักษาศีล ๕ ให้ดีแล้ว  ปีใหม่นี้  เราจะฝึกจิตฝึกใจของเราให้ตั้งมั่น
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว  เราจะฝึกจิต
ปีใหม่นี้เราจะเจริญปัญญา …”

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๔

ขอขอบคุณ คุณ Pee Kay จาก ห้องศาสนา Pantip.com ผู้ถอดข้อความ

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไตรสิกขา

ไตรสิกขา

ไตรสิกขา

mp 3 (for download) : ไตรสิกขา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: เมื่อเดือนก่อนไปกราบท่านอาจารย์มหาบัว ท่านไม่สบายนะวันที่ไปน่ะ เป็นวันฉัตรมงคลหรือเปล่า ใช่ไหม เป็นวันฉัตรมงคล ตอนเช้าท่านออกมารับโยมนะ ฉันไปนิดหน่อยหรือไง ท่านเป็นลมล่ะ พระต้องเอาท่านกลับกุฏิล่ะ ไปนวด ให้ออกซิเย่นน่ะ นวด ท่านค่อยยังชั่วขึ้นมา บ่าย ๓ โมงกว่า

เข้าไปกราบท่าน ๓ โมงครึ่ง  ทีแรกท่านก็เนือย ๆ เหนื่อย ๆ นะ สังขารเป็นอย่างงั้นนะ สักพักน่ะ ก็ดู ๆ ไปในความชราของท่าน ในความเจ็บไข้ของท่านนะ ท่านมีความสุขจังเลย มีความสุขที่พวกเราไม่มีนะ ไอ้คนแข็งแรงก็ไม่มีความสุขอย่างนี้นะ คนหนุ่มคนสาวเขาก็ไม่มีความสุขอย่างนี้ เราดูแล้วเราเห็นตัวอย่างที่ดีนะ ดูครูบาอาจารย์มาแต่ละองค์ ๆ ท่านมีความสุข ยิ่งอยู่ไปยิ่งมีความสุขนะ พัฒนาไปเรื่อย งั้นเรามาเดินตามแนวของท่านนะ ท่านเดินยังไง ท่านเดินอยู่ในหลักของไตรสิกขานั่นเอง ศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ได้เดินนอกแนวทางนี้ไปได้หรอก ทุกองค์ ๆ ก็เดินอยู่ในแนวทางอันนี้

มีศีลนะ มีความสุข เคยได้ยินไหม เวลาทำบุญพระชอบสวด สีเลน สุคตึ ยนฺติ มีศีลแล้วจะมีความสุข มีสุคติ ไม่ใช่ทุคติ ตอนนี้ในบ้านในเมืองเรา ทุคติ รู้สึกไหม เป็นโซนทุคติแล้วนะ เพราะไม่มีศีล งั้นพวกเราพัฒนาใจของเรานะ ตั้งใจเอาไว้ ทุกวันเลย ตื่นนอนขึ้นมานะ ตั้งใจไว้ วันนี้เราจะไม่ทำผิดศีลห้า ตั้งใจอย่างนี้ทุกวันนะ ส่วนกลางวันศีลจะด่างพรอย กระท่อนกระแท่นก็ช่างมันนะ แต่ตื่นนอนต้องตั้งใจไว้ก่อน ย้ำกับตัวเองเอาไว้ว่าเราจะไม่ผิดศีล และพยายามรักษาให้เต็มที่ ก่อนจะนอนก็ตั้งใจอีก นอนไปวันนี้เราก็จะไม่ทำผิดศีล บางคนสงสัยทำไมจะนอนแล้วยังต้องรักษาศีล เกิดนอนแล้วไม่ได้ฟื้นขึ้นมา เป็นโรคไหลตายน่ะ อย่างน้อยก็ยังตั้งใจว่าจะรักษาศีลอยู่

รักษาศีลเนี่ย คือ เราตั้งใจไว้ว่าเราจะไม่เบียดเบียนคนอื่นนะ ด้วยกาย ด้วยวาจาเนี่ย เราจะไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่ว่ากิเลสจะเกิดขึ้นในกายใจเรารุนแรงแค่ไหน เราจะไม่เบียดเบียนผู้อื่นนะ ตั้งใจไว้อย่างนั้น วิธีที่จะรักษาศีลให้ง่ายนะ ให้มีสติ ถ้ากิเลสเกิดขึ้นที่จิตใจของเรานะ เรามีสติรู้ทันไว้ กิเลศจะครอบงำจิตไม่ได้ ถ้ากิเลสครอบงำจิตไม่ได้ ไม่ผิดศีลหรอก คนทำผิดศีลได้เพราะกิเลสครอบงำจิต เพราะงั้นพวกเราฝึกนะ คอยรู้ทันจิตของตัวเองไว้ กิเลสโผล่ขึ้นมาคอยรู้ไว้ เราจะถือศีลง่าย ถ้าเราไม่มีสติซะอย่างเดียวนะ โอกาสจะถือศีลจะยากมาก ศีลจะด่างพร้อยอย่างรวดเร็วเลย

ศีลข้อไหนด่างพร้อยง่ายที่สุด นึกออกไหม ข้ออะไร อืม รู้ทั้งรู้นะ แต่ก็ด่างนะ เพราะฉะนั้นเราต้องมีสตินะ คอยรู้ทันจิตใจเรา กิเลสอะไรเกิดเราคอยรู้นะ ราคะอะไรเกิดเราคอยรู้นะ เพราะรู้ทัน ราคะจะไม่ครอบงำจิต เราก็ไม่ไปขโมยใคร ไม่เป็นชู้ใคร ไม่ไปโกหกหลอกหลวงเอาสมบัติของใครน่ะ โทสะเกิดขึ้นเรามีสติรู้ทันนะ เราก็ไม่ฆ่าใคร ไม่ตีใคร ไม่ด่าใครนะ เราคอยมีสติรู้ทันไปเรื่อย รักษาศีลง่าย

รักษาศีลเนี่ย ศีลทำให้กายวาจาเรียบร้อย แต่เวลารักษา รักษาที่ใจ ถ้ารักษาใจได้นะ กายวาจาเรียบร้อยไปเองแหล่ะ ถ้ากายวาจาไม่เรียบร้อย ก็เพราะใจมันไม่เรียบร้อย เรามีสตินะ รักษาใจของเรา อันนี้หลวงพ่อยังใช้คำว่ารักษาใจอยู่นะ รักษาจิตใจ ยังไม่ใช่ขึ้นวิปัสสนา ถ้าถึงขั้นวิปัสสนา ไม่ใช่ขั้นรักษาแล้ว เป็นขั้นเรียนรู้ความจริง ในขั้นถือศีลนะ มีสติรักษาใจตัวเองไว้

ถัดจากนั้นเรามาฝึกสมาธิ อย่าไปกลัวคำว่าสมาธิ สมาธิเป็นเรื่องธรรมดานะ สมาธิมี ๒ จำพวก สมาธิชนิดที่หนึ่งนะ เป็นสมาธิเพื่อการพักผ่อนนะ ทำสมาธิเพื่อพักผ่อน เช่น เรา พุท โธ พุท โธนะ จิตใจเราสบายอยู่กับพุท โธ สงบ ได้พักผ่อน หายใจออก หายใจเข้า จิตใจสงบ อยู่กับลมหายใจ ได้พักผ่อน ดูท้องพองยุบนะ จิตใจสงบอยู่กับท้อง ได้พักผ่อน ไปเดินจงกรมนะ จิตใจสงบอยู่กับร่างกาย จะอยู่กับเท้า หรืออยู่กับร่างกายทั้งร่างกายก็ได้ แบบนี้ก็ได้พักผ่อน คือจิตได้ไปอยู่สงบ อยู่กับอารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่อง สบายอยู่ในอารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่อง จิตสงบได้พักผ่อน

จิตปกตินั่น ร่อนเร่อยู่ตลอดเวลานะ หยิบฉวยอารมณ์โน้น หยิบฉวยอารมณ์นี่ตลอดเวลานะ สังเกตดู ใจของเราเดี๋ยวก็อยากดู เดี๋ยวก็อยากฟัง เดี๋ยวก็อยากได้กลิ่น เดี๋ยวก็อยากได้รส เดี๋ยวก็อยากสัมผัสโน่นสัมผัสนี่ เดี๋ยวก็อยากทางใจ อยากชิม อยากนึก อยากปรุง อยากแต่ง อยากสงบ อยากได้มรรคผลนิพพานนะอยากดี ไม่อยากชั่ว อยากสุขไม่อยากทุกข์ มีความอยากเกิดขึ้นตลอดเลย

จิตมันหิวอารมณ์ มันก็ดิ้นหาอารมณ์ไปเรื่อย ไม่สงบ เราก็เลือกดู ว่าถ้าเราอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุขนะ เราก็อยู่กับอารมณ์ชนิดนั้นนะ พอจิตได้ยินอารมณ์ ได้เสวยอารมณ์ที่มีความสุขแล้ว จิตก็ไม่ร่อนเร่ไปที่อื่น

หลักของการทำสมถะนะ ทำสมาธิให้เป็นสมถกรรมฐานเพื่อพักผ่อนเนี่ย เราเลือกดูว่าเราอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุข ต้องเป็นอารมณ์ที่เป็นกุศลนะ อย่างหลวงพ่อตั้งแต่เด็กนะ อยู่กับลมหายใจนะ แล้วมีความสุข ดังนั้นเวลาต้องการการพักผ่อน หลวงพ่อก็มารู้ลมหายใจ จิตไม่หนีไปที่อื่น จิตอยู่กับลมหายใจ อยู่ในอารมณ์อันเดียว ไม่ร่อนเร่ ไปตะครุบอารมณ์โน่นทีอารมณ์นี่ที จิตใจสงบมีความสุขขึ้นมา ได้พักผ่อน อันนี้เป็นสมาธิแบบหนึ่งนะ

สมาธิแบบที่สองเป็นสมาธิของการเตรียมความพร้อมทางจิตใจ เพื่อจะไปทำการเจริญปัญญา หรือทำวิปัสสนา สมาธิอันที่หนึ่งทำไปเพื่อพักผ่อน ให้มีความสุข มีความสงบ สมาธิอันที่สองเป็นการเตรียมจิตให้พร้อมกับการเจริญปัญญานะ จิตที่จะเจริญปัญญาได้ต้องเป็นจิตที่ตั้งมั่นนะ ไม่ใช่สงบแล้วก็เพลินอยู่กับความสุขความสงบ จิตที่ใช้เดินปัญญาได้เป็นจิตที่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้สึกตัว เป็นจิตที่รู้สึกตัว จิตชนิดนี้จะไม่ไหลตามอารมณ์ แต่ว่าอารมณ์มันจะไหลผ่านมา จิตเป็นแค่คนดู จิตไม่ไหลตามอารมณ์ ไม่เหมือนอารมณ์ชนิดแรกนะ อารมณ์ชนิดแรกน่ะ จิตไปแนบอยู่กับตัวอารมณ์ รู้ลมหายใจ จิตไปอยู่กับลมหายใจ รู้ท้องจิตไปอยู่ที่ท้อง รู้มือจิตอยู่ที่มือ แล้วไม่หนีไปที่อื่น สงบอยู่อย่างนั้น

สมาธิอย่างที่สองที่จะใช้เดินปัญญาเนี่ยนะ จิตตั้งมั่นเป็นแค่คนดู เห็นอารมณ์ทั้งหลายผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป จิตตั้งมั่นเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู ไม่ไหลตามอารมณ์ไป คล้ายๆ เราอยู่บนฝั่งริมแม่น้ำ ริมคลอง เรายืนอยู่บนฝั่งเห็นสิ่งต่าง ๆ ลอยน้ำมา ท่อนไม้ลอยน้ำมาบ้างนะ หมาเน่าลอยมาบ้าง ดอกไม้ลอยมาบ้างนะ เห็นเรือผ่านมาบ้าง เห็นคนว่ายน้ำผ่านมาบ้าง เราอยู่บนบก เราไม่โดดลงในน้ำ เราเห็นทุกอย่างไหลผ่านหน้าเราไปเฉยๆ

สมาธิชนิดนี้นะ จิตจะตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดู เห็นปรากฎการณ์ทั้งหลาย ไหลผ่านหน้าไป เช่น เห็นความสุขไหลผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความทุกข์ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความสงบผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความฟุ้งซ่านผ่านมาแล้วก็ผ่านไปนะ เห็นความโลภ ความโกรธ ความหลงผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เห็นความดีใจ ความเสียใจ ความกลัว ความเกลียด ความพยาบาทนะ เห็นทุกสิ่งทุกอย่างนั่นแหล่ะ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป จิตเป็นคนดู ดูอยู่ห่าง ๆ นะ

เราต้องค่อย ๆ ฝึกนะ ให้มีจิตชนิดนี้ จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเนี่ย เป็นจิตที่หลุดออกจากโลกของความคิด เป็นจิตที่หลุดออกจากโลกของความคิดนะ จิตที่ไหลไปแช่ไปนิ่งอยู่ในอารมณ์ มักจะเพลินไปในโลกของความคิด ยิ่งคิดถึงพุทโธ คิดถึงลมหายใจ คิดถึงท้องพองยุบนะ แล้วก็เพลินไป ส่วนจิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนะ มันจะหลุดออกจากโลกของความคิดได้

วิธีที่จะฝึกไม่ยากเท่าไรนะ ฝึกสังเกตจิตที่ไหลไปคิด จิตที่หลงไปคิด วิธีฝึกนะ เบื้องต้นทำกรรมฐานสักอันหนึ่งก่อน กรรมฐานอันที่เคยทำนั่นแหล่ะ เคยพุทโธ ก็พุทโธ เคยรู้ลมหายใจก็ลมหายใจ เคยดูท้องพองยุบก็ดูท้องพองยุบไปนะ เคยทำกรรมฐานอะไรก็ทำไป แต่ไม่ได้ทำเพื่อให้จิตเข้าไปแนบ เข้าไปนิ่ง อยู่กับตัวกรรมฐาน ปรับ ปรับการทำนิดหนึ่งนะ ปรับการทำนิดหนึ่ง เช่น เราอยู่กับพุทโธ พุทโธไป แล้วรู้อะไร รู้ทันจิต รู้ทันจิตเลยนะ พุทโธ พุทโธไป จิตสงบอยู่ รู้ว่าสงบอยู่ พุทโธ พุทโธ พุทโธ จิตหนีไปคิด รู้ว่าจิตหนีไปคิด หรือบางคนอยู่กับลมหายใจนะ แต่เดิมรู้ว่าลมหายใจ จิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ ที่นี่เป็นแบบแรก สงบ ถ้าสมาธิแบบที่สองนะ เห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดูอยู่ หายใจไปด้วยความรู้สึกตัวนะ หายใจไปด้วยความรู้สึกตัว จิตไม่ไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ แล้วต่อมาจิตหนีไปคิด จิตไหลไปคิดปึ้บ มีสติรู้ทันว่าจิตไหลไปคิด เมื่อไรรู้ทันว่าจิตหนีไปคิดนะ เมื่อนั่นจิตจะตื่นขึ้นมา

ที่หลวงพ่อบอกว่า ตื่น  ๆ บางคนไปโม้นะ บอกว่าตัวเองได้พระโสดา เพราะหลวงพ่อบอกว่าตื่นแล้ว ตื่นนี่แค่เบื้องต้นมีสมาธิเท่านั้นเอง เบื้องต้นเพื่อเจริญปัญญาต่อไป หลวงพ่อเทียนจึงบอกว่า ถ้ารู้ว่าจิต คิดจะได้ต้นทาง ต้นทางของการปฏิบัตินะ ไม่ใช่ได้โสดา เพราะงั้นเรารู้สึกตัวขึ้นมานะ จิตไหลไปคิดเรารู้ พุทโธ พุทโธ จิตหนีไปคิดเรารู้ หายใจไปหายใจออกหายใจเข้า จิตหนีไปคิดเรารู้ ดูท้องพองยุบไป จิตหนีไปคิด เราคอยรู้ เพราะงั้นจิตไหลไปอยู่ที่ท้องก็คอยรู้นะ จิตไปเพ่งก็รู้ จิตคอยคิดจิตก็รู้

สรุปแล้วก็คือ ทำกรรมฐานขึ้นสักอันหนึ่ง แล้วจิตไปเพ่งก็รู้ จิตเผลอไปก็รู้ เมื่อก่อนหลวงพ่อพูดเรื่อยๆ เผลอกับเพ่ง จำได้ไหม ถ้าไม่เผลอ ไม่เพ่งจิตก็ตื่นขึ้นมา เป็นผู้รู้ผู้ตื่น จิตมีสมาธินั่นเอง เพราะงั้นเราทำกรรมฐานขึ้นสักอันหนึ่ง แล้วจิตไปเพ่งอารมณ์ ไปเพ่งลมหายใจเข้าออกก็รู้ ไปดูท้องพองยุบแล้วจิตไปอยู่ที่ท้องก็รู้ เดินจงกรมแล้วจิตไปอยู่ที่เท้าก็รู้ รู้ทันนะ พอรู้ทันแล้วจิตมันจะถอนตัวขึ้นมาเป็นผู้รู้ได้ทันได้เอง

หรือจิตหลงไปคิด หายใจอยู่ พุทโธอยู่ ดูท้องพองยุบอยู่ จิตหลงไปคิดแล้ว รู้ทัน พอรู้ทันแล้วจิตจะถอนตัวขึ้นมา เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนะ จิตตัวนี้จะโปร่ง โล่ง เบา อ่อนโยน นุ่มนวล คล่องแคล่ว ว่องไว ไม่หนัก ไม่แน่น ไม่ซึม ไม่ทื่อนะ จิตชนิดนี้แหล่ะ พร้อมที่จะเจริญปัญญาแล้ว

เพราะฉะนั้นสมาธินั่นก็มี ๒ ส่วน สมาธิที่ทำไปเพื่อความสุข ความสงบ อันหนึ่ง สมาธิเพื่อเตรียมจิตให้พร้อมกับการเดินปัญญาเป็นอีกอย่างหนึ่งนะ พอจิตพร้อมกันการเดินปัญญา รู้ตัวแล้วเนี่ย ไม่หยุดอยู่แค่นั้น ต้องมาเดินปัญญานะ

การมาเดินปัญญานั่นเบื้องต้น ต้องหัดแยกธาตุ แยกขันฑ์ให้ได้ อย่างน้อยต้องแยกเรื่องรูปธรรม นามธรรมออกจากกันให้ได้นะ พอใจเราตั้งมั่นให้เป็นผู้รู้ผู้ดูแล้ว เราคอยรู้สึกลงไป เห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายพองยุบ ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน ใจเป็นคนดู เห็นร่างกายเคลื่อนไหว ร่างกายหยุดนิ่ง จิตใจเป็นคนดูนะ ทำตัวเป็นคนดูนะ ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง ใจเป็นคนดู หัดอย่างนี่บ่อย ๆ นะ นั่งสมาธิไปก็ได้ นั่งไปแล้วก็เห็นร่างกายหายใจ สังเกตไหม ใจเราอยู่ต่างหาก ใจเราตั้งมั่นอยู่ เป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ ร่างกายมันหายใจ ร่างกายไม่ใช่จิตใจ

นี่หัดอย่างนี้นะ หัดแยกขันธ์ พอเราแยกได้ เราจะเห็นว่าร่างกายกับจิตใจเป็นคนละอย่างกัน ร่างกายกับจิตใจอยู่ห่าง ๆ นะ ไม่ได้อยู่เป็นเนื้อเดียวกันอย่างแต่เดิม ตลอดชีวิตที่รู้สึกมาแล้ว ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่งนะ นั่งต่อไปด้วยความอดทนนะ นั่งต่อไปสักพักใหญ่  ๆ มันเมื่อย เราจะเห็นเลยความปวดความเมื่อยมันแทรกเข้ามา เนี่ยแทรกเข้ามาในร่างกาย ร่างกายตั้งมั่นอยู่ก่อน ตั้งอยู่ก่อน ความเมื่อยมาทีหลัง เพราะฉะนั้นความเมื่อยไม่ใช่ร่างกายหรอก เป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา จิตก็เป็นคนดูอยู่อย่างเดิมนะ เราก็จะเห็นได้ว่าร่างกายก็เป็นส่วนหนึ่งนะ นี่คือรูปขันธ์นะ ความปวดความเมื่อยเรียกว่า เวทนาขันธ์ จิตเป็นวิญญาณขันธ์

แยกได้ ๓ ขันธ์นะ พอมันปวดมันเมื่อยมาก ๆ นะ จิตใจมันทุรนทุราย ชักทุรนทุรายแล้ว โอ๊ย นั่งนาน ๆ เดี๋ยวเป็นอัมพาตนะ อย่างโน่นอย่างนี่ ชักกังวลล่ะ ความกังวลไม่ได้เกิดที่ร่างกาย รู้สึกไหม ความกังวลเกิดที่ใจ แต่เดิมใจไม่ได้กังวล แต่ตอนนี้ใจมันกังวล ความกังวลเป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาในใจ เพราะฉะนั้นความกังวลไม่ใช่ใจหรอก มันเป็นขันธ์อีกขันธ์หนึ่ง เรียกว่า สังฆารขันธ์ นะ หัดอย่างนี่นะ หัดซ้อมไปเรื่อย ต่อไปเราจะแยกขันธ์ได้หมดเลย รูปก็ส่วนรูปนะ ร่างกายมันก็ยืน เดิน นั่ง นอน หายใจไป กินอาหารไป ขับถ่ายไป ทำงานของมันไป เวทนาเป็นความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ที่เกิดในร่างกายบ้าง ความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ รู้สึกเฉย ๆ ที่เกิดในจิตใจบ้าง สังขารนั่นเป็นความปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงไม่ดี ปรุงไม่ชั่วที่เกิดขึ้นทางใจ ไม่เกิดทางกายนะ จิตก็เป็นผู้รู้ ผู้ดูอยู่

นี่ฝึกอย่างนี่เรื่อย ๆ ขันธ์แต่ละขันธ์นั่นจะแยกตัวออกไป พอขันธ์แยกตัวออกไป เรียกว่า พวกเรามีปัญญาขั้นต้นล่ะ ถัดจากนั้น ขันธ์แต่ละขันธ์จะแสดงไตรลักษณ์ ร่างกายแสดงความไม่เที่ยง แสดงความทุกข์ แสดงการบังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวเรา เวทนา สังญา สังขาร วิญญาณไรเนี่ย ก็ล้วนแต่แสดงไตรลักษณ์ อนิจจัง อนัตตา เสมอกันหมดเลยนะ

แต่ถ้าจิตเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด จิตเองก็ไม่เที่ยงนะ เดี๋ยวก็เป็นผู้สุข เดี๋ยวก็เป็นทุกข์ เดี๋ยวก็เป็นผู้ดี เดี๋ยวก็เป็นผู้ร้าย จิตก็มีความไม่เที่ยง เนี่ยเราเรียนรู้ลงในขันธ์ห้า นะ ในสิ่งที่เรียกว่าตัวเรา ในขันธ์ห้า เนี่ย เรียนรู้ลงไป เห็นแต่ความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ในตัวเรา เนี่ยแหล่ะคือการเดินวิปัสสนากรรมฐาน ดูลงไปในความเป็นจริงของกายของใจนะ ไม่ใช่แค่คิดเอา ต้องดูของกายจริง ๆ ของใจจริง ๆ ดูของจริง

เมื่อเดินปัญญาแก่รอบแล้วเนี่ย ต่อไปวิมุตติจะเกิดขึ้น จิตมันรู้ความจริงแล้วเนี่ยว่า ขันธ์ห้า มันเป็นตัวทุกข์นะ จิตจะวางขันธ์ จิตปล่อยวางขันธ์นะ จิตจะไปรู้พระนิพพานนะ ถ้าจิตไม่ได้หลงไปในโลกของความคิด คือ ไม่ได้หลงไปในบัญญัติ ไม่ได้หลงไปเพ่งกายเพ่งใจ หลงอยู่ในรูปธรรมนามธรรม จิตก็ไปรู้นิพพานนะ จิตไปรู้นิพพาน ไม่ได้ไปรู้บัญญัติ ไม่ได้ไปรู้รูปนาม ก็ต้องไปรู้นิพพาน จิตต้องรู้อารมณ์นะ นี่เราฝึกนะ วันหนึ่งเรานิพพาน นิพพานยังไม่ต้องตาย นิพพานยังมีชีวิตอยู่ ยิ่งอยู่ยิ่งแก่นะ ยิ่งมีความสุขมากขึ้นๆ นะ สดชื่น นึกถึงทีไรสดชื่น จิตใจคึกคักห้าวหาญเหมือนอย่างที่ครูบาอาจารย์ท่านเป็นนะ


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
Track: ๑๓
File: 530516A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๕ วินาทีที่ ๒๘ ถึง นาทีที่ ๓๒ วินาทีที่ ๒๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ศีล สมาธิ ปัญญา ในองค์มรรค

mp 3 (for download) : ศีล สมาธิ ปัญญา ในองค์มรรค

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เรียนหลักของการปฏิบัติให้แม่นๆนะ เราต้องทำด้วยตัวเอง ชาวพุทธเราไม่มีของฟรีหรอก ไม่มี ทุกอย่างอยู่ในเรื่องของกฎของกรรม ใครทำคนนั้นก็ได้ ไม่ทำก็ไม่ได้ ทำแบบไหนก็ได้แบบนั้น ทำชั่วก็ได้รับผลของความชั่ว ทำดีก็ได้รับผลของความดี รักษาศีลก็ได้รับผลของศีล ทำทานก็ได้รับผลของทาน ทำสมถะได้ความสุขได้ความสงบ ได้ความดี ทำวิปัสสนาได้ปัญญาเห็นความจริง เพราะฉะนั้นต้องทำให้ตรง

เวลาที่มรรคผลจะเกิดนะ ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องพร้อม เพราะฉะนั้นเราต้องทำให้พร้อมนะ ท่านบอกกุศลทำให้ถึงพร้อม ไม่ใช่เจริญปัญญาอย่างเดียวแล้วจะบรรลุได้นะ ศีลก็ต้องรักษา สมาธิก็ต้องทำ เพราะฉะนั้นถ้าศีล สมาธิ ปัญญา ไม่พร้อม ไม่มีอริยมรรคเกิดขึ้น ถ้าจะทำก็ต้องทำเหตุ กับผล ให้ตรงกัน อยากได้ผลอย่างนี้ ต้องทำเหตุอย่างนี้

อยากจะได้ศีล ให้ใจเรามีศีลจริงๆ ต้องมีเจตนางดเว้นการทำบาปอกุศลทางกายทางวาจา ถ้าไม่มีเจตนางดเว้นก็ไม่ได้เรียกว่ามีศีล

ยกตัวอย่างเด็กเล็กๆ เกิดใหม่ๆนะ เป็นชู้กับใครไม่ได้ บอกไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ใช่หรอกนะ มันไม่ประพฤติเพราะไม่มีความสามารถจะประพฤติ หรือแก่งั่กเลยนะ เดินยังไม่ไหวเลย กระย่องกระแย่งนะ มีชู้ไม่ไหว อะไรอย่างนี้ ก็ไม่ได้จัดว่าเป็นศีล

มีศีลหมายถึงว่ามีเจตนาที่จะงดเว้นจริงๆ ถึงมีโอกาสทำก็ไม่ทำ ผลของศีลก็มีอยู่ ท่านก็สอนนะ สีเลนะ สุคติง ยันติ (สีเลน สุคตึ ยนฺติ) ศีลนั้นมีความสุขอยู่เบื้องหน้านะ สีเลนะ โภคะสัมปทา (สีเลน โภค สมฺปทา) มีโภคะ ถือศีลแล้วรวยได้ คนไม่มีศีลไม่รวยง่ายนะ ยกตัวอย่างกินเหล้า ติดยาเสพติด คบคนไม่ดี อะไรพวกนี้นะ หาเจริญยาก ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ลำบาก สีเลนะ นิพพุติง ยันติ (สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ) ศีลนี้เป็นปัจจัยไปสู่นิพพาน เนี่ย อานิสงส์ของศีลก็มี

เราต้องรักษาศีล ถึงทำผิดได้ก็ไม่ทำนะ ถูกยั่วยวนอย่างไรก็ไม่ทำผิด อย่างนี้เรียกว่ามีศีล ถ้าเรามีศีลเราจะงดงามนะ มีความงามในตัวเอง มีความน่าเชื่อถือ มีเครดิต คนไม่มีศีลไม่มีเครดิต พอไม่มีเครดิต พอไม่ได้รับความเชื่อถือนะ โอกาสจะประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงอะไรนี้ ยาก

เพราะฉะนั้นเราต้องมีเจตนางดเว้น การทำผิดทำบาป ทางกายทางวาจานะ ต้องเจตนางดเว้น ตั้งใจไว้เลย ตื่นนอนขึ้นมาตอนเช้านะ ตั้งใจไว้ วันนี้จะไม่ทำผิดศีล กลางวันก่อนจะกินข้าวนะ ตั้งใจไว้ วันนี้จะไม่ทำผิดศีลอีก ถ้าตั้งใจอย่างนี้เข้าไปในร้านอาหารบางแห่งไม่ได้ละ จะต้องไปเลือกเอาตัวนี้ๆ อะไรอย่างนี้นะ อย่างนี้ทำไม่ได้ละ ก่อนจะนอนนะ ตั้งใจไว้อีก จะไม่ทำผิดศีล จำเป็นยังไงก่อนจะนอนก็ต้องตั้งใจ เผื่อไม่ได้ตื่น เผื่อนอนหลับไปแล้วไม่ตื่นอีกเลย ไฟครอกตาย หรือเป็นโรคหัวใจวายตาย อย่างน้อยตอนก่อนจะตายได้รักษาศีลไว้แล้ว มีศีลเป็นเครื่องคุ้มครองเรา

ลองตั้งใจรักษาศีลวันละ ๓ ครั้งนะ ก่อนอาหาร แถมอีกครั้งหนึ่ง ก่อนนอน ถ้าตั้งใจอย่างนี้นะ ใจเราจะเคล้าเคลียในธรรมะง่ายขึ้น มันจะมีกำลังนะ ทำให้เราไปสู่มรรคผลนิพพานได้ง่าย

ถ้าทุศีลสักอย่างหนึ่ง อย่ามาอวดเรื่องสมาธิเลย ถ้าไม่มีศีลนะ สมาธิที่เคยมีก็จะเสื่อม จะเสื่อมเห็นๆเลยมีตัวอย่างให้เห็น แต่จะเห็นหรือไม่เห็นนั้น ก็สุดแต่ แต่ละคนจะเห็น

ยกตัวอย่างพระเทวฑัต มีสมาธินะ เหาะได้ แปลงตัวได้ ปลอมตัวเป็นเด็กได้ ทำเป็นเบบี๋มาหลอกอชาติศัตรู แต่ว่าไม่ถือศีลนะ ในที่สุดสมาธิเสื่อม เคยเหาะได้นะ ในที่สุดต้องให้คนหามมาเฝ้าพระพุทธเจ้า

พวกพระก็รีบมาส่งข่าวให้พระพุทธเจ้ารู้ว่า พระเทวฑัตกำลังเดินทางมาแล้ว กำลังจะมาเฝ้า เพื่อว่าจะมาขอขมาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านบอกว่ามาไม่ถึงหรอก เทวฑัตนี้มาไม่ถึง บาปมาก มาไม่ถึง พวกพระก็คอยไปสืบนะ โอ้.. ตอนนี้มาถึงประตูเมืองแล้วพระเจ้าข้า… มาไม่ถึงหรอก… ตอนนี้มาถึงประตูวัดแล้วพระเจ้าข้า… ไม่ถึงหรอก…

พอมาถึงประตูวัด ใกล้ๆวัดแล้วเนี่ย แกก็พักนะ กินน้ำกินท่า คล้ายๆล้างหน้าล้างตา เดินทางมาไกล ถูกดินดูดลงไปตรงนั้น ไม่ถึงจริงๆ

เนี่ยทำไมไม่เหาะมา เหาะมาไม่ไหวแล้ว เหาะมาไม่ได้ ทำอะไรเก่งๆได้เหนือมนุษย์ธรรมดา ตอนนี้ทำไม่ได้แล้ว เพราะขาดศีลอันหนึ่ง สมาธิจะเสื่อม เพราะฉะนั้นพวกเรามีศีลไว้นะ คนที่มีศีลเนี่ย สมาธิเกิดง่าย ยกตัวอย่างนะ ถ้าใจเราไม่คิดฆ่าใคร ไม่คิดเบียดเบียนใครนะ ใจเราสงบง่าย ถ้าใจเราผิดศีลนะ คิดจะฆ่าเขา คิดจะทำลายเขา ใจไม่สงบๆ สมาธิก็เสื่อมสิ

คิดจะลักเขา ขโมยเขานะ ไปขโมยมาแล้วอะไรอย่างนี้ ก็วุ่นวายใจ กลัวเขาจับได้ จิตใจมันวุ่นวาย สมาธิก็เสื่อมสิ เป็นชู้เขา กลัวเขาฆ่า เคยเห็นในการ์ตูนมั้ย ชอบไปแอบในตู้เสื้อผ้า หรือไปปีนหน้าต่างหนี อะไรอย่างนี้นะ มีความสุขมั้ย ไม่มีความสุขนะ จิตใจไม่มีความสุข ก็ไม่มีความสงบจริงหรอกนะ ฟุ้งซ่าน

คนโกหกเขาก็ต้องจำเยอะ ใช่มั้ย คนโกหกเนี่ยนะ คิดอะไรไม่ค่อยเป็นแล้ว เพราะเอาเมมโมรี่นะไปใช้ในการจำข้อมูลเก่าๆที่ไปโกหกคนไว้ ใจก็ฟุ้งซ่านนะ โกหกคน พูดเท็จ ไม่สงบนะ กินเหล้าเมายา จิตใจไม่สงบ

เพราะฉะนั้นศีลจำเป็นมากนะ ถ้ามีศีลนะ สมาธิเกิดง่าย มีสมาธิเกิดง่ายปัญญาก็เกิดง่าย เพราะฉะนั้นศีลนี้แหละเป็นปัจจัยให้ไปนิพพานได้ เพราะมันเกื้อกูลให้มีสมาธิ มีสมาธิเกื้อกูลให้เกิดปัญญา

วั้นนี้ต้องเทศน์ปิดท้ายด้วยเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะพวกที่มาเรียนเข้าคอร์สวันนี้จะจบแล้ว เดี๋ยวจบไปแล้วก็รู้แต่เจริญสติไม่ต้องรักษาศีล ไปไม่รอดนะ ต้องมีให้ครบ ไม่งั้นอริยมรรคจะไม่เกิด

ถ้าไปดูในองค์มรรคนะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ องค์มรรค ๓ ตัวนี่นะเรื่องศีลทั้งนั้นเลย สัมมาวาจาเนี่ยศีลข้อ ๔ สัมมากัมมันตะ(อยู่ใน)ศีลข้อ ๑,๒,๓ ต้องให้บอกมั้ย (ศีลข้อ)๑ ๒ ๓ คืออะไร ศีลข้อ ๑ ปาณาติบาต ทำร้ายสัตว์ ฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ ข้อ ๒ ลักทรัพย์เค้า ฉ้อโกงเค้า ข้อ ๓ ประพฤติผิดในกาม สัมมาวาจาข้อ ๔ สัมมากัมมันตะข้อ ๑ ๒ ๓ สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตของเรา ต้องเลี้ยงอย่างบริสุทธิ์นะ จนไม่เป็นไร ความจนไม่น่ารังเกียจ ความโกงน่ารังเกียจ เราอย่าปล่อยให้ค่านิยมเลวๆมันครอบงำเรา

ทุกวันนี้เราถูกเสี้ยมสอนให้เลวหนักขึ้นๆ ให้เห็นความเลวเป็นเรื่องปกติ อย่างนักการเมืองบางคนมาสอนพวกเรานะ ว่าโกงไม่เป็นไร คอรัปชั่นไม่เป็นไร ขอให้มีผลงาน นี่สอนสิ่งที่เลวร้ายให้เรานะ เราต้องไม่เชื่อฟัง ชาว พุทธเราต้องสะอาดในการดำรงชีวิต ในการจะอยู่การจะทำอะไร ทุกสิ่งทุกอย่างต้องสะอาดพอ ถ้ารู้สึกว่ายอมสกปรกได้ กิเลสมันล้างไม่ได้จริงหรอก ของหยาบๆยังล้างไม่ได้เลย การจะมีชีวิตอยู่ในโลกให้สะอาด ยังทำไม่ได้เลย จะทำใจให้สะอาดเนี่ยเป็นไปไม่ได้เลย

งั้นเราต้องเลี้ยงชีวิตนะ จนไม่เป็นไรนะ อย่าไปอายกับความยากจน ให้อายกับความชั่วร้าย แล้วก็อย่าไปยกย่องคนชั่วร้ายที่ร่ำรวยด้วย มันช่วยกันสร้างค่านิยมที่เลวให้มากขึ้นๆนะ สังคมของเราทุกวันนี้ถึงร้อนเป็นฟืนเป็นไฟไปหมด ทุกหนทุกแห่งแล้ว เพราะว่าเราช่วยกันสร้างค่านิยมที่เลวๆนานาชนิดขึ้นมา เช่นใช้วิธีอะไรก็ได้เพื่อบรรลุผลสำเร็จ นี่เป็นค่านิยมที่เลวร้ายมากเลย ทุกวันนี้ดูสิบ้านเมืองจะเป็นยังไง มันเป็นอนาธิปไตยนะ อะไรก็ได้ขอให้สำเร็จเถอะ เนี่ยมันจะอยู่กันไม่ไหว

เพราะงั้นเราต้องตั้งใจนะ รักษาศีลนะ รักษาศีล เลี้ยงชีวิตของเราให้บริสุทธิ์ นี่อยู่ในองค์มรรคทั้งสิ้นเลย

ถัดไปเราฝึกเรื่องสมาธิ ในส่วนของเกี่ยวกับสมาธิเนี่ย มีองค์มรรคอยู่ ๓ ตัว ๓ ใช่มั้ย ๓ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาวายามะเป็นยังไง สัมมาสติเป็นยังไง สัมมาสมาธิเป็นยังไง

สัมมาวายามะคือความเพียรชอบ อะไรที่เรียกว่าความเพียรชอบ เพียรละอกุศลที่มีอยู่ เพียรปิดกั้นอกุศลใหม่ไม่ให้เกิด เพียรเจริญกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิด เพียรพัฒนากุศลที่เกิดแล้วนะให้มากยิ่งขึ้น นี่เรียกว่าสัมมาวายามะ

หน้าที่เรามีนะ ไม่ใช่บอก ฉันจะรู้สึกตัวเฉยๆ รู้สึกตัวเฉยๆ แค่นั้นไม่พอนะ ต้องสำรวจตัวเองด้วย อกุศลอะไรยังไม่ละ กุศลอะไรยังไม่เจริญ สำรวจตัวเองไปเรื่อยๆ เพราะงั้นชีวิตเราจะมีทิศทาง ชีวิตเราจะมีเป้าหมาย ไม่ใช่อยู่ล่องๆลอยๆไปวันนึง หน้าที่เรานะสำรวจใจตัวเองไว้ ที่หลวงพ่อสอนให้ดูจิตๆนี่แหล่ะ จะมาทำสัมมาวายามะได้อย่างดีเลย งั้นเรารู้ทันจิตใจของเรานี่ อกุศลอะไรเกิดขึ้นให้รู้ทัน ถ้ารู้ทันแล้วมันจะละของมันเอง วิธีที่จะละอกุศลนะ ก็คือมีสติรู้ทันมัน อกุศลใดเกิดขึ้นในใจ เช่นราคะเกิดขึ้นรู้ทัน ราคะจะดับเอง โทสะเกิดขึ้นในใจมีสติรู้ทัน โทสะจะดับเอง

เพราะงั้นที่บอกเพียรปิดกั้นอกุศล เพียรละอกุศลที่มีอยู่ เพียรปิดกั้นอกุศลใหม่ไม่ให้มีขึ้นมา ไม่ให้ครอบงำใจขึ้นมาเนี่ย ทำด้วยการมีสติรู้ทันจิตนี่เอง ถ้าเรามีสติรู้ทันจิตนะ อกุศลที่มีอยู่ก็จะดับ อกุศลใหม่จะเกิดไม่ได้เลย ในขณะที่มีสติ แต่ขณะขาดสติอกุศลเกิดได้อีก

ทำยังไงกุศลจะเจริญ ทำยังไงกุศลที่ไม่มีจะมี ที่มีแล้วจะเจริญ

มีสติไว้ สติเป็นต้นทางของกุศลนะ ถ้าขาดสติอย่างเดียวเนี่ย กุศลทั้งหลายจะไม่เกิดเลย องค์ธรรมฝ่ายกุศลจะไม่มีเลย ต้องมีสติเอาไว้ ถ้ามีสติรู้ทันจิตตัวเองเรื่อยๆ จิตมันมีกิเลสขึ้นมารู้ทันมันนะ มันละอายแก่ใจนะ มีหิริ มีโอตตัปปะขึ้นมา ละอายใจเกรงกลัวบาป เกรงกลัวผลของบาป ละอายใจที่จะทำบาป หิริคือความละอายใจที่จะทำชั่ว โอตตัปปะนะ(คือ)กลัวผลของการทำชั่ว

เนี่ยถ้าเรามีสติคุ้มครองจิตอยู่ มีสติรู้ทันจิตอยู่ มันจะเกิดหิริโอตตัปปะขึ้นมาเอง คนที่มีหิริโอตตัปปะนะจะมีศีลขึ้นมาโดยง่าย เพราะถ้ามันละอายใจที่จะทำชั่ว กลัวผลของบาปซะแล้ว มันจะทำผิดศีลไม่ได้ เพราะฉะนั้นมันเป็นการทำชั่ว เป็นการทำบาป

งั้นถ้าเรามีสตินะ มีหิริโอตตัปปะเกิดขึ้น ก็เกิดศีลขึ้นมา มีศีลแล้วก็เกิดสมาธิได้ง่าย ใจสงบง่าย มีสมาธิแล้วก็เกิดปัญญาง่าย พอใจสงบนะ ก็สามารถเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ง่าย มีปัญญาแล้ววิมุตติก็เกิดได้ง่าย มีโอกาสเกิดวิมุตติ คือใจปล่อยวางความยึดถือในรูปในนาม ในกายในใจ

เพราะงั้นมันจะเป็นทอดๆไปนะ แล้วมีสติให้มากไว้ งั้นกุศลทั้งหลายก็จะเกิดขึ้น ตัวอย่างของกุศลที่ว่ามา ก็คือหิริโอตตัปปะใช่มั้ย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ นี่เป็นส่วนของกุศลทั้งนั้นเลย มันจะค่อยๆพัฒนาขึ้นมา

งั้นเรามีสติรักษาจิตไว้นะ นั่นแหล่ะคือการทำความเพียร เคยอ่านหนังสือนะ หลวงปู่มั่นท่านบอกว่า เมื่อไรมีสติ เมื่อนั้นมีความเพียร เมื่อไรขาดสติ เมื่อนั้นขาดความเพียร นี่ท่านสอนถูกกับตำราเป๊ะเลยนะ ทั้งๆที่ท่านภาวนา แต่ความจริงท่านอ่านอภิธรรมนะ หลวงปู่มั่นนี่ท่านอ่านอภิธรรมด้วย ลองไปดูหนังสือที่ท่านอ่าน มีอภิธรรมอยู่ งั้นท่านสอนถูกทั้งปริยัติทั้งปฏิบัติ สอนเก่ง

งั้นเราจะมีสัมมาวายามะได้นะ อาศัยมีสติรู้ทันจิตนี่ แล้วอะไรคือสัมมาสติ มีสติรู้ทันจิตเป็นสัมมาสติทั้งหมดมั้ย ไม่ใช่ทั้งหมด พระพุทธเจ้าอธิบายสัมมาสติ ด้วยสติปัฏฐาน ๔ งั้นหน้าที่ของเราเจริญสติปัฏฐานนะ ไม่ใช่มีสติแล้วก็ลอยๆอยู่เฉยๆ

การเจริญสติปัฏฐานนั้น มี ๒ ขั้นตอน เรียนทันมั้ยเนี่ย มันคล้ายๆ intensive course แล้ว วันสุดท้ายแล้ว เรียนยากหน่อยนะ สติปัฏฐานเนี่ยนะมี ๒ ขั้นตอนนะ ขั้นตอนที่ ๑ ทำไปเพื่อให้เกิดสติ ขั้นตอนที่ ๒ ทำไปเพื่อให้เกิดปัญญามี ๒ ส่วนนะ ไม่เหมือนกัน

การทำให้เกิดสติใช้การตามรู้กาย ตามรู้เวทนา ตามรู้จิต ตามรู้สภาวะธรรม ใช้ตามรู้ทั้งหมดเลย เพราะงั้นท่านถึงใช้คำว่า “กายานุปัสสนา” “ปัสสนา”คือ การเห็น การรู้การเห็น จริงๆแปลว่าการเห็น “อนุ” แปลว่าตาม ตามเห็นเนืองๆซึ่งกาย ตามเห็นเนืองๆซึ่งเวทนา ตามเห็นเนืองๆซึ่งจิต ตามเห็นเนืองๆซึ่งธรรม เนี่ยพระพุทธเจ้าใช้คำว่าตามเห็นเนืองๆ แต่ตาม เห็นเนี่ย ต้องตามด้วยใจที่ตั้งมั่นนะ ใจที่ตั้งมั่น ไม่ใช่ใจที่ไหลไป ใจที่ตั้งมั่นจะไปได้ตอนฝึกสัมมาสมาธิ นี้ให้มีสัมมาสติ สัมมาสติคอยมีสติ

เบื้องต้นมีสติตามรู้กาย หายใจออกคอยรู้สึก หายใจเข้าคอยรู้สึก ยืนเดินนั่งนอน คู้เหยียด เหลียวซ้ายแลขวา คอยรู้สึก รู้สึกบ่อยๆนะ ต่อไปเนี่ย ไม่เจตนาจะรู้ มันก็รู้เอง พอร่างกายเคลื่อนไหวนะ สติจะระลึกได้เอง เนี่ยเรียกว่าเราฝึกได้สติแล้ว สติเกิดโดยที่ไม่ต้องเจตนาให้เกิด หรือบางคนตามรู้เวทนา คำ ว่าตามรู้ไม่ใช่ตามไปที่อื่นนะ ตามรู้หมายถึงว่า ร่างกายเคลื่อนไหว แล้วรู้ว่าร่างกายเคลื่อนไหว เวทนาเกิดขึ้นในกาย ก็รู้ว่าเวทนาเกิดในกาย เวทนาเกิดในใจ ก็รู้ว่าเวทนาเกิดในใจ หมายถึงเวทนาเกิดก่อน แล้วรู้ว่ามันเกิด ร่างกายเคลื่อนไหวไปก่อน แล้วรู้ว่าเคลื่อนไหว

เพราะฉะนั้นในการเดินจงกรมแบบนี้ ถูกหรือผิดหลัก? (หลวงพ่อทำให้ดู) เนี่ยแล้วค่อยๆเดินไป อันนี้เป็นการไปจ้องไว้ ไม่ใช่การตามรู้นะ ถ้าตามรู้ ไม่ทันจะระวังตัวเลย เป็นธรรมชาติธรรมดา เคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติ หายใจ มันหายใจอยู่แล้วใช่มัั้ย ตอนนี้ทุกคนหายใจอยู่มั้ย มีใครไม่หายใจมาบ้าง ทุกคนหายใจอยู่แล้ว ก็แค่รู้ว่ากำลังหายใจอยู่ รู้ว่าร่างกายกำลังหายใจอยู่ แค่นี้เอง ไม่ใช่เอาแล้วต่อไปนี้จะรู้ลมหายใจแล้ว (หลวงพ่อทำให้ดู) นี่ไม่ใช่แล้วนะ นี่ไม่ใช่การตามรู้แล้

ตามรู้เนี่ย มันมีอยู่แล้ว เรารู้ไม่ทันต่างหาก ก็รู้ให้ทันขึ้นมา หายใจอยู่แล้วใช่มั้ย ยืนเดินนั่งนอนอยู่แล้วใช่มั้ย ขณะนี้ใครไม่ยืนเดินนั่งนอน มีมั้ย ใครไม่อยู่ในอิริยาบทนี้ ไม่มี ตอนนี้กำลังนั่ง นี่มีเดินอยู่หนึ่ง นอกนั้นกำลังนั่ง มันมีอยู่แล้วนะ เราก็แค่รู้เข้าไปเท่านั้น อันนี้แหล่ะเรียกว่าตามรู้ เวทนามันก็มีอยู่แล้ว แต่ไม่เห็น ก็แค่ตามรู้เข้าไป คือรู้มันขึ้นมานะ

กุศลอกุศลในจิตมีอยู่มั้ยขณะนี้ มีมั้ย ความสงบ ความฟุ้งซ่าน ความดีใจ ความเสียใจ ความสุข ความสุขความทุกข์นี่ส่วนเวทนา โลภโกรธหลง ไม่โลภไม่โกรธไม่หลง ขณะนี้มีใครโลภบ้าง ขณะนี้มีใครไม่โลภบ้าง เนี่ยเหมือนกันหมดเลย non response เห็นมั้ยมันมีอยู่แล้ว จิตที่เป็นกุศลหรืออกุศลเนี่ย มีอยู่แล้วในขณะนี้นะ ตามรู้คืออะไร รู้เข้าไปเลยสิ มันเป็นยังไง ขณะนี้มันเป็นยังไง รู้ว่าเป็นอย่างงั้น อันนี้แหล่ะคือคำว่าตามรู้ ตามรู้เนืองๆ ดูบ่อยๆ รู้บ่อยๆ มันมีอยู่แล้ว แต่เราไม่เคยเห็น ก็คอยดูมันนะ คอยรู้มัน นี่เรียกว่าตามรู้นะ แต่การรู้เนี่ยจะต้องใจตั้งมั่น ถ้ารู้ตามจิตไหลไปนะ ปัญญาจะไม่เกิด เดี๋ยวจะไปเรียนเรื่องมรรคตัวสุดท้าย คือสมาธิ

งั้นหน้าที่เรานะ ร่างกายเคลื่อนไหว คอยรู้สึก มันเคลื่อนไหวอยู่แล้ว เวทนาเกิดขึ้นในกาย คอยรู้สึก เวทนาในกายมีอยู่แล้ว เวทนาในจิตเกิดขึ้น คอยรู้สึก เวทนาในจิตก็มีอยู่แล้ว แค่คอยรู้สึกขึ้นมา กุศล-อกุศลเกิดขึ้นในจิต ก็แค่คอยรู้ มันมีอยู่แล้ว นี่เรียกว่าตามรู้ทั้งสิ้นเลย เพราะงั้นการตามรู้ไม่ใช่ ส่งจิตตามไปที่อื่นนะ รู้อยู่เฉพาะหน้า รู้อยู่กับปัจจุบัน แต่ว่าสภาวะมันมีอยู่แล้ว ก็รู้มัน นี่เรียกว่าตามรู้ ตามรู้เนืองๆ นี่ทำให้เกิดสตินะ

พอรู้บ่อยๆ จิตจะจำสภาวะได้แม่น อย่างเราหัดขยับตัวแล้วรู้สึก ขยับตัวแล้วรู้สึก วันนึงเราใจลอย พอใจลอยปุ๊บ เราเกิดขยับขึ้นมาโดยไม่ได้เจตนาจะรู้สึกนะ มันจะรู้สึกขึ้นเอง สติตัวจริงเกิดแล้ว เกิดโดยไม่เจตนานะ ไม่เจือด้วยโลภะ แล้วค่อยฝึกไปเรื่อยนะ บางคนดูเวทนา ดูบ่อยๆ ต่อไปพอนั่งๆอยู่ มดมากัดเจ็บปั๊บ สติเกิดเลย เห็นเวทนาเกิดขึ้นในกาย กายอยู่ส่วนนึง เวทนาอยู่ส่วนนึง จิตเป็นคนดู นี่เกิดสติขึ้นมา ใจตั้งมั่น รู้สึกขึ้นมา หรือเห็นกุศลอกุศลนะ หัดดูไปเรื่อย กุศลอกุศลใดๆเกิดขึ้นในใจ คอยหัดดูไปเรื่อย ที่หัดดูจิตๆ หัดดูไปอย่างนั้นแหล่ะ ในที่สุดก็ได้สติขึ้นมา รู้สึกขึ้นมา กิเลสเกิดแว้บ รู้สึกเลย อย่าว่าแต่ตอนตื่นเลย ตอนนอนหลับนะ กิเลสเกิดยังรู้สึกเลยอัตโนมัติขึ้นมา

นี่เราฝึกไปจนสติมันอัตโนมัตินะ ถึงจะใช้ได้ ถ้าสติยังต้องจงใจให้คอยเกิดอยู่ ยังอ่อนอยู่ ต้องฝึกไปอีก หัดรู้สภาวะมากๆนะ สติจะเกิด

สติปัฏฐานเนี่ย เบื้องต้นทำให้มีสติ เบื้องปลายจะมีปัญญา

แต่ก่อนจะเกิดปัญญา ต้องมาเรียนสัมมาสมาธิก่อน สัมมาสมาธิพระพุทธเจ้าอธิบายสัมมาสมาธิด้วยฌาน ๔ ทำไมเอาแค่ฌาน ๔ แล้วอรูปฌานอีก ๔ หายไปไหน อรูปฌาน ๔ นั้นสงเคราะห์เข้าในฌานที่ ๔ เพราะมีองค์ธรรมเท่ากัน มีอุเบกขากับเอกัคคตา เป็นองค์ธรรมหลักคืออุเบกขากับเอกัคคตา งั้นสรุปก็คือฌาน ๘ นั่นเอง

แต่ถ้าพูดอย่างปริยัติ ท่านอธิบายด้วยฌาน ๔ ทำไมต้องเป็นฌาน ถ้าไม่เข้าฌาน ไม่เป็นสัมมาสมาธิรึ ท่าน อธิบายฌาน ๔ สัมมาสมาธิด้วยฌาน ๔ เนี่ย เพราะท่านพูดถึงสัมมาสมาธิแท้ๆ สัมมาสมาธิแท้ๆเกิดขณะเดียว ในขณะที่เกิดอริยมรรค เกิดขณะจิตเดียวนั่นแหล่ะ

เพราะงั้นที่บอกว่าองค์มรรคๆ ๘ ตัวนี่นะ ไม่ได้เกิดรายวัน แต่องค์มรรคแท้ๆเนี่ย เกิดในขณะที่เกิดอริยมรรค เพราะงั้นขณะที่พวกเรามีสติอยู่ทุกวันเนี่ย บางคนก็บอกเป็นสัมมาสติ อันนั้นเรียกเอาหน้าเท่านั้นเอง จริงๆไม่เป็น ที่บอกเรามีสัมมาสมาธิอยู่ มีใจตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว นี่เรียกโดยอนุโลม จริงๆยังไม่ใช่สัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิแท้ๆเกิดตอนที่เกิดอริยมรรค

แล้วขณะที่เกิดอริยมรรคนั้น จะต้องเกิดร่วมกับองค์ฌานอันใดอันหนึ่ง ต้องเกิดกับฌานขั้นใดขั้นหนึ่ง อย่างน้อยปฐมฌานจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ จนถึงฌานที่ ๔ บางคนลึกซึ้งลงไปกว่านั้นอีก ในฌานที่ ๔ นั้นรูปหายไป เหลือแต่นามธรรมล้วนๆ เข้าไปอรูปฌาน

งั้นท่านอธิบายตัวสัมมาสมาธิเนี่ย ท่านถึงไปอธิบายด้วยฌาน แต่ใน ขั้นการปฏิบัติเนี่ย ขั้นบุพภาคมรรค ขั้นเบื้องต้นของมรรค มรรคเบื้องต้น ยังไม่ใช่อริยมรรคเนี่ย ไม่จำเป็น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเกิดอัปปนาสมาธิ ถ้าเราไม่มีอัปปนาสมาธิ ทำอัปปนาสมาธิไม่ได้ เราใช้ขณิกสมาธินี่แหล่ะ สมาธิเป็นขณะๆคอยรู้ทัน จิตมันฟุ้งซ่านไป คอยรู้ทัน จิตมันฟุ้งซ่านไป คอยรู้ทัน รู้บ่อยๆนะ มันจะได้สมาธิเป็นขณะๆ เพราะในขณะที่รู้ทันว่าฟุ้งซ่านจะไม่ฟุ้งซ่าน ในขณะที่ไม่ฟุ้งซ่าน ขณะนั้นแหล่ะมีสมาธิ นั่นได้เป็นขณะๆไป

งั้นบางทีหลวงพ่อบอกพวกเรานะ เผลอไปแล้วรู้ เผลอไปแล้วรู้ เผลอไปนั่นคืออะไร คือจิตฟุ้งซ่านนั่นเอง เพราะงั้นจิตฟุ้งซ่านไปแล้วรู้ทัน จิตฟุ้งซ่านไปรู้ทัน ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมา ใจมันจะอยู่กับเนื้อกับตัว งั้นสัมมาสมาธิในขั้นของการปฏิบัติ กับในขั้นของการเกิดอริยมรรคเนี่ย คนละอย่างกันนะ ในขั้นของการเกิดอริยมรรคเนี่ย จิตเข้าอัปปนาสมาธิแล้วก็ไปตัดกิเลส ตัดสังโยชน์กันในองค์มรรค ในขณะที่ทรงฌาน ส่วนสัมมาสมาธิในขณะที่ใช้ชีวิตธรรมดาเนี่ย จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว

ทำอัปปนาสมาธิได้มั้ย ทำได้ แต่ทำเพื่อพักผ่อน ไม่ใช่ทำเพื่อให้เกิดอริยมรรค ทำเพื่อพักผ่อนเท่านั้นอัปปนาสมาธิ แต่บางคนชำนาญในการดูจิตจริงๆ เมื่อเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ยังดูจิตต่อได้อีก อันนี้พวกที่ชำนาญในการดูจิตด้วยชำนาญในฌานด้วย ซึ่งหายากนะ มีไม่กี่คนหรอก ส่วนใหญ่ทำไม่ได้

เราใช้ขณิกสมาธิอยู่เป็นขณะๆนี้ ใจลอยไปแล้วรู้ ใจฟุ้งซ่านไปแล้วรู้ ใจฟุ้งไปแล้วรู้ รู้อย่างนี้เรื่อยนะ ใจจะตั้งมั่นขึ้นมา สมาธิชนิดนี้คือความตั้งมั่น คือพูดภาษาไทยง่ายๆนะ คือจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมเนื้อลืมตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวนะ

ถัดจากนั้นเรามาเดินสติปัฏฐานที่ให้เกิดปัญญา พอจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้ว สติระลึกรู้ลงในรูปธรรมนะ จะเห็นรูปธรรมไม่ใช่ตัวเรา สติระลึกรู้ลงในเวทนา จะเห็นว่าเวทนาไม่ใช่ตัวเรา ในขณะที่ใจเราตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว เป็นผู้รู้ผู้ดู จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูนี่แหละ เรียกว่ามีสมาธิล่ะ แล้วก็สติเกิดระลึกรู้ เห็นเวทนาทางใจ ก็จะเห็นว่าเวทนาทางใจไม่ใช่เรา สติระลึกรู้เห็นกุศลเห็นอกุศล จะเห็นว่ากุศลและอกุศลไม่ใช่เรา

ทีนี้ตัวผู้รู้เนี่ย มันจะรู้สึกเหมือนกับทรงอยู่ แต่ถ้าทำแค่ขณิกสมาธิเนี่ย ตัวผู้รู้จะไม่อยู่นาน ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้คิด ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้หลงไปเลย ไม่รู้คิดเรื่องอะไร ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง ตัวผู้รู้เองก็เกิดดับ จิตนี้เองเกิดดับ ไม่เที่ยงด้วย ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์เท่าๆกับขันธ์อื่นๆนั่นเอง เนี่ยการเดินปัญญาทำอย่างนี้นะ รู้ลงไปในกาย  มีสติระลึกรู้กายที่กำลังปรากฏอยู่ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ลืมเนื้อลืมตัว เนี่ยคือจิตที่มีสมาธิได้มาด้วยการทำฌาณก็ได้นะ ได้มาด้วยการรู้ทันจิตที่ไหลไปๆ แล้วรู้บ่อยๆ เนี่ย มันจะตั้งมั่นขึ้นเอง พวกเราใจไหลไปแล้วรู้ ไหลแล้วรู้เนี่ย ใจมันจะมาอยู่กับเนื้อกับตัว

พอใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้วมันจะรู้สึกขึ้นมานะว่า ร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหว ใช้คำว่าร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่เนี่ย ไม่ใช่ตัวเรา

ดูกายเนี่ยจะดูลงปัจจุบันขณะนะ ดูลงขณะปัจจุบันนี้เลย เนี่ยๆ กำลังเคลื่อนอยู่เนี่ย เรารู้ได้มั้ย รู้ได้ เพราะจิตมันเป็นคนไปรู้กาย แต่ว่าการดูจิตเนี่ยจะไม่ดูลงปัจจุบันขณะ การดูจิตจะดูด้วยลักษณะที่เรียกว่า ดูปัจจุบันสันตติ  ไม่เหมือนกันนะ ปัจจุบันขณะก็คือสิ่งที่กำลังปรากฏต่อหน้าต่อตานี้เอง ปัจจุบันสันตติคือสิ่งที่เนื่องอยู่กับปัจจุบัน ปัจจุบันเป๊ะๆไม่ได้ เพราะจิตนั้นรู้อารมณ์ได้ครั้งละอย่างเดียว อย่างร่างกายเคลื่อนไหวเนี่ย จิตดูลงปัจจุบันได้ เพราะจิตมารู้กาย แต่จิตจะไปรู้จิตเนี่ยไม่ได้ จิตจะไปรู้จิตในขณะ ขณะนั้นนะ ในขณะที่เดินปฏิบัติปกติเนี่ยไม่ได้ แต่ในขณะที่เกิดอริยมรรคได้นะ คนละอันกันนะ คนละเรื่อง ที่ท่านว่าจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรคนั้น ท่านพูดถึงอริยมรรคเลย เฮ้อ เหนื่อย เทศน์มันยากมากเลย มัน intensive course

เพราะงั้นดูกายเนี่ยนะ ดูมันลงปัจจุบัน ดูจิตนั้น ดูมันเนื่องกับปัจจุบัน เช่น มันโกรธ พอมันโกรธปุ๊บ สติรู้ว่าโกรธ ในขณะที่จิตมีสติรู้ว่าโกรธเนี่ย ความโกรธนั้นเป็นอดีตไปแล้ว ความรู้ รู้ว่าเมื่อกี้โกรธนั้นเป็นปัจจุบัน ความโลภเกิดขึ้น ความโลภเป็นปัจจุบัน สติรู้ว่าเมื่อกี้โลภ โลภเป็นอดีตละ จิตที่มีสตินี้เป็นปัจจุบัน

จิตที่มีสติมันเกิดตามหลังจิตที่มีกิเลสนะ เพราะงั้นตรงที่มีกิเลสเนี่ย ดูไม่ได้ เพราะในขณะที่กิเลสเกิดเนี่ย สติไม่มี ในขณะที่มีสติน่ะไม่มีกิเลส เพราะงั้นการที่เราเห็นว่าจิตมีกิเลสน่ะ เราเห็นตามหลังทั้งสิ้น เพราะ ฉะนั้นการดูจิตนี่นะ จะตาม แต่ตามแบบติดๆนะ เมื่อวานโกรธวันนี้รู้ไม่เรียกว่าปัจจุบันสันตตินะ เพราะว่าห่างไกลมาก นั่นเป็นอดีตสันตติแล้วไม่ใช่ปัจจุบันละ

เพราะงั้นการดูจิตนะ ดูแบบติดๆ เลย โกรธขึ้นมาก่อน รู้ว่าโกรธ นี่เห็นหางความโกรธๆไหวๆ หายแว้บไปต่อหน้าต่อตา นี่ เห็นหางเท่านั้นนะ ไม่เห็นตัวมันหรอก งั้นดูอย่างนี้นะ ดูไปเรื่อย แต่จิตต้องตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู ตัวนี้แหละคือตัวสัมมาสมาธิ จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู สติระลึกรู้กายลงเป็นปัจจุบัน สติตามรู้จิตที่ดับไปสดๆร้อนๆ นะ

เนี่ยในขณะที่เดินมรรคเขาเดินกันอย่างนี้ ในขณะที่เกิดอริยมรรคเป็นอีกแบบนึง คนละเรื่องกัน อย่าไปปนกัน

พอเราเจริญมากๆนะ จะได้อะไร จะได้ตัวของปัญญา ปัญญา คือสัมมาทิฐิ คือสัมมาสังกัปปะ

สัมมาทิฐิคือความเห็นแจ้งในอริยสัจจ์ รู้ว่าตัวตนไม่มีหรอก ตัวตนมีแต่ทุกข์ ขันธ์มีแต่ตัวทุกข์ ขันธ์ไม่ใช่ตัวตน พอมีอย่างนี้นะใจมันก็ดำริออกจากกาม ดำริออกจากพยาบาท ดำริออกจากการเบียดเบียน ก็ตัวเราไม่มีจะมีกามไปทำไม จะพยาบาททำไม จะเบียดเบียนยังไง ใจก็พ้นจากกิเลส พ้นจากทุกข์ พ้นจากทุกสิ่งทุกอย่างไป

วันนี้เทศน์เรื่องมรรคให้ฟังนะ มรรคมีหนึ่งนะ แต่มีองค์แปด แต่ไม่ได้มีแปดมรรคนะ ถ้าแปดมรรคเรียกมักมาก มรรคมีหนึ่งเท่านั้นแต่มีองค์แปด คล้ายๆ แมงมุมมีหนึ่งตัวแต่มีแปดขา หักออกขานึงก็พิการละ ใช้ไม่ได้ อริยมรรคจะไม่เกิดนะ ถ้าขนาดส่วนใดส่วนหนึ่ง

เพราะฉะนั้นส่วนแรกเลยที่ต้องรักษาคือศีล จำไว้นะ ตั้งใจ แล้วพยายามดำรงชีวิตอย่างสุจริต พยายามฝึกจิตฝึกใจไปเรื่อย คอยรู้ทันจิตไป กิเลสเกิดรู้ทัน อย่าให้มันครอบงำ รู้ทันกิเลสได้บ่อยๆ ใจก็มีกุศลมากขึ้นๆ แล้วก็หัดรู้สภาวะของรูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย จนกระทั่งสติมันเกิด แล้วก็ฝึกจิตไป จิตไหลไปแล้วรู้ๆ สมาธิก็เกิด ในที่สุดก็มีสมาธิ มีสติรู้รูปรู้นามตามความเป็นจริงด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางคือจิตมีสมาธิ เมื่อมีสติรู้รูปรู้นามรู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางมากพอ ปัญญาจะเกิด จะเห็นแจ้งว่ารูปธรรมนามธรรมไม่ใช่ตัวตน เป็นแต่ตัวทุกข์ล้วนๆ ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ล้วนๆ พอปล่อยวางได้นะ คุณงามความดีทั้งหลายเนี่ยสมบูรณ์แบบหมดเลย ความสุขอันมหาศาลจะเกิดขึ้น


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
Track: ๑๒
File: 530425A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๑๕ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๑๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

บทเรียนที่พระพุทธเจ้าสอน มี ๓ บท ชื่อ ไตรสิกขา

mp 3 (for download) : บทเรียนที่พระพุทธเจ้าสอน มี ๓ บท ชื่อ ไตรสิกขา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๕
Track: ๑๙
File: 510628.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓ วินาทีที่ ๕๓ ถึง นาทีที่ ๓๐ วินาทีที่ ๒๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ไม่ได้ภาวนาเอาดี เอาสุข เอาสงบ แล้วเราภาวนาเพื่ออะไร?

mp 3 (for download) : ไม่ได้ภาวนาเอาดี เอาสุข เอาสงบ แล้วเราภาวนาเพื่ออะไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ขั้นแรกเลยของการภาวนานะ เราต้องรู้ว่าเราภาวนาเพื่ออะไร เราไม่ได้ภาวนาเพื่อหาความสุข เพื่อเอาความสุข เอาความดี เอาความสงบ เพราะความสุข ความดี ความสงบ เป็นแค่ผลพลอยได้ ถ้าภาวนาแล้วก็มีเองแหละแต่ไม่ใช่เป้าหมาย เป็นของแถมของระหว่างทาง

ถ้าเรามุ่งภาวนาเอาความดี ความสุข ความสงบ ดีมันยังไม่เที่ยง สุขก็ยังไม่เที่ยง สงบก็ยังไม่เที่ยง ถ้ามุ่งเอาของไม่เที่ยง มันก็ได้มาแล้วไม่นานก็เสียไป ดีได้ก็ยังชั่วได้อีก สงบได้ก็ฟุ้งซ่านได้อีก มีความสุขได้ก็มีความทุกข์ได้อีก เพราะของเหล่านี้ยังไม่เที่ยง เราจะภาวนาเอาของที่ดีกว่านั้น แต่ถ้าภาวนาไปเราก็จะเป็นคนดีนะ มีความสุข มีความสงบ มากขึ้น มากขึ้น อันนั้นเป็นผลพลอยได้ ไม่ใช่ตัวหลักหรอก

เราภาวนาเนี่ย มุ่งไปเพื่อให้เห็นความจริง ความจริงของกาย ความจริงของใจ ความจริงของมันก็คือ ความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจ เป็นของไม่เที่ยง เป็นของที่ถูกบีบคั้นทนอยู่ไม่ได้ เป็นของที่บังคับไม่ได้ไม่อยู่ในอำนาจ ทั้งกายทั้งใจนะ จะเคลื่อนไหว จะเปลี่ยนแปลง จะตั้งอยู่ จะเกิด จะตั้งอยู่ หรือจะดับไปเนี่ย เป็นไปตามเหตุทั้งสิ้น ไม่ใช่ของที่สั่งได้ ไม่ใช่ของที่บังคับได้ เรียกว่าอนัตตา

ถ้าเราภาวนามาให้เห็นกายเห็นใจ เป็นไตรลักษณ์แล้ว สิ่งที่ตามมาก็คือการปล่อยวางจะเกิดขึ้น เราจะคลายความยึดถือในกายยึดถือในใจ เมื่อไรไม่ยึดถือกายไม่ยึดถือใจ อย่างท่านพุทธทาสท่านบอกไม่ยึดในตัวกูของกู นะ ไม่ยึดตัวกูของกู ความทุกข์ไม่มีที่ตั้งนะ ความทุกข์มันตั้งอยู่ที่กาย ความทุกข์มันตั้งอยู่ที่ใจ เราวางกายวางใจลงไปแล้ว ความทุกข์มันไม่มีที่อาศัยอยู่ ใจมันจะพ้นจากความทุกข์ไป

ตรงนี้เรายังไม่เห็นด้วยตัวเราเอง นะ แต่เวลาเราภาวนาเนี่ย เราจะเริ่มเห็นเหมือนกัน เห็นร่องรอย ว่าเมื่อไหร่หมดความยึดถือนะก็จะหมดความทุกข์ ร่องรอยของมันก็คือ เราจะเห็น ใจเราค่อยๆคลายออกจากโลก ภาวนาไปนะ ใจค่อยห่างโลกออกไปเรื่อย คลายออกจากโลก ยิ่งใจเราคลายออกจากโลกมากเท่าไหร่นะความทุกข์ก็ยิ่งลดลงเท่านั้น ห่างออกไป ก็ความทุกข์มันอยู่ที่กายความทุกข์มันอยู่ที่ใจ พอเราไม่หยิบฉวยกายไม่หยิบฉวยใจขึ้นมา ครอบครองเป็นเจ้าของ ความทุกข์มันก็หล่นหายไปด้วย เนี่ยระหว่างภาวนาก็เริ่มเห็นแล้วอันนี้

เวลาที่ใจตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จะเห็นโลกอยู่ห่างออกไป ร่างกายก็อยู่ห่างออกไป มันเริ่มเห็นร่างกายนี้เป็นเหมือนวัตถุธาตุ หรือบางคนเห็นเหมือนกายของคนอื่นไม่ใช่ของเราแล้ว อยู่ห่างๆออกไป ความรู้สึกสุขทุกข์ก็อยู่ห่างๆออกไป กุศลอกุศลทั้งหลาย แต่เดิมเคยครอบงำจิตใจได้ ก็เริ่มเห็นกุศลอกุศลทั้งหลายอยู่ห่างๆออกไป มันห่าง มันห่างออกไปนะ ในที่สุดมันพรากออกจากกัน มันแยกออกจากกันถาวรนะ ไม่อยู่ด้วยกันหรอก

แต่จิตนั้นกระจายตัวรวมเข้ากับธรรมชาติ เข้ากับความว่าง เพราะทุกอย่างมันจะว่างในตัวของมันอยู่แล้ว เป็นจิตที่ไม่ยึดถืออะไร จะกระจายตัวออกไป รวมเข้าเป็นเนื้อเดียวกับความว่าง หลวงปู่ดูลย์บอกว่า พอจิตเนี่ยรวมเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์ของจักรวาล เป็นหนึ่ง เรียกว่านิพพาน ตรงนั้นไม่มีความทุกข์เหลืออยู่นะ มีแต่ความสุข เพราะนิพพานมีความสุข จิตสัมผัสกับนิพพาน จิตมีความสุขมาก

เนี่ยเราจะสัมผัสกับนิพพานได้นะ ต้องวางความยึดถือกายยึดถือใจให้ได้ ยังวางไม่ได้ก็ทุกข์ แบกเอาไว้มากก็ทุกข์ เพราะขันธ์ ๕ รูปนามกายใจนั้นเป็นตัวทุกข์ เป็นภาระ เป็นของหนัก ตราบใดที่เรายังต้องแบกของหนักอยู่ตลอดเวลา ก็จะทุกข์อยู่ ท่านบอกพระอรหันต์นะ พระอริยเจ้า วางของหนักลงแล้ว แล้วไม่หยิบฉวยขึ้นมาอีก ก็พ้นจากทุกข์ เพราะฉะนั้นตัวที่ทำให้เราพ้นจากทุกข์ได้ก็คือตัววางนี่เอง ถ้าแบกอยู่ก็ทุกข์อยู่ ถ้าวางไปก็พ้นทุกข์ไป แต่วางได้เพราะอะไร เพราะปัญญาแก่รอบนะ เพราะเห็นความจริง ความจริงของรูปธรรมนามธรรมว่ามันเป็นไตรลักษณ์ ไม่ใช่ของดี ไม่ใช่ของวิเศษ ไม่ใช่ของน่ารักน่าหวงแหนอย่างที่เคยรู้สึก ถ้าเห็นได้ก็จะวางเห็นไม่ได้ก็ไม่วาง เห็นได้นิดหน่อยก็วางนิดหน่อย เห็นได้แจ่มแจ้งก็วางหมด

หัดภาวนาก็เริ่มเห็นเป็นลำดับ ลำดับไป ค่อยหัดไป ทุกวัน ทุกวัน ไม่ท้อถอย ความสุขรออยู่ข้างหน้า ไม่ใช่ภาวนาเอาความสุขนะ ถ้าภาวนาเอาความสุขเอาความดี ความสุขความดีตัวนี้ไม่เที่ยง ยังไม่เที่ยงอยู่ มีความสุขที่เที่ยงรออยู่ข้างหน้า คือ นิพพาน นิพพานจะเจอได้ก็ต่อเมื่อเราวางความยึดถือในกายในใจได้ วางความยึดถือในกายในใจได้เพราะมีปัญญาแก่รอบเห็นความจริง ความจริงของกายของใจ ไม่ใช่ความจริงเรื่องอื่นด้วย เราจะเห็นความจริงของกายของใจว่าเป็นทุกข์นะ เป็นไตรลักษณ์ เป็นทุกข์ เป็นก้อนทุกข์ล้วนๆเลย ถ้าเห็นอย่างนั้นก็วาง ไม่แบกไว้ละ ไม่ใช่ของดี

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
File: 530423.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๓๓ ถึงนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๓๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิปัสสนากรรมฐานทำไปเพื่ออะไร?

mp3 (for download): วิปัสสนากรรมฐานทำไปเพื่ออะไร

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ธรรมที่จะทำให้เราได้ธรรมะก็คือ วิปัสสนานั่นเอง วิปัสสนากรรมฐานทำไปเพื่ออะไร วิปัสสนากรรมฐานนะ ทำไปเพื่อถอดถอนความเห็นผิด ว่ามีตัวเรา อันนี้เบื้องต้นนะ วิปัสสนากรรมฐานเนี่ย เบื้องต้นทำไปเพื่อถอดถอนความเห็นผิด ว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวเรา วิปัสสนากรรมฐานในเบื้องปลายนั้น ทำไปเพื่อถอดถอนความยึดถือในกายในใจนี้

สองขั้นตอนนะ ไม่เหมือนกันหรอก เบื้องต้นจะละความเห็นผิดได้ โดยการทำวิปัสสนาแล้วจะละความเห็นผิด ว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวเรา มีกายมีใจนะ กายกับใจเป็นเรา มีเราอยู่ในกายในใจนี้ มีเรานอกเหนือจากกายจากใจนี้ มีตัวเราอยู่จริงๆ

เนี่ยถ้าทำวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นก็จะละความเห็นผิดว่ามีตัวเราได้

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๗
File: 511115.mp3
นาทีที่ ๑๒ วินาทีที่ ๒๙ ถึงนาทีที่ ๑๓ นาทีที่ ๓๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีการเจริญสติในชีวิตประจำวัน

mp 3 (for download) : วิธีการเจริญสติในชีวิตประจำวัน

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

โยม: ใจจริงก็อยากจะ เหมือนที่หลวงพ่อเคยเขียนไว้นะครับ ควรจะฝึกให้ได้ตลอด กลมกลืนกับชีวิต ไม่ใช่ว่าเวลานี้ฝึก เวลานี้ไม่ฝึก แต่มันก็โดนบั่นทอน…

หลวงพ่อปราโมทย์ : คือ เราจะฝึกใช้ชีวิตได้ เราต้องรู้หลักของการปฏิบัตินะ หัดสังเกตสภาวะไปเรื่อย จนสติมันเกิดเองในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น เริ่มต้นนี่เราหัดสังเกตสภาวะธรรม คือหัดสังเกตความรู้สึกของเราไปเรื่อยๆ สังเกตความรู้สึกของเรา แต่ละขณะๆ ไม่เหมือนกัน คือจุดตั้งต้นนี่ อย่าไปภาวนาเพื่อให้ดี ให้สุข ให้สงบ แต่ภาวนาเพื่อหัดสังเกตสภาวะ ตั้งใจไว้อย่างนี้ ว่าเราจะหัดเรียนรู้จิตใจตัวเอง จิตใจเราฟุ้งซ่าน เราก็รู้ จิตใจสงบเราก็รู้ เราคอยรู้ไปเรื่อยๆ ไม่ได้เอาดีนะ ไม่ได้เอาอะไรหรอก

แต่ว่าทางที่ดีมันต้องมีรูปแบบของการปฏิบัติไว้ซักอันหนึ่ง เราจะหัดพุทโธก็ได้ หัดเดินจงกรมก็ได้ หรือจะดูท้องพองยุบก็ได้ อะไรก็ได้ซักอย่างหนึ่ง ขยับมืออย่างสายหลวงพ่อเทียนก็ได้ มีอยู่ ๑๔ จังหวะ ขยับมือ พอเราทำกรรมฐานขึ้นมาอันหนึ่งแล้ว ให้เราคอยรู้ทันใจของเรา อย่างเช่น เราพุทโธๆ อยู่ ใจเราแอบไปคิดเรื่องอื่น รู้ทันว่ามันหนีไปแล้ว หรือเราพุทโธๆ อยู่ ใจมันฟุ้งซ่าน รู้ว่าฟุ้งซ่าน ใจสงบ รู้ว่าสงบ พุทโธแล้วใจเป็นอย่างไร รู้ว่าเป็นอย่างนั้น หัดไปเรื่อยๆ อย่างนี้แล้วถึงจะเจริญสติในชีวิตประจำวันได้

การที่เราหัดดูจิตใจตัวเองนะ พุทโธแล้วก็ดูไป หลงไปก็รู้ เพ่งไว้ก็รู้ เป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นกุศล อกุศล แต่ละอย่างก็รู้ จิตมันจะจำสภาวะแต่ละอย่างๆ ได้ พอมันจำสภาวะแต่ละอย่างได้แล้ว พอเรามาอยู่ในชีวิตประจำวันนี่ สภาวะที่เราจำได้แล้วเกิดขึ้น สติจะระลึกขึ้นเอง ไม่ต้องเจตนาระลึก พอสติระลึกได้เองนะ ถ้าเป็นอกุศลนะ มันจะขาดสะบั้นต่อหน้าต่อตาเลย จิตจะรู้ ตื่น เบิกบาน สงบ สะอาด สว่าง ตั้งมั่นขึ้นมาเลย

ทำไมมันอยู่ๆ มันดีฉับพลัน เพราะโดยธรรมดานั้น จิตมันดีอยู่แล้ว จิตมันมีธรรมชาติพื้นเดิมของมัน คือมันผ่องใส มันประภัสสร แต่ว่ามันหมองไป มันเศร้าหมองไปเพราะกิเลสต่างหาก ทีนี้ถ้าเรารู้ทัน กิเลสไหลแว๊บมา สติระลึกได้นะ จิตจะผ่องใสอัตโนมัติเลย สงบ สะอาด สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน ขึ้นมาฉับพลันเลย เราก็จะสามารถอยู่กับโลกอย่างคนที่รู้ทันโลก ถูกโลกกัดน้อยลงๆ นะ แต่อย่าไปกัดกับโลกนะ คอยดูเอา

สวนสันติธรรม 19

500223A

24.17 – 27.02

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สรุปหลักของการเจริญสติปัฏฐานที่ถูกต้อง

mp 3 (for download) : สรุปหลักของการเจริญสติปัฏฐานที่ถูกต้อง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: หลักของการเจริญสติปัฏฐาน การทำวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง ถ้าสรุปง่ายๆ ภาษาไทยนะ มีสติรู้กาย รู้ใจ ตามความเป็นจริงที่กำลังปรากฏในปัจจุบันด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง ยาวไปไหม ถ้ายาวไปนะ ก็ไปหาหนังสือ วิถีแห่งความรู้แจ้ง ๒ อ่านเอานะ เอาเวอร์ชั่น ๒ นะ เวอร์ชั่น ๑ ตอนเขียนความรู้ยังไม่แจ่มแจ้ง ไปอ่านตอนเวอร์ชั่น ๒ ให้มีสติรู้กายรู้ใจนะ รู้ตามความเป็นจริง รู้กายรู้ใจที่กำลังมีอยู่จริงๆ แล้วรู้มันตามที่มันเป็นจริงๆ รู้ด้วยใจที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง

ถ้าฝึกอย่างนี้ได้แล้วก็ไม่นาน ไม่นานนะจะรู้แจ้งในความเป็นจริงของกายของใจ ความจริงของกายของใจคือมันเป็นไตรลักษณ์ มันไม่เที่ยง มันเป็นของเป็นทุกข์ คือมันถูกบีบคั้น ถูกเสียดแทงตลอดเวลา อย่างร่างกายนี่ถูกเวทนาบีบคั้นตลอดเวลา นั่งอยู่ก็เมื่อย เดินก็เมื่อย นอนก็เมื่อย ใช่ไหม ทำอะไรก็ถูกบีบคั้น หายใจออกก็ทุกข์ หายใจเข้าก็ทุกข์ กินเข้าไปก็ทุกข์ ไม่กินก็ทุกข์นะ ขับถ่ายมากไปก็ทุกข์ ไม่ขับถ่ายก็ทุกข์อีก นี่มันถูกบีบคั้น ร่างกาย จิตใจก็ถูกกิเลสตัณหาบีบคั้นตลอดเวลา มันมีแต่ความทุกข์ทั้งนั้นเลย ในกายในใจ นี่ความจริงของเขา

ความจริงของเขาอีกอย่างหนึ่งคือ เขาไม่ใช่ตัวเรา ร่างกายเป็นแค่วัตถุ เป็นก้อนธาตุ ไม่ใช่ตัวเราที่แท้จริง ตอนนี้คนที่เรียนกับหลวงพ่อแล้วเห็นร่างกายไม่ใช่ตัวเราอย่างแท้จริงมีเยอะแยะเลย มีเยอะแยะนับไม่ถูกแล้วนะ ถ้าแจกปริญญาคงแจกไม่ทันแล้ว ที่นี้ยังเห็นว่าจิตเป็นเราอยู่ ถ้าวันใดเห็นว่าจิตไม่ใช่เราอย่างแท้จริง จะเป็นพระโสดาบันวันนั้นล่ะ

ทีนี้ วิธีการนะ บอกแล้ว ให้มีสติรู้กายรู้ใจที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง มีสติรู้กาย รู้ใจ ไม่ใช่มีสติไปรู้อย่างอื่น สติ พูดมาทุกวันที่เจอหน้ากันว่า สติ คือความระลึกได้ สติไม่ได้แปลว่ากำหนด สติเป็นความระลึกได้ หลวงพ่อจะไม่ลงรายละเอียดเรื่องสติมากนัก สติเป็นความระลึกได้ สติเกิดจากถิรสัญญา คือจิตจำสภาวะได้แม่น จิตจำสภาวะได้แม่นถ้าเราหัดดูบ่อยๆ หัดรู้สึกบ่อยๆ ใจโกรธไปก็คอยรู้สึก ใจโลภก็คอยรู้สึก ใจฟุ้งซ่าน ใจหดหู่ คอยรู้สึกไปเรื่อยนะ รู้สึกไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งสติจะเกิด ตรงที่สติเกิดนี่ เวลาใจลอยไปนะ สติก็ระลึกได้เองว่า ใจลอยไปแล้ว เวลาโกรธขึ้นมา สติก็ระลึกได้ว่า โกรธไปแล้ว มันเป็นเอง หรือสติมันระลึกรู้ กำลังอาบน้ำถูสบู่อยู่นะ ระลึกปั๊บลงไป ระลึกถึงตัวรูป แต่เห็นเป็นท่อนๆ นะ เห็นเป็นท่อนๆ เป็นแท่งๆ เป็นแข็งๆ อ่อนๆ เป็นเย็นเป็นร้อน ไม่มีตัวมีตนอะไร

สติต้องเกิดเองจากการที่จิตจำสภาวะได้แม่น สติที่เจริญวิปัสสนาต้องเป็นสติที่รู้กายรู้ใจตัวเอง ถ้าไปรู้ของอื่นทำวิปัสสนาไม่ได้จริง เพราะวิปัสสนาทำไปเพื่อถอดถอนความเห็นผิดว่า กายนี้ใจนี้คือตัวเรา วิปัสสนาทำไปเพื่อให้เห็นความจริงว่าตัวเราไม่มีหรอก มีแต่รูปธรรม มีแต่นามธรรม ที่หมุนเวียนเปลี่ยนแปลง เกิดดับอยู่ตลอดเวลา ตัวตนที่แท้จริง ตัวตนที่ถาวรนั้นไม่มี วิปัสสนามุ่งมาตรงนี้ เพราะฉะนั้นวิปัสสนาต้องคอยรู้กายรู้ใจ อย่างบางคนไปเดินจงกรม เท้ากระทบพื้นนะ พื้นเย็นพื้นร้อน พื้นอ่อนพื้นแข็ง รู้หมดเลย รู้เรื่องพื้น ไม่มีใครเห็นพื้นเป็นตัวเราอยู่แล้ว มีใครเห็นพื้นเป็นตัวเรา ที่กำลังนั่งทับนี่ เรากำลังโดนนั่งทับ มีใครรู้สึกไหม มีแต่เราไปนั่งทับมันใช่ไหม

เรารู้สึกกายนี้ใจนี้คือตัวเรา เพราะฉะนั้นดูลงมาในกายในใจนี้ ตัวเราอยู่ที่ไหน ดูลงไปที่นั่น ความรู้สึกว่าตัวเราอยู่ที่ไหน รู้ลงไป ตัวเราอยู่ที่กาย รู้ลงที่กาย ตัวเราอยู่ในใจ นี่ รู้ลงไปที่ใจ ดูลงไปซิ จริงๆ มีตัวเราไหม กายกับใจที่เราจะใช้รู้ ก็ต้องกายกับใจในปัจจุบันด้วย ไม่ใช่กายกับใจในอดีต เพราะกายกับใจในอดีตไม่ได้มีจริง เป็นแค่ความจำ และก็ไม่ใช่กายกับใจในอนาคต กายในอนาคต ใจในอนาคตยังไม่มี เป็นแค่ความคิด ในอดีตก็เป็นแค่ความจำ อนาคตก็เป็นแค่ความคิด ไม่ใช่ความจริง ความจริงอยู่กับปัจจุบันต่อหน้าต่อตานี่

เพราะฉะนั้น พยายามอยู่กับปัจจุบันนะ รู้สึกกาย รู้สึกใจที่กำลังปรากฏในปัจจุบัน รู้ต้องรู้ตามความเป็นจริงของเขา ไม่ใช่รู้แล้วเข้าไปแทรกแซง พวกเราเวลารู้กายก็แทรกแซง รู้ใจก็แทรกแซง เช่น เวลาจะเดินตงกรม เราเคยเดินสบายๆ เดินทั้งวัน เดินทุกวันอยู่แล้ว เดินมาตั้งแต่เดินได้ จะว่าเดินแต่เกิดไม่ได้ใช่ไหม เพราะคนเกิดมามันยังไม่เดิน ไม่ใช่ลูกวัวลูกควาย ลูกวัวควายนะ ชั่วโมงสองชั่วโมงมันเดินได้แล้ว ลูกคนนี่นอน เอาตั้งแต่เดินได้นี่ เราก็เดินอยู่ทุกวันๆ แต่เราเดินไม่เป็น เดินแล้วไม่มีสติ เพราะฉะนั้นถ้าเรามีสติ รู้ลงปัจจุบันไป ยืน เดิน นั่ง นอน รู้ลงปัจจุบัน เห็นกายเห็นใจที่กำลังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน รู้ไปเรื่อยๆ ของจริงมันอยู่ตรงนี้ก็ดูจากของจริง ไม่ได้ดูจากความคิดความฝันในอนาคต หรือความจำในอดีต เอาของจริงมาดู ดูซิ เป็นตัวเราจริงไหมนี่ ถ้าไปคิดถึงตัวตนในอดีต นั่งนึกถึงหน้าตาของเราตอน ๓ ขวบ เห็นไหมคนนั้นไม่มีแล้ว นี่ ไม่เที่ยง อย่างนี้ไม่ใช่วิปัสสนา วิปัสสนาต้องเห็นตัวนี้อยู่ทนโท่ อยู่นี่เลยนี่ เห็นตัวนี้ล่ะ มันไม่ใช่ตัวเรา ถึงจะเป็นวิปัสสนา เพราะฉะนั้นต้องดูลงปัจจุบัน

ดูตามความเป็นจริงด้วย มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันถูกบีบคั้นตลอดเวลา มันบังคับไม่ได้ หรือมันเป็นวัตถุ มันเป็นก้อนธาตุ ดูลงเป็นไตรลักษณ์ เรื่องนี้ก็พูดทุกครั้งที่เจอกัน ไปดูเอาเอง ไปฟังเอาเอง ถ้าเรารู้กายรู้ใจที่กำลังปรากฏในปัจจุบันนี่ ตามความเป็นจริงคือเป็นไตรลักษณ์ ไม่เข้าไปแทรกแซง ไม่ใช่จะเดินจงกรมก็บังคับจิตให้นิ่ง จะนั่งสมาธิก็บังคับจิตให้นิ่ง หรือเดินจงกรมก็ต้องวางมาดใช่ไหม ต้องเดินท่านี้ จะนั่งก็ต้องวางมาด ต้องนั่งในสง่างาม ถึงจะเป็นนักปฏิบัติ นั่งท่านี้ปฏิบัติไม่ได้ ไม่ใช่เลยนะ อย่าเข้าใจผิด มันไม่ได้สำคัญอยู่ที่อิริยาบถอะไร กิริยาท่าทางอะไร มันสำคัญอยู่ที่คุณภาพของจิต ในการที่ไปรู้กายรู้ใจต่างหาก ถ้าเรารู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงนะ ตีลังกาอยู่ก็ได้

ครูบาอาจารย์องค์หนึ่งคือ หลวงพ่อพุธ เมื่อก่อนท่านเคยมาสอนที่นี่ หลวงพ่อพุธนี่แหละท่านสั่งไว้นะ ว่าอย่าทิ้งศาลาลุงชินนะ เราเลยต้องอดทนมาที่นี่นะ เพราะครูบาอาจารย์ท่านสั่งไว้ แต่ท่านไม่ได้บอกนะว่า ให้ไม่ทิ้งนานแค่ไหน (โยมหัวเราะ) นี่ดูไปนะ ดูลงความจริง ความจริงคือไตรลักษณ์ ดูกายดูใจ ดูเป็นไตรลักษณ์ ไม่ไปแทรกแซง ไม่ใช่เวลาจะเดินจงกรมก็ต้องวางมาด ค่อยๆ เดิน อะไรอย่างนี้ หรือจะนั่งสมาธิต้องวางฟอร์ม วางฟอร์มทางกายไม่พอ ต้องวางฟอร์มทางใจด้วย รู้สึกไหม ต้องทำใจให้ซึมก่อนถึงจะดี นึกออกไหม มันแกล้งทำทั้งหมดเลยนะ มันไม่ใช่การรู้ตามความเป็นจริง แต่มันเป็นการแกล้งทำ เพราะฉะนั้น อย่าไปดัดแปลงกาย อย่าไปดัดแปลงใจ เราต้องการรู้กายที่เป็นจริง รู้จิตใจที่เป็นจริง เราอย่าไปดัดแปลงเขา อย่าไปบังคับเขา อย่าไปแทรกแซง รู้กายรู้ใจอย่างที่มันกำลังเป็นอยู่จริงๆ นะ รู้ไป

ที่นี้การรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง รู้ลงปัจจุบันนี่ แค่นี้ยังไม่พอ จิตที่เป็นคนไปรู้ ต้องมีความตั่งมั่น และต้องมีความเป็นกลาง มี ๒ เงื่อนไข ต้องมีความตั้งมั่น ตั้งมันคือมีสัมมาสมาธิ จิตที่ตั้งมั่นไม่ใช่จิตที่ไหลไปหาอารมณ์ พวกเราที่ภาวนาล้มลุกคลุกคลานไม่เกิดมรรคผลนิพพานสักที เพราะอะไร เพราะว่าจิตไม่ตั้งมั่น ถึงมารู้กาย มีสติรู้กาย มีสติรู้ใจ ถ้าจิตไม่ตั้งมั่น มันจะเป็นการเพ่งกายเพ่งใจ จิตมันจะไหลไปเพ่งนิ่งๆ อยู่ที่กาย ไหลไปเพ่งอยู่ที่ใจ อย่างคนที่หัดอานาปานสติรู้ลมหายใจ สังเกตให้ดีเถอะ  เกือบร้อยละร้อยนะ ถ้าไม่ได้ฟังธรรมที่แท้จริง เกือบร้อยละร้อยเลย จะไปเพ่งลมหายใจ จิตจะไหลไปอยู่ที่ลมหายใจ คนที่ดูท้องพองยุบนะ เกือบร้อยละร้อย นี่พูดแบบเกรงใจที่สุดแล้วนะ เกือบร้อยละร้อย จิตจะไหลไปอยู่ที่ท้อง เวลาไปเดินจงกรมยกเท้า ย่างเท้า จิตก็ไหลไปอยู่ที่เท้า ไปรู้อิริยาบถ ๔ นะ ไปเพ่งมันทั้งตัวเลย ขยับมือ จิตก็ไปเพ่งอยู่ในมือ มันมีแต่เข้าไปเพ่ง จิตที่ไหลเข้าไปเพ่งตัวอารมณ์นี่ เป็นจิตที่ใช้ทำสมถกรรมฐาน ไม่ใช่วิปัสสนากรรมฐาน จิตที่เพ่งอารมณ์นี่ มีภาษาแขก ชื่อว่า อารัมณูปนิชฌาน การเพ่งตัวอารมณ์ เป็นสมถกรรมฐาน เพราะฉะนั้นที่พวกเราส่วนใหญ่ทำอยู่เป็นแค่สมถกรรมฐาน ใจไม่ตื่นจริงๆ หรอก

มีแม่ชีคนหนึ่ง โทรศัพท์มาหากรรมการวัดคนหนึ่ง คือ ชมพู เขามีเบอร์ของชมพูอยู่ เบอร์วัด เขามาเล่าให้ฟังบอกว่า แกเป็นอาจารย์สอนกรรมฐานอยู่ที่สำนักแห่งหนึ่ง แต่สำนักนี้ไม่ยอมให้ไปไหนมาไหนง่ายๆ ก็เลยต้องใช้วิธีแอบโทรมา แกเล่าว่า แต่เดิมแกก็สอนกรรมฐาน แกก็ภาวนาของแกไปด้วย แกเครียดมากเลย หลังแกแข็งเป็นก้อนหินอย่างนั้นเลย ทรมานมาก ต่อมาคนซึ่งไปเข้าคอร์สกับแกเอาหนังสือหลวงพ่อไป แกก็ไปขอดูนะ แล้วก็สนใจเขียนจดหมายมาขอหนังสือไป เอาไปอ่าน คงต้องแอบอ่าน ซีดีฟังไม่ได้ เดี๋ยวคนอื่นได้ยิน เป็นอาจารย์นะ อ่านๆ ไป รู้สึก โอ้ เราทำผิด เราไปเพ่งอารมณ์ เราไม่ได้รู้ลักษณะความเป็นไตรลักษณ์ของอารมณ์ แกบอกพอแกรู้ตรงนี้ แกเห็นว่าจิตไปเพ่ง จิตก็คลายออก แกบอกว่าตอนนี้นะ แกมีความสุขขึ้นเยอะเลย การภาวนาของแกง่าย หลังแกก็ไม่แข็งเป็นก้อนแล้วนะ หน้าตาแกนี่คนมาบอกเลย แกหน้าใส หน้าตาแกผ่องใสผิดจากเดิม แต่เดิมเครียด ที่สำคัญนะ นี่เขียนเล่ามาอย่างละเอียดอีก แต่เดิมนะ ปีหนึ่ง ประจำเดือนมา ๒ ครั้งเอง เพราะเครียด ตั้งแต่มาภาวนาแนวหลวงพ่อปราโมทย์นะ ประจำเดือนมาตามกำหนด (โยมหัวเราะ) เออแน่ะ เราก็เพิ่งรู้นะ ว่าภาวนาแล้วประจำเดือนมาตามกำหนด เพราะอะไร เพราะไม่เครียด

พวกเราล่ะ ภาวนาจนกระทั่งเครียดนะ พิกลพิการไปเยอะแยะเลยนะ เพราะทำผิด ถ้าเข้าใจที่พระพุทธเจ้าสอนแล้วจะไม่เครียดหรอก เราจะรู้กาย เห็นกายมันเป็นทุกข์ แต่ร่าเริงนะ เห็นจิตดีบ้าง ร้ายบ้าง เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวสงสัย เดี๋ยวฟุ้งซ่าน เดี๋ยวหดหู่ แต่เราร่าเริงที่ได้เห็นความแปรปรวนของมัน นี่ความประหลาดอยู่ตรงนี้ เพราะฉะนั้นเราจะมีความสุขนะ มีความสงบแต่ร่าเริง ไม่ใช่สงบแบบเซื่องๆ ซึมๆ ซังกะตาย หรือเครียดๆ แข็งๆ อันนั้นเป็นเพราะการเพ่งตัวอารมณ์ทั้งสิ้น ไม่ใช่การรู้ลักษณะของอารมณ์

เพราะฉะนั้นเราต้องรู้นะ เราต้องรู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นมันเป็นแค่คนดู เราจะเห็นร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เห็นเวทนาอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เห็นกุศล อกุศล โลภ โกรธ หลง ทั้งหลาย อยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เห็นจิตเกิดดับไปทางตา เกิดที่ตา ดับที่ตา เกิดที่หู ดับที่หู เกิดที่ใจ ดับที่ใจ นี่เห็นอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ อย่างนี้เรียกว่าเราเห็นด้วยจิตที่ตั้งมั่นนะ มันจะเห็นความจริงอย่างนี้

การที่มันเห็นว่ากายก็อยู่ส่วนหนึ่ง เวทนาอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง มันได้แสดงปัญญาให้เราเห็นแล้วว่า มันไม่ใช่ตัวเรา กายนี้ไม่ใช่เรา เวทนาไม่ใช่เรา สังขารทั้งหลายที่เป็นกุศล อกุศลทั้งหลายไม่ใช่เรา จิตก็เกิดดับไปทางทวารต่างๆ จิตก็ไม่ใช่ตัวเรา เห็นไหม มันจะมีปัญญาขึ้นมา ถ้าใจเราตั้งมั่นได้ เพราะฉะนั้นเงื่อนไขสำคัญว่าจะเกิดปัญญาหรือไม่นี่ อยู่ที่ว่าจิตตั้งมั่นหรือจิตเข้าไปตั้งแช่ในอารมณ์ ถ้าจิตเข้าไปตั้งแช่ในอารมณ์จะเป็นสมถะ อย่างบางคนเดินจงกรมแล้วเพ่งอยู่ที่เท้า ยกเท้า ย่างเท้า รู้หมดเลย แล้วก็ตัวลอย ตัวเบา ตัวโคลง ตัวเล็ก ตัวใหญ่ บางคนตัวลอย บางคนรู้สึกวูบวาบเหมือนฟ้าแลบ บางคนรู้สึกขนลุกขนพอง บางคนรู้สึกเหมือนแมลงมาไต่ร่างกาย นี่เป็นอาการของปิติทั้งสิ้นเลย เป็นเรื่องของสมถะ

ทำไมคิดว่าทำวิปัสสนาแล้วกลายเป็นสมถะ ก็เพราะจิตไม่ตั้งมั่น ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นจะเจริญปัญญาไม่ได้ เพราะว่าสัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ถ้าจิตไม่ตั้งมั่น จิตจะไหลไปอยู่ในอารมณ์แล้วไปแช่ ไปเพ่งตัวอารมณ์ เป็นสมถกรรมฐานทั้งหมด ไม่ว่าจะเพ่งอะไรก็เป็นสมถะทั้งหมด ถ้าจิตตั้งมั่นก็จะเดินวิปัสสนาได้ เห็นความเป็นจริง ทีนี้พอเห็นความจริงแล้วมาถึงตัวสุดท้ายใช่ไหม ทีแรกหลวงพ่อบอก “ให้มีสติรู้กายรู้ใจ ที่เป็นปัจจุบันตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่น” ประโยคสุดท้าย “และเป็นกลาง”

เวลาที่เราไปเห็นสภาวะแล้วบางทีจิตก็ยินดีขึ้นมา บางทีจิตก็ยินร้ายขึ้นมา เช่น เราเห็นจิตใจของเรามีความสุข เราก็พอใจ หลายคนภาวนานะ ดูจิตดูใจ ดูไปเรื่อยๆ ความปรุงแต่งหยาบๆ ดับไป เกิดความปรุงแต่งละเอียด ที่เรียกว่า ความว่าง ขึ้นมา ความว่างๆ ที่เราภาวนาแล้วไปเห็นเข้านี่ เป็นแค่ความปรุงแต่งละเอียด ไม่ใช่นิพพานนะ นิพพานไม่ได้ว่างอนาถาแบบนั้น นิพพานไม่ได้ว่างแบบมีขอบ มีเขต มีจุด มีดวง มีวงแคบๆ อยู่ และว่างอยู่นิดๆ หน่อยๆ อย่างนั้น อันนั้นเรียกว่าช่องว่าง

เพราะฉะนั้นบางคนภาวนาจนใจว่างขึ้นมา พอใจว่างแล้ว ราคะเกิด พอใจในความว่าง พอใจในความนิ่ง ไม่ยอมเจริญปัญญาต่อ มีเยอะนะ ตอนนี้เริ่มมีเยอะขึ้น ภาวนาแล้วก็ใจสบาย มีความสุข พอมีความสุขแล้วพอใจแค่นี้แล้ว ไม่มารู้กาย ไม่มารู้ใจ จิตไม่สามารถทวนกระแสเข้ามารู้กายรู้ใจได้ ตัวนี้ที่หลวงพ่อพูดบ่อยๆ ว่า จิตไม่ถึงฐาน น่ะ จิตมันไหลตามอารมณ์ไปเพลินๆ ว่างๆ อยู่ข้างนอก นี่ รู้อย่างไม่เป็นกลาง รู้แล้วหลงยินดี บางทีเห็นกิเลสเกิดขึ้นก็เกลียดมันนะ หาทางต่อสู้ใหญ่เลย ทำอย่างไรจะเอาชนะกิเลส หรือเรานั่งสมาธิอยู่มันปวดมันเมื่อย ทำอย่างไรจะชนะความปวดความเมื่อย นี่คิดภาวนาเอาชนะนะ คิดภาวนาเอาชนะหรือคิดภาวนาแล้วท้อแท้ตามกิเลสไป นี่ก็คือความไม่เป็นกลางทั้งสิ้น ถ้าหากเรารู้ทันความไม่เป็นกลาง ให้รู้ทันนะ เช่น เราไปเห็นคนนี้ ใจเราชอบขึ้นมา เรารู้ทันว่าใจชอบ นี่ใจไม่เป็นกลางแล้ว ชอบขึ้นมา ต่อมาเรามีสติ รู้ทันว่าใจไปชอบเขา เราเกิดความไม่ชอบความชอบนี่ขึ้นมาอีกแล้ว นี่ไม่เป็นกลางอีกแล้ว เรารู้ทันว่าใจไม่ชอบ นี่รู้ความไม่เป็นกลาง แล้วมันจะเป็นกลางของมันเอง

ความเป็นกลางมีหลายระดับ อันนี้ก็เทศน์เรื่อยๆ นะ ความเป็นกลางด้วยสมถะก็มี ไปเพ่งเอาไว้แล้วมันก็เป็นกลาง เป็นกลางด้วยสติก็มี เป็นกลางด้วยปัญญาก็มี เป็นกลางด้วยสติคือพอไปรู้ทันความไม่เป็นกลาง ความไม่เป็นกลางดับไป อันนี้ก็ยังใช้ได้นะ แต่ว่าเป็นกลางที่แท้จริงจะเป็นกลางด้วยปัญญา คือเห็นความจริงซ้ำแล้วซ้ำอีก ว่าทุกอย่างมันไม่เที่ยง ทุกอย่างเป็นทุกข์ ทุกอย่างเป็นอนัตตา เห็นซ้ำไปซ้ำมานะ สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลง ก็ชั่วคราว กุศลทั้งหลายก็ชั่วคราว พอเห็นอย่างนี้ใจจะเป็นกลางเอง อันนี้เป็นกลางด้วยปัญญา ความเป็นกลางด้วยปัญญานี่แหละ คือประตูของการบรรลุมรรคผลนิพพาน

เมื่อจิตเป็นกลางด้วยปัญญาแล้ว จิตจะหมดความดิ้นรน ถ้าจิตเป็นกลางด้วยวิธีอื่น จิตยังดิ้นรนเพื่อเข้าไปสู่วิธีนี้ จิตยังต้องดิ้นรนอีก เช่น เป็นกลางเพราะสมถะ วันไหนไม่เป็นกลาง ก็ต้องกลับไปทำสมถะเพื่อให้มันมาเป็นกลางอีก ถ้าเป็นกลางเพราะปัญญามันจะเลิกดิ้น มันจะรู้เลยว่าทุกอย่างในโลกนี้ของชั่วคราว ทุกอย่างเป็นภาพลวงตา ใจมันเห็นอย่างนี้นะ ใจมันไม่ดิ้นแล้ว ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในกายในใจ ร่างกายจะแก่ จะเจ็บ จะตาย ใจก็ไม่ดิ้นรน จิตจะสุขหรือจิตจะทุกข์ จิตใจก็ไม่ดิ้นรน กระทั่งอกุศลเกิดขึ้น เช่น บางทีภาวนาแล้วมันมืดๆ มัวๆ ภาวนาแล้วมัว ดูไม่รู้เรื่องแล้ว นี่ ส่วนมากจะมาตายตอนนี้ก็มี พอดูไม่รู้เรื่องแล้วทุรนทุรายแล้วเห็นไหม อยากดูให้ชัด อยากรู้ให้ชัด นี่ใจไม่เป็นกลาง ถ้าดูไปแล้ววันนี้มันมัวๆ จิตมีแต่โมหะ มัวๆ รู้ว่ามีโมหะนะ อย่าไปเกลียดมัน รู้ด้วยความเป็นกลางซิ มันจะขาดสะบั้นต่อหน้าต่อตาเลย

เพราะฉะนั้นจำไว้นะ คีย์เวิร์ด (keyword) ทั้งหลาย ให้รู้กายรู้ใจ มีสติ สติที่แท้จริง รู้กายรู้ใจ ที่เป็นปัจจุบันด้วย ไม่ใช่อดีต ไม่ใช่อนาคต รู้ตามความเป็นจริง คืออย่าไปแทรกแซง อย่าไปบังคับเขา รู้ตามความเป็นจริง คือเป็นไตรลักษณ์ ด้วยจิตที่ตั้งมั่น จิตเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู ตั้งมั่นและก็เป็นกลาง ถ้าจิตไม่เป็นกลางให้รู้ทันว่าไม่เป็นกลาง นี่เป็นทางเดินที่พระอริยเจ้าทั้งหลายท่านเดินกันมา เป็นหลักในสติปัฏฐาน ในวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง หลวงพ่อเอามาพูดใหม่ ด้วยภาษาใหม่ๆ ให้คนรุ่นใหม่ๆ ฟัง

CD ศาลาลุงชิน ครั้งที่ 25

File: 511116.mp3

Time: 13m38 – 32m06

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การดูจิตที่ถูกต้องได้ทั้งศีล สมาธิ ปัญญา

mp3 (for download): การดูจิต(ที่ถูกต้อง) ได้ทั้งศีล สมาธิ ปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

การดูจิต(ที่ถูกต้อง) ได้ทั้งศีล สมาธิ ปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์: หลวงพ่อขอยกตัวอย่างกรรมฐานอันหนึ่งก็คือการดูจิต ถ้าเราดูจิตเป็นนะเราจะมีทั้งศีลทั้งสมาธิทั้งปัญญา นะ ทำอันเดียวนี้แหละ ได้หมดเลย นะ แต่ต้องทำให้เป็นนะ ทำยากเหมือนกันแหละ

ขั้นแรกเลยเราหัดรู้จักจิตใจของตนเองก่อน นะ ศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ได้เกิดลอยๆอยู่ในอากาศหรอกนะ มันอยู่ที่จิตที่ใจเราเนี่ยเราต้องให้พัฒนาขึ้นมาที่จิตที่ใจของเรา คุณงามความดี กุศลทั้งหลาย เกิดที่จิตเรานี่แหละ ไม่ได้ไปเกิดที่ร่างกายหรือเกิดที่อื่น นะ เพราะฉะนั้นเราเรียน ถ้าเรียนเอาให้เร็วๆนะ เรียนเข้ามาให้ถึงจิตถึงใจตนเอง ขั้นแรกเลยหัดสังเกตสภาวะไปเรื่อยๆ จิตมันโลภขึ้นมาคอยรู้ทัน จิตมันโกรธขึ้นมาคอยรู้ทัน จิตมันหลงไปละ คิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ไป ก็รู้ว่ามันหลงไปคิด จิตฟุ้งซ่านรู้ว่ามันกำลังฟุ้งซ่านอยู่ จิตหดหู่รู้ว่ามันหดหู่อยู่ จิตเป็นสุขรู้ว่ามันเป็นสุขอยู่นะ จิตเป็นทุกข์รู้ว่ามันเป็นทุกข์อยู่ จิตเฉยๆรู้ว่าจิตเฉยๆ นะ หัดรู้ทันสภาวะของจิตใจไปเรื่อยๆ อย่าไปคาดหวังว่าจะรู้ไปถึงเมื่อไร รู้แล้วจะได้อะไร หัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆนะ

ตอนนี้มีคนที่ฟังหลวงพ่อ ฟังด้วยต่อหน้าต่อตาแบบนี้บ้าง ฟังจากซีดีบ้าง คนฟังจากซีดีก็เยอะ นะ เมื่อวันจันทร์หลวงพ่อไปเทศน์ที่สระบุรี มีคนที่อยู่ทางโน้นนะ บางคนไม่เคยมาฟังที่นี่ นะ ไม่เคยเจอหลวงพ่อด้วย ฟังแต่ซีดีนะ เขาฟังแล้ว ได้ยินว่าให้หัดรู้สภาวะ รู้สภาวะ เขาก็หัดดูสภาวะไป นะ อะไรเกิดขึ้นในใจคอยรู้เรื่อยๆนะ คอยรู้ไป โลภ โกรธ หลง ฟุ้งซ่านหดหู่ สุขทุกข์ อะไรอย่างนี้ ดีใจ เสียใจ ยินดียินร้าย อะไรๆเกิดขึ้นในจิตในใจเขาคอยดูเรื่อยๆ ปรากฎว่าจิตของเขาตื่นขึ้นมา นะ จิตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ขึ้นมา นะ อันนี้เขาได้สมาธิแล้วนะ ได้สมาธิแล้ว

ถัดจากนั้นคือขั้นเจริญปัญญา นะ ทีนี้เราหัดดูสภาวะบ่อยๆ ต่อไปเนี่ยไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในจิตของเรา แม้แต่นิดเดียว สติจะระลึกได้เอง เราต้องฝึกจนสติเกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติถึงจะเรียกว่าใช้ได้ ถ้าสติยังไม่อัตโนมัตินะ หัดดูสภาวะไปเรื่อย มันโลภแล้วก็รู้ รู้บ้างหลงบ้างนะ มันไม่ได้รู้ตลอดเวลาหรอก นะ เราเคยชินที่จะหลง มันหลงตลอดวันน่ะ ส่วนใหญ่นานๆรู้ทีหนึ่ง นะ

วิธีที่จะช่วยให้เรารู้ได้บ่อยๆนะ คือ หาอารมณ์กรรมฐานมาสักอันหนึ่ง เรียกว่า วิหารธรรม นะ หาวิหารธรรมมาสักอันหนึ่ง อาจจะอยู่กับพุทโธก็ได้ อยู่กับลมหายใจก็ได้ อยู่กับท้องพองยุบก็ได้ ขยับมืออย่างหลวงพ่อเทียนก็ได้ เดินจงกรมแล้วเห็นร่างกายเดินก็ได้ ยืน เดิน นั่ง นอน แล้วเห็นร่างกาย ยืน เดิน นั่ง นอน ไปเรื่อยๆก็ได้ หัดรู้สภาวะอย่างนี้เรื่อยๆ แล้วก็คอยรู้ทันจิตไว้ นะ คอยรู้ทันจิตเป็นตัวหลัก นะ เอาวิหารธรรม เอาเครื่องอยู่นี้เป็น Background เป็นพื้นหลังเท่านั้นเอง เป็นฉากหลัง นะ

เช่น เราคอย พุทโธ พุทโธ ไปนะ แล้วจิตมันหนีไปคิด เราก็รู้ทันว่าจิตหลงไปคิดแล้ว นี่คือการหัดรู้สภาวะ นะ อ้อ..จิตหลงไปคิดหน้าตาเป็นอย่างนี้เอง มาพุทโธ พุทโธ อีก หลงไปคิด คราวนี้ไม่ทันรู้ทัน หลงไปคิดเรื่องนี้แล้วเกิดความโลภ มีสติแล้วไปรู้ทันอีก โอ้..นี่โลภเกิดขึ้นแล้ว เนี่ยจิตจำสภาวะของความโลภได้ ต่อไปความโลภเกิดนะ สติก็เกิดเอง

บางทีหลงไปคิด แล้วก็รู้ไม่ทันความโกรธเกิดขึ้น เกิดรู้ทันว่าจิตกำลังโกรธอยู่ อ๋อ..ความโกรธหน้าตาเป็นอย่างนี้เอง นะ จิตจำสภาวะของความโกรธได้แม่น ต่อไปพอจิตมันโกรธขึ้นมานะ สติระลึกได้เองว่า อ้อ..โกรธไปแล้ว ไม่ได้เจตนารู้เลยนะ มันรู้เอง อ้าวโกรธไปแล้วนี่ โลภไปแล้วนี่ หลงไปแล้วนี่ ฟุ้งซ่านไปแล้ว หดหู่ไปแล้ว ดีใจเสียใจ สุขทุกข์ เฉยๆ ไปแล้ว นะ เฝ้ารู้อย่างนี้เรื่อยๆ

หาอารมณ์กรรมฐานมาสักอันหนึ่งเป็นเครื่องอยู่ของจิต แล้วคอยรู้ทันจิต เหมือนเป็นบ้าน เราไม่ได้ให้ความสำคัญกับบ้านมากกว่าเจ้าของบ้าน จิตคือเจ้าของบ้าน นะ เพราะฉะนั้นเราจะอยู่กับพุทโธ อยู่กับลมหายใจอะไรก็ได้ หายใจไปแล้วจิตหนีไปคิดเรื่องอื่น รู้ทัน จิตไปเพ่งลมหายใจ รู้ทัน หายใจไปแล้วจิตมีปีติ รู้ทัน หายใจแล้วจิตเป็นสุข รู้ทัน หายใจแล้วจิตสงบ มีอุเบกขา รู้ทัน หายใจแล้วไม่ยอมสงบเลย ฟุ้งลูกเดียวเลย ก็รู้ทัน หัดรู้อย่างนี้เรียกว่าหัดรู้สภาวะนะ ต่อไปสติเกิดขึ้นมา

ทีนี้พอสติเกิดเอง แล้วต่อไป กิเลสมันเกิดอีก สติเห็นได้เอง ทันทีที่สติมันไปเห็นเองนะ กิเลสมันจะหายไปละ มันจะครอบงำจิตไม่ได้ นะ ครูบาอาจารย์บางองค์ท่านเลยสอน สอนดีมาก หลวงปู่ทา อยู่วัดถ้ำซับมืด นี่ ท่านสิ้นไปแล้ว หลวงปู่ทานะ เจอท่านทีไรท่านพูดนิดเดียว บอก “มีสติรักษาจิต” มีสติรักษาจิตนะ ท่านไม่ได้บอกให้เรารักษาจิตนะ ท่านให้มีสติ แล้วสตินั่นแหละรักษาจิต หมายถึงว่า พอกิเลสใดๆเกิดขึ้นที่จิต เรามีสติรู้ทันนะ กิเลสจะครอบงำจิตไม่ได้ เมื่อกิเลสครอบงำจิตไม่ได้ เราจะผิดศีลได้มั้ย เราจะผิดศีลไม่ได้ จำไว้นะ

คนทั่วๆไปถือศีลอย่างยากลำบาก รู้สึกศีลเป็นของถือยาก เพราะอะไร เพราะไม่มีสติ แต่ถ้าเราฝึกนะ ตามรู้จิตรู้ใจตัวเองไป รู้ทันกิเลสที่เกิดขึ้นจนมันรู้อัตโนมัติขึ้นมาเนี่ย การรักษาศีลไม่ใช่ของยากอีกต่อไปแล้ว นะ เช่น ใจอยากคุยฟุ้งซ่าน สังเกตมั้ยพูดมากเนี่ย เป็นศีลที่ด่างพร้อยง่ายที่สุด รู้สึกมั้ย พูดเพ้อเจ้อ ศีลด่างพร้อยง่ายที่สุดเลย เพราะเรารู้สึกไม่มีโทษเท่าไหร่ พูดได้ สนุกดี นะ แต่พอต่อไปเรา สติเราเร็วนะ เราเห็นจิตอยากพูดเพ้อเจ้อ เราเห็นละ ความอยากนั้นดับไปนะ เราก็ไม่พูดเพ้อเจ้อแล้ว นี่เป็นตัวอย่างนะ ความโกรธเกิดขึ้นมา เรามีสติรู้ทัน ความโกรธครอบงำจิตไม่ได้เราก็ไม่ด่าใคร ไม่ตีใคร ไม่ ไม่ไปส่อเสียดใคร ไม่ทำร้ายใคร ไม่ฆ่าใคร เห็นมั้ย เราคอยรู้ทันนะ มีสตินี้แหละ สติรักษาจิตให้มีศีลขึ้นมา นะ

ทีนี้พอเราคอยรู้ทันบ่อยๆนะ ต่อไปเนี่ยจิตจะค่อยๆตั้งมั่น กิเลสนั้นล่ะเป็นตัวลากให้จิตมันไหลไป นะ กิเลสหยาบๆนะมันจะขึ้นมาครอบงำจิตแล้วจะทำให้ผิดศีล ถ้ากิเลสยังไม่หยาบ กิเลสมันละเอียดขึ้นมาเรียกว่านิวรณ์ เช่น กามฉันทนิวรณ์เกิดขึ้น จิตมันอาลัยอาวรณ์ในความสุขทางโลกๆขึ้นมา หรือพยาบาทเกิดขึ้น จิตมันคอยคิดคอยปรุงแต่เรื่องไม่ดี เขาว่าเราเมื่อ ๒๐ ปีก่อน เรายังเจ็บไม่หายเนี่ย เพราะใจมีพยาบาท ถ้าเรามีสติรู้ทันนิวรณ์ที่กำลังปรากฎอยู่ นิวรณ์จะดับไปนะ เมื่อไรนิวรณ์ดับไป เมื่อนั้นจิตตั้งมั่นโดยอัตโนมัติ สมาธิเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ

เพราะฉะนั้นถ้าเรามีสติรู้ทันจิตเรื่อยๆนะ จะเกิดศีลอัตโนมัติ แล้วก็รู้ทันลงไปอีกนะ ถ้านิวรณ์กิเลสละเอียดๆผุดขึ้นมาเรารู้ทัน รู้ทัน รู้ทัน ไปเรื่อยนะ กิเลสพวกนี้ลากจิตให้วิ่งไปไม่ได้ กิเลสนิวรณ์นี้จะทำหน้าที่คอยมายั่ว ยั่วยวน นะ จนกระทั่งกลายเป็นกิเลสหยาบๆ ลากเอาจิตกระเจิดกระเจิงลงไป แต่ถ้าเรารู้ตั้งแต่มันยังตัวเล็กๆนี่มันลากเอาไปไม่ได้ จิตใจก็สงบสิ ใช่มั้ย จิตไม่ถูกมันลากให้ไปคิดในเรื่องกาม ไม่ถูกให้มันลากไปคิดในเรื่องที่พยาบาท ไม่ลากไปคิดฟุ้งซ่าน ไม่ลากไปคิดหดหู่ ไม่ลากไปคิดเรื่องธรรมะแล้วก็สงสัยอยู่นั้นแหละ ไม่ยอมดู นะ เมื่อจิตไม่ถูกกิเลสลากเอาไป ไม่ถูกนิวรณ์ลากเอาไป จิตก็สงบสิ จิตก็ตั้งมั่นเห็นมั้ย ดูจิตแล้วมีสมาธิขึ้นมา

เมื่อปี ๒๕ นะ ปลายๆปี หลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดูลย์เป็นครั้งที่ ๓ นะ ครั้งที่ ๓ ครั้งที่ ๑ เนี่ย ไปช่วงเดือนมาฆะ ช่วงมาฆบูชา ใกล้ๆมาฆบูชา ครั้งที่ ๒ ไปช่วงใกล้ๆวิสาขะ นะ แล้วครั้งที่ ๓ เนี่ย หลังจากออกพรรษาแล้วไป ไปส่งการบ้านท่าน ไปส่งรายงานท่านว่าดูจิตแล้วอย่างนี้ อย่างนี้ อย่างนี้ ท่านก็บอกว่า อ้อ..จิตตรงนี้เข้าสมาธิ นะ จิตเป็นสมาธิ ตอนนั้นหลวงพ่อก็ไปบอกท่านนะ เอ๊..หลวงปู่ผมไม่ได้นั่งสมาธินะ ผมดูจิตอยู่เฉยๆน่ะ ทำไมหลวงปู่ว่าเข้าสมาธิ เราลูกศิษย์ชั้นดีนะ ครูบาอาจารย์บอกอะไร เรายังสงสัยเรายังไม่เชื่อทีเดียว เราฟังแต่ไม่เชื่อ ชาวพุทธต้องหัดนิสัยใหม่นะ ทุกวันนี้เราเน้นเรื่องเชื่อฟัง อย่าเชื่อง่าย เชื่อง่ายไม่ใช่ชาวพุทธแต่ต้องฟังนะ ฟังแล้วพิจารณา ฟังแล้วใคร่ครวญ ฟังแล้วตรวจสอบ นะ เห็นจริงแล้วถึงจะเชื่อ

เพราะฉะนั้นหลวงปู่สอนหลวงพ่อนะ บอกว่าจิตมันทำสมาธิ หลวงพ่อก็ยังสงสัยอยู่ กราบเรียนถามท่าน หลวงปู่ ผมไม่ได้นั่งสมาธินะผมดูจิตอยู่ หลวงปู่บอกว่าการดูจิตนั้นจะได้สมาธิอัตโนมัติ นะ โอ้.. ท่านว่าอย่างนี้นะ น้อมรับมา เดี๋ยวมาดูว่าจริงหรือไม่จริง นะ เนี่ยท่านว่าอย่างนี้เราก็ฟัง นะ ไม่เถียงนะ ไม่ใช่เถียงไม่จริงหรอกครับ ยังไม่ได้พิสูจน์เลยดันไปบอกว่าไม่จริง โง่ อย่างนั้นโง่ นะ ก่อนจะบอกว่าจริงหรือไม่จริงนะต้องพิสูจน์ก่อน

อย่างทุกวันนี้ข่าวลือเยอะนะ ชอบลือว่าคนนั้นเป็นพระอรหันต์ นี่ คนนี้อรหันต์ หลวงพ่อปราโมทย์ก็อรหันต์ หันไปหันมา เชื่อก็โง่แล้ว นะ ถ้าเชื่อก็โง่แล้ว ถ้าไม่เชื่อแล้วก็ไม่จริงหรอก ไม่จริงหรอก อันนี้ก็โง่อีกแบบหนึ่ง ใช่มั้ย ต้อง ต้องดู ใช่มั้ย ต้องตรวจสอบ ต้องพิสูจน์ เนี่ย เราแต่ละคนอย่าเชื่อง่าย

นี่หลวงพ่อก็มาดูๆ ผ่านมา ฝึกมาเรื่อยๆ อ๋อ เราดูจิตดูใจเนี่ย มันพลิกไปพลิกมานะ ระหว่างการเดินปัญญากับการทำสมาธิ ถ้าเมื่อไรจิตไปจับอารมณ์อันเดียวไว้ล่ะก็นิ่ง..หยุดอยู่ในอารมณ์อันเดียวนั้น ในความสงบ ในความว่าง ในความไม่มีอะไร อันนั้นคือการทำสมาธิด้วยการดูจิต นะ หรืออย่างเรารู้ทันกิเลส รู้ทันนิวรณ์ที่จะมาย้อมจิต พอรู้ทันนะ กิเลสนิวรณ์ดับไปเนี่ย จิตสงบ จิตตั้งมั่น มีสมาธิขึ้นมาโดยอัตโนมัติ นี่ดูจิตก็ได้สมาธิจริงๆอย่างที่ครูบาอาจารย์บอก เห็นมั้ยท่านบอกไม่ผิด ท่านบอกถูก แต่ตอนที่ท่านบอกเรายังรู้ไม่ถึง นะ เราก็มาฝึกเอา ไม่ใช่รู้ไม่ถึงแล้วเถียงไว้ก่อน แล้วก็ไม่ลองทำ อันนั้นใช้ไม่ได้ นะ

ทีนี้ ดูจิตนะ กิเลสหยาบครอบงำจิตไม่ได้ ต่อไปก็มีศีล ดูจิตนะ นิวรณ์เกิดขึ้น รู้ทันนิวรณ์ นิวรณ์สลายไป จิตก็ตั้งมั่น มีสมาธิ เรามาดูจิตต่อไปให้เกิดปัญญาทำได้มั้ย ทำได้ เราจะเห็นว่าจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้น จิตดวงหนึ่งดับไป อย่างนี้ทั้งวันทั้งคืน นะ จิตนี้ไม่คงที่เลย จิตนี้แต่ละดวง แต่ละดวงเนี่ย เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ จิตไม่ได้มีดวงเดียว มิจฉาทิฎฐิจะเห็นว่าจิตมีดวงเดียวแล้วก็เที่ยง คงที่ถาวร จิตนี้คือตัวเรา เป็นอัตตาตัวตนถาวร

แต่ถ้าเราหัด มีสติ รู้ทันจิตเรื่อยๆ เราจะเห็นว่าจิตไม่เที่ยงหรอก จิตบางดวงมีความสุข จิตบางดวงมีความทุกข์ จิตบางดวงเฉยๆ จิตบางดวงเป็นกุศล จิตบางดวงมีกิเลส นะ คนละดวงกัน จิตที่เป็นกุศลก็อย่างหนึ่ง จิตที่มีกิเลสก็อย่างหนึ่ง จิตที่เป็นกุศลก็ยังมีหลายแบบ เป็นกุศลเฉยๆ เป็นกุศลธรรมดา หรือเป็นกุศลที่ประกอบด้วยสติปัญญา นะ มีสติอย่างเดียว หรือมีสติและปัญญา เนี่ย จิตที่เป็นกุศลก็จะมีสองแบบ นะ

จิตที่เป็นอกุศลก็มีหลายแบบ จิตที่โลภก็เป็นแบบหนึ่ง จิตที่โกรธก็เป็นแบบหนึ่ง จิตที่หลงก็เป็นแบบหนึ่ง นะ แล้วจิตที่หลงมีความพิเศษ จิตอกุศลทั้งหมดจะเป็นจิตที่หลง จิตจะโกรธได้ก็ต้องหลงด้วย จิตจะโลภได้ก็ต้องหลงด้วย เพราะฉะนั้นความโกรธและความโลภไม่เกิดเดี่ยวๆ จะต้องเกิดร่วมกับความหลง เกิดร่วมกับโมหะเสมอ ทีนี้บางทีจิตมีโมหะเฉยๆ ฟุ้งซ่านเฉยๆ ยังไม่โลภไม่โกรธ บางทีลังเลสงสัยอยู่ ยังไม่โลภไม่โกรธ บางทีมีโมหะขึ้นมา นะ แล้วก็โลภ แล้วก็โกรธ นะ ไม่แน่ แต่ละดวง แต่ละดวง ไม่เหมือนกัน

เนี่ยเราค่อยเฝ้ารู้ลงไปนะ จิตที่มีความสุขมันก็แบบหนึ่ง จิตที่มีความทุกข์มันก็แบบหนึ่ง จิตที่เฉยๆก็แบบหนึ่ง จิตที่มีปัญญาก็แบบหนึ่ง จิตที่ไม่มีปัญญานะ มีแต่ความรู้สึกตัวอยู่เฉยๆก็แบบหนึ่ง นะ จิตที่โลภ จิตที่โกรธ จิตที่หลง จิตที่ฟุ้งซ่าน จิตที่หดหู่ จิตที่ลังเลสงสัย แต่ละอัน แต่ละอัน คนละแบบกันทั้งนั้นเลย จิตที่กลัวกับจิตที่อิจฉาเหมือนกันมั้ย เอ้อ.. กลัวก็เป็นโทสะเหมือนกันนะ อิจฉาก็เป็นโทสะ แต่เห็นมั้ย ไม่เหมือนกัน ยังมีสไตล์ที่แยกออกไป มีรูปแบบย่อยๆออกไปอีก เพราะฉะนั้นกิเลสนานาชนิด ก็อยู่กับจิตนานาชนิด

เราเห็นลงไป ความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆ จิตแต่ละดวงไม่เหมือนกัน จิตที่เป็นกุศล จิตที่เป็นอกุศล แต่ละดวงไม่เหมือนกัน ดูจากอายตนะก็ได้ จิตที่ไปดูกับจิตที่ไปฟังก็ไม่เหมือนกัน จิตที่ไปดู จิตที่ไปฟัง กับจิตที่ไปคิด ก็ไม่เหมือนกัน เนี่ยดูอย่างนี้นะ เราจะเห็นว่าจิตแต่ละดวง แต่ละดวง ไม่เหมือนกัน

เนี่ยวิธีดูจิตที่จะทำให้เกิดปัญญา คือ ดูให้เห็นเลยว่าจิตแต่ละดวง แต่ละดวง ไม่เหมือนกันหรอก พอเราเห็นว่าจิตแต่ละดวงไม่เหมือนกันแล้วเนี่ย ต่อไปปัญญามันจะเกิดละ มันจะเห็นว่า อ้อ..จิตที่โลภอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไปนะ กลายเป็นจิตเฉยๆ จิตเฉยๆอยู่ชั่วคราวแล้วก็กลายเป็นจิตที่โกรธนะ จิตที่โกรธอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป เกิดเฉยๆอีกละ อะไรอย่างนี้ เนี่ยมันจะหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย แล้วจะเห็นเลยจิตนี้เกิดดับอยู่เรื่อยๆ

หรือบางทีจิตก็เกิดที่ตา เกิดที่หู เกิดที่ใจ เกิดแล้วก็ดับทั้งสิ้น นะ เฝ้ารู้เฝ้าดูอย่างนี้เรื่อย เราจะเห็นว่าจิตแต่ละดวงเกิดแล้วดับ จิตแต่ละดวงเกิดแล้วดับ ไม่ใช่ดวงเดียวกัน นะ เห็นอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก เราจะรู้เลยว่า จิตทุกชนิด ทั้งที่เป็นกุศล ทั้งที่เป็นอกุศล เกิดแล้วดับทั้งสิ้น การที่เห็นจิตที่เป็นกุศลอกุศลเกิดแล้วดับทั้งสิ้น มันจะไม่ได้รู้แค่จิต เราจะรู้สิ่งที่ประกอบจิตด้วย นะ คือ เจตสิก นะ ความสุข ความทุกข์ กุศล อกุศล เราก็จะเห็นด้วยว่ามันเกิดดับไปพร้อมๆกับจิตนั่นแหละ นะ นี่เราจะเห็นทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ นะ ทั้งสุข ทั้งทุกข์ ทั้งดีทั้งชั่ว นะ ทั้งรู้ ทั้งไม่รู้ นี่ เกิดแล้วดับหมดเลย

การที่เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีก วันหนึ่งจิตเกิดปัญญาขึ้นมา มันรู้เลยว่าสิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา โดยการที่เราเรียนรู้จิตนี่แหละเป็นตัวหลัก นะ ความจริงเรียนอย่างอื่นก็ได้ ดูกาย ดูเวทนา อะไรอย่างนี้ก็ใช้ได้นะ แต่วันนี้พูดเรื่องการดูจิตมาตั้งแต่เรื่อง ดูจิตให้เกิดศีล ดูจิตจนเกิดสมาธิ นี่ดูจิตจนเกิดปัญญา เราเห็นจิตเขาเกิดดับ เกิดดับ ไปเรื่อย ในที่สุดปัญญามันเกิด สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าตัวตนถาวร ละสักกายทิฎฐิ ละความเห็นผิดว่ามีตัวมีตนได้ พอละความเห็นผิดว่ามีตัวมีตนได้ มันจะละมิจฉาทิฎฐิอื่นๆขาดไปด้วย

CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๓๕ (วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๒)

File: 521220

ระหว่างนาทีที่ ๒๓ ถึงนาทีที่ ๓๘

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หนทางยังมีอยู่ ผู้เดินทางยังไม่ขาดสาย…

MP3 (for download): หนทางยังมีอยู่ ผู้เดินทางยังไม่ขาดสาย…

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : หนทางยังมีอยู่ ผู้เดินทางยังไม่ขาดสาย

ลงมือเสียแต่วันนี้ ก่อนที่กระแสลมแห่งกาลเวลา

จะพัดพารอยพระบาทของท่านหายไป เพราะถ้าถึงวันนั้นนะ

เราจะระหกระเหินอีกแสนนาน…

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จากอวิชาสู่สติปัฎฐานและอริยะสัจจ์

MP3 (for download): จากอวิชาสู่สติปัฎฐานและอริยะสัจจ์

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าไม่ล้างอวิชชาไม่สามารถปล่อยวางได้จริง เพราะอวิชชามีอยู่คือความไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ คือไม่รู้ทุกข์นั่นแหละ ไม่รู้กายรู้ใจแจ่มแจ้งจนหมดความยึดถือกายยึดถือใจ ความปรุงแต่งมันจึงเกิดขึ้น ความปรุงแต่งเกิดได้ ๓ แบบ

(๑.) อปุญญาภิสังขาร ความปรุงแต่งฝ่ายชั่ว การที่เราหลงตามกิเลสไป เพราะว่ามีอวิชชาไม่รู้แจ้งตัวเราไม่มีมันรักตัวเอง อยากให้ตัวเองมีความสุขมันก็ดิ้นรนไปแสวงหาความสุขทางหูตาจมูกลิ้นกายฟุ้งซ่านออกไปข้างนอก แย่งชิงผลประโยชน์  แย่งชิงชื่อเสียงอะไรต่ออะไรมา คิดว่าได้มาแล้วจะดีแย่งชิงชื่อเสียงอะไรต่ออะไรมาายวไป ผิดศีลผิดธรรมะไปุกข์นั่นแหละก็ปรุงแต่งฝ่ายชั่วไป ทำผิดศีลผิดธรรมะไป (๒)อีกพวกหนึ่ง เพราะว่าอวิชามีอยู่จึงปรุงแต่งฝ่ายดี พวกนักปฏิบัติทั้งหลายนี่แหละ ปรุงแต่งฝ่ายดีคือทำอย่างไรจึงจะดี อยากดี พอคิดจะทำนะสิ่งเกิดขึ้นคือการบังคับกายบังคับใจตัวเอง ปรุงแต่งฝ่ายดีมันโน้มไป อัตตกิลมถานุโยค ทางบังคับตัวเอง ปรุงแต่งฝ่ายชั่วก็โน้มไปกามสุขัลลิกานุโยค ตามใจกิเลสไป (๓)มีบางคนว่าอย่าปรุงแต่งอะไรเลย ไปนั่งสมาธิ ไปเดินจงกรม เป็นการปรุงแต่งฝ่ายดี ไม่ดีไม่ต้องทำ ไม่ต้องทำอะไรเลยไม่เอาอะไรเลยไม่เอาอะไรเลยสักอย่าง การปรุงแต่งแบบไม่เอาอะไรเลยสักอย่างเป็นการปรุงแต่งชนิดที่ ๓  ที่อวิชชาพาทำ ชื่อว่าอเนญชาภิสังขาร ปรุงแต่งแบบว่างๆไม่มีอะไรเลยสบาย ว่างๆอันนั้นยังเป็นว่างที่ปรุงขึ้นมา ไม่ใช่ว่างที่เกิดจากจิตที่เห็นความจริงของรูปนามของทุกข์จนปล่อยวาง

พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้เราปรุงแต่งนะ แต่สอนให้เรารู้ อวิชชาก็คือความไม่รู้ สิ่งที่ตรงข้ามกับอวิชชาคือรู้  อวิชชาไม่รู้อะไร อวิชชาไม่รู้อริยสัจจ์ ไม่รู้ทุกข์ไม่รู้สมุทัยไม่รู้นิโรธไม่รู้มรรค วิชชาคืออะไรคือ รู้ทุกข์รู้สมุทัยรู้นิโรธรู้มรรค รู้ทุกข์คือรู้อะไร รู้กายรู้ใจ

กายกับใจมีอยู่เป็นสภาวะธรรม แต่ไม่ใช่ตัวเรา ถ้ายังไม่เห็นความจริงว่า กายกับใจเป็นแค่สภาวธรรมไม่ใช่ตัวเรามันก็ยังยึดว่าเป็นเราอยู่ พอมันเป็นเราขึ้นมาก็อยากมีความสุข อยากจะดี อยากจะอยากโน้นอยากจะอยากนี้ เพราะว่าอยากให้ตัวเราดีมีความสุขจึงเกิดการปรุงแต่งทั้งสามอย่างนี้ขึ้น

คนโง่ก็ปรุงแต่งอปุญญาภิสังขาร ปรุงแต่งกามสุขัลลิกานุโยค   คนดีคนฉลาดก็ปรุงแต่งการบังคับตัวเอง ปรุงแต่งอัตตกิลมถานุโยค  ปรุงแต่งปุญญาภิสังขาร   พวกที่ปัญญาล้ำหน้าไปก็ปรุงแต่งความว่าง ปรุงแต่งอเนญชาภิสังขาร ไม่ต้องรับรู้ไม่ต้องอะไร ว่างๆโล่งๆ ทำไมต้องเอาว่าง?เพราะมีเรา เราอยู่ในความว่างแล้วเรามีความสุข เราไม่ยึดอะไรเลยเราสบาย สุดท้ายก็มีเราจนได้ มันจะเลิกไม่ให้มีเรามันทำไม่ได้ จนกว่าปัญญาจะเห็นแจ้งลงในรูปนามในกายในใจว่าไม่มีเราจริงๆ

พระพุทธเจ้าจึงสอนว่า สติปัฏฐาน เป็นทางสายเอกเป็นทางสายเดียวเพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้น สติปัฏฐานไม่ใช่แค่ปุญญาภิสังขารเพียงอย่างเดียว   สติปัฏฐานไม่ใช่อปุญญาภิสังขารแน่นอนไม่ใช่ความปรุงแต่งฝ่ายชั่วแน่นอน   สติปัฏฐานไม่ใช่อเนญชาภิสังขาร ไม่ใช่ปรุงว่างๆขึ้นมา   การเจริญสติปัฏฐานเป็นปุญญาภิสังขาร เป็นการปรุงแต่งฝ่ายดีอยู่ แต่เบื้องต้นอาศัยการปรุงแต่งนี้แหละค่อยๆพัฒนา ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้งหลายมันไม่เกิดขึ้นลอยๆในอากาศแต่มันเกิดขึ้นในภพ  มีภพเพื่อวันหนึ่งจะหลุดจากภพ มีภพเพื่อที่จะเรียนรู้ภพ มีภพเพื่อที่จะรู้ว่าทั้งหลายนั้นเป็นทุกข์ทั้งหมดเลย   มีกายมีใจเกิดการดิ้นรนการทำงานของจิตขึ้นมา  ไม่ใช่อยู่ๆไม่เอาอะไรเลย ไม่เอาอะไรเลยก็ไม่ได้ จิตมันจะต้องเอาเพราะจิตยังมีอวิชชา

อยากจะล้างอวิชชาก็ฝึกให้มีสติ ฝึกให้มีสติเป็นภพไหมเป็น ?เป็น เป็นภพที่ดี

แต่ภพที่ดีมี ๒ ระดับ (๑)ภพที่ดีที่จะติดข้องอยู่ในโลก (๒)ภพที่ดีภพที่จะข้ามโลก เราก็ต้องเป็นภพที่ดีที่อยู่ในโลกด้วย เพราะเรายังอยู่ในโลก เรียกว่า โลกียธรรม   ในขณะเดียวกันเราก็ต้องหัดเจริญสติ จนกระทั่งสามารถมีสติ รู้รูปรู้นามรู้กายรู้ใจ ด้วยจิตที่มีสัมมาสมาธิ คือ มีความตั้งมั่นเป็นกลาง แล้วปัญญาจะเกิด ตัวปัญญาหรือตัววิชชาจะเกิด จะเห็นความจริง   ทั้งรูปทั้งนามทั้งกายทั้งใจ ไม่ใช่ตัวเรา ได้พระโสดาบัน    ต่อมาภาวนาไปอีก รู้กายรู้ใจไปเรื่อยๆ ถ้าจิตตั้งมั่นอยู่จะไม่ทุกข์ แต่ถ้าไหลไปมันส่งออกไปจิตไปยึดโน่นยึดนี่จิตจะทุกข์ ในที่สุดจิตจะไม่ไปไหนเลยมันทรงตัวเด่นอยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน นี่คือภูมิของพระอนาคามี ยังปรุงแต่งอยู่   ตามรู้กายรู้ใจต่อไปอีก จนเห็นความจริง กระทั่งตัวธาตุรู้ผู้รู้ก็ยังทุกข์อีก ก็จะปล่อยวางจิต คราวนี้จะเรียกว่ารู้จริงแล้ว มีวิชชา เห็นความจริงคือเห็นทุกข์แจ่มแจ้ง คือเห็นว่าทั้งกายทั้งจิตเป็นตัวทุกข์ ทั้งรูปทั้งนามนี้เป็นตัวทุกข์  ความรักในกายในใจจะหมดไป ความยึดถือในกายในใจจะหมดไป   ความอยากที่จะให้กายให้ใจเป็นสุข ความอยากที่จะให้กายให้ใจพ้นทุกข์จะไม่เกิดขึ้นอีก   อันนี้เรียกว่ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้วละสมุทัย ละแบบเด็ดขาดเลยละถาวรเป็นสมุเฉท ไม่ใช่รู้ทันเป็นขณะๆ ดับทันเป็นขณะๆ

ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์เกิดวิชชาขึ้นมาจะละตัณหาถาวร  ตัณหาจะไม่มีขึ้นอีกเลย ตัณหาจะมีขึ้นได้เพราะรักตัวเอง มันรักกายรักใจมันรักตัวเองได้เพราะมันยังไม่เข้าใจความเป็นจริง ว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่เราเราเป็นตัวทุกข์  คิดว่าเป็นดีตัววิเศษตัวเราเป็นตัวเรา มันเลยรัก มันเลยอยาก อยากให้มันดี อยากให้มันสุข อยากมันสงบ อยากให้มันไม่ทุกข์ อยากให้มันไม่ชั่ว ตัวสมุทัยมันเกิดขึ้นมาเพราะไม่รู้ทุกข์

เมื่อสมุทัยทุกข์ละจิตจะหมดความดิ้นรน  จิตจะแจ่มแจ้งจะสดชื่นเบิกบานในตัวเอง จิตเข้าถึงความไม่ปรุงแต่ง ความไม่ปรุงแต่งนั่นแหละคือนิพพาน  เห็นอสังขตธรรมความไม่ปรุงแต่ง  เป็นวิสังขารธรรมพ้นจากความปรุงแต่ง เป็นวิมุตติคือหลุดออกจากขันธ์  เป็นอนารโย อนารยะไม่ผูกพันธ์พัวพันอยู่ในความปรุงแต่งในสิ่งปรุงแต่งทั้งหลายในภพทั้งหลาย  เป็นวิราคะคือดับราคะสนิทไม่มีความอยากอีก   นิพพานมีชื่อเยอะแยะ ภาวะที่จิตมันพ้น

ไม่ใช่ตัวจิตนะจิตไม่ใช่นิพพาน  นิพพานเป็นสภาะที่พ้นจากความปรุงแต่ง   จิตที่พ้นจากความปรุงแต่งจะไปพ้นนิพพาน นี่เรียกว่านิโรธ การไปเห็นนิพพานเรียกว่าทำให้แจ้ง การทำให้แจ้งนิโรธ ท่านถึงบอกว่านิโรธต้องทำให้แจ้ง สัจฉิกริยา

ทุกข์ให้รู้นะ   สมุทัยให้ละ   นิโรธคือนิพพานทำให้แจ้ง

ถ้าเมื่อไรตัณหาถูกละ นิโรธจะแจ้งเมื่อนั้น สมุทัยดับนิโรธจะปรากฏขึ้นตรงนั้น  ตรงที่เราคอยรู้ทุกข์จนละสมุทัยแจ้งนิโรธตรงนั้นคือมรรค เวลามรรคเกิด เกิดเพียงขณะเดียว แว้บเดียวรู้ทุกข์แจ่มแจ้งละสมุทัยในขณะนั้นเห็นนิพพานขณะนั้นเลย  ทางที่พระพุทธเจ้าสอนเดินแบบนี้  เจริญสติหรือทำวิปัสสนากรรมฐาน  มีสติรู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลาง ไม่ใช่ไม่ทำอะไรเลย  ไม่ทำอะไรเลยแล้วบรรลุเอง ไม่งั้นหมาก็บรรลุแล้ว  ไม่ทำอะไรเลยไม่บรรลุนะ ต้องเจริญสติปัฏฐานเป็นทางเดียวสู่ความบริสุทธิ์หลุดพ้น

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลักการดูจิตที่ถูกต้องใน ๓ กาล

mp3 (for download): หลักการดูจิตที่ถูกต้อง ใน ๓ กาล

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : หลักการดูจิตที่ถูกต้อง จำไว้ง่าย ๆ นะ มันต้องดูถูกต้องใน ๓ กาล กาละนะ กาละ กาล ต้องดูถูกต้องใน ๓ กาลนะ ซึ่งยากมากเหมือนกันนะ ที่เราจะดูให้ถูกต้องทั้ง ๓ กาล

กาลที่ ๑ หมายถึงก่อนจะดู ก่อนจะดูเนี่ย อย่าไปดักไว้ อย่าไปเฝ้าดู อย่าไปจ้องเอาไว้ก่อน อย่าไปรอดูนะ ให้สภาวะธรรมใด ๆ เกิดขึ้นกับจิตก่อน แล้วค่อยมีสติรู้ไป เรียกว่าตามรู้นะ ให้มันโกรธขึ้นมาก่อน แล้วรู้ว่าโกรธ ให้มันโลภขึ้นมาก่อน แล้วรู้ว่าโลภ ให้ใจลอยไปก่อน แล้วรู้ว่าใจลอย นี่คือกฎข้อที่ ๑ ถ้าเราไปดักดูแล้วมันจะนิ่ง ทำไมเราต้องไปดักดู หลายคนพอคิดถึงการดูจิต ก็จ้องปึกเลย แล้วทุกอย่างก็นิ่งหมดเลยนะ มันเกิดจากความอยากดู ตัณหามันเกิดก่อน อยากปฏิบัติ อยากดูจิต พออยากดูจิตก็เข้าไปจ้อง ไปรอดู พอเข้าไปจ้องไปรอดู มันคือการเพ่งนะ เมื่อไรเพ่ง เมื่อนั้นจิตก็นิ่ง ไม่แสดงไตรลักษณ์ ไม่แสดงความจริงให้ดู ฉะนั้น กฎข้อที่ ๑ นะให้สภาวะธรรมเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยมีสติตามรู้ไป ตามรู้อย่างกระชั้นชิด อย่าไปดักรอดูด้วยความโลภที่อยากปฏิบัตินะ นี่ข้อที่ ๑ อย่าดักดู พวกเรามีคนไหนดักดูไหม เวลาดูจิต เอ้าช่วยยกมือ โชว์ตัวหน่อย พวกดักดู ดักทุกคนแหล่ะ พวกที่ไม่ยกเพราะดูไม่ออก หรือไม่ก็ขี้เกียจยกนะ ส่วนใหญ่พอคิดถึงการปฏิบัติก็เริ่มควาน ๆ ก่อนใช่ไหม เริ่มนึกจะดูอะไรดี ควาน ๆ ๆ อย่างนั้น เจออันนี้แหล่ะว้า จ้องไปอย่างนั้น จ้อง… ใจก็จะนิ่ง ๆ กลายเป็นเพ่งจิต ไม่ใช่ดูจิตล่ะ ฉะนั้นจะไม่เพ่งจิตนะ อันแรกเลยอย่าไปดักดู ให้สภาวะเกิดขึ้นก่อน แล้วค่อยรู้

กาลที่ ๒ หรือลำดับที่ ๒ คือ ขณะที่ดู ก่อนดูไม่ไปดักดู ขณะดูอย่าถลำลงไปจ้องนะ ดูแบบคนวงนอก นี่เป็นกฏข้อสำคัญอีกข้อหนึ่ง ดูแบบคนวงนอกนะ ส่วนใหญ่พอเราเห็นสภาวะธรรมเกิดขึ้นแล้ว มันจะมีตัณหา ตัณหาก็คืออยากรู้ให้ชัด พออยากรู้ให้ชัดแล้วมันจะถลำลงไปจ้องนะ คล้าย ๆ เราดู ก่อนนี้ใครเคยดูหนังจีนไหม หนังจีนสมัยก่อนนะ กำลังภายใน จ้าวยุทธภพอะไรแบบเนี่ย มันชอบมีบ่อน้ำกลม ๆ เนี่ย ใครเคยเห็นไหม ที่มีขอบปูนนะ แล้วผู้ร้ายชอบจับเอานางเอกไปโยนลงบ่อเนี่ย บางทีก็เอาคัมภีร์ไปโยนลงบ่อ คล้าย ๆ กันนะ เวลาเราจะดูของที่อยู่ก้นบ่อเนี่ย เราชะโงกลงไปดูจนหัวทิ่มลงบ่อไป อย่างนี้ใช้ไม่ได้ เราต้องดูอยู่ห่างๆ ดูอยู่ปากบ่อ อย่าถลำลงไปจนตกบ่อ พวกเราเวลาที่ดูจิตดูใจเนี่ย เราอยากดูให้ชัด ชะโงกลงไป ชะโงกลงไป ในที่สุดจิตมันถลำลงไปเพ่ง กลายเป็นเพ่งอีกล่ะ ใช่ไหม อยากดูไปดักดูนะ ก็กลายเป็นการเพ่ง พอกำลังดูอยู่ อยากดูให้ชัด ถลำลงไปจ้องอีกนะ ก็กลายเป็นการเพ่งนะ กลายเป็นเพ่งทั้งนั้นเลย เพราะฉะนั้นกฎข้อที่ ๑ ก่อนจะรู้เนี่ย อย่าไปดักรู้ ให้สภาวะเกิดแล้ว ค่อยรู้เอา ให้มันโกรธขึ้นมาแล้วรู้ว่าโกรธ โลภขึ้นมาแล้วรู้ว่าโลภ ใจลอยแล้วรู้ว่าใจลอย สภาวะที่ ๒ ขณะที่เห็นสภาวะเกิดขึ้น ขณะที่เห็นสภาวะเกิดขึ้น เช่น เห็นความโกรธเกิดขึ้น ดูอยู่ห่าง ๆ อย่าถลำตามความโกรธไป อย่าไปจ้องใส่มัน หลวงพ่อเคยทำผิดนะ เห็นกิเลสโผล่ขึ้นมา แล้วเราจ้อง พอเราจ้องแล้วมันหดลงไป หดลึก ๆ ลงไปอยู่ข้างในนะ เราก็ตามลงไป กะว่าวันเนี่ยจะตามถึงไหนถึงกันนะ ตามลึกลงไป ควานหามันใหญ่เลย บุญนักหนานะ ไปเจอหลวงปู่สิมเข้า หลวงปู่สิมท่านเตือน ผู้รู้ ๆ ออกมาอยู่ข้างนอกนี่ ที่แท้ตกบ่อไปแล้ว ไม่เห็น ตกบ่อนะ พอรู้ทัน อ้อ…ใจมันถอนขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดูนะ เห็นสภาวะผ่านไปผ่านมา คล้าย  ๆ เราเห็นคนเดินผ่านหน้าบ้าน ใจเราอยู่ต่างหาก ใจเราอยู่ในบ้าน ใจเราไม่วิ่งตามเขาไปนะ ถ้าใจเราหลงตามอารมณ์ไป หลงตามสภาวะไป มันจะรู้ได้ไม่ชัดหรอก

ข้อที่ ๓ นะ ข้อที่ ๓ คือ เมื่อรู้แล้ว อันแรกอะ ก่อนจะรู้อย่าไปดักไว้ อันที่ ๒ ระหว่างรู้อย่าถลำลงไปจ้อง อันที่ ๓ เมื่อรู้แล้วนะ รู้ด้วยความเป็นกลาง อย่าไปหลงยินดียินร้ายกับมัน ถ้าหลงยินดีหลงยินร้ายเนี่ย จิตจะเข้าไปแทรกแซง เช่น เห็นความสุขเกิดขึ้นแล้วก็ยินดีนะ ก็จะเผลอเพลินไป หรืออยากให้ความสุขอยู่นาน ๆ พอความทุกข์เกิดขึ้นก็เกลียดมัน อยากให้มันหายเร็ว ๆ นะ เนี่ยใจที่มันไม่เป็นกลาง มันจะทำให้จิตเกิดการดิ้นรน เพราะฉะนั้นถ้าใจไม่เป็นกลางนะ ให้มีสติรู้ทัน มีสติรู้ไป มันยินดีขึ้นมาก็รู้ทัน มันยินร้ายขึ้นมาก็รู้ทัน ในที่สุดใจจะเป็นกลาง รู้สภาวะทั้งหลายด้วยจิตที่เป็นกลางนะ นี่คือกฎข้อที่ ๓ คือ รู้แล้วไม่แทรกแซง มันสุขก็ได้ มันทุกข์ก็ได้ มันดีก็ได้ มันชั่วก็ได้ มันสว่างก็ได้ มันมืดก็ได้ มันหยาบก็ได้ มันละเอียดก็ได้ สภาวะทั้งหลายนั้นเสมอภาคกันในการทำวิปัสสนา เพราะสภาวะทั้งหลายนั้นไม่ว่าจะสุข ทุกข์ ดี ชั่ว หยาบ ละเอียดนะ ก็ล้วนแสดงไตรลักษณ์ เกิด-ดับเหมือน ๆ กันทั้งสิ้น ไม่ใช่จะเอาอันหนึ่ง จะเกลียดอีกอันหนึ่งนะ ใจของเราเนี่ย พอเห็นอะไรก็แล้วนะ มันจะรักอันหนึ่ง จะเกลียดอันหนึ่งอยู่เสมอแหล่ะ เช่น รักสุข เกลียดทุกข์ รักดี เกลียดชั่วนะ รักความสงบ เกลียดความฟุ้งซ่าน เนี่ยใจเราไม่เป็นกลาง เนี่ยอาจารย์อนันต์ วัดมาบจันทร์ นะ ท่านก็สอนมา ท่านบอก หลวงพ่อชาสอนมาว่า เวลาดูจิตเนี่ย ให้ดูด้วยความไม่ยินดี ไม่ยินร้ายเนี่ยหลวงพ่อชาสอนมาอย่างนี้นะ หลักอันเดียวกันนะ ครูบาอาจารย์แต่ละองค์ ๆ ที่ท่านภาวนาเก่ง ๆ นะ ท่านสอนเหมือนกันหมดเลย หลวงปู่ดุลย์ก็สอนอย่างเดียวกันนะ องค์ไหนๆ ก็สอนอย่างเดียวกันนะ รู้ด้วยความเป็นกลาง หลวงปู่เทสก์ใช้สำนวนบอกรู้ด้วยความเป็นกลาง หลวงพ่อชาบอกรู้ด้วยความไม่ยินดีไม่ยินร้ายนะ บางองค์ก็ว่ารู้แล้วสักว่ารู้นะ รู้แล้วไม่แทรกแซง ก็คือสิ่งเดียวกันนั่นเอง มันเป็นยังไง รู้แล้วเป็นอย่างนั้น นี่สำนวนอาจารย์สุรวัฒน์ จิตเป็นยังไง รู้ว่าเป็นอย่างนั้น กายเป็นยังไง รู้ว่าเป็นอย่างนั้น ใครไม่รู้จักอาจารย์สุรวัฒน์  พยายามรู้จักไว้นะ เพราะแกเป็นกัลยาณมิตร แกต้องน่วมแน่ ๆ เลยรอบเนี่ย… ใครฟุ้งซ่านยกมือหน่อย เห็นไหม เออ…มีผู้ร้ายปากแข็งหลายคนนะ… ฟุ้งทั้งนั้นแหล่ะนะ

จำได้ไหมข้อที่ ๑… ข้อที่ ๑ เนี่ยมันผิดพลาดตรงที่อยากปฏิบัติ..อยากปฏิบัติ ก็ไปจ้องรอดูว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น มันก็เลยไม่มีอะไร นอกจากความนิ่งความว่าง ข้อที่ ๒ นะ อยากรู้ให้ชัด ก็เลยถลำลงไปจ้อง ไปเพ่งเอาไว้ ไม่ให้คลาดสายตา มันก็นิ่งเหมือนกัน กลายเป็นการเพ่ง ข้อที่ ๓ นะ อยากดี อยากให้พ้นทุกข์ อยากดีนะ อยากให้สุข อยากให้สงบ อยากให้พ้นจากความฟุ้งซ่าน ก็เข้าไปแทรกแซงนะ แล้วก็เลยไม่เป็นกลาง แล้วสรุปง่าย ๆ นะ ต่อไปนี้ สภาวะอะไรเกิดขึ้นก็รู้มันอย่างที่เป็นมันเป็น รู้แล้วก็อย่าเข้าไปแทรกแซงนะ รู้สบาย ๆ รู้อยู่ห่าง ๆ รู้แบบคนวงนอก รู้ด้วยความเป็นกลาง หัดรู้อย่างนี้เรื่อย ๆ พวกเรานะสำรวจใจตัวเองให้ดี ใน ๓  ข้อเนี่ย พวกเราผิดตัวไหนบ้างนะ หลวงพ่อถามที่วัดมาแล้วนะ คำถามนี่ ใครยกมือถามหลวงพ่อ หลวงพ่อถามเลย ใน ๓ ข้อเนี่ย ผิดข้อไหน พอตอบได้นะ ไม่ต้องมาถามหลวงพ่อ รู้แล้วนี่ ถ้ารู้ว่าผิดนะ มันก็ถูกของมันเองแหล่ะนะ พอเข้าใจไหม ไม่ยากนะ ง่าย

ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๓๓  (วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๒)

นาทีที่ ๑๖ – ๒๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติคืออะไร: ทำอย่างไรสติจึงเกิดได้บ่อย?

MP3 (for download): สติคืออะไร :-ทำอย่างไรสติจึงเกิดได้บ่อย?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.


ขอขอบคุณ บ้านจิตสบาย ที่เอื้อเฟื้อภาพ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

หลวงพ่อปราโมทย์: สติคืออะไร สติคือความระลึกได้ อย่าไปแปลสติว่ากำหนดนะ สติไม่ได้แปลว่ากำหนด คนรุ่นหลังไปแปลสติว่ากำหนดแล้วภาวนาเพี้ยนไปหมดเลย เวลาเขียนหนังสือก็ไปเติมคำว่ากำหนดลงไปตามใจชอบ อย่าง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยัน ทุกข์เป็นของควรรู้รอบ ก็ไปแปลว่าทุกข์ต้องกำหนดรู้ เติมเอาเอง ไม่มีตัวไหนที่แปลว่ากำหนดเลย ชอบเติมเอง เติมคำว่ากำหนดลงไปเพราะมันรู้สึกว่าได้ทำอะไรซักหน่อย ตรงที่จงใจจะทำนั่นแหละ โลภะเจตนาจะเกิดแล้วสติไม่เกิดหรอก เพราะฉะนั้นสติไม่ได้แปลว่ากำหนด กำหนดคือการกดเอาไว้ การข่มเอาไว้ กำหนดเป็นภาษาเขมร เป็นคำแผลง มาจากคำว่า กด  ข่มไว้กดไว้บังคับไว้ ควบคุมไว้ สติไม่ได้มีหน้าที่ควบคุมบังคับ สติมีหน้าที่ระลึกรู้

เพราะฉะนั้นทำอย่างไรสติจึงจะระลึกได้ เช่น ความโกรธเกิดขึ้น สติระลึกได้ว่าโกรธแล้ว ความโลภเกิดขึ้น สติระลึกได้ว่าโลภแล้ว ใจลอยไปสติระลึกรู้ได้ว่าใจลอยไปแล้ว นี่ความระลึกได้ สติมันจะระลึกได้นะมันต้องเห็นสภาวะบ่อยๆ เหมือนอย่างเรานี่ เห็นคนเดินมา เหมือนอย่างเห็นชมพูมา ชมพูมาวัดบ่อยๆ พอเห็นชมพูมานะ หลวงพ่อก็นึกได้ อ้อ นี่ชมพูมาแล้ว จำได้ ชมพูนะ ไม่ใช่สุเมธ สุเมธไม่ใช่ชมพู ไม่ใช่อุษา ไม่ใช่แก้ว ไม่ใช่คนโน้นคนนี้ หลายคนอยากให้เอ่ยชื่อแล้ว (โยมหัวเราะ) จะถึงเราไหม จะเรียกชื่อเราไหม นี่เราจะจำได้ถ้าเราเห็นบ่อย

สติจะระลึกได้ว่าความโกรธเกิดขึ้นแล้วถ้าเห็นความโกรธบ่อยๆ สติจะระลึกได้ว่าความโลภเกิดขึ้นแล้วถ้าเห็นความโลภบ่อยๆ สติจะระลึกได้ว่าใจลอยหลงไปแล้ว ถ้ารู้เคยเห็นความใจลอยบ่อยๆ อยู่ที่เห็นบ่อยๆ ภาษาบาลีเรียกว่า มีถิรสัญญา ถิรสัญญา คือการที่จิตจำสภาวะได้แม่น จิตจะจำสภาวะได้แม่นเมื่อจิตเคยเห็นสภาวะบ่อยๆ  เพราะฉะนั้นเราจะต้องฝึกหัดดูสภาวะ เห็นไหมกรรมฐานของหลวงพ่อไม่ได้เริ่มตรงที่ว่าจะเดินท่าไหน จะนั่งท่าไหน จะกินอย่างไร จะนอนอย่างไร จะกระดุกกระดิกอย่างไร กรรมฐานของหลวงพ่อเริ่มตรงที่ว่า หัดดูสภาวะ จำไว้นะ สิ่งที่สอนมาตลอดเวลาคือพาดูสภาวะ ใจลอยไปแล้ว ใจหลงไปแล้ว เห็นไหม ร่างเคลื่อนไหวแล้ว ร่างกายหยุดนิ่ง ร่างกายเคลื่อนไหว เวทนาเกิดขึ้นแล้ว เวทนาดับไปแล้ว โลภโกรธหลงเกิดขึ้นแล้ว โลภโกรธหลงดับไปแล้ว ปิติสุขเกิดแล้ว หัดดูสภาวะไป

เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ให้การบ้าน พวกเราทั้งหลายผู้ปฏิบัตินะ ไม่ว่าจะมาจากผาซ่อนแก้ว มาจากบ้านอารีย์ แล้วมีอะไรอีก นครสวรรค์ ไม่ว่าจะมาจากไหน รวมทั้งมาจากที่อื่นด้วย หัดดูสภาวะไป การหัดรู้สภาวะนี่แหละคือต้นทางของการปฏิบัติ ถ้าดูสภาวะไม่เป็น สภาวะคืออะไร คือรูปธรรมนามธรรม คือกายกับใจนี้แหละ ดูสภาวะไม่เป็นจะทำวิปัสสนาไม่ได้ ทำวิปัสสนาต้องรู้สภาวะ รู้กายรู้ใจ รู้รูปรู้นาม หัดรู้บ่อยๆ เช่น หายใจออกก็รู้สึกตัว หายใจเข้าก็รู้สึกตัว รู้บ่อยๆ เห็นร่างกายมันหายใจ รู้สึกบ่อยๆ นะ ยืน เดิน นั่ง นอน คอยรู้สึกตัว ไม่ไปเพ่ง ไม่ได้เพ่งให้นิ่ง ยืน เดิน นั่ง นอน คอยรู้สึกตัวไป ต่อไปเวลาขาดสติ พอร่างกายขยับนิดเดียว สติจะเกิดเอง มันจะระลึกได้ว่าร่างกายเคลื่อนไหว

หัดรู้ไปเรื่อยๆ บางคนก็หัดดูเวทนา เบื้องต้นหัดอันใดอันหนึ่งก่อนก็ได้ที่เราถนัด คนไหนถนัดที่จะรู้กายนะ ก็เห็นร่างกายมันทำงานไป เห็นร่างกายมันยืนเดินไป เราเป็นคนดู บางทีก็เป็นคนดู บางทีก็เผลอไปที่อื่น ตรงที่เผลอไปที่อื่นเรียกว่าขาดสติ ตรงที่เห็นร่างกายมันยืนเดินนั่งนอนอยู่นี่ เรียกว่ามีสติ แต่ต้องเรียนอีกตัวนะ ตัวสัมมาสมาธิ เพราะมีสติแล้วชอบไปเพ่ง ถ้าเพ่งไม่มีสัมมาสมาธิ จะไม่มีปัญญา จะได้แต่สมถะ

หัดดูสภาวะไป เช่น ใจมันโกรธขึ้นมาก็รู้ ใจมันโลภขึ้นมาก็รู้ ใจมันหลงไปก็รู้ ใจฟุ้งซ่านก็คอยรู้ ใจหดหู่ก็รู้ หัดดูไปเรื่อย เบื้องต้นนะเราจะเห็นว่าแต่ละวันความรู้สึกของเราไม่เหมือนกัน บางวันสุขบางวันทุกข์ บางวันดีบางวันร้าย หัดดูอย่างนี้ ดูเป็นวันๆ ไปเลย เบื้องต้นง่ายที่สุดแล้ว วันนี้อารมณ์แจ่มใส นี่ดูภาพรวม วันนี้อารมณ์ร้าย เห็นเป็นภาพรวมไป ต่อไปเราดูได้ละเอียดขึ้น เราเห็นว่าในวันเดียวกันนะ เช้า สาย บ่าย เย็น ความรู้สึกของเราก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตอนเช้าความรู้สึกอย่างนี้ ตอนสาย ตอนบ่าย ตอนเย็น ตอนค่ำ ตอนดึก ความรู้สึกเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ฝึกดูอย่างนี้จนชำนาญนะ

ต่อไปดูเป็นขณะ ขณะที่มองเห็นความรู้สึกเป็นอย่างนี้ ขณะที่ได้กลิ่นความรู้สึกเป็นอย่างนี้ ขณะที่รู้รสความรู้สึกเป็นแบบนี้ เช่น กินของอร่อย ความรู้สึกชอบเกิดขึ้น กินของไม่อร่อย ความรู้สึกไม่ชอบเกิดขึ้น ใจเราคิด เรานึก เราปรุง เราแต่ง คิดเรื่องนี้มีความสุข คิดเรื่องนี้มีความทุกข์ คอยรู้ทันใจ หัดรู้อย่างนี้แหละเรียกว่า การหัดรู้สภาวะ รู้กายร่างกายเคลื่อนไหวก็ดูมันไป เห็นกายมันทำงาน ยืน เดิน นั่ง นอนไป เดี๋ยวก็เผลอ ถ้าเผลอนี่ขาดสติ ถ้ายังเห็นกายเห็นใจอยู่ แต่ไม่ได้จงใจนะ อย่าจงใจแรง ถ้าจงใจแรงเป็นการเพ่ง รู้เล่นๆ รู้สบายๆ ต้องสบายนะ จำไว้นะ กรรมฐานต้องสบาย เพราะประโยคแรกที่หลวงปู่ดูลย์สอนหลวงพ่อนะ ก็คือ การปฏิบัตินั้นไม่ยาก ยากเฉพาะผู้ไม่ปฏิบัติ ผู้ไม่ปฏิบัติคือ ผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง ผู้บังคับกดข่มตัวเอง ผู้ปฏิบัติคือผู้ตามรู้กายตามรู้ใจ หัดดูกายดูใจ หัดดูสภาวะทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในกายในใจ คอยรู้สึกไปเรื่อย จนจิตมันจำสภาวะแม่นแล้ว สติจะเกิดเอง

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 212