Dhammada on Android
available now on
Google Play Store
คำชี้แจง
    Dhammada.net เป็นเว็บไซต์ของกลุ่มลูกศิษย์ที่ภาวนาตามแนวดูจิตได้จัดทำกันเอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทาง สวนสันติธรรม หรือ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แต่อย่างใด     จึงขอชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันกับข้อเท็จจริง     ขอแสดงความนับถือ     Dhammada.net

หมวดหมู่

เรื่องล่าสุด

Latest Clips

คลังเก็บ

มีสมาธิก็ต้องมีสติกำกับ

mp3 (for download) : มีสมาธิก็ต้องมีสติกำกับ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ขอขอบคุณความเอื้อเฟื้อภาพจากบ้านจิตสบาย

หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าเราพยายามตั้งใจรักษาศีล ๕ ใครมันจะหัวเราะก็ช่างมัน ตั้งใจฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัว สภาวะที่จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวนั้นแหละ คือสภาวะที่จิตทรงสมาธิที่ถูกต้องอยู่ ความรู้เนื้อรู้ตัวนี่ขาดไม่ได้เด็ดขาดเลย บางคนนั่งสมาธิจนกระทั่งโลกธาตุดับนะ ร่างกายหายไป โลกหายไป เหลือจิตดวงเดียว ก็ยังไม่ขาดความรู้สึกตัว จิตไม่ขาดสติ มีสติรักษาจิตอยู่ เพราะฉะนั้นสมาธิก็ต้องมีสติกำกับ ขาดสติเคลิ้มไป เป็นมิจฉาสมาธิทันทีเลย

มีศีล ตั้งใจงดเว้นการทำบาปอกุศลทางกายทางวาจา มาฝึกจิตให้อยู่กับเนื้อกับตัว ได้สมาธิที่ถูกต้อง แล้วก็ไม่ทรงสมาธิอยู่เฉยๆ ต้องน้อมจิต มีสติระลึกรู้ เห็นความเปลี่ยนแปลงของกาย เห็นความเปลี่ยนแปลงของใจเรื่อยไป มาดูความเปลี่ยนแปลง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม
เมื่อวันเสาร์ที่ ๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖

File: 551208A
ระหว่างนาทีที่ ๑๓ วินาทีที่ ๔๑ ถึงนาทีที่ ๑๔ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สัมมาสมาธิ

mp 3 (for download) : สัมมาสมาธิ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :ตัวสัมมาสมาธิเนี่ย เป็นสิ่งที่หลวงพ่อเห็นว่าพวกเราพลาดมากที่สุดเลย สติอีกตัวนึงพลาดมาก นี้สติยังไปเพ่งๆอะไรขึ้นมา สติยังเกิดได้นะ แต่สัมมาสมาธินี่เกิดยากมากเลย

เพราะพวกเราคุ้นเคยกับมิจฉาสมาธิ สมาธิที่เพ่งเอา เราไม่คุ้นเคยกับสมาธิที่จิตตั้งมั่นในการรู้อารมณ์ เราคุ้นเคยแต่สมาธิที่จิตเข้าไปตั้งแช่อยู่ในตัวอารมณ์ จิตที่ไปตั้งแช่นิ่งอยู่กับอารมณ์นะ เรียกว่า “อารัมมณูปนิชฌาน” เป็นจิตที่ใช้ทำสมถะนะ มีการทำสมถะ เพราะงั้นเราไปดูท้องพองยุบ แล้วเราเพ่งจิตไปเกาะที่ท้องเนี่ย สมถะ รู้ลมหายใจแล้วจิตไปเกาะนิ่งอยู่กับลมหายใจนี่ สมถะ ค่อยๆฟังนะ ฟัง ค่อยๆเรียน ค่อยๆฟังไป

จิตที่เป็นสัมมาสมาธิเกิดแล้วเนี่ย ปัญญาถึงจะเกิดได้ เพราะปัญญามีสัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิด ปัญญาไม่ใช่เกิดจากการคิดนะ ปัญญาที่เกิดจากการคิดเรียก “จินตามยปัญญา” ไม่ใช่  “ภาวนามยปัญญา” ภาวนามยปัญญาเนี่ย เกิดจากจิตตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ เป็นแค่ผู้รู้ ผู้ดู เห็นปรากฎการณ์ทั้งหลาย ปรากฏขึ้นมา เกิดขึ้นมา แล้วก็ดับไป เห็นสภาวะธรรมทั้งหลายในแต่ละปรากฎการณ์ ล้วนแต่ไม่ใช่ตัวเราทั้งสิ้น ใจมันจะเห็นอย่างนี้นะ มันถึงมีปัญญา

งั้นตัวนี้ต้องเรียนนะ หลวงพ่อก่อนจะบวชเนี่ย หลวงพ่อตระเวนไปตามสำนักต่างๆมากมาย หลวงพ่อไปดูว่าเราจะไปบวชสำนักไหนดี บางแห่งสำนักดีนะ ครูบาอาจารย์ดี แต่ครูบาอาจารย์ไม่มีเวลาเลย ครูบาอาจารย์ไม่อยู่วัดน่ะ รับนิมนต์ไปทุกวันๆนะ หายไปเลย หรือบางแห่งมีแต่รูปแบบ หลายแห่งเพ่งลูกเดียว กระทั่งในสำนักที่บอกว่าทำแต่วิปัสสนานะ จริงๆแล้วติดสมถะ เกือบทั้งหมดน่ะติดสมถะ นักปฏิบัติ

เพราะว่าอะไร เพราะว่าเวลาเราเรียนธรรมะ เราเรียนข้ามขั้น เราถือศีล พอเรามีศีลสิกขาใช่มั้ย แล้วเราก็ไปกำหนดรูปนามเลย เราไปเจริญปัญญาสิกขา เราข้ามจิตสิกขาไปบทเรียนนึง

เพราะงั้นถ้าเราไม่ได้เรียนจิตสิกขาให้ถ่องแท้ซะก่อนเนี่ย จิตจะไม่มีสัมมาสมาธิ งั้นจิตจะไปเพ่ง ไปรู้ท้องก็เพ่งท้อง รู้เท้าเพ่งเท้า รู้ลมเพ่งลม รู้มือเพ่งมือ รู้อะไรก็เพ่งอันนั้น จะไม่สักว่ารู้สักว่าเห็น พวกเราเรียนข้ามขั้นนะ

เนี่ยเที่ยวตระเวนไปนะ บางที่ก็ส่วนใหญ่จะไปแอบดูเค้านะ ถ้าไปนั่งเรียนเนี่ยมันยาวใช่มั้ย หลายชั่วโมงหลายวัน ส่วนมากหลวงพ่อเป็นคนใจเราว่องไวหน่อย เราไปแอบดู ดูตัวอาจารย์นั่นแหล่ะดีที่สุดเลย ดูเวลาอาจารย์เค้าภาวนานะ ก็จะโอ้ เข้าใจรวดเร็ว

นี้ไปเห็นหลวงพ่อเทียน หลวงพ่อเทียนนี้เนี้ยบจริงๆ ลูกศิษย์หลวงพ่อเทียนที่เยี่ยมมากๆก็หลวงพ่อคำเขียนนี่แหล่ะ

งั้นถ้าใจเรามีสัมมาสมาธิ มันจะตั้งมั่น สักว่ารู้สักว่าเห็น ปัญญามันจะเกิด มันจะเห็นเลย ทุกอย่างเนี่ยไม่ใช่ตัวเรา แต่ถ้าใจเราไม่มีสัมมาสมาธิ ไม่ตั่งมั่น ไปดูอะไรมันก็จะเป็นเราไปหมดเลย เห็นความโกรธเกิดขึ้น มันก็เป็นเราโกรธ เห็นขามันเมื่อย ก็เป็นขาของเราเมื่อย จะเป็นอย่างนี้ตลอด

เพราะนั้นเวลาที่เราใจเราไม่ตั้งมั่น ไปรู้สิ่งต่างๆนะ เราจะสะสมความรู้สึกผิดๆ ความเห็นผิดๆตลอดเวลาเลย สะสมว่ามันมีตัวเรา มันมีตัวเรา แต่ถ้าเรามีสติถูกต้องที่เรียกว่า”สัมมาสติ” มีสมาธิถูกต้องเรียกว่า”สัมมาสมาธิ”นี่ ปัญญาที่เกิดขึ้นจะเป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นปัญญาที่ถูกต้อง


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน)
เมื่อวันวันอาทิตย์ที่ ๒๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐

CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๑๑
File: 500520.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๑๙ ถึง นาทีที่ ๒๘ วินาทีที่ ๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้ารู้ว่าจิตคิด จะได้ต้นทางของการปฏิบัติ

mp 3 (for download) : ถ้ารู้ว่าจิตคิด จะได้ต้นทางของการปฏิบัติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เราเรียนกรรมฐาน เราค่อยๆฝึกไป ความสุขอันมหาศาลรอเราอยู่ข้างหน้า

แต่ถ้าเราฝึกผิดนะ ล้มลุกคลุกคลาน เหนื่อยยากนะลำบากมาก ฟังให้รู้เรื่องก่อนนะ หลวงพ่อมักจะมีซีดีแจกบ้าง แจกหนังสือแจกซีดีบ้างนะ ได้ไปแล้วพยายามฟังไว้ ฟังไปจนสติตัวจริงเกิดขึ้นมา แล้วจะรู้ว่าง่าย ง่าย ง่ายมาก เค้าฝึกกัน ๗ วัน ๗ เดือนไปนี้ก็มีนะ ไม่ใช่ไม่มี ๖ เดือนก็มี ที่เข้าใจความเป็นจริงของกายของใจขึ้นมา ดูมันเข้าไปบ่อยๆ แต่อย่าลืมตัวเอง

แต่ว่าพวกเราจะลืมกายลืมใจของเราเองทั้งวัน เพราะทั้งวันเราเอาแต่คิด ความคิดนี่แหล่ะปิดบังความจริงเอาไว้ ความคิดไม่ไช่ความจริง พอเราตื่นขึ้นมา เราก็นั่งคิดๆๆไปทั้งวัน ตั้งแต่เช้ายันค่ำ ค่ำยันดึก หลับไปก็ไปฝันต่อ ฝันก็คือคิดยามหลับนั่นแหล่ะ ส่วนความคิดคือความฝันเมื่อยามตื่น หลงๆไป

ธรรมชาติของจิตรู้อารมณ์ได้ครั้งละอย่างเดียว พอมันไปรู้เรื่องราวที่คิดแล้วเนี่ย มันจะรู้กายรู้ใจตัวเองไม่ได้ อันนี้เป็นกฎธรรมชาตินะ เป็นกฏเลย เป็นกฎธรรมชาติ

เพราะฉะนั้นตราบใดที่เรายังหลงอยู่ในโลกของความคิดเนี่ย เราจะรู้กายรู้ใจไม่ได้ เราทำวิปัสสนาไม่ได้ หลวงพ่อเทียนนะท่านสอนดีนะ หลวงพ่อเทียน หลวงพ่อไม่ได้เรียนกับท่าน แต่อ่านธรรมะของท่านนะ ท่านสอนดี ท่านบอกว่า “ถ้ารู้ว่าจิตคิด จะได้ต้นทางของการปฏิบัติ” รู้ว่าจิตคิดนะ ไม่ใช่รู้เรื่องที่จิตคิด คนทั้งโลกนะรู้แต่เรื่องที่จิตคิด ไม่รู้ว่าจิตกำลังไปคิดอยู่

ทันทีที่เรารู้ว่าจิตกำลังไปคิดอยู่นะ เราจะตื่นขึ้นในฉับพลัน คือเราจะหลุดออกจากโลกของความคิด เกิดความรู้สึกตัวในฉับพลันเลย เราจะเห็นทันทีเลย กายนี้ไม่ใช่เรา เราจะเห็นทันทีเลย จิตนี้ไม่เที่ยง เห็นลงไป

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่ศาลากาญจนาภิเษก (ศาลาลุงชิน)
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

CD: ศาลาลุงชิน ครั้งที่ ๒ (วันอาทิตย์ที่ ๑๘ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๙)
File: 490618.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๓๓ วินาทีที่ ๑๙ ถึง นาทีที่ ๓๕ วินาทีที่ ๙

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

V-Clip : จุดแยกระหว่างความรู้สึกตัว(สติตัวจริง)กับการเพ่ง (เทคนิคสำคัญในการทำจิตตานุปัสสนา)

จุดแยกระหว่างความรู้สึกตัว(สติตัวจริง)กับการเพ่ง (เทคนิคสำคัญในการทำจิตตานุปัสสนา)

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ทางบรรลุธรรม (๔) ความผิดพลาดแรกที่ทุกคนต้องผ่าน เพื่อสร้างรากฐานของวิปัสสนา

mp3 for download : ทางบรรลุธรรม (๔) ความผิดพลาดแรกที่ทุกคนต้องผ่าน เพื่อสร้างรากฐานของวิปัสสนา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ทางบรรลุธรรม (๔) ความผิดพลาดแรกที่ทุกคนต้องผ่าน เพื่อสร้างรากฐานของวิปัสสนา

ทางบรรลุธรรม (๔) ความผิดพลาดแรกที่ทุกคนต้องผ่าน เพื่อสร้างรากฐานของวิปัสสนา

หลวงพ่อปราโมทย์ : แต่ถ้าเรามีตัวรู้แล้วเห็นขันธ์ทำงานได้นะ ถ้าสติปัญญายังไม่พออีก ไม่รู้หลักของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จะเข้าไปแทรกแซงขันธ์แทรกแซงจิตนะ เช่น เห็นว่าจิตไหลเข้าไปเกาะกับอารมณ์ได้ ทำอย่างไรจิตจะแยกจากอารมณ์ ทำอย่างไรจะดึงจิตตั้งมั่นเด่นดวงอยู่ได้ทั้งวันทั้งคืน คิดแต่ว่าคำว่าจะทำยังไง

พวกเราเวลาคิดถึงการปฏิบัติ ในใจลึกมีมั้ยคำว่าจะทำยังไง มันคิดตลอดนะ คิดทุกคนแหละ จะทำยังไงๆ ห้ามมันไม่ได้หรอก มันจะคิดน่ะ เพราะมันอยากทำ มันคิดว่าทำแล้วถึงจะได้ ยังปลอบใจตัวเองอีกนะ ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น พยายามจะทำอยู่อย่างนั้น พยายามจนสุดสติสุดปัญญานะ ถึงตรงนั้นล่ะถึงจะได้ของจริง

แต่อาศัยที่เคยพยายามปฏิบัตินะ มันเป็นการพัฒนาสติให้เร็วขึ้น พัฒนาสมาธิให้ตั้งมั่นมากขึ้น ปัญญาก็มีสะสมไปนะ เห็นรูปธรรมนามธรรมเขาทำงานได้เอง

ตรงที่เราจงใจปฎิบัติ จงใจอยากทำนั่นแหละ มันค่อยๆฝึกฝน สติ สมาธิ ปัญญา ให้เข้มแข็งมากขึ้นๆนะ ถึงจุดหนึ่ง สติ สมาธิ ปัญญา แก่กล้าขึ้นมา จนเป็นอัตโนมัติละ ร่างกายพลิกนะ พลิกตัวเนีย รู้สึกเองเลย ไม่ต้องเจตนารู้สึก ความสุขความทุกข์ กุศล-อกุศล อะไรเกิดขึ้นที่จิตนะ รู้เองเลยโดยไม่เจตนาจะรู้ มันสารพัดจะเกิด มันจะรู้ได้เอง นี่สติเป็นอัตโนมัติขึ้นมาแล้ว ไม่ได้จงใจ

แต่ก่อนที่จะอัตโนมัติก็ต้องจงใจมาก่อน เพราะฉะนั้นการที่เราคิดอยู่นะ ทำอย่างไรจะดี ทำอย่างไรจะดี แล้วพยายามทำนะ มันได้พัฒนา สติ สมาธิ ปัญญา ขึ้นมา ทำไปเรื่อยๆ

540805.06m37-08m22


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี

แสดงธรรมที่สวนสันติธรรม
วันศุกร์ที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ ก่อนฉันเช้า

CD: 41
File (ประเทศไทย): 540805.mp3
File (สหรัฐอเมริกาและยุโรป): 540805.mp3

นาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๓๗ ถึง นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๒๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติคือความระลึกได้โดยไม่ได้จงใจระลึก

mp3 for download: สติคือความระลึกได้โดยไม่ได้จงใจระลึก

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สติคือความระลึกได้โดยไม่ได้จงใจระลึก

สติคือความระลึกได้โดยไม่ได้จงใจระลึก

หลวงพ่อปราโมทย์ : สติ แปลว่า “ความระลึกได้” พวกเรารุ่นหลังๆเริ่มคลาดเคลื่อน เราไปแปลสติว่า “กำหนด” กำหนดลมหายใจเรียกว่ามีสติ กำหนดมือ กำหนดเท้า กำหนดท้อง นะ กำหนดจิตให้สงบ เรียกว่า มีสติ แค่นั้นไม่พอนะ

สติคือความระลึกได้ หมายถึงว่า สภาวะใดๆเกิดขึ้นที่กาย สติระลึกได้โดยไม่ได้จงใจระลึก อะไรเกิดขึ้นที่ใจ สติระลึกได้โดยไม่ได้จงใจระลึก ถ้าจงใจระลึกนะ เจือปนด้วยความอยาก เจือปนด้วยโลภะ ไม่ใช่สติตัวจริงหรอก

ทำอย่างไรสติที่แท้จริงจึงจะเกิด ในพระอภิธรรมสอนบอกว่า ถิรสัญญา ถอถุง สระอิ รอเรือ ถิรสัญญา การที่จิตจำสภาวะได้แม่น เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ ทำไมจิตถึงได้จำสภาวะได้แม่น สภาวะคืออะไร สภาวะคือรูปธรรมนามธรรม รูปธรรม เช่น ร่างกายที่หายใจเข้า ร่างกายที่หายใจออก ร่างกายที่ยืนเดินนั่งนอน เป็นสภาวะที่เป็นรูปธรรม สภาวะที่เป็นนามธรรม เช่น ความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ รู้สึกเฉยๆ ความโลภ ความไม่โลภ ความโกรธ ความไม่โกรธ ความหลง ความไม่หลง ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ ความดีใจเสียใจ นี่เป็นสภาวะที่เป็นนามธรรม จิตจะเกิดสติได้ ถ้าจิตจำสภาวะได้แม่น

เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเรา ไม่ต้องทำอะไรมากๆ อย่าไปคิดนะว่าจะบังคับสติให้เกิดได้ สติเป็นอนัตตา ไม่มีใครสั่งให้เกิดได้ แต่ถ้าสติมีเหตุ คือ จิตจำสภาวะได้แม่น สติจะเกิดขึ้นโดยไม่ได้จงใจให้เกิด

หน้าที่ของเราตอนนี้ไม่มีอะไรมาก ของเราตอนนี้ หัดรู้สภาวะที่กำลังเกิดขึ้นในกายในใจบ่อยๆ หายใจออกก็คอยรู้สึกตัว อย่าใจลอย อย่าไปเพ่งอยู่ที่ร่างกาย แค่รู้สึก หายใจเข้าก็รู้สึกตัวนะ ไม่ใจลอย แล้วก็ไม่เพ่งอยู่ที่ร่างกาย ยืน เดิน นั่ง นอน ก็คอยรู้สึกตัว แต่ก็ไม่เพ่งร่างกาย จิตใจเป็นสุข จิตใจเป็นทุกข์ จิตใจเฉยๆ ก็แค่รู้ ไม่เพ่งจิตใจนะ แล้วก็ไม่ลืมเนื้อลืมตัว ถ้าลืมตัวไปก็ลืมกายลืมใจ ถ้าไม่ลืมตัวก็รู้กายรู้ใจในขณะเดียวกันอย่าไปเพ่ง ถ้าเพ่งแล้วมันนิ่ง แค่รู้ แค่ระลึก แค่ระลึก นะ

เพราะฉะนั้น อะไรเกิดขึ้นในใจคอยรู้ไปเล่นๆ รู้เล่นๆ ถึงจุดหนึ่งสติแท้ๆจะเกิดขึ้น เช่น นั่งฟังหลวงพ่อพูด รู้สึกมั้ย ขณะที่ฟังหลวงพ่อพูด ฟังแล้วก็คิด ฟังแล้วก็คิด สลับกัน ดูออกมั้ย ไม่ใช่ฟังอย่างเดียว ไม่มีใครหรอกที่ฟังอย่างเดียว ที่เราบอกว่าตั้งใจฟัง ตั้งใจฟัง จริงเราฟังสลับกับคิดตลอด แต่เราไม่เคยเห็นต่างหากล่ะ

ต่อไปนี้เราค่อยสังเกต ฟังหลวงพ่อพูด สังเกตมั้ย ฟังไป คิดไป ฟังไป คิดไป เนี่ยเราหัดดูไปนะ จิตไปฟังเราก็รู้ทัน จิตกำลังไปคิดเราก็รู้ทัน หัดรู้อย่างนี้บ่อยๆ ต่อไปพอจิตไหลไปคิดปั๊บ สติจะเกิดเอง มันจะระลึกขึ้นได้เลยว่า อ้อ.. หลงไปคิดแล้ว มีคำว่าแล้วนะ อ้อ.. หลงไปคิดแล้ว มันโกรธขึ้นมา สติระลึกได้ จะรู้เลย อ้อ.. หลงไปโกรธแล้ว มีคำว่าแล้ว หมายถึงว่า กิเลสทั้งหลายเกิดขึ้นก่อน แล้วเราก็่ค่อยรู้ว่ามันเกิด อย่าไปดักดูนะ

เมื่อตะกี้นี้มีโยมผู้หญิงคนหนึ่งมาถามหลวงพ่อว่า เขาภาวนาแล้วมันผิดตรงไน ผิดตรงที่ไปดักดู ไปรอดู จะไปดูจิตนะ ก็ไปรอดู เมื่อไหร่จะมีอะไรเกิดขึ้น อย่างนี้กลายเป็นการเพ่งจิต ไม่มีอะไรให้ดูหรอก ต้องรอให้สภาวะมันเกิดก่อน เช่น มันมีปีติขึ้นมารู้ว่ามีปีติ มีความสุขขึ้นมารู้ว่ามีความสุข มันเฉยๆรู้ว่าเฉยๆ มันโลภ มันโกรธ มันหลัง ค่อยรู้เอา สภาวะเกิดแล้วค่อยรู้ สภาวะเกิดแล้วค่อยรู้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ อาคาร ซี.พี. ทาวเวอร์
เมื่อวันศุกร์ ที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒

File: cp tower 520724
ระหว่างนาทีที่ ๑๑ วินาทีที่ ๐๘ ถึง นาทีที่ ๑๔วินาทีที่ ๕๗

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติทางโลก สติทางธรรม

mp3 (for download) : สติทางโลก สติทางธรรม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

สติทางโลก สติทางธรรม

สติทางโลก สติทางธรรม

โยม : ผมได้มีโอกาสได้สอนแฟนครับ เรื่องมีสติครับ แต่ว่าผมยังสอนเค้าไม่เข้าใจครับ ว่าสติแบบทางธรรม กับสติแบบทางโลกว่าเป็นยังไง ขอโอกาสหลวงพ่อครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : คือสตินะ สติแปลว่าความระลึก ความระลึกได้ เป็นตัวที่คอยรู้ทันว่ามีอะไรเกิดขึ้นในกายในใจของเรา อันนี้เป็นสติในการปฏิบัติธรรม สติอย่างโลกๆนะ คือเมื่อไรที่จิตเป็นกุศลนะ เมื่อนั้นมีสติอยู่แล้ว แต่เป็นสติโลกๆ แต่ถ้าเมื่อไรจิตเป็นอกุศล เมื่อนั้นไม่มีสติ เราสนใจ ถ้าสอนเพื่อนนะ สอนให้มาทำสติปัฏฐานไว้ สติรู้กาย สติรู้ใจสอนตัวนี้บ่อยๆ แล้วสติโลกๆ ก็จะดีขึ้นเองแหละ เราเอาสติชั้นยอดก่อน เดี๋ยวสติชั้นรองมันก็ได้เองแหละ ส่วนที่คนในโลกพูดเรื่องคำว่าสติ มันยืมคำว่าสติของพระพุทธเจ้าไปใช้ คนในโลกไม่มีสติ ขาดสติเป็นส่วนใหญ่ อย่างเมาเหล้า เมาเหล้าขับรถให้มีสติอะไรแบบนี้ ไม่มีหรอก เค้าแค่บอกว่า อะไรนะ อย่าใจลอย อย่าลืมตัว จริงๆ คนเราใจลอยตลอดเวลาไม่เห็นหรอก ในโลกนะหาคนมีสตินะหายากจริงๆ จิตหนีไปคิดหรือยัง

โยม : หนีไปคิดแล้วครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ : เอ่อขาดสติแหละ ให้รู้แบบนี้บ่อยๆ นะ ถ้าไปสอนเพื่อนนะ เวลาเพื่อนหนีไปคิดนะ ถ้าเค้ารู้ตรงนี้ได้ เค้าก็จะมีสติขึ้นมา จิตหนีไปคิดแล้วรู้บ่อยๆ จะมีทั้งสติ มีทั้งสมาธิเลย ไปสอนกรรมฐานนะ สอนเบื้องต้นเลยนะ ง่ายที่สุดเลย บอกให้รักษาศีล 5 ไว้ก่อน ถัดจากนั้นนะถ้าจิตหนีไปคิดแล้วคอยรู้ไว้ ตัวนี้จะได้ทั้งสติ จะได้ทั้งสมาธิเลย ถ้าเมื่อไรเค้ารู้ทัน ว่าจิตหนีไปคิดนะ ตรงที่รู้ทันนั้นมีสติ ทันทีที่รู้ทันนะ จิตก็จะตั้งมั่น มีสมาธิขึ้นมา พอจิตเค้าตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูได้แล้ว ถ้ดจากนั้นก็สอนให้เค้าเดินวิปัสสนาต่อ ให้เค้ารู้กายรู้ใจไป ดูกายดูใจมันทำงาน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔ หลังฉันเช้า
CD: ๔๑
File: 540730B
ระหว่างนาทีที่ ๔๒ วินาทีที่ ๑๓ ถึงนาทีที่ ๔๔ วินาทีที่ ๔๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เพ่งจิตไว้ เจริญปัญญาไม่ได้

mp3 for download : เพ่งจิตไว้ เจริญปัญญาไม่ได้

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

เพ่งจิตไว้ เจริญปัญญาไม่ได้

เพ่งจิตไว้ เจริญปัญญาไม่ได้

หลวงพ่อปราโมทย์ : จะทำวิปัสสนากรรมฐาน จะรู้กายรู้ใจตรงความเป็นจริงได้ ต้องไม่ลำเอียง จิตที่ไม่ลำเอียงก็คือจิตที่เป็นผู้รู้นั่นแหละ ไม่ใช่ผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่ง ไม่ใช่ผู้วิพากษ์วิจารณ์ ไม่ใช่ผู้ตัดสิน ทำตัวเป็นแค่ผู้รู้เท่านั้นเอง นะ เรามาฝึกให้ได้จิตตัวนี้นะ

วิธีที่จะทำให้ได้จิตผู้รู้ ก็คือรู้ทันจิตที่หลงไปคิดนี่แหละ จิตเผลอ ตอนแรกพอรู้ทันว่าหลงไปคิดก็จะกลับมาเพ่ง เพ่งไปก่อนไม่เป็นไร เราก็รู้ว่าเพ่งเอา ต่อไปหลงไปคิดใหม่รู้ใหม่ หลงไปคิดใหม่รู้ใหม่ อย่าเพ่งตลอดกาล ถ้าเพ่งตลอดกาลเดี๋ยวมันไม่ยอมเผลอ ให้มันเผลอไว้ เผลอแล้วรู้ว่าเผลอดีที่สุดเลย ดีกว่าไปเพ่งไว้ไม่ยอมเผลอเลย ไปไหนไม่รอดนะ อยู่แค่นั้นแหละ กี่ปีกี่ชาติก็อยู่อย่างนั้นแหละ

มีอยู่คราวหนึ่งนะ หลวงพ่อไปเจอ มีลูกศิษย์คนหนึ่งไปซุ่มภาวนาอยู่ในที่แห่งหนึ่ง เรียนกับหลวงพ่ออยู่พักหนึ่งนะ แล้วก็ไปซุ่มอยู่เป็นปีๆเลยนะ หายไปนาน เราไปเจอเข้า จะบอกว่าบังเอิญก็ไม่มีคำว่าบังเอิญในศาสนาพุทธนะ เรียกว่ากรรมจัดสรรไปเจอกันเข้า กรรมของมันหรือของเราก็ไม่รู้ เห็นแล้วทนไม่ได้นะ มันไปเดินจงกรมนะ เราก็บอก.. เรียกชื่อเขานะ เฮ้ย..ดอกเตอร์ นึกออกมั้ย ไอ้ที่ทำอยู่ตอนนี้นะ เมื่อหลายปีก่อนก็ทำแบบนี้ อีกหลายปีข้างหน้าก็จะเป็นอย่างนี้อีกแหละ ก็เลยได้สตินะ หันมาเจริญสติแทน งั้นก็เพ่งไว้นิ่งๆ นิ่งมาหลายปีแล้วนะ ไม่มีพัฒนาการก็ยังพอใจที่จะนิ่งอยู่อย่างนั้นน่ะ

นี่นะ เพ่งอยู่ไม่เจริญหรอก ได้แต่ความสุข ความสงบ ความสบาย ได้แต่ความดี เป็นคนดีมั้ย ดี ไม่ไปเกะกะระรานใครหรอก แต่มันไม่เจริญหรอก เจริญปัญญาไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าเราไปเพ่งไว้ จิตนิ่งทื่อๆ นิ่ง สงบ แล้วสบาย ไม่เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปนาม ถ้าไม่เห็นไตรลักษณ์ของรูปนาม ไม่เรียกว่าวิปัสสนากรรมฐาน

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔ ก่อนฉันเช้า

CD: ๓๙
File: 540226A
ระหว่างนาทีที่ ๖ วินาทีที่ ๑๔ ถึง นาทีที่ ๘ วินาทีที่ ๓๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานนั้น เป็นจุดตั้งต้นของการเดินปัญญา

mp3 for download : จิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานนั้น เป็นจุดตั้งต้นของการเดินปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

จิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานนั้น เป็นจุดตั้งต้นของการเดินปัญญา

จิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานนั้น เป็นจุดตั้งต้นของการเดินปัญญา

หลวงพ่อปราโมทย์ : ตอนนี้ออกไปหลายจังหวัด ไปเห็น เราก็ไปเทศน์ที่โน่นที่นี่ ก็พบปรากฏการณ์อันหนึ่งก็คือ ทั้งพระทั้งโยมนะ ภาวนามาถึงขั้น แยกธาตุแยกขันธ์เป็นน่ะ เยอะมาก เยอะๆ ยังไม่เคยเจอว่าทำกันได้เยอะขนาดนี้มาก่อน

ช่วงปีแรกๆที่หลวงพ่อเทศน์นะ พวกเราตื่นกันเยอะนะ จิตก็ตื่นขึ้นๆ จิตเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน นับไม่ถ้วน ตอนนี้เลยขั้นนั้นมาแล้ว พอจิตเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานแล้วนะ ก็ต้องมาฝึกแยกธาตุแยกขันธ์ เข้าสู่การเดินปัญญา จิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานนั้น เป็นจุดตั้งต้นของการเดินปัญญา ถ้าเราไม่มีจิตเป็นผู้รู้นะ เราเดินปัญญาไม่ได้ เพราะจิตที่ไม่เป็นผู้รู้มันจะเป็นสองอย่าง ถ้าไม่เป็นผู้คิดก็เป็นผู้เพ่ง จิตที่ไปหลงไปคิด แล้วเพ่ง

เพราะฉะนั้นช่วงแรกๆสอนพวกเรานะ จะสอนให้รู้จักสภาวะสองอย่าง เผลอไปกับเพ่งไว้ คนทั่วไปมันเผลอ ไม่เคยรู้เรื่องเลย หลงตลอดชีวิตไม่เคยรู้สึกตัว นักปฏิบัติก็เพ่งไม่ว่าไปที่ไหนก็เพ่งๆนะ ฝึกแบบไหนก็เพ่งทุกแบบเลย เหมือนกันหมดเลย พอเราไม่เผลอไม่เพ่งนะ ใจเราเป็นกลาง รู้ตื่นขึ้นมาได้ ค่อยๆฝึก ใจค่อย..

แต่เดิมคิดว่าการปฏิบัติธรรมต้องเพ่งเอา คนละเรื่องเลย การเพ่งจิตให้นิ่ง เป็นสมาธิชนิดทำสมถะ เรียกว่า อารัมณูปนิชฌาน เพ่งอารมณ์อันเดียว จิตแนบอยู่ในอารมณ์อันเดียวนิ่งๆ ไม่เดินปัญญา แต่การที่เรารู้ทันจิตที่เผลอไป แล้วก็ไม่ไปเพ่งไว้ จิตเผลอไปทำอะไร จิตเผลอไปคิดเป็นส่วนใหญ่ ทันทีที่เรารู้ว่าจิตเผลอไปคิดนะ หัดใหม่ๆมันจะเพ่ง ถัดจากรู้ว่าเผลอจะเพ่ง ก็ฝึกไปเรื่อย เผลออีกก็รู้แล้วก็เพ่ง เผลอแล้วก็รู้แล้วก็เพ่ง

ทีแรกจับรู้ไม่ติดหรอก มองไม่ออกว่ามีรู้มาคั่น ระหว่างเผลอกับเพ่ง ทีนี้ฝึกมาช่วงหนึ่งแล้วเริ่มเห็นน่ะ จิตเผลอไป ตรงที่รู้ว่าเผลอนี่ ไม่เผลอด้วยไม่เพ่งด้วย อยู่ตรงกลางนี่เอง ทีนี้ความรักดี กล้วจะเผลออีกก็เลยไปเพ่งเอาไว้ นักปฏิบัติ พอรู้ทันว่าเอ้า..มันเกินจากรู้ไปแล้ว เริ่มคุ้นเคยกับรู้นะ จิตเผลอไปคิดแล้วรู้ทัน จิตเผลอไปคิดแล้วรู้ทัน ไม่ไปเพ่งต่อ คราวนี้ “รู้” ค่อยเด่นขึ้นๆ

พอรู้เด่นขึ้นหลวงพ่อก็บอกว่า จิตมันตื่นแล้ว จิตตื่นแล้ว จิตตื่นเนี่ยจิตมันเข้าถึงฐานจริงๆนะ จิตเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน จิตสงบ สะอาด สว่าง จิตเบา จิตนุ่มนวล อ่อนโยน คล่องแคล่วว่องไว จิตซื่อตรงในการรู้อารมณ์ จิตควรแก่การทำวิปัสสนา ควรแก่การงาน นี่ล่ะคือจิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นขึ้นมา

หลวงพ่อก็พยายามพาพวกเราเดินมาเป็นลำดับๆนะ หัดรู้เผลอรู้เพ่งก่อน จนกระทั่งในที่สุด ตัวรู้ก็ค่อยๆเด่นขึ้นๆ พอตัวรู้เด่นแล้วอย่าหยุดอยู่แค่นั้น มาเดินต่อ เรามาฝึกจนได้ตัวรู้มานี่น่ะ คล้ายๆเราเตรียมความพร้อมของจิตเพื่อการเดินวิปัสสนา เพื่อการเจริญปัญญา การเจริญปัญญาก็คือการทำวิปัสสนากรรมฐานนั่นแหละ

หลักของการเดินปัญญาก็คือ ให้มีสติ รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ตามความเป็นจริงไม่เข้าไปแทรกแซง และต้องรู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่น จิตที่เป็นกลาง คือจิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นนั่นเอง มิใช่จิตผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่ง ไม่ใช่จิตผู้เพ่ง ให้ไปรู้ด้วยจิตที่เป็นผู้รู้ จิตที่หลุดออกจากโลกของความคิด มาอยู่ในโลกของความรับรู้ รู้กายอย่างที่เขาเป็น รู้จิตใจอย่างที่เขาเป็น เรียนรู้ทุกอย่างอย่างที่มันเป็น ทำตัวเป็นแค่คนดู ไม่เข้าไปแทรกแซง

เมื่อเราทำตัวเป็นแค่คนดูโดยไม่เข้าไปแทรกแซง เราจะเห็นความจริง ถ้าเราเป็นคนดูแล้วแทรกแซงไปด้วย จะดูไม่ตรงกับความจริง

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔ ก่อนฉันเช้า

CD: ๓๙
File: 540226A
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๐ ถึง นาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๔๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

จิตตื่น

mp3 (for download)จิตตื่นเป็นอย่างไร?

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

จิตตื่น

จิตตื่น

หลวงพ่อปราโมทย์ : คำว่าจิตตื่นของหลวงพ่อหมายถึง จิตซึ่งรู้สึกตัวขึ้นมา รู้สึกกาย รู้สึกใจ (รู้สึกความมีอยู่ของกายในขณะนั้น รู้สึกความมีอยู่ของใจในขณะนั้น – ผู้ถอด) ไม่ไปหลงเพลิดเพลินอยู่ในโลกของความคิด

ในโลกนี้ หาคนที่ตื่นขึ้นมา.. ยากที่สุด เราตื่นเฉพาะร่างกาย แต่จิตใจไม่ตื่นหรอก นับตัวได้เลยนะในโลกนี้ ตอนแรกๆที่หลวงพ่อพูดอย่างนี้ คนไม่เชื่อนะ หาว่าดูถูกเหยียดหยามเสียอีก บอกว่า..ถ้าไม่ตื่นแล้วจะขับรถมาวัดได้อย่างไร ไม่ตื่นแล้วจะทำมาหากินได้อย่างไร มันตื่นแต่ร่างกาย จิตใจไม่ตื่น จิตใจหลงไปในโลกของความคิดความฝันตลอดเวลา ความทุกข์ทั้งหลายและกิเลสทั้งหลาย เกิดตอนที่ใจเราหลงไปอยู่ในโลกของความคิดนั้นเอง

เพราะฉะนั้นจะคิดเพลินๆไปนะ คิดดีๆขึ้นมา มีความสุข คิดไม่ดีมีความทุกข์ขึ้นมา หลงไปอย่างนี้เรื่อยๆ แต่ถ้าเราภาวนา จนใจเราตื่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ใช่ตื่นแบบแห้งแล้งด้วยนะ ตื่นออกมาจิตใจนี้นุ่มนวล อ่อนโยน จิตใจสว่างไสว มีความสุข มีความเบิกบานผุดขึ้นมาเอง

ความสุขที่เราเคยรู้จัก มันต้องเป็นความสุขที่มีสิ่งเร้า มีอะไรมายั่ว เช่น หนุ่มๆไปจีบสาวได้แล้วมีความสุข อะไรอย่างนี้ หรือว่าร่ำรวยขึ้นมามีความสุข ได้อยู่กับคนนี้มีความสุข ได้กินอันนี้มีความสุข ความสุขอย่างโลกๆ เป็นความสุขที่ต้องอาศัยสิ่งเร้าภายนอก

แต่ถ้าเรามีสติขึ้นมา เรามีความสุขผุดขึ้นมาจากภายใน ความสุขขึ้นมาเอง ไม่ต้องทำอะไร ทันทีที่จิตหยุดความปรุงแต่ง จิตก็มีความสุขผุดขึ้นมาเลย จิตที่มันทุกข์ทุกวันนี้เพราะมันปรุงไม่เลิก หลงไปในโลกของความปรุงแต่ง ให้เราคอยหัดรู้สึกนะ รู้สึกอยู่ในกาย รู้สึกอยู่ในใจ จนสติมันเกิด พอ(จิต-ผู้ถอด)จำสภาวะของรูปธรรมนามธรรมได้แม่นแล้ว สติจะเกิดเอง (หมายถึง สติเกิดโดยที่ไม่ได้จงใจให้เกิด – ผู้ถอด)

ทันทีที่สติเกิด จิตจะตั้งมั่น จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู มีสัมมาสมาธิ พอจิตตั้งมั่นขึ้นมาแล้วเนี่ย เราะจะเห็นเลย ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าความสุขหรือความทุกข์ ไม่ว่ากุศลหรืออกุศลทั้งหลายแหล่ ล้วนแต่เป็นของที่ผ่านมาแล้วผ่านไป

เหมือนเรานั่งสบายๆ นั่งเล่น นอนเล่น อยู่ในบ้านเรา เรามองออกไปทางประตู มองออกไปทางหน้าต่าง เห็นคนเดินผ่านหน้าบ้าน เนี่ยความรู้สึกทั้งหลาย ความสุข ความทุกข์ กุศล อกุศลทั้งหลาย เหมือนมันเดินผ่านหน้าบ้าน เราอยู่ในบ้าน สบายๆ ไม่เดือดร้อนอะไรกับใครเขา

สิ่งที่ผ่านหน้าบ้านเรา บางทีก็เป็นของสวยของงาม บางทีก็เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว เช่นหมาขี้เรื้อนวิ่งมา อะไรอย่างนี้ หมาบ้าวิ่งมาเนี่ย ผ่านหน้าบ้านไป อารมณ์ก็เหมือนกันนะ อารมณ์บางทีก็อารมณ์ที่ดี บางทีก็อารมณ์ที่เลว ผ่านมา แต่ว่าไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ที่ดีหรืออารมณ์ที่เลว นักปฏิบัติที่แท้จริงจะเหมือนคนที่นอนเล่นในบ้าน ไม่วิ่งตามไป

ไม่ใช่เห็นสาวสวยเดินผ่านหน้าบ้าน ก็วิ่งตามเขาไปนะ เห็นหมาบ้าวิ่งมาก็วิ่งออกไปไล่ตีมัน จิตใจจะไม่ได้เป็นอย่างนั้น จิตใจจะแค่เป็นคนรู้คนดู แล้วก็สิ่งเหล่านั้นจะไม่แอบเข้าไปในบ้านเรา เหมือนผู้ร้ายไม่กล้าเข้าบ้าน เจ้าของบ้านยังตื่นอยู่ ใจเราตื่นขึ้นมานะ ผู้ร้ายคือกิเลสมันเข้ามาไม่ได้ แต่ถ้าใจเราหลับเมือไหร่นะ มันย่องเข้ามา ย่องเบา เบาจริงๆนะ ย่องเข้ามา ไม่ทันรู้สึกหรอก กว่าจะรู้สึกตัวก็คือ มันขึ้นมาขี่คอเรียบร้อยแล้วนะ ให้คอยรู้สึกนะ รู้สึก…

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมศาลาลุงชินครั้งที่ ๑๔
แสดงธรรมเมื่อ วันอาทิตย์ที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๐

CD: แสดงธรรมที่ศาลาลุงชินครั้งที่ ๑๔
File:
500916
ระหว่างนาทีที่  ๑ วินาทีที่ ๕๔ ถึง นาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๓๔

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

การปฏิบัติถ้าสติตัวจริงเกิด จะเร่งกว่านั้นไม่ได้แล้ว

 mp 3 (for download) : การปฏิบัติถ้าสติตัวจริงเกิด จะเร่งกว่านั้นไม่ได้แล้ว

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

การปฏิบัติถ้าสติตัวจริงเกิด จะเร่งกว่านั้นไม่ได้แล้ว

การปฏิบัติถ้าสติตัวจริงเกิด จะเร่งกว่านั้นไม่ได้แล้ว

โยม: มันจะเศร้า ๆ เพราะว่ามันกลัวว่าเวลามันมีน้อย

หลวงพ่อปราโมทย์: คือเวลาจะมีน้อย มีมาก มันช่วยไม่ได้ ในการปฏิบัติถ้าสติตัวจริงเกิด เร่งกว่านั้นไม่ได้แล้ว  มีแต่ว่าต้องรู้ไป ๆ ใจเขาพอ เขาก็ตัดสินความรู้เอง จะเร่งเอาตามใจชอบไม่ได้ ที่เห็นว่าเวลามีน้อยแล้วไม่ประมาท หัดเจริญสติ อย่างนี้ดี แต่พอเจริญสติแล้วรู้สีกเวลามีน้อยลุกลี้ลุกรน อย่างนี้ใช้ไม่ได้ ยิ่งช้า

ต้องใจถึง ๆ ต้องตั้งหลักแค่ว่าเรารู้ให้มากที่สุดเท่าที่จะรู้ได้ ผลจะเป็นอย่างไรช่างมันเราเรียนเพื่อจะรู้ว่าวันนึง กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ตอนนี้ก็ฟังว่ามันไม่ใช่เราไว้ก่อน ไม่ต้องรีบร้อนให้มันดีหรอก ใจถึง ๆ นะ ถ้าใจไม่ถึงนะก็ช้า ใจไม่ถึงก็จะดิ้นๆๆ ยิ่งดิ้นใหญ่

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๙ ก่อนฉันเช้า

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๑๖
Track: ๙
File:
491118A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๔ วินาทีที่ ๒๗ ถึง นาทีที่ ๕ วินาทีที่ ๓๖

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

วิธีการฝึกให้เกิดสติที่แท้จริง

mp 3 (for download) : วิธีการฝึกให้เกิดสติที่แท้จริง

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

วิธีการฝึกให้เกิดสติที่แท้จริง

วิธีการฝึกให้เกิดสติที่แท้จริง

หลวงพ่อปราโมทย์: พวกเรารู้สึกมั้ย จิตของพวกเราส่ายตลอดเวลา ดูออกมั้ย ยกตัวอย่างมานั่งฟังหลวงพ่อเนี่ย บางทีจิตก็วิ่งมาที่หลวงพ่อ บางทีจิตก็วิ่งมาตั้งใจฟ้ง ไม่ได้ดูหน้าหลวงพ่อแล้ว แต่มาตั้งใจฟัง ฟังอยู่ ๒ – ๓ คำ นะ จิตก็จะสวิตช์ตัวเองไป ไปคิด ฟังไปคิดไป เห็นมั้ยว่าจิตมันส่ายตลอดเวลา จิตมันเปลี่ยนตลอดเวลา ถ้าเรารู้ทันนะ เราจะเห็นเลยจิตเกิดดับ เดี๋ยวจิตเกิดที่ตา เดี๋ยวจิตเกิดที่หู เดี๋ยวจิตเกิดที่ใจ จิตไปคิด เปลี่ยนๆ ปั๊บๆ ปั๊บๆ ไป คอยรู้สึกนะ คอยรู้สึกอยู่ที่กาย คอยรู้สึกอยู่ที่ใจนะ ค่อยๆฝึก ไม่ยากๆ มันง่าย ง่ายกว่าที่คิดไว้เยอะเลย

ขั้นแรกนะ อยากจะให้เกิดสติที่แท้จริงเนี่ย ทำกรรมฐานอะไรขึ้นสักอย่างหนึ่งก่อน เราจะมาฝึกรู้สึกตัวก่อน ก่อนที่เราจะเห็นความเป็นจริงของกายของใจได้ อันแรกเลย เราต้องเห็นกายเห็นใจเสียก่อน ถ้าเราลืมกายลืมใจ เราก็ไม่สามารถเห็นความเป็นจริงของกายของใจได้ เพราะฉะนั้นเราต้องรู้สึกกายรู้สึกใจให้ได้เสียก่อน การรู้สึกตัว คือการรู้สึกกายรู้ใจนี้ จึงเป็นจุดตั้งต้นของการปฏิบัติ การเจริญวิปัสสนา เป็นจุดตั้งต้นเลย

จิตของเราจะหลงตลอดเวลา เดี๋ยวหลงไปดู หลงไปฟัง หลงไปคิด หลงไปดมกลิ่น หลงไปลิ้มรส หลงไปรู้สัมผัสทางกาย เช่นนั่งๆอยู่แล้วคัน เราก็เกาใช่มั้ย ขณะที่เราเกานะ เราสบายใจละ เราไม่รู้เลยว่าร่างกายกำลังเกาอยู่ ใจกำลังสบาย เราเกาอัตโนมัติ ในขณะนั้นลืมกายลืมใจ ทำอะไรเราก็ลืมกายลืมใจตลอดเวลา เรียกว่าขาดสติ สติที่หลวงพ่อพูด หมายถึง สติปัฏฐาน เป็นสติที่รู้กายรู้ใจ ถ้าเมื่อไหร่ลืมกายลืมใจ เมื่อนั้นเรียกว่าขาดสติ เราลองมาวัดใจของตัวเองดู ว่าเราลืมกายลืมใจบ่อยแค่ไหน สังเกตมั้ย เวลาที่เราไปคิด รู้สึกมั้ย ใจจะเหมือนไหลไปนะ ความรู้สึกอยู่ที่กายที่ใจนี้จะหายไป มีร่างกาย ร่างกายก็หายไป มีจิตใจ จิตใจก็หายไป ไม่รู้ รู้แต่เรื่องที่คิด

เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนะ วิธีง่ายๆ พวกเราหาอารมณ์กรรมฐานมาสักอย่างหนึ่ง มาเป็นเครื่องสังเกตจิตใจ เช่น คนไหนถนัดรู้ลมหายใจ ก็ไปนั่งรู้ลมหายใจ รู้เล่นๆ ไม่ใช่รู้เพื่อให้สงบ คนไหนชอบไหว้พระสวดมนต์ ก็ไปไหว้พระสวดมนต์ สวดเล่นๆนะ ไม่ใช่สวดให้สงบ คนไหนชอบดูท้องพองยุบก็ดูไป คนไหนชอบเดินจงกรมก็เดินไป คนไหนชอบอิริยาบถ ๔ ก็ดูยืนเดินนั่งนอน คนไหนชอบขยับมือทำจังหวะ ก็ทำไป แต่ทำไปเพื่อจะรู้ทันใจตนเอง

ยกตัวอย่างเช่น เราหายใจ หายใจไป หายใจเล่นๆ จิตเราวิ่งไปอยู่ที่ลมหายใจนะ เราก็รู้ทัน จิตเราวิ่งไปคิด เราก็รู้ทัน จิตเป็นสุข จิตเป็นทุกข์ จิตดีจิตร้ายอะไรขึ้นมา คอยรู้ไปเรื่อยๆ หายใจไปแล้วคอยรู้ทันจิตใจไป

หรือสวดมนต์ก็ได้นะ อรหังสัมมา.. อะไรอย่างนี้ พอสวดมนต์ไป พอใจไหลไปคิดแว้บ หนีไปคิดเรื่องอื่นแล้ว รู้ทันว่าจิตไหลไปแล้ว สวดมนต์ไปแล้วจิตสงบ รู้ว่าสงบ สวดไปแล้วจิตฟุ้งซ่าน รู้ว่าฟุ้งซ่าน สวดมนต์ไปแล้วก็คอยรู้ความเปลี่ยนแปลงของจิตไปเรื่อยๆ นี่เป็นการฝึกให้มีสติ

ดูท้องพองยุบก็ได้นะ ดูท้องพองยุบไปแล้วจิตไหลไปอยู่ที่ท้อง ก็รู้ทัน จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตไปทำอะไรก็รู้ทัน

นี่เราเข้ามาถึงการฝึกหัดแล้วนะ เพราะฉะนั้นเบื้องต้น ทุกคนหาอารมณ์กรรมฐานมาสักอันหนึ่งก่อน อารมณ์อะไรก็ได้ที่เราถนัด ที่ทำแล้วสบายใจ รู้อารมณ์อันนั้นไป เช่นรู้พุทโธก็ได้นะ สัมมาอรหังก็ได้ หายใจก็ได้ รู้ท้องพองยุบก็ได้ เดินจงกรมก็ได้ ขยับมือทำจังหวะก็ได้ อะไรก็ได้ แต่ไม่ได้ทำเพื่อให้จิตนิ่ง เราทำกรรมฐานไปแล้วเราคอยเห็นความเปลี่ยนแปลงความเคลื่อนไหวของจิตไปเรื่อยๆ เช่น เรา พุทโธๆ แล้วจิตหนีไปคิดเรื่องอื่น รู้ว่าจิตนี้ไปคิดแล้ว พุทโธๆแล้วจิตสงบ รู้ว่าสงบ พุทโธๆแล้วจิตฟุ้งซ่าน รู้ว่าฟุ้งซ่าน หายใจไป หายใจเข้าหายใจออกไป จิตวิ่งไปอยู่ที่ลมหายใจ เรารู้ทัน จิตหนีไปคิดเรื่องอื่นเรารู้ทัน จิตเป็นสุข จิตเป็นทุกข์ จิตมีปีติจิตมีความสุขอะไรขึ้นมา เราคอยรู้ทัน

ทำอะไรก็ได้นะ เบื้องต้น ทำกรรมฐานมาสักอันหนึ่งก่อน เป็นเครื่องสังเกต ปกติจิตเราจะร่อนเร่ตลอดเวลา วิ่งตลอด ดูยาก เราก็ทำกรรมฐานขึ้นมาเป็นตัวสังเกต สมมุติว่านี่เป็นพุทโธ นี่เป็นลมหายใจ เราพุทโธหรือหายใจอยู่ แล้วจิตเราวิ่งมาที่นี่ วิ่งมาที่พุทโธ วิ่งมาที่ลมหายใจ วิ่งมาที่ท้อง รู้ทันว่าจิตวิ่งมา จิตวิ่งไปที่อื่น รู้ทัน เนี่ยเราจะเห็นได้ชัด ถ้าเราไม่มีเครื่องสังเกตเลย จิตมันส่ายไปตลอด ดูยาก เพราะฉะนั้น เบื้องต้น หาอารมณ์กรรมฐานมาสักอันหนึ่งนะ อะไรก็ได้ ทำอะไรไม่เป็นเลย สวดมนต์ไปเรื่อยๆก็ได้ หรือฟังซีดีหลวงพ่อก็ได้ ฟังไปแล้วใจลอยไป รู้ ฟังไปแล้วขำขึ้นมา รู้ ฟังแล้วงงขึ้นมา รู้ หัดรู้ทันใจตัวเองบ่อยๆ

การที่เราหัดรู้สภาวะบ่อยๆนี้แหละจะทำให้เกิดสติ เพราะสติไม่ได้เกิดจากการบังคับ สติเป็นอนัตตา ไม่มีใครสั่งสติให้เกิดได้ สติมีเหตุ สติถึงจะเกิด เหตุของสติคือการที่จิตจำสภาวะได้แม่น จิตจำสภาวะได้แม่นเพราะจิตเห็นสภาวะบ่อยๆ เราหัดดูสภาวะไปนะ ทำกรรมฐานมาอันหนึ่ง แล้วคอยสังเกตความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของจิตใจเราไปเรื่อย..

เช่นพุทโธๆ จิตไหลไปคิดก็รู้ หรือสวดมนต์ อรหังสัมมา.. จิตไหลไปคิดแล้ว ก็รู้ สัมพุทโธ ภควา.. อ้าวหนีไปอีกแล้ว เราก็คอยรู้ ฝึกแบบนี้บ่อยๆ ต่อไปพอจิตเคลื่อนตัวไปนะ จิตหลงไปคิดแว้บ..เดียว สติจะเกิดเองเลย สติไม่ได้เกิดจากการสั่งให้เกิด สติเกิดขึ้นเพราะว่าจิตจำสภาวะได้แม่น ในพระอภิธรรมถึงบอกว่า ถิรสัญญา ถิรสัญญาคือการที่จิตจำสภาวะได้แม่น เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ เพราะฉะนั้นเราหัดดูสภาวะไปเรื่อยๆ จนวันหนึ่งสติเกิด

พอสติที่แท้จริงเกิดนะ คอยสังเกตไป พอมันจะรู้สึกตัวขึ้นมา พอรู้สึกตัวขึ้นมาแล้ว คราวนี้ไม่มีแล้วว่ากรรมฐานของเราจะทำสายไหน สายกายสายจิตอะไรอย่างนี้ไม่มีอีกต่อไปแล้ว เบื้องต้นอาจจะดูมาจากกาย บางคนดูจากเวทนา บางคนดูจากจิต อันนั้นแค่จุดตั้งต้นเท่านั้นเอง คือทำกรรมฐานมาอันหนึ่งเป็นเครื่องสังเกต พอรู้ทันจิตมามากๆเข้า สติเกิดเองแล้วเนี่ย ถัดจากนั้นไม่มีสายไหนๆแล้ว มีแต่ว่าขณะนี้มีสติ หรือว่าขณะนี้ขาดสติ ขณะนี้มีสติ บางทีสติระลึกรู้กาย บางทีสติระลึกรู้เวทนา บางทีสติระลึกรู้จิต เลือกไม่ได้หรอกว่าจะรู้กายหรือรู้จิต ถ้าใครยังเลือกว่าจะรู้กายอันเดียว หรือจะรู้จิตอันเดียว จะตกไปสู่สมถกรรมฐาน เพราะฉะนั้นสติที่แท้จริงเกิดเมื่อไหร่นะ เลือกไม่ได้หรอก บางทีก็รู้กาย บางทีก็รู้เวทนา บางทีก็รู้จิต

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เมื่อวันพุธที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๒

CD: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วันที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๒
File: 520429.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๑๘ วินาทีที่ ๕๓ ถึง นาทีที่ ๒๕ วินาทีที่ ๕๐

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

กลัวภาวนาไม่ดี

Mp3 for download: 500707B_dontbeafraid

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

กลัวภาวนาไม่ดี

กลัวภาวนาไม่ดี

หลวงพ่อปราโมทย์ : ใจถึงๆหน่อย อย่ากลัวไม่ดี อย่ากลัวไม่บรรลุมรรคผลนิพพาน ความกลัวความกังวลนั้นเป็นโทสะ ถ้าตราบใดที่มันยังครอบครองพื้นที่ในจิตใจของเราอยู่ สติจะไม่เกิด เกิดไม่ได้เลย สติไม่เกิดร่วมกับอกุศล

ถ้าเราไม่กลัวมันนะ เราเห็นใจมันกลัว ไม่ใช่เรากลัว แต่ใจมันกลัว ใจเราเป็นแค่คนดู เราเห็นว่ามันกลัว ความกลัวมันจะแสดงไตรลักษณ์ให้ดู เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปเลย เพราะเราไม่เข้าไปแทรกแซง

เพราะฉะนั้น จิตใจจะปรุงแต่งอะไรก็ได้ ดีก็ได้ ชั่วก็ได้ สุขก็ได้ ทุกข์ก็ได้ หยาบก็ได้ ละเอียดก็ได้ วิ่งไปข้างใน วิ่งไปข้างนอก หรือเป็นกลางๆก็ได้ ให้รู้ด้วยความเป็นกลางไป รู้สภาวะทุกอย่างตามที่เขาเป็นแหละ ไม่ต้องไปอยากให้เขาเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ เราจะเห็นสภาวะทั้งหลายเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่มีตัวเราในนั้นเลย


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
เมื่อวันเสาร์ที่ ๗ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๐
CD สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๒๑
File: 500707B
ระหว่างนาที่ที่ ๙ วินาที่ที่ ๔๗ ถึงนาทีที่ ๑๐ วินาทีที่ ๔๘

 

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ศีล สมาธิ ปัญญา ในองค์มรรค

mp 3 (for download) : ศีล สมาธิ ปัญญา ในองค์มรรค

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เรียนหลักของการปฏิบัติให้แม่นๆนะ เราต้องทำด้วยตัวเอง ชาวพุทธเราไม่มีของฟรีหรอก ไม่มี ทุกอย่างอยู่ในเรื่องของกฎของกรรม ใครทำคนนั้นก็ได้ ไม่ทำก็ไม่ได้ ทำแบบไหนก็ได้แบบนั้น ทำชั่วก็ได้รับผลของความชั่ว ทำดีก็ได้รับผลของความดี รักษาศีลก็ได้รับผลของศีล ทำทานก็ได้รับผลของทาน ทำสมถะได้ความสุขได้ความสงบ ได้ความดี ทำวิปัสสนาได้ปัญญาเห็นความจริง เพราะฉะนั้นต้องทำให้ตรง

เวลาที่มรรคผลจะเกิดนะ ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องพร้อม เพราะฉะนั้นเราต้องทำให้พร้อมนะ ท่านบอกกุศลทำให้ถึงพร้อม ไม่ใช่เจริญปัญญาอย่างเดียวแล้วจะบรรลุได้นะ ศีลก็ต้องรักษา สมาธิก็ต้องทำ เพราะฉะนั้นถ้าศีล สมาธิ ปัญญา ไม่พร้อม ไม่มีอริยมรรคเกิดขึ้น ถ้าจะทำก็ต้องทำเหตุ กับผล ให้ตรงกัน อยากได้ผลอย่างนี้ ต้องทำเหตุอย่างนี้

อยากจะได้ศีล ให้ใจเรามีศีลจริงๆ ต้องมีเจตนางดเว้นการทำบาปอกุศลทางกายทางวาจา ถ้าไม่มีเจตนางดเว้นก็ไม่ได้เรียกว่ามีศีล

ยกตัวอย่างเด็กเล็กๆ เกิดใหม่ๆนะ เป็นชู้กับใครไม่ได้ บอกไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ใช่หรอกนะ มันไม่ประพฤติเพราะไม่มีความสามารถจะประพฤติ หรือแก่งั่กเลยนะ เดินยังไม่ไหวเลย กระย่องกระแย่งนะ มีชู้ไม่ไหว อะไรอย่างนี้ ก็ไม่ได้จัดว่าเป็นศีล

มีศีลหมายถึงว่ามีเจตนาที่จะงดเว้นจริงๆ ถึงมีโอกาสทำก็ไม่ทำ ผลของศีลก็มีอยู่ ท่านก็สอนนะ สีเลนะ สุคติง ยันติ (สีเลน สุคตึ ยนฺติ) ศีลนั้นมีความสุขอยู่เบื้องหน้านะ สีเลนะ โภคะสัมปทา (สีเลน โภค สมฺปทา) มีโภคะ ถือศีลแล้วรวยได้ คนไม่มีศีลไม่รวยง่ายนะ ยกตัวอย่างกินเหล้า ติดยาเสพติด คบคนไม่ดี อะไรพวกนี้นะ หาเจริญยาก ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ลำบาก สีเลนะ นิพพุติง ยันติ (สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ) ศีลนี้เป็นปัจจัยไปสู่นิพพาน เนี่ย อานิสงส์ของศีลก็มี

เราต้องรักษาศีล ถึงทำผิดได้ก็ไม่ทำนะ ถูกยั่วยวนอย่างไรก็ไม่ทำผิด อย่างนี้เรียกว่ามีศีล ถ้าเรามีศีลเราจะงดงามนะ มีความงามในตัวเอง มีความน่าเชื่อถือ มีเครดิต คนไม่มีศีลไม่มีเครดิต พอไม่มีเครดิต พอไม่ได้รับความเชื่อถือนะ โอกาสจะประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงอะไรนี้ ยาก

เพราะฉะนั้นเราต้องมีเจตนางดเว้น การทำผิดทำบาป ทางกายทางวาจานะ ต้องเจตนางดเว้น ตั้งใจไว้เลย ตื่นนอนขึ้นมาตอนเช้านะ ตั้งใจไว้ วันนี้จะไม่ทำผิดศีล กลางวันก่อนจะกินข้าวนะ ตั้งใจไว้ วันนี้จะไม่ทำผิดศีลอีก ถ้าตั้งใจอย่างนี้เข้าไปในร้านอาหารบางแห่งไม่ได้ละ จะต้องไปเลือกเอาตัวนี้ๆ อะไรอย่างนี้นะ อย่างนี้ทำไม่ได้ละ ก่อนจะนอนนะ ตั้งใจไว้อีก จะไม่ทำผิดศีล จำเป็นยังไงก่อนจะนอนก็ต้องตั้งใจ เผื่อไม่ได้ตื่น เผื่อนอนหลับไปแล้วไม่ตื่นอีกเลย ไฟครอกตาย หรือเป็นโรคหัวใจวายตาย อย่างน้อยตอนก่อนจะตายได้รักษาศีลไว้แล้ว มีศีลเป็นเครื่องคุ้มครองเรา

ลองตั้งใจรักษาศีลวันละ ๓ ครั้งนะ ก่อนอาหาร แถมอีกครั้งหนึ่ง ก่อนนอน ถ้าตั้งใจอย่างนี้นะ ใจเราจะเคล้าเคลียในธรรมะง่ายขึ้น มันจะมีกำลังนะ ทำให้เราไปสู่มรรคผลนิพพานได้ง่าย

ถ้าทุศีลสักอย่างหนึ่ง อย่ามาอวดเรื่องสมาธิเลย ถ้าไม่มีศีลนะ สมาธิที่เคยมีก็จะเสื่อม จะเสื่อมเห็นๆเลยมีตัวอย่างให้เห็น แต่จะเห็นหรือไม่เห็นนั้น ก็สุดแต่ แต่ละคนจะเห็น

ยกตัวอย่างพระเทวฑัต มีสมาธินะ เหาะได้ แปลงตัวได้ ปลอมตัวเป็นเด็กได้ ทำเป็นเบบี๋มาหลอกอชาติศัตรู แต่ว่าไม่ถือศีลนะ ในที่สุดสมาธิเสื่อม เคยเหาะได้นะ ในที่สุดต้องให้คนหามมาเฝ้าพระพุทธเจ้า

พวกพระก็รีบมาส่งข่าวให้พระพุทธเจ้ารู้ว่า พระเทวฑัตกำลังเดินทางมาแล้ว กำลังจะมาเฝ้า เพื่อว่าจะมาขอขมาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านบอกว่ามาไม่ถึงหรอก เทวฑัตนี้มาไม่ถึง บาปมาก มาไม่ถึง พวกพระก็คอยไปสืบนะ โอ้.. ตอนนี้มาถึงประตูเมืองแล้วพระเจ้าข้า… มาไม่ถึงหรอก… ตอนนี้มาถึงประตูวัดแล้วพระเจ้าข้า… ไม่ถึงหรอก…

พอมาถึงประตูวัด ใกล้ๆวัดแล้วเนี่ย แกก็พักนะ กินน้ำกินท่า คล้ายๆล้างหน้าล้างตา เดินทางมาไกล ถูกดินดูดลงไปตรงนั้น ไม่ถึงจริงๆ

เนี่ยทำไมไม่เหาะมา เหาะมาไม่ไหวแล้ว เหาะมาไม่ได้ ทำอะไรเก่งๆได้เหนือมนุษย์ธรรมดา ตอนนี้ทำไม่ได้แล้ว เพราะขาดศีลอันหนึ่ง สมาธิจะเสื่อม เพราะฉะนั้นพวกเรามีศีลไว้นะ คนที่มีศีลเนี่ย สมาธิเกิดง่าย ยกตัวอย่างนะ ถ้าใจเราไม่คิดฆ่าใคร ไม่คิดเบียดเบียนใครนะ ใจเราสงบง่าย ถ้าใจเราผิดศีลนะ คิดจะฆ่าเขา คิดจะทำลายเขา ใจไม่สงบๆ สมาธิก็เสื่อมสิ

คิดจะลักเขา ขโมยเขานะ ไปขโมยมาแล้วอะไรอย่างนี้ ก็วุ่นวายใจ กลัวเขาจับได้ จิตใจมันวุ่นวาย สมาธิก็เสื่อมสิ เป็นชู้เขา กลัวเขาฆ่า เคยเห็นในการ์ตูนมั้ย ชอบไปแอบในตู้เสื้อผ้า หรือไปปีนหน้าต่างหนี อะไรอย่างนี้นะ มีความสุขมั้ย ไม่มีความสุขนะ จิตใจไม่มีความสุข ก็ไม่มีความสงบจริงหรอกนะ ฟุ้งซ่าน

คนโกหกเขาก็ต้องจำเยอะ ใช่มั้ย คนโกหกเนี่ยนะ คิดอะไรไม่ค่อยเป็นแล้ว เพราะเอาเมมโมรี่นะไปใช้ในการจำข้อมูลเก่าๆที่ไปโกหกคนไว้ ใจก็ฟุ้งซ่านนะ โกหกคน พูดเท็จ ไม่สงบนะ กินเหล้าเมายา จิตใจไม่สงบ

เพราะฉะนั้นศีลจำเป็นมากนะ ถ้ามีศีลนะ สมาธิเกิดง่าย มีสมาธิเกิดง่ายปัญญาก็เกิดง่าย เพราะฉะนั้นศีลนี้แหละเป็นปัจจัยให้ไปนิพพานได้ เพราะมันเกื้อกูลให้มีสมาธิ มีสมาธิเกื้อกูลให้เกิดปัญญา

วั้นนี้ต้องเทศน์ปิดท้ายด้วยเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะพวกที่มาเรียนเข้าคอร์สวันนี้จะจบแล้ว เดี๋ยวจบไปแล้วก็รู้แต่เจริญสติไม่ต้องรักษาศีล ไปไม่รอดนะ ต้องมีให้ครบ ไม่งั้นอริยมรรคจะไม่เกิด

ถ้าไปดูในองค์มรรคนะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ องค์มรรค ๓ ตัวนี่นะเรื่องศีลทั้งนั้นเลย สัมมาวาจาเนี่ยศีลข้อ ๔ สัมมากัมมันตะ(อยู่ใน)ศีลข้อ ๑,๒,๓ ต้องให้บอกมั้ย (ศีลข้อ)๑ ๒ ๓ คืออะไร ศีลข้อ ๑ ปาณาติบาต ทำร้ายสัตว์ ฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ ข้อ ๒ ลักทรัพย์เค้า ฉ้อโกงเค้า ข้อ ๓ ประพฤติผิดในกาม สัมมาวาจาข้อ ๔ สัมมากัมมันตะข้อ ๑ ๒ ๓ สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตของเรา ต้องเลี้ยงอย่างบริสุทธิ์นะ จนไม่เป็นไร ความจนไม่น่ารังเกียจ ความโกงน่ารังเกียจ เราอย่าปล่อยให้ค่านิยมเลวๆมันครอบงำเรา

ทุกวันนี้เราถูกเสี้ยมสอนให้เลวหนักขึ้นๆ ให้เห็นความเลวเป็นเรื่องปกติ อย่างนักการเมืองบางคนมาสอนพวกเรานะ ว่าโกงไม่เป็นไร คอรัปชั่นไม่เป็นไร ขอให้มีผลงาน นี่สอนสิ่งที่เลวร้ายให้เรานะ เราต้องไม่เชื่อฟัง ชาว พุทธเราต้องสะอาดในการดำรงชีวิต ในการจะอยู่การจะทำอะไร ทุกสิ่งทุกอย่างต้องสะอาดพอ ถ้ารู้สึกว่ายอมสกปรกได้ กิเลสมันล้างไม่ได้จริงหรอก ของหยาบๆยังล้างไม่ได้เลย การจะมีชีวิตอยู่ในโลกให้สะอาด ยังทำไม่ได้เลย จะทำใจให้สะอาดเนี่ยเป็นไปไม่ได้เลย

งั้นเราต้องเลี้ยงชีวิตนะ จนไม่เป็นไรนะ อย่าไปอายกับความยากจน ให้อายกับความชั่วร้าย แล้วก็อย่าไปยกย่องคนชั่วร้ายที่ร่ำรวยด้วย มันช่วยกันสร้างค่านิยมที่เลวให้มากขึ้นๆนะ สังคมของเราทุกวันนี้ถึงร้อนเป็นฟืนเป็นไฟไปหมด ทุกหนทุกแห่งแล้ว เพราะว่าเราช่วยกันสร้างค่านิยมที่เลวๆนานาชนิดขึ้นมา เช่นใช้วิธีอะไรก็ได้เพื่อบรรลุผลสำเร็จ นี่เป็นค่านิยมที่เลวร้ายมากเลย ทุกวันนี้ดูสิบ้านเมืองจะเป็นยังไง มันเป็นอนาธิปไตยนะ อะไรก็ได้ขอให้สำเร็จเถอะ เนี่ยมันจะอยู่กันไม่ไหว

เพราะงั้นเราต้องตั้งใจนะ รักษาศีลนะ รักษาศีล เลี้ยงชีวิตของเราให้บริสุทธิ์ นี่อยู่ในองค์มรรคทั้งสิ้นเลย

ถัดไปเราฝึกเรื่องสมาธิ ในส่วนของเกี่ยวกับสมาธิเนี่ย มีองค์มรรคอยู่ ๓ ตัว ๓ ใช่มั้ย ๓ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาวายามะเป็นยังไง สัมมาสติเป็นยังไง สัมมาสมาธิเป็นยังไง

สัมมาวายามะคือความเพียรชอบ อะไรที่เรียกว่าความเพียรชอบ เพียรละอกุศลที่มีอยู่ เพียรปิดกั้นอกุศลใหม่ไม่ให้เกิด เพียรเจริญกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิด เพียรพัฒนากุศลที่เกิดแล้วนะให้มากยิ่งขึ้น นี่เรียกว่าสัมมาวายามะ

หน้าที่เรามีนะ ไม่ใช่บอก ฉันจะรู้สึกตัวเฉยๆ รู้สึกตัวเฉยๆ แค่นั้นไม่พอนะ ต้องสำรวจตัวเองด้วย อกุศลอะไรยังไม่ละ กุศลอะไรยังไม่เจริญ สำรวจตัวเองไปเรื่อยๆ เพราะงั้นชีวิตเราจะมีทิศทาง ชีวิตเราจะมีเป้าหมาย ไม่ใช่อยู่ล่องๆลอยๆไปวันนึง หน้าที่เรานะสำรวจใจตัวเองไว้ ที่หลวงพ่อสอนให้ดูจิตๆนี่แหล่ะ จะมาทำสัมมาวายามะได้อย่างดีเลย งั้นเรารู้ทันจิตใจของเรานี่ อกุศลอะไรเกิดขึ้นให้รู้ทัน ถ้ารู้ทันแล้วมันจะละของมันเอง วิธีที่จะละอกุศลนะ ก็คือมีสติรู้ทันมัน อกุศลใดเกิดขึ้นในใจ เช่นราคะเกิดขึ้นรู้ทัน ราคะจะดับเอง โทสะเกิดขึ้นในใจมีสติรู้ทัน โทสะจะดับเอง

เพราะงั้นที่บอกเพียรปิดกั้นอกุศล เพียรละอกุศลที่มีอยู่ เพียรปิดกั้นอกุศลใหม่ไม่ให้มีขึ้นมา ไม่ให้ครอบงำใจขึ้นมาเนี่ย ทำด้วยการมีสติรู้ทันจิตนี่เอง ถ้าเรามีสติรู้ทันจิตนะ อกุศลที่มีอยู่ก็จะดับ อกุศลใหม่จะเกิดไม่ได้เลย ในขณะที่มีสติ แต่ขณะขาดสติอกุศลเกิดได้อีก

ทำยังไงกุศลจะเจริญ ทำยังไงกุศลที่ไม่มีจะมี ที่มีแล้วจะเจริญ

มีสติไว้ สติเป็นต้นทางของกุศลนะ ถ้าขาดสติอย่างเดียวเนี่ย กุศลทั้งหลายจะไม่เกิดเลย องค์ธรรมฝ่ายกุศลจะไม่มีเลย ต้องมีสติเอาไว้ ถ้ามีสติรู้ทันจิตตัวเองเรื่อยๆ จิตมันมีกิเลสขึ้นมารู้ทันมันนะ มันละอายแก่ใจนะ มีหิริ มีโอตตัปปะขึ้นมา ละอายใจเกรงกลัวบาป เกรงกลัวผลของบาป ละอายใจที่จะทำบาป หิริคือความละอายใจที่จะทำชั่ว โอตตัปปะนะ(คือ)กลัวผลของการทำชั่ว

เนี่ยถ้าเรามีสติคุ้มครองจิตอยู่ มีสติรู้ทันจิตอยู่ มันจะเกิดหิริโอตตัปปะขึ้นมาเอง คนที่มีหิริโอตตัปปะนะจะมีศีลขึ้นมาโดยง่าย เพราะถ้ามันละอายใจที่จะทำชั่ว กลัวผลของบาปซะแล้ว มันจะทำผิดศีลไม่ได้ เพราะฉะนั้นมันเป็นการทำชั่ว เป็นการทำบาป

งั้นถ้าเรามีสตินะ มีหิริโอตตัปปะเกิดขึ้น ก็เกิดศีลขึ้นมา มีศีลแล้วก็เกิดสมาธิได้ง่าย ใจสงบง่าย มีสมาธิแล้วก็เกิดปัญญาง่าย พอใจสงบนะ ก็สามารถเรียนรู้ความจริงของกายของใจได้ง่าย มีปัญญาแล้ววิมุตติก็เกิดได้ง่าย มีโอกาสเกิดวิมุตติ คือใจปล่อยวางความยึดถือในรูปในนาม ในกายในใจ

เพราะงั้นมันจะเป็นทอดๆไปนะ แล้วมีสติให้มากไว้ งั้นกุศลทั้งหลายก็จะเกิดขึ้น ตัวอย่างของกุศลที่ว่ามา ก็คือหิริโอตตัปปะใช่มั้ย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ นี่เป็นส่วนของกุศลทั้งนั้นเลย มันจะค่อยๆพัฒนาขึ้นมา

งั้นเรามีสติรักษาจิตไว้นะ นั่นแหล่ะคือการทำความเพียร เคยอ่านหนังสือนะ หลวงปู่มั่นท่านบอกว่า เมื่อไรมีสติ เมื่อนั้นมีความเพียร เมื่อไรขาดสติ เมื่อนั้นขาดความเพียร นี่ท่านสอนถูกกับตำราเป๊ะเลยนะ ทั้งๆที่ท่านภาวนา แต่ความจริงท่านอ่านอภิธรรมนะ หลวงปู่มั่นนี่ท่านอ่านอภิธรรมด้วย ลองไปดูหนังสือที่ท่านอ่าน มีอภิธรรมอยู่ งั้นท่านสอนถูกทั้งปริยัติทั้งปฏิบัติ สอนเก่ง

งั้นเราจะมีสัมมาวายามะได้นะ อาศัยมีสติรู้ทันจิตนี่ แล้วอะไรคือสัมมาสติ มีสติรู้ทันจิตเป็นสัมมาสติทั้งหมดมั้ย ไม่ใช่ทั้งหมด พระพุทธเจ้าอธิบายสัมมาสติ ด้วยสติปัฏฐาน ๔ งั้นหน้าที่ของเราเจริญสติปัฏฐานนะ ไม่ใช่มีสติแล้วก็ลอยๆอยู่เฉยๆ

การเจริญสติปัฏฐานนั้น มี ๒ ขั้นตอน เรียนทันมั้ยเนี่ย มันคล้ายๆ intensive course แล้ว วันสุดท้ายแล้ว เรียนยากหน่อยนะ สติปัฏฐานเนี่ยนะมี ๒ ขั้นตอนนะ ขั้นตอนที่ ๑ ทำไปเพื่อให้เกิดสติ ขั้นตอนที่ ๒ ทำไปเพื่อให้เกิดปัญญามี ๒ ส่วนนะ ไม่เหมือนกัน

การทำให้เกิดสติใช้การตามรู้กาย ตามรู้เวทนา ตามรู้จิต ตามรู้สภาวะธรรม ใช้ตามรู้ทั้งหมดเลย เพราะงั้นท่านถึงใช้คำว่า “กายานุปัสสนา” “ปัสสนา”คือ การเห็น การรู้การเห็น จริงๆแปลว่าการเห็น “อนุ” แปลว่าตาม ตามเห็นเนืองๆซึ่งกาย ตามเห็นเนืองๆซึ่งเวทนา ตามเห็นเนืองๆซึ่งจิต ตามเห็นเนืองๆซึ่งธรรม เนี่ยพระพุทธเจ้าใช้คำว่าตามเห็นเนืองๆ แต่ตาม เห็นเนี่ย ต้องตามด้วยใจที่ตั้งมั่นนะ ใจที่ตั้งมั่น ไม่ใช่ใจที่ไหลไป ใจที่ตั้งมั่นจะไปได้ตอนฝึกสัมมาสมาธิ นี้ให้มีสัมมาสติ สัมมาสติคอยมีสติ

เบื้องต้นมีสติตามรู้กาย หายใจออกคอยรู้สึก หายใจเข้าคอยรู้สึก ยืนเดินนั่งนอน คู้เหยียด เหลียวซ้ายแลขวา คอยรู้สึก รู้สึกบ่อยๆนะ ต่อไปเนี่ย ไม่เจตนาจะรู้ มันก็รู้เอง พอร่างกายเคลื่อนไหวนะ สติจะระลึกได้เอง เนี่ยเรียกว่าเราฝึกได้สติแล้ว สติเกิดโดยที่ไม่ต้องเจตนาให้เกิด หรือบางคนตามรู้เวทนา คำ ว่าตามรู้ไม่ใช่ตามไปที่อื่นนะ ตามรู้หมายถึงว่า ร่างกายเคลื่อนไหว แล้วรู้ว่าร่างกายเคลื่อนไหว เวทนาเกิดขึ้นในกาย ก็รู้ว่าเวทนาเกิดในกาย เวทนาเกิดในใจ ก็รู้ว่าเวทนาเกิดในใจ หมายถึงเวทนาเกิดก่อน แล้วรู้ว่ามันเกิด ร่างกายเคลื่อนไหวไปก่อน แล้วรู้ว่าเคลื่อนไหว

เพราะฉะนั้นในการเดินจงกรมแบบนี้ ถูกหรือผิดหลัก? (หลวงพ่อทำให้ดู) เนี่ยแล้วค่อยๆเดินไป อันนี้เป็นการไปจ้องไว้ ไม่ใช่การตามรู้นะ ถ้าตามรู้ ไม่ทันจะระวังตัวเลย เป็นธรรมชาติธรรมดา เคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติ หายใจ มันหายใจอยู่แล้วใช่มัั้ย ตอนนี้ทุกคนหายใจอยู่มั้ย มีใครไม่หายใจมาบ้าง ทุกคนหายใจอยู่แล้ว ก็แค่รู้ว่ากำลังหายใจอยู่ รู้ว่าร่างกายกำลังหายใจอยู่ แค่นี้เอง ไม่ใช่เอาแล้วต่อไปนี้จะรู้ลมหายใจแล้ว (หลวงพ่อทำให้ดู) นี่ไม่ใช่แล้วนะ นี่ไม่ใช่การตามรู้แล้

ตามรู้เนี่ย มันมีอยู่แล้ว เรารู้ไม่ทันต่างหาก ก็รู้ให้ทันขึ้นมา หายใจอยู่แล้วใช่มั้ย ยืนเดินนั่งนอนอยู่แล้วใช่มั้ย ขณะนี้ใครไม่ยืนเดินนั่งนอน มีมั้ย ใครไม่อยู่ในอิริยาบทนี้ ไม่มี ตอนนี้กำลังนั่ง นี่มีเดินอยู่หนึ่ง นอกนั้นกำลังนั่ง มันมีอยู่แล้วนะ เราก็แค่รู้เข้าไปเท่านั้น อันนี้แหล่ะเรียกว่าตามรู้ เวทนามันก็มีอยู่แล้ว แต่ไม่เห็น ก็แค่ตามรู้เข้าไป คือรู้มันขึ้นมานะ

กุศลอกุศลในจิตมีอยู่มั้ยขณะนี้ มีมั้ย ความสงบ ความฟุ้งซ่าน ความดีใจ ความเสียใจ ความสุข ความสุขความทุกข์นี่ส่วนเวทนา โลภโกรธหลง ไม่โลภไม่โกรธไม่หลง ขณะนี้มีใครโลภบ้าง ขณะนี้มีใครไม่โลภบ้าง เนี่ยเหมือนกันหมดเลย non response เห็นมั้ยมันมีอยู่แล้ว จิตที่เป็นกุศลหรืออกุศลเนี่ย มีอยู่แล้วในขณะนี้นะ ตามรู้คืออะไร รู้เข้าไปเลยสิ มันเป็นยังไง ขณะนี้มันเป็นยังไง รู้ว่าเป็นอย่างงั้น อันนี้แหล่ะคือคำว่าตามรู้ ตามรู้เนืองๆ ดูบ่อยๆ รู้บ่อยๆ มันมีอยู่แล้ว แต่เราไม่เคยเห็น ก็คอยดูมันนะ คอยรู้มัน นี่เรียกว่าตามรู้นะ แต่การรู้เนี่ยจะต้องใจตั้งมั่น ถ้ารู้ตามจิตไหลไปนะ ปัญญาจะไม่เกิด เดี๋ยวจะไปเรียนเรื่องมรรคตัวสุดท้าย คือสมาธิ

งั้นหน้าที่เรานะ ร่างกายเคลื่อนไหว คอยรู้สึก มันเคลื่อนไหวอยู่แล้ว เวทนาเกิดขึ้นในกาย คอยรู้สึก เวทนาในกายมีอยู่แล้ว เวทนาในจิตเกิดขึ้น คอยรู้สึก เวทนาในจิตก็มีอยู่แล้ว แค่คอยรู้สึกขึ้นมา กุศล-อกุศลเกิดขึ้นในจิต ก็แค่คอยรู้ มันมีอยู่แล้ว นี่เรียกว่าตามรู้ทั้งสิ้นเลย เพราะงั้นการตามรู้ไม่ใช่ ส่งจิตตามไปที่อื่นนะ รู้อยู่เฉพาะหน้า รู้อยู่กับปัจจุบัน แต่ว่าสภาวะมันมีอยู่แล้ว ก็รู้มัน นี่เรียกว่าตามรู้ ตามรู้เนืองๆ นี่ทำให้เกิดสตินะ

พอรู้บ่อยๆ จิตจะจำสภาวะได้แม่น อย่างเราหัดขยับตัวแล้วรู้สึก ขยับตัวแล้วรู้สึก วันนึงเราใจลอย พอใจลอยปุ๊บ เราเกิดขยับขึ้นมาโดยไม่ได้เจตนาจะรู้สึกนะ มันจะรู้สึกขึ้นเอง สติตัวจริงเกิดแล้ว เกิดโดยไม่เจตนานะ ไม่เจือด้วยโลภะ แล้วค่อยฝึกไปเรื่อยนะ บางคนดูเวทนา ดูบ่อยๆ ต่อไปพอนั่งๆอยู่ มดมากัดเจ็บปั๊บ สติเกิดเลย เห็นเวทนาเกิดขึ้นในกาย กายอยู่ส่วนนึง เวทนาอยู่ส่วนนึง จิตเป็นคนดู นี่เกิดสติขึ้นมา ใจตั้งมั่น รู้สึกขึ้นมา หรือเห็นกุศลอกุศลนะ หัดดูไปเรื่อย กุศลอกุศลใดๆเกิดขึ้นในใจ คอยหัดดูไปเรื่อย ที่หัดดูจิตๆ หัดดูไปอย่างนั้นแหล่ะ ในที่สุดก็ได้สติขึ้นมา รู้สึกขึ้นมา กิเลสเกิดแว้บ รู้สึกเลย อย่าว่าแต่ตอนตื่นเลย ตอนนอนหลับนะ กิเลสเกิดยังรู้สึกเลยอัตโนมัติขึ้นมา

นี่เราฝึกไปจนสติมันอัตโนมัตินะ ถึงจะใช้ได้ ถ้าสติยังต้องจงใจให้คอยเกิดอยู่ ยังอ่อนอยู่ ต้องฝึกไปอีก หัดรู้สภาวะมากๆนะ สติจะเกิด

สติปัฏฐานเนี่ย เบื้องต้นทำให้มีสติ เบื้องปลายจะมีปัญญา

แต่ก่อนจะเกิดปัญญา ต้องมาเรียนสัมมาสมาธิก่อน สัมมาสมาธิพระพุทธเจ้าอธิบายสัมมาสมาธิด้วยฌาน ๔ ทำไมเอาแค่ฌาน ๔ แล้วอรูปฌานอีก ๔ หายไปไหน อรูปฌาน ๔ นั้นสงเคราะห์เข้าในฌานที่ ๔ เพราะมีองค์ธรรมเท่ากัน มีอุเบกขากับเอกัคคตา เป็นองค์ธรรมหลักคืออุเบกขากับเอกัคคตา งั้นสรุปก็คือฌาน ๘ นั่นเอง

แต่ถ้าพูดอย่างปริยัติ ท่านอธิบายด้วยฌาน ๔ ทำไมต้องเป็นฌาน ถ้าไม่เข้าฌาน ไม่เป็นสัมมาสมาธิรึ ท่าน อธิบายฌาน ๔ สัมมาสมาธิด้วยฌาน ๔ เนี่ย เพราะท่านพูดถึงสัมมาสมาธิแท้ๆ สัมมาสมาธิแท้ๆเกิดขณะเดียว ในขณะที่เกิดอริยมรรค เกิดขณะจิตเดียวนั่นแหล่ะ

เพราะงั้นที่บอกว่าองค์มรรคๆ ๘ ตัวนี่นะ ไม่ได้เกิดรายวัน แต่องค์มรรคแท้ๆเนี่ย เกิดในขณะที่เกิดอริยมรรค เพราะงั้นขณะที่พวกเรามีสติอยู่ทุกวันเนี่ย บางคนก็บอกเป็นสัมมาสติ อันนั้นเรียกเอาหน้าเท่านั้นเอง จริงๆไม่เป็น ที่บอกเรามีสัมมาสมาธิอยู่ มีใจตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว นี่เรียกโดยอนุโลม จริงๆยังไม่ใช่สัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิแท้ๆเกิดตอนที่เกิดอริยมรรค

แล้วขณะที่เกิดอริยมรรคนั้น จะต้องเกิดร่วมกับองค์ฌานอันใดอันหนึ่ง ต้องเกิดกับฌานขั้นใดขั้นหนึ่ง อย่างน้อยปฐมฌานจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ จนถึงฌานที่ ๔ บางคนลึกซึ้งลงไปกว่านั้นอีก ในฌานที่ ๔ นั้นรูปหายไป เหลือแต่นามธรรมล้วนๆ เข้าไปอรูปฌาน

งั้นท่านอธิบายตัวสัมมาสมาธิเนี่ย ท่านถึงไปอธิบายด้วยฌาน แต่ใน ขั้นการปฏิบัติเนี่ย ขั้นบุพภาคมรรค ขั้นเบื้องต้นของมรรค มรรคเบื้องต้น ยังไม่ใช่อริยมรรคเนี่ย ไม่จำเป็น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเกิดอัปปนาสมาธิ ถ้าเราไม่มีอัปปนาสมาธิ ทำอัปปนาสมาธิไม่ได้ เราใช้ขณิกสมาธินี่แหล่ะ สมาธิเป็นขณะๆคอยรู้ทัน จิตมันฟุ้งซ่านไป คอยรู้ทัน จิตมันฟุ้งซ่านไป คอยรู้ทัน รู้บ่อยๆนะ มันจะได้สมาธิเป็นขณะๆ เพราะในขณะที่รู้ทันว่าฟุ้งซ่านจะไม่ฟุ้งซ่าน ในขณะที่ไม่ฟุ้งซ่าน ขณะนั้นแหล่ะมีสมาธิ นั่นได้เป็นขณะๆไป

งั้นบางทีหลวงพ่อบอกพวกเรานะ เผลอไปแล้วรู้ เผลอไปแล้วรู้ เผลอไปนั่นคืออะไร คือจิตฟุ้งซ่านนั่นเอง เพราะงั้นจิตฟุ้งซ่านไปแล้วรู้ทัน จิตฟุ้งซ่านไปรู้ทัน ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมา ใจมันจะอยู่กับเนื้อกับตัว งั้นสัมมาสมาธิในขั้นของการปฏิบัติ กับในขั้นของการเกิดอริยมรรคเนี่ย คนละอย่างกันนะ ในขั้นของการเกิดอริยมรรคเนี่ย จิตเข้าอัปปนาสมาธิแล้วก็ไปตัดกิเลส ตัดสังโยชน์กันในองค์มรรค ในขณะที่ทรงฌาน ส่วนสัมมาสมาธิในขณะที่ใช้ชีวิตธรรมดาเนี่ย จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว

ทำอัปปนาสมาธิได้มั้ย ทำได้ แต่ทำเพื่อพักผ่อน ไม่ใช่ทำเพื่อให้เกิดอริยมรรค ทำเพื่อพักผ่อนเท่านั้นอัปปนาสมาธิ แต่บางคนชำนาญในการดูจิตจริงๆ เมื่อเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ยังดูจิตต่อได้อีก อันนี้พวกที่ชำนาญในการดูจิตด้วยชำนาญในฌานด้วย ซึ่งหายากนะ มีไม่กี่คนหรอก ส่วนใหญ่ทำไม่ได้

เราใช้ขณิกสมาธิอยู่เป็นขณะๆนี้ ใจลอยไปแล้วรู้ ใจฟุ้งซ่านไปแล้วรู้ ใจฟุ้งไปแล้วรู้ รู้อย่างนี้เรื่อยนะ ใจจะตั้งมั่นขึ้นมา สมาธิชนิดนี้คือความตั้งมั่น คือพูดภาษาไทยง่ายๆนะ คือจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว จิตใจไม่ลืมเนื้อลืมตัว จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวนะ

ถัดจากนั้นเรามาเดินสติปัฏฐานที่ให้เกิดปัญญา พอจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้ว สติระลึกรู้ลงในรูปธรรมนะ จะเห็นรูปธรรมไม่ใช่ตัวเรา สติระลึกรู้ลงในเวทนา จะเห็นว่าเวทนาไม่ใช่ตัวเรา ในขณะที่ใจเราตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว เป็นผู้รู้ผู้ดู จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูนี่แหละ เรียกว่ามีสมาธิล่ะ แล้วก็สติเกิดระลึกรู้ เห็นเวทนาทางใจ ก็จะเห็นว่าเวทนาทางใจไม่ใช่เรา สติระลึกรู้เห็นกุศลเห็นอกุศล จะเห็นว่ากุศลและอกุศลไม่ใช่เรา

ทีนี้ตัวผู้รู้เนี่ย มันจะรู้สึกเหมือนกับทรงอยู่ แต่ถ้าทำแค่ขณิกสมาธิเนี่ย ตัวผู้รู้จะไม่อยู่นาน ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้คิด ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้หลงไปเลย ไม่รู้คิดเรื่องอะไร ประเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ ประเดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง ตัวผู้รู้เองก็เกิดดับ จิตนี้เองเกิดดับ ไม่เที่ยงด้วย ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์เท่าๆกับขันธ์อื่นๆนั่นเอง เนี่ยการเดินปัญญาทำอย่างนี้นะ รู้ลงไปในกาย  มีสติระลึกรู้กายที่กำลังปรากฏอยู่ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว ไม่ลืมเนื้อลืมตัว เนี่ยคือจิตที่มีสมาธิได้มาด้วยการทำฌาณก็ได้นะ ได้มาด้วยการรู้ทันจิตที่ไหลไปๆ แล้วรู้บ่อยๆ เนี่ย มันจะตั้งมั่นขึ้นเอง พวกเราใจไหลไปแล้วรู้ ไหลแล้วรู้เนี่ย ใจมันจะมาอยู่กับเนื้อกับตัว

พอใจอยู่กับเนื้อกับตัวแล้วมันจะรู้สึกขึ้นมานะว่า ร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหว ใช้คำว่าร่างกายที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่เนี่ย ไม่ใช่ตัวเรา

ดูกายเนี่ยจะดูลงปัจจุบันขณะนะ ดูลงขณะปัจจุบันนี้เลย เนี่ยๆ กำลังเคลื่อนอยู่เนี่ย เรารู้ได้มั้ย รู้ได้ เพราะจิตมันเป็นคนไปรู้กาย แต่ว่าการดูจิตเนี่ยจะไม่ดูลงปัจจุบันขณะ การดูจิตจะดูด้วยลักษณะที่เรียกว่า ดูปัจจุบันสันตติ  ไม่เหมือนกันนะ ปัจจุบันขณะก็คือสิ่งที่กำลังปรากฏต่อหน้าต่อตานี้เอง ปัจจุบันสันตติคือสิ่งที่เนื่องอยู่กับปัจจุบัน ปัจจุบันเป๊ะๆไม่ได้ เพราะจิตนั้นรู้อารมณ์ได้ครั้งละอย่างเดียว อย่างร่างกายเคลื่อนไหวเนี่ย จิตดูลงปัจจุบันได้ เพราะจิตมารู้กาย แต่จิตจะไปรู้จิตเนี่ยไม่ได้ จิตจะไปรู้จิตในขณะ ขณะนั้นนะ ในขณะที่เดินปฏิบัติปกติเนี่ยไม่ได้ แต่ในขณะที่เกิดอริยมรรคได้นะ คนละอันกันนะ คนละเรื่อง ที่ท่านว่าจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรคนั้น ท่านพูดถึงอริยมรรคเลย เฮ้อ เหนื่อย เทศน์มันยากมากเลย มัน intensive course

เพราะงั้นดูกายเนี่ยนะ ดูมันลงปัจจุบัน ดูจิตนั้น ดูมันเนื่องกับปัจจุบัน เช่น มันโกรธ พอมันโกรธปุ๊บ สติรู้ว่าโกรธ ในขณะที่จิตมีสติรู้ว่าโกรธเนี่ย ความโกรธนั้นเป็นอดีตไปแล้ว ความรู้ รู้ว่าเมื่อกี้โกรธนั้นเป็นปัจจุบัน ความโลภเกิดขึ้น ความโลภเป็นปัจจุบัน สติรู้ว่าเมื่อกี้โลภ โลภเป็นอดีตละ จิตที่มีสตินี้เป็นปัจจุบัน

จิตที่มีสติมันเกิดตามหลังจิตที่มีกิเลสนะ เพราะงั้นตรงที่มีกิเลสเนี่ย ดูไม่ได้ เพราะในขณะที่กิเลสเกิดเนี่ย สติไม่มี ในขณะที่มีสติน่ะไม่มีกิเลส เพราะงั้นการที่เราเห็นว่าจิตมีกิเลสน่ะ เราเห็นตามหลังทั้งสิ้น เพราะ ฉะนั้นการดูจิตนี่นะ จะตาม แต่ตามแบบติดๆนะ เมื่อวานโกรธวันนี้รู้ไม่เรียกว่าปัจจุบันสันตตินะ เพราะว่าห่างไกลมาก นั่นเป็นอดีตสันตติแล้วไม่ใช่ปัจจุบันละ

เพราะงั้นการดูจิตนะ ดูแบบติดๆ เลย โกรธขึ้นมาก่อน รู้ว่าโกรธ นี่เห็นหางความโกรธๆไหวๆ หายแว้บไปต่อหน้าต่อตา นี่ เห็นหางเท่านั้นนะ ไม่เห็นตัวมันหรอก งั้นดูอย่างนี้นะ ดูไปเรื่อย แต่จิตต้องตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู ตัวนี้แหละคือตัวสัมมาสมาธิ จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู สติระลึกรู้กายลงเป็นปัจจุบัน สติตามรู้จิตที่ดับไปสดๆร้อนๆ นะ

เนี่ยในขณะที่เดินมรรคเขาเดินกันอย่างนี้ ในขณะที่เกิดอริยมรรคเป็นอีกแบบนึง คนละเรื่องกัน อย่าไปปนกัน

พอเราเจริญมากๆนะ จะได้อะไร จะได้ตัวของปัญญา ปัญญา คือสัมมาทิฐิ คือสัมมาสังกัปปะ

สัมมาทิฐิคือความเห็นแจ้งในอริยสัจจ์ รู้ว่าตัวตนไม่มีหรอก ตัวตนมีแต่ทุกข์ ขันธ์มีแต่ตัวทุกข์ ขันธ์ไม่ใช่ตัวตน พอมีอย่างนี้นะใจมันก็ดำริออกจากกาม ดำริออกจากพยาบาท ดำริออกจากการเบียดเบียน ก็ตัวเราไม่มีจะมีกามไปทำไม จะพยาบาททำไม จะเบียดเบียนยังไง ใจก็พ้นจากกิเลส พ้นจากทุกข์ พ้นจากทุกสิ่งทุกอย่างไป

วันนี้เทศน์เรื่องมรรคให้ฟังนะ มรรคมีหนึ่งนะ แต่มีองค์แปด แต่ไม่ได้มีแปดมรรคนะ ถ้าแปดมรรคเรียกมักมาก มรรคมีหนึ่งเท่านั้นแต่มีองค์แปด คล้ายๆ แมงมุมมีหนึ่งตัวแต่มีแปดขา หักออกขานึงก็พิการละ ใช้ไม่ได้ อริยมรรคจะไม่เกิดนะ ถ้าขนาดส่วนใดส่วนหนึ่ง

เพราะฉะนั้นส่วนแรกเลยที่ต้องรักษาคือศีล จำไว้นะ ตั้งใจ แล้วพยายามดำรงชีวิตอย่างสุจริต พยายามฝึกจิตฝึกใจไปเรื่อย คอยรู้ทันจิตไป กิเลสเกิดรู้ทัน อย่าให้มันครอบงำ รู้ทันกิเลสได้บ่อยๆ ใจก็มีกุศลมากขึ้นๆ แล้วก็หัดรู้สภาวะของรูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย จนกระทั่งสติมันเกิด แล้วก็ฝึกจิตไป จิตไหลไปแล้วรู้ๆ สมาธิก็เกิด ในที่สุดก็มีสมาธิ มีสติรู้รูปรู้นามตามความเป็นจริงด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางคือจิตมีสมาธิ เมื่อมีสติรู้รูปรู้นามรู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางมากพอ ปัญญาจะเกิด จะเห็นแจ้งว่ารูปธรรมนามธรรมไม่ใช่ตัวตน เป็นแต่ตัวทุกข์ล้วนๆ ตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ล้วนๆ พอปล่อยวางได้นะ คุณงามความดีทั้งหลายเนี่ยสมบูรณ์แบบหมดเลย ความสุขอันมหาศาลจะเกิดขึ้น


สวนสันติธรรม
CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
Track: ๑๒
File: 530425A.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๐ วินาทีที่ ๑๕ ถึง นาทีที่ ๒๙ วินาทีที่ ๑๒

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

เบื้องต้นหากสติ สมาธิ ปัญญายังไม่อัตโนมัติ ต้องอดทน ต้องฝึกซ้อม

mp3 : (for download) : สติ สมาธิ ปัญญายังไม่อัตโนมัติ ต้องอดทน ต้องฝึกซ้อม

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ต้องสู้นะ ต้องสู้ ต้องอดทนน่ะ อยู่ๆมันจะได้ง่ายๆ ไม่ได้หรอก จริงๆที่หลวงพ่อบอกว่าการปฏิบัติมันง่ายๆ ครูบาอาจารย์ท่านก็บอกนะ หลายองค์เวลาไปอยู่ด้วยท่านก็ปรารภขึ้นมา โอ้..การภาวนาง่ายนะ ปราโมทย์ ง่ายนะ เสร็จแล้วจะเงียบๆไปพักหนึ่งแล้วจะพูดต่อ แต่มันก็ยากเหมือนกันน่ะ

มันง่ายนะ ถ้าเราตื่นขึ้นมาแล้ว ใจเราตื่นแล้วเราดูกายทำงานดูใจทำงาน เราไม่ต้องทำอะไร  เราทำตัวเป็นคนดู มันไม่ยากเพราะเราไม่ต้องทำอะไรดูอย่างที่มันเป็น แต่ว่ามันยากมากเลยกว่าที่เราจะตื่นขึ้นมา ในโลกนะมันมีแต่คนหลงคนหลับ ยากเหลือเกินที่คนๆหนึ่งจะตื่นขึ้นมาได้ แต่ไม่ยากนะที่คนที่ตื่นขึ้นมาแล้ว คอยรู้กายรู้ใจเนืองๆ จะบรรลุมรรคผลนิพพานในชีวิตนี้ เพราะฉะนั้นที่ครูบาอาจารย์บางองค์ว่ายากๆ ยากเพราะว่ามันไม่ตื่น บางองค์ท่านก็ว่ามันง่ายนะ ง่ายเพราะอะไร เพราะไม่ได้ทำอะไรเลย

พอสติ สมาธิ ปัญญา มันอัตโนมัติขึ้นมานะ สติมันก็รู้กายรู้ใจเองนะ สมาธิก็ตั้งมั่นโดยไม่ต้องรักษา ปัญญาก็หยั่งรู้ความจริงของกายของใจ ทำงานของมันเอง ไม่เห็นมีอะไรยากเลย แต่ก่อนที่สติจะอัตโนมัติ ก่อนที่สมาธิจะอัตโนมัติ ก่อนที่ปัญญาจะอัตโนมัติ ตรงนี้ยากสุดๆเลย ตรงที่ใจเราตื่นขึ้นมาเนี่ยเราได้สมาธินะ แล้วก็มีสติรู้กายรู้ใจเขาทำงานไปเรื่อยในที่สุดปัญญามันจะเกิด

แรกๆสติก็ไม่อัตโนมัติหรอก ต้องฝึกต้องซ้อม วิธีฝึกวิธีซ้อมก็หัดดูสภาวะเรื่อยไปนะ ความโลภเกิดขึ้นก็รู้ ความโกรธเกิดขึ้นก็รู้ ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ ความดีใจเสียใจ ความสุขความทุกข์อะไรเกิดขึ้นในจิตใจก็คอยรู้ไป ความสุขความทุกข์เกิดขึ้นในร่างกายก็คอยรู้นะ ร่างกายหายใจออกร่างกายหายใจเข้า ร่างกายยืนเดินนั่งนอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด นะ ทั้งกายทั้งใจทำงานนะ คอยมีสติตามดูมันเรื่อยๆไป

ดูมากๆนะ ต่อไปจิตจะจำสภาวะได้แม่น พอจิตจำสภาวะได้แม่น สติจะเกิดเอง ไม่ได้เจตนาให้เกิด อย่างเราหัดเบื้องต้นนะ เราต้องจงใจไว้ก่อนนะ ค่อยๆสังเกตไป จิตใจเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ แรกๆก็ดู วันนี้กับเมื่อวานไม่เหมือนกัน แต่ละวันจิตใจไม่เคยเหมือนกันเลย หัดดูอย่างนี้ พอดูแต่ละวันไม่เหมือนกันได้ก็ดูให้ละเอียดขึ้น ในวันเดียวกันเนี่ย เช้า สาย บ่าย เย็น ก็ไม่เหมือนกัน ดูอย่างนี้นะ ในที่สุดต่อไปก็จะเห็นว่า ในแต่ละขณะ แต่ละขณะ ก็ไม่เหมือนกัน ดูมันจะละเอียดขึ้น ละเอียดขึ้น

ดูไปเรื่อยๆเราจะเห็นเลย มีแต่ความเปลี่ยนแปลง เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ถ้าดูจนชำนิชำนาญนะ ต่อไปไม่เจตนาจะดู พอมีอะไรเกิดขึ้นในกายเกิดขึ้นในใจ สติระลึกได้เอง เนี่ยต้องฝึกจนสติระลึกเองนะ

อย่างหลวงพ่อไปหัดจากหลวงปู่ดูลย์มา ท่านสอนให้ดูจิต มาหัดดูเรื่อย มันสุขก็รู้ มันทุกข์ก็รู้ มันโลภ มันโกรธ มันหลงนะ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นก็รู้ มันดับไปก็รู้ เนี่ยหัดรู้ไปเรื่อย ต่อมาไม่ได้เจตนาจะรู้นะ มันรู้เอง วันที่มันรู้เองนะวันนั้นพายุใหญ่มา ๒๓ กันยายน ๒๕๒๕ มีพายุเข้ามา กางร่มออกจากที่ทำงาน พายุมันตีร่มเนี่ยพับขึ้นไป ในที่สุดเราเลยต้องเก็บร่มนะ เดี๋ยวร่มเราหักอีกอันหนึ่งแย่เลย เก็บร่มไปแล้วเดินตากฝนไป เข้าไปที่วัด วัดโสมฯนี่แหละ ใกล้ๆที่ทำงาน เข้าไปในกุฏิเก่าของท่านเจ้าคุณ สมเด็จพระวันรัตน์ พระวันรัตน์(ทับ) เจ้าอาวาสองค์แรกเลยเป็นกุฏิกรรมฐานของท่าน อยู่ข้างโบสถ์ เดี๋ยวนี้ท่านรื้อไปแล้ว ไปนั่งกอดเข่าอยู่นั่น นั่งกอดเข่า แล้วใจมันกังวลขึ้นมาว่าเปียกฝนเนี่ยนะคงจะเป็นหวัด ทีนี้เราเคยหัดรู้สภาวะจนชินนะ พอใจกังวลปุ๊บนี่นะ สติมันระลึกโดยไม่เจตนาจะระลึก มันรู้ของมันเอง ใจมันระลึกได้เอง

หรืออย่างสมาธิเราก็ต้องฝึก สติเนี่ยเราหัดดูสภาวะไปเรื่อย โลภ โกรธ หลง ฟุ้งซ่าน หดหู่ หัดรู้ไปเรื่อย ถึงจุดหนึ่งพอสภาวะเกิดแล้วสติรู้เองโดยไม่ต้องเจตนาจะรู้ แต่ก่อนจะรู้ได้เองก็ต้องซ้อมนะ ต้องฝึก ไม่ใช่อยู่ก็เอาละ หลวงพ่อปราโมทย์บอกไม่ต้องทำอะไรงั้นก็นอนมันทั้งวัน ไม่ได้กินหรอกนะ ต้องฝึก หัดดูสภาวะไปจนสติเกิด

CD: สวนสันติธรรม แผ่นที่ ๓๔
File: 530423.mp3
ระหว่างนาทีที่ ๒๐ วินาทีที่ ๒๐ ถึงนาทีที่ ๒๔ วินาทีที่ ๕๓

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติปัฏฐานมีสองส่วน คือ ส่วนที่ทำให้เกิดสติ กับส่วนที่ทำให้เกิดปัญญา

mp 3 (for download) : สติปัฏฐานมีสองส่วน คือ ส่วนที่ทำให้เกิดสติ กับส่วนที่ทำให้เกิดปัญญา

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ :

สติปัฏฐานมีสองส่วน ส่วนที่ทำเพื่อให้เกิดสติ และทำให้เกิดปัญญา

ส่วนที่ทำเพื่อให้เกิดสติ ให้ตามรู้กาย ตามรู้เวทนา ตามรู้จิตไป

ส่วนที่ทำให้เกิดปัญญานี้นะ รู้กายลงไปเป็นปัจจุบัน แล้วก็ตามรู้จิต จะต่างกันนะ

ฉนั้นในขั้นที่เราจะกระตุ้นให้สติเกิด ก็ตามรู้ทั้งกายทั้งจิตนั่นแหล่ะ อย่าไปดูลงปัจจุบันที่กาย เพราะถ้าดูลงปัจจุับันที่กาย จะไปเพ่งกายอัตโนมัติเลย

ในสติปัฏฐาน ท่านถึงใช้คำว่า “กายานุปัสสนา“  “ปัสนา” คือการเห็น ตามเห็นเนืองๆ ซึ่งกาย   ตามเห็นน่ะ เป็น “อนุ” แปลว่าตาม ตามเห็นเวทนา ตามเห็นจิต ทีนี้ตามเห็นไปเรื่อยๆ แล้วมันเกิดสติ แล้วจิตมันจำสภาวะได้ กำลังเผลอๆ อยู่นี่ เกิดขยับตัววับนะ สติก็เกิดแล้ว หรือกำลังเผลอๆ อยู่ เกิดความรู้สึกทุกข์อะไรแว๊บขึ้นมานะ สติก็เกิด  หรือกำลังเผลออยู่ จิตเป็นกุศลอกุศลขึ้นมา สติก็เกิด  คนไหนเคยตามรู้กายเนืองๆ พอร่างกายเคลื่อนไหวปุ๊บ สติเกิด  คนไหนตามรู้จิตเนืองๆ พอจิตเคลื่อนไหว สติก็เกิด

พอสติเกิดแล้ว คราวนี้มารู้กายลงเป็นปัจจุบัน รู้สึกเลย ตัวที่ยืน ที่เดิน ที่นั่ง ที่นอนนะ ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นรูปธรรมอันนึงที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา มีธาตุไหลเข้า ธาตุไหลออกตลอด แล้วธาตุที่ประกอบขึ้นเป็นกายนี้ ก็เปลี่ยนแปลงตลอด

รู้ลงปัจจุับันนะ ถ้าดูจิตก็ตามดูัมันไปเรื่อยๆ  ดูกายมีสอง step  ถ้าดูจิตนะ ดูตั้งแต่ต้นจนจบ ดูอย่างเดียว ดูอย่างเดียวกัน แต่ตอนดูก็ให้สติเกิดเอง ก่อนดูให้สติเกิดเอง อย่าจงใจให้เกิด  จงใจให้เกิดแล้วกลายเป็นเพ่งจ้อง  ระหว่างรู้ก็อย่าถลำลงไปรู้ ให้สักว่ารู้ ให้สักว่าเห็น ดูแบบคนวงนอก ไม่มีส่วนได้เสีย ดูกายเหมือนเราดูกายคนอื่น  ดูจิตใจเหมือนเราดูจิตใจคนอื่น ดูแบบไม่มีส่วนได้เสีย

จิตมันโกรธขึ้นมานะ ก็ดูเหมือนเห็นคนอื่นโกรธ เห็นความโกรธไหลมาไหลไป ดูอย่างไม่มีส่วนได้เสีย ดูอยู่ห่างๆ มันจะเหมือนเราอยู่ห่างๆ ไม่เข้าไปคลุกกับมัน เหมือนเราอยู่บนยอดตึำกนะ มองลงมา เห็นรถวิ่งเต็มถนนนะ  รถจะชนกันข้างล่างนะ ก็ไม่ได้มากระเทือนถึงเราที่เป็นแค่คนดู   จิตใจเป็นกุศลอกุศล จิตใจเป็นสุขเป็นทุกข์อะไรเนี่ย ก็ไม่กระเทือนเข้ามาถึงคนดู

พอรู้แล้วก็อย่าไปแทรกแซงมัน ก่อนจะรู้อย่าจงใจรู้  ระหว่างรู้นะให้สักว่ารู้ อย่าถลำลงไปรู้  รู้แล้วอย่าแทรกแซง  เกือบทั้งหมดก็แทรกแซง เจอกุศลก็อยากให้เกิดบ่อยๆ เกิดแล้วก็อยากให้อยู่นานๆ  เจอสุขก็อยากให้เกิดบ่อยๆ อยากให้อยู่นานๆ  เจออกุศล เจอทุกข์ก็อยากให้หายไปเร็วๆ หรือไม่อยากให้เกิดขึ้น  ตรงที่เข้าไปแทรกแซงมีปัญหามาก ลำพังกายนี้ใจนี้ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไป สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ดีบ้าง ร้ายบ้าง  มันเรื่องของกายเรื่องของใจ เรื่องของธาตุเรื่องของขันธ์ ไม่เกี่ยวกับเรา  ถ้าเมื่อไรเราหลงยินดียินร้าย  อย่างความโกรธเกิด อยากให้หาย  พออยากให้หายนะ ใจมันจะดิ้น  ใจจะดิ้นรนขึ้นมาทำงาน   พอใจดิ้นรนทำงาน ความทุกข์เกิดซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก อันนี้เป็นความทุกข์ที่เกิดจากตัณหา

สวนสันติธรรม
CD: 17
File: 500109A.mp3
Time: 3.25 – 7.16

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้าเราจงใจให้สติเกิด เรียกว่ามีโลภเจตนา จะไม่เกิดสติแท้ ๆ

mp3 (for download) : ถ้าเราจงใจให้สติเกิด มีโลภะเจตนา จะไม่เกิดสติแท้ ๆ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : การที่เราหัดรู้สภาวะไปเรื่อย ๆ ถึงจุดหนี่งสติจะเกิดเอง ถ้าเราจงใจให้ เกิด เช่น เราตั้งใจ ต่อไปนี้เราจะไม่เผลอเลย เราก็มารู้ลมหายใจหายใจออก คอยรู้หายใจเข้าคอยรู้ เราจ้องไม่ให้เผลอไปที่อื่นเลย อันนี้มี โลภเจตนา ซ่อนอยู่เบื้องหลังการปฏิบัติ มีความโลภนะ โลภอะไร โลภอยากจะดี อยากจะรู้สึกตัว อยากจะให้เกิดสติ อยากจะให้เกิดปัญญา มีความโลภอยู่

ตราบใดที่ยังมีโลภะอยู่สติแท้ ๆ ไม่มีหรอก สติแท้ๆ ไม่เกิดร่วมกับโลภะหรอก ที่นี้เราต้องหัดจนกระทั้งจิตมันเคยชินที่จะเกิดสติ หัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆ แล้ววันหนี่งสติเกิดเอง ตรงที่สติเกิดได้เองนี่ครูบาอาจารย์แต่ก่อนท่านชอบใช้คำว่า มหาสติ พวกเราเคยได้ยินไหม มหาสติ มหาปัญญา บางทีครูบาอาจารย์ใช้ มหาสติ คือสติอัตโนมัติ มหาปัญญา ปัญญารู้แจ้งความจริงของกายของใจโดยอัตโนมัติ ก่อนจะมีปัญญาอัตโนมัติ ต้องฝึกให้มีสติอัตโนมัติก่อน ถ้าขาดสติไม่มีปัญญา เพราะฉะนั้น เราค่อยๆฝึกหัดดูสภาวะไปเรื่อย แล้ววันหนี่งจิตมันจะเห็นสภาวะได้เอง พอจิตมันเห็นสภาวะปุ๊บ โดยที่ไม่เจตนานะ จิตมันจ ะรู้เนื้อรู้ตัว มันจะตื่นขึ้นมาเต็มที่เลย มันจะเห็นความจริงเลยว่า สภาวะทั้งหลายไม่ใช่ตัวเรา

ศาลาลุงชิน ๓๒

520816

11.07 – 12.31

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

ถ้ามีสติอย่างเดียว แต่ขาดสัมมาสมาธิ จะไม่เกิดปัญญา และไม่มีกำลังที่จะเกิดอริยมรรค

mp 3 (for download) : ถ้ามีสติอย่างเดียว แต่ขาดสัมมาสมาธิ จะไม่เกิดปัญญา และไม่มีกำลังที่จะเกิดอริยมรรค

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์ : เครื่องมือในการเจริญสติ เครื่องมือหลักๆ ก็คือสติ สัมมาสมาธิ คือเครื่องมือหลักๆ ผลผลิตของมันก็เป็นปัญญา พอปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาทำหน้าที่ประหารกิเลส ทำลาย ตัดกิเลส ตัดสังโยชน์ ถ้าตัดสังโยชน์นี่เรียกว่าเป็นปัญญาในระดับอริยมรรค เพราะฉะนั้นต้องเรียนมากๆ เรื่องสติ กับสัมมาสมาธิ ต้องเรียนสองอันนี้เยอะๆ หน่อย ถ้ามีสติอย่างเดียวนะ ขาดสัมมาสมาธินี่ มันไม่มีกำลังที่จะตัดสินความรู้ สัมมาสมาธิเป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดปัญญา สัมมาสมาธิคือความตั้งมั่น ความตั้งมั่นของจิต เราจะรู้สึกว่าพอจิตมันถึงฐานของมันจริงๆ นะ มันรู้สึกเลย จิตใจตั้งมั่น จะสามารถสักว่ารู้สักว่าดูอะไรได้หมด นี้ส่วนใหญ่พวกเราจิตใจไม่ตั้งมั่น สมาธิที่พวกเรารู้จักนี่มันเป็นมิจฉาสมาธิ จิตมันชอบเข้าไปตั้งแช่ในอารมณ์ ยกตัวอย่างเวลาเรารู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ใจเราชอบไหลเข้าไปอยู่ที่ลม พอรู้ลมนี่ใจก็ไหลไปอยู่ที่ลม เราไปดูท้องพองยุบ ใจไหลไปอยู่ที่ท้อง เราเดินจงกรมยกเท้าย่างเท้า ใจไหลไปอยู่ที่เท้า

บางสำนัก สายหลวงพ่อเทียนท่านขยับมือ ขยับมือ ลูกศิษย์จำนวนมากเลย ใจไหลเข้าไปอยู่ในมือ ใจไหลเข้าไปอยู่ในมือ กับไหลเข้าไปอยู่ที่ท้อง ไหลไปอยู่ที่เท้า ไหลไปอยู่ในลมหายใจ มันก็ไหลเหมือนกัน ใจไม่ตั้งมั่น พอใจไม่ตั้งมั่นนะ ปัญญาจะเกิดไม่ได้จริงหรอก ได้แต่เพ่ง ใจจะเข้าไปแนบ อยู่ในอารมณ์อันเดียว อย่างต่อเนื่อง สงบ ดีแล้วเกิดปีติ ขนลุกขนพอง ตัวลอย ตัวเบา ตัวโพรง ตัวใหญ่ ตัวหนัก มีสารพัด อาการที่แปลกๆ กว่าปกติทั้งหลาย เป็นอาการของปีติ ขนลุกขนพอง วูบๆ วาบๆ นะ เหมือนฟ้าแลบแปล๊บๆ ปล๊าบๆ อะไรอย่างนี้ มันเป็นอาการที่ใจมันทำสมถะ เข้าไปแช่ในอารมณ์นานๆ แล้วจิตใต้สำนึกก็ทำงานปรุงอะไรต่ออะไรขึ้นมา แล้วแต่มันจะชอบ บางคนปรุงเห็นผีเห็นสางอะไรก็ได้นะ บอกว่าผีหลอก จริงๆ หลอกตัวเอง

ค่อยๆ สังเกตไปใจที่ตั้งมั่นกับใจที่ไหลไป วิธีหัดง่ายๆ เลย หัดสังเกตจิตใจของเรา อย่างนั่งฟังหลวงพ่อพูดนะ เดี๋ยวใจก็ไหลไปคิด เดี๋ยวก็ตั้งใจฟัง ฟังแล้วก็ไหลไปคิด ดูออกมั้ย คุณนี่ ฟังไปแล้วก็คิดไป สลับ ดูออกมั้ย แต่เราไม่เคยเห็นจิตที่ไหลไป เพราะฉะนั้นจิตเราไม่ได้ตั้งมั่นจริง คุณลองดูท้องพองยุบซิ ลองเคยทำดูพองยุบมั้ย เคยใช่มั้ย ลองทำเหมือนที่เคยปฏิบัติ ลองเลย ทำจริงๆ ลืมหลวงพ่อซะ นี่รู้สึกมั้ย ใจเรารวมไปอยู่ที่ท้อง ใจเราเคลื่อนไปอยู่ที่ท้อง นึกออกมั้ย นี่แหละคือการทำสมถะล่ะ นะ แล้วพวกเราชอบคิดว่าวิปัสสนา ไม่ใช่วิปัสสนา จิตไม่ตั้งมั่น จิตไหลไปแล้ว ไหลไป งั้นวิธีการที่ง่ายๆ นะ ที่คุณจะดูก็คือ จิตเราไหลไปเรารู้ทันว่าไหล อย่าดึงนะ อย่าออกแรงดึงนะ ถ้าเราเห็นไหลไปแล้วเราดึงนี่ จะแน่นขึ้นมา นี่ส่งใจไปดูอีกแล้วรู้สึกมั้ย ใจเราเคลื่อนไปดู ให้รู้ว่าเราหลงไปดูแล้ว มันคล้ายๆ เราดูโทรทัศน์น่ะ หรือเราจ้องจอคอมพิวเตอร์ ในนี้เหมือนมีจอคอมพิวเตอร์อันนึง เราจ้องไปที่จอ รู้สึกมั้ยเราถลำไปที่จอ ใช้ไม่ได้นะ ที่นักปฏิบัติเกือบร้อยละร้อยพลาด ก็พลาดตรงนี้เอง จิตไม่ตั้งมั่น กับจิตตั้งแช่ เข้าไปแช่นิ่งๆ อยู่ที่ท้อง เข้าไปแช่อยู่ที่ลม เข้าไปแช่อยู่ที่เท้า ตราบใดจิตตั้งแช่ มันก็ได้แต่สมถะ สงบไปเฉยๆ แหละ  แต่ถ้าจิตตั้งมั่นนะ มันจะเห็นเลย จิตอยู่ต่างหากนะ ความคิดก็ส่วนความคิด จิตส่วนจิต รูปส่วนรูป นามส่วนนาม ไม่ก้าวก่ายกันหรอก จิตหลุดออกจากโลกของความคิดเลย แล้วก็ไม่ได้เพ่งกายไม่ได้เพ่งใจนะ แต่รู้กายรู้ใจ

รู้กายรู้ใจกับเพ่งกายเพ่งใจไม่เหมือนกัน เวลาเราเพ่งกายเพ่งใจนะ เบื้องต้นเราเกิดอยากก่อน อยากปฏิบัติ พออยากปฏิบัติเราก็จงใจกำหนดรูปกำหนดนาม เราคิดว่าถ้าเอาสติไปกำหนด สติมีหน้าที่กำหนด ถ้าเรียนอภิธรรมอย่าง อาจารย์อนัตตาจะทราบ สติไม่ได้แปลว่ากำหนด สติแปลว่าความไม่ประมาท ความไม่หลงลืม ความไม่เลื่อนลอยๆ แต่จิตใจของเราชอบเลื่อยลอย รู้สึกมั้ยลอยไปลอยมา ตอนเนี้ยลอยไปคิดแล้ว นึกออกมั้ย จิตเราลอยไปคิด เวลาที่เราไม่ได้นึกเรื่องปฏิบัติจิตเราก็ลอยไปคิด เค้าเรียกว่าขาดสติ เวลาเรานึกถึงการปฏิบัติเราก็ไปเพ่งใส่ลงไป จิตเราเคลื่อนไป จ่อนิ่งๆ ไว้ อันนั้นไม่ใช่การรู้รูปนาม แต่เป็นการเพ่ง เพ่งรูปเพ่งนาม เพ่งรูปเพ่งนามเป็นสมถะนะ หลายคนเข้าใจว่า ถ้ารู้รูปนามแล้วก็ ถ้ามีอารมณ์รูปนามแล้วต้องเป็นวิปัสสนา ไม่จำเป็นนะ ทำวิปัสสนานี่ต้องใช้อารมณ์รูปนาม ต้องรู้ อารมณ์รูปนาม อันนี้แน่นอน จะไปรู้อารมณ์บัญญัติหรือไปรู้อารมณ์นิพพานไม่ได้ ไม่ใช่วิปัสสนา แต่สมถะนี่ใช้อารมณ์บัญญัติก็ได้ อารมณ์รูปนามก็ได้ กระทั่งอารมณ์นิพพานก็ใช้ทำสมถะได้ พระอริยะเจ้าทำสมถะโดยใช้อารมณ์รูปนามก็ได้ ใช้บัญญัติก็ได้ ใช้อารมณ์นิพพานก็ได้ คนทั่วๆ ไปทำสมถะได้โดยใช้อารมณ์บัญญัติคือเรื่องราวที่คิด กับรูปนาม เพ่งรูปเพ่งนาม เป็นสมถะ งั้นอย่างที่เราเดินจงกรมแล้วใจเราไปแนบเข้าไปที่เท้านี่นะ ทำสมถะอยู่ แต่ถ้าใจของเราตั้งมั่น มันจะเห็นเลย ตัวที่เดินนี้ไม่ใช่ตัวเรา เห็นทันทีนะ นี่เราเริ่มเห็นไตรลักษณ์ ร่างกายที่เคลื่อนไหวอยู่นี่ สักแต่ว่าเคลื่อนไหว สักแต่ว่าเป็นธาตุ มันรู้ด้วยใจ รู้สึกเอา ไม่ใช่คิดนะ ถ้าคิดใช้ไม่ได้ มันรู้สึกเอาถึงความเป็นธาตุของร่างกาย รู้สึกเอาถึงความไหวของร่างกาย จะไม่รู้สึกว่าเราไหว หรือว่าธาตุนี้เป็นตัวเรา เพราะว่าเราหลุดออกจากโลกของความคิดได้แล้ว ฉะนั้นไม่ต้องบริกรรมนะ ไม่ต้องบริกรรม เมื่อไรบริกรรมเมื่อนั้นตกจากวิปัสสนาทันทีเลย อย่างเรามีสตินะ สมมติเราใจลอยไป เรามีสติระลึกได้ว่าใจลอย นี่ระลึกได้แล้ว ใช้ได้ นี่มีสติ ถ้ามีปัญญาก็จะต่อตามมาอีก เห็นเลย จิตจะใจลอยห้ามมันไม่ได้ จิตจะรู้สึกตัวสั่งไม่ได้ นี่แสดงความไม่เที่ยง แสดงอนัตตาได้ แต่ถ้าใจลอยไป รู้ว่าใจลอยปุ๊ป ดึงไว้ปั๊ป นี่เป็นสมถะนะ ใจลอยแล้วใจของเราก็ลอยตามมันไปด้วยเลย หลงไป เนี้ยหลงไป

ค่อยๆ ดูสภาวะนะ มาเรียนที่หลวงพ่อไม่ใช่เรียนปริยัตินะ หลายคนไปคุยกันบอกหลวงพ่อปราโมทย์สอนอภิธรรม หลวงพ่อปราโมทย์ไม่ได้เรียนอภิธรรมนะ แต่หลวงพ่อพูดเรื่องสภาวะล้วนๆ เลย อภิธรรมมันเป็นเรื่องของสภาวะล้วนๆ ต่างหากล่ะ งั้นไม่ใช่หลวงพ่อสอนอภิธรรมนะ หลวงพ่อสอนแต่เรื่องสภาวะ แต่บังเอิญๆ อภิธรรมมันคือสภาวะนั่นเอง เนี้ยสภาวะที่เราเห็นด้วยการปฏิบัตินะ กับสภาวะในตำรา อันเดียวกันน่ะ แต่สภาวะในตำราจะหยาบๆ นะ หยาบๆ อย่างโทสะนี่แยกได้ไม่กี่อย่าง พวกเราแยกได้เยอะเลย ขัดใจนิดหน่อยใช่มั้ย โมโหจนเห็นช้างเท่าหมู มีดีกรีด้วย ดีใจเสียใจ นี่แต่ละอันมันกระจายออกไป โอ้ยมีเยอะแยะ เยอะแยะเลย

หัดรู้สภาวะเรื่อยๆ แล้วสติจะเกิด หัดรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น แล้วจิตจะตั้งมั่น ฉะนั้นหัดสองอันเนี้ย หัดรู้สภาวะไป เช่นใจเราลอยไปเรารู้ ใจเราไปคิดเรารู้ ใจเราไปเพ่งเรารู้ นะ ใจหนีไปคิดอีกแล้วทราบมั้ย นี่หลวงพ่อบอกแล้วนึกออกมั้ย คอยดูไปเรื่อยๆ นะพอใจเราไหลไป อย่าไปตั้งใจดูนะ ห้ามไปจ้องไว้ก่อน ต้องตามดู ต้องตามดูนะ ตรงนี้ก็เป็นหลักการสำคัญ

สวนสันติธรรม
CD: 16
File: 491123B.mp3
Time: 0.14 – 9.15

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

สติอัตโนมัติจะช่วยเราตอนที่จะตาย

mp 3 (for download) : สติอัตโนมัติจะช่วยเราตอนที่จะตาย

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

ถ้าคนไหนไม่สามารถเจริญสติในชีวิตประจำวันได้ ยังไกลต่อมรรคผลนิพพาน เพราะว่าเวลาเราทำกรรมฐาน วันหนึ่งๆ มีไม่มากเท่าไหร่หรอกที่ทำในรูปแบบ เวลาส่วนใหญ่อยู่ข้างนอกนี่แหละ ถ้าเราสามารถยืนเดินนั่งนอนอยู่ในชีวิตประจำวันแล้วก็มีสติตามรู้ความเปลี่ยนแปลงของจิตใจตัวเองได้เป็นระยะๆ นะ สติเกิดได้ทั้งวันเลย คือปฏิบัติทั้งวัน หลวงพ่อเป็นฆราวาสหลวงพ่อก็ปฏิบัติด้วยวิธีนี้เอง คือดูจิตใจตัวเอง จะมานั่งสมาธิทั้งวันอย่างตอนอยู่ไปบวชแล้วมานั่งอยู่ในวัดนะ นั่งสมาธิได้นานๆ เดินจงกรมนานๆ อยู่แต่ในรูปแบบ เป็นฆราวาสมันทำไม่ได้ ทำไม่ได้ งั้นต้องฝึกให้สามารถเจริญสติในชีวิตประจำวันได้ ถ้าเราสามารถปฏิบัติได้เฉพาะตอนทำสมาธิ ทำในรูปแบบอะไรอย่างนี้ ชีวิตเราจะแยกเป็นสองส่วน ชีวิตส่วนหนึ่งเป็นเวลาปฏิบัติ ชีวิตส่วนใหญ่เป็นเวลาไม่ได้ปฏิบัติ งั้นเหมือนเราพายเรือนะทวนน้ำไป เราพายไปห้านาทีแล้วก็นอนด้วย ชั่วโมงหนึ่งนะ มันจะไม่อยู่ที่เก่าเอา มันจะไหลลงไปต่ำกว่าเดิม

               พระพุทธเจ้าถึงบอกธรรมชาติของจิตไหลลงต่ำ อย่าประมาทเชียวนะ ไหลลงต่ำเร็วมากเลย เรานึกว่าเราแน่ๆ เราแน่ เผลอแวบเดียวลงต่ำ ถอยไม่ได้นะ ต้องสู้ มีสติในชีวิตประจำวัน ตามดูกายตามดูใจ ตื่นนอนตอนเช้าหรือว่าก่อนนอนตอนค่ำ มีเวลาเนี่ยต้องทำในรูปแบบอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ต้องทำให้ได้ ชาวพุทธนะไหว้พระสวดมนต์ทำสมาธิเดินจงกรมวันละครั้งนะ ทำไมทำไม่ได้ มุสลิมละหมาดวันละห้าครั้งเขายังทำได้เลย วันละห้าครั้งนะ ของเราหนึ่งครั้ง ไม่ได้ ต้องสู้นะ กิเลสมันจะพาขี้เกียจ ถ้าเราทำในรูปแบบทำความสงบมาดูกายดูใจนะ หัดดูสภาวะไป จิตใจหนีไปก็รู้ จิตไปเพ่งก็รู้ จิตสงบจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นสุขเป็นทุกข์ จิตโลภโกรธหลง คอยตามรู้เรื่อยๆ การทำในรูปแบบนี่เราตัดการกระทบอารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกายไปก่อน มาเหลือแต่การทำงานทางใจอันเดียวนะ เช่นเรามาหายใจเข้าหายใจออกเนี่ย ใจเราหนีไปเรารู้ทัน ใจไปเพ่งรู้ทัน เรารู้ทันการทำงานทางใจอยู่ที่เดียวเลย แต่อย่าไปเพ่งใส่จิตนะ อย่าไปเพ่งใส่จิตใส่ใจ ให้เขาทำงานไป เรามีหน้าที่แค่ตามดูไปเรื่อยๆ ดูท้องพองยุบไปก็ดูจิตใจเขาทำงานไป เดี๋ยวเขาก็ไปคิดนะ คิดกระทั่งคำบริกรรมนะ บริกรรมว่าพองหนอยุบหนอ นี่ก็คือการคิดนั่นเอง ก็ให้รู้ทันว่าจิตหนีไปคิด หนีไปคิดเรื่องอื่นเราก็รู้ทัน แล้วก็ไปเพ่งใส่ท้องเราก็รู้ทัน หัดรู้สภาวะนะ ต่อไปเวลาเราอยู่ในชีวิตธรรมดา จิตจะขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวอะไรเนี่ย เห็นหมดเลย เห็นอัตโนมัตินะ

      พวกเราเมื่อวานไม่ได้มา เมื่อวานหรือ อ้อ… ไม่ใช่ ก่อนที่จะปิด ก่อนวานซืนอีกวันหนึ่ง วันสุดท้ายที่หลวงพ่อเปิดแล้วหยุดมาสองวัน มีผู้หญิงคนหนึ่งมา ชื่อโอ่งนะ ชื่อโอ่ง หุ่นก็เหมือนโอ่งจริงๆ ภาวนาเก่งมากเลย บอกเขาไม่ได้ทำอะไร แต่กระทั่งเขานอนหลับนะ จิตมันฝันเขายังรู้เลย แล้วเขาพบว่าความฝันก็คือความคิดนั่นเอง พอไม่ดีปุ๊บ ขาดสะบั้นเลยนะ เขาจะนอนพลิกซ้ายพลิกขวาเขารู้ทั้งคืนเลย ใจเขาไหลไปคิดในความฝันนะ ไหลแวบรู้สึกเลย มีแต่ขาดปั๊บๆ ปั๊บๆ นี่แค่กลางคืนนะ ไม่ต้องพูดถึงกลางวันเลย ทำได้ทั้งวันทั้งคืนเลย ฝึกหัดมีสติอย่างที่หลวงพ่อบอกนี่แหละ ถึงจุดหนึ่งนะจะมีสติได้ทั้งวันทั้งคืน ตรงที่นอนไปแล้วยังช่วยตัวเองได้ มีสติขึ้นมาช่วยตัวเองได้นี่สำคัญนะ มันเป็นเหตุมันเป็นผลจากการที่เราฝึกเจริญสติตอนกลางวัน เราจะเอาไว้ใช้ตอนจะตายเนี่ย ความรู้อันนี้จะใช้ตอนจะตาย เวลาที่เราจะตาย จิตมันจะตัดความรับรู้กายออกไปก่อนนะ แล้วมันจะไปรู้ที่ใจอันเดียว จะมาทำกรรมฐานที่กายอันเดียว ระวังก็แล้วกันนะ กายหายไปแล้ว นาทีสุดท้ายไม่มีกายนะ จะทำยังไงทำกรรมฐานอะไร ต้องฝึกจนชำนิชำนาญ เข้ามาที่จิตอัตโนมัติให้ได้ เวลาคนเราจะตายมันจะเกิดนิมิต อันหนึ่งเรียกว่ากรรมนิมิต นิมิตถึงสิ่งที่เคยทำนะ อีกอันหนึ่งเรียกว่ากรรมอารมณ์ กรรมนิมิตเนี่ยมันจะไปนิมิตถึงเรื่องราวที่เคยทำ อีกอันหนึ่งเรียกคตินิมิตจะเห็นที่ไปข้างหน้า มีสามอัน มีกรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ คตินิมิตอารมณ์ มีสามอัน รวมความแล้วก็คือมันฝันนั่นเอง ฝันไปถึงเรื่องราวที่เคยทำมาในอดีต เช่น คนหนึ่งนะหลวงพ่อเคยรู้จัก เป็นพ่อของเพื่อน ใจดีนะ ตอนหนุ่มๆ เพื่อนมาบ้านทุกวันเลยมาสีซอกัน เล่นปี่พาทย์ เล่นสีซอ ทุกวันจะสั่งลูกน้องเชือดไก่วันละตัวเลี้ยงเพื่อน เวลาจะตายเนี่ยเกิดนิมิตเห็นไก่นะ เห็นไก่มารออยู่ข้างหน้าแล้ว บางทีก็เห็นที่ไปข้างหน้าที่จะไปเกิด เกิดเห็นไฟท่วมขึ้นมาเลย จะไปเกิดแล้วในที่ไม่ดี แต่ถ้าหากฝึกสติไว้จนชำนาญนะ พอเห็นไก่ปุ๊บใจมันย้อนดูจิตเลย มันเคยชินที่จะฆ่าไก่ พอเห็นไก่ปุ๊บ แหมมันอยากเชือดคอขึ้นมา สติเกิดวับเลย มันอยากฆ่าไก่แล้ว เห็นปั๊บนิมิตนั้นดับ ไม่ไปเกิดเป็นตรงนั้นแล้ว หรือฝันไปเห็นนรก นิมิตไปเห็นนรกปุ๊บกลัว สติระลึกถึงความกลัวปุ๊บขาดเลย นรกดับไปเลยนะ ทุกคนสร้างนรกของตัวเองนะ ทางใครทางมัน เพราะฉะนั้นนรกไม่เคยเต็ม อย่าเล่นๆ นะไม่ใช่ของหลอกเด็กนะ อย่าเล่นๆ นะ ตอนยังไม่รู้ไม่เห็น ผยอง พอรู้เห็นก็คร่ำครวญ ช่วยอะไรก็ไม่ได้ เป็นภูมิที่ช่วยไม่ได้แล้วนะ เป็นภูมิที่ช่วยไม่ได้ ไม่มีใครเข้าไปช่วยได้เลย ถ้าเป็นเปรตยังช่วยได้ ถ้าเราฝึกสติไว้ดีนะ พอนิมิตไม่ดีเกิดปุ๊บ ขาด เราจะตื่นขึ้นมาจะไปสู่สุคติ งั้นสำคัญนะ ฝึกสติในชีวิตประจำวันนี่จนมันอัตโนมัตินะ กระทั่งหลับมันก็ทำงานได้ สติปัญญาต้องฝึกเอา ไม่ใช่เรื่องเหลือวิสัยนะ 

 

สวนสันติธรรม
CD: 16
File: 491116B.mp3
Time: 8.14 – 15.21

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

หลวงพ่อสอนอะไร? หลวงพ่อสอนเหตุให้เกิดสติ

mp3 (for download) : หลวงพ่อสอนอะไร? หลวงพ่อสอนเหตุให้เกิดสติ

Audio clip: Adobe Flash Player (version 9 or above) is required to play this audio clip. Download the latest version here. You also need to have JavaScript enabled in your browser.

หลวงพ่อปราโมทย์: ถ้าเมื่อไรรู้สภาวะตรงตามความเป็นจริงลงปัจจุบัน เมื่อนั้นสติก็เกิดแล้ว เพราะฉะนั้นอย่าอยากให้สติเกิดนะ ไม่มีใครสั่งให้สติเกิดได้ สติเป็นอนัตตา สติเองก็ตกอยู่ใต้อนัตตา ไม่มีใครสั่งสติให้เกิด แต่ถ้ามีเหตุสติถึงจะเกิด เพราะฉะนั้นมาเรียนที่หลวงพ่อนะ ถ้ามาเรียนบ่อยๆ จะรู้เลย หลวงพ่อสอนเหตุให้เกิดสติ เหตุให้เกิดสติก็คือการที่จิตนี้จำสภาวะธรรมได้

เพราะฉะนั้นมาเรียนที่หลวงพ่อ ไม่ได้มาเรียนเรื่องอื่นหรอก เรียนเรื่องสภาวะธรรม เช่น ความโลภเป็นอย่างนี้ ความโกรธ ความหลง ฟุ้งซ่าน หดหู่ อิจฉา ดีใจ เสียใจ เป็นสุข เป็นทุกข์ หัดรู้สภาวะแต่ละอย่างๆ สภาวะอะไรเกิดขึ้นในจิตในใจคอยหัดรู้หัดดูไป ต่อไปจิตมันจำสภาวะได้ พอสติมันจำสภาวะได้นี่ พอสภาวะอันนั้นเกิดขึ้นสติจะเกิดเอง ทันทีที่สติเกิดเอง สัมมาสมาธิก็เกิดเอง จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเลย จิตจะรู้ ตื่น เบิกบาน จิตจะสงบ สะอาด สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน ตั้งมั่นขึ้นมา แล้วก็จะเห็นสภาวะธรรมทั้งหลายเกิดแล้วก็ดับไป เกิดแล้วก็ดับไป นี่เป็นการเจริญปัญญา

เพราะฉะนั้นเราจะเรียนนี่ ต้องเรียนจนสติตัวจริงเกิด ถ้ามาเรียนที่หลวงพ่อ จะเห็นว่าหลวงพ่อไม่ได้เน้นว่าให้นั่งท่าไหน ให้เดินท่าไหน หรือว่าห้ามกินข้าว หรือว่าห้ามนอนอะไรอย่างนี้ ไม่ได้เน้นตรงนั้น เพราะจริตนิสัยคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน ใครเคยทำกรรมฐานอะไรก็ทำอย่างนั้นแหละ ถนัดอะไรก็ใช้กรรมฐานอันนั้นแหละ เพียงแต่ว่าทำให้สติตัวจริงมันเกิด

ส่วนใหญ่ที่เราทำกรรมฐานแล้วสติไม่ค่อยเกิดเพราะอะไร เพราะเราชอบไปเพ่ง เราไปเพ่งใส่ตัวอารมณ์กรรมฐาน เช่น เราดูท้อง เราก็ไปเพ่งท้อง เราดูลมหายใจ เราก็ไปเพ่งลมหายใจ เราขยับมือทำจังหวะ เราก็ไปเพ่งใส่มือ เราเดินจงกรม เราก็ไปเพ่งใส่เท้า พอไปเพ่งใจมันก็แข็งๆ ทื่อๆ นะ มันจงใจปฏิบัติ สติตัวจริงไม่ได้เกิดขึ้นมา สติตัวจริงไม่เกิด จิตใจก็ไม่ตั้งมั่นมีสัมมาสมาธิ จิตไม่ตั้งมั่น ไม่อ่อนโยน ไม่นุ่มนวล ไม่คล่องแคล่วว่องไว ไม่ควรแก่การงาน

เพราะฉะนั้นเรียนกับหลวงพ่อ บางคนฟังแล้วจะงง มาใหม่ๆ จะงงนะ ว่าหลวงพ่อพูดอะไร ฟังไม่รู้เรื่อง บอกให้ก็ได้ หลวงพ่อสอนให้พวกเราหัดดูสภาวะธรรมนั่นเอง ต้องหัดรู้สภาวะธรรม สภาวะธรรมก็คือตัวรูปธรรม นามธรรม ถ้ามาเรียนที่หลวงพ่อบางคนหลวงพ่อก็สอนให้ดูกาย ทำสมาธิก่อนแล้วก็ดูกาย แต่ส่วนมากจะสอนให้ดูจิตใจตัวเอง เพราะอะไร เพราะคนที่มาที่นี่ส่วนมากเป็นพวกคิดมาก พวกทิฏฐิจริต พวกคิดมาก วันๆ นะนั่งคิดทั้งวัน พวกคิดมากเหมาะกับการดูจิต

การดูจิตนี้ให้ตามรู้ตามดูไปเลย จิตใจเราแต่ละวันไม่เหมือนกัน เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย คอยรู้คอยดูไปเรื่อย ในที่สุดจิตจะจำสภาวะธรรมได้ เมื่อจิตจำสภาวะธรรมได้แล้ว พอสภาวะธรรมใดๆ ปรากฏขึ้นมานี่สติจะเกิดเอง ไม่ต้องแกล้งให้เกิดนะ เกิดเอง สติที่เกิดเองเพราะมีเหตุคือจิตจำสภาวะได้นี่อัศจรรย์ อกุศลจะดับทันทีเลย กุศลจะเกิดขึ้นทันทีเลย อย่างเรากำลังเผลอๆ อยู่ จิตมันรู้จักว่าเผลอเป็นอย่างไร มาเรียนที่หลวงพ่อๆ ชอบไล่นะว่า เผลอไปแล้วๆ นี่เพราะอะไร เพราะเผลอนี่เป็นกิเลสที่เกิดบ่อยที่สุด ความหลง โมหะ เกิดบ่อยที่สุด ถ้าเรารู้ว่าเผลอคืออะไร เราจะปฏิบัติได้แทบทั้งวันแล้ว เพราะเราเผลอทั้งวัน

ทีนี้พอเราจำสภาวะได้ เช่น จำว่าเผลอเป็นแบบนี้ ใจเราเผลอ เราหลงไปคิดเป็นแบบนี้ พอมันเผลอไปคิดปั๊บ สติจะเกิดเลย จะระลึกได้นะว่าเผลอไปแล้ว อ้อ เผลอไปแล้วๆ นี่จิตจะตื่นขึ้นในฉับพลันโดยที่ไม่ต้องเจตนาจะตื่นเลยนะ จิตจะตื่นในฉับพลัน จะรู้สึกตัวขึ้นมาเลย ใจก็จะตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว สัมมาสมาธิก็เกิดขึ้น เราก็จะเห็นเลยทุกสิ่งล้วนแต่ไหลมาแล้วไหลไป ผ่านมาแล้วผ่านไป นี่เป็นขั้นเจริญปัญญา เพราะฉะนั้นการปฏิบัตินี่ขั้นต้นทำให้มีสติ ขั้นกลาง ขั้นปลายนี่ทำให้มีปัญญา คอยรู้ไปเรื่อย

สวนสันติธรรม 12

490505A

15.04 – 19.38

เว็บไซต์ Dhammada.net
เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการอนุญาตจาก หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม ให้สามารถดำเนินการถอดข้อความพระธรรมเทศนาในลักษณะข้อความสั้นได้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๓

ชี้แจงการรับกิจนิมนต์ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ที่นี่

สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับแจ้งข่าวสารและธรรมะทุกวันจาก Dhammada.net ได้ ที่นี่

ติดตั้ง Dhammada Application for Android ที่นี่

คู่มือการใช้งาน อ่านได้ ที่นี่

Page 1 of 212